จดหมายเหตุ กรณีจระเข้แก่งกระจาน (มิถุนายน 2556)
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 26 มิถุนายน 2556
โดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
ความจริง
1. คลิปข่าววันที่ 25 มิถุนายน 2556 มีการพบรังจระเข้ และแม่จระเข้เฝ้ารังอยู่ไม่ไกล ที่ต้นน้ำเพชรบุรีในป่าลึกของเขตอช.แก่งกระจาน
2. คลิปข่าววันที่ 26 มิถุนายน 2556 ข่าวระบุว่าไข่จระเข้มีเชื้อ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการพบรังจระเข้มาหลายปีในแก่งกระจาน มีการถางป่าส่วนหนึ่งเพื่อทำลานให้เฮลิคอปเตอร์จอดใกล้กับรังของจระเข้ แม่จระเข้ไม่อยู่แล้ว และได้ทำการย้ายไข่จระเข้ทั้งหมดออกจากรังเพื่อไปฟักที่ฟาร์มจระเข้แห่งหนึ่ง
3. จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) จัดเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ มีการกระจายพันธุ์อยู่แค่เพียง 3 ประเทศคือ ไทย เขมร และ เวียตนามเท่านั้น เหลือตัวอาศัยอยู่ในธรรมชาติน้อยมาก แต่ในที่เลี้ยงมีอยู่ตามฟาร์มมากมาย
เราเข้าใจว่าท่านทำไปด้วยความหวังดี แต่การนำไข่ออกมาครั้งนี้ทำให้เราสูญเสียโอกาสในการศึกษา เพื่อหาปัจจัยเพิ่มโอกาสการอยู่รอดในการสืบพันธุ์ พร้อมวางแนวทางการลดปัจจัยคุกคามจากองค์ความรู้ทางนิเวศวิทยาที่ได้ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มองว่าน่าจะเหมาะสมกว่า (ความคิดเห็นของ Bichet Noonto ใน facebook ครับ)
คำถามที่อยากจะเรียนถามในฐานะประชาชนคนหนึ่งคือ
1. วันแรกแม่จระเข้อยู่ วันที่สองไม่อยู่แล้ว ได้มีการรบกวนจนมันทิ้งรังหรือไม่?
2. มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องนำไข่ออกมาทั้งหมด?
3. เจอรังหน้า เจอปีหน้า จะนำออกมาอีกไหม?
4. เจอรังหน้า เจอปีหน้า ถ้าไม่นำออก มีแผนในการศึกษาอย่างไร?
ผู้นำไข่จระเข้ออกจากป่า ให้ความเห็นว่า เพื่อให้มันรอดมากขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ เหตุผลนี้ ถ้าเป็นสัตว์ที่มีจำนวนตัวน้อยทั้งในธรรมชาติและในที่เลี้ยง ก็เป็นเหตุอันควรที่จะทำ แต่ในกรณีของจระเข้น้ำจืดที่มีบริมาณในที่เลี้ยงมากอยู่แล้ว (อ. นพ.ปัญญา เองท่านก็บ่นให้ฟังมาหลายปีว่ามีจำนวนมากมาย พร้อมจะยกให้ไปปล่อย แต่ไม่มีใครมาเอา) แต่ทำไมคราวนี้เมื่อมันสามารถขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ จึงไปนำไข่ออกมา เพราะต้องยอมรับว่า สัตว์ที่ถูกนำไปเลี้ยงอยู่ในที่เลี้ยงแล้ว ยังไงก็ไม่เหมือนพวกที่อยู่รอดเองตามธรรมชาติ การนำจากที่เลี้ยงไปปล่อย ยังต้องห่วงเรื่องโรคที่อาจจะนำไปติด การกำหนดจุดเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหวงถิ่นของจระเข้เจ้าถิ่น และการนำลูกจระเข้จำนวน 30-40 ตัวอายุ 1 ปีเข้าไปปล่อยในป่าลึก ทำได้อย่างปลอดภัยและไม่สิ้นเปลืองได้แค่ไหน?
ในคลิประบุว่าจระเข้ตัวแม่มีขนาดประมาณ 2 เมตร ซึ่งนับเป็นขนาดค่อนข้างเล็กสำหรับจระเข้พันธุ์นี้ เป็นไปได้หรือไม่ว่ายังเป็นแม่จระเข้สาว ซึ่ง2-3 ปีที่ผ่านมาอายุอาจจะยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ (ทั้งพ่อและแม่) (ตำราว่าจระเข้เพศเมียอาจจะต้องมีอายุ 10 ปีขึ้นไป จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์) ไข่จึงยังไม่มีเชื้อ แต่ปีนี้พอมันมีเชื้อ กลับไม่ให้โอกาสในการเฝ้ารังกับแม่จระเข้และให้ลูกจระเข้ได้ฟักในธรรมชาติเลยแม้แต่ตัวเดียว
มีวิธีอื่นที่ดีกว่าการนำไข่ออกมาทั้งหมดไหม?
เอาออกมาบางส่วน อีกส่วนให้แม่มันเฝ้า ให้มันฟักออกมาเพื่อศึกษาลูกจระเข้ตามธรรมชาติได้ไหม?
ถ้ากลัวเรื่องถูกขโมย เรื่องสัตว์อื่นมากิน (ซึ่งก็แปลกๆ ว่าทำไมแม่มันจะไม่ดูแล และการดูแลก็น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามันมีประสบการณ์ในการเฝ้ามากขึ้นทุกๆปี) จัดเวรยามเฝ้าเลยได้ไหม ทำกรงตาข่ายกันไว้เลยได้ไหม? ถึงจะไม่เป็นธรรมชาติเสียทีเดียว แต่ก็ยังเป็นธรรมชาติกว่าฟักในกล่องโฟมแน่ๆ
และคำถามที่สำคัญ(ขอถามย้ำอีกครั้ง) คือ ถ้าเจอรังที่สอง ถ้าเจอรังปีหน้า จะเอาออกมาอีกไหมครับ?
อ้างอิง คลิปข่าว
พบไข่จระเข้ 25 มิถุนายน 2556
นำไข่จระเข้ออกจากป่า 26 มิถุนายน 2556
ความจริง
1. คลิปข่าววันที่ 25 มิถุนายน 2556 มีการพบรังจระเข้ และแม่จระเข้เฝ้ารังอยู่ไม่ไกล ที่ต้นน้ำเพชรบุรีในป่าลึกของเขตอช.แก่งกระจาน
2. คลิปข่าววันที่ 26 มิถุนายน 2556 ข่าวระบุว่าไข่จระเข้มีเชื้อ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการพบรังจระเข้มาหลายปีในแก่งกระจาน มีการถางป่าส่วนหนึ่งเพื่อทำลานให้เฮลิคอปเตอร์จอดใกล้กับรังของจระเข้ แม่จระเข้ไม่อยู่แล้ว และได้ทำการย้ายไข่จระเข้ทั้งหมดออกจากรังเพื่อไปฟักที่ฟาร์มจระเข้แห่งหนึ่ง
3. จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) จัดเป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ มีการกระจายพันธุ์อยู่แค่เพียง 3 ประเทศคือ ไทย เขมร และ เวียตนามเท่านั้น เหลือตัวอาศัยอยู่ในธรรมชาติน้อยมาก แต่ในที่เลี้ยงมีอยู่ตามฟาร์มมากมาย
เราเข้าใจว่าท่านทำไปด้วยความหวังดี แต่การนำไข่ออกมาครั้งนี้ทำให้เราสูญเสียโอกาสในการศึกษา เพื่อหาปัจจัยเพิ่มโอกาสการอยู่รอดในการสืบพันธุ์ พร้อมวางแนวทางการลดปัจจัยคุกคามจากองค์ความรู้ทางนิเวศวิทยาที่ได้ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มองว่าน่าจะเหมาะสมกว่า (ความคิดเห็นของ Bichet Noonto ใน facebook ครับ)
คำถามที่อยากจะเรียนถามในฐานะประชาชนคนหนึ่งคือ
1. วันแรกแม่จระเข้อยู่ วันที่สองไม่อยู่แล้ว ได้มีการรบกวนจนมันทิ้งรังหรือไม่?
2. มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องนำไข่ออกมาทั้งหมด?
3. เจอรังหน้า เจอปีหน้า จะนำออกมาอีกไหม?
4. เจอรังหน้า เจอปีหน้า ถ้าไม่นำออก มีแผนในการศึกษาอย่างไร?
ผู้นำไข่จระเข้ออกจากป่า ให้ความเห็นว่า เพื่อให้มันรอดมากขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ เหตุผลนี้ ถ้าเป็นสัตว์ที่มีจำนวนตัวน้อยทั้งในธรรมชาติและในที่เลี้ยง ก็เป็นเหตุอันควรที่จะทำ แต่ในกรณีของจระเข้น้ำจืดที่มีบริมาณในที่เลี้ยงมากอยู่แล้ว (อ. นพ.ปัญญา เองท่านก็บ่นให้ฟังมาหลายปีว่ามีจำนวนมากมาย พร้อมจะยกให้ไปปล่อย แต่ไม่มีใครมาเอา) แต่ทำไมคราวนี้เมื่อมันสามารถขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ จึงไปนำไข่ออกมา เพราะต้องยอมรับว่า สัตว์ที่ถูกนำไปเลี้ยงอยู่ในที่เลี้ยงแล้ว ยังไงก็ไม่เหมือนพวกที่อยู่รอดเองตามธรรมชาติ การนำจากที่เลี้ยงไปปล่อย ยังต้องห่วงเรื่องโรคที่อาจจะนำไปติด การกำหนดจุดเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหวงถิ่นของจระเข้เจ้าถิ่น และการนำลูกจระเข้จำนวน 30-40 ตัวอายุ 1 ปีเข้าไปปล่อยในป่าลึก ทำได้อย่างปลอดภัยและไม่สิ้นเปลืองได้แค่ไหน?
ในคลิประบุว่าจระเข้ตัวแม่มีขนาดประมาณ 2 เมตร ซึ่งนับเป็นขนาดค่อนข้างเล็กสำหรับจระเข้พันธุ์นี้ เป็นไปได้หรือไม่ว่ายังเป็นแม่จระเข้สาว ซึ่ง2-3 ปีที่ผ่านมาอายุอาจจะยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ (ทั้งพ่อและแม่) (ตำราว่าจระเข้เพศเมียอาจจะต้องมีอายุ 10 ปีขึ้นไป จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์) ไข่จึงยังไม่มีเชื้อ แต่ปีนี้พอมันมีเชื้อ กลับไม่ให้โอกาสในการเฝ้ารังกับแม่จระเข้และให้ลูกจระเข้ได้ฟักในธรรมชาติเลยแม้แต่ตัวเดียว
มีวิธีอื่นที่ดีกว่าการนำไข่ออกมาทั้งหมดไหม?
เอาออกมาบางส่วน อีกส่วนให้แม่มันเฝ้า ให้มันฟักออกมาเพื่อศึกษาลูกจระเข้ตามธรรมชาติได้ไหม?
ถ้ากลัวเรื่องถูกขโมย เรื่องสัตว์อื่นมากิน (ซึ่งก็แปลกๆ ว่าทำไมแม่มันจะไม่ดูแล และการดูแลก็น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามันมีประสบการณ์ในการเฝ้ามากขึ้นทุกๆปี) จัดเวรยามเฝ้าเลยได้ไหม ทำกรงตาข่ายกันไว้เลยได้ไหม? ถึงจะไม่เป็นธรรมชาติเสียทีเดียว แต่ก็ยังเป็นธรรมชาติกว่าฟักในกล่องโฟมแน่ๆ
และคำถามที่สำคัญ(ขอถามย้ำอีกครั้ง) คือ ถ้าเจอรังที่สอง ถ้าเจอรังปีหน้า จะเอาออกมาอีกไหมครับ?
อ้างอิง คลิปข่าว
พบไข่จระเข้ 25 มิถุนายน 2556
นำไข่จระเข้ออกจากป่า 26 มิถุนายน 2556
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1