เมื่อแมงมุมเหมือนมด
เขียนโดย Due_n Authenticated user เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2555
เรื่อง: นพปฎล มากบุญ
ภาพ: Chatchawan Dharmaraj
เมื่อสัก 5 ปีก่อน ขณะที่กำลังเดินหาและถ่ายรูปแมลงปออยู่นั้น ผมสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตสีแดงอยู่บนใบไม้ ในความรู้สึกแว้บแรกมันคือมดแดงที่ผมสามารถพบเจอได้ทั่วไป มันเดินรวมกับมดแดงอื่นบนต้นไม้ แต่เจ้าตัวนี้มีท่าทีแปลกๆ เวลาที่มองใกล้ๆ มันกลับกระโดดหนีผมได้!สิ่งนี้สร้างความสนเท่ห์ให้กับผมจนต้องมานับขาของมันดู หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด และแปด …แปดขานั่นหมายถึงแมงมุมที่เลียนแบบมด! ผมรู้สึกทึ่งกับการเลียนแบบของมันมาก และแมงมุมมดที่ผมเห็นมีชื่อว่า แมงมุมมดแดง (Kerengga ant-like jumper, Myrmarachne plataleoides) นั่นเอง
แมงมุมมดแดง (Myrmarachne plataleoides) ตัวผู้
ในเขตร้อนชื้น มดถือได้ว่าเป็นแมลงที่มีมากที่สุด และแมงมุมกระโดด (jumping spider) ก็ถือเป็นแมงมุมที่พบมากที่สุดเช่นกัน แม้มดเป็นเหยื่อของแมงมุมไม่กี่ชนิด แต่มดก็มีเขี้ยวที่ทรงพลัง มีสารเคมีที่อันตรายเช่นกรดฟอร์มิก (formic acid) วิธีการรุมฆ่าเหยื่อ รสชาติที่แสนแย่สำหรับสัตว์นักล่าหลายชนิด มีเหล็กในที่มีพิษ (ในมดบางชนิด) และเป็นศัตรูตัวฉกาจของแมงมุมมากมาย แมงมุมหลายชนิดจึงวิวัฒนาการมาอยู่ร่วมหรือให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับมดโดยการเลียนแบบมด (ant mimicry) เพื่อให้ปลอดภัยจากความโหดร้ายของมดและสัตว์นักล่าชนิดอื่น
มดแดง (Oecophylla smaragdina) มดต้นแบบของแมงมุมมดแดง
การเลียนแบบมดสามารถพบได้ในกลุ่มสัตว์ขาข้อ (Arthropoda) มากกว่า 2,000 ชนิดใน 54 วงศ์ และพบได้ทั่วทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและบริเวณซีกโลกตอนเหนือ (Holarctic) ในกลุ่มแมงมุมนั้น แมงมุมที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างให้คล้ายมดมีอยู่ 13 วงศ์ และมากกว่า 300 ชนิด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในวงศ์แมงมุมกระโดด (13 สกุล) และสกุล Myrmarachne ก็มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ มากกว่า 200 ชนิด การเลียนแบบมดในหมู่แมงมุมนั้นเชื่อกันว่าได้วิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ล้านปี นักวิทย์พบว่า แมงมุมมีการเลียนแบบมดอยู่ 2กลุ่มคือ กลุ่มที่หลงรูปความเป็นแมงมุมของตัวเอง ออกแนวสวยเลิศเชิดหยิ่งและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พวกนี้ไม่ทนกับความร้ายกาจของมด อาจมีหรือไม่มีฟีโรโมน และมีขนาดเล็กจนมดไม่สามารถแยกแยะออกว่าเป็นผู้บุกรุก ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า myrmecophily และอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมันจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง พฤติกรรม และสีสันให้คล้ายกับมดต้นแบบให้มากที่สุด ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า myrmecomorphy
แมงมุมมดแดง ตัวเมีย
แมงมุมมดแดงจะเลียนแบบรูปร่างและพฤติกรรมรวมถึงสีสันมดโดยเฉพาะมดแดง (Asian weaver ant, Oecophylla smaragdina) ซึ่งช่วยให้มันรอดพ้นจากสัตว์นักล่าและอันตรายอื่นๆ ได้ การเลียนสิ่งมีชีวิตที่มีอันตรายเพื่อให้ตนเองรอดเงื้อมมือจากสัตว์นักล่านั้นเรียกว่า Batesian mimicry แมงมุมมดในสกุล Myrmarachne มีการเลียนแบบแบบ Batesian mimicry ทั้งหมด แมงมุมมดมักจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้ดูคล้ายกับมดนั่นคือ รูปร่างของมันดูเหมือนจะมีสามส่วนทั้งที่จริงแล้วมันมีแค่สองส่วน ลักษณะภายนอกที่ดูมันวาวแบบมด การมีขาที่ยาวและเล็ก (ในแมงมุมทั่วไป ขาจะสั้นและป้อม) การใช้ขาหน้าชูขึ้นโบกไปมาเหมือนกับหนวดของมด (antennal illusion) และยังช่วยลดจำนวนขาจาก 4คู่เหลือ 3คู่ได้อย่างแนบเนียน การเดินเอียงซ้ายเอียงขวาอย่างรวดเร็วแบบแมลงทั่วไป การยกท้องขึ้นลง การสร้างจุดสีบนตัวเพื่อทำให้มันดูเหมือนมีตารวมแบบมด การมีสีสันหรือลวดลายที่คล้ายกับต้นแบบ (เรียกว่า pattern mimicry) ตำแหน่งของอวัยวะปั่นใย (spinnerets) ที่เปลี่ยนไปทำให้ดูเหมือนมันมีเหล็กใน การดัดแปลงหรือพัฒนาโครงสร้างบางอย่างเช่น การมีกลุ่มขนสั้นมันวาวหรือสะท้อนแสง หนามด้านข้างส่วนหัว (cephalothorax) เป็นต้น ในแมงมุมมดแดงก็เช่นกัน ตัวเมียจะเลียนแบบพฤติกรรมและท่าทางของมดงาน แต่ตัวผู้จะพิเศษกว่าตัวเมียนิดหนึ่งคือ ส่วนรยางค์จับเหยื่อ (chelicerae) จะยืดยาวออกมา รยางค์นี้ช่วยให้ขนาดของตัวผู้เพิ่มขึ้นถึง 50-70% นักวิทย์เองเชื่อว่ามันเป็นการเลียนแบบมดงานที่กำลังขนบางอย่างอยู่ (encumbered ant) พวกเขาจึงเรียกการเลียนแบบนี้ว่า compound mimicry ลักษณะเช่นนี้ทำให้มดงานคิดว่าเป็นพวกเดียวกันที่ขนบางอย่างอยู่ และสัตว์ผู้ล่าก็คิดว่านั่นคือมดมากกว่าแมงมุม
แมงมุมมดแดง ตัวผู้ จะมีรยางค์จับเหยื่อที่ยืดยาวออกมาเด่นชัด
นอกจากจะใช้วิธีการเลียนแบบมดงานขนของแล้ว การมีรยางค์จับเหยื่อที่ยืดยาวยังเป็นลักษณะทางเพศที่ถูกคัดเลือกเพื่อให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (dimorphism) ในแมงมุมสกุลนี้อีกด้วย สีสันและความยาวของรยางค์จับเหยื่อจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอาหารและมดต้นแบบที่มันอยู่ร่วมด้วย สีสันของแมงมุมมดแดงมีตั้งแต่สีดำ ส้ม และแดง นักวิทย์เองก็เชื่อว่าการมีสีสันหลายรูปแบบเช่นนี้เกิดมาจากแรงกดดันของมดต้นแบบกับการเลือกคู่ผสมพันธุ์ (sexual selection) อีกทั้ง ตัวอ่อนในแต่ละระยะของมันสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันไปตามมด(ต้นแบบ)ที่มันพบเจอในช่วงนั้นๆ ได้อีกด้วย เราเรียกการเลียนแบบลักษณะนี้ว่า transformational mimicry ส่วนตัวเต็มวัยนั้น ตัวผู้และตัวเมียอาจเลียนแบบมดคนละชนิดกัน ระดับความเหมือนมดของแมงมุมกระโดดในสกุล Myrmarachne นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด บางชนิดมีความเหมือนมาก แต่ในบางชนิดกลับมีความเหมือนน้อยเช่น ตัวผู้ของแมงมุมมด M. bakeri จะมีรูปร่างแบ่งออกเป็นสองส่วน มีลำตัวยาวเรียว และขายาว จากการศึกษาพบว่า การที่แมงมุมชนิดนี้มีลักษณะเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามันไม่ต้องการหลอกตามดแดง แต่มันกลับใช้หลอกตาแมงมุมกระโดดชนิดอื่นและตั๊กแตนตำข้าวที่ล่าพวกมันเป็นอาหารแทน นักวิทย์พบว่า แมงมุมมดที่เลียนแบบจำเพาะกับมดต้นแบบชนิดหนึ่งจะอยู่รอดได้ดีกว่าแมงมุมมดที่เลียนแบบมดแบบไม่เจาะจง สิ่งนี้บ่งชี้ว่า พวกมันได้วิวัฒน์ลักษณะจำเพาะเช่นนี้เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในหมู่มดต้นแบบที่ดุร้ายเหล่านี้
แมงมุมกระโดดทั่วไปนั้นมีสายตาที่เฉียบแหลม พวกมันสามารถตรวจจับและตอบสนองอย่างเหมาะสมได้จากเบาะแสที่ไม่เคลื่อนไหวจากการมองเห็นในระยะห่างอย่างน้อย 20ช่วงตัว แต่แมงมุมมดนั้นกลับแยกแยะสัตว์นักล่า เพื่อน หรือมดได้ในระยะที่ใกล้กว่าแมงมุมกระโดดสกุลอื่น แล้วปฏิกิริยาเมื่อพบแมงมุมมดชนิดอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่เลียนแบบมดล่ะ?มีการทดลองเพื่อตอบคำถามนี้โดยใช้แมงมุมมด Myrmarachne sp. F ที่พบในประเทศออสเตรเลียมาทดลองกับตัวอ่อนมวนเจาะฝักถั่วสีน้ำตาล (pod-sucking bug/brown bean bug, Riptortus serripes) ที่เลียนแบบมด มวนที่มีรูปร่างไม่เหมือนกับมดแดง และมดแดง พบว่า แมงมุมมดแดงชนิดนี้จะหลีกหนีมดมากกว่าตัวอ่อนมวนที่เลียนแบบมดแดง อีกทั้ง มันยังใช้เวลาในการ’สังเกต’ตัวอ่อนนี้มากกว่ามดแดงหรือมวนอีกด้วย การทดลองนี้บ่งชี้ว่า แมงมุมมดแดงชนิดนี้สามารถแยกแยะออกว่าตัวไหนเป็นมดแดง ตัวไหนเลียนแบบมดแดง ตัวไหนไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต และตัวไหนเป็นเหยื่อ การทดลองอื่นยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แมงมุมมดในสกุลนี้มันสามารถแยกแยะกับดักที่ไม่เคลื่อนไหวกับเหยื่อที่ตายแล้วออกจากกันได้ ในขณะที่แมงมุมกระโดดชนิดอื่นกลับแยกแยะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
โดยส่วนใหญ่แล้ว แมงมุมมดเป็นแมงมุมที่หากินในตอนกลางวัน และมักใช้ข้อมูลจากการมองเห็นในการล่าหรือสื่อสารกับพวกเดียวกันเป็นหลักมากกว่าข้อมูลจากสารเคมี แมงมุมมดเพียงส่วนน้อยจะกินมดต้นแบบ แต่ส่วนใหญ่จะกินแมลงขนาดกลางหรือขนาดเล็กอื่นๆ เป็นอาหารโดยเฉพาะแมลงในกลุ่มแมลงวันและผีเสื้อ ในบางครั้งมันก็กินไข่ของแมงมุมชนิดอื่นเช่นกัน โดยพวกมันจะยื่นรยางค์จับเหยื่อไปแตะกับรังไข่และปล่อยน้ำลายออกมาย่อยสลายใย จากนั้นก็ยื่นรยางค์เข้าไปภายในรังและกินกลุ่มไข่นั้น แต่แมงมุมมดบางชนิดที่กินไข่และตัวอ่อนของแมงมุมกระโดดชนิดอื่นกลับใช้วิธีขับไล่เจ้าของไข่นั้นแทน แมงมุมมด Myrmarachne melanotarsa จะสร้างรังร่วมกับแมงมุมกระโดด Menemerus sp. จะใช้ลักษณะที่คล้ายกับมดเพื่อไล่แมงมุมกระโดดเจ้าของรังแล้วดอดเข้าไปกินไข่และตัวอ่อนของแมงมุมกระโดดนั้น นอกจากนี้ มีรายงานพบว่าแมงมุมมดบางชนิดกินน้ำหวานเป็นอาหารเช่นกัน แมงมุมมดชนิด M. melanotarsa ในทวีปแอฟริกาตะวันออก และ M.foenisex ที่พบในทวีปแอฟริกากลางและตะวันตกที่กินน้ำหวานในบางครั้ง นักวิทย์เชื่อว่าการที่มันกินน้ำหวานนี้เป็นเพราะพวกเพลี้ยอ่อนสร้างน้ำหวานเพื่อล่อให้มดต้นแบบกิน และแมงมุมมดก็ได้อานิสงส์จากมดต้นแบบ อีกทั้งยังช่วยให้มันเนียนในการเลียนแบบพฤติกรรมมดต้นแบบของมันนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนักวิทย์พบว่า มีแมงมุมมดอีกชนิดหนึ่งที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อหลอกให้สัตว์นักล่าคิดว่าเป็นกลุ่มของมด เราเรียกการเลียนแบบกลุ่มของสัตว์อันตรายเพื่อไม่ให้สัตว์นักล่ามากินว่า collective mimicry แมงมุมมด Myrmarachne melanotarsa เป็นแมงมุมมดขนาดเล็กที่เลียนแบบมด Crematogaster sp. ที่มีขนาดพอกัน พวกมันมักอยู่เป็นกลุ่มรวมถึงการสร้างรังขนาดใหญ่ (nest complex) โดยแต่ละรังต่อเชื่อมกันโดยเส้นใยตั้งแต่หลายสิบรังจนถึงหลายร้อยรัง การทดลองพบว่า สัตว์นักล่าโจมตีแมลงชนิดอื่นและแมงมุมชนิดอื่นที่ไม่เหมือนมดมากกว่ามดและแมงมุมมดชนิดนี้ อีกทั้ง สัตว์นักล่ายังโจมตีมดและแมงมุมมดที่อยู่เป็นกลุ่มน้อยกว่ามดและแมงมุมมดที่อยู่ตัวเดียวอีกด้วย สิ่งนี้บ่งชี้ว่า สัตว์นักล่ามีสัญชาตญาณที่จะไม่เข้าใกล้มดและแมงมุมมด และพวกมันยังมีสัญชาตญาณในการหลีกหนีกลุ่มของมดหรือแมงมุมมดมากกว่าการหลีกหนีมดหรือแมงมุมมดที่อยู่ตัวเดียว
แมงมุมมดในสกุล Myrmarachne มักแฝงอยู่ใกล้กับฝูงมดแดง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากในการประจันหน้ากับมดแดงตัวจริงแล้วอาจโดนรุมโจมตี และอาจตายได้ในที่สุด แต่การศึกษาพบว่า มดแดงมีการฆ่าหรือโจมตีแมงมุมมดแดงน้อยกว่าแมงมุมกระโดดชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากสายตาอันดีเลิศและพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อพบเจอกับมดแดงในระยะประชิดร่วมด้วย แมงมุมในสกุลนี้ส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและจะหนีไป โดยแมงมุมมดจะเคลื่อนตัวออกห่างมากกว่าการกระโดดหนี ยกเว้นในกรณีที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในระยะใกล้มากเท่านั้น แต่หลายครั้งที่ภัยมาใกล้ตัว มันจะหยุดนิ่งแล้วยกขาคู่หน้าขึ้นส่ายไปมาเลียนแบบหนวดของมดและเป็นการส่งสัญญาณว่า "เราพวกเดียวกันเน้อ..." นอกจากนี้ ในปัจจุบันเรายังพบว่าแมงมุมมดชนิด M. assimilis (ที่เลียนแบบมดแดงเช่นกัน) สามารถแยกแยะมดต้นแบบ สมาชิก และเหยื่อจากการมองเห็นของมันได้ ซึ่งแมงมุมชนิดอื่นหรือมดเองก็ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองของแมงมุมที่กินแมงมุมชนิดอื่นเป็นอาหารก็ขึ้นกับระดับความเหมือนของแมงมุมมด ถ้าแมงมุมมดนั้นมีความเหมือนกับมดต้นแบบมาก แมงมุมนักล่าจะหลีกเลี่ยงการปะทะ เนื่องจากมันคิดว่าเป็นมดเช่น แมงมุมกระโดดที่ล่าแมงมุมชนิดอื่นเป็นอาหาร Portia fimbriata เป็นแมงมุมกระโดดนักล่าที่มีสายตาดีที่สุดในหมู่แมงมุมกระโดดด้วยกัน การทดลองพบว่า มันสามารถแยกแยะพวกแมงมุมกระโดดได้จากดวงตาคู่หน้าขนาดใหญ่เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การจำแนกแมงมุมวงศ์นี้ของนักอนุกรมวิธานแมงมุม P. fimbriata จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองกับแมงมุมมด Synageles occidentalis (ที่เชื่อกันว่าเลียนแบบมด Lasius alienus หรือ Myrmica americana) เหมือนกับตอนที่มันเจอกับมดนั่นคือ การหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้มด แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแมงมุมมดตัวผู้ในสกุล Myrmarachneที่รยางค์จับเหยื่อยืดยาวออกมาเหมือนกับมดกำลังขนอะไรบางอย่างอยู่ การทดลองพบว่า แมงมุมกระโดดที่กินมดเป็นอาหารชอบจับแมงมุมมดตัวผู้ในสกุลนี้มากกว่าตัวเมีย อาจเป็นเพราะรยางค์ที่คล้ายกับมดที่กำลังขนอะไรอยู่นั้นมีอันตรายน้อยกว่ามดที่ไม่มีอะไรอยู่ในปาก (ซึ่งมันพร้อมจะกัดได้ตลอดเวลา) แต่ในบางชนิดที่มีความเหมือนน้อยกว่าเช่น Myrmarachne bakeri ตัวผู้ก็มักถูกแมงมุมนักล่าจับกินเป็นครั้งคราวเช่นกัน ในกรณีแมงมุมนักล่ามดจะเข้ามาจับกิน แมงมุมมดเองก็จะแสดงท่าทางเพื่อบอกว่าตนเองนั้นไม่ใช่มดในทันที โดยการยกขาหน้าแสดงเหมือนกับแมงมุมกระโดดชนิดอื่นๆ ที่ใช้แสดงเวลาจะต่อสู้กัน เพื่อไล่แมงมุมกระโดดนักล่าไปให้ไกล ในสัตว์นักล่าอื่นๆ นั้น พวกมันจะเลือกจับแมงมุมที่ไม่เหมือนกับมดกินมากกว่าแมงมุมมดอีกเช่นกัน นกกินแมลงหลายชนิดเลือกกินแมงมุมที่ไม่เลียนแบบมดและแมลงชนิดอื่นๆ มากกว่าแมงมุมมด Myrmarachne formicaria และมดต้นแบบ Formica rufa เช่นเดียวกับตั๊กแตนตำข้าวที่จะหลีกเลี่ยงมดและแมงมุมมด
แมงมุมมดแดงที่ผมเจอก็เหมือนกับแมงมุมมดชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกันที่มักทำรังบริเวณด้านบนหรือด้านล่างของใบไม้ ใบไม้แห้งที่ม้วนงอ ฝักแห้ง ร่องหรือรอยแตกตามต้นไม้ ทำรังร่วมกับแมงมุมวงศ์อื่น หรือแอบไปอาศัยอยู่ในรังของแมงมุมชนิดอื่น ซึ่งอาจจะเป็นวงศ์เดียวกันหรือคนละวงศ์ก็ได้ แมงมุมมดจะสร้างรังที่มีลักษณะเป็นวงรีค่อนข้างแบนทำด้วยใยสีขาวถักสานกันโดยมีทางออกที่ปลายทั้งสองข้าง แมงมุมมดจะใช้เวลาสร้างรังเพียง 2-3 วันเท่านั้น ในแมงมุมมดแดง (M. plataleoides) นั้น บางครั้งมันก็สร้างรังอยู่ภายในใบไม้แห้งที่ม้วนงอ หรือร่องหรือเปลือกไม้ของต้นไม้ รังของแมงมุมมดในสกุลนี้มักเป็นสถานที่ในการลอกคราบ ผสมพันธุ์ และวางไข่ แมงมุมมดบางชนิดยังอยู่ร่วมกันหลายตัว (เช่น ตัวผู้ และตัวเมียที่ยังโตไม่เต็มที่) ในรังหนึ่งๆ อีกด้วย
นอกจากการเลียนแบบรูปร่างและพฤติกรรมของมดในแมงมุมแล้ว ยังมีกลุ่มแมงมุมอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้วิวัฒน์ตัวให้เหมือนกับมด พวกมันกลับสร้างสารเคมีขึ้นมาเพื่ออยู่ใกล้และเข้าไปในรังมดเพื่อกินไข่ ตัวอ่อน หรือดักแด้ของมด แมงมุมกลุ่มนี้มีการเลียนแบบที่เรียกว่า Wasmannian mimicry หรือพวก myrmecophily นั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว มดหลายชนิดจะใช้ฟีโรโมนหรือสารเคมีชื่อ cuticular hydrocarbon ที่มีความจำเพาะในแต่ละรังในการแยกแยะพรรคพวกกับพวกแปลกหน้าเป็นหลัก แมงมุมกลุ่มนี้จึงวิวัฒนาการมาเพื่อสะสมและปล่อยสารเคมีชนิดนี้ ทำให้มดเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกันและปล่อยให้แมงมุมกลุ่มนี้เข้าไปอยู่ใกล้หรือกินมดได้อย่างสบาย เราเรียกการเลียนแบบแบบนี้ว่า chemical mimicry เช่น แมงมุมกระโดด Cosmophasis bitaeniata จะใช้ปล่อยสาร cuticular hydrocarbon เพื่อเข้าไปยังรังของมดแดง (Oecophylla smaragdina) และจับตัวอ่อนมดแดงมากิน รวมถึงการคว้าตัวอ่อนมาจากเขี้ยวมดงานที่กำลังขนตัวอ่อนนั้นอยู่ได้อีกด้วย นักวิทย์ตั้งสมมุติฐานว่า แมงมุมกระโดดชนิดนี้ได้รับสารเคมีดังกล่าวมาจากการกินตัวอ่อนมดแดง การรับสาร cuticular hydrocarbon จากเหยื่ออาจเกิดจากการที่ส่วนปากของแมงมุมไปสัมผัสกับสารเคมีนี้และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายจากพฤติกรรมทำความสะอาดของมัน อีกสมมุติฐานหนึ่งกล่าวว่า haemolymph hydrocarbons ที่อยู่ในเลือด (haemolymph) ของเหยื่ออาจถูกส่งไปยังผิวนอก (cuticle) ของแมงมุมโดยตรง เนื่องจากสารกลุ่ม hydrocarbon ที่พบในแมงมุมจำนวนหนึ่งมีความคล้ายคลึงกับ cuticular hydrocarbon ของมดและสามารถส่งตรงไปยังผิวนอกได้
แมงมุมมดไม่ได้มีดีแค่คล้ายมดเท่านั้นจริงๆ ครับ
หมายเหตุ
ภาพ: Chatchawan Dharmaraj
เมื่อสัก 5 ปีก่อน ขณะที่กำลังเดินหาและถ่ายรูปแมลงปออยู่นั้น ผมสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตสีแดงอยู่บนใบไม้ ในความรู้สึกแว้บแรกมันคือมดแดงที่ผมสามารถพบเจอได้ทั่วไป มันเดินรวมกับมดแดงอื่นบนต้นไม้ แต่เจ้าตัวนี้มีท่าทีแปลกๆ เวลาที่มองใกล้ๆ มันกลับกระโดดหนีผมได้!สิ่งนี้สร้างความสนเท่ห์ให้กับผมจนต้องมานับขาของมันดู หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด และแปด …แปดขานั่นหมายถึงแมงมุมที่เลียนแบบมด! ผมรู้สึกทึ่งกับการเลียนแบบของมันมาก และแมงมุมมดที่ผมเห็นมีชื่อว่า แมงมุมมดแดง (Kerengga ant-like jumper, Myrmarachne plataleoides) นั่นเอง
แมงมุมมดแดง (Myrmarachne plataleoides) ตัวผู้
ในเขตร้อนชื้น มดถือได้ว่าเป็นแมลงที่มีมากที่สุด และแมงมุมกระโดด (jumping spider) ก็ถือเป็นแมงมุมที่พบมากที่สุดเช่นกัน แม้มดเป็นเหยื่อของแมงมุมไม่กี่ชนิด แต่มดก็มีเขี้ยวที่ทรงพลัง มีสารเคมีที่อันตรายเช่นกรดฟอร์มิก (formic acid) วิธีการรุมฆ่าเหยื่อ รสชาติที่แสนแย่สำหรับสัตว์นักล่าหลายชนิด มีเหล็กในที่มีพิษ (ในมดบางชนิด) และเป็นศัตรูตัวฉกาจของแมงมุมมากมาย แมงมุมหลายชนิดจึงวิวัฒนาการมาอยู่ร่วมหรือให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับมดโดยการเลียนแบบมด (ant mimicry) เพื่อให้ปลอดภัยจากความโหดร้ายของมดและสัตว์นักล่าชนิดอื่น
มดแดง (Oecophylla smaragdina) มดต้นแบบของแมงมุมมดแดง
การเลียนแบบมดสามารถพบได้ในกลุ่มสัตว์ขาข้อ (Arthropoda) มากกว่า 2,000 ชนิดใน 54 วงศ์ และพบได้ทั่วทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและบริเวณซีกโลกตอนเหนือ (Holarctic) ในกลุ่มแมงมุมนั้น แมงมุมที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างให้คล้ายมดมีอยู่ 13 วงศ์ และมากกว่า 300 ชนิด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในวงศ์แมงมุมกระโดด (13 สกุล) และสกุล Myrmarachne ก็มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ มากกว่า 200 ชนิด การเลียนแบบมดในหมู่แมงมุมนั้นเชื่อกันว่าได้วิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ล้านปี นักวิทย์พบว่า แมงมุมมีการเลียนแบบมดอยู่ 2กลุ่มคือ กลุ่มที่หลงรูปความเป็นแมงมุมของตัวเอง ออกแนวสวยเลิศเชิดหยิ่งและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พวกนี้ไม่ทนกับความร้ายกาจของมด อาจมีหรือไม่มีฟีโรโมน และมีขนาดเล็กจนมดไม่สามารถแยกแยะออกว่าเป็นผู้บุกรุก ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า myrmecophily และอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมันจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง พฤติกรรม และสีสันให้คล้ายกับมดต้นแบบให้มากที่สุด ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า myrmecomorphy
แมงมุมมดแดง ตัวเมีย
แมงมุมมดแดงจะเลียนแบบรูปร่างและพฤติกรรมรวมถึงสีสันมดโดยเฉพาะมดแดง (Asian weaver ant, Oecophylla smaragdina) ซึ่งช่วยให้มันรอดพ้นจากสัตว์นักล่าและอันตรายอื่นๆ ได้ การเลียนสิ่งมีชีวิตที่มีอันตรายเพื่อให้ตนเองรอดเงื้อมมือจากสัตว์นักล่านั้นเรียกว่า Batesian mimicry แมงมุมมดในสกุล Myrmarachne มีการเลียนแบบแบบ Batesian mimicry ทั้งหมด แมงมุมมดมักจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้ดูคล้ายกับมดนั่นคือ รูปร่างของมันดูเหมือนจะมีสามส่วนทั้งที่จริงแล้วมันมีแค่สองส่วน ลักษณะภายนอกที่ดูมันวาวแบบมด การมีขาที่ยาวและเล็ก (ในแมงมุมทั่วไป ขาจะสั้นและป้อม) การใช้ขาหน้าชูขึ้นโบกไปมาเหมือนกับหนวดของมด (antennal illusion) และยังช่วยลดจำนวนขาจาก 4คู่เหลือ 3คู่ได้อย่างแนบเนียน การเดินเอียงซ้ายเอียงขวาอย่างรวดเร็วแบบแมลงทั่วไป การยกท้องขึ้นลง การสร้างจุดสีบนตัวเพื่อทำให้มันดูเหมือนมีตารวมแบบมด การมีสีสันหรือลวดลายที่คล้ายกับต้นแบบ (เรียกว่า pattern mimicry) ตำแหน่งของอวัยวะปั่นใย (spinnerets) ที่เปลี่ยนไปทำให้ดูเหมือนมันมีเหล็กใน การดัดแปลงหรือพัฒนาโครงสร้างบางอย่างเช่น การมีกลุ่มขนสั้นมันวาวหรือสะท้อนแสง หนามด้านข้างส่วนหัว (cephalothorax) เป็นต้น ในแมงมุมมดแดงก็เช่นกัน ตัวเมียจะเลียนแบบพฤติกรรมและท่าทางของมดงาน แต่ตัวผู้จะพิเศษกว่าตัวเมียนิดหนึ่งคือ ส่วนรยางค์จับเหยื่อ (chelicerae) จะยืดยาวออกมา รยางค์นี้ช่วยให้ขนาดของตัวผู้เพิ่มขึ้นถึง 50-70% นักวิทย์เองเชื่อว่ามันเป็นการเลียนแบบมดงานที่กำลังขนบางอย่างอยู่ (encumbered ant) พวกเขาจึงเรียกการเลียนแบบนี้ว่า compound mimicry ลักษณะเช่นนี้ทำให้มดงานคิดว่าเป็นพวกเดียวกันที่ขนบางอย่างอยู่ และสัตว์ผู้ล่าก็คิดว่านั่นคือมดมากกว่าแมงมุม
แมงมุมมดแดง ตัวผู้ จะมีรยางค์จับเหยื่อที่ยืดยาวออกมาเด่นชัด
นอกจากจะใช้วิธีการเลียนแบบมดงานขนของแล้ว การมีรยางค์จับเหยื่อที่ยืดยาวยังเป็นลักษณะทางเพศที่ถูกคัดเลือกเพื่อให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (dimorphism) ในแมงมุมสกุลนี้อีกด้วย สีสันและความยาวของรยางค์จับเหยื่อจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอาหารและมดต้นแบบที่มันอยู่ร่วมด้วย สีสันของแมงมุมมดแดงมีตั้งแต่สีดำ ส้ม และแดง นักวิทย์เองก็เชื่อว่าการมีสีสันหลายรูปแบบเช่นนี้เกิดมาจากแรงกดดันของมดต้นแบบกับการเลือกคู่ผสมพันธุ์ (sexual selection) อีกทั้ง ตัวอ่อนในแต่ละระยะของมันสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันไปตามมด(ต้นแบบ)ที่มันพบเจอในช่วงนั้นๆ ได้อีกด้วย เราเรียกการเลียนแบบลักษณะนี้ว่า transformational mimicry ส่วนตัวเต็มวัยนั้น ตัวผู้และตัวเมียอาจเลียนแบบมดคนละชนิดกัน ระดับความเหมือนมดของแมงมุมกระโดดในสกุล Myrmarachne นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด บางชนิดมีความเหมือนมาก แต่ในบางชนิดกลับมีความเหมือนน้อยเช่น ตัวผู้ของแมงมุมมด M. bakeri จะมีรูปร่างแบ่งออกเป็นสองส่วน มีลำตัวยาวเรียว และขายาว จากการศึกษาพบว่า การที่แมงมุมชนิดนี้มีลักษณะเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่ามันไม่ต้องการหลอกตามดแดง แต่มันกลับใช้หลอกตาแมงมุมกระโดดชนิดอื่นและตั๊กแตนตำข้าวที่ล่าพวกมันเป็นอาหารแทน นักวิทย์พบว่า แมงมุมมดที่เลียนแบบจำเพาะกับมดต้นแบบชนิดหนึ่งจะอยู่รอดได้ดีกว่าแมงมุมมดที่เลียนแบบมดแบบไม่เจาะจง สิ่งนี้บ่งชี้ว่า พวกมันได้วิวัฒน์ลักษณะจำเพาะเช่นนี้เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในหมู่มดต้นแบบที่ดุร้ายเหล่านี้
แมงมุมกระโดดทั่วไปนั้นมีสายตาที่เฉียบแหลม พวกมันสามารถตรวจจับและตอบสนองอย่างเหมาะสมได้จากเบาะแสที่ไม่เคลื่อนไหวจากการมองเห็นในระยะห่างอย่างน้อย 20ช่วงตัว แต่แมงมุมมดนั้นกลับแยกแยะสัตว์นักล่า เพื่อน หรือมดได้ในระยะที่ใกล้กว่าแมงมุมกระโดดสกุลอื่น แล้วปฏิกิริยาเมื่อพบแมงมุมมดชนิดอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นที่เลียนแบบมดล่ะ?มีการทดลองเพื่อตอบคำถามนี้โดยใช้แมงมุมมด Myrmarachne sp. F ที่พบในประเทศออสเตรเลียมาทดลองกับตัวอ่อนมวนเจาะฝักถั่วสีน้ำตาล (pod-sucking bug/brown bean bug, Riptortus serripes) ที่เลียนแบบมด มวนที่มีรูปร่างไม่เหมือนกับมดแดง และมดแดง พบว่า แมงมุมมดแดงชนิดนี้จะหลีกหนีมดมากกว่าตัวอ่อนมวนที่เลียนแบบมดแดง อีกทั้ง มันยังใช้เวลาในการ’สังเกต’ตัวอ่อนนี้มากกว่ามดแดงหรือมวนอีกด้วย การทดลองนี้บ่งชี้ว่า แมงมุมมดแดงชนิดนี้สามารถแยกแยะออกว่าตัวไหนเป็นมดแดง ตัวไหนเลียนแบบมดแดง ตัวไหนไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต และตัวไหนเป็นเหยื่อ การทดลองอื่นยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า แมงมุมมดในสกุลนี้มันสามารถแยกแยะกับดักที่ไม่เคลื่อนไหวกับเหยื่อที่ตายแล้วออกจากกันได้ ในขณะที่แมงมุมกระโดดชนิดอื่นกลับแยกแยะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
โดยส่วนใหญ่แล้ว แมงมุมมดเป็นแมงมุมที่หากินในตอนกลางวัน และมักใช้ข้อมูลจากการมองเห็นในการล่าหรือสื่อสารกับพวกเดียวกันเป็นหลักมากกว่าข้อมูลจากสารเคมี แมงมุมมดเพียงส่วนน้อยจะกินมดต้นแบบ แต่ส่วนใหญ่จะกินแมลงขนาดกลางหรือขนาดเล็กอื่นๆ เป็นอาหารโดยเฉพาะแมลงในกลุ่มแมลงวันและผีเสื้อ ในบางครั้งมันก็กินไข่ของแมงมุมชนิดอื่นเช่นกัน โดยพวกมันจะยื่นรยางค์จับเหยื่อไปแตะกับรังไข่และปล่อยน้ำลายออกมาย่อยสลายใย จากนั้นก็ยื่นรยางค์เข้าไปภายในรังและกินกลุ่มไข่นั้น แต่แมงมุมมดบางชนิดที่กินไข่และตัวอ่อนของแมงมุมกระโดดชนิดอื่นกลับใช้วิธีขับไล่เจ้าของไข่นั้นแทน แมงมุมมด Myrmarachne melanotarsa จะสร้างรังร่วมกับแมงมุมกระโดด Menemerus sp. จะใช้ลักษณะที่คล้ายกับมดเพื่อไล่แมงมุมกระโดดเจ้าของรังแล้วดอดเข้าไปกินไข่และตัวอ่อนของแมงมุมกระโดดนั้น นอกจากนี้ มีรายงานพบว่าแมงมุมมดบางชนิดกินน้ำหวานเป็นอาหารเช่นกัน แมงมุมมดชนิด M. melanotarsa ในทวีปแอฟริกาตะวันออก และ M.foenisex ที่พบในทวีปแอฟริกากลางและตะวันตกที่กินน้ำหวานในบางครั้ง นักวิทย์เชื่อว่าการที่มันกินน้ำหวานนี้เป็นเพราะพวกเพลี้ยอ่อนสร้างน้ำหวานเพื่อล่อให้มดต้นแบบกิน และแมงมุมมดก็ได้อานิสงส์จากมดต้นแบบ อีกทั้งยังช่วยให้มันเนียนในการเลียนแบบพฤติกรรมมดต้นแบบของมันนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนักวิทย์พบว่า มีแมงมุมมดอีกชนิดหนึ่งที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อหลอกให้สัตว์นักล่าคิดว่าเป็นกลุ่มของมด เราเรียกการเลียนแบบกลุ่มของสัตว์อันตรายเพื่อไม่ให้สัตว์นักล่ามากินว่า collective mimicry แมงมุมมด Myrmarachne melanotarsa เป็นแมงมุมมดขนาดเล็กที่เลียนแบบมด Crematogaster sp. ที่มีขนาดพอกัน พวกมันมักอยู่เป็นกลุ่มรวมถึงการสร้างรังขนาดใหญ่ (nest complex) โดยแต่ละรังต่อเชื่อมกันโดยเส้นใยตั้งแต่หลายสิบรังจนถึงหลายร้อยรัง การทดลองพบว่า สัตว์นักล่าโจมตีแมลงชนิดอื่นและแมงมุมชนิดอื่นที่ไม่เหมือนมดมากกว่ามดและแมงมุมมดชนิดนี้ อีกทั้ง สัตว์นักล่ายังโจมตีมดและแมงมุมมดที่อยู่เป็นกลุ่มน้อยกว่ามดและแมงมุมมดที่อยู่ตัวเดียวอีกด้วย สิ่งนี้บ่งชี้ว่า สัตว์นักล่ามีสัญชาตญาณที่จะไม่เข้าใกล้มดและแมงมุมมด และพวกมันยังมีสัญชาตญาณในการหลีกหนีกลุ่มของมดหรือแมงมุมมดมากกว่าการหลีกหนีมดหรือแมงมุมมดที่อยู่ตัวเดียว
แมงมุมมดในสกุล Myrmarachne มักแฝงอยู่ใกล้กับฝูงมดแดง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากในการประจันหน้ากับมดแดงตัวจริงแล้วอาจโดนรุมโจมตี และอาจตายได้ในที่สุด แต่การศึกษาพบว่า มดแดงมีการฆ่าหรือโจมตีแมงมุมมดแดงน้อยกว่าแมงมุมกระโดดชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากสายตาอันดีเลิศและพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อพบเจอกับมดแดงในระยะประชิดร่วมด้วย แมงมุมในสกุลนี้ส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและจะหนีไป โดยแมงมุมมดจะเคลื่อนตัวออกห่างมากกว่าการกระโดดหนี ยกเว้นในกรณีที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในระยะใกล้มากเท่านั้น แต่หลายครั้งที่ภัยมาใกล้ตัว มันจะหยุดนิ่งแล้วยกขาคู่หน้าขึ้นส่ายไปมาเลียนแบบหนวดของมดและเป็นการส่งสัญญาณว่า "เราพวกเดียวกันเน้อ..." นอกจากนี้ ในปัจจุบันเรายังพบว่าแมงมุมมดชนิด M. assimilis (ที่เลียนแบบมดแดงเช่นกัน) สามารถแยกแยะมดต้นแบบ สมาชิก และเหยื่อจากการมองเห็นของมันได้ ซึ่งแมงมุมชนิดอื่นหรือมดเองก็ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองของแมงมุมที่กินแมงมุมชนิดอื่นเป็นอาหารก็ขึ้นกับระดับความเหมือนของแมงมุมมด ถ้าแมงมุมมดนั้นมีความเหมือนกับมดต้นแบบมาก แมงมุมนักล่าจะหลีกเลี่ยงการปะทะ เนื่องจากมันคิดว่าเป็นมดเช่น แมงมุมกระโดดที่ล่าแมงมุมชนิดอื่นเป็นอาหาร Portia fimbriata เป็นแมงมุมกระโดดนักล่าที่มีสายตาดีที่สุดในหมู่แมงมุมกระโดดด้วยกัน การทดลองพบว่า มันสามารถแยกแยะพวกแมงมุมกระโดดได้จากดวงตาคู่หน้าขนาดใหญ่เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การจำแนกแมงมุมวงศ์นี้ของนักอนุกรมวิธานแมงมุม P. fimbriata จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองกับแมงมุมมด Synageles occidentalis (ที่เชื่อกันว่าเลียนแบบมด Lasius alienus หรือ Myrmica americana) เหมือนกับตอนที่มันเจอกับมดนั่นคือ การหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้มด แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแมงมุมมดตัวผู้ในสกุล Myrmarachneที่รยางค์จับเหยื่อยืดยาวออกมาเหมือนกับมดกำลังขนอะไรบางอย่างอยู่ การทดลองพบว่า แมงมุมกระโดดที่กินมดเป็นอาหารชอบจับแมงมุมมดตัวผู้ในสกุลนี้มากกว่าตัวเมีย อาจเป็นเพราะรยางค์ที่คล้ายกับมดที่กำลังขนอะไรอยู่นั้นมีอันตรายน้อยกว่ามดที่ไม่มีอะไรอยู่ในปาก (ซึ่งมันพร้อมจะกัดได้ตลอดเวลา) แต่ในบางชนิดที่มีความเหมือนน้อยกว่าเช่น Myrmarachne bakeri ตัวผู้ก็มักถูกแมงมุมนักล่าจับกินเป็นครั้งคราวเช่นกัน ในกรณีแมงมุมนักล่ามดจะเข้ามาจับกิน แมงมุมมดเองก็จะแสดงท่าทางเพื่อบอกว่าตนเองนั้นไม่ใช่มดในทันที โดยการยกขาหน้าแสดงเหมือนกับแมงมุมกระโดดชนิดอื่นๆ ที่ใช้แสดงเวลาจะต่อสู้กัน เพื่อไล่แมงมุมกระโดดนักล่าไปให้ไกล ในสัตว์นักล่าอื่นๆ นั้น พวกมันจะเลือกจับแมงมุมที่ไม่เหมือนกับมดกินมากกว่าแมงมุมมดอีกเช่นกัน นกกินแมลงหลายชนิดเลือกกินแมงมุมที่ไม่เลียนแบบมดและแมลงชนิดอื่นๆ มากกว่าแมงมุมมด Myrmarachne formicaria และมดต้นแบบ Formica rufa เช่นเดียวกับตั๊กแตนตำข้าวที่จะหลีกเลี่ยงมดและแมงมุมมด
แมงมุมมดแดงที่ผมเจอก็เหมือนกับแมงมุมมดชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกันที่มักทำรังบริเวณด้านบนหรือด้านล่างของใบไม้ ใบไม้แห้งที่ม้วนงอ ฝักแห้ง ร่องหรือรอยแตกตามต้นไม้ ทำรังร่วมกับแมงมุมวงศ์อื่น หรือแอบไปอาศัยอยู่ในรังของแมงมุมชนิดอื่น ซึ่งอาจจะเป็นวงศ์เดียวกันหรือคนละวงศ์ก็ได้ แมงมุมมดจะสร้างรังที่มีลักษณะเป็นวงรีค่อนข้างแบนทำด้วยใยสีขาวถักสานกันโดยมีทางออกที่ปลายทั้งสองข้าง แมงมุมมดจะใช้เวลาสร้างรังเพียง 2-3 วันเท่านั้น ในแมงมุมมดแดง (M. plataleoides) นั้น บางครั้งมันก็สร้างรังอยู่ภายในใบไม้แห้งที่ม้วนงอ หรือร่องหรือเปลือกไม้ของต้นไม้ รังของแมงมุมมดในสกุลนี้มักเป็นสถานที่ในการลอกคราบ ผสมพันธุ์ และวางไข่ แมงมุมมดบางชนิดยังอยู่ร่วมกันหลายตัว (เช่น ตัวผู้ และตัวเมียที่ยังโตไม่เต็มที่) ในรังหนึ่งๆ อีกด้วย
นอกจากการเลียนแบบรูปร่างและพฤติกรรมของมดในแมงมุมแล้ว ยังมีกลุ่มแมงมุมอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้วิวัฒน์ตัวให้เหมือนกับมด พวกมันกลับสร้างสารเคมีขึ้นมาเพื่ออยู่ใกล้และเข้าไปในรังมดเพื่อกินไข่ ตัวอ่อน หรือดักแด้ของมด แมงมุมกลุ่มนี้มีการเลียนแบบที่เรียกว่า Wasmannian mimicry หรือพวก myrmecophily นั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว มดหลายชนิดจะใช้ฟีโรโมนหรือสารเคมีชื่อ cuticular hydrocarbon ที่มีความจำเพาะในแต่ละรังในการแยกแยะพรรคพวกกับพวกแปลกหน้าเป็นหลัก แมงมุมกลุ่มนี้จึงวิวัฒนาการมาเพื่อสะสมและปล่อยสารเคมีชนิดนี้ ทำให้มดเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกันและปล่อยให้แมงมุมกลุ่มนี้เข้าไปอยู่ใกล้หรือกินมดได้อย่างสบาย เราเรียกการเลียนแบบแบบนี้ว่า chemical mimicry เช่น แมงมุมกระโดด Cosmophasis bitaeniata จะใช้ปล่อยสาร cuticular hydrocarbon เพื่อเข้าไปยังรังของมดแดง (Oecophylla smaragdina) และจับตัวอ่อนมดแดงมากิน รวมถึงการคว้าตัวอ่อนมาจากเขี้ยวมดงานที่กำลังขนตัวอ่อนนั้นอยู่ได้อีกด้วย นักวิทย์ตั้งสมมุติฐานว่า แมงมุมกระโดดชนิดนี้ได้รับสารเคมีดังกล่าวมาจากการกินตัวอ่อนมดแดง การรับสาร cuticular hydrocarbon จากเหยื่ออาจเกิดจากการที่ส่วนปากของแมงมุมไปสัมผัสกับสารเคมีนี้และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายจากพฤติกรรมทำความสะอาดของมัน อีกสมมุติฐานหนึ่งกล่าวว่า haemolymph hydrocarbons ที่อยู่ในเลือด (haemolymph) ของเหยื่ออาจถูกส่งไปยังผิวนอก (cuticle) ของแมงมุมโดยตรง เนื่องจากสารกลุ่ม hydrocarbon ที่พบในแมงมุมจำนวนหนึ่งมีความคล้ายคลึงกับ cuticular hydrocarbon ของมดและสามารถส่งตรงไปยังผิวนอกได้
แมงมุมมดไม่ได้มีดีแค่คล้ายมดเท่านั้นจริงๆ ครับ
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นฉบับปรับปรุงจากกระทู้ที่ผมเคยเขียนรายงานเรื่องนี้ไว้เมื่อปี 2550 http://www.siamensis.org/exsiam/8219.html และปี 52 http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8505974/X8505974.html)
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
เป็นวิวัฒนการที่สุดยอดดีจัง ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 4
บทความดี ขอบคุณมากครับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 7
ตอนเด็กๆผมไม่เคย เห็นมดมี 8 ขา แต่พอปี 2554 ผมก็เห็นผมมี 8 ขา อะ-.-
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
อึ้งกับบทความสุดยอดบทความนี้ด้วยครับ ชอบมาก ๆ
ความเห็นที่ 10
ความลับของธรรมชาติ มหัศจรรย์กว่าที่เราคิด ^^
ความเห็นที่ 11