จากน้ำพรม ถึงแม่วงก์ ถึงน้ำโขง
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 17 มิถุนายน 2556
เรื่อง/ภาพ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
วันแรก “ทำไมน้ำมันแรงจังว่ะ?” “นั่นสิพี่ มันล้นตลิ่งขึ้นไปเยอะมาก” “น้ำป่า?” “ไม่ มันไม่ขุ่น น้ำป่าน่าจะขุ่นๆหน่อย”
วันที่สอง ไม่ถึง 24 ชั่วโมงผ่านไป ณ จุดเดิม “เฮ้ย ทำไมมันแห้งแบบนี้หล่ะ”
ด้านบนนี้เป็นบทสนทนาของผมกับน้องคนหนึ่ง เหนือสะพานข้ามแม่น้ำพรมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ผมมารู้ที่หลังว่าน้ำพรมตรงนี้อยู่ใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ประมาณ 12 กม. วันแรกคือวันที่มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนส่วนวันที่สองเขื่อนปิด
เราสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อความมั่นใจ ว่าวันนี้จะไม่มีการปล่อยน้ำอีก ก่อนที่จะลงไปสำรวจสัตว์น้ำกัน และก็ไม่น่าแปลกใจ เมื่อผมพบว่า แม่น้ำกลางป่าสมบูรณ์แห่งนี้ มีปลาอยู่เพียงแค่ 5 ชนิด อย่างน้อย 2 ชนิดเป็นปลาน้ำนิ่ง มั่นใจว่าถูกพัดมากับน้ำเมื่อวาน 1 ชนิดเป็นปลาที่ปรับตัวได้ทั้งน้ำนิ่งและน้ำไหล จึงไม่ชัดเจนว่ามาจากไหน ส่วนปลาน้ำไหลแบบที่ควรจะอยู่ในบริเวณนี้จริงๆ ผมพบเพียงแค่ 2 ชนิด จำนวนตัวกระปิดกระปรอยอย่างน่าสงสาร ตามซอกหลืบอ่าวน้ำนิ่งๆที่ควรจะมีลูกปลาลำธารที่มักจะออกลูกกันในช่วงต้นฤดูฝนก็กลับว่างเปล่า
ถ้ามาเห็นน้ำพรมสภาพนี้เฉพาะในวันนี้ ผมคงงงมากว่าแม่น้ำในป่าสมบูรณ์ระดับนี้ทำไมถึงมีปลาน้อยนัก ให้เปรียบเทียบน้ำพรมในช่วงนี้ ขนาดใหญ่กว่าลำน้ำแม่วงก์ บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่จังหวัดกำแพงเพชรเสียอีก ที่แม่วงก์เป็นแม่น้ำที่ยังไหลอย่างอิสระตามที่ธรรมชาติควรจะเป็น มีปลากว่า 20 ชนิด จำนวนตัว/น้ำหนัก ต่างกันมหาศาล ในขณะที่น้ำพรมต้องงมหากว่าจะเจอสักตัว ที่แม่วงก์ ปลาตะพากว่ายน้ำโชว์ตัวอยู่ริมหาดเป็นฝูงใหญ่
เป็นบทเรียนเล็กๆของผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่นำมาให้รับรู้กัน ขนาดเขื่อนกันลำน้ำเล็กๆยังขนาดนี้ เขื่อนใหญ่ๆ แม่น้ำใหญ่ๆ จะขนาดไหนกัน?
วันแรก “ทำไมน้ำมันแรงจังว่ะ?” “นั่นสิพี่ มันล้นตลิ่งขึ้นไปเยอะมาก” “น้ำป่า?” “ไม่ มันไม่ขุ่น น้ำป่าน่าจะขุ่นๆหน่อย”
วันที่สอง ไม่ถึง 24 ชั่วโมงผ่านไป ณ จุดเดิม “เฮ้ย ทำไมมันแห้งแบบนี้หล่ะ”
ด้านบนนี้เป็นบทสนทนาของผมกับน้องคนหนึ่ง เหนือสะพานข้ามแม่น้ำพรมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ผมมารู้ที่หลังว่าน้ำพรมตรงนี้อยู่ใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ประมาณ 12 กม. วันแรกคือวันที่มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนส่วนวันที่สองเขื่อนปิด
เราสอบถามเจ้าหน้าที่เพื่อความมั่นใจ ว่าวันนี้จะไม่มีการปล่อยน้ำอีก ก่อนที่จะลงไปสำรวจสัตว์น้ำกัน และก็ไม่น่าแปลกใจ เมื่อผมพบว่า แม่น้ำกลางป่าสมบูรณ์แห่งนี้ มีปลาอยู่เพียงแค่ 5 ชนิด อย่างน้อย 2 ชนิดเป็นปลาน้ำนิ่ง มั่นใจว่าถูกพัดมากับน้ำเมื่อวาน 1 ชนิดเป็นปลาที่ปรับตัวได้ทั้งน้ำนิ่งและน้ำไหล จึงไม่ชัดเจนว่ามาจากไหน ส่วนปลาน้ำไหลแบบที่ควรจะอยู่ในบริเวณนี้จริงๆ ผมพบเพียงแค่ 2 ชนิด จำนวนตัวกระปิดกระปรอยอย่างน่าสงสาร ตามซอกหลืบอ่าวน้ำนิ่งๆที่ควรจะมีลูกปลาลำธารที่มักจะออกลูกกันในช่วงต้นฤดูฝนก็กลับว่างเปล่า
ถ้ามาเห็นน้ำพรมสภาพนี้เฉพาะในวันนี้ ผมคงงงมากว่าแม่น้ำในป่าสมบูรณ์ระดับนี้ทำไมถึงมีปลาน้อยนัก ให้เปรียบเทียบน้ำพรมในช่วงนี้ ขนาดใหญ่กว่าลำน้ำแม่วงก์ บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่จังหวัดกำแพงเพชรเสียอีก ที่แม่วงก์เป็นแม่น้ำที่ยังไหลอย่างอิสระตามที่ธรรมชาติควรจะเป็น มีปลากว่า 20 ชนิด จำนวนตัว/น้ำหนัก ต่างกันมหาศาล ในขณะที่น้ำพรมต้องงมหากว่าจะเจอสักตัว ที่แม่วงก์ ปลาตะพากว่ายน้ำโชว์ตัวอยู่ริมหาดเป็นฝูงใหญ่
เป็นบทเรียนเล็กๆของผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่นำมาให้รับรู้กัน ขนาดเขื่อนกันลำน้ำเล็กๆยังขนาดนี้ เขื่อนใหญ่ๆ แม่น้ำใหญ่ๆ จะขนาดไหนกัน?
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
เศร้าจัง มหันตภัยใกล้ตัว ที่รัฐไม่เคยมองเห็น ทั้งในยุโรปทั้งในเอเซียก็เห็นหายนะภัยของเขื่อนกันแล้วในวันนี้ แต่รัฐก็หลับหูหลับตาสร้างความวิบัติกันอยู่ได้ แล้วเมื่อเกิดความสูญเสียค่อยมาแก้กันทีหลัง เฮ้อ ! บอกแล้วว่าจะไม่หวังอะไรกับรัฐอีก โครงการจัดการน้ำ สามแสนล้าน นี่ยังไม่รวมค่าเสียหายอื่นๆอีก ระบบนิเวศที่เอาคืนมาไม่ได้ สัตว์หายากต่างๆ ค่าเสียหายค่าเยียวยากรณีเกิดเหตุไม่คราดฝัน ค่าๆๆๆๆๆๆๆ ไปดูงานที่ต่างประเทศมาก็แยะ แต่ไม่เอามาใช้จะไปทำไม(วะ) อเมริการะเบิดเขื่อนทิ้งแปดเขื่อน เพื่อให้ระบบนิเวศกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย ยี่สิบปี แต่เขาเริ่มต้นทำแล้ว คำถามถ้าไม่สร้างเขื่อนจะเอาพลังงานมาจากไหน รํฐส่งคนไปดูงานต่างประเทศมาตั้งมากมาย แล้วเอาอะไรมาเสนอบ้างล่ะ อาหารดี ดนตรีเพราะ แค่นั้น โรงไฟฟ้านิวเคลียเขาลงไปอยู่ใต้ดินแล้วเว้ย บ้านเรามีภูเขาไว้ระเบิดหิน อังกฤษทำไฟฟ้าจากคลื่นในทะเล อเมริกาใช้แสงอาทิตย์ ต้นทุนถูกกว่าการสร้างเขื่อนสามเท่า ได้พลังงานเท่ากัน ของเขามีวิธีอีกหลายวิธ๊ที่จะได้พลังงานโดยไม่ต้องทำลายธรรมชาติ แต่บ้านเราเอาเงินมาทำลายธรรมชาติ ไม่ต้องดูไกลเอาแค่ใกล้ๆ สิงคโปร์เป็นเกาะเอาพลังงานมาจากไหน ไปดูซะ หรือว่ามันใกล้ไม่คุ้มเวลาที่เอาภาษีของคนไทยไปเที่ยว (ไอ้เหี่ยวเอ้ย) แหกตาดูซะบ้าง
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
ขอบคุณมากครับ ท่าน ดร.ปกรณ์ ที่ให้ความให้ข้อคิดเห็น ผมมีข้อมูลมาเสริมให้ช่วยกันคิดนิดหน่อยครับ ผมมีญาติมีพี่มีคนรู้จักมักคุ้นอยู่ในวงจรของโรงไฟฟ้าในประเทศไทยพอสมควรเลยมีเรื่องมาแชร์ให้ฟังกัน ลุงผมเป็นอดีต ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ พี่เขยเป็นนายช่างฝ่ายซ่อมบำรุง ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ พี่ที่นับถือกันที่ผมเรียกว่าป๋า ทำงานอยู่ที่โรงไฟฟ้าบางปะกง เพื่อนร่วมรุ่นเรียน ป.โทมาด้วยกันก็ทำงานอยู่ในโรงไฟฟ้าบางปะกง ร่ายยาวเกินไป เข้าเรื่องดีกว่า โรงไฟฟ้าบางปะกงปัจจุบัน ไม่มีการผลิตไฟฟ้าทั้งที่ลงทุนเป็นหลายหมื่นล้าน(เมื่อซักยี่สิบปีก่อน) โดยที่โรงฟ้าฟ้าแห่งนี้ยังมีศักยภาพในการผลิตเต็มที่ เหตุผลที่ได้ฟังมาคือมันเก่า และก็าซแพง อันหลังพอฟังได้อันแรกนี่ฟังดูแล้วงง พี่ที่ทำงานอยู่บอกว่ามีการดูแลและซ่อมบำรุงตลอด แม้ไม่มีการผลิต ทุกวันนี้ก็ยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่การที่เรานำเข้าก๊าซจากพม่า ก็น่าจะเป็นข้อที่สามารถชี้แจงได้ว่าทำไมไม่เดินท่อก๊าซไปที่โรงไฟฟ้าบ้างปะกง แทนที่จะสร้างใหม่ที่ราชบุรีที่ชาวบ้านไม่ต้องการและต่อต้านมาตลอด ซึ่งผมคิดว่าการวางท่อน่าจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ อีกเรื่องหนึ่งก็คือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอก ประจวบคีรีขันท์ ทำไมต้องไปสร้างในพื้นที่บอบบางทางธรรมชาติ มันเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเยอะมาก จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าสร้างตรงนั้น ถามไปทางหน่วยงานของรัฐ เงียบ ! มีคำตอบอย่างเดียว ที่ตอบออกมาคือเมื่อเรือขนส่งถ่านหินมา มันใกล้ แค่นั้น เรื่องของระบบนิเวศ ไม่มีคำตอบ ปลาวาฬบูลด้า นกออก ปลาเล็กปลาน้อย วิถีชาวบ้าน จากการระบายน้ำหล่อเย็นลงในทะเล การบำบัดสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ที่รัฐตอบไม่ได้ว่าจะแก้อย่างไร มันเป็นข้อข้องใจที่คนไทยถามกันมาตลอด ทำไมล่ะครับ รัฐก็รู้พื้นที่ ที่ควรสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ที่ไหน แต่รัฐไม่เคยคิดที่จะทำ และไม่เคยฟังเหตุผลที่ทั้งนักวิชาการ ทั้งชาวบ้าน และ ในอีกหลายๆหน่วยงานเสนอ พื้นที่ที่ควรสร้างโรงไฟฟ้า ดูง่ายๆไม่ต้องไกลหรอกครับ สระบุรี และลพบุรี เพราะอะไรหรือครับ เพราะสองจังหวัดนี้ได้สัมปทานพื้นที่ระเบิดเขาจนบ้างพื้นที่ไม่สามารถทำการระเบิดหินได้แล้ว เป็นพื้นที่ ที่ไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว มีจำนวนเป็นหมื่อนๆไร่ แต่รัฐไม่สนใจที่จะทำไม่เคยคิดจะฟังความเห็นของสังคม ไม่มีการให้ความรู้ ไม่มีการรับฟังเหตุผล น้ำหล่อเย็นก็อยู่ใกล้ๆ จากเขื่อนป่าสักฯ แต่ให้มีการบริหารจัดการที่ดีก็พอ แต่ไม่มีหรอกครับที่รัฐจะรับฟังเสียงเล็กๆ แบบพวกเรา ชาวบ้าน คนในพื้นที่ ฟังแต่เสียงเงินในบัญชีมันวิ่งเข้ามาเท่าไหร่ ประเทศเรามีศักยภาพในการสร้างพลังงานมากมาย แต่เลือกที่จะไม่มอง ให้ประเทศเพื่อนบ้าน ใช้ก่อน แล้วเราค่อยเอามาใช้หรือ จีนออกมายอมรับแล้วว่า ผิดพลาดที่สร้างเขื่อนสามผา ลาวเริ่มมีท่าทีในการที่จะระงับการสร้างเขื่อน แต่พม่ากลับร่วมมือกับไทยในการที่จะสร้างเขื่อนกันสาระวินเจ็ดเขื่อน ผมก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ก็แค่คนไทยคนหนึ่งในประเทศนี้ที่รักและหวงแหนประเทศนี้เหมือนท่านทั้งหลาย ขอบคุณครับ