ฝายกระสอบพลาสติก...ควรมิควร?
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 26 ธันวาคม 2559
ทำไมเราถึงไม่ควรใช้กระสอบพลาสติกในการสร้างฝาย?
สรุปสำหรับคนไม่อยากอ่านยาวๆ
1. กระสอบพลาสติกผุพังได้เร็วภายในเวลาไม่ถึงปีเมื่อถูกความร้อนและแสง UV ซึ่งกระสอบที่พุพังจะกลายเป็นขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่มากของโลกในปัจจุบัน
2. วัสดุที่นำมาใส่ในกระสอบก่อให้เกิดปัญหาแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา แต่ปัญหาหลักคือเมื่อกระสอบพังแล้ว วัสดุเหล่านั้นก็จะตกค้างอยู่ในแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน และในวัสดุยังมีแนวโน้มสูงที่จะมีพืชต่างถิ่นติดมาด้วย
3. การใช้วัสดุจากรอบๆแหล่งน้ำและในแหล่งน้ำ ทำให้เกิดแผลในพื้นที่ ทำให้เกิดการชะล้างและกัดเซาะได้ง่ายในฤดูฝนและน้ำหลาก นอกจากนั้นยังเป็นการทำลายถิ่นอาศัยของสัตว์ที่ใช้ระบบนิเวศย่อยดังกล่าวเป็นถิ่นอาศัย
ในช่วงที่ผ่านมาการสร้างฝายตามแหล่งน้ำต่างๆเริ่มกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากมีโครงการฝายประชารัฐในช่วงต้นปีพ.ศ.2559 จากการติดตามและสังเกตการณ์ผ่านหลายๆสื่อ ฝายรูปแบบหนึ่งที่พบอยู่เสมอทั้งในอดีตและปัจจุบันคือการใช้กระสอบพลาสติกมาบรรจุดิน/ทรายเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของฝาย ซึ่งเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่าเหมาะสมหรือไม่ จึงได้ลองศึกษาและเขียนเป็นบทความสั้นนี้
กระสอบพลาสติกทำมาจากพลาสติกที่เรียกกันว่า Polypropylene หรือ PP เป็นพลาสติกที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย พวกของเล่น โต๊ะเก้าอี้ ส่วนใหญ่ก็ทำจากพลาสติกชนิดนี้เนื่องจากมีความทนทาน ไม่แตกหักง่าย และขึ้นรูปได้ง่าย ถึงแม้จะมีความทนทานต่อสารเคมีได้ดี แต่พลาสติกชนิดนี้จะเกิดการย่อยสลายภายใต้ความร้อนและแสงUV ด้วยเหตุนี้การใช้พลาสติกประเภทนี้ โดยเฉพาะเวลาเอามาทำให้บางลงอย่างการเอามาทำกระสอบ การจัดเก็บจะต้องเก็บในที่ๆไม่โดนแสงแดดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนพบว่า กระสอบPP ที่มีการบรรจุดินและทรายไว้แม้ว่าจะวางอยู่ใต้ร่มไม้ ก็ย่อยสลาย ผุ และ ขาดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีในประเทศไทย ทั้งนี้การนำกระสอบมาเป็นฝาย จะทำให้เกิดการผุพังเร็วขึ้น จากการที่ถูกแรงไหลของน้ำดึงกระชากและถูกตะกอนในน้ำที่ไหลผ่านเสียดสี
การสำรวจแหล่งน้ำหลายแห่งที่มีการนำกระสอบพลาสติกมาสร้างฝายโดยเติมวัสดุต่างๆเช่น ดิน ทราย กรวด และ หิน ผมพบว่ามีข้อที่น่ากังวลหลายเรื่อง เช่น
1. วัสดุที่นำมาใส่ในกระสอบเท่าที่เห็นใช้กันอยู่มาได้จาก 3 แหล่งด้วยกันซึ่งมีข้อน่ากังวลแตกต่างกันไป
1.1 เอาวัสดุจากนอกแหล่งน้ำมาใช้ ซึ่งในเบื้องต้นก็จะไม่รบกวนระบบนิเวศในแหล่งน้ำในแง่หนึ่ง แต่เมื่อกระสอบเกิดการผุพังในเวลาไม่นานนักก็จะเกิดปัญหาขึ้นสามเรื่อง
1.1.1 ดินที่ไหลหลุดออกมาหากเป็นดินที่มีการปนเปื้อนหรือยังมีสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายไม่หมด ก็จะทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่ำลง
1.1.2 เกิดการตกทับถมของวัสดุจากนอกพื้นที่ในแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
1.1.3 พบว่าการนำดิน/ทรายจากนอกพื้นที่มาใช้จะมีเมล็ดพืชติดมาด้วย ซึ่งอาจจะมีพันธุ์พืชต่างถิ่นติดมาด้วย เมื่อหลุดออกไปก็จะเป็นการรบกวนระบบนิเวศ โดยเฉพาะฝายที่สร้างในป่าที่สมบูรณ์
1.2 ใช้วัสดุข้างแหล่งน้ำมาบรรจุกระสอบ พบว่ามีการขุดดิน/ทราย/กรวดบริเวณใกล้ๆแหล่งน้ำมาใช้ ซึ่งพบว่ามีผลกระทบดังนี้
1.2.1 หาดหินและกรวดริมลำธาร เป็นระบนิเวศย่อยซึ่งมีสัตว์กลุ่มหนึ่งชอบอาศัยอยู่ การขุดทำลายพื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1.2.2 การขุดพื้นที่ด้านข้างแหล่งน้ำทำให้เมื่อฝนตกหรือมีน้ำหลากเกิดการกัดเซาะและชะล้างรุนแรงขึ้นในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากมีการเปิด “แผล” ในพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมมีความสมดุลมีการกัดเซาะน้อย
1.3 ใช้วัสดุในแหล่งน้ำมาบรรจุกระสอบ
1.3.1 การใช้กรวด/หินจากในตัวแหล่งน้ำทำลายถิ่นอาศัยและแหล่งหาอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด
1.3.2 ก่อให้เกิดการชะล้างและกัดเซาะพื้นท้องน้ำจากการเปิด “แผล” จากเดิมที่สภาพพื้นที่มีสมดุลอยู่แล้ว
2. กระสอบพลาสติกPP จะพุพังอย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อนและ UV
2.1 สัตว์น้ำว่ายหรือหลงเข้าไปติดตาย เนื่องจากหาทางออกไม่ได้ หรือถูกเส้นกระสอบพัน
2.2 ย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กๆเมื่อพัดปลิวไปตามน้ำ ปลากินเนื่องจากคิดว่าเป็นอาหาร ก็จะกลายเป็นสารพิษที่สะสมต่อๆกันไปจากปลาเล็กสู่ปลาใหญ่และสู่คนบริโภคปลาในที่สุด
2.3 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตรั่วไหลสู่ระบบนิเวศ
2.4 ทำลายความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว
2.5 ไหลออกสู่ทะเลและตกค้างในระบบนิเวศไปอีกนานมาก
คำแนะนำในการสร้างฝาย
1. ฝายมีไว้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่แล้ว มีความสามารถในการเก็บความชื้นได้เองอยู่แล้ว และลำธารตามธรรมชาติก็เป็นระบบนิเวศหนึ่งที่มีสัตว์เฉพาะกลุ่มอาศัยอยู่ การสร้างฝายจึงควรสร้างเฉพาะในพื้นที่ๆจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศ เช่น ตามป่าเสื่อมโทรมต่างๆ ไม่ควรสร้างในป่าที่สมบูรณ์ เนื่องจากจะเป็นการรบกวนระบบนิเวศ เป็นการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบนิเวศ
2. ไม่ควรใช้กระสอบพลาสติกในการสร้างฝาย ตามเหตุและผลที่ให้ไว้ด้านบนแล้ว แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ แนะนำว่าควรใช้วัสดุเติมในกระสอบจากนอกระบบมาใส่ โดยต้องระวังไม่ให้มีเมล็ดพืชต่างถิ่นปะปนมาด้วย และต้องมีการเปลี่ยนกระสอบทดแทนของเดิมก่อนที่จะมีการพุพังและเกิดการรั่วไหลของวัสดุด้านในกระสอบ
3. ถ้าเหตุผลของการสร้างฝายคือเพื่อการกักเก็บน้ำ ควรพิจารณาการขุดบ่อแยกออกมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วผันน้ำที่มีมากในฤดูฝนมาเก็บไว้ในฤดูแล้ง การสร้างฝายในลำธารเป็นการรบกวนระบบนิเวศโดยไม่จำเป็น
สรุปสำหรับคนไม่อยากอ่านยาวๆ
1. กระสอบพลาสติกผุพังได้เร็วภายในเวลาไม่ถึงปีเมื่อถูกความร้อนและแสง UV ซึ่งกระสอบที่พุพังจะกลายเป็นขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่มากของโลกในปัจจุบัน
2. วัสดุที่นำมาใส่ในกระสอบก่อให้เกิดปัญหาแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา แต่ปัญหาหลักคือเมื่อกระสอบพังแล้ว วัสดุเหล่านั้นก็จะตกค้างอยู่ในแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน และในวัสดุยังมีแนวโน้มสูงที่จะมีพืชต่างถิ่นติดมาด้วย
3. การใช้วัสดุจากรอบๆแหล่งน้ำและในแหล่งน้ำ ทำให้เกิดแผลในพื้นที่ ทำให้เกิดการชะล้างและกัดเซาะได้ง่ายในฤดูฝนและน้ำหลาก นอกจากนั้นยังเป็นการทำลายถิ่นอาศัยของสัตว์ที่ใช้ระบบนิเวศย่อยดังกล่าวเป็นถิ่นอาศัย
ในช่วงที่ผ่านมาการสร้างฝายตามแหล่งน้ำต่างๆเริ่มกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากมีโครงการฝายประชารัฐในช่วงต้นปีพ.ศ.2559 จากการติดตามและสังเกตการณ์ผ่านหลายๆสื่อ ฝายรูปแบบหนึ่งที่พบอยู่เสมอทั้งในอดีตและปัจจุบันคือการใช้กระสอบพลาสติกมาบรรจุดิน/ทรายเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของฝาย ซึ่งเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่าเหมาะสมหรือไม่ จึงได้ลองศึกษาและเขียนเป็นบทความสั้นนี้
กระสอบพลาสติกทำมาจากพลาสติกที่เรียกกันว่า Polypropylene หรือ PP เป็นพลาสติกที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย พวกของเล่น โต๊ะเก้าอี้ ส่วนใหญ่ก็ทำจากพลาสติกชนิดนี้เนื่องจากมีความทนทาน ไม่แตกหักง่าย และขึ้นรูปได้ง่าย ถึงแม้จะมีความทนทานต่อสารเคมีได้ดี แต่พลาสติกชนิดนี้จะเกิดการย่อยสลายภายใต้ความร้อนและแสงUV ด้วยเหตุนี้การใช้พลาสติกประเภทนี้ โดยเฉพาะเวลาเอามาทำให้บางลงอย่างการเอามาทำกระสอบ การจัดเก็บจะต้องเก็บในที่ๆไม่โดนแสงแดดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนพบว่า กระสอบPP ที่มีการบรรจุดินและทรายไว้แม้ว่าจะวางอยู่ใต้ร่มไม้ ก็ย่อยสลาย ผุ และ ขาดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีในประเทศไทย ทั้งนี้การนำกระสอบมาเป็นฝาย จะทำให้เกิดการผุพังเร็วขึ้น จากการที่ถูกแรงไหลของน้ำดึงกระชากและถูกตะกอนในน้ำที่ไหลผ่านเสียดสี
การสำรวจแหล่งน้ำหลายแห่งที่มีการนำกระสอบพลาสติกมาสร้างฝายโดยเติมวัสดุต่างๆเช่น ดิน ทราย กรวด และ หิน ผมพบว่ามีข้อที่น่ากังวลหลายเรื่อง เช่น
1. วัสดุที่นำมาใส่ในกระสอบเท่าที่เห็นใช้กันอยู่มาได้จาก 3 แหล่งด้วยกันซึ่งมีข้อน่ากังวลแตกต่างกันไป
1.1 เอาวัสดุจากนอกแหล่งน้ำมาใช้ ซึ่งในเบื้องต้นก็จะไม่รบกวนระบบนิเวศในแหล่งน้ำในแง่หนึ่ง แต่เมื่อกระสอบเกิดการผุพังในเวลาไม่นานนักก็จะเกิดปัญหาขึ้นสามเรื่อง
1.1.1 ดินที่ไหลหลุดออกมาหากเป็นดินที่มีการปนเปื้อนหรือยังมีสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายไม่หมด ก็จะทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่ำลง
1.1.2 เกิดการตกทับถมของวัสดุจากนอกพื้นที่ในแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
1.1.3 พบว่าการนำดิน/ทรายจากนอกพื้นที่มาใช้จะมีเมล็ดพืชติดมาด้วย ซึ่งอาจจะมีพันธุ์พืชต่างถิ่นติดมาด้วย เมื่อหลุดออกไปก็จะเป็นการรบกวนระบบนิเวศ โดยเฉพาะฝายที่สร้างในป่าที่สมบูรณ์
1.2 ใช้วัสดุข้างแหล่งน้ำมาบรรจุกระสอบ พบว่ามีการขุดดิน/ทราย/กรวดบริเวณใกล้ๆแหล่งน้ำมาใช้ ซึ่งพบว่ามีผลกระทบดังนี้
1.2.1 หาดหินและกรวดริมลำธาร เป็นระบนิเวศย่อยซึ่งมีสัตว์กลุ่มหนึ่งชอบอาศัยอยู่ การขุดทำลายพื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1.2.2 การขุดพื้นที่ด้านข้างแหล่งน้ำทำให้เมื่อฝนตกหรือมีน้ำหลากเกิดการกัดเซาะและชะล้างรุนแรงขึ้นในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากมีการเปิด “แผล” ในพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมมีความสมดุลมีการกัดเซาะน้อย
1.3 ใช้วัสดุในแหล่งน้ำมาบรรจุกระสอบ
1.3.1 การใช้กรวด/หินจากในตัวแหล่งน้ำทำลายถิ่นอาศัยและแหล่งหาอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด
1.3.2 ก่อให้เกิดการชะล้างและกัดเซาะพื้นท้องน้ำจากการเปิด “แผล” จากเดิมที่สภาพพื้นที่มีสมดุลอยู่แล้ว
2. กระสอบพลาสติกPP จะพุพังอย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อนและ UV
2.1 สัตว์น้ำว่ายหรือหลงเข้าไปติดตาย เนื่องจากหาทางออกไม่ได้ หรือถูกเส้นกระสอบพัน
2.2 ย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กๆเมื่อพัดปลิวไปตามน้ำ ปลากินเนื่องจากคิดว่าเป็นอาหาร ก็จะกลายเป็นสารพิษที่สะสมต่อๆกันไปจากปลาเล็กสู่ปลาใหญ่และสู่คนบริโภคปลาในที่สุด
2.3 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตรั่วไหลสู่ระบบนิเวศ
2.4 ทำลายความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว
2.5 ไหลออกสู่ทะเลและตกค้างในระบบนิเวศไปอีกนานมาก
คำแนะนำในการสร้างฝาย
1. ฝายมีไว้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่แล้ว มีความสามารถในการเก็บความชื้นได้เองอยู่แล้ว และลำธารตามธรรมชาติก็เป็นระบบนิเวศหนึ่งที่มีสัตว์เฉพาะกลุ่มอาศัยอยู่ การสร้างฝายจึงควรสร้างเฉพาะในพื้นที่ๆจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูสภาพระบบนิเวศ เช่น ตามป่าเสื่อมโทรมต่างๆ ไม่ควรสร้างในป่าที่สมบูรณ์ เนื่องจากจะเป็นการรบกวนระบบนิเวศ เป็นการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบนิเวศ
2. ไม่ควรใช้กระสอบพลาสติกในการสร้างฝาย ตามเหตุและผลที่ให้ไว้ด้านบนแล้ว แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ แนะนำว่าควรใช้วัสดุเติมในกระสอบจากนอกระบบมาใส่ โดยต้องระวังไม่ให้มีเมล็ดพืชต่างถิ่นปะปนมาด้วย และต้องมีการเปลี่ยนกระสอบทดแทนของเดิมก่อนที่จะมีการพุพังและเกิดการรั่วไหลของวัสดุด้านในกระสอบ
3. ถ้าเหตุผลของการสร้างฝายคือเพื่อการกักเก็บน้ำ ควรพิจารณาการขุดบ่อแยกออกมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วผันน้ำที่มีมากในฤดูฝนมาเก็บไว้ในฤดูแล้ง การสร้างฝายในลำธารเป็นการรบกวนระบบนิเวศโดยไม่จำเป็น