เมื่อ นก “ขอร้อง”
เขียนโดย forest72 Authenticated user เมื่อ 27 มิถุนายน 2555
เรื่อง: อุเทน ภุมรินทร์
เมื่อนักการเมืองไทยจ้องแต่ทำลายธรรมชาติ เราไปฟังเรื่องราวดีๆ จากประเทศญี่ปุ่น แดนซามูไรกันบ้างดีกว่า ว่าเขามีวิธีชวนวัยรุ่นยุค 3G สไตล์ตากลมแป๋ว ผิวขาวอมชมพู มาช่วยนกหายากในบ้านเขาได้ยังไงกัน?
หนึ่งโปรเจ็คสุดสร้างสรรค์จากแดนอาทิตย์อุทัย ของสมาคมอนุรักษ์นกป่าในญี่ปุ่น (Wild Bird Society of Japan) โดยบริษัทครีเอทีฟอย่าง Beacon Communications ชวนอนุรักษ์นกหายากของญี่ปุ่นสี่ชนิดอย่างได้ผล
(*นกกระเรียนหัวมงกุฎแดง Red -crowned crane มีประชากรประมาณ 1013 ตัว, นกกระสาญี่ปุ่น Oriental Stork มีประชากรประมาณ 108 ตัว, นกอัลบาทรอสหางสั้น Short-tailed Albatross มีประชากรประมาณ2150 ตัว และนกจาบปีกอ่อนอกเหลือง Yellow-breasted Bunting มีประชากรประมาณ20 ตัว)
เมื่อคนหรือนักอนุรักษ์ส่งเสียง “ขอร้อง” ให้ช่วยอนุรักษ์นกหายากแล้ว ยังดังไม่น่าสนใจพอ พวกเขาเลยหาโอกาสให้นกเหล่านี้ ได้ 'ส่งเสียง' ขอร้องเสียเอง

โดยนำเสียงนกไปประกอบในเพลงที่สามารถเปิดตามผับได้ อัลบั้มที่มีชื่อว่า “Voice of Endangered Birds—เสียงของนกใกล้สูญพันธุ์”
เพื่อส่งไปถึงหูของวัยรุ่นวัยมันส์ในโตเกียว สามารถฟังเสียงนก แล้วโยกย้ายส่ายเอวตามเพลงได้
แถมแต่ละชุด ยังทำออกมาแบบ 'Limited' เท่าจำนวนนกหายากแต่ละชนิดที่เหลือจริงๆ ในประเทศญี่ปุ่นหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายซีดีทั่วไป
แล้วเงินกำไรที่ได้จากซีดีเพลง “Bird song” นี้
นำไปทำงานอนุรักษ์นกหายากเหล่านั้น เพื่อให้เสียงร้องอันเพราะพริ้งเหลืออยู่ในป่าญี่ปุ่นตลอดไป
ส่วนพี่ไทยเราทำอย่างไรกันดี? ว่าแต่รีบคิดเถอะครับ ก่อนไม่เหลือนกหายากให้อนุรักษ์ หรือไม่ นกทั้งหลายจมอยู่ใต้น้ำในเขื่อนเสียหมด!
*นกทั้งสี่ชนิดไม่พบในประเทศไทย ดังนั้น ชื่อไทยของนก ผู้เขียนตั้งขึ้นจากชื่อภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนึกถึงลักษณะหน้าตาของนกที่กล่าวถึงได้เท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิง
ทรงกลด บางยี่ขัน. 2554.ต้นไม้ใต้ดวงอาทิตย์.สำนักพิมพ์อะบุ๊ค, กรุงเทพฯ. 216 หน้า.
http://thisisnotadvertising.wordpress.com/2011/10/10/wild-bird-society-of-japan-voice-of-endangered-wild-birds/

Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1