สิ่งเล็กๆที่เรียกว่า ขนุนดิน
เรื่อง: ศีลาวุธ ดำรงศิริ
บทนำ
จากข่าว ข่าวสดออนไลน์ (วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:59 น.)
เจอ “มะละกอ” ประหลาดออกดอกที่โคน
วันที่ 28 ธ.ค.นายสมนึก เหมมณี เกษตรจังหวัดชุมพร รับแจ้งจากนางชูแสง แดงสกล อายุ 43 ปี อาชีพทำสวนยางพารา และพืชเกษตรล้มลุกอื่นๆ อยู่บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 4 ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ว่า ที่กลางสวนหลังบ้าน มีต้นมะละกอพันธุ์แขกดำประหลาด ออกดอกสีแดง เป็นพวงที่ราก
ต้นมะละกอพันธุ์แขกดำประหลาดที่ปลูกอยู่ในสวนยางพาราบนเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ พบต้นมะละกอพันธุ์แขกดำลำต้นสมบูรณ์ สูงประมาณ 4 เมตร ออกผลทั้งแก่ทั้งอ่อนดกเต็มคอนับได้ 22 ลูก ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร มีรากแขนงแยกเลื้อยไปบนพื้นดินสามารถมองเห็นได้และมีช่อดอกสีแดงเป็นพวงนับ ได้ 11 ดอก ลักษณะกลมโตกว่าเหรียญ 10 บาทเพียงเล็กน้อย สีแดงเข้มดูสวยงาม และที่ดอกซึ่งบานเต็มที่ เมื่อใช้แว่นขยายส่องดู จะพบว่าเป็นดอกมะละกอเล็กๆ จำนวนนับ 100 ดอกติดอยู่รายล้อม เจ้าหน้าที่เกษตร จึงใช้ไม้เขี่ยพิสูจน์ที่พื้นดินพบว่าดอกมะละกอดังกล่าว งอกขึ้นมาจากรากแขนงมะละกอจริงๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีต้นมะละกออีกต้นหนึ่งพันธุ์เดียวกันห่างจากต้นแรกประมาณ 7 เมตร ก็กำลังมีช่อดอกแบบเดียวกันออกโพล่ขึ้นมาจากรากแขนงเช่นกัน
ด้านนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กล่าวว่า จากการตรวจพิสูจน์ ต้นมะละกอซึ่งออกดอกที่ราก เบื้องต้นพอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลที่รากมะละกอ เนื่องมาจากการใช้สารเคมีจำพวกไกรโฟเซต(ยาฆ่าหญ้าชนิดดูดซึม)มาเป็นเวลานาน เพราะผิวรากมะละกอจะอ่อนแอและไวต่อสารเคมีประเภทนี้มาก ซึ่งจะได้นำดอกมะละกอที่พบไปเข้าห้องแล็ปเพื่อตรวจพิสูจน์อีกครั้งหนึ่ง
จากข่าวข้างต้น ทำให้ผมเห็นว่า ยังมีคนไม่รู้จักไม่เคยเห็นพืชชนิดนี้อยู่มาก จะพาลงงกันไปใหญ่ เลยรีบหยิบบทความเก่าอันหนึ่งที่เขียนไว้นานแล้วแต่ยังไม่ได้เอาไปลงที่ไหน (เพราะยังหาเอกสารอ้างอิงมายืนยันความถูกต้อง 100% ไม่ได้) มาปัดฝุ่น ปรับปรุงและเอามาเผยแพร่สักที อย่างไรก็ตาม บทความนี้ได้จากการรวบรวมข้อมูลที่ล่องลอยอยู่ในอินเตอร์เนทนะครับ แต่ก็กลั่นกรองมาพอสมควร
สำหรับภาพประกอบในบทความนี้ เป็นพืชในกลุ่มขนุนดินที่ผมไปพบเจอมา แต่ด้วยไม่มีความเชี่ยวชาญจึงไม่ทราบว่าเป็นชนิดใดครับ
ขนุนดิน
เนื้อหาสาระ
เจ้าของประหลาดในข่าวนี้คือ ต้นขนุนดิน ซึ่งได้ชื่อนี้มาเพราะดอกของมันมีลักษณะคล้ายดอกขนุนที่ขึ้นอยู่บนดินครับ พรรณไม้วงศ์ขนุนดินในประเทศไทยมี 1 สกุล คือ สกุล Balanophora มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ โหราเท้าสุนัข (B. abbreviate) หน่อพสุธา (B. harlandii) กากหมากตาฤาษี (B. fungosa ssp. indica) ว่านดอกดินขาว (B. latisepala) และ ขนุนดิน (B. laxiflora)
ขนุนดินเป็นพืชที่มีสถานภาพเป็นพืชหายาก มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบพืชชนิดอื่นๆ และมีรูปร่างแตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆที่เราคุ้นเคยกัน ทีแรกที่ผมเจอ ผมนึกว่ามันเป็นเห็ดซะด้วยซ้ำ (แถมทั้งๆที่ผมรู้จักมันแล้ว บางทียังนึกว่าเป็นเห็ดอยู่ดี) น่าดีใจพืชประหลาดกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตร้อนอย่างบ้านเรานี่แหละ
ตามปกติ เรามักจะได้เห็นขนุนดินในช่วงที่มันเติบโตเต็มที่และมีช่อดอกโผล่ขึ้นมาจาก ดินเพื่อการผสมพันธุ์ เรียกว่า บังเอิญเจอก็คงจะได้ (ใครชอบเดินป่าก็ระวังเหยียบกันด้วยนะครับ)
พรรณไม้ในวงศ์นี้มีการศึกษากันน้อยมาก ในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชนิด (เท่าที่ผมหาข้อมูลเจอในกูเกิ้ล) โดยอีกสิ่งที่จำเป็นจะต้องศึกษาควบคู่ไปกับขนุนดินก็คือ ต้นไม้ที่เป็นแหล่งอาหารของมัน โดยเรามักจะพบขนุนดินชนิดหนึ่งขึ้นเบียนรากของต้นไม้เพียงไม่กี่ชนิดเท่า นั้น
ถึงตรงนี้ผมพึ่งนึกออก ว่าลืมบอกว่า ขนุนดินเป็นพืชกาฝาก มันจำเป็นจะต้องมีต้นไม้ที่จะให้มันได้เกาะ และอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจาก host ที่มันเกาะมาเป็นอาหาร
การผสมเกสรของขนุนดินเกิดขึ้นโดยอาศัยแมลงเป็นตัวช่วย โดยขนุนดินจะส่งกลิ่นเพื่อหลอกล่อให้แมลงมาตอม ส่วนใหญ่เป็นแมลงในอันดับ Diptera (แมลงวัน) และ Hymenoptera (ผึ้ง มด) โดยดอกของขนุนดินจะแบ่งออกเป็นดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียด้วย โดยดอกตัวผู้จะดูเป็นช่อดอกที่มีก้านอวบๆและมีดอกเป็นตุ่มๆบนนั้นมากมาย แต่ดอกตัวเมียจะดูแล้วละม้ายคล้ายเห็ด
แต่สิ่งที่ยังเป็นปริศนากันอยู่ก็คือ เมล็ดของต้นไม้ที่เป็นพืชเบียนราก จะไปงอกต้นใหม่บนรากของต้นไม้ต้นอื่นซึ่งอยู่ใต้ดินได้อย่างไร ก็คือ ทำอะไร ทำอย่างไร ที่เมล็ดขนุนดินจะลงไปแปะถึงรากไม้ได้
มีข้อสันนิษฐานว่า เมล็ดของมันอาจติดไปกับกีบเท้าของสัตว์ กีบเท้าที่แหลมคมของสัตว์สามารถทำให้ดินยุบได้ และมีโอกาสที่จะไปเหยียบโดนถึงรากของต้นไม้ที่เป็น host ได้ เมล็ดขนุนดินที่ตกไปตรงนั้นก็จะสามารถฟักบนราก host ได้นั่นเอง หรือ อีกข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจก็คือ เมล็ดขนุนดินถูกนำพาไปโดยแมลงที่กินซากพืฃรวมถึงพวกที่ขุดคุ้ยและมุดลงไปใน ดิน ซึ่งก็จะนำเมล็ดไปติดตามรากไม้ต่างๆได้ หรือบางที น้ำ ก็อาจเป็นตัวพัดพาลงไปตามร่องดินจนไปติดกับรากไม้ก็ยังได้ อย่างไรก็ตาม ปริศนาการกระจายพันธุ์ของขนุนดินนี้ยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป
การอนุรักษ์ขนุนดิน ต้องรักษาทุกอย่างให้อยู่ร่วมกันได้ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือต้องอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ของพรรณพืชเหล่านั้น ให้ยั่งยืนตลอดไป ต้นไม้ที่ขนุนดินฃึ้นเบียนรากหลายชนิดเป็นเถาวัลย์ (ที่มีคนเห่อกันไปตัดพักนึง) บทบาทของมันในระบบนิเวศที่ซับซ้อนของป่าเขตร้อน ก็คงเป็นเหมือนเป็นตัวควบคุมเถาวัลย์อีกทีก็ว่าได้ เพราะเถาวัลย์เป็นพืชที่ส่งผลเสียต่อต้นไม้ใหญ่ที่มันไปเกาะพันแย่งแสงแดด ขนุนดินก็ส่งผลเสียต่อเถาวัลย์แย่งน้ำเลี้ยงทำให้เถาวัลย์เติบโตได้ไม่เต็ม ที่นั่นเอง
นอกจากนี้ คนเรานี่แหละครับ ก็ใช้ประโยชน์จากมันได้ ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างแถบป่าเขาใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมาและ ปราจีนบุรี เรียนรู้ที่จะน้ำหัวของขนุนดิน (กากหมากตาฤาษี) ไปผสมกับสมุนไพรอื่นๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดได้มานามนม นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าทึ่ง เพราะมีรายงานทางด้านการแพทย์ว่าสามารถนำลำต้นที่มีลักษณะเป็นหัวที่ฝังอยู่ ใต้ดิน มาสกัดได้สารโคนิเฟอริน (coniferin) ที่ใช้ทำยาแก้โรคหอบหืดได้ นอกจากนั้นในตำราแพทย์แผนโบราณยังใช้ลำต้นใต้ดินของโหราเท้าสุนัข (B. abbriviata) ประกอบเครื่องยาโรคหัวใจอีกด้วย
ช่อดอกเพศเมียของขนุนดิน
ช่อดอกเพศผู้ของขนุนดิน
ขนุนดิน
ดอกภายในช่อดอกเพศผู้ของขนุนดิน
ช่อดอกเพศเมียของขนุนดิน
ขนุนดิน
ขนุนดิน
ขนุนดิน
ช่อดอกเพศผู้ของขนุนดิน
ขนุนดิน
ขนุนดิน
เนื้อหาทางวิชาการโดยหลักๆ จาก เวปไชต์ของโรงเรียนระยองวิทยาคม
http://www.rayongwit.ac.th/library/kaset/supaporn/kanundin.htm
http://www.rayongwit.ac.th/library/kaset/supaporn/habitat.htm
http://www.rayongwit.ac.th/library/kaset/supaporn/useful.htm
http://www.rayongwit.ac.th/library/kaset/supaporn/species.htm
ที่มา: Mirrorwild Nature Advance Photographic
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1