น่านรำลึก
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 7 เมษายน 2555
เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์
ไม่มั่นใจว่าที่ผมกำลังเริ่มเขียนอยู่นี่จะเป็นอะไร เป็นบทความท่องเที่ยว หรือ บทบ่น หรืออะไร เพียงแต่รู้สึกว่าต้องเขียนสิ่งที่ได้เห็นมาจากจังหวัดน่านให้ได้รับรู้กัน เผื่อว่าจะมีใคร ผู้มีอำนาจใดๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาวน่าน ข้าราชการ นักการเมือง NGO บังเอิญผ่านมาได้อ่านแล้วอาจจะช่วยแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นบ้าง
สิ่งที่ผมได้เห็น คือการตัดไม้ทำลายป่าอย่างมโหฬาร และเลวร้ายที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะจังหวัดไหนก็ไม่เคยเห็นถึงขนาดนี้ เขาโล้นเป็นลูกใหญ่ สุดลูกหูลูกตา เผาทั้งหญ้าทั้งไม้จนเหลือแต่ตอ อากาศเต็มไปด้วยเขม่าควันกลุ่นอยู่ตลอดเวลา ผ่านไปทางไหนก็ตัดเผา ถ้าหากประเทศไทยขาดป่าต้นน้ำเอาไว้เพื่อเป็นฟองน้ำไว้ซับน้ำแล้ว ฝนที่ตกลงมามากกว่าปกติ ในยุคที่อากาศค่อนข้างวิปริตแบบนี้จะไหลลงสู่พื้นที่เบื้องล่างเป็นก้อนใหญ่อย่างรวดเร็ว ทำลายระบบนิเวศในน้ำหลายแห่งที่ผ่านไป ก่อนที่จะท่วมพื้นที่ด้านล่างเสียหาย อย่างช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างเขื่อน แก้มลิง หรือแหล่งรับน้ำใดๆ รองรับน้ำจำนวนมหาศาลที่ตกลงแล้วไม่มีการดูดซับไว้โดยพื้นดินต้นน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่เบื้อง ล่าง ไม่นับรวมอากาศเสีย เขม่าฝุ่นควันอันตราย ซึ่งทำร้ายทุกคน ทั้งคนเผาและคนที่ไม่ได้เผา
ฝนที่ตกลงดินโล้นๆ ยังชะล้างทำลายหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปอีกมหาศาล โดยเฉพาะการทำเกษตรบนพื้นที่สูงชันมากๆอย่างที่เห็นในจังหวัดน่าน หน้าดินที่เสียไปจะทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมีมาบำรุงพืช หน้าดินที่ถูกชะลงไปยังทำให้คุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำแย่ลง ปลาตาย หากินไม่ได้ ขยายพันธุ์ไม่ได้ จำนวนลดลง ก็ขาดแหล่งโปรตีน ชะลงไปมากๆ ก็ไปตกทับถมทำให้แหล่งน้ำด้านล่างตื้นเขินอีก อย่างแม่น้ำน่าน แน่นอนว่าตะกอนจำนวนมหาศาลจะไปตกอยู่ในเขื่อนสิริกิตต์ ทำให้เขื่อนตื้นเขิน กักน้ำได้น้อยลง และอาจจะเสื่อมสภาพใช้งานไม่ได้เร็วกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้ (เขื่อนก็มีอายุการใช้งานนะครับ ดินตะกอนตกทับถม จนกักเก็บน้ำไม่ได้ตามจำนวนที่ควรจะเป็น ก็ใช้งานไม่ได้ ผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ได้เช่นกัน)
เมื่อทำลายป่าแล้ว ผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ เฉพาะในอำเภอที่พวกผมผ่าน คือ อ.แม่จริม สันติสุข และ บ่อเกลือ เราพบว่าแหล่งน้ำที่เคยเห็นสวยงามเมื่อเพียงแค่ 3-4 ปีก่อน กลับทรุดโทรมลงอย่างน่าใจหาย
ปลางวง (Yasuhikotakia nigrolineata)
ในน้ำว้าถึงแม้นว่าจะยังมีปลาและสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก แต่ชนิดที่มีความโดดเด่นอย่าง ปลางวงกลับหายไปอย่างไร้ร่องรอย การจับเพื่อส่งขายเป็นปลาสวยงามทำให้จำนวนของปลาชนิดนี้ลดลง ในขณะที่ชาวบ้านบอกว่าคุณภาพน้ำที่แย่ลงของน้ำว้า โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากที่ขุ่นข้นขึ้น ทุกปีทำให้ปลาหลายชนิดลดจำนวนลง ถ้าถามหาปลาชนิดนี้ ทุกคนจะรู้จักดี เคยจับขาย แล้วจะใช้คำว่า "เคยมี" ตรงนั้น "เคยมี" ตรงนี้ น่าเสียดาย
น้ำมาง ที่ไหลผ่านอ.บ่อเกลือขุ่นขลักจากการขุดลอกที่บริเวณต้นน้ำ
ฝายบริเวณอ.บ่อเกลือ เป็นการทำลายระบบนิเวศลำธารต้นน้ำ
ที่อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เราได้เห็นการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างผิดๆ การสร้างฝายบริเวณต้นน้ำ ไม่ได้ช่วยทำให้น้ำไม่ท่วม อาจจะเป็นการซ้ำเติมด้วยซ้ำ เพราะทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอนทรายด้านหลังฝายทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน เราเห็นการขุดลอกลำธาร ย้ำว่าลอกลำธาร เอาหินกรวดในลำธารขึ้นมากองอยู่ เป็นการทำลายระบบนิเวศลำธารที่ร้ายแรงมาก และเป็นการทำลายสมดุลย์ของการไหลของน้ำในลำธาร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของท้องน้ำ น้ำจะเปลี่ยนทิศทางและวิธีการไหล ซึ่งมักจะก่อให้เกิดการกัดเซาะตลิ่งอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดดินตะกอนทำให้คุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำแย่ลงไปอีก
ลำธารโดยธรรมชาติแล้ว จะแบ่งได้คร่าวๆเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่น้ำลึกสักหน่อย น้ำตรงนี้จะค่อยๆไหล และส่วนที่เกิดการบีบแคบของลำน้ำ หรือมีการยกตัวขึ้น จะเกิดเป็นบริเวณที่เรียกว่าแก่ง ที่แก่งนี้ ใครที่เคยเห็นจะเห็นว่าน้ำมีการไหลเวียน หมุนวน มากกว่าปกติ ทำให้มีฟองอากาศในบริเวณแก่งมากมาย ตรงนี้เป็นเหมือนการเติมออกซิเจนให้ กับลำธาร และเป็นการทำให้ก๊าซเสียๆระเหยออกไป แก่งจึงเป็นเหมือนปอด เหมือนเหงือกของแหล่งน้ำ ปลาหลายชนิด ปรับตัวให้อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณแก่งเท่านั้น ถ้ามีการขุดลอกลำธาร จนกลายเป็นแหล่งน้ำลึกๆ ไหลเสมอกันหมด คุณภาพของน้ำในลำธารจะแย่ลง ปลาหลายชนิดจะสูญพันธุ์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซ้ำเติมด้วยฝายอีก ในที่สุดแล้วก็จะได้ลำธารตื้นเขิน ที่เต็มไปด้วยตะกอนดินทราย ไม่มีสัตว์น้ำ ไม่มีปลา ไม่มีแหล่งโปรตีน ไม่นับรวมว่าหินลำธารที่ถูกขุดขึ้นมานั้นไปไหน บางที่บางแห่ง มีการนำไปขายก็มี
แก่งเป็นเหมือนปอดเหมือนเหงือกของแหล่งน้ำ
ปลาหลายชนิด เช่นปลาแค้ห้วย ปรับตัวอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณแก่งเท่านั้น
ปลาค้างคาวศิลาเพชร (ตัวบน) และปลาผีเสื้อน่าน (ตัวล่าง) เป็นปลาเฉพาะถิ่นของต้นแม่น้ำน่าน ไม่พบที่อื่นใดในโลก
อยากจะย้ำถึงความสำคัญของลำธาร ว่าเป็นแหล่งน้ำที่มีปลา ที่ปรับตัวอาศัยอยู่เฉพาะในลำธาร ค่อนข้างมาก อย่างในจังหวัดน่านเอง มีปลาที่เป็นปลาเฉพาะถิ่นของต้นแม่น้ำน่าน ไม่พบที่อื่นในโลกหลายชนิด เช่นปลาผีเสื้อน่าน ปลาค้างคาวภูคา ปลาค้างคาวทุ่งช้าง ปลาค้างคาวศิลาเพชร ปลาค้อน่าน ปลาบู่น้ำตกน่าน เป็นต้น ความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ ถือเป็นสมบัติอันมีค่า ช่วยทำให้ระบบนิเวศสมบูรร์ให้มนุษย์ได้พึ่งพา ใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่ตีนดอยภูคา เราขับรถผ่านลำธารแห่งหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อนผมเคยผ่านมาแล้ว ถึงแม้นว่าจะมีฝายใหญ่ แต่ก็ออกแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพอสมควร มีการลดหลั่นของน้ำ ทำให้ปลาและสัตว์น้ำอาจจะพอข้ามได้บ้าง ที่กลางลำธารมีเกาะเล็กๆที่มีต้นไคร้น้ำขึ้นอยู่ หันไปด้านหลัง ลำธารจะรวมกันเป็นสายเดียว ไหลแทรกไปในดงต้นไคร้น้ำ สะท้อนแสงอาทิตย์ยามเย็นเป็นสีเงินสวยงามมาก
มาคราวนี้ผมช๊อคเลย เมื่อเห็นลำธารแห่งเดิม น้ำแห่งแก๊ก เกาะไคร้น้ำหายไป หันไปอีกฝั่งก็ไม่มีดงต้นไคร้น้ำอีกแล้ว ถึงแม้ว่าคราวที่แล้วจะเป็นการมาในช่วงปลายฝน และคราวนี้เป็นช่วงปลายฤดูแล้ง แต่ลำธารใหญ่ขนาดนี้ อยู่บนแหล่งต้นน้ำที่สำคัญขนาดนี้ การที่แห้งไปเลยแบบนี้ต้องถือว่าไม่ปกติ ถ้ามีป่าคอยช่วยชะลอและค่อยๆปล่อยน้ำออกมา ผมเชื่อว่าลำธารแห่งนี้จะยังมีน้ำอยู่ เพราะปลายปีที่แล้วอย่างที่ทราบกันว่ามีฝนตกเยอะมาก แต่เมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำกันมโหฬารอย่างที่เห็น ก็คงไม่แปลกที่น้ำทั้งหมด จะไหล
กระหน่ำลงสู่ด้านล่างโดยไม่มีการชะลอไว้เลย ระบบนิเวศลำธารต้นน้ำล่มสลายไปพร้อมกับสายน้ำ ดงต้นไคร่น้ำที่เคยช่วยชะลอน้ำไว้ เป็นแหล่งอาศัยพึ่งพิงของสัตว์น้ำ ถูกใครขุดลอกไปหรือว่าถูกน้ำหลากพัดไปจนหมด? ผมไม่แน่ใจ รู้แต่ว่า ลำธารแห่งนี้ ตายสนิทเลยทีเดียว
จากลำธารเราไปเที่ยวกันที่น้ำตกศิลาเพชร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแถวนั้น สิ่งแรกที่เห็น คือฝาย โอเค อาจจะสร้างเพื่อยกระดับน้ำให้นักท่องเที่ยวได้เล่น ก็อาจจะพอเข้าใจได้ แต่มีอันเล็กอันน้อยตามมาอีกหลายอัน เริ่มไม่เข้าใจ ทางเข้าน้ำตก มีป้ายใหญ่ชัดเจนเลย ว่าห้ามน้ำอาหาร เครื่องดื่ม ภาชนะใดๆ เข้าไปกินในบริเวณน้ำตก แต่สิ่งที่เห็นกลับเป็นตรงกัน ข้าม ใครๆก็เอาอาหารเข้าไปกิน ถุงขนม แก้วพลาสติก ขวดเบียร์ เหล้า โซดา หิ้วกัน เข้าไปนั่ง กินกัน เสร็จแล้วถ้าจะเอากลับออกมาทิ้งก็คงจะพอทุเลา แต่นี่กินเสร็จแล้วเล่นทิ้งเกลื่อนกราดอยู่ริมน้ำตก พวกขี้เมาบางคน ยังทำแก้วแตก ตกหล่นอยู่ในลำธาร น่าหวาดเสียวว่าจะไปบาดเท้าใครเข้า ผมเชื่อเหลือเกิน ว่าคนที่มาเที่ยววันนั้นส่วนใหญ่ เป็นคนที่อยู่แถวนั้นเป็นหลัก ถ้าพวกเขาไม่รัก ไม่หวงแหน ธรรมชาติใกล้ตัวเขาไว้ เก็บลำธาร เก็บป่าที่สวยงามไว้ให้ลูกให้หลานได้ดู เก็บป่าต้นน้ำไว้ช่วยชะลอให้มีน้ำใช้ตลอดปี เก็บลำธารดีๆไว้ให้ปลาอยู่ให้ลูกให้หลานได้จับกิน ถ้ารุ่นเราไม่รักษาแล้วรุ่นต่อไปจะเหลืออะไร?
ไม่มั่นใจว่าที่ผมกำลังเริ่มเขียนอยู่นี่จะเป็นอะไร เป็นบทความท่องเที่ยว หรือ บทบ่น หรืออะไร เพียงแต่รู้สึกว่าต้องเขียนสิ่งที่ได้เห็นมาจากจังหวัดน่านให้ได้รับรู้กัน เผื่อว่าจะมีใคร ผู้มีอำนาจใดๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาวน่าน ข้าราชการ นักการเมือง NGO บังเอิญผ่านมาได้อ่านแล้วอาจจะช่วยแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นบ้าง
สิ่งที่ผมได้เห็น คือการตัดไม้ทำลายป่าอย่างมโหฬาร และเลวร้ายที่สุดในประเทศไทย ไม่ว่าจะจังหวัดไหนก็ไม่เคยเห็นถึงขนาดนี้ เขาโล้นเป็นลูกใหญ่ สุดลูกหูลูกตา เผาทั้งหญ้าทั้งไม้จนเหลือแต่ตอ อากาศเต็มไปด้วยเขม่าควันกลุ่นอยู่ตลอดเวลา ผ่านไปทางไหนก็ตัดเผา ถ้าหากประเทศไทยขาดป่าต้นน้ำเอาไว้เพื่อเป็นฟองน้ำไว้ซับน้ำแล้ว ฝนที่ตกลงมามากกว่าปกติ ในยุคที่อากาศค่อนข้างวิปริตแบบนี้จะไหลลงสู่พื้นที่เบื้องล่างเป็นก้อนใหญ่อย่างรวดเร็ว ทำลายระบบนิเวศในน้ำหลายแห่งที่ผ่านไป ก่อนที่จะท่วมพื้นที่ด้านล่างเสียหาย อย่างช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างเขื่อน แก้มลิง หรือแหล่งรับน้ำใดๆ รองรับน้ำจำนวนมหาศาลที่ตกลงแล้วไม่มีการดูดซับไว้โดยพื้นดินต้นน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่เบื้อง ล่าง ไม่นับรวมอากาศเสีย เขม่าฝุ่นควันอันตราย ซึ่งทำร้ายทุกคน ทั้งคนเผาและคนที่ไม่ได้เผา
ฝนที่ตกลงดินโล้นๆ ยังชะล้างทำลายหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไปอีกมหาศาล โดยเฉพาะการทำเกษตรบนพื้นที่สูงชันมากๆอย่างที่เห็นในจังหวัดน่าน หน้าดินที่เสียไปจะทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย ซื้อสารเคมีมาบำรุงพืช หน้าดินที่ถูกชะลงไปยังทำให้คุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำแย่ลง ปลาตาย หากินไม่ได้ ขยายพันธุ์ไม่ได้ จำนวนลดลง ก็ขาดแหล่งโปรตีน ชะลงไปมากๆ ก็ไปตกทับถมทำให้แหล่งน้ำด้านล่างตื้นเขินอีก อย่างแม่น้ำน่าน แน่นอนว่าตะกอนจำนวนมหาศาลจะไปตกอยู่ในเขื่อนสิริกิตต์ ทำให้เขื่อนตื้นเขิน กักน้ำได้น้อยลง และอาจจะเสื่อมสภาพใช้งานไม่ได้เร็วกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้ (เขื่อนก็มีอายุการใช้งานนะครับ ดินตะกอนตกทับถม จนกักเก็บน้ำไม่ได้ตามจำนวนที่ควรจะเป็น ก็ใช้งานไม่ได้ ผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ได้เช่นกัน)
เมื่อทำลายป่าแล้ว ผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ เฉพาะในอำเภอที่พวกผมผ่าน คือ อ.แม่จริม สันติสุข และ บ่อเกลือ เราพบว่าแหล่งน้ำที่เคยเห็นสวยงามเมื่อเพียงแค่ 3-4 ปีก่อน กลับทรุดโทรมลงอย่างน่าใจหาย
ปลางวง (Yasuhikotakia nigrolineata)
ในน้ำว้าถึงแม้นว่าจะยังมีปลาและสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก แต่ชนิดที่มีความโดดเด่นอย่าง ปลางวงกลับหายไปอย่างไร้ร่องรอย การจับเพื่อส่งขายเป็นปลาสวยงามทำให้จำนวนของปลาชนิดนี้ลดลง ในขณะที่ชาวบ้านบอกว่าคุณภาพน้ำที่แย่ลงของน้ำว้า โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากที่ขุ่นข้นขึ้น ทุกปีทำให้ปลาหลายชนิดลดจำนวนลง ถ้าถามหาปลาชนิดนี้ ทุกคนจะรู้จักดี เคยจับขาย แล้วจะใช้คำว่า "เคยมี" ตรงนั้น "เคยมี" ตรงนี้ น่าเสียดาย
น้ำมาง ที่ไหลผ่านอ.บ่อเกลือขุ่นขลักจากการขุดลอกที่บริเวณต้นน้ำ
ฝายบริเวณอ.บ่อเกลือ เป็นการทำลายระบบนิเวศลำธารต้นน้ำ
ที่อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เราได้เห็นการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างผิดๆ การสร้างฝายบริเวณต้นน้ำ ไม่ได้ช่วยทำให้น้ำไม่ท่วม อาจจะเป็นการซ้ำเติมด้วยซ้ำ เพราะทำให้เกิดการสะสมของดินตะกอนทรายด้านหลังฝายทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน เราเห็นการขุดลอกลำธาร ย้ำว่าลอกลำธาร เอาหินกรวดในลำธารขึ้นมากองอยู่ เป็นการทำลายระบบนิเวศลำธารที่ร้ายแรงมาก และเป็นการทำลายสมดุลย์ของการไหลของน้ำในลำธาร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของท้องน้ำ น้ำจะเปลี่ยนทิศทางและวิธีการไหล ซึ่งมักจะก่อให้เกิดการกัดเซาะตลิ่งอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดดินตะกอนทำให้คุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำแย่ลงไปอีก
ลำธารโดยธรรมชาติแล้ว จะแบ่งได้คร่าวๆเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่น้ำลึกสักหน่อย น้ำตรงนี้จะค่อยๆไหล และส่วนที่เกิดการบีบแคบของลำน้ำ หรือมีการยกตัวขึ้น จะเกิดเป็นบริเวณที่เรียกว่าแก่ง ที่แก่งนี้ ใครที่เคยเห็นจะเห็นว่าน้ำมีการไหลเวียน หมุนวน มากกว่าปกติ ทำให้มีฟองอากาศในบริเวณแก่งมากมาย ตรงนี้เป็นเหมือนการเติมออกซิเจนให้ กับลำธาร และเป็นการทำให้ก๊าซเสียๆระเหยออกไป แก่งจึงเป็นเหมือนปอด เหมือนเหงือกของแหล่งน้ำ ปลาหลายชนิด ปรับตัวให้อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณแก่งเท่านั้น ถ้ามีการขุดลอกลำธาร จนกลายเป็นแหล่งน้ำลึกๆ ไหลเสมอกันหมด คุณภาพของน้ำในลำธารจะแย่ลง ปลาหลายชนิดจะสูญพันธุ์ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซ้ำเติมด้วยฝายอีก ในที่สุดแล้วก็จะได้ลำธารตื้นเขิน ที่เต็มไปด้วยตะกอนดินทราย ไม่มีสัตว์น้ำ ไม่มีปลา ไม่มีแหล่งโปรตีน ไม่นับรวมว่าหินลำธารที่ถูกขุดขึ้นมานั้นไปไหน บางที่บางแห่ง มีการนำไปขายก็มี
แก่งเป็นเหมือนปอดเหมือนเหงือกของแหล่งน้ำ
ปลาหลายชนิด เช่นปลาแค้ห้วย ปรับตัวอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณแก่งเท่านั้น
ปลาค้างคาวศิลาเพชร (ตัวบน) และปลาผีเสื้อน่าน (ตัวล่าง) เป็นปลาเฉพาะถิ่นของต้นแม่น้ำน่าน ไม่พบที่อื่นใดในโลก
อยากจะย้ำถึงความสำคัญของลำธาร ว่าเป็นแหล่งน้ำที่มีปลา ที่ปรับตัวอาศัยอยู่เฉพาะในลำธาร ค่อนข้างมาก อย่างในจังหวัดน่านเอง มีปลาที่เป็นปลาเฉพาะถิ่นของต้นแม่น้ำน่าน ไม่พบที่อื่นในโลกหลายชนิด เช่นปลาผีเสื้อน่าน ปลาค้างคาวภูคา ปลาค้างคาวทุ่งช้าง ปลาค้างคาวศิลาเพชร ปลาค้อน่าน ปลาบู่น้ำตกน่าน เป็นต้น ความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ ถือเป็นสมบัติอันมีค่า ช่วยทำให้ระบบนิเวศสมบูรร์ให้มนุษย์ได้พึ่งพา ใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่ตีนดอยภูคา เราขับรถผ่านลำธารแห่งหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อนผมเคยผ่านมาแล้ว ถึงแม้นว่าจะมีฝายใหญ่ แต่ก็ออกแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพอสมควร มีการลดหลั่นของน้ำ ทำให้ปลาและสัตว์น้ำอาจจะพอข้ามได้บ้าง ที่กลางลำธารมีเกาะเล็กๆที่มีต้นไคร้น้ำขึ้นอยู่ หันไปด้านหลัง ลำธารจะรวมกันเป็นสายเดียว ไหลแทรกไปในดงต้นไคร้น้ำ สะท้อนแสงอาทิตย์ยามเย็นเป็นสีเงินสวยงามมาก
มาคราวนี้ผมช๊อคเลย เมื่อเห็นลำธารแห่งเดิม น้ำแห่งแก๊ก เกาะไคร้น้ำหายไป หันไปอีกฝั่งก็ไม่มีดงต้นไคร้น้ำอีกแล้ว ถึงแม้ว่าคราวที่แล้วจะเป็นการมาในช่วงปลายฝน และคราวนี้เป็นช่วงปลายฤดูแล้ง แต่ลำธารใหญ่ขนาดนี้ อยู่บนแหล่งต้นน้ำที่สำคัญขนาดนี้ การที่แห้งไปเลยแบบนี้ต้องถือว่าไม่ปกติ ถ้ามีป่าคอยช่วยชะลอและค่อยๆปล่อยน้ำออกมา ผมเชื่อว่าลำธารแห่งนี้จะยังมีน้ำอยู่ เพราะปลายปีที่แล้วอย่างที่ทราบกันว่ามีฝนตกเยอะมาก แต่เมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำกันมโหฬารอย่างที่เห็น ก็คงไม่แปลกที่น้ำทั้งหมด จะไหล
กระหน่ำลงสู่ด้านล่างโดยไม่มีการชะลอไว้เลย ระบบนิเวศลำธารต้นน้ำล่มสลายไปพร้อมกับสายน้ำ ดงต้นไคร่น้ำที่เคยช่วยชะลอน้ำไว้ เป็นแหล่งอาศัยพึ่งพิงของสัตว์น้ำ ถูกใครขุดลอกไปหรือว่าถูกน้ำหลากพัดไปจนหมด? ผมไม่แน่ใจ รู้แต่ว่า ลำธารแห่งนี้ ตายสนิทเลยทีเดียว
จากลำธารเราไปเที่ยวกันที่น้ำตกศิลาเพชร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแถวนั้น สิ่งแรกที่เห็น คือฝาย โอเค อาจจะสร้างเพื่อยกระดับน้ำให้นักท่องเที่ยวได้เล่น ก็อาจจะพอเข้าใจได้ แต่มีอันเล็กอันน้อยตามมาอีกหลายอัน เริ่มไม่เข้าใจ ทางเข้าน้ำตก มีป้ายใหญ่ชัดเจนเลย ว่าห้ามน้ำอาหาร เครื่องดื่ม ภาชนะใดๆ เข้าไปกินในบริเวณน้ำตก แต่สิ่งที่เห็นกลับเป็นตรงกัน ข้าม ใครๆก็เอาอาหารเข้าไปกิน ถุงขนม แก้วพลาสติก ขวดเบียร์ เหล้า โซดา หิ้วกัน เข้าไปนั่ง กินกัน เสร็จแล้วถ้าจะเอากลับออกมาทิ้งก็คงจะพอทุเลา แต่นี่กินเสร็จแล้วเล่นทิ้งเกลื่อนกราดอยู่ริมน้ำตก พวกขี้เมาบางคน ยังทำแก้วแตก ตกหล่นอยู่ในลำธาร น่าหวาดเสียวว่าจะไปบาดเท้าใครเข้า ผมเชื่อเหลือเกิน ว่าคนที่มาเที่ยววันนั้นส่วนใหญ่ เป็นคนที่อยู่แถวนั้นเป็นหลัก ถ้าพวกเขาไม่รัก ไม่หวงแหน ธรรมชาติใกล้ตัวเขาไว้ เก็บลำธาร เก็บป่าที่สวยงามไว้ให้ลูกให้หลานได้ดู เก็บป่าต้นน้ำไว้ช่วยชะลอให้มีน้ำใช้ตลอดปี เก็บลำธารดีๆไว้ให้ปลาอยู่ให้ลูกให้หลานได้จับกิน ถ้ารุ่นเราไม่รักษาแล้วรุ่นต่อไปจะเหลืออะไร?
ถ้าคนน่านเองไม่รักน่าน แล้วใครจะรักน่าน?
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
http://www.siamensis.org/webboard/topic/35413#new
ความเห็นที่ 3
ไม่น่าเชื่อว่ามันรุ่นแรงขนาดนี้แล้วตอนนี้
บอกได้เลยว่าเสียดาย
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ขอบคุณสำหรับการออกมาเตือน น่าเศร้าใจจากการกระทำของคนในท้องถิ่น ที่มีนายทุนอยู่เบื้องหลังทุกที่ครับ
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
จากที่ได้ข้อมูลมา ปีก่อนปล่อยกู้ให้ชาวบ้าน 30000 เพื่อลงทุนเบื้องต้น ปีนี้เพิ่มวงเงินให้อีกเจ้าละหมื่น
เพื่อให้ชาวบ้านทำไร่ข้าวโพดเพิ่มขึ้น(ที่ขุนน่านนะ แต่ไม่รู้ว่าที่อื่นจะเป็นแบบนี้หรือเปล่า)
และยังบอกชาวบ้านว่า ถ้าเพิ่มพื้นที่ได้อีกมากเท่าไหร่ ส่วนแบ่งกำไรก็จะแบ่งให้อีกมากขึ้น
เพราะทุกปี ทางนายทุนจะแบ่งเศษกำไรอันน้อยนิดมาให้ชาวบ้านแต่ละกลุ่ม ย้ำว่าอันน้อยนิด
แค่เศษขี้เล็บ แต่ชาวบ้านคนชนบทค่ะ เขาได้แค่นั้นก็ดีใจแล้ว เจ้าละไม่กี่พัน โดยหารู้ไม่ว่า นายทุน
ได้ไปอีกกี่ร้อยเท่า ชาวบ้านได้พัน แต่เขาได้ล้าน เราเคยคุยเรื่องนี้กับชาวบ้านค่ะ แต่หลังจากนั้น
ครอบครัวของกลุ่มเราก็เหมือนโดนแบนจากชาวบ้านส่วนใหญ่ คนในครอบครัวด้วย เพราะถูกนายทุน
ปั่นหัวมาหลายปี ทั้งๆที่เราหวังดี และพยายามหาสิ่งทดแทน แต่ว่ากลับทำให้เกลียดชัง ปีนี้หนักค่ะ
ทำลายมากขึ้น แทบทุกหมู่บ้าน เจ้าที่ไม่ได้ทำก็ทำ ขนาดป่าที่ร่วมกันปลูกเมื่อปีก่อน ปีนี้ชาวบ้านยังจุดไฟเผาไม่เลือก เพื่อทำไร่ เห็นแล้วน้ำตาตกเลย ที่หมู่บ้านตอนประชุมชาวบ้าน พวกเรายอมก้มลงกราบชาวบ้านทุกคน เพื่อให้รักษาป่าที่ยังเหลืออยู่น้อยนิด ทั้งๆที่ไม่รู้ว่า ทำไปแล้วเค้าจะเชื่อเราไหม...แต่ข้อมูลที่เพิ่งได้มาลึกกว่านั้นก็คือ เระดับผู้นำในท้องถิ่นมีส่วนด้วย ไล่ตั้งแต่ระดับอำเภอลงมาถึงหัวหน้าหมู่บ้าน ตรงนี้น่ากลัวจริงๆ ที่สำคัญ คนมีอำนาจระดับชุมชน กำลังใช้อิทธิพลเพื่อจะสร้างโกดังรับซื้อเสียเอง โดยเกณฑ์ให้ชาวบ้านทำไร่ทุกพื้นที่ เค้าบอกว่าทุ่มไม่อั้น...ฟังแล้วใจหายจริงๆ การต่อสู้กับกลุ่มทุนพวกนี้ยากค่ะ ถ้าบุกรุกกันตรงๆ โดยไม่ใช้ผ่านชาวบ้าน จะง่ายกว่า เพราะถ้าทำอะไรมาก ชาวบ้านก็ต้องอ้างว่านี่ที่ทำกิน ที่ทำมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย และถ้าเขาไม่ทำ จะเอาอะไรกิน ตรงนี้น่าคิด สุดท้ายก็ต้องกลับเข้าเมืองหลวง ทำงานใช้แรงงาน เป็นลุกจ้าง เหมือนในอดีต ซึ่งคิดว่าชาวบ้านเขาไม่ต้องการแบบนั้น ทุกคนก็ล้วนที่จะอยากทำมาหากินอยู่กับบ้านตัวเอง พอมีนายทุน มาให้ผลประโยชน์ และทุ่มเงินให้ เขาก็ต้องกระโดดเข้าใส่เพื่อปากท้อง คนเราอยากมีอยากได้กันทั้งนั้น ยิ่งสมัยนี้ ถ้าไม่มีเงิน ไม่มีทุน ...อยู่ไม่ได้ ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนก็คือ ต้องเริ่มจากทุกฝ่ายก่อนแล้วค่ะ หลังจจากที่เริ่มจากชาวบ้าน คิดว่าข้อนี้ใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว หากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้คงต้องสางกันยาวทีเดียว เริ่มมาตั้งแต่ระดับสูง ผู้นำ สภาพแวดล้อม ปัญหาปากท้อง การใช้มาตรการที่เด็ดขาด ได้ผลจริง แต่ต้องไม่ทำร้ายชาวบ้าน เพราะเขาก็ต้องกินต้องอยู่เช่นกัน การเร่งหาอาชีพให้เค้าได้มีรายได้เพียงพอ การทำให้ทุกๆคนสามารถหันมาให้ความร่วมมือนั้น ยากยิ่งกว่าค่ะ จากนั้นคงต้องเร่งฟื้นฟูป่าที่สำคัญ ซึ่งยาวนาน ....
ความเห็นที่ 9.1
ความเห็นที่ 9.2
ความเห็นที่ 10
น้ำตาจะไหล T_T
ความเห็นที่ 11
อยากให้ผู้นำประเทศของเรา และคนไทย ตัดสินใจและคิดได้แล้วแหละว่า..
เมืองไทยต้องการพัฒนาตนเองไปในแบบไหน
รักที่จะอยู่อย่างมีความสุข หรือรักที่อยู่กับเงิน
ธรรมชาติกำลังลงโทษเราขนาดนี้
มันน่าจะถึงเวลาที่เราต้องทบทวนตัวเองแล้วนะเราว่า
ความเห็นที่ 12
ทั้งแก้มลิงเราก็ต้องเสียพื้นที่การเพาะปลูก
ลองนึกดูว่า บนภูเขาก็ไม่มีแหล่งอาหาร
บนพื้นราบก็ต้องกันที่เอาไว้ให้น้ำ
ลองนึกสิพวกเราจะกินอะไร
ประเทศไทยเป็นครัวของโลกนะ ครัวถูกทำลาย เราจะกินไรกัน
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
อย่าโทษชาวบ้าน เพราะเราไม่เคยช่วยเหลือเค้าจริงๆจังๆกันเลย ที่เค้าทำไร่บนเขาลำบากกว่าทำที่ราบไม่รู้กี่เท่า แต่เพราะคนที่ส่งเสริมเค้าให้ทำต่างหาก (พ่อค้าปุ๋ย ค้าพืชไร่)
กรมป่าไม้ทำก็เพียงแค่รอที่ดินเปลี่ยนมือ รอคนมีเงินเข้าไปซื้อที่ของชาวบ้าน แล้วจึงไปไล่จับเค้าทีหลัง ไม่เคยแก้ปัญหากับชาวม้งได้สำเร็จเลยซักที เพราะอ้างแต่ของบประมาณ และอ้างแต่ว่าผ่อนปรนให้ทำกิน
โครงการส่วนพระองค์ดีๆเยอะแยะ แต่ไม่มีคนทำได้ เพราะจนท.ป่าไม้ มีส่วนได้ส่วนเสียไม่รู้เท่าไหร่ ในตรงนั้น ยกตัวอย่างเช่น ซื้อที่จากชาวม้งเอง ไร่ละไม่เกินหมื่น แต่ไปขายให้คนในอำเภอหรือคนต่างถิ่น เพิ่มอีกหลายเท่าตัว ได้ไร่ละหมื่น ร้อยไร่ก็หนึ่งล้านละ หรือไม่มีเงินก็ได้ค่านายหน้า
ความเห็นที่ 15
เราเห็นความจริงแค่ 1ใน100 เท่านั้น
ไม่แน่ว่าอาจเป็นพื้นที่สองข้างทางที่ทางการเค้าถางตอนเดินทัพปราบคอมมิวนิสต์ก็ได้ครับเช็คประวัติศาสตร์กันก่อนมั้ย
ไม่ต่างอะไรกับป่าสักทองของไทยแถววังชิ้น และรอบแก่งเสือเต้นหรอกครับ สองข้างทางดูเหมือนเป็นป่าสักผืนใหญ่ ต้นสักก็ใหญ่มากแต่ข้างในกลวงหมดและกลวงมานานแล้วครับ ไม่มีใครตัดได้นอกจากทางการ เป็นหนึ่งในเรื่องโจ๊กของเด็กเกษตรทั่วประเทศ สักทองเป็นไม้เศรษฐกิจอันดับหนึ่งแต่กรมกลับเก็บไว้กินกันเอง ไม่มีการส่งเสริมเพื่อส่งออกอย่างจริงจัง ชาวบ้านปลูกได้(โฉนดของตัวเอง)แต่ตัดทียุ่งยากเหรอเกินต้องจ่ายค่าโน่นนี่จนเหลือต้นละไม่ถึงพัน (5-10ปีขึ้น=ปีละร้อยต่อต้น) บ้านเราต้องนำเข้าไม้สนจากจากต่างประเทศ (สนดีกว่าสักเหรอ) ถ้าผมอยากมีบ้านไม้สัก คิดอยู่ว่าจะลักตัดหรือปลูกเองหรือซื้อจากหลวง
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
มีพวกมาดราม่าใส่ด้วย เหอะๆ เหลือเกินจริงๆ ทั้งๆที่จุดประสงค์ควรจะร่วมกันรณรงค์ และสร้างสรรค์มากกว่ามาทำลายกันเองแท้ๆ
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
เห็นเขาหัวโล้นใจหายเหมือนกันจะมีหน่วยงานไหน ไปให้ความรู้กับ ชาวบ้าน ปลูกจิตสำนึกให้ชาวน่านรักษาป่าบ้างค๊าบบ เราเป็นผู้น้อย ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรมากมายที่จะทำให้ชาวบ้านได้รู้ถึงคุณค่าของป่าไม้บ้างค๊าบบ อยากให้มีหน่วยงานช่วยดูแลเรื่องนี้ค๊าบท่านค๊าบบ
ความเห็นที่ 23
แก้ไม่ยากหรอกครับ ให้คนที่ได้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตั้งแต่ จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไป บริจาคข้าวให้คนบ่อเกลือกินเป็นปีปีไป เท่านี้ก็ไม่ทำไร่แล้ว มิหนำซ้ำยังจะรักษาป่าต้นน้ำให้คนภาคกลางอีกด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา 43 % มาจากน้ำน่านนะครับ
อย่ามัวแต่ว่าให้คนต้นน้ำซิครับ คนกินข้าวนะครับไม่ได้กินหญ้าเหมือนควาย ถ้าไม่ให้เขาทำไร่ แล้วเขาจะเอาข้าวที่ไหนกินลูกเมียเขาละครับ เขาทำไร่ก็ว่าให้เขาทำลายป่า แล้วน้ำที่พวกคุณดื่มกินและใช้กันตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า เพราะพวกเขารักษาป่าให้ไม่ใช่หรือ
คนที่บอกว่าคนต้นน้ำทำลายป่า กลับไปคิดนะครับอย่ามาว่าโดยไม่คิด ปีๆหนึ่งเขื่อนสิริกิตต์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้กี่พันล้านบาทเพราะน้ำน่าน พิจิตรผลิตข้าวได้กี่ล้านตัน ก็เพราะน้ำน่าน แล้วกำไร และรายได้จากสิ่งเหล่านี้ ตอบแทนคนบ่อเกลือกี่บาท ไม่มีเลย บางหมู่บ้านไฟฟ้ายังไปไม่ถึง เดินทางเป็นครึ่งวันกว่าจะถึง เดินทางเท้าด้วย นี่คือทุกข์ของคนบ่อเกลือที่ต้องรักษาต้นน้ำให้กับพวกที่ไม่รู้บุญคุณ ถ้าคนบ่อเกลือไม่รักพวกคุณจริง เอาไหมจะถางแม่งให้เรียบ บ่อเกลือไม่ตายหรอกครับเพราะเรายังมีน้ำจากลาวมาให้ดื่มกิน แต่ไฟฟ้าเขื่อนสิริกิดต์ไม่มีน้ำให้ปั่นไฟแน่ จะลองสักตั้งก็ได้นะครับผมจะปลุกระดมให้ดู
คนที่ควรสำนึกไม่ใช่คนบ่อเกลือ หรือคนต้นน้ำหรอกครับ แต่ควรเป็นพวกนักการเมือง นักธุรกิจ พวกผู้ดีตีนแดงที่มองโลกเพียงแค่นิยามหรือตามตำรา ไม่มาเหยียบดินให้รู้ความทุกข์ชาวบ้านมองแบบไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง แล้วจะพัฒนาได้อย่างไร
แค่คนที่ได้รับผลประโยชน์จากน้ำน่าน บริจาคข้าวให้คนบ่อเกลือ คนละ ลิตรนะ คนบ่อเกลือจะรักษาป่าอันอุดมสมบูรณ์ให้ท่าน แต่ถ้ามาว่ากันอย่างนี้ แม่ง.... จะถางป่าหนึ่งดอยต่อหนึ่งความเห็นให้ดู เอาจริงนะจะบอกให้
คนบ่อเกลือจริงใจ พูดจาตาไม่ขยิบ
ความเห็นที่ 23.1
ถ่างป่าจนหมดอยู่กันไม่ได้หรอกครับพี่ จะมีน้ำจากลาวหรือน้ำขวดจากฝรั่งเศสก็อยู่ไม่ได้เหมือนกันครับ
ความเห็นที่ 23.2
ความเห็นที่ 24
ความเห็นที่ 25
คนน่านไม่เห็นค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ เผาป่า เพื่อเงินเล็กๆน้อยๆ อยากให้ข้าราชการ(ที่ได้เงินเดือนจากภาษีของเรา)ไปช่วยให้ความรู้ ส่งเสริมอาชีพ แก่ชาวบ้าน ชาวเขา ที่ไม่มีความรู้และด้อยโอกาสด้วยนะคะ
ความเห็นที่ 26
หรือจี้ไปทางพรรคฝ่ายค้านตอนนี้ก็ดี
น่าจะเร่งหยุดอะไรได้บ้าง...
กระจายข่าวให้กระพือด้วย ให้คนทั่วไปได้รับข่าวนี้เยอะๆ
ขอยบคุณและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ทำบทความนี้
และขอสนับสนุนกับการเร่งเร้าเพื่อหยุดยั้งทำลายป่า
ความเห็นที่ 27
ความเห็นที่ 28
ความเห็นที่ 29
รบกวนด้วยครับ คือพอดีอยากทราบว่าภาพป่าภูเขาที่โดนเผาจนเหี้ยนไปแล้วนั้น อยู่ตำบล อำเภอไหน หรือพิกัดไหนของน่านครับ คือผมก็ทำงานมีถ่ายภาพทางอากาศอยู่บริเวณภาคเหนือ แต่ก็พึ่งจะเคยเห็นภาพนี้ ยังไงใครทราบขอความกรุณาด้วยนะครับ จาก คนๆหนึ่งที่หวงแหนผืนป่าเมืองไทยเหมือนกัน
ความเห็นที่ 29.1
ความเห็นที่ 30
ขอบคุณ ดร นณณ์ ที่เผยแพร่ ข่าวนี้ ออกมา ตอนนี้ กรมป่าไม้ ตื่นแล้ว ไม่ รู้ ว่า จะต่อเนื่อง จริงจังขนาดไหน แต่ก็ ยังดี ครับ
ความเห็นที่ 31
ขอบคุณ ดร นณณ์ ที่เผยแพร่ ข่าวนี้ ออกมา ตอนนี้ กรมป่าไม้ ตื่นแล้ว ไม่ รู้ ว่า จะต่อเนื่อง จริงจังขนาดไหน แต่ก็ ยังดี ครับ
ความเห็นที่ 32
ก็คนในพื้นที่นั่นแหละไม่คิดที่จะปกป้องเห็นแก่เศษสตางค์ไม่กี่บาทก็คิดว่าเยอะแล้วมั้ง ไม่รู้จักคิดให้ยาว คิดแต่วันพรุ่งนี้ ไม่คิดถึงอีก 10 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร พอเกิดปัญหา ก็ออกมาเรียกร้องให้คนอื่นช่วย สงสัยจะยึดติดคำสุภาษิตโบราณมากไปหรือเปล่าครับ ที่ โบราณ
"เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม"
ที่ยกมานะ หมายถึง เห็นใครทำอะไรดี ก๊ทำตาม
คงนึกออกนะครับ หมายถึงอะไร
ความเห็นที่ 33
บังเอิญครูเองกำลังเขียนโปรเจคนำเสนอให้กับผู้มีอำนาจในจังหวัดน่านทำพอดี
ข้อมูลที่ได้จากทีมงานและเพื่อนๆที่แสดงความคิดเห็นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานที่
ครูกำลังนำเสนอ ขอบคุณทุกท่านที่รักป่าไม้ เท่ากับรักแม่ฟ้าแห่งแผ่นดินของเราด้วย
ความเห็นที่ 34
และทราบมาว่า ก่อนหน้านี้นานมาก ภูเขาที่จ.น่าน แทบทุกพื้นที่ถูกบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยแทบหมดสิ้น จึงได้มีการประกาศตั้งอุทยานฯขึ้นมาเพื่อรักษาป่า สังเกตจากวันที่ประกาศจัดตั้งอุทยานฯจะไม่นานมาก
อย่างบริเวณดอยภูคาเอง แต่ก่อนก็เป็นทุ่งนา แต่ได้รับการฟื้นฟูจนกลับมาเป็นป่าต้นน้ำชั้น1A ได้
ป่านั้นไม่ใช่ทรัพยากรสิ้นเปลืองค่ะ ถ้าเราปล่อยพื้นที่ดินเปล่าๆไว้ เค้าจะค่อยๆฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาเอง
แต่ว่าปัญหาที่สำคัญมากคือ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่จะดูแลรักษาป่านั้นมีน้อยมาก เจ้าหน้าที่ 1 คน ดูแลป่าหลายสิบไร่ ซึ่งเปนไปไม่ได้เลยที่พวกเค้าจะดูแลพื้นที่อุทยานฯได้ทั้งหมด อีกทั้งงบประมาณในการดูแลป่าที่รัฐบาลให้มาก็น้อยเหลือเกิน เชื่อหรือไม่ว่าไม่ถึง 1 บาท ต่อ พื้นที่ป่า 1 ไร่ แถมยังมีอิทธิพลมืด ที่คอยยื่นมือล่องหนมาช่วยทำลายป่าเพิ่มอีก บวกกับชาวบ้านบางกลุ่มที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ มันทำให้การอนุรักษ์ รักษาป่า เป็นไปได้ยากเหลือเกินค่ะ
แต่เราคิดว่าปัญหาของคนกลุ่มล่าง จัดการง่ายกว่าปัญหาจากคนกลุ่มบนเยอะค่ะ ถ้าใครเคยอ่านประวัติของคุณลุงสืบ นาคะเสถียรก็คงจะพอทราบเรื่องนี้ดี ไม่อยากให้โทษแค่ช่าวบ้าน ชาวน่านค่ะ เพราะเราเคยไปทำแบบสำรวจความคิดเห็นของคนน่านมา แทบจะทุกคนต่างบอกว่า พวกเค้าพอใจความเป็นอยู่ และรักในจังหวัดน่านค่ะ แต่เราก็สำรวจแค่ในตัวเมืองนะคะ สำหรับต่างอำเภอก็ไม่รู้คิดกันยังไงนะคะ
นี่ก็เป็นเพียงการแสดงสิ่งที่รู้ และความคิดเห็นส่วนตัวของคนรักน่านคนนึงค่ะ และเราเองก็มีความอยากที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ในเมืองไทย พยายามเริ่มที่ตัวเอง และบอกกล่าวคนรอบข้าง เพื่อที่จะได้ส่งต่อความรักกันไปได้
อยากให้น่านเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ ให้สัตว์และพวกเราพักพิงค่ะ :)
ความเห็นที่ 35
ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า ทำไมพายุลูกเล็ก ๆ ถึงทำให้เกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากได้
น้ำหลากหลายสาย ปิง วัง ยม น่าน ก็เลยหลากเข้าเขื่อนพร้อมกัน เขื่อนตกใจก็รีบปล่อยเข้าท่วมภาคกลาง ผลก็เลยเป็นสระใหญ่ให้คนทุกจังหวัดได้ว่าย
ประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มาก ๆ ได้แก่เพชรบูรณ์ เลย นครราชสีมา ลพบุรี และน่าน รวมทั้งจังหวัดอื่นใน 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน และน้องใหม่จังหวัดตาก ทุกจังหวัดที่พูดมานี่น้ำท่วมหมดครับ เพราะขาดป่าไม้ซับน้ำ
เมื่อขาดป่าไม้ซับน้ำ ก็ไม่มีน้ำใต้ดินพอที่จะคายออกมาเป็นห้วย ลำธาร ในหน้าแล้ง ผลคือแค่เดือนกุมภาพันธ์ เชียงใหม่ ลำพูน ก็ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้งแล้ว น้ำปิงสามารถเดินข้ามได้เลย อะไรกัน? จังหวัดพื้นที่ต้นน้ำแท้ ๆ
เมื่อเผาป่า ก็เกิดหมอกควันพิษในจังหวัดภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ทุกปี ผู้คนก็ประสบปัญหาสุขภาพ คนเป็นโรคภูมิแพ้แทบอยากตาย
ปีนี้ ลมพัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือ ก็เลยไม่สามารถโทษได้ว่าปัญหาหมอกควันเกิดจากประเทศเพื่อนบ้าน
น่าสงสารเจ้าของบริษัทที่ส่งเสริมการทำลายป่าไม้เพียงเพราะต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะชาติหน้าเกิดใหม่คงดูไม่จืดกับบาปกรรมที่ทำไว้กับคนครึ่งค่อนประเทศ
ความเห็นที่ 36
ความเห็นที่ 37
ความเห็นที่ 38
ต้องขอขอบคุณเจ้าของบทความนี้ที่ทำให้มีการตื่นตัว แต่ไม่ควรมองอะไรด้านเดียว เป็นคนเมืองที่ไร้ราก ไม่รู้จักวิถีชีวิต ภูมิศาตร์ของเมืองน่าน น่านมีพื้นที่ภูเขาประมาณร้อยละ 80% พื้นที่ราบน้อยมาก ชาวน่านส่วนใหญ่ต้องทำการเกษตรอยู่บนดอย หรือภูเขาอยู่แล้ว ภาพที่คุณเอามาลงนั้นผมเชื่อว่า เป็นภูเขาที่อยู่นอกเขตอุทยานและป่าสงวนอย่างแน่นอน (ขืนใครเข้าไปบุกรุกก็อยู่ว่าปัจจุบันเจ้าหน้าเอาตายอยู่แล้ว) แต่เป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งบางส่วนทำกินกันตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย สมัยยังเป็นประเทศราชแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินของรัฐไทยไม่ยินยอมให้มีการออกเอกสารสิทธิ (เพราะเวลาออกกฎหมายคนออกดันอยู่ กทม. ใช้ชีวิตแบบไร้ราก ไม่เคยสัมผัสภูเขา)
ผมสนันสนุนคนบ่อเกลือ จังหวัดน่านเป็นผู้ผลิตน้ำให้กับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่ คนที่ได้รับประโยชน์ต้องมีการจ่ายสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับ คือ น้ำทุกหยดที่ปล่อยออกจากเขื่องสิริกิตต์ต้องมีการเก็บค่าน้ำ ค่าไฟที่ผลิตได้ ต้องคืนสู่เมืองน่าน แก้กฎหมายให้ให้ชาวบ้านมีเอกสารสิทธิตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขา
คนเราใช่ว่าสักจะเขียนอะไรก็เขียน คนน่านอย่างพวกผมก็รักธรรมชาติมากไม่ยิ่งหย่อนกว่าพวกคุณหรอก พวกคุณมันมิได้รักธรรมชาติ แต่แค่เสพธรรมชาติ ถ่ายรูปแล้วก็ไป ถามว่าคนน่านอย่างผมอยากให้มีการท่องเที่ยวไหม ตอบได้เลยว่า ไม่
เราอยู่กันอย่างสงบมานาน วันนี้การท่องเที่ยวกำลังจะทำลายเรา ถ้าไม่มาเมืองน่านได้ก็ดีนะ ปล่อยให้พวกเราอยู่อย่างสงบ เป็นเมืองที่อาชญากรรมต่ำเหมือนเดิมเถอะ
ความเห็นที่ 38.1
ขอตอบด้วยความเห็นส่วนตัว..
ผมไม่ได้ไปน่านมากว่า ๒๐ ปีแล้ว (ไปตอนยังเด็กๆ ตามพ่อไปทำงาน) ไม่ได้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงจนมาถึงปัจจุบัน แต่มาโดนใจ คห.นี้ ขอตอบตามประเด็นดังนี้
๑. โดยสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงนั้นผมก็พอนึกภาพออก ส่วนเป็นเขตป่าคุ้มครองของหน่วยงานหรือไม่นั้น ผมคงไม่ก้าวล่วงไปตรงนั้นเพราะไม่มีข้อมูลจริงๆ ขอผ่านเรื่องนี้
๒. ตรงนี้ที่โดนใจเฉพาะกรณีรายได้จากเขื่อนควรย้อนกลับไปที่ท้องถิ่น ซึ่งไม่ใช่เฉพาะน่านด้วยซ้ำ ต้องครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมั่นใจด้วยว่าน้ำที่มาลงสู่เขื่อนนั้น คนต้นน้ำได้ดูแลจนมีน้ำมาหล่อเลี้ยงเขื่อนจนสร้างรายได้ และคุณภาพดีพอที่นำไปบริโภคอย่างปลอดภัย
จากประสบการณ์ของผมก็ยังเข้าใจว่าป่าต้นน้ำทางภาคเหนือส่วนใหญ่ (รวมน่านด้วย) จะมีหน้าแล้งที่แล้งจนลำน้ำต้นน้ำแห้งในหน้าแล้ง แต่การแล้งในสภาพดั้งเดิมนั้นในชั้นใต้ดินยังมีน้ำที่ยังไหลรวมมาหล่อเลี้ยงลำน้ำที่อยู่ต่ำลงไปได้ จนไหลลงสู่เขื่อนได้ แล้วคนต้นน้ำเองก็ควรได้รับน้ำที่ได้กักเก็บไปใช้ตามสมควร (ไม่ใช่ตามความพอใจสูงสุด) เพื่อให้มีการแบ่งปันน้ำที่เหลือขณะนั้นได้ทั่วถึง
๓. น่าน หรือจังหวัดที่อยู่ป่าต้นน้ำ ใช่ผู้ผลิตน้ำจริงหรือไม่ ผมเองก็ยังเห็นว่าป่าต่างหากที่ช่วยซับน้ำ เพียงแต่ป่าเหล่านั้นอยู่ในพื้นที่ที่คนไปจับจอง แล้วต่อมามีการแบ่งเขตจังหวัด ซึ่งตัวป่าไม้ที่เกิดมาก่อนไม่มีโอกาสที่จะได้ออกความเห็นด้วยซ้ำ แล้วระบบน้ำมันเชื่อมโยงกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำลงมาปลายน้ำ ผมเชื่อว่าถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งพังไป ระบบก็พังทั้งหมด เพียงแต่ส่วนไหนล่มสลายก่อนเท่านั้น จึงไม่อยากให้เรามีความคิดแบ่งแยกความเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต่างฝ่ายต่างต้องช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากต้นน้ำถือเป็นจุดเริ่มของการไหลเพื่อการแบ่งปัน ดังนั้นหากทางต้นน้ำไม่ให้ความสำคัญกับการรักษาต้นน้ำ ปัญหาจะกระทบคนต้นน้ำก่อน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เวลาหน้าแล้งที่น้ำมีน้อยอยู่แล้วก็กลายเป็นแทบไม่มีหรือไม่มีในบางพื้นที่ เวลามรสุมมา ฝนตกมาก น้ำป่าก็หลากแรง (ปกติมันก็แรงอยู่แล้วด้วยความลาดชันสูง) และบ่อยกว่าปกติ รวมถึงของแถมที่เป็นดินที่ถูกกัดเซาะมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะไม่มีสิ่งชะลอและซับความแรงน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น ลำพังน้ำป่าพร้อมซากไม้ และหินที่มาก็แย่กันแล้ว ถ้ามีดินมาถมทับด้วยยิ่งลำบากกว่าเป็นไหนๆ
๔. ประเด็นเอกสารสิทธิ์ ขอผ่าน
๕. ผมเชื่อว่าคนน่านรักธรรมชาติไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนอื่นๆที่ไม่ว่าจะรักจริง หรือแค่เสพธรรมชาติ ผมเองก็เห็นปัญหาที่มาจากการท่องเที่ยว เพราะบ้านเรา(หมายถึงประเทศไทย)ยังมีการจัดการการท่องเที่ยวที่ไม่เหมาะสมนัก คือ หากโปรโมทที่ไหนเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็จะมีการสร้างสาธารณูปโภคสารพัด และโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดผลดีกับคนพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวกขึ้น มีสาธารณูปโภคใช้ แต่การเข้ามาในระบอบทุนนิยม นายทุนจะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว โดยคนท้องถิ่นจริงๆได้แต่มองตาปริบๆหลังจากเผลอรับประโยชน์อันน้อยนิดจากนายทุนโดยการขายที่ หรือให้เช่า พอระบบเสื่อมโทรมนายทุนก็ทิ้งชาวบ้านไป เช่นเดียวกันกับนายทุนที่ยอมจ่ายเงินทุน ให้พันธุ์ ให้ปุ๋ย และยาฆ่าสารพัดแก่ชาวบ้านเพื่อผลิตของให้ เมื่อได้ผผลิตก็เอาไปขายคืนนายทุน ส่วนต่างก็เป็นผลกำไร หากขยายพื้นที่มากก็จะได้ส่วนต่างนั้นมากขึ้นหากเป็นไปตามเป้าที่คาดหวัง แล้วหากผลผลิตเสียหายล่ะ? ตรงนี้ผมไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ชาวบ้านได้รับแน่ๆตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำคือ ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆที่ซับลงดิน ปุ๋ยเคมีทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็วขึ้น พอมีฝน น้ำก็ชะสารเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อการบริโภค ซึ่งคนต้นน้ำก็คนได้รับก่อน ในปริมาณที่มากกว่าคนปลายน้ำ ส่วนหนึ่งก็ปลิวในอากาศไว้หายใจ ใครล่ะที่ได้รับมากกว่าคนอื่น พอหมดรอบผลิตก็เผาตอซัง ใครที่ได้สูดควันเหล่านั้นมากกว่าคนอื่น ผลกระทบทางลบทั้งหมดคงไม่ใช่นายทุนได้รับแน่ๆ ผมเคยคุยกับพี่ที่อยู่พื้นที่ต้นน้ำและมีปัญหาคล้ายคลึงกัน พี่เขาเล่าว่า แถวบ้านถ้าใครเอากะหล่ำปลีให้กินเขาถือว่าเจตนาฆ่ากันเลย หรือแม้แต่เด็กที่ร้องไห้ หากขู่ว่าถ้าไม่หยุดจะเอากะหล่ำปลีให้กิน ก็จะเงียบทันที ที่เล่าเรื่องนี้เพื่อให้คิดถึงผลกระทบจากยาฆ่าแมลงเผื่อไว้ด้วย ที่จริงไม่ว่าจะใช้กับกะหล่ำหรือข้าวโพด มันก็มาถึงผมทั้งหมดนั่นแหละในฐานะผู้ถูกให้บริโภคสิ่งเหล่านี้ แต่ถึงใครมากกว่ากันเท่านั้นเอง แล้วถ้าวันหนึ่งพื้นที่เสื่อมสภาพจนปุ๋ยสูตรไหนก็เอาไม่อยู่แล้ว ขยายพื้นที่จนไม่มีที่ไปแล้ววันนั้นผมก็เชื่อว่านายทุนก็คงจากไปและทิ้งคนน่านตายทั้งเป็นเพียงลำพัง (แล้วพวกผมก็
ความเห็นที่ 38.1.1
(แล้วพวกผมก็อาจทยอยตายไปด้วยเหมือนกัน)
แม้ข้าวโพดเหล่านี้จะไปเป็นอาหารสัตว์เพื่อให้พวกเราๆกินกันอย่างเพียงพอ (หรือเกินพอ) แต่ตัวผมเองก็ยินดีที่จะเลี่ยงการกินสัตว์ที่มาจากวงจรนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นเสมือนผู้ผลิต (ต้นน้ำ ผลิตวัตถุดิบ) ก็น่าจะสร้างทางเลือกที่จะทำเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และปลอดภัย พอเพียงด้วย มีวิธีอื่นไหมที่จะไม่เผา เพื่อให้คนต้นน้ำสูดอากาศที่ดีต่อไป มีวิธีไหนที่จะให้มีน้ำได้เพียงพอตามสมควร ทำอย่างไรจะได้มีน้ำที่ปลอดภัยไว้กิน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อคนต้นน้ำจริงๆ คนปลายน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้ เพื่อสร้างวงจรสนับสนุนคนปลายน้ำเพื่อประโยชน์ที่จำเป็นร่วมกันอย่างยั่งยืน
ผมไม่ได้ห้ามใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาตินะ แต่อยากให้หาวิธีใช้ที่ทำให้ใช้ได้ตลอดเท่านั้นเอง
ความเห็นที่ 38.1.1.1
ความเห็นที่ 39
ทั้ง ๆ ที่เป็นจังหวัดพื้นที่ต้นน้ำนะครับ
ความเห็นที่ 40
ความเห็นที่ 41
เผาขนาดนี้ ต่อไปก็ต้องขุก โพลงอยู่กัน หล๊ะ ไม่มีต้นไม้เหลือ -.-"
ความเห็นที่ 42
ขอทำความเข้าใจเรื่องการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯนะคะ คือต่อให้ชาวบ้านบุกรุก ถ้าเจ้าหน้าที่จับได้ ก็เพียงเสียค่าปรับค่ะ ซึ่งคุ้มกับการที่พวกเค้าจะยอมบุกรุก เพราะนายทุนให้พวกเค้ามาเกินพอค่ะ กฏหมายคุ้มครองป่าและสัตว์ป่าของไทยยังอ่อนมาก
แล้วอีกอย่างบุคคลที่ทำงานป่าไม้ และมีใจอยากอนุรักษ์ ซึ่งมาพร้อมกับอิทธิพลที่จะไปต่อสู้กับ บุคคลที่ใหญ่กว่านั้นแทบไม่มีเลยค่ะ เพราะฉะนั้นพื้นที่ป่า สำหรับนายทุน+ผู้มีอิทธิพล ย่อมซื้อได้แน่นอน ดูอย่างเขาใหญ่สิคะ นายทุนบางคนแทบจะเป็นเจ้าของอุทยานฯอยู่แล้วค่ะ เราเป็นคนอีสาน เสียใจกับเรื่องนี้มาก ที่รู้เรื่องดี แต่ทำอะไรไมไ่ด้ค่ะ