แม่โขง ในจินตนาการ
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 10 กันยายน 2556
เรื่อง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันทั้งในวงการโฆษณาและแวดวงอนุรักษ์ก็คือ ของน่ารัก ของสวยๆงามๆ ของที่ดูน่าสงสาร ของที่จับต้องมองเห็นได้ง่าย ขายได้ง่ายกว่าของที่ ไม่น่ารัก มองไม่เห็น และ จับต้องได้ยาก แพนด้า มีคนสนใจมากกว่า หมีควาย ช้าง มีคนสนใจมากกว่า มด นกมีคนสนใจมากกว่าปลา และ เจมส์จิ มีคนสนใจมากกว่า ศศิน เฉลิมลาภ
ลองเปรียบเทียบสองภาพที่นำมาให้ดู ก็จะเห็นได้ชัดเจนขึ้น ภาพซ้าย คือภาพการอพยพของ wilderbeest ที่แอฟริกา ลองนึกภาพ ใครไปสร้างกำแพงกั้นไม่ให้พวกมันอพยพ ออติดกันอยู่หลังกำแพง โดนล่าไปบ้าง ตายไปบ้าง คิดว่าจะมีคนทนเห็นภาพแบบนั้นได้สักกี่คน ภาพขวา เป็นหน้าจอแสดงผลจากเครื่องสำรวจปลาใต้น้ำ ของอ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ จากม.อุบลราชธานี ด้านหน้าเขื่อนปากมูล หลังมีการเปิดเขื่อน เห็นปลาขนาดใหญ่ระดับพ่อแม่พันธุ์ สองกลุ่มชัดเจน กลุ่มหนึ่ง อพยพอยู่ในระดับหน้าดิน กับอีกกลุ่มอพยพอยู่บริเวณผิวน้ำ เป็นการอพยพเหมือนกัน แต่อพยพอยู่ภายใต้น้ำขุ่นๆ ที่ไม่มีใครมองเห็น ไม่มีใครไปเช่าบอลลูนมานั่งถ่ายภาพ เป็นการอพยพของสัตว์กลุ่มที่คนทั่วไปมองว่าไม่น่ารักและไกลตัว
นี่แค่แม่น้ำสาขา ลองนึกภาพว่ากลุ่มปลาที่อพยพในแม่น้ำโขงสายหลักจะมีมากมายมหาศาลขนาดไหน ลองนึกภาพเขาสร้างเขื่อนกั้นการอพยพของปลาเหล่านี้ ลองนึกภาพคนทั่วไปเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไรที่กำลังจะมีการปิดกั้นเส้นทางอพยพเพื่อขึ้นไปขยายพันธุ์ของปลาหลายร้อยชนิดที่พบในแม่น้ำโขง
นึกภาพไม่ออกใช่ไหม?
ลองนึกภาพคนท้องแก่ใกล้คลอด แต่ถนนถูกปิดไปโรงพยาบาลไม่ได้ ลองนึกภาพว่าปลาเป็นล้านๆตัวจะต้องเป็นแบบนั้นทุกปี ทุกปี ทุกปี จากล้าน ลดลงเป็นแสน เป็นหมื่น เป็นพัน และ หมดไปในที่สุด ลองนึกภาพแม่น้ำโขงที่ไม่เหลือปลา
ลองนึกภาพคน 60 กว่าล้านคนที่พึ่งพิงแหล่งโปรตีนจากปลาในแม่น้ำโขงไม่มีปลาจะกิน
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันทั้งในวงการโฆษณาและแวดวงอนุรักษ์ก็คือ ของน่ารัก ของสวยๆงามๆ ของที่ดูน่าสงสาร ของที่จับต้องมองเห็นได้ง่าย ขายได้ง่ายกว่าของที่ ไม่น่ารัก มองไม่เห็น และ จับต้องได้ยาก แพนด้า มีคนสนใจมากกว่า หมีควาย ช้าง มีคนสนใจมากกว่า มด นกมีคนสนใจมากกว่าปลา และ เจมส์จิ มีคนสนใจมากกว่า ศศิน เฉลิมลาภ
ลองเปรียบเทียบสองภาพที่นำมาให้ดู ก็จะเห็นได้ชัดเจนขึ้น ภาพซ้าย คือภาพการอพยพของ wilderbeest ที่แอฟริกา ลองนึกภาพ ใครไปสร้างกำแพงกั้นไม่ให้พวกมันอพยพ ออติดกันอยู่หลังกำแพง โดนล่าไปบ้าง ตายไปบ้าง คิดว่าจะมีคนทนเห็นภาพแบบนั้นได้สักกี่คน ภาพขวา เป็นหน้าจอแสดงผลจากเครื่องสำรวจปลาใต้น้ำ ของอ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ จากม.อุบลราชธานี ด้านหน้าเขื่อนปากมูล หลังมีการเปิดเขื่อน เห็นปลาขนาดใหญ่ระดับพ่อแม่พันธุ์ สองกลุ่มชัดเจน กลุ่มหนึ่ง อพยพอยู่ในระดับหน้าดิน กับอีกกลุ่มอพยพอยู่บริเวณผิวน้ำ เป็นการอพยพเหมือนกัน แต่อพยพอยู่ภายใต้น้ำขุ่นๆ ที่ไม่มีใครมองเห็น ไม่มีใครไปเช่าบอลลูนมานั่งถ่ายภาพ เป็นการอพยพของสัตว์กลุ่มที่คนทั่วไปมองว่าไม่น่ารักและไกลตัว
นี่แค่แม่น้ำสาขา ลองนึกภาพว่ากลุ่มปลาที่อพยพในแม่น้ำโขงสายหลักจะมีมากมายมหาศาลขนาดไหน ลองนึกภาพเขาสร้างเขื่อนกั้นการอพยพของปลาเหล่านี้ ลองนึกภาพคนทั่วไปเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไรที่กำลังจะมีการปิดกั้นเส้นทางอพยพเพื่อขึ้นไปขยายพันธุ์ของปลาหลายร้อยชนิดที่พบในแม่น้ำโขง
นึกภาพไม่ออกใช่ไหม?
ลองนึกภาพคนท้องแก่ใกล้คลอด แต่ถนนถูกปิดไปโรงพยาบาลไม่ได้ ลองนึกภาพว่าปลาเป็นล้านๆตัวจะต้องเป็นแบบนั้นทุกปี ทุกปี ทุกปี จากล้าน ลดลงเป็นแสน เป็นหมื่น เป็นพัน และ หมดไปในที่สุด ลองนึกภาพแม่น้ำโขงที่ไม่เหลือปลา
ลองนึกภาพคน 60 กว่าล้านคนที่พึ่งพิงแหล่งโปรตีนจากปลาในแม่น้ำโขงไม่มีปลาจะกิน
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
คำพูดจากบทความนี้ก็เรื่องจริงทั้งนั้นครับ แต่ประเด็นที่คนในปัจจุบันมองกันก็คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่เอาชนะสัตว์ทั้งหลายบนโลกนี้ได้หมดแล้ว สัตว์ที่อ่อนแอกว่าย่อมล้มหายตายจากเป็นไปตามกลไกการปรับตัวของ สัตว์ที่แข็งแรง และ อ่อนแอ
ในเมื่อเราเลือกได้ ก็อาจจะขอแบ่งพื้นที่เล็กๆ ให้สัตว์ที่อ่อแอยังสามารถดำรงชีวิตได้ ให้โลกได้ตระหนักว่ายังเคยมีสุตว์สายพันธ์หนึ่งซึ่งกำลังจะหมดไป และในอดีตนานนนนนน มากกกกก เคยมีจุดกำเนิดเดียวกับเรา
เราสร้างเขื่อนเพื่อสนองกวามเติบโตทางเศรษกิจ เพื่อเปิดแอร์เย็นฉ่ำ เพื่อนั่งเล่นเนตตอบโพสนี้ ทุกอย่างมันพัวพันกันจนแกะไม่ออกแล้วครับ หยุดมันก็หยุดไม่ได้ เอาเป็นว่า ช่วยกันเอื้อเฟื้อเพื่อนร่วมโลก เท่าที่ทุกท่านพอจะมีกำลังก็แล้วกันครับ