รายงานการพบหนอนตัวแบนนิวกินีในประเทศไทย
Press release
รายงานการพบหนอนตัวแบนนิวกินี (Platydemus manokwari De Beauchamp, 1963)
สัตว์รุกรานต่างถิ่นเลวร้ายระดับ 1 ใน 100 ของโลกในประเทศไทย
6 พฤศจิกายน 2560, กรุงเทพมหานคร
รายงานโดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
หนอนตัวแบนนิวกินี เป็นหนอนที่มีถิ่นกำเนิดบนเกาะนิวกินี โดยพื้นที่ที่พบครั้งแรกอยู่ในจังหวัดปาปัวตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อโตเต็มที่แล้วมีลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลมทั้งสองด้านแต่ด้านที่เป็นหัวจะแหลมเล็กกว่า สีด้านหลังเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัวตามแนวยาว ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีขาวเล็กๆค่อนไปทางด้านหางซึ่งเป็นส่วนปาก หนอนชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหารหลักและถ้าไม่สามารถหาหอยทากกินได้ ยังมีรายงานกินทากเปลือยและไส้เดือนด้วย ในการล่านั้นหนอนตัวแบนจะเลื้อยออกหากินในเวลากลางคืนและตามล่าหอยทากด้วยการตามกลิ่นเมือกไป โดยการกินหอยทากนั้นหนอนจะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเนื้อหอยทากก่อนที่จะดูดกินเข้าไป
หนอนตัวแบนชนิดนี้มีรายงานถูกปล่อยและหลุดออกสู่ธรรมชาตินอกถิ่นอาศัยตามธรรมชาติหลายแห่งและมีรายงานรุกรานกินหอยทากท้องถิ่นจนสูญพันธุ์ ทำให้สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) จัดให้หนอนตัวแบนนิวกินีเป็น หนึ่งในร้อยสัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก (100 of the World's Worst Invasive Alien Species) ทั้งนี้นอกจากประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิคแล้วหนอนตัวแบนนิวกินียังมีรายงานรุกรานในประเทศฝรั่งเศส รัฐฟลอริด้าของประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ใกล้ประเทศไทยที่สุดคือประเทศสิงคโปร์ โดยรายงานในประเทศไทยนั้นถือเป็นรายงานแรกในผืนทวีปหลักของเอเชีย (Mainland Asia) โดยปัญหาที่เอเลี่ยนชนิดนี้ก่อขึ้นในประเทศแถบหมู่เกาะแปซิฟิคที่ตั้งใจปล่อยเพื่อไปกำจัดหอยทากยักษ์แอฟริกา(สัตว์ต่างถิ่น)ที่เป็นศัตรูพืช พบว่าหนอนตัวแบนนิวกินีไม่ได้ล่าแต่หอยทากยักษ์แต่กลับไล่ล่าหอยทากเฉพาะถิ่นจนสูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมากโดย หนอนตัวแบนนิวกินีนั้นเมื่ออยู่นอกถิ่นอาศัยก็ขาดการควบคุมจำนวนประชากรเนื่องจากไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติจนเพิ่มจำนวนขึ้นมากมาย ทั้งนี้หนอนชนิดนี้มีสองเพศในตัวเดียว แต่การสืบพันธุ์ต้องมีหนอนสองตัวจึงจะวางไข่ได้ นอกจากนั้นถ้าหนอนตัวขาดก็จะสามารถเติบโตแยกร่างได้
สำหรับรายงานการพบในประเทศไทยนั้น เริ่มจากคุณมงคล อันทะชัย ได้แปะภาพหนอนตัวแบนนิวกินีกำลังกินหอยทากในบริเวณบ้านแถบอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ในกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (siamensis.org) เพื่อสอบถามว่าเป็นสัตว์ชนิดใด ซึ่งอาจารย์ยิ่งยศ ลาภวงศ์ ได้ระบุชนิดว่าเป็นหนอนตัวแบนนิวกินี ต่อมาทางกลุ่มสยามเอ็นสิส โดยดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์และนายจิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล ได้ตามไปเก็บตัวอย่างที่บ้านคุณมงคลเพื่อยืนยัน จนมั่นใจว่าเป็นชนิดดังกล่าวจริงๆ
หนอนตัวแบนนิวกินีนี้นอกจากจะเป็นภัยต่อหอยทากท้องถิ่นของประเทศไทยซึ่งหลายชนิดมีการกระจายพันธุ์ที่แคบและมีความสวยงามมากนั้น ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อ Angiostrongylus cantonensis หรือพญาธิปอดหนู/พญาธิหอยโข่ง ซึ่งติดต่อสู่คนได้ โดยพยาธิดังกล่าวนี้มีหนูเป็นพาหะหลักจึงไม่สามารถเจริญเติบโตจนครบวงจรในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางของผู้ติดเชื้อและตายลง ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิจะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นไข้ อาเจียนพุ่ง คอแข็ง ตาพร่ามัว ท้องเสีย และปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น แต่ถ้ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรงสามารถนำไปสู่อาการเรื้อรังของโรคจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้พยาธิดังกล่าวในประเทศไทยก็มีสัตว์หลายชนิดที่เป็นพาหะอยู่แล้วเช่น หอยทากยักษ์แอฟริกาและหอยในกลุ่มหอยโข่ง/ขม ซึ่งพยาธิชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางการกิน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินหอยที่ไม่สุก รวมไปถึงล้างทำความสะอาดผักในบริเวณที่มีหอยทากและหนอนตัวแบนอาศัยอยู่ให้ดีก่อนรับประทานหรือรับประทานเฉพาะผักที่สุกแล้วเท่านั้นและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่ได้ผ่านการต้มหรือกรองมาก่อนโดยเฉพาะในแหล่งที่มีหอยและหนอนตัวแบนนิวกินีอาศัยอยู่
ทั้งนี้การกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีนั้นสามารถทำได้สองวิธีคือใช้น้ำร้อนลวกหรือหยอดด้วยเกลือป่น ห้ามใช้การสับหรือหั่นเพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก อยากขอร้องให้ทุกคนที่พบเห็นช่วยกันกำจัดหนอนตัวแบนเพื่อช่วยชีวิตหอยทากท้องถิ่นของประเทศไทย
ถ้าหากใครพบหนอนตัวแบนนิวกินี ขอให้รายงานมาที่กลุ่มสยามเอ็นสิส ผ่านทาง FB กลุ่มที่ siamensis.org หรือผ่านทางกลุ่มไลน์งูเข้าบ้านที่ @sde5284v โดยขอให้ถ่ายภาพและระบุสถานที่พบเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการต่อไป
สื่อมวลชนที่ต้องการไฟล์ภาพใหญ่หรือคลิปสามารถติดต่อได้ที่ Line id: siamensis
English
Report by Dr. Nonn Panitvong
New Guinea flatworm is a native species to New Guinea. This species grows to about 5-6 centimeters in length. Both ends of the body are pointed but the head side is noticeably smaller than the other end. The body is uniformly dark brown with a light brown line running along the middle of the back. The underside is white with a blighter white spot marked the mouth opening. The flatworm eat snail as its main food but will also eat slug and earth worm when the supply of snail in the area is exhausted. They hunt the snail during the night time by follow the mucus track, upon finding the snail they secrete the gastric juice into the snail opening and start eating the snail alive.
The New Guinea Flatworm has been reported as invasive alien species in many countries, especially those of Pacific island nations. The invasion resulted in the extinction of endemic and native species of snails in many countries which prompt IUCN to list this species as 100 of the World’s Worst Invasive Alien Species. Apart from Pacific island nations, the flatworm has been reported in France, Florida (where it make quite a big new in 2015) and Singapore. The occurrence of this species in Thailand is the first report for mainland Asia. The reason that makes the flatworm so devastating is the fact that once they are removed from their native home range, there are no known predator or any condition that will control its population growth, so their limiting factor would be the supply of snail, which they can hunt into extinction. This species is hermaphrodite but require two individuals to sexually reproduce. They can also grow into separate individual if being cut but this is not their natural way of reproduction.
The report in Thailand came from the post at Facebook page of Thailand Biodiversity Conservation Group (siamensis.org) by Mr. Mongkol Untachai, who posted pictures of this flatworm eating a snail in his house at Lamlukka district, Pathum Thani Province in central Thailand, the area is less than an hour away from Bangkok metropolitans, on October 31, 2017. It was promptly identified as New Guinea Flatworm by Mr. Yingyod Lapwong. Dr. Nonn Panitvong and Jirawat Polpermpul later visited Mr. Mongkol to collect specimen for identification to make sure that it really is the species in question.
New Guinea Flatworm is not only a threat to local snail fauna of Thailand but also a vector of Angiostrongylus cantonensis (rat lungworm) a parasitic nematode (Round worm) that normally infected rat but use snails and flatworms as its intermediate host. Human can be infected by this parasite as well by eating uncooked or undercooked snail, eating fresh vegetable where the snail and flatworm might pass by or drinking contaminated water. Upon hatching in human body the parasite travel through blood into central nervous system where they normally die, since human is not their preferred host. This is the most common cause of eosinophilic meningitis, a serious condition that can lead to death or permanent brain and nerve damage. The parasite, however, is nothing new for Thailand since, the already wide spread alien species, Giant African Land snail and local aquatic snails are also the host of the parasite.
To kill the New Guinea Flatworm, pour hot water or salt on them. Do not cut them as this will only result in them multiplying even more. To save many species of local snails, this is the action that must be taken seriously.
If you come across this species in Thailand please report it at Facebook page of siamensis.org or to Line ID @sde5284v, so that we compile the data for further management plan.
Any press that need high resolution file or vdo clip please contact Line id: siamensis.
อ้างอิง: โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอันเนื่องมาจากพยาธิตัวกลม Angiostrongylus cantonensis โดย ญาณิศา นราพงษ์ และ นพคุณ ภักดีณรงค์, 24 มิถุนายน 2559
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ข้อมูลนี้จริงไหมครับ
แม้ New Guinea Flatworm จะเป็นหนอนตัวแบนที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศปาปัวนิวกินี แต่ความร้ายกาจของมันก็ได้เข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย ถึงขนาดที่ว่าเจ้าหน้าที่ต้องประกาศเตือนให้ประชาชนชาวฟลอริดาระมัดระวังตัวและอยู่ให้ห่างจากหนอนสายพันธุ์นี้
https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm1... 300w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm1... 80w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm1... 265w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm1... 696w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm1... 560w" style="box-sizing: border-box; border-width: 0px; border-style: initial; max-width: 100%; height: auto; width: 695.99px; display: block;" width="700" />WIKIPEDIA CC SHINJI SUGIURAความร้ายกาจของ New Guinea Flatworm อยู่ที่พิษของมัน ซึ่งหากใครเผลอไปสัมผัสโดนมันเข้า เจ้าหนอน New Guinea Flatworm ก็จะปล่อยสารบางอย่างออกมา โดยพิษของมันสามารถทำให้เนื้อเยื่อของเหยื่อที่สัมผัสนั้นตายได้ในทันที
https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm2... 300w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm2... 696w, https://www.spokedark.tv/wp-content/uploads/2017/04/New-Guinea-Flatworm2... 441w" style="box-sizing: border-box; border-width: 0px; border-style: initial; max-width: 100%; height: auto; width: 695.99px; display: block;" width="700" />WIKIPEDIA CC MAKIRI SAIความร้ายกาจของ New Guinea Flatworm ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เนื่องจากอาหารจานโปรดของหนอนชนิดนี้ได้แก่หนู ซึ่งหากใครโชคร้ายไปสัมผัสกับหนูตัวที่มันกัดเอาไว้ ก็มีโอกาสได้รับพิษของหนอนตัวแบนสายพันธุ์นี้เช่นกัน
โดยเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ คาดว่า สาเหตุที่หนอน New Guinea Flatworm มาแพร่พันธุ์ระบาดอย่างหนักในสหรัฐฯ เนื่องจากพวกมันอาจจะติดมากับตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งสินค้ามาทางเรือ ในขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้พยายามหาแหล่งต้นตอ เพื่อที่จะทำการกวาดล้างหนอนสายพันธุ์นี้ให้สิ้นซากต่อไป
ความเห็นที่ 2.1
ข่าวอะไรของเค้าเนี๊ย....
ในประเทศสหรัฐ มีการแนะนำไม่ให้แตะต้องหนอนชนิดนี้เนื่องจากมันมีการสร้างเมือกและน้ำย่อยออกมา ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวในกรณีที่แพ้ง่ายและอาจจะไปกระตุ้นภูมิแพ้ได้ครับ แต่ไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดเป็นพิษหรือกัดกินผิวหนังอะไรขนาดนั้น
มันเป็นพาหะนำโรคพยาธิในปอดหนู จากการที่พยาธิชนิดนี้มีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งที่ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในหอยทาก พอมันไปกินหอยทาก็จะมีพยาธิชนิดนี้อยู่ในร่างกาย ถ้าเราเอามันไปกินโดยไม่สุก (ซึ่งคงไม่มีใครกิน) หรือมันไปถ่ายมูลที่มีไข่หรือตัวอ่อนพยาธิไว้บนผักแล้วเรากินผักโดยล้างไม่สะอาด ก็อาจจะติดได้ แต่โรคนี้คนส่วนใหญ่ ติดจากการกินหอยโขง/ขม ดิบๆสุกๆมากกว่าครับ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตก็ต่ำมากครับ
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
ทีมพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้สัมผัสความตื่นเต้นเร้าใจและปั่นเงินได้ทุกที่ทุกเวลากับเกมส์ที่มากกว่า 200 เกมส์
>>สล็อต
ความเห็นที่ 5
ทางเข้า ufabet
ความเห็นที่ 6
ทางเข้า ufabet
ความเห็นที่ 7
ufabet
สมัคร ufabet
ทางเข้า ufabet
ความเห็นที่ 8
ufabet
สมัคร ufabet
ทางเข้า ufabet
ความเห็นที่ 9
ีufabet
สมัคร ufabet
ทางเข้า ufabet