เอล นินโญ่ / ลา นินญ่า ฝนตก ความแห้งแล้ง และ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลในประเทศไทย
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 17 ตุลาคม 2553
เขียนโดย นณณ์ ผาณิตวงศ์
คราวนี้มาอธิบายเรื่องราวความเป็นไปของปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ และ ลา นินญ่า ที่กำลังมีผลกระทบต่อ ภูมิอากาศ ปลาและมหาสมุทรในบ้านเราและบ้านคนอื่นเค้าเสียหน่อยนะครับ สัญญาใจว่าจะเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด รู้ไว้ใช่ว่า หนุ่มๆก็เอาไว้อวดสาวได้นะครับ
ก่อนอื่นต้องเรียนถึงคุณสมบัติของน้ำ ซึ่งขอให้จำและเข้าใจก่อนครับ
๑. น้ำอุ่นจะระเหยได้ดีกว่าน้ำเย็น ซึ่งน้ำที่ระเหยสู่ชั้นบรรยากาศก็จะกลายเป็นเมฆและตกลงมาเป็นฝนในที่สุด
๒. น้ำอุ่นจะมีความหนาแน่นของมวลน้อยกว่าน้ำเย็น ดังนั้นน้ำอุ่นจะอยู่เหนือน้ำเย็นเสมอ รวมทั้งในมหาสมุทรด้วย
บรรยายภาพ:ภาพด้านบนคือภาพของกระแสน้ำในปีที่เกิด ปรากฏการณ์ ลา นินญ่า จะเป็นว่ากระแสน้ำอุ่นจะมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชียเป็นจำนวนมาก ส่วนภาพด้านล่างในปี เอลนินโย่ จะเห็นว่าลมสินค้าที่พัดเบาลงทำให้น้ำอุ่นที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกกระจายกันทั่วมหาสมุทร (ที่มาของภาพ องค์การ NASA)
จากนั้นก็รบกวนดูแผนที่ในภาพนะครับ ด้านซ้ายมือของท่านหรือทางด้านทิศตะวันตกคือทวีปเอเซีย และ ออสเตรเลีย ส่วนทางด้านขวาหรือทางด้านทิศตะวันออก คือทวีปอเมริกาเหนือ กลาง และ ใต้ ส่วนตรงกลางคือมหาสมุทรแปซิฟิก โดยปกติแล้วจะมีลมที่เราเรียกกันว่าลมสินค้าหรือ trade windพัดจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก ก็คือจากฝั่งอเมริกามาทางฝั่งเอเชีย ซึ่งลมนี้จะพัดเอาน้ำอุ่นที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่นี้ย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของน้ำข้อที่ ๑. ทางด้านบน เมื่อน้ำอุ่นมากองอยู่ทางฝั่งเรามาก ก็จะมีการระเหยมาก ทำให้พื้นที่ในแถบนี้มีฝนตกชุกนั้นเองครับ
ส่วนทางด้านทวีปอเมริกาใต้นั้น เมื่อน้ำอุ่นถูกพัดมาทางฝั่งเราหมด น้ำเย็นจากทางด้านล่างก็จะลอยขึ้นมาแทนที่พัดพาเอาตะกอนอาหารจากเบื้องล่างขึ้นมา ทำให้ชายฝั่งทางด้านนั้นมีปลาน้อยใหญ่มากมายเพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่บนบกก็จะแห้งแล้งเพราะน้ำเย็นไม่ค่อยระเหยกลายเป็นเมฆนั่นเอง
ในปีที่เกิด เอล นินโญ่ลมสินค้าที่ปกติพัดเอาน้ำอุ่นมากองอยู่ฝั่งเรา จะพัดเบาลงเสียอย่างนั้น ทำให้น้ำอุ่นที่ผิวของมหาสมุทรแปซิฟิกที่ปรกติจะถูกพัดมากองอยู่ทางฝั่งเอเชียและออสเตรเลีย ไม่มาตามนัดอย่างในปีปกติ ซึ่งจะเห็นได้ในภาพด้านล่างที่น้ำอุ่นจะเอ่อกระจายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และจะทำให้
๑. น้ำทะเลในประเทศไทยจะมีอุณหภูมิลดต่ำลง เช่นที่นักดำน้ำหลายๆท่านบ่นกันในบางปี ว่าอุณหภูมิของน้ำลดลงจากปรกติมาก
๒. ในฝั่งทวีปเอเชียและออสเตรเลีย ฝนจะตกน้อยลงเนื่องจากน้ำอุ่นจะถูกพัดมาน้อยลงทำให้มีการระเหยของน้ำน้อยลง ซึ่งเมื่อฝนตกน้อยลงปัญหาที่จะตามมาก็คือ ความแห้งแล้ง เพาะปลูกไม่ได้ผล และ ไฟป่า เป็นต้น
ส่วนทางฝั่งทวีปอเมริกานั้น เมื่อน้ำอุ่นที่เคยถูกพัดมาทางฝั่งเรา ไม่ได้ถูกพัดมาเหมือนทุกปี น้ำเย็นจากด้านล่างก็ไม่สามารถลอยขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อน้ำเย็นไม่ลอยขึ้นมาหรือลอยขึ้นมาน้อยลงก็จะไม่สามารถนำอาหารและแร่ธาตุขึ้นมาด้วยได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะน้อยลง ชาวประมงและนกจะจับปลาได้น้อยลง ส่วนทางด้านชายฝั่งที่ปกติแห้งแล้งก็จะมีฝนตกมากขึ้น ก่อให้เกิดอุทกภัยตามริมฝั่งทะเล รวมไปถึงรัฐทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
ในทางกลับกัน ในปีที่เกิดปรากฏการณ์ ลา นินญ่า ลมสินค้าจะพัดแรงกว่าปกติ ทำให้น้ำอุ่นมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชียมากกว่าปกติตามภาพด้านบน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุก หรือตกมากเกินไปจนกลายเป็นอุทกภัย น้ำท่วม โคลนถล่ม อย่างที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และถ้าหากน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากก็จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ส่วนทางฝั่งทวีปอเมริกา น้ำจะเย็นขึ้น และมีความแห้งแล้งกว่าในปีปกติ
ปรากฏการณ์ เอล นินโญ่และ ลา นินญ่า นี่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่มีบันทึกย้อนหลังไปเป็นร้อยปี ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัดนักว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เกิตปรากฏการนี้ขึ้น
คราวนี้มาอธิบายเรื่องราวความเป็นไปของปรากฏการณ์ เอล นินโญ่ และ ลา นินญ่า ที่กำลังมีผลกระทบต่อ ภูมิอากาศ ปลาและมหาสมุทรในบ้านเราและบ้านคนอื่นเค้าเสียหน่อยนะครับ สัญญาใจว่าจะเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด รู้ไว้ใช่ว่า หนุ่มๆก็เอาไว้อวดสาวได้นะครับ
ก่อนอื่นต้องเรียนถึงคุณสมบัติของน้ำ ซึ่งขอให้จำและเข้าใจก่อนครับ
๑. น้ำอุ่นจะระเหยได้ดีกว่าน้ำเย็น ซึ่งน้ำที่ระเหยสู่ชั้นบรรยากาศก็จะกลายเป็นเมฆและตกลงมาเป็นฝนในที่สุด
๒. น้ำอุ่นจะมีความหนาแน่นของมวลน้อยกว่าน้ำเย็น ดังนั้นน้ำอุ่นจะอยู่เหนือน้ำเย็นเสมอ รวมทั้งในมหาสมุทรด้วย
บรรยายภาพ:ภาพด้านบนคือภาพของกระแสน้ำในปีที่เกิด ปรากฏการณ์ ลา นินญ่า จะเป็นว่ากระแสน้ำอุ่นจะมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชียเป็นจำนวนมาก ส่วนภาพด้านล่างในปี เอลนินโย่ จะเห็นว่าลมสินค้าที่พัดเบาลงทำให้น้ำอุ่นที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกกระจายกันทั่วมหาสมุทร (ที่มาของภาพ องค์การ NASA)
จากนั้นก็รบกวนดูแผนที่ในภาพนะครับ ด้านซ้ายมือของท่านหรือทางด้านทิศตะวันตกคือทวีปเอเซีย และ ออสเตรเลีย ส่วนทางด้านขวาหรือทางด้านทิศตะวันออก คือทวีปอเมริกาเหนือ กลาง และ ใต้ ส่วนตรงกลางคือมหาสมุทรแปซิฟิก โดยปกติแล้วจะมีลมที่เราเรียกกันว่าลมสินค้าหรือ trade windพัดจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก ก็คือจากฝั่งอเมริกามาทางฝั่งเอเชีย ซึ่งลมนี้จะพัดเอาน้ำอุ่นที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่นี้ย้อนกลับไปดูคุณสมบัติของน้ำข้อที่ ๑. ทางด้านบน เมื่อน้ำอุ่นมากองอยู่ทางฝั่งเรามาก ก็จะมีการระเหยมาก ทำให้พื้นที่ในแถบนี้มีฝนตกชุกนั้นเองครับ
ส่วนทางด้านทวีปอเมริกาใต้นั้น เมื่อน้ำอุ่นถูกพัดมาทางฝั่งเราหมด น้ำเย็นจากทางด้านล่างก็จะลอยขึ้นมาแทนที่พัดพาเอาตะกอนอาหารจากเบื้องล่างขึ้นมา ทำให้ชายฝั่งทางด้านนั้นมีปลาน้อยใหญ่มากมายเพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่บนบกก็จะแห้งแล้งเพราะน้ำเย็นไม่ค่อยระเหยกลายเป็นเมฆนั่นเอง
ในปีที่เกิด เอล นินโญ่ลมสินค้าที่ปกติพัดเอาน้ำอุ่นมากองอยู่ฝั่งเรา จะพัดเบาลงเสียอย่างนั้น ทำให้น้ำอุ่นที่ผิวของมหาสมุทรแปซิฟิกที่ปรกติจะถูกพัดมากองอยู่ทางฝั่งเอเชียและออสเตรเลีย ไม่มาตามนัดอย่างในปีปกติ ซึ่งจะเห็นได้ในภาพด้านล่างที่น้ำอุ่นจะเอ่อกระจายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก และจะทำให้
๑. น้ำทะเลในประเทศไทยจะมีอุณหภูมิลดต่ำลง เช่นที่นักดำน้ำหลายๆท่านบ่นกันในบางปี ว่าอุณหภูมิของน้ำลดลงจากปรกติมาก
๒. ในฝั่งทวีปเอเชียและออสเตรเลีย ฝนจะตกน้อยลงเนื่องจากน้ำอุ่นจะถูกพัดมาน้อยลงทำให้มีการระเหยของน้ำน้อยลง ซึ่งเมื่อฝนตกน้อยลงปัญหาที่จะตามมาก็คือ ความแห้งแล้ง เพาะปลูกไม่ได้ผล และ ไฟป่า เป็นต้น
ส่วนทางฝั่งทวีปอเมริกานั้น เมื่อน้ำอุ่นที่เคยถูกพัดมาทางฝั่งเรา ไม่ได้ถูกพัดมาเหมือนทุกปี น้ำเย็นจากด้านล่างก็ไม่สามารถลอยขึ้นมาได้ ซึ่งเมื่อน้ำเย็นไม่ลอยขึ้นมาหรือลอยขึ้นมาน้อยลงก็จะไม่สามารถนำอาหารและแร่ธาตุขึ้นมาด้วยได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะน้อยลง ชาวประมงและนกจะจับปลาได้น้อยลง ส่วนทางด้านชายฝั่งที่ปกติแห้งแล้งก็จะมีฝนตกมากขึ้น ก่อให้เกิดอุทกภัยตามริมฝั่งทะเล รวมไปถึงรัฐทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
ในทางกลับกัน ในปีที่เกิดปรากฏการณ์ ลา นินญ่า ลมสินค้าจะพัดแรงกว่าปกติ ทำให้น้ำอุ่นมากองอยู่ทางฝั่งทวีปเอเชียมากกว่าปกติตามภาพด้านบน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุก หรือตกมากเกินไปจนกลายเป็นอุทกภัย น้ำท่วม โคลนถล่ม อย่างที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และถ้าหากน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากก็จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ส่วนทางฝั่งทวีปอเมริกา น้ำจะเย็นขึ้น และมีความแห้งแล้งกว่าในปีปกติ
ปรากฏการณ์ เอล นินโญ่และ ลา นินญ่า นี่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่มีบันทึกย้อนหลังไปเป็นร้อยปี ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัดนักว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เกิตปรากฏการนี้ขึ้น
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
อยากคุยด้วยครับ ผมเป็นผู้สื่อข่าวน.ส.พ.โพสต์ทูเดย์ สนใจบทความแนวคิด และภาพถ่ายของคุณนณณ์ ผาณิตวงศ์ มาก อยากติดต่อให้มาเขียนบทความลงในนสพ.โพสต์ทูเดย์ คอลัม โลกร้อน เพราะประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์มาก ติดต่อกลับด้วยนะครับ ขอบพระคุณมาก
0899677012
ความเห็นที่ 3
อยากคุยด้วยครับ ผมเป็นผู้สื่อข่าวน.ส.พ.โพสต์ทูเดย์ สนใจบทความแนวคิด และภาพถ่ายของคุณนณณ์ ผาณิตวงศ์ มาก อยากติดต่อให้มาเขียนบทความลงในนสพ.โพสต์ทูเดย์ คอลัม โลกร้อน เพราะประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์มาก ติดต่อกลับด้วยนะครับ ขอบพระคุณมาก
0899677012
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7