เขื่อนแม่วงก์ บทเรียนที่ไม่เข็ดหลาบ
เขียนโดย forest72 Authenticated user เมื่อ 13 มิถุนายน 2555
เรื่อง: อุเทน ภุมรินทร์
“ผมอยากถามว่าที่เอ็นจีโอ มาบอกว่ามีต้นสัก 160,000 ต้นนั้น เป็นต้นสักขนาดเท่าหัวแม่โป้ง 1-2 นิ้วก็นับว่าเป็นสักสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าใครไปเดินป่าแถวสบกกไปช่องเย็น จะรู้ว่าส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่ และป่าเต็งรัง เช่นเดียวกับเสือโคร่งที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร บอกว่าเจอเสือโคร่งที่นี้ ผมคิดว่ามันคงไม่ยอมรอให้น้ำท่วมและจมน้ำตายแน่ๆ”
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกี่สมัย คำพูดนักการเมืองที่สนับสนุนให้เกิดโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ตามความรู้สึกของพวกเขา ป่าไผ่และป่าเต็งรังที่มีต้นไม้ขึ้นกระจายอยู่ห่างกัน ไม่ใช่ป่าสมบูรณ์ ช่วงฤดูแล้งต้นไม้ในป่าเหล่านี้จะผลัดใบเหลือเพียงกิ่งก้านโกร๋นๆ คงเป็นคำอ้างของพวกเขาทั้งที่มันเป็นธรรมชาติของป่าผลัดใบ
คำกล่าวข้างต้นตรงกันข้ามกับข้อมูลของ ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ ซึ่งนำเสนอความอุดมของป่าไม้และสัตว์ป่าที่จะโดนน้ำท่วมหรือมีการลักลอบตัดไม้ที่เหนือเขื่อนขึ้นไป หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในงาน “แม่วงก์ NO DAM กดไลท์” ที่มูลนิธิสืบ นาคะเสถียรจัดขึ้นว่า ภาพต้นเต็ง (ไม้เด่นชนิดหนึ่งในป่าเต็งรัง)เมื่อเทียบขนาดกับคนแล้ว คะเนได้ว่าสูงมากกว่า 20 เมตรเป็นแน่ ไม้โตช้าอย่างต้นเต็งนี้ อาจมีอายุมากถึง 300 ปีถึงจะโตได้เพียงนี้แล้วเรายังเรียกว่า “ป่าไม่สมบูรณ์” ได้อีกเหรอ?
ในป่าที่มีชีวิต มีสัตว์ป่าอาศัยหากิน มีสัตว์กินพืช เช่น เก้ง กวางป่า กระทิงกระจายทั่วพื้นที่ มีเสือดาว เสือโคร่งคอยซุ่มล่าสัตว์กินพืช ทำหน้าที่กำจัดสัตว์ที่อ่อนแอและพันธุกรรมไม่ดีออกจากระบบนิเวศ เรายังเรียกว่าป่าที่ยังประโยชน์ รักษาสมดุลให้โลกนี้ว่า ป่า ‘ป่วยๆ’ ได้อีกไหม?
“ในป่าไม่มีสัตว์ป่าโง่ๆ ตัวไหนหรอก ที่มันยอมรอให้น้ำท่วมจนจมน้ำตายหากมีการสร้างเขื่อน”
"ถ้าในป่ามันจะมีนกยูงโง่ๆ หรือเสือโง่ๆ ที่ยอมจมน้ำตาย ก็สมควรให้มันตายไป" ผู้บริหารประเทศของเรา ยังคงขาดความรู้ ตัดสินชีวิตอื่น ด้วยความรู้สึกเสมอไป
หากเคยดูวิดีโอที่คุณสืบ นาคะเสถียร เป็นหัวหน้าโครงการอพยพช่วยชีวิตสัตว์ป่าที่กำลังจะจมน้ำตายตามเกาะแก่งและตามต้นไม้ที่แห้งตายในขณะที่น้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ ของเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน เราคงไม่ต้องมานั่งเถียงหรือฟังคำชวนเชื่อของนักการเมืองเรื่องสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์กันอีก
*ดูวิดีโอได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=lfxm1D7uly8
ภาพกวางป่าลอยคอว่ายน้ำในสภาพอิดโรย คงดิ้นรนหนีความตายมาหลายวันและไม่ได้กินอาหาร เพราะใบไม้ใบหญ้าในป่าแห่งนี้ ถูกน้ำท่วมจนหมดแล้ว สุดท้ายก็สิ้นใจตายบนเรือของเจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่มาช่วยอพยพมัน
หรือข้อมูลในบทความเรื่อง “อพยพสัตว์ป่า ไม่มีพรุ่งนี้ สำหรับลมหายใจ” ของวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บางตอนกล่าวถึงสภาพพื้นที่ป่าคลองแสงและสัตว์ป่าที่ติดค้างและกำลังจะจมน้ำตายไว้ว่า
“เมื่อสายน้ำในคลองแสงที่เคยไหลไปตามธรรมชาติถูกปิดกั้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มันก็เริ่มไหลเอ่อท่วมสองฟากฝั่งที่ลุ่มราบเขา พร้อมระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ไหลบ่าท่วมป่าใหญ่แทน ส่วนที่เป็นเนินเขาและภูเขาถูกแบ่งออกเป็นเกาะน้อยใหญ่ สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเคยอาศัยอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำพลอยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของมันถูกน้ำท่วมฉับพลัน จึงมีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพย้ายถิ่นไม่ทันติดค้างตามเกาะต่างๆ …”
หากโครงการผีดิบเขื่อนแม่วงก์หรือเขื่อนอื่นๆ ที่จะถูกสร้างในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ถูกปลุกขึ้นมา ชะตากรรมของป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่สร้างเขื่อนคงไม่ต่างกัน
“สัตว์ป่าเหล่านี้ต้องประสบกับการอดอาหาร ขาดร่มเงาที่พักพิง ต้นไม้ที่เหลืออยู่บนเกาะที่จมอยู่ใต้น้ำ ใบของมันเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นเหลืองแก่ รอการร่วงหล่น เพราะรากที่ดูดซึมน้ำกำลังเน่าตาย สัตว์เหล่านี้ไม่อาจช่วยตัวเองได้ ต้องพากันจมน้ำหรืออดอาหารตายในที่สุด…”
“ช่วงที่มีการกักเก็บน้ำ เราเห็นว่า มีสัตว์หลายชนิดที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สัตว์บางชนิดอาจว่ายน้ำได้จริง แต่พื้นที่มันกว้างเกินกว่าที่มันจะว่ายข้ามไปได้เราเห็นสัตว์ลอยน้ำตายมากมาย อย่างกระจง ค่าง ลิงลม”
แต่นักการเมืองทั้งหลายท่านอาจตอบกับเราได้ว่า “ก็ให้นักอนุรักษ์สัตว์ป่ามันอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่ที่น้ำจะท่วมสิ”
ฟังคำคุณสืบ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนรัชชประภา แล้วคุณอาจไม่อยากให้อดีตอันแสนเจ็บปวดกลับมาซ้ำรอยอีกรอบก็เป็นได้
“สภาพสัตว์ที่จับได้ในระยะหลังเป็นสัตว์ที่อดอาหาร ค่างบางตัวแทบจะไม่มีแรงปีนต้นไม้ บางทียังพบซากมันตายอยู่บนต้นไม้เลย เราต้องทำงานแข่งกับเวลา แข่งกับน้ำที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะรู้ว่า หากเราไม่ไปช่วยชีวิตแล้ว มันต้องตายแน่”
คุณสืบ นาคะเสถียร เคยให้ข้อสรุปในกรณีนี้ไว้ว่า
“การแก้ไขผลกระทบต่อสัตว์ป่าเป็นงานที่มิอาจเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ เพราะผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นการทำลายแหล่งพันธุกรรมตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่า ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจสร้างขึ้นมาได้”
……
ไม่ใช่เพราะว่า มีสัตว์ป่าโง่ๆ ที่ไม่ยอมหนีน้ำอาศัยอยู่ในป่า เพียงแต่ว่า “บ้าน” ของพวกมัน พื้นที่ราบริมลำน้ำมลายหายกลายเป็นเวิ้งน้ำกว้างหลักหมื่นไร่เมื่อกั้นน้ำเพื่อสร้างเขื่อน ไม่มีหนทางใดเลย ที่พวกมันจะล่วงรู้ถึงระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างกะทันหัน หรือหนีไปยังที่สูงกว่านี้ได้ทันอย่างที่นักการเมืองเข้าใจ
ว่ากันตามความจริง สัตว์ป่าแต่ละชนิดมีความจำเพาะกับสภาพถิ่นอาศัยที่ต่างกันไป เช่น นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown Fish Owl) นกในกลุ่มนกเค้าแมว (Owl) ขนาดตัวยาวถึงครึ่งเมตร สามารถพบมันได้ในพื้นที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ นกชนิดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองไปอาศัยในพื้นที่สูงกว่านั้น เพราะชีวิตของมันอยู่กับลำน้ำ ดำรงชีพด้วยอาหารหลักคือ ปลาในลำธารป่า
เช่นเดียวกับนกยูงไทย (Green Peacock) ที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) ว่าสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered species) ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกยูงเพศผู้จะมีขนหางแววมยุรายาวสลวย พวกมันจะจับจองพื้นที่หาดทรายริมลำน้ำ เพื่อรำแพนอวดความสามารถให้นกยูงเพศเมียเลือก เช่นกันเดียวกันกับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ พวกมันไม่สามารถไปรำแพนในป่าทึบหรือบนยอดเขาเพื่ออวดตัวเมียได้
“สถานการณ์เสือโคร่งในโลก ตกอยู่ในภาวะวิกฤติใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR - Critically endangered species) โดยที่ทั่วโลกมีเสือโคร่งเหลืออยู่ไม่เกิน 3,500 ตัว ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสือโคร่งได้สูญพันธุ์หรือลดจำนวนลงจนเข้าสู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งจากป่าธรรมชาติ ในเกือบทุกประเทศ สำหรับประเทศไทย ประเมินกันว่ามีเสือโคร่งเหลืออยู่ไม่เกิน 250 ตัว…”
“เสือโคร่งในป่าแม่วงก์กำลังฟื้นฟูอย่างชัดเจน โดยเสือโคร่งส่วนหนึ่งกระจายตัวมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หากสามารถควบคุมการล่าสัตว์ป่าได้อย่างต่อเนื่องในป่าแม่วงก์ นักวิชาการสัตว์ป่าประเมินว่า ไม่เกิน 10 ปี อุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะกลายเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อื่นๆ ชุกชุม และความชุกชุมของสัตว์ป่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาสู่ป่าแม่วงก์ จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งทำรายได้ให้กับคนท้องถิ่น และประเทศ ดังเช่นพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกของประเทศอินเดีย ที่คนทั่วโลกเข้าไปท่องเที่ยวเพื่ออยากเห็นเสือโคร่ง ช้างป่า กระทิง กวางป่า และสัตว์ป่าหายากอื่นๆ”
เราจะเลือกอย่างไหน? เก็บป่าไม้ไว้เป็น “ปอด” เก็บไว้เป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่เราสามารถนำมาตอบสนองปัจจัยพื้นฐานและสร้างรายได้ให้กับเราหรือเลือกทุบหม้อข้าวบ้านตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้!
……
"การศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเขื่อนแม่วงก์ ไม่ผ่าน สผ.*มาเป็น 10 ปี จะพูดเรื่องการพัฒนาอย่างเดียวไม่ได้ การทำงานแบบนี้ต้องแก้ไขปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างให้ลุล่วงเมื่อไม่ผ่าน ก็ยังจะชูประเด็นว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ทำการก่อสร้าง ในความรู้สึกของผม ผมก็ว่ามันไม่ชอบกลอยู่นะผลกระทบทุกอย่างมันต้องชัดเจน และทุกฝ่ายเห็นดีเห็นงามถึงจะสร้างได้ ไม่ใช่มารวบหัวรวบหางแบบนี้ มันไม่ถูกต้อง...มันเหมือนจะผิดกฎหมายนะครับ อย่าชูประเด็นแก้น้ำท่วม มันช่วยไม่ได้"
*สผ. คือ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการพัฒนาใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์ ต้องจัดรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผ่านมติการเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงจะสามารถดำเนินโครงการได้
อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานและหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ “กยน.” เคยกล่าวไว้เช่นนี้ ถึงกรณีที่รัฐบาลเร่งอนุมัติก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์แบบสายฟ้าแลบ
หากจะบอกว่า ผู้เขียนใจด้านดำเกินไป เห็นแต่ป่าไม้และสัตว์ป่า ไม่คำนึงถึงความเสียหายของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมบ้าน ทรัพย์สินเสียหายเลย
“การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี”
เช่นกันมาฟังคำนักการเมืองไร้เดียงสาของเรากันบ้าง
"เขื่อนแม่วงก์ ศึกษาอีไอเอมาแล้ว 4 รอบจนไม่รู้ว่าจะให้มีการศึกษาหาพ่อกันทำไมอีก"
เมื่อการกระทำของครม. ก็ส่อแววไม่ชอบมาพากล แถมนักการเมืองยังปิดหูไม่ลืมตา ไม่ยอมรับรู้ว่า “สัตว์ป่ามีสิทธิอันเท่าเทียมในการมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ เช่นเดียวกับสัตว์มนุษย์"
จึงดูเหมือนว่า คนโง่จะไม่ใช่เสือโคร่งหรือนกยูงเสียแล้ว?
เอกสารอ้างอิง
ฟังคุณค่าของป่าแม่วงก์ และเราจะสูญเสียอะไรหากเกิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยดร. อนรรฆ พัตนวิบูลย์
http://www.youtube.com/watch?v=K24DTLfRmRs&feature=relmfu
http://www.youtube.com/watch?v=1ABt62qAEEo&feature=relmfu
“ผมอยากถามว่าที่เอ็นจีโอ มาบอกว่ามีต้นสัก 160,000 ต้นนั้น เป็นต้นสักขนาดเท่าหัวแม่โป้ง 1-2 นิ้วก็นับว่าเป็นสักสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าใครไปเดินป่าแถวสบกกไปช่องเย็น จะรู้ว่าส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่ และป่าเต็งรัง เช่นเดียวกับเสือโคร่งที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร บอกว่าเจอเสือโคร่งที่นี้ ผมคิดว่ามันคงไม่ยอมรอให้น้ำท่วมและจมน้ำตายแน่ๆ”
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีกี่สมัย คำพูดนักการเมืองที่สนับสนุนให้เกิดโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ตามความรู้สึกของพวกเขา ป่าไผ่และป่าเต็งรังที่มีต้นไม้ขึ้นกระจายอยู่ห่างกัน ไม่ใช่ป่าสมบูรณ์ ช่วงฤดูแล้งต้นไม้ในป่าเหล่านี้จะผลัดใบเหลือเพียงกิ่งก้านโกร๋นๆ คงเป็นคำอ้างของพวกเขาทั้งที่มันเป็นธรรมชาติของป่าผลัดใบ
คำกล่าวข้างต้นตรงกันข้ามกับข้อมูลของ ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ ซึ่งนำเสนอความอุดมของป่าไม้และสัตว์ป่าที่จะโดนน้ำท่วมหรือมีการลักลอบตัดไม้ที่เหนือเขื่อนขึ้นไป หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในงาน “แม่วงก์ NO DAM กดไลท์” ที่มูลนิธิสืบ นาคะเสถียรจัดขึ้นว่า ภาพต้นเต็ง (ไม้เด่นชนิดหนึ่งในป่าเต็งรัง)เมื่อเทียบขนาดกับคนแล้ว คะเนได้ว่าสูงมากกว่า 20 เมตรเป็นแน่ ไม้โตช้าอย่างต้นเต็งนี้ อาจมีอายุมากถึง 300 ปีถึงจะโตได้เพียงนี้แล้วเรายังเรียกว่า “ป่าไม่สมบูรณ์” ได้อีกเหรอ?
ในป่าที่มีชีวิต มีสัตว์ป่าอาศัยหากิน มีสัตว์กินพืช เช่น เก้ง กวางป่า กระทิงกระจายทั่วพื้นที่ มีเสือดาว เสือโคร่งคอยซุ่มล่าสัตว์กินพืช ทำหน้าที่กำจัดสัตว์ที่อ่อนแอและพันธุกรรมไม่ดีออกจากระบบนิเวศ เรายังเรียกว่าป่าที่ยังประโยชน์ รักษาสมดุลให้โลกนี้ว่า ป่า ‘ป่วยๆ’ ได้อีกไหม?
“ในป่าไม่มีสัตว์ป่าโง่ๆ ตัวไหนหรอก ที่มันยอมรอให้น้ำท่วมจนจมน้ำตายหากมีการสร้างเขื่อน”
"ถ้าในป่ามันจะมีนกยูงโง่ๆ หรือเสือโง่ๆ ที่ยอมจมน้ำตาย ก็สมควรให้มันตายไป" ผู้บริหารประเทศของเรา ยังคงขาดความรู้ ตัดสินชีวิตอื่น ด้วยความรู้สึกเสมอไป
หากเคยดูวิดีโอที่คุณสืบ นาคะเสถียร เป็นหัวหน้าโครงการอพยพช่วยชีวิตสัตว์ป่าที่กำลังจะจมน้ำตายตามเกาะแก่งและตามต้นไม้ที่แห้งตายในขณะที่น้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ ของเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน เราคงไม่ต้องมานั่งเถียงหรือฟังคำชวนเชื่อของนักการเมืองเรื่องสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์กันอีก
*ดูวิดีโอได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=lfxm1D7uly8
ภาพกวางป่าลอยคอว่ายน้ำในสภาพอิดโรย คงดิ้นรนหนีความตายมาหลายวันและไม่ได้กินอาหาร เพราะใบไม้ใบหญ้าในป่าแห่งนี้ ถูกน้ำท่วมจนหมดแล้ว สุดท้ายก็สิ้นใจตายบนเรือของเจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่มาช่วยอพยพมัน
หรือข้อมูลในบทความเรื่อง “อพยพสัตว์ป่า ไม่มีพรุ่งนี้ สำหรับลมหายใจ” ของวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บางตอนกล่าวถึงสภาพพื้นที่ป่าคลองแสงและสัตว์ป่าที่ติดค้างและกำลังจะจมน้ำตายไว้ว่า
“เมื่อสายน้ำในคลองแสงที่เคยไหลไปตามธรรมชาติถูกปิดกั้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มันก็เริ่มไหลเอ่อท่วมสองฟากฝั่งที่ลุ่มราบเขา พร้อมระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ไหลบ่าท่วมป่าใหญ่แทน ส่วนที่เป็นเนินเขาและภูเขาถูกแบ่งออกเป็นเกาะน้อยใหญ่ สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเคยอาศัยอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำพลอยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของมันถูกน้ำท่วมฉับพลัน จึงมีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพย้ายถิ่นไม่ทันติดค้างตามเกาะต่างๆ …”
หากโครงการผีดิบเขื่อนแม่วงก์หรือเขื่อนอื่นๆ ที่จะถูกสร้างในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ถูกปลุกขึ้นมา ชะตากรรมของป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่สร้างเขื่อนคงไม่ต่างกัน
“สัตว์ป่าเหล่านี้ต้องประสบกับการอดอาหาร ขาดร่มเงาที่พักพิง ต้นไม้ที่เหลืออยู่บนเกาะที่จมอยู่ใต้น้ำ ใบของมันเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นเหลืองแก่ รอการร่วงหล่น เพราะรากที่ดูดซึมน้ำกำลังเน่าตาย สัตว์เหล่านี้ไม่อาจช่วยตัวเองได้ ต้องพากันจมน้ำหรืออดอาหารตายในที่สุด…”
“ช่วงที่มีการกักเก็บน้ำ เราเห็นว่า มีสัตว์หลายชนิดที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สัตว์บางชนิดอาจว่ายน้ำได้จริง แต่พื้นที่มันกว้างเกินกว่าที่มันจะว่ายข้ามไปได้เราเห็นสัตว์ลอยน้ำตายมากมาย อย่างกระจง ค่าง ลิงลม”
แต่นักการเมืองทั้งหลายท่านอาจตอบกับเราได้ว่า “ก็ให้นักอนุรักษ์สัตว์ป่ามันอพยพสัตว์ป่าออกจากพื้นที่ที่น้ำจะท่วมสิ”
ฟังคำคุณสืบ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนรัชชประภา แล้วคุณอาจไม่อยากให้อดีตอันแสนเจ็บปวดกลับมาซ้ำรอยอีกรอบก็เป็นได้
“สภาพสัตว์ที่จับได้ในระยะหลังเป็นสัตว์ที่อดอาหาร ค่างบางตัวแทบจะไม่มีแรงปีนต้นไม้ บางทียังพบซากมันตายอยู่บนต้นไม้เลย เราต้องทำงานแข่งกับเวลา แข่งกับน้ำที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะรู้ว่า หากเราไม่ไปช่วยชีวิตแล้ว มันต้องตายแน่”
คุณสืบ นาคะเสถียร เคยให้ข้อสรุปในกรณีนี้ไว้ว่า
“การแก้ไขผลกระทบต่อสัตว์ป่าเป็นงานที่มิอาจเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ เพราะผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นการทำลายแหล่งพันธุกรรมตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ป่า ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจสร้างขึ้นมาได้”
……
ไม่ใช่เพราะว่า มีสัตว์ป่าโง่ๆ ที่ไม่ยอมหนีน้ำอาศัยอยู่ในป่า เพียงแต่ว่า “บ้าน” ของพวกมัน พื้นที่ราบริมลำน้ำมลายหายกลายเป็นเวิ้งน้ำกว้างหลักหมื่นไร่เมื่อกั้นน้ำเพื่อสร้างเขื่อน ไม่มีหนทางใดเลย ที่พวกมันจะล่วงรู้ถึงระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างกะทันหัน หรือหนีไปยังที่สูงกว่านี้ได้ทันอย่างที่นักการเมืองเข้าใจ
ว่ากันตามความจริง สัตว์ป่าแต่ละชนิดมีความจำเพาะกับสภาพถิ่นอาศัยที่ต่างกันไป เช่น นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown Fish Owl) นกในกลุ่มนกเค้าแมว (Owl) ขนาดตัวยาวถึงครึ่งเมตร สามารถพบมันได้ในพื้นที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ นกชนิดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองไปอาศัยในพื้นที่สูงกว่านั้น เพราะชีวิตของมันอยู่กับลำน้ำ ดำรงชีพด้วยอาหารหลักคือ ปลาในลำธารป่า
เช่นเดียวกับนกยูงไทย (Green Peacock) ที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) ว่าสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered species) ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกยูงเพศผู้จะมีขนหางแววมยุรายาวสลวย พวกมันจะจับจองพื้นที่หาดทรายริมลำน้ำ เพื่อรำแพนอวดความสามารถให้นกยูงเพศเมียเลือก เช่นกันเดียวกันกับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ พวกมันไม่สามารถไปรำแพนในป่าทึบหรือบนยอดเขาเพื่ออวดตัวเมียได้
หากเอ่ยถึงเสือโคร่งที่พบร่องรอยในพื้นที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ ดร. อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ กล่าวไว้ในบทความ“อุทยานแห่งชาติแม่วงก์วันนี้ ขอโอกาสธรรมชาติฟื้นฟู ขอหยุดเขื่อน และถนน”ว่า
“สถานการณ์เสือโคร่งในโลก ตกอยู่ในภาวะวิกฤติใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR - Critically endangered species) โดยที่ทั่วโลกมีเสือโคร่งเหลืออยู่ไม่เกิน 3,500 ตัว ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสือโคร่งได้สูญพันธุ์หรือลดจำนวนลงจนเข้าสู่ภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งจากป่าธรรมชาติ ในเกือบทุกประเทศ สำหรับประเทศไทย ประเมินกันว่ามีเสือโคร่งเหลืออยู่ไม่เกิน 250 ตัว…”“เสือโคร่งในป่าแม่วงก์กำลังฟื้นฟูอย่างชัดเจน โดยเสือโคร่งส่วนหนึ่งกระจายตัวมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หากสามารถควบคุมการล่าสัตว์ป่าได้อย่างต่อเนื่องในป่าแม่วงก์ นักวิชาการสัตว์ป่าประเมินว่า ไม่เกิน 10 ปี อุทยานแห่งชาติแม่วงก์จะกลายเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อื่นๆ ชุกชุม และความชุกชุมของสัตว์ป่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาสู่ป่าแม่วงก์ จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งทำรายได้ให้กับคนท้องถิ่น และประเทศ ดังเช่นพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกของประเทศอินเดีย ที่คนทั่วโลกเข้าไปท่องเที่ยวเพื่ออยากเห็นเสือโคร่ง ช้างป่า กระทิง กวางป่า และสัตว์ป่าหายากอื่นๆ”
เราจะเลือกอย่างไหน? เก็บป่าไม้ไว้เป็น “ปอด” เก็บไว้เป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่เราสามารถนำมาตอบสนองปัจจัยพื้นฐานและสร้างรายได้ให้กับเราหรือเลือกทุบหม้อข้าวบ้านตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้!
……
"การศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเขื่อนแม่วงก์ ไม่ผ่าน สผ.*มาเป็น 10 ปี จะพูดเรื่องการพัฒนาอย่างเดียวไม่ได้ การทำงานแบบนี้ต้องแก้ไขปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างให้ลุล่วงเมื่อไม่ผ่าน ก็ยังจะชูประเด็นว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ทำการก่อสร้าง ในความรู้สึกของผม ผมก็ว่ามันไม่ชอบกลอยู่นะผลกระทบทุกอย่างมันต้องชัดเจน และทุกฝ่ายเห็นดีเห็นงามถึงจะสร้างได้ ไม่ใช่มารวบหัวรวบหางแบบนี้ มันไม่ถูกต้อง...มันเหมือนจะผิดกฎหมายนะครับ อย่าชูประเด็นแก้น้ำท่วม มันช่วยไม่ได้"
*สผ. คือ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการพัฒนาใดๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์ ต้องจัดรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผ่านมติการเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงจะสามารถดำเนินโครงการได้
อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทานและหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ “กยน.” เคยกล่าวไว้เช่นนี้ ถึงกรณีที่รัฐบาลเร่งอนุมัติก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์แบบสายฟ้าแลบ
หากจะบอกว่า ผู้เขียนใจด้านดำเกินไป เห็นแต่ป่าไม้และสัตว์ป่า ไม่คำนึงถึงความเสียหายของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมบ้าน ทรัพย์สินเสียหายเลย
ในกรณีนี้ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ จากกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เขียนไว้ในบทความเรื่อง “9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์”ว่า
“การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี”
เช่นกันมาฟังคำนักการเมืองไร้เดียงสาของเรากันบ้าง
"เขื่อนแม่วงก์ ศึกษาอีไอเอมาแล้ว 4 รอบจนไม่รู้ว่าจะให้มีการศึกษาหาพ่อกันทำไมอีก"
เมื่อการกระทำของครม. ก็ส่อแววไม่ชอบมาพากล แถมนักการเมืองยังปิดหูไม่ลืมตา ไม่ยอมรับรู้ว่า “สัตว์ป่ามีสิทธิอันเท่าเทียมในการมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ เช่นเดียวกับสัตว์มนุษย์"
จึงดูเหมือนว่า คนโง่จะไม่ใช่เสือโคร่งหรือนกยูงเสียแล้ว?
เอกสารอ้างอิง
นณณ์ ผาณิตวงศ์. 2555. 9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์. แหล่งที่มา: http://www.siamensis.org/article/35660, 12 มิถุนายน 2555.
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์.2535. ก่อนจะไม่มีลมหายใจสำหรับพรุ่งนี้. สำนักพิมพ์สารคดี,กรุงเทพฯ.
อนรรฆ พัฒนวิบูลย์. 2555. อุทยานแห่งชาติแม่วงก์วันนี้ ขอโอกาสธรรมชาติฟื้นฟู ขอหยุดเขื่อน และถนน.แหล่งที่มา: http://www.wcsthailand.org/main/news/maewong_wildlife_recovery, 12 มิถุนายน 2555.
ฟังคุณค่าของป่าแม่วงก์ และเราจะสูญเสียอะไรหากเกิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยดร. อนรรฆ พัตนวิบูลย์
http://www.youtube.com/watch?v=K24DTLfRmRs&feature=relmfu
http://www.youtube.com/watch?v=1ABt62qAEEo&feature=relmfu
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 1.1
ความเห็นที่ 2
เขียนได้ดีมากครับ ขอแชร์ครับ
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
รัฐบาลมองเพียงเพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์ รัฐบาลคงลืมว่ามนุษย์เป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่หนึ่งเดียวที่ตั้งอยู่ได้โดยปราศจากสรรพสิ่งอื่น ๆ คิดดีแล้วหรือว่าการสร้างเขื่อนคือการแก้ปัญหาที่สาเหตุ...... ถ้าคิดดีๆ "ฟองน้ำ" กักเก็บน้ำได้ดีกว่า"กะละมัง" อีกค่ะ
ความเห็นที่ 5.1