จดหมายเปิดผนึก ถึง สวนสัตว์ดุสิต
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 14 มิถุนายน 2555
13 มิถุนายน 2555
เรียน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต
เรื่อง กิจกรรมขายสัตว์ปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต
เนื่องจากข้าพเจ้า ได้เข้าไปเที่ยวที่สวนสัตว์ดุสิตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2555 พบว่ามีการขายสัตว์น้ำเพื่อปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งข้าพเจ้ามีความกังวลกับกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. ภาพปลาตะเพียนขาวที่นำไปใช้ประกอบการโฆษณาเพื่อการค้า เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่าย ซึ่งการนำภาพดังกล่าวไปใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของข้าพเจ้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้นำภาพถ่ายไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ โดยเฉพาะเพื่อแสวงหากำไร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
2. สัตว์น้ำที่ปล่อยหลายชนิด คือ ปลานิล (ทวีปแอฟริกา) ปลาทับทิม (ทวีปแอฟริกา) ปลาจาระเม็ด (ทวีปอเมริกาใต้) ปลาไน (เอเชียตะวันออก) และตะพาบไต้หวัน (เอเชียตะวันออก) เป็นสัตว์ต่างถิ่น มิได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหลายชนิด เช่นการระบาดของหอยเชอรี่ และ ผักตบชวา ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การที่ทางสวนสัตว์ดุสิต อนุญาตให้ค้าขายสัตว์ดังกล่าวเพื่อปล่อยลงในแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำปิด จะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิดให้กับประชาชนและเยาวชนที่ มาเที่ยวในสวนสัตว์ว่าสัตว์น้ำดังกล่าวสามารถปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในประเทศไทยได้
3. การโฆษณาว่าปลาที่ปล่อยเป็นปลากินพืช ไม่ทำลายระบบนิเวศ นั้นไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว กล่าวคือ ปลาที่ปล่อยมิได้เป็นปลากินพืชทั้งหมด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอไทย และ ตะพาบ เป็นสัตวที่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเป็นอาหารหลัก ส่วนปลาตะเพียนขาว จาระเม็ด ปลานิล ปลาทับทิม และ ปลาแรด จัดเป็นปลาในกลุ่มที่สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มิได้กินแต่พืชอย่างเดียว นอกจากนั้นการที่บอกว่าการปล่อยสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง ยกตัวอย่างเช่น หอยเชอรี่ และ ปลาซัคเกอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นหลักก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศได้ และยังพบว่าสัตว์กินพืช หลายชนิดหากพืชขาดแคลนก็สามารถปรับตัวมากินสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ หรือในกรณีของปลาเฉา ซึ่งเป็นปลาที่กินแต่พืชเป็นอาหารหลักก็พบว่าเป็นสัตว์ต่าง ถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหายในหลายประเทศ เนื่องจากกินพืชในแหล่งน้ำจนหมด ทำให้แหล่งน้ำขาดพืชมาดูซับของเสียและทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียได้เช่นกัน หรือในกรณีของสัตว์บก เช่น แพะซึ่งเป็นสัตว์กินพืชที่ถูกปล่อยในหมู่เกาะฮาวาย ก็ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศเช่นกัน
4. การอ้างสรรพคุณต่างๆในการปล่อยสัตว์น้ำแต่ละชนิด มิได้เป็นความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณของไทย หรือเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่เป็นการแอบอ้างอุปโลกขึ้นโดยผู้ค้าสัตว์ปล่อย ซึ่งเป็นการสร้างความงมงายและไม่ก่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องต่อผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมสวนสัตว์ซึ่งควรจะเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
5. สัตว์ที่ปล่อยบางชนิด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอ และ ปลากระดี่ ตามธรรมชาติแล้วเป็นปลาที่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้นและมีพืชน้ำหรือพืชชายน้ำมาก อาจจะไม่สามารถปรับ ตัวอาศัยอยู่ในบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีความลึกมากได้ดีนัก ซึ่งการปล่อยลงไปจะเป็นการทรมานสัตว์
ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอเรียนแนะนำให้ทางสวนสัตว์ดุสิต พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกิจกรรมดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฏหมาย ศีลธรรมอันดี และหลักวิชาการด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ประชาชน
ปล. ประชาชนท่านใดที่เห็นด้วยกับผม ขอความกรุณาลงชื่อไว้ในด้านล่างด้วยครับ และขอความกรุณาออกความคิดเห็นด้วยความสุภาพและเป็นประโยชน์ครับ
เรียน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต
เรื่อง กิจกรรมขายสัตว์ปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต
เนื่องจากข้าพเจ้า ได้เข้าไปเที่ยวที่สวนสัตว์ดุสิตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2555 พบว่ามีการขายสัตว์น้ำเพื่อปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งข้าพเจ้ามีความกังวลกับกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. ภาพปลาตะเพียนขาวที่นำไปใช้ประกอบการโฆษณาเพื่อการค้า เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่าย ซึ่งการนำภาพดังกล่าวไปใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของข้าพเจ้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้นำภาพถ่ายไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ โดยเฉพาะเพื่อแสวงหากำไร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
2. สัตว์น้ำที่ปล่อยหลายชนิด คือ ปลานิล (ทวีปแอฟริกา) ปลาทับทิม (ทวีปแอฟริกา) ปลาจาระเม็ด (ทวีปอเมริกาใต้) ปลาไน (เอเชียตะวันออก) และตะพาบไต้หวัน (เอเชียตะวันออก) เป็นสัตว์ต่างถิ่น มิได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหลายชนิด เช่นการระบาดของหอยเชอรี่ และ ผักตบชวา ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การที่ทางสวนสัตว์ดุสิต อนุญาตให้ค้าขายสัตว์ดังกล่าวเพื่อปล่อยลงในแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำปิด จะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิดให้กับประชาชนและเยาวชนที่ มาเที่ยวในสวนสัตว์ว่าสัตว์น้ำดังกล่าวสามารถปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในประเทศไทยได้
3. การโฆษณาว่าปลาที่ปล่อยเป็นปลากินพืช ไม่ทำลายระบบนิเวศ นั้นไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว กล่าวคือ ปลาที่ปล่อยมิได้เป็นปลากินพืชทั้งหมด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอไทย และ ตะพาบ เป็นสัตวที่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเป็นอาหารหลัก ส่วนปลาตะเพียนขาว จาระเม็ด ปลานิล ปลาทับทิม และ ปลาแรด จัดเป็นปลาในกลุ่มที่สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มิได้กินแต่พืชอย่างเดียว นอกจากนั้นการที่บอกว่าการปล่อยสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง ยกตัวอย่างเช่น หอยเชอรี่ และ ปลาซัคเกอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นหลักก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศได้ และยังพบว่าสัตว์กินพืช หลายชนิดหากพืชขาดแคลนก็สามารถปรับตัวมากินสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ หรือในกรณีของปลาเฉา ซึ่งเป็นปลาที่กินแต่พืชเป็นอาหารหลักก็พบว่าเป็นสัตว์ต่าง ถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหายในหลายประเทศ เนื่องจากกินพืชในแหล่งน้ำจนหมด ทำให้แหล่งน้ำขาดพืชมาดูซับของเสียและทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียได้เช่นกัน หรือในกรณีของสัตว์บก เช่น แพะซึ่งเป็นสัตว์กินพืชที่ถูกปล่อยในหมู่เกาะฮาวาย ก็ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศเช่นกัน
4. การอ้างสรรพคุณต่างๆในการปล่อยสัตว์น้ำแต่ละชนิด มิได้เป็นความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณของไทย หรือเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่เป็นการแอบอ้างอุปโลกขึ้นโดยผู้ค้าสัตว์ปล่อย ซึ่งเป็นการสร้างความงมงายและไม่ก่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องต่อผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมสวนสัตว์ซึ่งควรจะเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
5. สัตว์ที่ปล่อยบางชนิด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอ และ ปลากระดี่ ตามธรรมชาติแล้วเป็นปลาที่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้นและมีพืชน้ำหรือพืชชายน้ำมาก อาจจะไม่สามารถปรับ ตัวอาศัยอยู่ในบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีความลึกมากได้ดีนัก ซึ่งการปล่อยลงไปจะเป็นการทรมานสัตว์
ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอเรียนแนะนำให้ทางสวนสัตว์ดุสิต พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกิจกรรมดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฏหมาย ศีลธรรมอันดี และหลักวิชาการด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ประชาชน
ปล. ประชาชนท่านใดที่เห็นด้วยกับผม ขอความกรุณาลงชื่อไว้ในด้านล่างด้วยครับ และขอความกรุณาออกความคิดเห็นด้วยความสุภาพและเป็นประโยชน์ครับ
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ที่น่าสงสารที่สุด คงไม่พ้นสิ่งมีชีวิตนั้นๆและสิ่งมีชีวิตอื่นที่ได้รับผลกระทบ
ร่วมลงชื่อค่ะ
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ชวิน ตันพิทยคุปต์
ขอเพิ่มเติมครับ
6. ท่านบอกว่า ปลาสวาย เดินทางปลอดภัย จะได้พบโชคลาภ แต่กลับเอารูปปลาเทพามาแสดง ถึงแม้ประเด็นนี้จะไม่เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ แต่ก็เป็นการมอบความรู้เรื่องปลาแบบผิดๆ ให้กับเด็กๆ ตลอดจนผู้เข้าชมทุกท่าน จึงไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับสวนสัตว์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของไทย
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 3.1.1
ความเห็นที่ 4
ฝากเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิของผู้ทรงลิขสิทธิ์นิดหนึ่งล่ะครับ
ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าประสงค์จะบังคับคดี(ให้ระงับการละเมิด)จะต้องฟ้องต่อศาลเองภายในระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการละเมิด หรือ ยื่นคำร้องทุกข์(มีถ้อยคำแสดงเจตนากล่าวหาผู้กระทำผิดและแสดงเจตนาจะให้ลงโทษผู้กระทำผิด คำว่าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน มีฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์)ให้ถูกระเบียบแก่พนักงานสอบสวน เพราะในส่วนที่มีโทษความผิดอาญาเป็นความผิดต่อส่วนตัวนะครับ(กฎหมายให้ยอมความได้ ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์หลังทำสัญญาประนีประนอมได้) ถ้าเกิน 3 เดือนสิทธิเรียกร้องฟ้องบังคับในทางอาญาจะหมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิงล่ะครับ
การแสดงถึงหลักฐานการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องอาศัยหนังสือแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่ยื่นไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา(ไม่เสียค่าใช้จ่ายใช้เวลาตรวจราว ๆ 1-2 เดือนก่อนกรมฯจะออกใบรับรองให้) ถ้าไปตัวเปล่านี่พนักงานสอบสวนอาจจะไม่รับร้องทุกข์เพราะว่าเห็นว่าคดีขาดเอกสารสิทธิ์รับรองเป็นคดีไม่มีมูลตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาล่ะครับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
อันที่จริง ปลาจาระเม็ด มันเป็นปลาน้ำเค็มไม่หรอครับ
ไอ้ตัวที่เอามาปล่อยชื่อมันคือ เปคูแดง (pacu) หรือปลาคู้แดง Piaractus brachypomusหนิครับ
เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาใต้ซะด้วย ขัดแย้งกับ ปลาจาระเม็ด ที่อยู่ในน้ำเค็มแน่นอนครับ
แบบนี้เรียกว่าสอนองค์ความรู้ด้วยชื่อที่ผิด แล้วยังสอนให้หลงสรรพคุณงมงายอีกด้วย
ในวิกิพีเดียบอกแบบนี้ครับ
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เนื่องจากเมื่อปลาโตขึ้น ผู้เลี้ยงไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ จึงมีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มาแย่งและทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย
ความเห็นที่ 8
ซึ่งสำหรับผม เป็นข้ออ้างข้อเดียวที่เหมาะสมที่ กับการ เอาสัตว์มากักขัง
แต่บ่อยครั้งที่ผ่านมา ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้
ร่วมลงชื่อ
รีงสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
ความเห็นที่ 9
ซึ่งสำหรับผม เป็นข้ออ้างข้อเดียวที่เหมาะสมที่ กับการ เอาสัตว์มากักขัง
แต่บ่อยครั้งที่ผ่านมา ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้
ร่วมลงชื่อ
รีงสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
ความเห็นที่ 10
ซึ่งสำหรับผม เป็นข้ออ้างข้อเดียวที่เหมาะสมที่ กับการ เอาสัตว์มากักขัง
แต่บ่อยครั้งที่ผ่านมา ไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้
ร่วมลงชื่อ
รีงสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
เมื่อทางสวนสัตว์ฯซึ่งน่าจะรณรงศ์เสนอความรู้ที่ถูกต้องและต่อต้านการกระทำดังกล่าวเกิดมีความคิดจะทำเสียเองด้วย ก็ยิ่งทำให้ผมต้องขอร่วมต่อต้านและอยากให้ยกเลิกเช่นกันครับ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอบคุณมากครับ
นิธิพัฒน์ พันธุมจินดา
ความเห็นที่ 15
ถ้าขนาดสวนสัตว์ของชาติดันสร้างความรู้ที่ผู้คนจะเชื่อถือเป็น"ต้นแบบ"ผิดๆออกไป
ผลของมันยิ่งร้ายแรงหลายเท่ายิ่งนัก
ร่วมลงชื่อครับ
ทศพล ประยูรสุข
ความเห็นที่ 16
ผมยินดีมาก ร่วมลงชื่อ ครับ
ความเห็นที่ 17
ปวินท์ ระมิงค์วงศ์
3 5099 00042 344
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
ความเห็นที่ 23
ความเห็นที่ 24
ความเห็นที่ 25
ความเห็นที่ 26
นายศิริวัฒน์ แดงศรี
ความเห็นที่ 27
ความเห็นที่ 28
ความเห็นที่ 29
เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ
ความเห็นที่ 30
ศราวุฒิ มงคลสุข
ความเห็นที่ 31
ความเห็นที่ 32
ความเห็นที่ 33
หากพิจารณาให้ดี เป็นกุศโลบาย(อุบายอันเป็นกุศล) อันชาญฉลาดจากคนสมัยก่อน
เป็นอุบายที่ดี ให้มีการปล่อยปลาเพื่อให้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ต่อไป ไว้เป็นแหล่งอาหาร ให้มีกินได้ตลอดไป ไม่ใช่จับปลาเพียงอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นคงหมดไปจากธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบัน มีความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลง คลาดเคลื่อนไปมาก
ปล่อยโดยไม่รู้ที่มา ไม่หาข้อมูล ไม่เข้าใจสิ่งที่ทำ ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
เหลือเพียงการทำตามๆ กันไป โดยไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริง
จนกลายเป็นความเชื่อผิดๆ ที่ปรุงแต่งขึ้นมาเอง ที่เรียกกันว่า ความ "งมงาย"
การปล่อยปลาในปัจจุบัน บางคนจึงไม่สนใจอะไรทั้งนั้น..
ไม่ใช่เพื่อปลา เพื่อธรรมชาติ หรือเพื่อสิ่งใด
นอกจาก การ "หวังผล" (ตามความเชื่อ) เพื่อตัวเอง
กิจกรรม(หาเงิน)ครั้งนี้
อาจจะเป็นเจตนาดี คิดดี ที่คงคาดหวังจะช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดี สร้างกิจกรรมดีๆ ให้กับประชาชน
ถือว่าเป็นสิ่งดี ที่ไม่ผิด และควรส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมดีๆ ต่อไปครับ
แต่สิ่งที่ผิด และ ขัดแย้งกัน ก็คือ ข้อมูล และ วิธีการ ครับ
ข้อมูล รูปภาพ ชื่อชนิด ที่มา แหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะนิสัย อาหารและการขยายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
ถึงแม้ แหล่งน้ำภายในสวนสัตว์นี้อาจจะเป็น แหล่งน้ำปิด (ไม่ได้เชื่อมต่อสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติ)
แต่เนื่องจาก "สวนสัตว์" เป็นแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า
ดังนั้น หากประชาชนหรือเยาวชนทั่วไป นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ปล่อยปลาเหล่านี้สู่แหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ก็อาจสร้างปัญหาในระยะยาวได้ครับ
*สำหรับประชาชนทั่วไป...
ท่านเคยคิดกันบ้างไหมว่า...
การทำทานด้วยการปล่อยปลา ปล่อยเต่า เพื่อเป็นการให้ชีวิตใหม่กับสัตว์เหล่านี้
โดยหวังผลให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น แต่ทำไม ชีวิตกลับยิ่งลำบาก ทุกข์ ทรมานมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ...
.. ท่านแน่ใจแล้วหรือ ว่า
การปล่อยปลา ปล่อยเต่า(ผิดที่ผิดทาง) เป็นการได้บุญ?
หรือเป็นการทำบาปกรรม สร้างเวรสร้างกรรมให้กับตัวเองเพิ่มยิ่งขึ้น.. กันแน่?
จากความหวังดี คิดดี เจตนาดี ...
จึงกลายเป็นการเจตนาตั้งใจทรมานสัตว์ หรือเป็นการจงใจฆ่าสัตว์ ให้ค่อยๆ ตายช้าๆ อย่างทรมาน
-------------------------------------------------
ผมขอลงชื่อ ว่า "เห็นด้วย" กับ ดร.นณณ์ ครับ
ลงชื่อ : ณัฐวุธ ชื่นบาน
ประชาชนธรรมด๊า ธรรมดา..
ความเห็นที่ 34
ความเห็นที่ 35
เห็นด้วยค่ะ หากินกับความเชื่อที่ผิดๆแบบนี้ต้องช่วยกันค่ะ
ความเห็นที่ 36
นายชลพรรธน์ จีระพรพันธ์
ความเห็นที่ 37
ความเห็นที่ 38
ร่วมลงชื่อ เห็นด้วย กับ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ขอให้ยกเลิก กิจกรรมดังกล่าว โดยทันที เข้าใจว่าเป็นการเปิดพิ็นที่ ให้เข้ามาเช่าทำการค้าขาย แต่ หลักคิดแบบนี้ ไม่ควรเกิดกับ สวนสัตว์ ดุสิต และควรขยาย ความเข้าใจ ให้สู่สังคมไทย ให้เข้าใจในเนื้อหาและวิธีการปล่อยปลา ให้ ชัดเจน มากขึ้น ครับ
ความเห็นที่ 39
ขอให้ทางสวนสัตว์ดุสิตพิจารณาด้วยครับ
ความเห็นที่ 40
สนับสนุนหนังสือฉบับนี้ ขอให้ผู้บริหารหน่วยงานราชการ/หน่วยงานในกำกับของรัฐที่ใช้ภาษีของประชาชนมาอ้างการพัฒนาประเทศและประโยชน์สาธารณะ ใช้ความรู้และปัญญาพิจารณาก่อนที่จะลงมือกระทำกิจกรรมที่อ้างอย่างถ้วนถี่ก่อน
ความเห็นที่ 41
แต่อยากทราบว่าจดหมายของ อ.นณณ์ จะถึงผู้บริหารของสวนสัตว์หรือไม่ครับ
ทอม Chiangmai-Rays
ความเห็นที่ 42
ความเห็นที่ 43
อรยุพา สังขะมาน
ความเห็นที่ 44
ร่วมด้วย 1 เสียง - ธิติ เรืองสุวรรณ
ความเห็นที่ 45
ความเห็นที่ 46
ความเห็นที่ 47
ร่วมลงชื่อด้วยครับ นายมรุต เครือหงษ์
ความเห็นที่ 48
ขอลงชื่อไม่เห็นด้วยค่ะ