บึ้งฝาท้องปล้อง.....บึ้งโบราณผู้รอการอนุรักษ์
เขียนโดย coneman Authenticated user เมื่อ 7 สิงหาคม 2556
เรื่อง/ภาพ: coneman
ผมเขียนบทความนี้ขึ้น หลังจากทราบข่าวจากเพื่อนซึ่งเป็นเครือข่ายทำงานอนุรักษ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งข่าวร้ายและข่าวดี แจ้งว่าบึ้งฝาท้องปล้อง หรือแมงมุมโบราณท้องปล้อง ชนิดหนึ่ง คือ Liphistius kanthanจากการสำรวจประชากรล่าสุดพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และล่าสุดทาง International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN ได้จัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered - CR) เทียบง่ายๆคืออยู่ในสถานภาพเดียวกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกวางผาหรือพะยูนเลยทีเดียว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อาศัยอย่างต่อเนื่องจนทำให้ขอบเขตการแพร่กระจาย (extent of occurrence) และพื้นที่การแพร่กระจาย (area of occupancy) ลดต่ำลงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด บึ้งฝาชนิดนี้พบอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งบริเวณดังกล่าวได้รับสัมปทานในการระเบิดหินปูน การระเบิดทำให้ระบบภายในถ้ำที่คงอยู่มาหลายร้อยปีต้องเปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น แสงสว่าง ช่องทางระบายน้ำ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในถ้ำ รวมทั้งบึ้งฝาท้องปล้องโดยตรง แต่ความโชคดีในความโชคร้ายก็คือแมงมุมในสกุล Liphistius หรือบึ้งฝาท้องปล้องถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์คุ้มครองของ Malaysian Wildlife Conservation เมื่อปีที่แล้วนี่เอง (ค.ศ. 2012) ทำให้พื้นที่สุดท้ายที่พวกเขาหลงเหลืออยู่คือถ้ำ Gunung Kanthan ถูกเสนอนำเข้าเป็นพื้นที่อนุรักษ์และห้ามมีการระเบิดหินในพื้นที่ดังกล่าว เห็นได้ว่าเพื่อนบ้านของเราได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติแม้เป็นบึ้งตัวเล็กๆ
บึ้งฝาท้องปล้องสำคัญไฉน....เหตุใดต้องหันมามอง
ผมเคยเขียนบทความเรื่องบึ้งฝาไว้แล้วบทความหนึ่งในเว็บ siamensis.org แห่งนี้ หากใครเคยได้อ่านอาจจะรู้จักบึ้งฝากันมาบ้างแล้วครับ แต่คราวนี้จะขอเจาะจงลงไปถึงกลุ่มบึ้งฝาท้องปล้องหรือแมงมุมโบราณท้องปล้องกันครับ บึ้งฝาในสกุล Liphistius หรือที่ผมเรียกว่าบึ้งฝาท้องปล้อง หรือเรียกให้ถูกตามราชบัณฑิตคือแมงมุมโบราณท้องปล้องนั้น จากหลักฐานฟอสซิลในชั้นหินเชื่อว่าพวกเค้าถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส (carboniferous) หรือเมื่อประมาณ 350 ล้านปีมาแล้ว โดยบึ้งฝาท้องปล้องในปัจจุบันแทบไม่มีความแตกต่างจากบรรพบุรุษของเค้าเลยครับ ลักษณะเด่นคือ อวัยวะชักใย (spinnerets) มี 4 คู่ และตั้งอยู่ตรงกลางของส่วนท้อง (abdomen) ด้านล่าง ส่วนท้องด้านบนมีลักษณะเป็นแผ่น (tergites)เรียงต่อกันคล้ายปล้องอันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะโบราณที่พบในบรรพบุรุษของพวกเค้าและยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน นักชีววิทยาจึงขนานนามเรียกบึ้งกลุ่มนี้ว่า "Living fossil" แต่เดิมบึ้งฝาท้องปล้องมีการกระจายกว้างทั่วโลก จากหลักฐานฟอสซิลเชื่อว่าบรรพบุรุษแรกเริ่มกำเนิดขึ้นบริเวณทวีปยุโรปในปัจจุบัน ก่อนจะกระจายขึ้นเหนือในช่วงที่อากาศอบอุ่นผ่าน land bridge เข้ามายังทวีปเอเชีย (ยุคก่อนนั้นยุโรปและเอเชียยังไม่เชื่อมต่อกัน) เมื่อากาศทางเหนือเย็นลงเกิดความแห้งแล้งตอนบนของทวีป บึ้งฝาท้องปล้องได้อพยพลงใต้อีกครั้งสู่คาบสมุทรจีนซึ่งสุดขอบแผ่นดินด้านใต้ซึ่งกั้นโดยทะเล บางประชากรกระจายผ่าน land bridge ไปยังหมู่เกาะต่างๆได้ในขณะที่น้ำทะเลลดลงในช่วงยุคน้ำแข็ง จากนั้นประชากรบริเวณส่วนอื่นของโลกได้สูญหายไปทำให้บึ้งฝาท้องปล้องในวงศ์ Liphistiidae ซึ่งประกอบด้วยแมงมุมใน 3 สกุล คือ Liphistius Heptathela และ Ryuthela หลงเหลืออยู่เฉพาะบริเวณทวีปเอเชีย แต่เนื่องด้วยประชากรดั้งเดิมของบึ้งฝาท้องปล้องสกุล Liphistius ได้กระจายตัวแยกออกไปจากบรรพบุรุษเดิม จึงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่แคบๆบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบันทั่วโลกจึงสามารถพบแมงมุมวงศ์ Liphistiidae ได้เฉพาะบริเวณทวีปเอเชีย และโดยเฉพาะบึ้งฝาท้องปล้องในสกุล Liphistius แล้วยิ่งมีการกระจายแคบอยู่เพียงบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ในเขตประเทศไทย ลาว พม่า มาเลเซีย และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เท่านั้น จากการกระจายตัวที่จำกัดบนพื้นที่เล็กๆเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั่วโลก ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องเป็นที่สนใจจากทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักสะสม และนักเลี้ยงจากทั่วโลก เนื่องจากไม่ได้พบทั่วไป จัดเป็นของหายากและมีราคา
บึ้งฝาท้องปล้องเป็นกลุ่มบึ้งโบราณที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มาแสนเนิ่นนาน บรรยากาศของโลกยุคนั้นมีความชื้นสูงและเต็มไปด้วยไอน้ำ ร่างกายของบึ้งฝาท้องปล้องซึ่งสูญเสียน้ำสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย จึงแทบไม่มีปัญหาในช่วงนั้น ต่อมาเมื่อความชื้นในบรรยากาศลดต่ำลงตามการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยต่อๆมา บึ้งฝาท้องปล้องจึงปรับตัวโดยการขุดรูลงไปในดินและสร้าฝาดินปิดปากโพรงอาศัย เพื่อคงความชื้นภายในโพรงให้สูงอยู่ตลอดเวลา ยังผลให้ไม่สูญเสียน้ำออกจากร่างกาย กระบวนการเหล่านี้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องต้องอาศัยอยู่ในโพรงอาศัยตลอดเวลา และมีกิจกรรมนอกโพรงอาศัยเช่นการกินอาหาร การผสมพันธุ์ ในช่วงเวลาสั้นๆในเวลากลางคืน หรือหลังฝนตก ซึ่งมีความชื้นในบรรยากาศสูง ทำให้มีความสามารถในการกระจายตัวของประชากรต่ำ ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัย แต่หนำซ้ำในปัจจุบันนอกจากต้องปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนแล้ว พวกเค้ายังถูกซ้ำเติมโดยการรบกวนจากมนุษย์ ทั้งในด้านการบุกรุกเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย และถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อตอบสนองกิเลสของมนุษย์ วันหนึ่งบึ้งฝาท้องปล้องที่มีหนึ่งเดียวในประเทศไทย อาจสูญหายไปโดยไม่มีวันหวนกลับ ถึงวันนั้นการเรียนในวิชา Arachnology ของลูกหลานของเรา ซึ่งบทเรียนแรกจะต้องเรียนเริ่มต้นด้วยบึ้งฝาท้องปล้องต้นสายบรรพบุรุษแมงมุมอาจมีให้เห็นเพียงภาพวาด ภาพถ่าย หรือตัวอย่างดอง เหมือนที่เราดูเนื้อสมันในปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะห่วงใย หวงแหน และช่วยกันอนุรักษ์บึ้งฝาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และรู้จัก
ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับบึ้งฝาท้องปล้อง?
1. ประเทศไทยมีความหลากหลายของบึ้งฝาท้องปล้องสกุล Liphistius มากที่สุดในโลก (32 ชนิด) และทุกชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (endemic species) ที่พบได้เฉพาะประเทศไทย พวกเค้ามีศักดิ์ศรีเท่าหมีแพนด้าของจีนเลยที่เดียว
2. บึ้งฝาท้องปล้องเป็นสัตว์โบราณมีอัตราเมทาบอริซึมต่ำมาก ทำให้พวกเค้าโตช้า ระยะเวลาจากเมื่อฟักออกจากไข่จนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ (ให้อาหารทุกอาทิตย์) ใช้เวลา 2 - 5 ปี แล้วแต่ชนิด ลองคิดกลับไปที่บึ้งฝาในธรรมชาติที่ไม่ได้กินอาหารสม่ำเสมอ ได้กินบ้างอดบ้าง จะต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่ามาก
3. บึ้งฝาเพศเมียมีอายุได้ถึง 20 ปี หากพวกเค้าไม่โดนทำร้ายหรือเป็นอะไรตายไปซะก่อน เพศเมียตัวหนึ่งจึงสามารถผลิตประชากรใหม่หรือให้ลูกหลานเหลนโหลนได้ยาวนาน การจับบึ้งฝาเพศเมียหนึ่งตัวออกจากธรรมชาติเพียงตัวเดียว เท่ากับเป็นการทำลายบึ้งฝาก้นปล้องหลากหลายรุ่นที่จะมาทดแทนประชากรเดิม ซึ่งมีการเจริญเติบโตช้าอยู่แล้ว
4. อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียในบึ้งฝาท้องปล้องโดยปกติคือ 1:6 นั่นหมายความว่าเพศผู้หนึ่งตัวจะทำหน้าที่ผสมกับตัวเมียหลายตัว หากนำบึ้งฝาเพศผู้เพียงตัวเดียวออกจากระบบในธรรมชาติ เท่ากับเป็นการทำให้บึ้งฝาเพศเมียซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตลูกหลานเป็นโสดถึง 6 ตัว ประชากรทดแทนหายไปมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริง เพศผู้จะไม่สามารถผสมกับแมงมุมเพศเมียรุ่นเดียวกันได้อยู่แล้ว ต้องผสมกับรุ่นพี่ รุ่นแม่ รุ่นย่าที่เกิดมาก่อนหลายปี หากเกิดการนำออกเพศผู้หรือเพศเมียซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ไม่นับที่โดนล่าหรือตายขณะเติบโต ก็จะทำให้การทดแทนประชากรใหม่เกิดขึ้นได้ช้ามาก เนื่องจากประชากรทั้งสองเพศเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่พร้อมกันหรือไม่สมดุลกัน ซึ่งข้อนี้ในธรรมชาติก็สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมนุษย์เข้าไปรบกวนเพิ่มก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปกว่าเก่า
5. การผสมพันธุ์มีความเสี่ยง เพศผู้ซึ่งใช้เวลาแสนจะยาวนานกว่าจะเติบโต แถมมีประชากรน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติ ยังจะต้องเสี่ยงออกจากรูอาศัยเพื่อตามหาโพรงของเพศเมีย พวกมันอาจถูกล่าได้ทุกขณะ หรืออาจหาเพศเมียไม่พบเลยก็มี หรือในบางกรณีอาจโดนเพศเมียจับกินก่อนผสมพันธุ์ ยิ่งทำให้ประชากรที่แสนบอบบาง เปราะบางมากยิ่งขึ้น
6. ลูกบึ้งฝาท้องปล้องอาศัยอยู่ในถุงไข่มากกว่า 1 เดือน พวกมันต้องได้รับการดูแลป้องกันภัยจากแม่เป็นเวลานาน ลูกบึ้งฝาไม่สามารถเจาะออกจากถุงไข่ได้เอง แม่บึ้งจะต้องใช้เขี้ยวเจาะถุงไข่เมื่อถึงเวลาที่ลูกจะออกมาดูโลก ดังนั้นหากแม่ตายลงหรือถูกจับไปก็จะทำให้ลูกบึ้งฝานับร้อยในถุงไข่ตายอยู่ภายในถุงไข่ หรือถูกทำร้ายได้
7. เมื่อลูกบึ้งฝาถูกปล่อยออกจากโพรงของแม่ พวกเค้าจะรีบขุดรูเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำให้เร็วที่สุด ทำให้มักพบกระจุกอยู่เป็นกลุ่มใกล้โพรงของแม่ ด้วยเหตุนี้บึ้งฝาท้องปล้องจึงมักพบอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หรือโดนทำลาย หากพื้นที่บริเวณนั้นถูกเปลี่ยนแปลง
8. ลูกบึ้งในธรรมชาติไม่ได้รอดหมด 100 เปอร์เซ็นต์ อาจเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์
จากปัจจัยทั้ง 8 ข้อรวมกันจะเห็นได้ว่าบึ้งฝาท้องปล้องมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตลอดเวลา จากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน
ขอฝากถึงนักเลี้ยงและนักสะสม
1. บึ้งฝาท้องปล้องไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง เนื่องจากมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม มักเลี้ยงได้ไม่ยาวนาน และการนำประชากรธรรมชาติออกมาจะส่งผลต่อการทดแทนประชากรโดยเฉพาะประชากรที่มีขนาดเล็กมากๆ และกระจายอยู่ในพื้นที่แคบๆ
2. ยังไม่เคยมีใครทำการผสมบึ้งฝาท้องปล้องสำเร็จในที่เลี้ยง เนื่องด้วยต้องอาศัยหลายปัจจัยที่มากระตุ้นให้เิกิดการจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งแตกต่างจากบึ้งในวงศ์ Theraphosidae เพราะเป็นกลุ่มที่ต่างสายวิวัฒนาการกัน ใช้กระบวนการที่ต่างกัน และธรรมชาติได้คัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาผสมในที่เลี้ยง
3. หากฟลุคผสมได้ หรือได้แม่ที่มีไข่ที่ผสมแล้วติดท้อง ผมคิดว่าไม่มีใครที่อดทนพอจะเลี้ยงลูกแมงมุมที่แสนจะโตช้าและตายง่าย โดยการจับแยกเดี่ยวเป็นร้อยๆได้นานถึง 2-5 ปี
4. จากข้อ 3 ถ้าคิดเพาะขายก็ไม่คุ้มทุนแล้ว เพราะต้องใช้เวลานาน ต้นทุนด้านเวลาสูง ดังนั้นที่มีขายในปัจจุบันจับจากธรรมชาติล้านเปอร์เซ็นต์ ใครบอกเพาะได้คนนั้นโกหกแม้กระทั่งตัวเอง
5. หากใครคิดสะสมให้ครบ เพราะคิดว่ารูปร่างหน้าตาต้องหลากหลายน่าดู ท่านคิดผิด เพราะบึ้งฝาท้องปล้องไม่สามารถใช้สีสันมาจำแนกชนิดได้ หลายชนิดสีสันเหมือนกันดังฝาแฝด แต่มีระบบอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น เราเรียกกลุ่มนี้ว่า complex species ส่วนใหญ่ก็สีน้ำตาล ส้ม ดำ หามาอีกกี่ชนิดก็น้ำตาล ส้ม ดำ ใครมาหลอกท่านจะรู้ได้ไงในเมื่อต้องจำแนกด้วยผุ้เชี่ยวชาญเท่านั้น
6. พวกเค้าไม่ผิดที่เกิดมาสวย แต่เค้าก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะโชว์ความสวยในธรรมชาติให้หลายๆคนได้ชื่นชม พวกเค้าเป็นของส่วนรวม เป็นทรัพยากรของชาติที่ทุกคนมีสิทธ์ชื่นชม อย่าได้นำเค้ามาเป็นของส่วนตัว
ึ7. ความอยากทำให้อยากลอง ความอยากลองทำให้เกิดการหามาครอบครอง ช่วงแรกบึ้งฝาอาจดูแปลกและน่าตื่นเต้นที่จะได้เลี้ยง แต่พอนานไปท่านจะรุ้สึกเบื่อ เพราะเห็นแต่ฝาที่ปิดรู เห็นแว่บๆตอนออกมากินอาหาร ความตื่นเต้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นความชินชา สิ่งนี้เป็นวัฎจักร สุดท้ายคนที่ได้ลองก็จะเข้าใจ มาเตือนเด็กรุ่นใหม่ที่อยากลองในรุ่นต่อมา เด็กรุ่นใหม่ไฟแรงมีมาเรื่อยๆ แต่จำไว้บึ้งฝาไม่ได้มีเพียงพอสำหรับการลองของเด็กทุกรุ่น ดังนั้นช่วยกันสร้างความเข้าใจเป็นการดีที่สุด
8.จำไว้คนไหนที่มาโพสต์ภาพบึ้งฝาโชว์ เค้าไม่ได้เจ๋ง เค้าไม่ได้เท่ห์ แต่เค้ากำลังแอบอ้างและพยายามครอบครองทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของทุกคน พวกเค้าต้องการเพียงสร้างความแตกต่างจากคนอื่น หรือให้คนอื่นชื่นชม ดังนั้นช่วยกันประนามครับ
สุดท้ายที่ๆดีที่สุดคือการให้บึ้งฝาท้องปล้องได้อยู่ในธรรมชาติ ให้พวกเค้าได้มีอิสระ ให้พวกเค้าได้ทำหน้าที่ในระบบนิเวศต่อไป เพราะพวกเค้ายังต้องสู้กับอะไรอีกมากมายท่ามกลางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประชากรของพวกเค้าดำรงคงอยู่ เพียงแต่คุณจะช่วยเค้าให้อยู่หรือทำลายซ้ำเติมพวกเค้าก็เท่านั้นเอง
ผมเขียนบทความนี้ขึ้น หลังจากทราบข่าวจากเพื่อนซึ่งเป็นเครือข่ายทำงานอนุรักษ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งข่าวร้ายและข่าวดี แจ้งว่าบึ้งฝาท้องปล้อง หรือแมงมุมโบราณท้องปล้อง ชนิดหนึ่ง คือ Liphistius kanthanจากการสำรวจประชากรล่าสุดพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และล่าสุดทาง International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN ได้จัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered - CR) เทียบง่ายๆคืออยู่ในสถานภาพเดียวกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกวางผาหรือพะยูนเลยทีเดียว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อาศัยอย่างต่อเนื่องจนทำให้ขอบเขตการแพร่กระจาย (extent of occurrence) และพื้นที่การแพร่กระจาย (area of occupancy) ลดต่ำลงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด บึ้งฝาชนิดนี้พบอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งบริเวณดังกล่าวได้รับสัมปทานในการระเบิดหินปูน การระเบิดทำให้ระบบภายในถ้ำที่คงอยู่มาหลายร้อยปีต้องเปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น แสงสว่าง ช่องทางระบายน้ำ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในถ้ำ รวมทั้งบึ้งฝาท้องปล้องโดยตรง แต่ความโชคดีในความโชคร้ายก็คือแมงมุมในสกุล Liphistius หรือบึ้งฝาท้องปล้องถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์คุ้มครองของ Malaysian Wildlife Conservation เมื่อปีที่แล้วนี่เอง (ค.ศ. 2012) ทำให้พื้นที่สุดท้ายที่พวกเขาหลงเหลืออยู่คือถ้ำ Gunung Kanthan ถูกเสนอนำเข้าเป็นพื้นที่อนุรักษ์และห้ามมีการระเบิดหินในพื้นที่ดังกล่าว เห็นได้ว่าเพื่อนบ้านของเราได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติแม้เป็นบึ้งตัวเล็กๆ
บึ้งฝาท้องปล้องสำคัญไฉน....เหตุใดต้องหันมามอง
ผมเคยเขียนบทความเรื่องบึ้งฝาไว้แล้วบทความหนึ่งในเว็บ siamensis.org แห่งนี้ หากใครเคยได้อ่านอาจจะรู้จักบึ้งฝากันมาบ้างแล้วครับ แต่คราวนี้จะขอเจาะจงลงไปถึงกลุ่มบึ้งฝาท้องปล้องหรือแมงมุมโบราณท้องปล้องกันครับ บึ้งฝาในสกุล Liphistius หรือที่ผมเรียกว่าบึ้งฝาท้องปล้อง หรือเรียกให้ถูกตามราชบัณฑิตคือแมงมุมโบราณท้องปล้องนั้น จากหลักฐานฟอสซิลในชั้นหินเชื่อว่าพวกเค้าถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส (carboniferous) หรือเมื่อประมาณ 350 ล้านปีมาแล้ว โดยบึ้งฝาท้องปล้องในปัจจุบันแทบไม่มีความแตกต่างจากบรรพบุรุษของเค้าเลยครับ ลักษณะเด่นคือ อวัยวะชักใย (spinnerets) มี 4 คู่ และตั้งอยู่ตรงกลางของส่วนท้อง (abdomen) ด้านล่าง ส่วนท้องด้านบนมีลักษณะเป็นแผ่น (tergites)เรียงต่อกันคล้ายปล้องอันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะโบราณที่พบในบรรพบุรุษของพวกเค้าและยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน นักชีววิทยาจึงขนานนามเรียกบึ้งกลุ่มนี้ว่า "Living fossil" แต่เดิมบึ้งฝาท้องปล้องมีการกระจายกว้างทั่วโลก จากหลักฐานฟอสซิลเชื่อว่าบรรพบุรุษแรกเริ่มกำเนิดขึ้นบริเวณทวีปยุโรปในปัจจุบัน ก่อนจะกระจายขึ้นเหนือในช่วงที่อากาศอบอุ่นผ่าน land bridge เข้ามายังทวีปเอเชีย (ยุคก่อนนั้นยุโรปและเอเชียยังไม่เชื่อมต่อกัน) เมื่อากาศทางเหนือเย็นลงเกิดความแห้งแล้งตอนบนของทวีป บึ้งฝาท้องปล้องได้อพยพลงใต้อีกครั้งสู่คาบสมุทรจีนซึ่งสุดขอบแผ่นดินด้านใต้ซึ่งกั้นโดยทะเล บางประชากรกระจายผ่าน land bridge ไปยังหมู่เกาะต่างๆได้ในขณะที่น้ำทะเลลดลงในช่วงยุคน้ำแข็ง จากนั้นประชากรบริเวณส่วนอื่นของโลกได้สูญหายไปทำให้บึ้งฝาท้องปล้องในวงศ์ Liphistiidae ซึ่งประกอบด้วยแมงมุมใน 3 สกุล คือ Liphistius Heptathela และ Ryuthela หลงเหลืออยู่เฉพาะบริเวณทวีปเอเชีย แต่เนื่องด้วยประชากรดั้งเดิมของบึ้งฝาท้องปล้องสกุล Liphistius ได้กระจายตัวแยกออกไปจากบรรพบุรุษเดิม จึงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่แคบๆบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปัจจุบันทั่วโลกจึงสามารถพบแมงมุมวงศ์ Liphistiidae ได้เฉพาะบริเวณทวีปเอเชีย และโดยเฉพาะบึ้งฝาท้องปล้องในสกุล Liphistius แล้วยิ่งมีการกระจายแคบอยู่เพียงบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ในเขตประเทศไทย ลาว พม่า มาเลเซีย และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เท่านั้น จากการกระจายตัวที่จำกัดบนพื้นที่เล็กๆเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั่วโลก ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องเป็นที่สนใจจากทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักสะสม และนักเลี้ยงจากทั่วโลก เนื่องจากไม่ได้พบทั่วไป จัดเป็นของหายากและมีราคา
บึ้งฝาท้องปล้องเป็นกลุ่มบึ้งโบราณที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มาแสนเนิ่นนาน บรรยากาศของโลกยุคนั้นมีความชื้นสูงและเต็มไปด้วยไอน้ำ ร่างกายของบึ้งฝาท้องปล้องซึ่งสูญเสียน้ำสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย จึงแทบไม่มีปัญหาในช่วงนั้น ต่อมาเมื่อความชื้นในบรรยากาศลดต่ำลงตามการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยต่อๆมา บึ้งฝาท้องปล้องจึงปรับตัวโดยการขุดรูลงไปในดินและสร้าฝาดินปิดปากโพรงอาศัย เพื่อคงความชื้นภายในโพรงให้สูงอยู่ตลอดเวลา ยังผลให้ไม่สูญเสียน้ำออกจากร่างกาย กระบวนการเหล่านี้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องต้องอาศัยอยู่ในโพรงอาศัยตลอดเวลา และมีกิจกรรมนอกโพรงอาศัยเช่นการกินอาหาร การผสมพันธุ์ ในช่วงเวลาสั้นๆในเวลากลางคืน หรือหลังฝนตก ซึ่งมีความชื้นในบรรยากาศสูง ทำให้มีความสามารถในการกระจายตัวของประชากรต่ำ ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้บึ้งฝาท้องปล้องมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่อาศัย แต่หนำซ้ำในปัจจุบันนอกจากต้องปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนแล้ว พวกเค้ายังถูกซ้ำเติมโดยการรบกวนจากมนุษย์ ทั้งในด้านการบุกรุกเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย และถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อตอบสนองกิเลสของมนุษย์ วันหนึ่งบึ้งฝาท้องปล้องที่มีหนึ่งเดียวในประเทศไทย อาจสูญหายไปโดยไม่มีวันหวนกลับ ถึงวันนั้นการเรียนในวิชา Arachnology ของลูกหลานของเรา ซึ่งบทเรียนแรกจะต้องเรียนเริ่มต้นด้วยบึ้งฝาท้องปล้องต้นสายบรรพบุรุษแมงมุมอาจมีให้เห็นเพียงภาพวาด ภาพถ่าย หรือตัวอย่างดอง เหมือนที่เราดูเนื้อสมันในปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะห่วงใย หวงแหน และช่วยกันอนุรักษ์บึ้งฝาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และรู้จัก
ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับบึ้งฝาท้องปล้อง?
1. ประเทศไทยมีความหลากหลายของบึ้งฝาท้องปล้องสกุล Liphistius มากที่สุดในโลก (32 ชนิด) และทุกชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (endemic species) ที่พบได้เฉพาะประเทศไทย พวกเค้ามีศักดิ์ศรีเท่าหมีแพนด้าของจีนเลยที่เดียว
2. บึ้งฝาท้องปล้องเป็นสัตว์โบราณมีอัตราเมทาบอริซึมต่ำมาก ทำให้พวกเค้าโตช้า ระยะเวลาจากเมื่อฟักออกจากไข่จนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ (ให้อาหารทุกอาทิตย์) ใช้เวลา 2 - 5 ปี แล้วแต่ชนิด ลองคิดกลับไปที่บึ้งฝาในธรรมชาติที่ไม่ได้กินอาหารสม่ำเสมอ ได้กินบ้างอดบ้าง จะต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่ามาก
3. บึ้งฝาเพศเมียมีอายุได้ถึง 20 ปี หากพวกเค้าไม่โดนทำร้ายหรือเป็นอะไรตายไปซะก่อน เพศเมียตัวหนึ่งจึงสามารถผลิตประชากรใหม่หรือให้ลูกหลานเหลนโหลนได้ยาวนาน การจับบึ้งฝาเพศเมียหนึ่งตัวออกจากธรรมชาติเพียงตัวเดียว เท่ากับเป็นการทำลายบึ้งฝาก้นปล้องหลากหลายรุ่นที่จะมาทดแทนประชากรเดิม ซึ่งมีการเจริญเติบโตช้าอยู่แล้ว
4. อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียในบึ้งฝาท้องปล้องโดยปกติคือ 1:6 นั่นหมายความว่าเพศผู้หนึ่งตัวจะทำหน้าที่ผสมกับตัวเมียหลายตัว หากนำบึ้งฝาเพศผู้เพียงตัวเดียวออกจากระบบในธรรมชาติ เท่ากับเป็นการทำให้บึ้งฝาเพศเมียซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตลูกหลานเป็นโสดถึง 6 ตัว ประชากรทดแทนหายไปมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริง เพศผู้จะไม่สามารถผสมกับแมงมุมเพศเมียรุ่นเดียวกันได้อยู่แล้ว ต้องผสมกับรุ่นพี่ รุ่นแม่ รุ่นย่าที่เกิดมาก่อนหลายปี หากเกิดการนำออกเพศผู้หรือเพศเมียซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ไม่นับที่โดนล่าหรือตายขณะเติบโต ก็จะทำให้การทดแทนประชากรใหม่เกิดขึ้นได้ช้ามาก เนื่องจากประชากรทั้งสองเพศเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่พร้อมกันหรือไม่สมดุลกัน ซึ่งข้อนี้ในธรรมชาติก็สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมนุษย์เข้าไปรบกวนเพิ่มก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปกว่าเก่า
5. การผสมพันธุ์มีความเสี่ยง เพศผู้ซึ่งใช้เวลาแสนจะยาวนานกว่าจะเติบโต แถมมีประชากรน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติ ยังจะต้องเสี่ยงออกจากรูอาศัยเพื่อตามหาโพรงของเพศเมีย พวกมันอาจถูกล่าได้ทุกขณะ หรืออาจหาเพศเมียไม่พบเลยก็มี หรือในบางกรณีอาจโดนเพศเมียจับกินก่อนผสมพันธุ์ ยิ่งทำให้ประชากรที่แสนบอบบาง เปราะบางมากยิ่งขึ้น
6. ลูกบึ้งฝาท้องปล้องอาศัยอยู่ในถุงไข่มากกว่า 1 เดือน พวกมันต้องได้รับการดูแลป้องกันภัยจากแม่เป็นเวลานาน ลูกบึ้งฝาไม่สามารถเจาะออกจากถุงไข่ได้เอง แม่บึ้งจะต้องใช้เขี้ยวเจาะถุงไข่เมื่อถึงเวลาที่ลูกจะออกมาดูโลก ดังนั้นหากแม่ตายลงหรือถูกจับไปก็จะทำให้ลูกบึ้งฝานับร้อยในถุงไข่ตายอยู่ภายในถุงไข่ หรือถูกทำร้ายได้
7. เมื่อลูกบึ้งฝาถูกปล่อยออกจากโพรงของแม่ พวกเค้าจะรีบขุดรูเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำให้เร็วที่สุด ทำให้มักพบกระจุกอยู่เป็นกลุ่มใกล้โพรงของแม่ ด้วยเหตุนี้บึ้งฝาท้องปล้องจึงมักพบอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หรือโดนทำลาย หากพื้นที่บริเวณนั้นถูกเปลี่ยนแปลง
8. ลูกบึ้งในธรรมชาติไม่ได้รอดหมด 100 เปอร์เซ็นต์ อาจเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์
จากปัจจัยทั้ง 8 ข้อรวมกันจะเห็นได้ว่าบึ้งฝาท้องปล้องมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตลอดเวลา จากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัยร่วมกัน
ขอฝากถึงนักเลี้ยงและนักสะสม
1. บึ้งฝาท้องปล้องไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยง เนื่องจากมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม มักเลี้ยงได้ไม่ยาวนาน และการนำประชากรธรรมชาติออกมาจะส่งผลต่อการทดแทนประชากรโดยเฉพาะประชากรที่มีขนาดเล็กมากๆ และกระจายอยู่ในพื้นที่แคบๆ
2. ยังไม่เคยมีใครทำการผสมบึ้งฝาท้องปล้องสำเร็จในที่เลี้ยง เนื่องด้วยต้องอาศัยหลายปัจจัยที่มากระตุ้นให้เิกิดการจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งแตกต่างจากบึ้งในวงศ์ Theraphosidae เพราะเป็นกลุ่มที่ต่างสายวิวัฒนาการกัน ใช้กระบวนการที่ต่างกัน และธรรมชาติได้คัดเลือกสิ่งที่ดีที่สุดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาผสมในที่เลี้ยง
3. หากฟลุคผสมได้ หรือได้แม่ที่มีไข่ที่ผสมแล้วติดท้อง ผมคิดว่าไม่มีใครที่อดทนพอจะเลี้ยงลูกแมงมุมที่แสนจะโตช้าและตายง่าย โดยการจับแยกเดี่ยวเป็นร้อยๆได้นานถึง 2-5 ปี
4. จากข้อ 3 ถ้าคิดเพาะขายก็ไม่คุ้มทุนแล้ว เพราะต้องใช้เวลานาน ต้นทุนด้านเวลาสูง ดังนั้นที่มีขายในปัจจุบันจับจากธรรมชาติล้านเปอร์เซ็นต์ ใครบอกเพาะได้คนนั้นโกหกแม้กระทั่งตัวเอง
5. หากใครคิดสะสมให้ครบ เพราะคิดว่ารูปร่างหน้าตาต้องหลากหลายน่าดู ท่านคิดผิด เพราะบึ้งฝาท้องปล้องไม่สามารถใช้สีสันมาจำแนกชนิดได้ หลายชนิดสีสันเหมือนกันดังฝาแฝด แต่มีระบบอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น เราเรียกกลุ่มนี้ว่า complex species ส่วนใหญ่ก็สีน้ำตาล ส้ม ดำ หามาอีกกี่ชนิดก็น้ำตาล ส้ม ดำ ใครมาหลอกท่านจะรู้ได้ไงในเมื่อต้องจำแนกด้วยผุ้เชี่ยวชาญเท่านั้น
6. พวกเค้าไม่ผิดที่เกิดมาสวย แต่เค้าก็มีสิทธิเต็มที่ที่จะโชว์ความสวยในธรรมชาติให้หลายๆคนได้ชื่นชม พวกเค้าเป็นของส่วนรวม เป็นทรัพยากรของชาติที่ทุกคนมีสิทธ์ชื่นชม อย่าได้นำเค้ามาเป็นของส่วนตัว
ึ7. ความอยากทำให้อยากลอง ความอยากลองทำให้เกิดการหามาครอบครอง ช่วงแรกบึ้งฝาอาจดูแปลกและน่าตื่นเต้นที่จะได้เลี้ยง แต่พอนานไปท่านจะรุ้สึกเบื่อ เพราะเห็นแต่ฝาที่ปิดรู เห็นแว่บๆตอนออกมากินอาหาร ความตื่นเต้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นความชินชา สิ่งนี้เป็นวัฎจักร สุดท้ายคนที่ได้ลองก็จะเข้าใจ มาเตือนเด็กรุ่นใหม่ที่อยากลองในรุ่นต่อมา เด็กรุ่นใหม่ไฟแรงมีมาเรื่อยๆ แต่จำไว้บึ้งฝาไม่ได้มีเพียงพอสำหรับการลองของเด็กทุกรุ่น ดังนั้นช่วยกันสร้างความเข้าใจเป็นการดีที่สุด
8.จำไว้คนไหนที่มาโพสต์ภาพบึ้งฝาโชว์ เค้าไม่ได้เจ๋ง เค้าไม่ได้เท่ห์ แต่เค้ากำลังแอบอ้างและพยายามครอบครองทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของทุกคน พวกเค้าต้องการเพียงสร้างความแตกต่างจากคนอื่น หรือให้คนอื่นชื่นชม ดังนั้นช่วยกันประนามครับ
สุดท้ายที่ๆดีที่สุดคือการให้บึ้งฝาท้องปล้องได้อยู่ในธรรมชาติ ให้พวกเค้าได้มีอิสระ ให้พวกเค้าได้ทำหน้าที่ในระบบนิเวศต่อไป เพราะพวกเค้ายังต้องสู้กับอะไรอีกมากมายท่ามกลางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประชากรของพวกเค้าดำรงคงอยู่ เพียงแต่คุณจะช่วยเค้าให้อยู่หรือทำลายซ้ำเติมพวกเค้าก็เท่านั้นเอง
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
แต่บึ้งก็เป็นอาหารอย่างหนึ่งของชาวบ้านในประเทศไทยนะครับ แล้วจะบอกพวกเขาอย่างไรครับ ตอนที่อยู่ในไร่ที่ปราจีน เด็กๆก็เอาน้ำมาเทใส่หลุมบึ้งรอจนมันออกมาแล้วก็เอาไปเผากินครับ
ความเห็นที่ 2.1
น่าจะเป็นบึ้งคนละกลุ่มกันครับ กลุ่มบึ้งโบราณ ตัวเล็กมาก ๆ ไม่คุ้มการล่ามาทำอาหาร
ความเห็นที่ 2.2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
อย่างน้อยก็ไม่ใช้คำว่าวิชาการมาแอบอ้างละกัน เหอๆๆๆๆ แหมมันน่าสาวถึงพวกนักวิชาการนักแล แต่ก็ไม่อยากเริ่มโจมตีใครก่อน ทำไมต้องมุ่งร้ายกันปานนั้น สีดำๆ อย่างพวกกระผม ทำอะไรชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่ขาวๆ ขุ่นๆ ( คิดกันเองละกัน ) แล้วแหล่งต่างๆ ที่มีมาขายนี่ ก็มาจากพวกสีขาวๆ ทั้งนั้น พวกกระผม เจอกันก็เก็บคนละตัว 2 ตัว และก็ไม่เคยบอกแหล่งกับใครด้วย เพราะรู้ว่ามันอยู่เป็นจุดๆ ถ้าพวกคุณๆ ไปเจอเข้าผมก็ว่าเก็บ เหมือนกัน ก็เพื่อประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้น ( ทุกคน ) เพราะมาทำผลงาน ก็ได้กะตัวเอง ผมเป็นคนเลี้ยง จะเลี้ยงได้สักกี่ร้อยตัวเชียว และอีกอย่างพวกผมนะ มีจุดยืนของตัวเอง ซึ่งมันใจว่ามันเป็นอุดมการณ์ที่ยั่งยืนกว่าฝันพวกคุณแน่นอน ไหนๆ ก็พูดและ 555555+
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ส่วนแมงมุมโบราณท้องปล้องในไทยนั้นก็เป็นที่แน่ใจแล้วว่าพวกมันก็ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงในการที่จะมีจำนวนลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจากสภาพแวดล้อมในธรรมชาติเอง หรือแม้แต่ปัจจัยภายนอกก็ตาม ตามความรู้สึกส่วนตัวนั้นแมงมุมโบราณท้องปล้องนั้นเปรียบเสมือนทรัพย์สมบัติล้ำค่าของประเทศก็ว่าได้ ดังนั้นก็ไม่น่าที่จะแปลกใจอะไรที่เหล่านักวิชาการจะพากันออกตัวมาปกป้องพวกมันนั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง
หากจะพูดอย่างเป็นกลางนั้น การที่จะปกป้องพวกมันนั้นมันก็มีเครื่องมือหลายอย่างที่จะช่วยปกป้องมันได้ นอกเหนือไปจากการ “ประณาม” เพราะการประณามนั้นมันก็ไม่ต่างจากอะไรกับการประจาร ปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ทำให้จำนวนของพวกมันลดน้อยถอยลงนั้นมันก็มาจากหลากหลายสาเหตุ แต่เท่าที่อ่านดูแล้วนั้นก็เห็นจะเน้นไปที่กลุ่มของนักเลี้ยงและนักสะสมเป็นหลักสำคัญ (ตามที่ได้ติดตามอ่านจากมุมมองของผู้เขียน) แต่ถ้าหากจากพิจารณาให้ลึกลงไปในด้านของกลุ่มผู้เลี้ยงนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นผู้ “ผิด” อย่าง 100% แต่ทำไมเราไม่ช่วยผลักดันให้ออกกฎหมายคุ้มครองพวกมันซะ ถ้าแบบนี้ก็สามารถที่จะประณามได้อย่างเต็มปาก 100% ว่าใครมีไว้ครอบครองหรือไปจับมานั้นก็ต้องมีความผิดอย่างแน่นอน
เรื่องนี้มันไม่มีถูกหรือผิดเพราะยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย แต่มันเป็นเรื่องของ “จริยธรรม” มากกว่า และการที่จะมีจิตสำนึกที่ควรไม่ควรมากกว่า และอันที่จริง แล้วจะไปว่ากล่าวนักเลี้ยงเสียทีเดียวก็ไม่ได้ นักเลี้ยงไม่สามารถมีได้ถ้าไม่มีคนเอามาขาย ตรงนั้นต่างหากที่เป็นเหตุสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปกล่าวหานักขายทั้งหมดไม่ได้เพราะเชื่อว่าก็ยังมีทั้งนักขายที่ขายแบบ “สุดโต่ง” และนักขายแบบมี “จริยธรรม” อยู่บ้าง การที่ไปประณามคนที่เลี้ยงนั้นเห็นจะยังไม่ควร แต่ทำไมไม่ใช้อีกเครื่องมีหนึ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือ “การส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี” ให้กับหมู่คนเลี้ยง หากกลุ่มนักเลี้ยงมีจิตสำนึกที่ดีพวกเขาก็อาจจะไม่นิยมชมชอบในการที่จะหามาเลี้ยง และในเมื่อไม่มีคนซื้อก็หาเหตุผลไม่ได้ที่คนขายคิดจะหาออกมาขาย แต่มันก็เป็นความจริงอยู่ว่ามันทำให้นักล่านั้นหยุดการล่า แต่อย่างน้อยก็ทำให้การล่านั้นลดน้อยลง
ส่วนเรื่องที่บอกว่ายังไม่มีการผสมแมงมุมโบราณท้องปล้องสำเร็จในที่เลี้ยงนั้น เห็นจะเป็นการมองในด้านเดียวของผู้เขียนเท่านั้น แต่ในกลุ่มนักเพาะพันธุ์บึ้งนั้นก็มีอยู่หลายต่อหลายคนที่มีความเชี่ยวชาญในการเพาะพันธุ์บึ้งซึ่งก็ไม่ได้ง่ายเช่นกัน แต่เชื่อว่าพวกเขามีเทคนิค ที่จะสามารถทำให้มันผสมพันธุ์กันออกมาได้ในสถานที่เลี้ยงและอีกอย่างที่ผมเห็นว่าเป็นการคาดการณ์กันไปเองในเรื่องความสามารถของการดูแลแมงมุมตัวเล็กๆ หลายร้อยตัว เป็นเวลาเป็นปีๆ ตามที่พบเห็นนั้นก็เคยเห็นคนที่สามารถดูแลแมงมุมตัวเล็กๆ นี่แหละ เป็นจำนวนหลายร้อยตัว และเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ปีมาแล้ว นี่เป็นข้อมูลที่เป็นความจริงที่พบเห็นกันมาแล้ว นั่นก็หมายความว่าพวกเขาย่อมมีเทคนิคที่หลายคนต่างคาดไม่ถึงเลยก็ว่าได้
การที่บอกว่าปล่อยให้มันมีการผสมกันในธรรมชาตินั้น ในเมื่อเห็นว่าในธรรมชาตินั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่จะมาหยุดยั้งไม่ให้มันผสมจนเป็นเหตุให้จำนวนมันลดลงนั้น แนวคิดที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงโดยใช้เทคนิคต่างๆ และการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของพวกมันจึงเป็นเรื่องที่น่าคิดเป็นอย่างมาก เพราะถ้าปล่อยให้มันขยายพันธุ์ตามธรรมชาติสิ่งที่เราจะได้รับก็คือ “ได้รับรู้ว่าจำนวนมันลดน้อยลงไปอีก” นั่นเอง
อย่างไรก็ตามการที่มันมีจำนวนลดน้อยลงในธรรมชาตินั้นไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยอะไรก็ตาม พวกเราก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะร่วมกันศึกษาและช่วยกันให้พวกมันขยายพันธุ์กันมากขึ้น มันจึงเป็นที่มาของงานวิจัยต่างๆ มิใช่หรือ?และการวิจัยที่ผ่านมาแล้วนำมาให้เรารู้ถึงอะไรกันแน่? แต่งานวิจัยเหล่านั้นเชื่อว่าต้องมีประโยชน์ไม่ในแง่ใดก็แง่หนึ่งอย่างแน่นอน และเชื่อว่างานวิจัยต่างๆ จะส่งผลให้เผ่าพันธุ์ของพวกมันนั้นอยู่กับพวกเราต่อไปอย่างยาวนานที่สุด
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
หายากเหรอ ต้องหามาเลี้ยงบ้างล่ะ ชอบ ชอบ...ของหายาก
ความเห็นที่ 15
ฝั่งเจ้าของบทความมีแน่ๆ
แต่อีกฝั่งนี่สิ?
ความเห็นที่ 16