ทางเลือกการจัดการน้ำของลุ่มน้ำแม่วงก์
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557
ผมเขียนบทสรุปนี้ ในช่วงค่ำของวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 วันนี้เรารู้แล้วว่า EHIA ยังไม่ผ่าน และ กรมอุทยานฯมีหนังสือด่วนถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ถือว่ายกนี้เราชนะ แต่ตามระเบียบแล้ว EHIA/EIA ซึ่งเป็นโครงการของหน่วยงานภาครัฐ จะถูกส่งกลับเข้ามาพิจารณาใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีวันสิ้นสุดอายุ วันนี้สิ่งที่เราต้องมานั่งคุยกันคือ “ทางเลือก” แน่นอนว่ามีประชาชนเดือดร้อนและต้องมีการแก้ไข แต่เราไม่สร้างเขื่อนได้ไหม?
อ.ศศินส่งเอกสารความยาว 21 หน้ามาให้ผม บอกว่าช่วยหน่อย ทำให้มันสั้นๆเข้าใจง่ายหน่อยได้ไหม ผมนั่งอ่านไปหลับไป (เข้าใจพอควร) ไปเจอแกอีก 2 วันถัดมา อุตสาห์เดินหลบๆ ก็ยังโดนตะโกนทวงการบ้าน และอันนี้คือสิ่งที่ผมจะพยายาม
ผมจะเริ่มโดยขอให้ทุกท่านพยายามทำความเข้าใจกับแผนที่อันนี้
1. สีฟ้าๆที่เป็นแอ่งๆด้านซ้ายคือจุดที่น้ำจะท่วมป่าถ้ามีการสร้างเขื่อนแม่วงก์
2. เส้นสีฟ้าอ่อนคือลำน้ำแม่วงก์ แม่น้ำสายนี้ไหลเป็นเส้นเดียวมาจนถึงแถวๆตรงกลางภาพ (ลองดูภาพด้านล่างจะเห็นชัดครับ) ก็จะแตกกระเซ็นกระสายเป็นสายน้ำเล็กใหญ่มากมาย แต่ตัวแม่น้ำสายหลักไหลอยู่ด้านล่างของพื้นที่อ.ลาดยาว
3. จะเห็นว่ามีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนคือ วงก์ตอนบน วงก์ตอนกลาง วงก์ตอนล่าง และ ลาดยาว
ต่อไปผมจะอธิบายว่าแต่ละพื้นที่มีสภาพพื้นที่และปัญหาอย่างไร และทางเลือกในการแก้ปัญหาเป็นอย่างไรนะครับ
1. พื้นที่แม่วงก์ตอนบน เป็นพื้นที่ดอน ไม่มีปัญหาน้ำท่วม จะอยู่ใกล้เขื่อนที่สุดแต่ได้รับผลประโยชน์จากชลประทานของเขื่อนน้อยมาก ตรงนี้มีนาไม่มากตามที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ซึ่งโดยปกติไม่ได้ต้องการน้ำมากอยู่แล้ว การแก้ปัญหาของแถวนี้คือการ จัดการแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิม ตามคูคลองต่างๆให้กักเก็บน้ำในฤดูแล้งได้มากขึ้น เช่นการขุดลอกคูคลอง การซ่อมแซมฝาย การส่งเสริมให้เกษตรกรทำไร่แบบผสมผสานโดยมีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง และการใช้น้ำใต้ดินรดเสริมให้กับพืชไร่ในฤดูแล้ง
2. พื้นที่แม่วงก์ตอนกลาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไหลมาแล้วก็ไหลไปไม่มีปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่องรุนแรง ตรงนี้มีปัญหาแล้งพอสมควร แต่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในพื้นที่และพิจารณาสร้างเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม ปรับปรุงฝาย และ ขุดลอกลำน้ำให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากขึ้น สนับสนุนให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง และ ใช้น้ำใต้ดินรดเสริมให้กับพืชในฤดูแล้ง
3. พื้นที่แม่วงก์ตอนล่าง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง พอสมควร ในส่วนของน้ำท่วมนั้น เป็นน้ำที่หลากมาจากที่ดอนซึ่งจะไหลผ่านพื้นที่เกษตร คู คลองย่อยต่างๆ และเรียบริมถนนในฤดูน้ำหลาก ไม่ส่งผลเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรมากนัก และไม่ท่วมชุมชนขนาดใหญ่ ปัญหาภัยแล้งตรงนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามเชิงเขา พัฒนาบ่อน้ำใต้ดินและบ่อขนาดเล็กตามไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ขุดลอกและพัฒนาฝายในลำน้ำแม่วงก์(แควตากแดด)
4. พื้นที่อ.ลาดยาว เป็นพื้นที่ราบ ที่มีชุมชนขนาดใหญ่ เกิดปัญหาน้ำท่วมหลากเข้าตัวอำเภอบ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านในอำเภออยากได้เขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากเชื่อว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ แต่จริงๆแล้วเขื่อนแม่วงก์ช่วยตรงนี้ได้เพียง 30% เท่านั้น ในขณะเดียวกันปัญหาของตรงนี้หลักๆอยู่ที่การจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ ยังทำได้ไม่ดี มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำทำให้น้ำระบายได้ไม่คล่อง ประตูระบายน้ำและฝายที่มีในแหล่งน้ำ บางแห่งการบริหารไม่ดี บางแห่งชำรุดกลายเป็นสิ่งกีดขวางทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็เชื่อว่าน้ำจะมีโอกาสท่วมพื้นที่ได้น้อยมาก นอกจากนั้นพื้นที่ลุ่มตรงนี้มีพื้นที่กักเก็บน้ำ เช่น บึงหล่ม อยู่ทางตอนเหนือของตัวอำเภอ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำช่วยชะลอไม่ให้ไหลเข้าท่วมอำเภอได้อีกทางหนึ่งด้วย
ข้อมูลอย่างละเอียด ลองอ่านตรงนี้ครับ
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1235:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14
แนวทางการแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ก็มีประมาณนี้ครับ จะเห็นว่ามีการแนะนำให้พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่เจ้าของที่ดินสามารถจัดการได้เอง ซึ่งจริงๆแล้วก็มีโครงการและเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น
คู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นา
www.ldd.go.th/Survey_water/Surver_water.pdf
สินเชื่อโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชาวไร่อ้อย
http://www.ocsf.or.th/rob_pai/khantonnam57.pdf
หรืออาจจะมีการจัดการกันอยู่แล้วในพื้นที่ เช่นที่บ้านธารมะยม (อยู่ในพื้นที่แม่วงก์ตอนล่าง)
http://thaipublica.org/2013/09/thanmayom-model/
http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1796
หรือตัวอย่างการจัดการน้ำระดับบุคคลของชาวนาที่ศาลเจ้าไก่ต่อ (อยู่ในพื้นที่แม่วงก์ตอนกลาง)
อ.ศศินส่งเอกสารความยาว 21 หน้ามาให้ผม บอกว่าช่วยหน่อย ทำให้มันสั้นๆเข้าใจง่ายหน่อยได้ไหม ผมนั่งอ่านไปหลับไป (เข้าใจพอควร) ไปเจอแกอีก 2 วันถัดมา อุตสาห์เดินหลบๆ ก็ยังโดนตะโกนทวงการบ้าน และอันนี้คือสิ่งที่ผมจะพยายาม
ผมจะเริ่มโดยขอให้ทุกท่านพยายามทำความเข้าใจกับแผนที่อันนี้
1. สีฟ้าๆที่เป็นแอ่งๆด้านซ้ายคือจุดที่น้ำจะท่วมป่าถ้ามีการสร้างเขื่อนแม่วงก์
2. เส้นสีฟ้าอ่อนคือลำน้ำแม่วงก์ แม่น้ำสายนี้ไหลเป็นเส้นเดียวมาจนถึงแถวๆตรงกลางภาพ (ลองดูภาพด้านล่างจะเห็นชัดครับ) ก็จะแตกกระเซ็นกระสายเป็นสายน้ำเล็กใหญ่มากมาย แต่ตัวแม่น้ำสายหลักไหลอยู่ด้านล่างของพื้นที่อ.ลาดยาว
3. จะเห็นว่ามีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนคือ วงก์ตอนบน วงก์ตอนกลาง วงก์ตอนล่าง และ ลาดยาว
ต่อไปผมจะอธิบายว่าแต่ละพื้นที่มีสภาพพื้นที่และปัญหาอย่างไร และทางเลือกในการแก้ปัญหาเป็นอย่างไรนะครับ
1. พื้นที่แม่วงก์ตอนบน เป็นพื้นที่ดอน ไม่มีปัญหาน้ำท่วม จะอยู่ใกล้เขื่อนที่สุดแต่ได้รับผลประโยชน์จากชลประทานของเขื่อนน้อยมาก ตรงนี้มีนาไม่มากตามที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ซึ่งโดยปกติไม่ได้ต้องการน้ำมากอยู่แล้ว การแก้ปัญหาของแถวนี้คือการ จัดการแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิม ตามคูคลองต่างๆให้กักเก็บน้ำในฤดูแล้งได้มากขึ้น เช่นการขุดลอกคูคลอง การซ่อมแซมฝาย การส่งเสริมให้เกษตรกรทำไร่แบบผสมผสานโดยมีแหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเอง และการใช้น้ำใต้ดินรดเสริมให้กับพืชไร่ในฤดูแล้ง
2. พื้นที่แม่วงก์ตอนกลาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไหลมาแล้วก็ไหลไปไม่มีปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่องรุนแรง ตรงนี้มีปัญหาแล้งพอสมควร แต่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในพื้นที่และพิจารณาสร้างเพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาะสม ปรับปรุงฝาย และ ขุดลอกลำน้ำให้สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้มากขึ้น สนับสนุนให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง และ ใช้น้ำใต้ดินรดเสริมให้กับพืชในฤดูแล้ง
3. พื้นที่แม่วงก์ตอนล่าง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง พอสมควร ในส่วนของน้ำท่วมนั้น เป็นน้ำที่หลากมาจากที่ดอนซึ่งจะไหลผ่านพื้นที่เกษตร คู คลองย่อยต่างๆ และเรียบริมถนนในฤดูน้ำหลาก ไม่ส่งผลเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรมากนัก และไม่ท่วมชุมชนขนาดใหญ่ ปัญหาภัยแล้งตรงนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามเชิงเขา พัฒนาบ่อน้ำใต้ดินและบ่อขนาดเล็กตามไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ ขุดลอกและพัฒนาฝายในลำน้ำแม่วงก์(แควตากแดด)
4. พื้นที่อ.ลาดยาว เป็นพื้นที่ราบ ที่มีชุมชนขนาดใหญ่ เกิดปัญหาน้ำท่วมหลากเข้าตัวอำเภอบ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านในอำเภออยากได้เขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากเชื่อว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ แต่จริงๆแล้วเขื่อนแม่วงก์ช่วยตรงนี้ได้เพียง 30% เท่านั้น ในขณะเดียวกันปัญหาของตรงนี้หลักๆอยู่ที่การจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ ยังทำได้ไม่ดี มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำทำให้น้ำระบายได้ไม่คล่อง ประตูระบายน้ำและฝายที่มีในแหล่งน้ำ บางแห่งการบริหารไม่ดี บางแห่งชำรุดกลายเป็นสิ่งกีดขวางทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ก็เชื่อว่าน้ำจะมีโอกาสท่วมพื้นที่ได้น้อยมาก นอกจากนั้นพื้นที่ลุ่มตรงนี้มีพื้นที่กักเก็บน้ำ เช่น บึงหล่ม อยู่ทางตอนเหนือของตัวอำเภอ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำช่วยชะลอไม่ให้ไหลเข้าท่วมอำเภอได้อีกทางหนึ่งด้วย
ข้อมูลอย่างละเอียด ลองอ่านตรงนี้ครับ
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1235:seubnews&catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14
แนวทางการแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ก็มีประมาณนี้ครับ จะเห็นว่ามีการแนะนำให้พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่เจ้าของที่ดินสามารถจัดการได้เอง ซึ่งจริงๆแล้วก็มีโครงการและเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น
คู่มือการดำเนินงานโครงการแหล่งน้ำในไร่นา
www.ldd.go.th/Survey_water/Surver_water.pdf
สินเชื่อโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับชาวไร่อ้อย
http://www.ocsf.or.th/rob_pai/khantonnam57.pdf
หรืออาจจะมีการจัดการกันอยู่แล้วในพื้นที่ เช่นที่บ้านธารมะยม (อยู่ในพื้นที่แม่วงก์ตอนล่าง)
http://thaipublica.org/2013/09/thanmayom-model/
http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1796
หรือตัวอย่างการจัดการน้ำระดับบุคคลของชาวนาที่ศาลเจ้าไก่ต่อ (อยู่ในพื้นที่แม่วงก์ตอนกลาง)