ประเทศไทยในวันที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องของ “นามธรรม”
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 15 ตุลาคม 2556
โดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
นามธรรม [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูปคือ รู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น (ราชบัณฑิตยสถาน)
อ่านบทความหนึ่ง แล้วเกิดสะท้อนใจว่าวันนี้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถูกทำให้กลายเป็นเรื่องนามธรรมไปเสียแล้ว กรณีเขื่อนแม่วงก์และอีกหลายๆโครงการที่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นเครื่องวัดใจของคนในสังคมในหลายแง่มุมอย่างไม่น่าเชื่อ
กลุ่มที่บอกว่าประเทศต้องพัฒนาและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรองได้ยกถึงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง ความต้องการน้ำไปปลูกพืชเพิ่ม ช่วยน้ำท่วม และให้ความเห็นว่าพวกนักอนุรักษ์ที่ต้องการรักษาป่าไว้นั้น รักษาในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เก็บป่าที่อยู่ห่างบ้านตัวเองหลายร้อยกิโลไว้ เพื่อความสบายใจเท่านั้น
กลายเป็นว่าป่า แม่น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นเรื่องไกลตัว มีอยู่ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับคนในเมือง ผมเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆคน คิดอย่างนั้นจริงๆ โดยหลงลืมไปว่า น้ำที่กำลังดื่ม อากาศที่กำลังหายใจ ยารักษาโรค อาหารที่กิน ทุกอย่างมีจุดเริ่มมาจากธรรมชาติ
ประเทศไทยในปัจจุบันเหลือป่าปกคลุมอยู่เพียง 30% เท่านั้น ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วถือว่าน้อยไปที่จะรักษาสมดุลของระบบนิเวศโดยรวมไว้ได้ เราจึงเห็นบางจังหวัดเช่น น่าน พิษณุโลก ที่มีน้ำแล้งวันหนึ่ง อีกเดือนต่อมาก็ปรากฏว่าน้ำท่วมหลาก เราเห็นน้ำที่ท่วมในช่วงปลายปีพ.ศ.2554 แล้วว่ารุนแรงเพียงใด แน่นอนว่าการตื้นเขินของแหล่งน้ำ การตั้งถิ่นฐานและสถานที่ประกอบการ การบริหารจัดการ เป็นปัญหา แต่ปัญหาหลักจริงๆ คือเรามีป่าเหลืออยู่น้อยไปแล้ว
แต่เพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าว เรากลับพยายามที่จะทำลายป่า
เสือในฐานะของสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ที่อยู่ส่วนบนสุดของสายใยอาหาร ถูกนักอนุรักษ์ยกขึ้นมาเป็นตัวชูโรงในการต้านเขื่อน เพราะการมีอยู่ของเสือ หมายถึงการมีอยู่ของอาหารของเสือ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า ไม่ใช่ว่า”กระแดะ”รักแต่เสือ แต่เสือถูกใช้ในฐานะที่เป็น “เจ้าป่า” มีเสือเท่ากับป่าสมบูรณ์ เท่ากับสิ่งแวดล้อมที่ดี เท่ากับความเป็นอยู่ที่ดีของคน เท่ากับรักตัวเอง มันเชื่อมโยงง่ายๆแบบนั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย
นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนุวณิชย์ นักอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง เคยกล่าวไว้ว่า "นักอนุรักษ์ทำไมจะไม่เห็นปากท้องประชาชน เราจะเห็นเสือสำคัญกว่าได้อย่างไร ผมว่าเราพูดเรื่องเดียวกัน เราพูดเรื่องปากท้องมากกว่าใครๆด้วยซ้ำแต่เราไม่ได้พูดเรื่องปากท้องของพรุ่งนี้มะรืนนี้ เราพูดถึงปากท้องของปีหน้า10ปีข้างหน้า หากเรามีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบนิเวศน์และความเกี่ยวโยงของความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นหลักประกันของการใช้ชีวิตของมนุษย์แล้ว เราจะมองเห็นว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องเดียวกัน"
ทุกวันนี้เราเห็นประเทศที่พัฒนาไปมากกว่าเรา ซึ่งได้เดินหน้าทำลายสิ่งแวดล้อม กำลังหันกลับมาดูแลสิ่งแวดล้อม และแก้ไขสิ่งต่างๆที่เคยทำผิดไปในอดีต ในวันที่พวกเขาสร้าง เขาอาจจะไม่เคยรู้ว่าสร้างแล้วมันมีผลเสียอย่างไร เขาอาจจะยังไม่มีเทคโนโลยีต่างๆมาใช้เป็นทางเลือกได้มากนัก ในขณะเดียวกันผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้น กำลังเรียกร้องมาตรฐานเดียวกันนี้จากผู้ผลิตสินค้าที่นำมาขายเขาจากประเทศอื่นๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไหม? เป็นธรรมกับชุมชนไหม? ถูกนำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่
ในขณะที่ประเทศไทยวันนี้กำลังบอกว่า ประเทศอื่นเค้าทำลายไปแล้วเราต้องทำลายตามเพื่อการพัฒนา ไม่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมก็ได้ เพื่อลดต้นทุนไปสู้กับเขา เอาให้พังก่อน เสร็จแล้วเดี๋ยวค่อยกลับไปแก้ไขทีหลัง
ความคิดเช่นนี้ไม่น่าจะถูกต้อง ประเทศไทยไม่ใช่ว่าไม่ได้ทำลายธรรมชาติ เราได้ทำลายป่าของประเทศเราไปถึง 70% แล้ว ประเทศเราตกอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุลมาหลายปีแล้ว ความเสียหายเหล่านี้อาจจะวัดได้ยาก อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ส่งผลต่อสุขภาพคนมากมายแค่ไหน? ปรากฏการณ์โลกร้อน เพิ่มต้นทุนให้กับธุรกิจเท่าไหร่? น้ำมาก น้ำน้อย ทั้งหมดนี้กลายเป็นต้นทุนทางอ้อมของทุกคนในสังคมร่วมกัน การตัดสินใจ จึงต้องใช้ความรู้ทางวิชาการมาประกอบ และศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน ถึงทางเลือกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เช่นกรณีเขื่อนแม่วงก์ในวันนี้ พบว่าผู้คัดค้าน ไม่ยอมรับการศึกษาของฝ่ายรัฐ เนื่องจากมีจุดที่ผิดจากหลักวิชาการที่ดีหลายแห่ง ตั้งแต่ปัญหาการเลือกตำแหน่งสร้างเขื่อน ปัญหาทางเทคนิคที่ปริมาตรความจุของเขื่อนยังไม่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผลการศึกษาในส่วนอื่นๆคลาดเคลื่อนไปหมด ความละเอียดในการศึกษาทางด้านระบบนิเวศ ความคุ้มค่าทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะขาดทุน นอกจากนั้นความเชื่อที่ว่าเป็นการสร้างเขื่อนในป่า ไม่มีชาวบ้านเดือดร้อนนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะจะต้องมีการเวณคืนที่ดินอย่างน้อย 15,000 ไร่ (ขนาดแปลงตั้งแต่ 1-100+ไร่) และยึดที่ชาวบ้านที่อยู่ชายขอบที่สุดมาปลูกป่าเพื่อนำผลประโยชน์มาเป็นรายได้ของโครงการอีก 45,000 ไร่
การคัดค้านเขื่อนแม่วงก์วันนี้ของฝ่ายนักอนุรักษ์จึงไม่ใช่การค้านแบบ อตวิสัย แต่เป็นการค้านด้วยหลักวิชาการ ด้วยข้อมูลอันเป็นความจริง โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากภาครัฐ มิได้ปั้นแต่งหรือมโนภาพขึ้นมาเอง วันนี้กลายเป็นว่าภาครัฐด้วยซ้ำที่พยายามบิดเบือน เล่าความจริงเพียงเสี้ยวเดียว ซ่อนปัญหา เพื่อหาความชอบธรรมในการสร้างเขื่อน
การพัฒนาในประเทศไทย ไม่ควรจะมีการทำลายป่าเพิ่มอีกแล้ว ไม่ได้อยู่ที่ว่าโครงการจะทำลายมากหรือทำลายน้อย แต่พอแล้วก็คือพอแล้ว เรามีป่าเหลืออยู่น้อยไปแล้ว ภาครัฐต้องแสดงให้เห็นว่าเอาจริงกับการรักษาป่าไม่ใช่เป็นผู้ทำลายเสียเอง การพัฒนาในอนาคตของไทยควรจะอยู่ที่การใช้พื้นที่ๆมีอยู่แล้วอย่างไรให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มเติมพื้นที่ป่า มากกว่าที่คิดจะมาทำลายป่าเพิ่มอีก
วันนี้บางคนมองนักอนุรักษ์เป็นเด็กเลี้ยงแกะ แจ้งความเท็จ พูดแต่เรื่องที่เป็นนามธรรม(ตามความคิดของท่าน) คงยังไม่ลืมกันว่าตามเนื้อเรื่อง วันหนึ่งหมาป่ามันก็มาจริงๆ
อ้างอิง: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381404091_decode_entit...
นามธรรม [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูปคือ รู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น (ราชบัณฑิตยสถาน)
อ่านบทความหนึ่ง แล้วเกิดสะท้อนใจว่าวันนี้ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถูกทำให้กลายเป็นเรื่องนามธรรมไปเสียแล้ว กรณีเขื่อนแม่วงก์และอีกหลายๆโครงการที่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นเครื่องวัดใจของคนในสังคมในหลายแง่มุมอย่างไม่น่าเชื่อ
กลุ่มที่บอกว่าประเทศต้องพัฒนาและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรองได้ยกถึงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง ความต้องการน้ำไปปลูกพืชเพิ่ม ช่วยน้ำท่วม และให้ความเห็นว่าพวกนักอนุรักษ์ที่ต้องการรักษาป่าไว้นั้น รักษาในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เก็บป่าที่อยู่ห่างบ้านตัวเองหลายร้อยกิโลไว้ เพื่อความสบายใจเท่านั้น
กลายเป็นว่าป่า แม่น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นเรื่องไกลตัว มีอยู่ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้กับคนในเมือง ผมเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆคน คิดอย่างนั้นจริงๆ โดยหลงลืมไปว่า น้ำที่กำลังดื่ม อากาศที่กำลังหายใจ ยารักษาโรค อาหารที่กิน ทุกอย่างมีจุดเริ่มมาจากธรรมชาติ
ประเทศไทยในปัจจุบันเหลือป่าปกคลุมอยู่เพียง 30% เท่านั้น ซึ่งตามหลักวิชาการแล้วถือว่าน้อยไปที่จะรักษาสมดุลของระบบนิเวศโดยรวมไว้ได้ เราจึงเห็นบางจังหวัดเช่น น่าน พิษณุโลก ที่มีน้ำแล้งวันหนึ่ง อีกเดือนต่อมาก็ปรากฏว่าน้ำท่วมหลาก เราเห็นน้ำที่ท่วมในช่วงปลายปีพ.ศ.2554 แล้วว่ารุนแรงเพียงใด แน่นอนว่าการตื้นเขินของแหล่งน้ำ การตั้งถิ่นฐานและสถานที่ประกอบการ การบริหารจัดการ เป็นปัญหา แต่ปัญหาหลักจริงๆ คือเรามีป่าเหลืออยู่น้อยไปแล้ว
แต่เพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าว เรากลับพยายามที่จะทำลายป่า
เสือในฐานะของสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ที่อยู่ส่วนบนสุดของสายใยอาหาร ถูกนักอนุรักษ์ยกขึ้นมาเป็นตัวชูโรงในการต้านเขื่อน เพราะการมีอยู่ของเสือ หมายถึงการมีอยู่ของอาหารของเสือ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า ไม่ใช่ว่า”กระแดะ”รักแต่เสือ แต่เสือถูกใช้ในฐานะที่เป็น “เจ้าป่า” มีเสือเท่ากับป่าสมบูรณ์ เท่ากับสิ่งแวดล้อมที่ดี เท่ากับความเป็นอยู่ที่ดีของคน เท่ากับรักตัวเอง มันเชื่อมโยงง่ายๆแบบนั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย
นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนุวณิชย์ นักอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง เคยกล่าวไว้ว่า "นักอนุรักษ์ทำไมจะไม่เห็นปากท้องประชาชน เราจะเห็นเสือสำคัญกว่าได้อย่างไร ผมว่าเราพูดเรื่องเดียวกัน เราพูดเรื่องปากท้องมากกว่าใครๆด้วยซ้ำแต่เราไม่ได้พูดเรื่องปากท้องของพรุ่งนี้มะรืนนี้ เราพูดถึงปากท้องของปีหน้า10ปีข้างหน้า หากเรามีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบนิเวศน์และความเกี่ยวโยงของความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นหลักประกันของการใช้ชีวิตของมนุษย์แล้ว เราจะมองเห็นว่าเรากำลังพูดถึงเรื่องเดียวกัน"
ทุกวันนี้เราเห็นประเทศที่พัฒนาไปมากกว่าเรา ซึ่งได้เดินหน้าทำลายสิ่งแวดล้อม กำลังหันกลับมาดูแลสิ่งแวดล้อม และแก้ไขสิ่งต่างๆที่เคยทำผิดไปในอดีต ในวันที่พวกเขาสร้าง เขาอาจจะไม่เคยรู้ว่าสร้างแล้วมันมีผลเสียอย่างไร เขาอาจจะยังไม่มีเทคโนโลยีต่างๆมาใช้เป็นทางเลือกได้มากนัก ในขณะเดียวกันผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้น กำลังเรียกร้องมาตรฐานเดียวกันนี้จากผู้ผลิตสินค้าที่นำมาขายเขาจากประเทศอื่นๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไหม? เป็นธรรมกับชุมชนไหม? ถูกนำมาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่
ในขณะที่ประเทศไทยวันนี้กำลังบอกว่า ประเทศอื่นเค้าทำลายไปแล้วเราต้องทำลายตามเพื่อการพัฒนา ไม่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมก็ได้ เพื่อลดต้นทุนไปสู้กับเขา เอาให้พังก่อน เสร็จแล้วเดี๋ยวค่อยกลับไปแก้ไขทีหลัง
ความคิดเช่นนี้ไม่น่าจะถูกต้อง ประเทศไทยไม่ใช่ว่าไม่ได้ทำลายธรรมชาติ เราได้ทำลายป่าของประเทศเราไปถึง 70% แล้ว ประเทศเราตกอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุลมาหลายปีแล้ว ความเสียหายเหล่านี้อาจจะวัดได้ยาก อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ส่งผลต่อสุขภาพคนมากมายแค่ไหน? ปรากฏการณ์โลกร้อน เพิ่มต้นทุนให้กับธุรกิจเท่าไหร่? น้ำมาก น้ำน้อย ทั้งหมดนี้กลายเป็นต้นทุนทางอ้อมของทุกคนในสังคมร่วมกัน การตัดสินใจ จึงต้องใช้ความรู้ทางวิชาการมาประกอบ และศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน ถึงทางเลือกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
เช่นกรณีเขื่อนแม่วงก์ในวันนี้ พบว่าผู้คัดค้าน ไม่ยอมรับการศึกษาของฝ่ายรัฐ เนื่องจากมีจุดที่ผิดจากหลักวิชาการที่ดีหลายแห่ง ตั้งแต่ปัญหาการเลือกตำแหน่งสร้างเขื่อน ปัญหาทางเทคนิคที่ปริมาตรความจุของเขื่อนยังไม่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผลการศึกษาในส่วนอื่นๆคลาดเคลื่อนไปหมด ความละเอียดในการศึกษาทางด้านระบบนิเวศ ความคุ้มค่าทางการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมากที่จะขาดทุน นอกจากนั้นความเชื่อที่ว่าเป็นการสร้างเขื่อนในป่า ไม่มีชาวบ้านเดือดร้อนนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะจะต้องมีการเวณคืนที่ดินอย่างน้อย 15,000 ไร่ (ขนาดแปลงตั้งแต่ 1-100+ไร่) และยึดที่ชาวบ้านที่อยู่ชายขอบที่สุดมาปลูกป่าเพื่อนำผลประโยชน์มาเป็นรายได้ของโครงการอีก 45,000 ไร่
การคัดค้านเขื่อนแม่วงก์วันนี้ของฝ่ายนักอนุรักษ์จึงไม่ใช่การค้านแบบ อตวิสัย แต่เป็นการค้านด้วยหลักวิชาการ ด้วยข้อมูลอันเป็นความจริง โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากภาครัฐ มิได้ปั้นแต่งหรือมโนภาพขึ้นมาเอง วันนี้กลายเป็นว่าภาครัฐด้วยซ้ำที่พยายามบิดเบือน เล่าความจริงเพียงเสี้ยวเดียว ซ่อนปัญหา เพื่อหาความชอบธรรมในการสร้างเขื่อน
การพัฒนาในประเทศไทย ไม่ควรจะมีการทำลายป่าเพิ่มอีกแล้ว ไม่ได้อยู่ที่ว่าโครงการจะทำลายมากหรือทำลายน้อย แต่พอแล้วก็คือพอแล้ว เรามีป่าเหลืออยู่น้อยไปแล้ว ภาครัฐต้องแสดงให้เห็นว่าเอาจริงกับการรักษาป่าไม่ใช่เป็นผู้ทำลายเสียเอง การพัฒนาในอนาคตของไทยควรจะอยู่ที่การใช้พื้นที่ๆมีอยู่แล้วอย่างไรให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้นและเพิ่มเติมพื้นที่ป่า มากกว่าที่คิดจะมาทำลายป่าเพิ่มอีก
วันนี้บางคนมองนักอนุรักษ์เป็นเด็กเลี้ยงแกะ แจ้งความเท็จ พูดแต่เรื่องที่เป็นนามธรรม(ตามความคิดของท่าน) คงยังไม่ลืมกันว่าตามเนื้อเรื่อง วันหนึ่งหมาป่ามันก็มาจริงๆ
อ้างอิง: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381404091_decode_entit...
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1