ตอบ ดร.โสภณ กรณีบทความ การโกหกและบิดเบือนเพื่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 8 ตุลาคม 2556
โดย: ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
Link: บทความ http://prachatai.com/journal/2013/10/49084
จากกรณีที่ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ได้เขียนบทความลงในเว็บประชาไท โดยมีชื่อบทความและลิงค์ตามที่ได้อ้างถึงด้านบนนั้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนบทความที่ท่านได้อ้างถึงสองบทความ คิดว่าจะเป็นการเสียมารยาทถ้าหากมีผู้ใหญ่มาตักเตือนแล้วไม่ออกมาไขข้อข้องใจให้ชัดเจน จึงเขียนบทความนี้เพื่อตอบท่าน โดยข้อแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. เขื่อนแม่วงก์ไม่สามารถช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากเป็นเขื่อนขนาดเล็กและมีปริมาณการกักเก็บน้ำแค่ 1% ของปริมาณน้ำท่วมในคราวนั้นถูกต้องแล้วครับ และทุกครั้งที่ผมได้อ่านหรือฟังการบรรยายของ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ คุณศศินจะพูดต่อทุกครั้งว่านอกจากช่วยน้ำท่วมใหญ่ไม่ได้แล้ว ยังช่วย อำเภอลาดยาวก็ไม่ได้มากนัก เนื่องจากบริเวณที่สร้างเขื่อนรับน้ำจากผืนป่าที่สมบูรณ์ซึ่งค่อยๆปล่อยน้ำออกมาและมีพื้นที่รับน้ำไม่มากนัก (ในวันที่น้ำหลากท่วมอ.ลาดยาว ภาพถ่ายจากลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนน้ำยังไม่ได้ไหลแรงอะไรและยังใสอยู่เลยครับ) ในขณะที่น้ำที่ไหลท่วม อ.ลาดยาว จุดที่มีชาวบ้านออกมาเรียกร้องต้องการเขื่อนมากที่สุดนั้น เป็นน้ำหลากมาจากทุ่งฝั่งตะวันตกและเหนือของอำเภอ ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ๆเขื่อนแม่วงก์ช่วยเหลืออะไรได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลของกรมชลฯที่ระบุว่าถึงแม้จะมีเขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยอำเภอลาดยาวได้แค่ 20% เมื่อพูดถึงตรงนี้คุณศศินจะพูดต่อว่า ถ้าจะช่วยแค่ 20% ไปขุดคลองให้ระบายน้ำออกจากอำเภอให้ดีขึ้น 20%ได้ใช้อาทิตย์หน้าเลยในขณะที่เขื่อนแม่วงก์ต้องรออีกตั้ง 8 ปี และใช้งบประมาณมากกว่ากันมหาศาล ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่รับน้ำของลำน้ำแม่วงก์มีอยู่ในบทความนี้ครับ http://siamensis.org/article/38856
2. เรื่องบ้านของเสือ เวลานักอนุรักษ์บอกว่าป่าบริเวณนั้นเป็นบ้านแหล่งใหญ่ที่สุดของเสือ เราไม่ได้มองแต่พื้นที่บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแค่ 13,000 ไร่ตามที่ท่านเข้าใจ เราไม่ได้มองแค่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ครับ เรามองป่าตะวันตกทั้งผืน ส่วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อะไรทั้งหลายนั้นมนุษย์ไปตีเส้นเอง เสือไม่รับรู้ครับ ป่าผืนนี้เป็นป่าผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เป็นจุดที่มีเสืออาศัยอยู่มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เสือห้วยขาแข้งกับเสือแม่วงก์/คลองลาน จริงๆแล้วก็เป็นเสือประชากรเดียวกัน แต่เสือในป่าแม่วงก์และคลองลานเคยหมดไปเนื่องจากการถูกล่าและบุกรุก เมื่อเราดูแลรักษาอย่างดี เสือจากห้วยขาแข้งจึงกลับขึ้นมาอาศัยอยู่ในแม่วงก์ เสือตัวหนึ่งมีอาณาเขตการหากินกว้างมาก จึงไม่แปลกถ้ามันจะลงมาถึงบริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนซึ่งเป็นพื้นที่ราบริมแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเหยื่อมาก ส่วนข้อมูลจำนวนเสือในป่านั้น ได้มาด้วยการสำรวจโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ แล้วใช้ลายของเสือมาจำแนกเสือแต่ละตัว ซึ่งนักวิจัยพบ “อย่างน้อย” 12 ตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะวางกล้องดักถ่ายเสือได้ทั้งป่า ตัวเลขนี้จึงเป็นตัวเลข “อย่างน้อย” ซึ่งการมีเสือก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องออกมากินหมา กินควาย ขบคนตามที่ท่านจินตนาการ เสือ สัตว์ป่าทุกชนิด กลัวคนโดยสัญชาติญาณ ไม่จำเป็น ไม่ถูกบีบคั้นจริงๆ มันไม่ออกมาหรอกครับ พวกเสือตามข่าวที่ท่านยกมา ส่วนใหญ่ดูสภาพการแล้วว่าน่าจะเป็นเสือหลุด มีตัวที่เบตงที่ไม่แน่ใจเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเสือป่าก็น่าเสียดายเหลือเกินเพราะเป็นเสือโคร่งชนิดย่อยของทางใต้ที่เหลืออยู่น้อยมาก
ในกรณีของเสือนี้ นักอนุรักษ์มิได้ห่วงแต่แค่เรื่องการสูญเสียถิ่นอาศัยจากการสร้างเขื่อนเท่านั้น แต่ห่วงเรื่องการถูกล่าในระหว่างที่มีการก่อสร้างเขื่อน ซึ่งจะมีคนเข้าไปเป็นจำนวนมากในพื้นที่ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นเขตอุทยานชั่วคราว ห่วงทางรถที่จะมีการตัดเข้าไปเพิ่มเติมในป่าเพื่อตัดไม้ว่าต่อไปจะถูกใช้เป็นเส้นทางล่าสัตว์ หวงเรื่องอ่างเก็บน้ำที่จะทำให้การเดินทาง(ทางเรือ)เข้าไปทางตอนในของป่าเพื่อไปล่าสัตว์ง่ายขึ้น
อ้างอิง: http://wwf.panda.org/?211011/-
3. ตัวเลขจำนวนต้นไม้ เป็นตัวเลขที่ผมอ้างอิงจาก EIA ที่จัดทำโดยบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งได้รับการว่าจ้างโดยกรมชลประทาน ตัวเลขนี้เป็นการประเมินตามหลักวิชาการป่าไม้ของผู้ทำรายงาน ผมมิได้นึกขึ้นมาเองแต่อย่างใดครับ ซึ่งจะขอชี้แจงต่อ ในกรณีที่ท่านเคยถามว่าเอาข้อมูลจากไหนมาต้านเขื่อนในเมื่อยังไม่มีการเผยแพร่ EHIA ขอเรียนว่าโครงการนี้ได้มีการทำการศึกษาEIA ไปแล้วในปีพ.ศ.2555 ซึ่งก็ได้ครอบคลุมเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ได้นำมาใช้ในการคัดค้าน ส่วนกรณีของ EHIA เป็นการถูกสั่งให้ไปทำในส่วนของ H หรือส่วนของ Health เพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้น ข้อมูลในส่วนเดิมอื่นๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักคือทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และ คุณค่าคุณภาพของชีวิตนั้นเชื่อว่าไม่ได้มีใหม่หรือมีการแก้ไขมากนัก จึงเชื่อว่าใช้อ้างอิงในการคัดค้านได้ครับ ทั้งนี้ถ้ากรมชลประทานจะยอมให้พวกเราช่วยตรวจสอบ EHIA ฉบับปัจจุบันก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
4. คลองส่งน้ำมิได้เป็นคำขู่แต่เป็นเรื่องจริงครับ คลองส่งน้ำชุดนี้ มีความกว้าง 50 เมตร มูลค่าก่อสร้างสูงกว่าค่าสร้างเขื่อนครับ ตัวลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะสร้างเขื่อนยังกว้างไม่ถึง 50 เมตรเลยด้วยซ้ำ คงไม่มีลำน้ำคูคลองใดๆในพื้นที่แถวนั้นกว้างขนาดนั้นแล้ว จึงเชื่อได้ว่ามันกินพื้นที่ทำกินชาวบ้านแน่ๆ และก็น่าสนใจว่าถ้าหากทำคลองส่งน้ำกว้าง 50 เมตร สูง 20เมตร ทับลงไปบนเส้นทางน้ำหลากทางระบายน้ำเดิม (ตามที่มีการแนะนำ) น้ำฝนหรือน้ำที่หลากมาจะไหลไปทางไหน คลองส่งน้ำนี้จะกีดขวางการไหลของน้ำทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่าปกติหรือไม่? และจะกักให้พื้นที่ๆซึ่งเคยได้รับน้ำหลากไม่ได้รับน้ำหรือไม่?
เรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้าน ยังมีตรงบริเวณที่จะใช้ปลูกป่าทดแทนอีก 35,000 ไร่ ซึ่งระบุว่าเป็นพื้นที่รกร้างหรือป่าเสื่อมโทรม แต่ถ้าดู Google Earth จะพบว่าพื้นที่ๆจะใช้ปลูกป่าทดแทนเป็นพื้นเกษตรกรรมทั้งสิ้น ผมเห็นด้วยถ้าหากจะมีการยึดที่ดินป่าที่ถูกบุกรุกคืนมาเพื่อปลูกป่า แต่การจะอ้างว่าจะไม่มีใครเดือดร้อนจากการกระทำดังกล่าว ไม่มีการจ่ายค่าเวรคืน และไม่เคยมีการพูดถึงเลยจากกลุ่มนักการเมืองที่ต้องการสร้างเขื่อน ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับคนชายขอบเหล่านั้น
อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม: http://siamensis.org/article/38862และ http://www.siamensis.org/article/35988
5. เรื่องทุจริต เห็นด้วยกับท่านครับ
ในส่วนเรื่องการล่ารายชื่อเพื่อการคัดค้านการสร้างเขื่อน ซึ่งท่านได้นำไปเปรียบเทียบว่าจะล่ารายชื่อผู้ที่อยากได้เขื่อนนั้น ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. ป่าแม่วงก์ เป็น “อุทยานแห่งชาติ” ซึ่งเป็นของคนไทยทุกคน เป็นสมบัติของสาธารณะที่เราใช้ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมจึงคิดว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิ์ในการร่วมตัดสินใจในครั้งนี้ เราไม่สามารถให้สิทธิ์“คนบ้านใกล้” มาตัดสินใจใช้ทรัพยากรส่วนรวมเพียงกลุ่มเดียวได้ เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ก็เหมือนกับคนในซอยบ้านผม วันหนึ่งลุกขึ้นมาบอกว่า จะปิดซอยในบริเวณดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นส่วนสาธารณะประจำซอย ผมก็คงไม่สามารถทำได้ แม้นว่าจะเป็นซอยหน้าบ้านผม อุทยานแห่งชาติก็เป็นของสาธารณะอย่างหนึ่งเช่นกัน
2. ผมไม่เชื่อว่าชาวบ้านที่อยากได้เขื่อน ได้รับข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจอย่างครบถ้วน แค่ที่ผมได้ฟังจากคลิปที่มีการปราศัยโดยนักการเมืองกลุ่มที่ต้องการสร้างเขื่อน ก็ชัดเจนแล้วว่าเป็นการนำความจริงแค่ส่วนเดียวมาพูด ผมเคยได้สัมผัสกับชาวบ้านกลุ่มนี้มาแล้วและเชื่อว่ายังมีข้อมูลอีกมากที่พวกเขายังไม่ทราบ แน่นอนว่าถ้ามีคนมาบอกว่ามีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม จะมีน้ำใช้หน้าแล้ง ใครๆก็ต้องอยากได้ แต่มันเป็นความจริงเพียงแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้นถ้าหากได้มีการศึกษารายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้ บางทีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ครอบคลุม ก็ไม่ต่างอะไรกับการโกหก
3. กลุ่มต่อต้านเขื่อนพูดอยู่เสมอว่าไม่ใช่ว่าเราจะเอาแต่ป่าแต่สัตว์ ไม่สนใจคน แต่เราเชื่อว่าโครงการนี้ช่วยชาวบ้านไม่ได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง เราเชื่อว่ามีโครงการที่สามารถใช้งบประมาณน้อยกว่านี้และช่วยชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ เรื่องน้ำท่วม อ.ลาดยาว ได้ยกตัวอย่างไปแล้วว่าสร้างทางระบายน้ำให้ดีก็ช่วยได้และีเร็วกว่า จะสร้างคลองระบายน้ำอีกสักคลองดักไว้ทางด้านเหนือให้น้ำหลากอ้อมไป ก็คงใช้ที่ดินและงบประมาณไม่มากนัก เรื่องน้ำแล้งต้องชี้แจงว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่ได้แล้ง มีฝนมีน้ำ เพียงแต่ไม่มีที่กักเก็บ ดังนั้นการสร้างบ่อน้ำขนาดเล็ก/กลางไว้ตามหัวไร่ปลายนาเพื่อกักเก็บน้ำหลาก สร้างฝายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำเป็นช่วงๆ ก็น่าจะเป็นหนทางที่สามารถทำได้และใช้งบประมาณน้อยกว่าครับ ทั้งนี้ผมไม่ได้เป็นวิศกรชลประทานไม่กล้าออกความเห็นมากไปกว่าที่มีอยู่ใน EIA แต่ก็เชื่อว่าเรามีคนดีมีฝีมือที่แก้ปัญหาให้กับชาวบ้านในแถบนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งเขื่อนแม่วงก์ครับ
สุดท้ายนี้ขออนุญาตเรียนท่านดร.โสภณ ว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่มีคนเคารพนับถือมาก การที่ท่านยอมรับว่า"ต้องศึกษาข้อมูลมากกว่านี้" แต่ออกมาเขียนบทความกล่าวหาว่าผู้อื่นว่า โกหก บิดเบือนนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่อันมีวิจารณญานอันดีพึงกระทำ จึงเรียนมาด้วยความเคารพครับ
ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
8 ตุลาคม 2556
(เขียนที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีพื้นที่ป่าปกคลุมประเทศถึง 67% ก็ยังเจริญได้ เลิกทำลายป่าเพื่ออ้างการพัฒนาเสียทีเถิดครับพี่น้อง)
ฉบับที่ 2 มาแล้วนะครับ
http://siamensis.org/article/38975
Link: บทความ http://prachatai.com/journal/2013/10/49084
จากกรณีที่ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ได้เขียนบทความลงในเว็บประชาไท โดยมีชื่อบทความและลิงค์ตามที่ได้อ้างถึงด้านบนนั้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนบทความที่ท่านได้อ้างถึงสองบทความ คิดว่าจะเป็นการเสียมารยาทถ้าหากมีผู้ใหญ่มาตักเตือนแล้วไม่ออกมาไขข้อข้องใจให้ชัดเจน จึงเขียนบทความนี้เพื่อตอบท่าน โดยข้อแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ
1. เขื่อนแม่วงก์ไม่สามารถช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากเป็นเขื่อนขนาดเล็กและมีปริมาณการกักเก็บน้ำแค่ 1% ของปริมาณน้ำท่วมในคราวนั้นถูกต้องแล้วครับ และทุกครั้งที่ผมได้อ่านหรือฟังการบรรยายของ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ คุณศศินจะพูดต่อทุกครั้งว่านอกจากช่วยน้ำท่วมใหญ่ไม่ได้แล้ว ยังช่วย อำเภอลาดยาวก็ไม่ได้มากนัก เนื่องจากบริเวณที่สร้างเขื่อนรับน้ำจากผืนป่าที่สมบูรณ์ซึ่งค่อยๆปล่อยน้ำออกมาและมีพื้นที่รับน้ำไม่มากนัก (ในวันที่น้ำหลากท่วมอ.ลาดยาว ภาพถ่ายจากลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนน้ำยังไม่ได้ไหลแรงอะไรและยังใสอยู่เลยครับ) ในขณะที่น้ำที่ไหลท่วม อ.ลาดยาว จุดที่มีชาวบ้านออกมาเรียกร้องต้องการเขื่อนมากที่สุดนั้น เป็นน้ำหลากมาจากทุ่งฝั่งตะวันตกและเหนือของอำเภอ ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ๆเขื่อนแม่วงก์ช่วยเหลืออะไรได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลของกรมชลฯที่ระบุว่าถึงแม้จะมีเขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยอำเภอลาดยาวได้แค่ 20% เมื่อพูดถึงตรงนี้คุณศศินจะพูดต่อว่า ถ้าจะช่วยแค่ 20% ไปขุดคลองให้ระบายน้ำออกจากอำเภอให้ดีขึ้น 20%ได้ใช้อาทิตย์หน้าเลยในขณะที่เขื่อนแม่วงก์ต้องรออีกตั้ง 8 ปี และใช้งบประมาณมากกว่ากันมหาศาล ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่รับน้ำของลำน้ำแม่วงก์มีอยู่ในบทความนี้ครับ http://siamensis.org/article/38856
2. เรื่องบ้านของเสือ เวลานักอนุรักษ์บอกว่าป่าบริเวณนั้นเป็นบ้านแหล่งใหญ่ที่สุดของเสือ เราไม่ได้มองแต่พื้นที่บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแค่ 13,000 ไร่ตามที่ท่านเข้าใจ เราไม่ได้มองแค่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ครับ เรามองป่าตะวันตกทั้งผืน ส่วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อะไรทั้งหลายนั้นมนุษย์ไปตีเส้นเอง เสือไม่รับรู้ครับ ป่าผืนนี้เป็นป่าผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เป็นจุดที่มีเสืออาศัยอยู่มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เสือห้วยขาแข้งกับเสือแม่วงก์/คลองลาน จริงๆแล้วก็เป็นเสือประชากรเดียวกัน แต่เสือในป่าแม่วงก์และคลองลานเคยหมดไปเนื่องจากการถูกล่าและบุกรุก เมื่อเราดูแลรักษาอย่างดี เสือจากห้วยขาแข้งจึงกลับขึ้นมาอาศัยอยู่ในแม่วงก์ เสือตัวหนึ่งมีอาณาเขตการหากินกว้างมาก จึงไม่แปลกถ้ามันจะลงมาถึงบริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนซึ่งเป็นพื้นที่ราบริมแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเหยื่อมาก ส่วนข้อมูลจำนวนเสือในป่านั้น ได้มาด้วยการสำรวจโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ แล้วใช้ลายของเสือมาจำแนกเสือแต่ละตัว ซึ่งนักวิจัยพบ “อย่างน้อย” 12 ตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะวางกล้องดักถ่ายเสือได้ทั้งป่า ตัวเลขนี้จึงเป็นตัวเลข “อย่างน้อย” ซึ่งการมีเสือก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องออกมากินหมา กินควาย ขบคนตามที่ท่านจินตนาการ เสือ สัตว์ป่าทุกชนิด กลัวคนโดยสัญชาติญาณ ไม่จำเป็น ไม่ถูกบีบคั้นจริงๆ มันไม่ออกมาหรอกครับ พวกเสือตามข่าวที่ท่านยกมา ส่วนใหญ่ดูสภาพการแล้วว่าน่าจะเป็นเสือหลุด มีตัวที่เบตงที่ไม่แน่ใจเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเสือป่าก็น่าเสียดายเหลือเกินเพราะเป็นเสือโคร่งชนิดย่อยของทางใต้ที่เหลืออยู่น้อยมาก
ในกรณีของเสือนี้ นักอนุรักษ์มิได้ห่วงแต่แค่เรื่องการสูญเสียถิ่นอาศัยจากการสร้างเขื่อนเท่านั้น แต่ห่วงเรื่องการถูกล่าในระหว่างที่มีการก่อสร้างเขื่อน ซึ่งจะมีคนเข้าไปเป็นจำนวนมากในพื้นที่ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นเขตอุทยานชั่วคราว ห่วงทางรถที่จะมีการตัดเข้าไปเพิ่มเติมในป่าเพื่อตัดไม้ว่าต่อไปจะถูกใช้เป็นเส้นทางล่าสัตว์ หวงเรื่องอ่างเก็บน้ำที่จะทำให้การเดินทาง(ทางเรือ)เข้าไปทางตอนในของป่าเพื่อไปล่าสัตว์ง่ายขึ้น
อ้างอิง: http://wwf.panda.org/?211011/-
3. ตัวเลขจำนวนต้นไม้ เป็นตัวเลขที่ผมอ้างอิงจาก EIA ที่จัดทำโดยบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งได้รับการว่าจ้างโดยกรมชลประทาน ตัวเลขนี้เป็นการประเมินตามหลักวิชาการป่าไม้ของผู้ทำรายงาน ผมมิได้นึกขึ้นมาเองแต่อย่างใดครับ ซึ่งจะขอชี้แจงต่อ ในกรณีที่ท่านเคยถามว่าเอาข้อมูลจากไหนมาต้านเขื่อนในเมื่อยังไม่มีการเผยแพร่ EHIA ขอเรียนว่าโครงการนี้ได้มีการทำการศึกษาEIA ไปแล้วในปีพ.ศ.2555 ซึ่งก็ได้ครอบคลุมเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ได้นำมาใช้ในการคัดค้าน ส่วนกรณีของ EHIA เป็นการถูกสั่งให้ไปทำในส่วนของ H หรือส่วนของ Health เพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้น ข้อมูลในส่วนเดิมอื่นๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักคือทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และ คุณค่าคุณภาพของชีวิตนั้นเชื่อว่าไม่ได้มีใหม่หรือมีการแก้ไขมากนัก จึงเชื่อว่าใช้อ้างอิงในการคัดค้านได้ครับ ทั้งนี้ถ้ากรมชลประทานจะยอมให้พวกเราช่วยตรวจสอบ EHIA ฉบับปัจจุบันก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
4. คลองส่งน้ำมิได้เป็นคำขู่แต่เป็นเรื่องจริงครับ คลองส่งน้ำชุดนี้ มีความกว้าง 50 เมตร มูลค่าก่อสร้างสูงกว่าค่าสร้างเขื่อนครับ ตัวลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะสร้างเขื่อนยังกว้างไม่ถึง 50 เมตรเลยด้วยซ้ำ คงไม่มีลำน้ำคูคลองใดๆในพื้นที่แถวนั้นกว้างขนาดนั้นแล้ว จึงเชื่อได้ว่ามันกินพื้นที่ทำกินชาวบ้านแน่ๆ และก็น่าสนใจว่าถ้าหากทำคลองส่งน้ำกว้าง 50 เมตร สูง 20เมตร ทับลงไปบนเส้นทางน้ำหลากทางระบายน้ำเดิม (ตามที่มีการแนะนำ) น้ำฝนหรือน้ำที่หลากมาจะไหลไปทางไหน คลองส่งน้ำนี้จะกีดขวางการไหลของน้ำทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่าปกติหรือไม่? และจะกักให้พื้นที่ๆซึ่งเคยได้รับน้ำหลากไม่ได้รับน้ำหรือไม่?
เรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้าน ยังมีตรงบริเวณที่จะใช้ปลูกป่าทดแทนอีก 35,000 ไร่ ซึ่งระบุว่าเป็นพื้นที่รกร้างหรือป่าเสื่อมโทรม แต่ถ้าดู Google Earth จะพบว่าพื้นที่ๆจะใช้ปลูกป่าทดแทนเป็นพื้นเกษตรกรรมทั้งสิ้น ผมเห็นด้วยถ้าหากจะมีการยึดที่ดินป่าที่ถูกบุกรุกคืนมาเพื่อปลูกป่า แต่การจะอ้างว่าจะไม่มีใครเดือดร้อนจากการกระทำดังกล่าว ไม่มีการจ่ายค่าเวรคืน และไม่เคยมีการพูดถึงเลยจากกลุ่มนักการเมืองที่ต้องการสร้างเขื่อน ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับคนชายขอบเหล่านั้น
อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม: http://siamensis.org/article/38862และ http://www.siamensis.org/article/35988
5. เรื่องทุจริต เห็นด้วยกับท่านครับ
ในส่วนเรื่องการล่ารายชื่อเพื่อการคัดค้านการสร้างเขื่อน ซึ่งท่านได้นำไปเปรียบเทียบว่าจะล่ารายชื่อผู้ที่อยากได้เขื่อนนั้น ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. ป่าแม่วงก์ เป็น “อุทยานแห่งชาติ” ซึ่งเป็นของคนไทยทุกคน เป็นสมบัติของสาธารณะที่เราใช้ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมจึงคิดว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิ์ในการร่วมตัดสินใจในครั้งนี้ เราไม่สามารถให้สิทธิ์“คนบ้านใกล้” มาตัดสินใจใช้ทรัพยากรส่วนรวมเพียงกลุ่มเดียวได้ เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ก็เหมือนกับคนในซอยบ้านผม วันหนึ่งลุกขึ้นมาบอกว่า จะปิดซอยในบริเวณดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นส่วนสาธารณะประจำซอย ผมก็คงไม่สามารถทำได้ แม้นว่าจะเป็นซอยหน้าบ้านผม อุทยานแห่งชาติก็เป็นของสาธารณะอย่างหนึ่งเช่นกัน
2. ผมไม่เชื่อว่าชาวบ้านที่อยากได้เขื่อน ได้รับข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจอย่างครบถ้วน แค่ที่ผมได้ฟังจากคลิปที่มีการปราศัยโดยนักการเมืองกลุ่มที่ต้องการสร้างเขื่อน ก็ชัดเจนแล้วว่าเป็นการนำความจริงแค่ส่วนเดียวมาพูด ผมเคยได้สัมผัสกับชาวบ้านกลุ่มนี้มาแล้วและเชื่อว่ายังมีข้อมูลอีกมากที่พวกเขายังไม่ทราบ แน่นอนว่าถ้ามีคนมาบอกว่ามีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม จะมีน้ำใช้หน้าแล้ง ใครๆก็ต้องอยากได้ แต่มันเป็นความจริงเพียงแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้นถ้าหากได้มีการศึกษารายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้ บางทีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ครอบคลุม ก็ไม่ต่างอะไรกับการโกหก
3. กลุ่มต่อต้านเขื่อนพูดอยู่เสมอว่าไม่ใช่ว่าเราจะเอาแต่ป่าแต่สัตว์ ไม่สนใจคน แต่เราเชื่อว่าโครงการนี้ช่วยชาวบ้านไม่ได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง เราเชื่อว่ามีโครงการที่สามารถใช้งบประมาณน้อยกว่านี้และช่วยชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ เรื่องน้ำท่วม อ.ลาดยาว ได้ยกตัวอย่างไปแล้วว่าสร้างทางระบายน้ำให้ดีก็ช่วยได้และีเร็วกว่า จะสร้างคลองระบายน้ำอีกสักคลองดักไว้ทางด้านเหนือให้น้ำหลากอ้อมไป ก็คงใช้ที่ดินและงบประมาณไม่มากนัก เรื่องน้ำแล้งต้องชี้แจงว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่ได้แล้ง มีฝนมีน้ำ เพียงแต่ไม่มีที่กักเก็บ ดังนั้นการสร้างบ่อน้ำขนาดเล็ก/กลางไว้ตามหัวไร่ปลายนาเพื่อกักเก็บน้ำหลาก สร้างฝายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำเป็นช่วงๆ ก็น่าจะเป็นหนทางที่สามารถทำได้และใช้งบประมาณน้อยกว่าครับ ทั้งนี้ผมไม่ได้เป็นวิศกรชลประทานไม่กล้าออกความเห็นมากไปกว่าที่มีอยู่ใน EIA แต่ก็เชื่อว่าเรามีคนดีมีฝีมือที่แก้ปัญหาให้กับชาวบ้านในแถบนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งเขื่อนแม่วงก์ครับ
สุดท้ายนี้ขออนุญาตเรียนท่านดร.โสภณ ว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่มีคนเคารพนับถือมาก การที่ท่านยอมรับว่า"ต้องศึกษาข้อมูลมากกว่านี้" แต่ออกมาเขียนบทความกล่าวหาว่าผู้อื่นว่า โกหก บิดเบือนนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่อันมีวิจารณญานอันดีพึงกระทำ จึงเรียนมาด้วยความเคารพครับ
ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
8 ตุลาคม 2556
(เขียนที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีพื้นที่ป่าปกคลุมประเทศถึง 67% ก็ยังเจริญได้ เลิกทำลายป่าเพื่ออ้างการพัฒนาเสียทีเถิดครับพี่น้อง)
ฉบับที่ 2 มาแล้วนะครับ
http://siamensis.org/article/38975
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
www.facebook.com/dr.sopon4
หลายเหตุผลต่อการต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้น ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เข้าข่ายโกหกบิดเบือนข้อมูลเพื่อลวงให้เห็นว่าการสร้างเขื่อนไม่ดี ผมก็เห็นด้วยกับการรักษาสัตว์ป่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ควรนำเสนอด้วยความโปร่งใส เป็นจริงโดยไม่บิดเบือน และไม่ใช้การโน้มน้าวอารมณ์ความรู้สึกมาอยู่เหนือเหตุผล
ตัวอย่างแรกก็คือ การกล่าวถึงความไร้ประสิทธิภาพของเขื่อนแม่วงก์ในทำนองว่า ""ศศิน" ชี้เขื่อนแม่วงก์ป้องน้ำท่วมกทม.ได้แค่ 1%" {1} โดยดูจากปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ.2554 กรณีนี้ฟังดูแล้วในเบื้องต้นอาจเห็นว่าทางราชการ "ไม่บ้าก็เมาแล้ว" ที่ยังคิดสร้างเขื่อนแม่วงก์ แต่ในความเป็นจริงอาจถือเป็นการบิดเบือนอย่างยิ่ง เพราะในปีดังกล่าว ต่อให้มีเขื่อนภูมิพลนับสิบเขื่อน ก็อาจไม่สามารถกักน้ำไว้ได้อยู่ดี
เขื่อนแม่วงก์ที่มีขนาด 13,000 ไร่นี้ {2} ใหญ่เพียง 2 เท่าของเขตสาทร ซึ่งเป็นเขตขนาดเล็ก ๆ ของกรุงเทพมหานครเท่านั้น จะไปใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร แค่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และแก้ไขภัยแล้วในพื้นที่ใกล้เคียงก็นับว่ามีประสิทธิผลสูงมากแล้ว
ตัวอย่างที่สองก็คือ บอกว่าใน "พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก" {3} ฟังดูแล้วน่าจะอนุรักษ์ไว้ ไม่ควรทำลายป่าเลย แต่ที่พูดนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ ต้องลองตรองดู เพราะพื้นที่ที่มีขนาดเพียง 2 เท่าของเขตสาทรนี้จะมีเสือพร้อมสัตว์อื่นที่พร้อมจะเป็นอาหารเสืออีกหลายเผ่าพันธุ์ {4} ได้อย่างไร คงมีแต่เสือเดินผ่านมาจากป่าดิบในบริเวณอื่น
ถ้ามีเสือจริง ป่านนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือชาวบ้านแถวนั้นคงถูกเสือกัดตายไปแล้ว หรือถ้ามีคนอื่นเห็นจริง ก็คงต้องรีบตามล่ากันจ้าละหวั่นเหมือนที่เคยมีในบริเวณอื่นแล้ว {5} เพราะรอบ ๆ พื้นที่ชายป่าที่เรียกว่า "แม่วงก์" นี้ มีหมู่บ้านชาวบ้าน รีสอร์ต ฯลฯ เกิดขึ้นเต็มไปหมด ป่านนี้แต่ละบ้านคงได้แต่นั่งสวดมนต์แล้ว
ตัวอย่างที่สามก็คือ เรื่องต้นไม้ เหมือนกับว่าทางราชการ "เลว" มากที่ไม่เห็นแก่ต้นไม้ ไม่เห็นแก่สิ่งแวดล้อม โดยในเว็บไซต์ของมูลนิธิโลกสีเขียวเขียนว่า "การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น" {6} ผมมานั่งคำนวณดู พื้นที่ 13,000 ไร่ ก็คือ 20.8 ล้านตารางเมตร ถ้ามีต้นไม้ใหญ่ 500,000 ต้น ๆ หนึ่งก็กินพื้นที่ 41.6 ตารางเมตร จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะพื้นที่แค่นั้นใหญ่กว่าขนาดขนาดรวม (gross) ของที่จอดรถ 1 คันเพียงเล็กน้อย ลองจินตนาการว่า พื้นที่ 41.6 ตารางเมตร (6.4 x 6.4 เมตร) จะมีไม้ใหญ่ 1 ต้น
ตัวอย่างที่สี่คือเรื่องคลองส่งน้ำที่มัก "ขู่" ชาวบ้านว่า ขนาดที่ดินที่จะใช้จะใหญ่กว่าเขื่อนเสียอีก {7} อาจทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ดินจากการเวนคืน ข้อนี้ในความเป็นจริง ในพื้นที่นี้มีคลองธรรมชาติขนาดเล็ก ๆ เป็นหลัก และมักถูกรุก ไม่มีแม่น้ำ ทำให้การระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและการชลประทานมีจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างคลองใหม่ (ตามข้อเสนอของชาวบ้านในพื้นที่) เพราะลำพังคลองธรรมชาติไม่มีประสิทธิผลพอ แม้ไม่มีเขื่อนก็ยังต้องมีการก่อสร้างคูคลองระบายน้ำและการชลประทานอยู่ดี
ตัวอย่างที่ห้าคือเรื่องทุจริต มักมีการกล่าวอ้างกันเสมอว่าจะมีการทุจริตในขั้นตอนต่าง ๆ ของการก่อสร้างเขื่อน {8} เพื่อต่อต้านการก่อสร้างเขื่อน ข้อหาทุจริตเป็นข้อหาครอบจักรวาลที่สุดแท้จะ "ป้ายสี" แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากต้องการแก้ปัญหาทุจริต ก็ต้องตรวจสอบในขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ใช่ว่ามาตั้งข้อสังเกตลอย ๆ ในลักษณะนี้ ถ้าคิดแบบนี้ ก็คงไม่ต้องทำโครงการใด ๆ
ฝ่ายต่อต้านเขื่อนพยายามดึงความน่ารัก น่าสงสารของป่าไม้และสัตว์ป่ามาต่อต้าน พยายามล่ารายชื่อคนต้านให้ครบ 100,000 ราย แต่หากชาวบ้านรวมตัวกันและแสดงประชามติเกินกว่าที่มีคนค้าน ฝ่ายต่อต้านก็คงไม่ฟังเสียงอยู่ดี เพราะสำคัญตนว่าตนเองมีข้อมูลดีกว่า ทั้งที่ตรรกหรือข้อมูลข้างต้น มีช่องโหว่ที่พึงฉงนมากมาย แต่ในนามของการ "ทำดี" เป็น "คนดี" ที่หวังดีต่อป่า เราก็อาจเชื่อตาม ๆ กันไปโดยไม่ตรวจสอบ
ผมก็ยังไม่ถึงขนาดสนับสนุนการก่อสร้างเขื่อน เพราะผมยังต้องศึกษาข้อมูลให้มากกว่านี้ เพียงแต่ฟังข้อมูลฝ่ายต่อต้านด้วยวิจารณญาณแล้ว ไม่มั่นใจกับข้อมูลดังกล่าว ซึ่งดูจะพยายามปลุกระดมมวลชน ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
อ้างอิง
{1} ข่าว "ศศิน" ชี้เขื่อนแม่วงก์ป้องน้ำท่วมกทม.ได้แค่ 1% ถาม "ปลอดประสพ" หาที่ไหนปลูกป่า สำนักข่าว TNews: http://www.tnews.co.th/html/news/70372/ศศิน-ชี้เขื่อนแม่วงก์ป้องน้ำท่วมกทมได้แค่-1-ถาม-ปลอดประสพ-หาที่ไหนปลูกป่า.html
{2} เขื่อนแม่วงก์: http://th.wikipedia.org/wiki/เขื่อนแม่วงก์
{3} ข่าว "ศศิน" บุกสภาแจงกมธ. ยืนกรานเขื่อนแม่วงก์แก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1EY3dOelE0T0E9PQ==
{4} Clip ป่าแม่วงก์ ที่เอาสัตว์หลากหลายที่มาลง ทำให้เข้าใจว่าสัตว์เหล่านี้อยู่ที่บริเวณจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ www.youtube.com/watch?v=ZM8ap166l-I
{5} ถ้ามีเสือแถวที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์จริง ป่านนี้มีข่าวเช่นนี้แล้ว ชาวบ้านคงผวานอนไม่หลับ ออกล่าเสือ . . . ชาวบ้าน อ.ประทาย โคราช ออกไล่ล่าเสือโคร่ง หลังพบออกมาหากินในพื้นที่ (www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374306107) วอนอย่าล่า เสือ 2 ตัว หลังชาวบ้านพบใน ป่าชุมชนโป่งแดง (http://hilight.kapook.com/view/57796) เสือเบตง สิ้นฤทธิ์ จับตายเสือเบตง หลังตะปบชาวบ้านดับ 3 ราย (http://hilight.kapook.com/view/79574) ชาวบ้านขอนแก่นผวา เสือดาวบุกกินไก่ วอน จนท.เร่งล่า (www.thairath.co.th/content/region/358936)
{6} มูลนิธิโลกสีเขียว 9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์ http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1795
{7} เขื่อนแม่วงก์ ตกลงคุ้มหรือไม่คุ้ม?: http://www.siamensis.org/article/35988
{8} Clip ต่อต้านเขื่อนแม่วงก์ www.youtube.com/watch?v=_SJeKiYzcCU
ความเห็นที่ 1.1
เฮ้อ ถ้าอ่านข้างบนแล้ว ตอบแบบนี้เหมือนเดิม ก็แสดงให้เห็นว่า ปิดใจ รับฟังความจริงด้านอื่นๆ เชื่อแต่สิ่งที่จินตนาการของคุณเองแล้ว
ลองไปศึกษาดูนะครับ ภาพถ่ายก็มี อย่าคิดไปเอง
พื้นที่อยู่อาศัย ก็คือ พื้นทีอยู่อาศัย จะมาอ้างเรื่องขนาดเรื่องคนไม่โดนกัด มันคนละเรื่อง
ผมเอาที่จอดรถ หรือ ลานหน้าบ้านคุณไปทำที่ทิ้งขยะตามใจผมก็ได้ใช่ไหม เพราะคุณไม่ได้อยู่ตรงนั้น คุณแค่เดินผ่านเป็นบางที
ความเห็นที่ 1.2
แต่มิตั้งคำถามในฝ่ายเสนอ
ท่านด๊อกฯทำไมไม่ลองวิเคราะความเหมาะสมของ EHIA ดูบ้างว่า
ด้วยความรู้ขนาด ปริญญาเอก AIT
เห็นความสมบูรณ์ของ EHIA เป็นเช่นไร น่าเชื่อถือแค่ไหน
และกระบวนการวิเคราะห์ พิจารณา ทั้งเนื้อหาและวิธีการ ดีแค่ไหน
การที่บอกว่าอีกฝ่ายหนึ่งใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
ก็เพราะท่านด๊อกฯใช้อารมณ์ในการตัดสินคนค้านมากกว่าจะศึกษาข้อมูลและเหตุผล
ท่านด๊อกฯก็ยอมรับเองว่ายังศึกษาไม่พอ แต่ออกด่าคนอื่นได้
หรือว่านี่เป็นเอกสิทธิ์ของคนจบปริญญาเอก AIT?
ความเห็นที่ 2
ประเด็นเรื่องเสือ ฟังตามที่ ดร.โสภณ กล่าวไว้ กระผมคิดว่า ดร.โสภณ ยังมีความเห็นผิดอยู่มาก ผมก็คงอธิบายให้ท่านเข้าใจไม่ได้ แต่มีข้อเสนอแนะ คือ อยากให้ ดร.โสภณ ไปร่วมทีมสำรวจเสือสักครั้ง กระผมเคยเข้าอบรมมาครั้งหนึ่งที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ที่นั่นมีผู้เชี่ยวชาญกำลังทำงานกันอย่างสุดความสามารถ น่าจะให้ความเข้าใจเรื่องเสือกับท่านได้อย่างแน่นอนครับ
ความเห็นที่ 3
โดยส่วนตัวสำหรับกรณีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ถ้าเรามีโอกาสทบทวน ให้ลึกซึ้ง และหาทางเลือกอื่นได้ จะเป็นการดีมากๆ เพราะทุกครั้งที่ได้เข้าป่าไม่ว่าที่ไหนก็ตาม บทเรียนที่ได้รับคือว่า ป่า ไม่ใช่ต้นไม้ และที่ดิน หรืออื่นๆเท่าที่เห็น แต่คือสรรพสิ่งทั้งหลายที่มิอาจเรียนรู้และเข้าใจได้หมดสิ้น และที่สำคัญคือมนุษย์ที่ฉลาดปานใดในการสร้างเทคโนโลยีทั้งหลายได้ แต่มิอาจสร้างธรรมชาติเฉกที่เป็นอยู่นี้ได้ ทุกวันนี้เรามีคำตอบเช่นนี้จากเหตุการณ์ต่างๆมามากพอ ทำความเข้าใจกันได้เสียทีเถิด! อย่าต้องให้เกิดซ้ำๆ และนี่หรือ....คือการพัฒนา ปัญหา ความขัดแย้ง ความสูญเสีย ยังปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ
ความเห็นที่ 4
โต้ตอบถกเถียงกันแบบมีเหตุผล อันไหนไม่เคลียร์ไม่ชัดเจนก็ยอมรับกันตรงๆ
สนับสนุนการแสดงความคิดเห็นแบบนี้ทุกๆครั้งครับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.2
ความเห็นที่ 6.2.1
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
http://pantip.com/topic/31090769
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11