"อิ่งอ้อย" ในความเชื่อและความจริงทางวิทยาศาสตร์
เขียนโดย coneman Authenticated user เมื่อ 20 กรกฎาคม 2555
เรื่อง: coneman
วีถีชีวิตของคนไทยมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อและความศรัทธามาช้านาน โดยเฉพาะเครื่องรางของขลัง ซึ่งมีอิทธิพลฝังรากลึกในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องรางถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำให้เกิดความมั่นใจและกำลังใจในการดำเนินวิถีชีวิต เช่นการค้าขาย การติดต่อประสานงาน การแคล้วคลาดจากภัยอันตราย หากการยึดมั่นตั้งมั่นนั้นนำให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติไปในทางดีแล้วเครื่องรางนั้นก็ควรค่าแก่การบูชานับถือ ดังนั้นความเชื่อและยึดมั่นในวัตถุซึ่งเป็นนามธรรมนั้นจะเป็นตัวกำหนดการปฏิบัติของผู้มีจิตศรัทธาตามมา แต่อย่างไรก็ตามหากความเชื่อนั้นไร้ซึ่งเหตุผลหรือบรรทัดฐานแห่งการควรเชื่อแล้ว ความงมงายก็อาจเกิดขึ้นได้อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดหรือหย่อนปฏิบัติในสิ่งที่ควรได้โดยง่าย บทความนี้ผมไม่ได้มีเจตนาหลบหลู่หรือดูหมิ่นเครื่องรางของขลังแต่ประการใด เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งทางวิทยาศาสตร์นอกเหนือจากแง่มุมแห่งความศรัทธา ท่านผู้อ่านจะเชื่อในแง่มุมใดก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละท่านครับ
หากลองพิจารณาจาก "กาลามสูตร 10" (อย่าเขียนตกบางตัวนะครับ เพราะจะทำให้ความหมายผิดไป) หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่อย่าเพิ่งเชื่อ 10 ประการ มีบางข้ออาจนำมาใช้เตือนสติเกี่ยวกับเครื่องราของขลังได้ เช่น อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบกันมา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ หรืออย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดควรเชื่อได้ คือท่านสอนให้เชื่ออย่างมีปัญญา มีเหตุผล ซึ่งก็ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ทุกประการคือจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้ลงมือทดลองให้เห็นผลและผลนั้นมีเหตุผลที่ตอบปัญหาหรือสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ เกริ่นมาเนิ่นนานแล้วเข้าเรื่องเลยละกันครับ
" อิ่งอ้อย" ในความเชื่อและความศรัทธา
อิ่งอ้อย, อิ่นอ้อย, อินออน, อื่นออน, หินเดินได้ เป็นชื่อเรียกวัตถุรูปครึ่งวงกลมที่ด้านหนึ่งโค้งนูนออกอีกด้านหนึ่งเรียบมีลายวนรูปก้นหอย ชาวบ้านทางภาคอีสานตอนบนและในประเทศลาวมีความเชื่อว่าเป็นหอยหรือสัตว์หายากที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีชีวิตและจิตวิญญาณ ก่อให้เกิดโชคลาภแก่ผู้กราบไหว้บูชา บ้างก็ว่าเป็นฟอสซิลหอยที่มีอายุหลายพันปีหรือเป็นดักแด้ของแมลงบ้างตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ชาวเผ่าภูไทที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนจังหวัดมุกดาหารยังเคยใช้อิ่งอ้อยแทนเงินในอดีต ตามความเชื่ออิ่งอ้อยมักถูกเก็บไว้บนหิ้งพระหรือหากออกจากบ้านก็จะพกติดตัวไปเชื่อว่าจะนำโชคลาภและความโชคดีมาให้ อิ่งอ้อยมักถูกเก็บไว้เป็นคู่คือตัวผู้ซึ่งมีสีออกดำ และตัวเมียซึ่งมีสีขาว และเชื่อว่าหากลายวงก้นหอยมีลักษณะเป็นรูปเลขหนึ่งไทยจะยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่าตัว ในวันพระชาวบ้านจะนำเอาอิ่งอ้อยมาวางบนจานหรือถาดผิวเรียบและบูชาด้วยการเทน้ำรสเปรี้ยวซึ่งเชื่อว่าเป็นอาหารของอิ่งอ้อยให้ดื่ม เช่นน้ำมะนาว หรือน้ำส้มสายชู อิ่งอ้อยตัวใดที่มีความศักดิ์สิทธิ์ก็จะเริ่มเดินกินน้ำรสเปรี้ยวและจะเดินเข้าหาคู่ของตัวเองสร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้ศรัทธาและผู้พบเห็น และบอกต่อๆกันมาปากต่อปากโดยเฉพาะในประเทศลาวแถบเชียงขวางมีการนับถือกันมากและแพร่อิทธิพลมาทางภาคอีสานของประเทศไทย
"อิ่งอ้อย"
แท้จริง "อิ่งอ้อย" คือฝาปิดเปลือกของหอยตาวัวซึ่งเป็นหอยทะเลกลุ่มหนึ่ง
"อิ่งอ้อย" เคลื่อนที่ได้อย่างไร
หลายคนอาจยังสงสัยว่าทำไมเมื่ออิ่งอ้อยโดนน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูจึงเคลื่อนที่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือฝาปิดเปลือกหรือ "อิ่งอ้อย" นั้นมีองค์ประกอบเป็นหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อสัมผัสกับกรดซึ่งคือกรดซิตริก (Citric acid) ในน้ำมะนาว หรือกรดแอซิติก (Acetic acid) ในน้ำส้มสายชูจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีแล้วทำให้เกิดสารประกอบเกลือน้ำและก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ขึ้นมาตามสมการเคมี
วีถีชีวิตของคนไทยมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อและความศรัทธามาช้านาน โดยเฉพาะเครื่องรางของขลัง ซึ่งมีอิทธิพลฝังรากลึกในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องรางถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และทำให้เกิดความมั่นใจและกำลังใจในการดำเนินวิถีชีวิต เช่นการค้าขาย การติดต่อประสานงาน การแคล้วคลาดจากภัยอันตราย หากการยึดมั่นตั้งมั่นนั้นนำให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติไปในทางดีแล้วเครื่องรางนั้นก็ควรค่าแก่การบูชานับถือ ดังนั้นความเชื่อและยึดมั่นในวัตถุซึ่งเป็นนามธรรมนั้นจะเป็นตัวกำหนดการปฏิบัติของผู้มีจิตศรัทธาตามมา แต่อย่างไรก็ตามหากความเชื่อนั้นไร้ซึ่งเหตุผลหรือบรรทัดฐานแห่งการควรเชื่อแล้ว ความงมงายก็อาจเกิดขึ้นได้อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดหรือหย่อนปฏิบัติในสิ่งที่ควรได้โดยง่าย บทความนี้ผมไม่ได้มีเจตนาหลบหลู่หรือดูหมิ่นเครื่องรางของขลังแต่ประการใด เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งทางวิทยาศาสตร์นอกเหนือจากแง่มุมแห่งความศรัทธา ท่านผู้อ่านจะเชื่อในแง่มุมใดก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละท่านครับ
หากลองพิจารณาจาก "กาลามสูตร 10" (อย่าเขียนตกบางตัวนะครับ เพราะจะทำให้ความหมายผิดไป) หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่อย่าเพิ่งเชื่อ 10 ประการ มีบางข้ออาจนำมาใช้เตือนสติเกี่ยวกับเครื่องราของขลังได้ เช่น อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบกันมา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ หรืออย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดควรเชื่อได้ คือท่านสอนให้เชื่ออย่างมีปัญญา มีเหตุผล ซึ่งก็ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ทุกประการคือจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้ลงมือทดลองให้เห็นผลและผลนั้นมีเหตุผลที่ตอบปัญหาหรือสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้ เกริ่นมาเนิ่นนานแล้วเข้าเรื่องเลยละกันครับ
" อิ่งอ้อย" ในความเชื่อและความศรัทธา
อิ่งอ้อย, อิ่นอ้อย, อินออน, อื่นออน, หินเดินได้ เป็นชื่อเรียกวัตถุรูปครึ่งวงกลมที่ด้านหนึ่งโค้งนูนออกอีกด้านหนึ่งเรียบมีลายวนรูปก้นหอย ชาวบ้านทางภาคอีสานตอนบนและในประเทศลาวมีความเชื่อว่าเป็นหอยหรือสัตว์หายากที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีชีวิตและจิตวิญญาณ ก่อให้เกิดโชคลาภแก่ผู้กราบไหว้บูชา บ้างก็ว่าเป็นฟอสซิลหอยที่มีอายุหลายพันปีหรือเป็นดักแด้ของแมลงบ้างตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ชาวเผ่าภูไทที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนจังหวัดมุกดาหารยังเคยใช้อิ่งอ้อยแทนเงินในอดีต ตามความเชื่ออิ่งอ้อยมักถูกเก็บไว้บนหิ้งพระหรือหากออกจากบ้านก็จะพกติดตัวไปเชื่อว่าจะนำโชคลาภและความโชคดีมาให้ อิ่งอ้อยมักถูกเก็บไว้เป็นคู่คือตัวผู้ซึ่งมีสีออกดำ และตัวเมียซึ่งมีสีขาว และเชื่อว่าหากลายวงก้นหอยมีลักษณะเป็นรูปเลขหนึ่งไทยจะยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่าตัว ในวันพระชาวบ้านจะนำเอาอิ่งอ้อยมาวางบนจานหรือถาดผิวเรียบและบูชาด้วยการเทน้ำรสเปรี้ยวซึ่งเชื่อว่าเป็นอาหารของอิ่งอ้อยให้ดื่ม เช่นน้ำมะนาว หรือน้ำส้มสายชู อิ่งอ้อยตัวใดที่มีความศักดิ์สิทธิ์ก็จะเริ่มเดินกินน้ำรสเปรี้ยวและจะเดินเข้าหาคู่ของตัวเองสร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้ศรัทธาและผู้พบเห็น และบอกต่อๆกันมาปากต่อปากโดยเฉพาะในประเทศลาวแถบเชียงขวางมีการนับถือกันมากและแพร่อิทธิพลมาทางภาคอีสานของประเทศไทย
"อิ่งอ้อย"
"อิ่งอ้อย" กับความจริงทางวิทยาศาสตร์
หากมองในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ "อิ่งอ้อย" คือฝาปิดเปลือก (operculum) ของกลุ่มหอยตาวัวในสกุล Turbo วงศ์ Turbinidae ซึ่งเป็นกลุ่มหอยที่พบได้บ่อยตามหาดหินของทะเลเขตร้อน ในประเทศไทยมีหอยกลุ่มนี้อยู่หลายชนิดแต่ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันมี 2 ชนิดคือหอยตาวัวสีน้ำตาล Turbo bruneus และหอยตาวัวน้ำลึก Turbo petholatus ด้วยหอยกลุ่มนี้มักพบอาศัยตามเขตน้ำขึ้นน้ำลง หรือแนวปะการังน้ำตื้นซึ่งมีความเสี่ยงต่อการผึ่งแห้งขณะน้ำลง พวกมันจึงพัฒนาฝาปิดซึ่งมีองค์ประกอบของหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตที่หนาให้ปิดได้แน่นสนิทเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในเปลือกหอยป้องกันการแห้งตาย เอกสารทางวิชาการบางฉบับให้เหตุผลว่าการที่หอยกลุ่มนี้มีฝาปิดเปลือกที่หนากว่าหอยกลุ่มอื่นเพราะเป็นหอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ตื้นและเคลื่อนที่ได้ช้า โดยบริเวณดังกล่าวมีศัตรูธรรมชาติที่กินหอยเป็นอาหารโดยการเจาะหรือดึง
ฝาปิดเปลือกเป็นจำนวนมากเช่นหอยในวงศ์ Muricidae กลุ่มดาวทะเล และปูเป็นต้น โดยหอยกลุ่มนี้ในเขตหนาวซึ่งมีความหลากหลายของผู้ล่าต่ำจะมีฝาปิดเปลือกที่บางกว่าหอยที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนที่มีความหลากหลายของผู้ล่าที่สูงกว่า ต่างประเทศเรียกฝาปิดประเภทนี้ว่า Cat's eye operculum หรือฝาปิดเปลือกที่ดูคล้ายตาแมว ส่วนคนไทยคงมองว่าเหมือนตาวัวมากกว่าเลยเรียกหอยกลุ่มนี้ว่าหอยตาวัวนั่นเอง
หากมองในแง่มุมของวิทยาศาสตร์ "อิ่งอ้อย" คือฝาปิดเปลือก (operculum) ของกลุ่มหอยตาวัวในสกุล Turbo วงศ์ Turbinidae ซึ่งเป็นกลุ่มหอยที่พบได้บ่อยตามหาดหินของทะเลเขตร้อน ในประเทศไทยมีหอยกลุ่มนี้อยู่หลายชนิดแต่ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันมี 2 ชนิดคือหอยตาวัวสีน้ำตาล Turbo bruneus และหอยตาวัวน้ำลึก Turbo petholatus ด้วยหอยกลุ่มนี้มักพบอาศัยตามเขตน้ำขึ้นน้ำลง หรือแนวปะการังน้ำตื้นซึ่งมีความเสี่ยงต่อการผึ่งแห้งขณะน้ำลง พวกมันจึงพัฒนาฝาปิดซึ่งมีองค์ประกอบของหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตที่หนาให้ปิดได้แน่นสนิทเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในเปลือกหอยป้องกันการแห้งตาย เอกสารทางวิชาการบางฉบับให้เหตุผลว่าการที่หอยกลุ่มนี้มีฝาปิดเปลือกที่หนากว่าหอยกลุ่มอื่นเพราะเป็นหอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ตื้นและเคลื่อนที่ได้ช้า โดยบริเวณดังกล่าวมีศัตรูธรรมชาติที่กินหอยเป็นอาหารโดยการเจาะหรือดึง
ฝาปิดเปลือกเป็นจำนวนมากเช่นหอยในวงศ์ Muricidae กลุ่มดาวทะเล และปูเป็นต้น โดยหอยกลุ่มนี้ในเขตหนาวซึ่งมีความหลากหลายของผู้ล่าต่ำจะมีฝาปิดเปลือกที่บางกว่าหอยที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนที่มีความหลากหลายของผู้ล่าที่สูงกว่า ต่างประเทศเรียกฝาปิดประเภทนี้ว่า Cat's eye operculum หรือฝาปิดเปลือกที่ดูคล้ายตาแมว ส่วนคนไทยคงมองว่าเหมือนตาวัวมากกว่าเลยเรียกหอยกลุ่มนี้ว่าหอยตาวัวนั่นเอง
แท้จริง "อิ่งอ้อย" คือฝาปิดเปลือกของหอยตาวัวซึ่งเป็นหอยทะเลกลุ่มหนึ่ง
"อิ่งอ้อย" เคลื่อนที่ได้อย่างไร
หลายคนอาจยังสงสัยว่าทำไมเมื่ออิ่งอ้อยโดนน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูจึงเคลื่อนที่ได้ ข้อเท็จจริงก็คือฝาปิดเปลือกหรือ "อิ่งอ้อย" นั้นมีองค์ประกอบเป็นหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อสัมผัสกับกรดซึ่งคือกรดซิตริก (Citric acid) ในน้ำมะนาว หรือกรดแอซิติก (Acetic acid) ในน้ำส้มสายชูจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีแล้วทำให้เกิดสารประกอบเกลือน้ำและก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ขึ้นมาตามสมการเคมี
HA + CaCO3 ---> CaA + H2O + CO2
ฟองก๊าซจะปุดขึ้นรอบฝาปิดเปลือกที่เป็นหินปูนเกิดแรงพยุงหรือแรงลอยตัวดันให้ฝาปิดเปลือกถูกยกลอยจากผิววัตถุที่วางอยู่เล็กน้อย ซึ่งในสภาพนี้แรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวฝาปิดเปลือกและวัสดุเช่นจานหรือถาดผิวเรียบจะมีน้อยมาก ทำให้แรงดันของก๊าซที่มีเพียงเล็กน้อยดันให้วัตถุหรือฝาปิดเปลือกที่มีมวลน้อยเคลื่อนที่ได้นั่นเอง
ดังนั้นในแง่มุมของวิทยาศาสตร์แล้ว "อิ่งอ้อย" ก็เป็นเพียงฝาปิดเปลือกของกลุ่มหอยตาวัวที่มีสีสันแตกต่างกันไปในหอยแต่ละชนิดเช่นดำบ้าง ขาวบ้าง ไม่ได้เป็นของหายาก แต่สำหรับประเทศลาวหรือภาคอีสานของประเทศไทยซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเลแล้ว คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฝาปิดเปลือกหอยตาวัวไม่เป็นที่รู้จักและดูแปลกตา แต่หากวันหนึ่งความต้องการอิ่งอ้อยจากความศรัทธามีมากขึ้น หอยตาวัวอาจถูกล่าจนหายากเข้าจริงๆ เครื่องรางของขลังจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไรหากได้มาด้วยการประกอบกรรมตัดชีวิตของผู้อื่น
ดังนั้นในแง่มุมของวิทยาศาสตร์แล้ว "อิ่งอ้อย" ก็เป็นเพียงฝาปิดเปลือกของกลุ่มหอยตาวัวที่มีสีสันแตกต่างกันไปในหอยแต่ละชนิดเช่นดำบ้าง ขาวบ้าง ไม่ได้เป็นของหายาก แต่สำหรับประเทศลาวหรือภาคอีสานของประเทศไทยซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเลแล้ว คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฝาปิดเปลือกหอยตาวัวไม่เป็นที่รู้จักและดูแปลกตา แต่หากวันหนึ่งความต้องการอิ่งอ้อยจากความศรัทธามีมากขึ้น หอยตาวัวอาจถูกล่าจนหายากเข้าจริงๆ เครื่องรางของขลังจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไรหากได้มาด้วยการประกอบกรรมตัดชีวิตของผู้อื่น
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ดีจังได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย เพราะแต่ก่อนผมเคยเห็นหอยแบบนี้ขายที่หนองคาย มุกดาหาร ก็ยังงงๆว่ามันคือส่วนไหนของหอย คิดว่าเปลือกหอยโดยตัดซะอีก และก็งงว่าหอยชนิดนี้หน้าจะเป็นหอยทะเล แต่กลับมีขายในภาคอีสาน ในขณะเดียวกัน ผมคนใต้ยังไม่เห็นมันมีขายที่ใต้เลย วันนี้ได้รับข้อมูลจ่างขึ้นเยอะเลยครับ จริงๆผมเคยซื้อเก็บไว้ครับ อันแค่ 2 บาท มันนานแล้ว ถ้าเจอคงไม่ซื้อแล้ว
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
อ่านบทความนี้ได้ทั้งความรู้และธรรมะด้วย เยี่ยม
ความเห็นที่ 7
ปกติพงษ์เองก็รู้จักแต่หอยตาวัว
เพิ่งรู้ว่าอิงอ้อยคืออะไร ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย
ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นอีก ขอบคุณมากคับ^^
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10