กระทู้-12484 : เมล็ดไทร ต่อไทร

Home » Board » พืช

เมล็ดไทร ต่อไทร

วันก่อนไปได้ไทรใบกลมต้นเล็กๆ  มาปลูก
เห็นมีลูกกลมๆ  ติดอยู่ที่ปลายกิ่งด้วย แว่บแรกคิดว่าเป็นลูกไทรแน่ๆ  
ตั้งใจจะลองเอามาเพาะดูเล่นๆ  
 
แต่พอลองค้นข้อมูลดู....เหมือนจะไม่ใช่  และไม่ง่ายอย่างที่คิด
http://www.figweb.org/Figs_and_fig_wasps/index.htm
http://www.thaigoodview.com/node/4217


ที่เห็นเป็นลูกๆ  นั่นอาจไม่ใช่ลูกไทรที่พร้อมปลูก
เท่าที่เข้าใจตอนนี้คือลูกกลมๆ  เป็นฐานรองดอก  (เข้าใจถูกรึเปล่าครับ)
 และต้องอาศัยต่อไทร (Fig wasps)  เจาะเข้าไปช่วยผสมเกสร

ทีนี้เลยอยากทราบว่า.....
- นอกจากรอต่อไทร (Fig wasps)  แล้ว เราสามารถช่วยผสมเกสรไทรเองได้หรือเปล่าครับ  (รวมถึง Ficus ชนิดอื่นๆ  )
- สมมุติข้ามขั้นตอนมาจนติดเมล็ดแล้ว ลูกไทรต้องอาศัยนกมากินแล้วผ่านระบบทางเดินอาหาร เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ดด้วยหรือเปล่า แล้วเราสามารถจำลองการกระตุ้นนี้เอง  (เหมือนการแช่เมล็ดพืชบางประเภทด้วยน้ำร้อน)  ได้หรือเปล่าครับ
...แก้ไขเมื่อ 29 มิ.ย. 2552 20:32:44
คนนั้น approve [ 29 มิ.ย. 2552 18:39:27 ]
PlantsPics_reply_128434.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ขออนุญาตท่านจขกท.ฝากคำถามด้วยนะครับ

มะก่ำตาหนู ลองเพาะเดือนหนึ่งแล้ว เมล็ดยังแข็งไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีเทคนิคอะไรช่วยได้บ้างครับ

ปล.อยากเพาะต้นไทร(ที่นกชอบ)เหมือนกันครับ
...แก้ไขเมื่อ 29 มิ.ย. 2552 21:21:35
alian approve [ 29 มิ.ย. 2552 21:08:45 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ขอตั้งคำถามหน่อย อันนี้คาใจมานาน

เมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน มีพี่ที่รู้จักคนหนึ่ง มีไอเดียปลูกป่าโดยการเอาต้นไกร (เป็น Ficus ชนิดหนึ่ง) เข้าไปปลูกตามที่ต่างๆ  รวมถึงเขาเขียว ชลบุรีด้วย
พี่คนนี้มีความคิดว่าต้นไกร เป็นไม้ใหญ่ ให้ร่มเงา  และยังเป็นบ้าน และแหล่งอาหารให้นก เป็นการทำทาน  และยังได้ช่วยโลกโดยการปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกด้วย

แต่ส่วนตัว พอจะมีความรู้งูๆ ปลาๆ  อยู่บ้างว่าพืชพวกไทร หลายชนิดมีพฤติกรรมที่เรียกได้ว่า "นักบุญแห่งป่า นักล่าแห่งพงไพร" คือเป็นแหล่งอาหารของนก  แต่เมื่อนกกินแล้วไปถ่ายทิ้งลงบนต้นไม่อื่น อาจขึ้นคลุมจนต้นไม้อื่นตายลง
แต่ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้าเป็นต้นไกร จะส่งผลเหมือนกับต้นไทรหรือไม่

ตอนนั้นก็ลองคัดค้านพี่แกดู  แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลมากพอคำค้านเลยตกไป
และพี่ท่านก็ถึงขั้นเพาะต้นไกรจำนวนมาก แจกจ่ายไปทั่ว ตอนนี้ไม่ได้ติดต่อแกนานแล้ว ไม่รู้ว่าจะคืบหน้าไปอย่างไรบ้าง

ใครมีข้อมูล หรือความเห็นในเรื่องนี้ช่วย ให้ข้อมูลหน่อยก็จะเป็นการดีค่ะ
หมีเป้แดง approve [ 29 มิ.ย. 2552 22:02:24 ]
ความคิดเห็นที่: 3
#2

พี่คนนั้นแกคงมองในแง่ดี (ซึ่ง น่าจะชัดเจนกว่า)

ถึงต้นไม้บางต้นจะถูกไทรเบียดเบียนจนตาย

แต่กระบวนการเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเองในธรรมชาติตลอดมา

ถ้าต้นไทรนั้นเจริญแทนต้นไม้เดิมได้ พื้นที่สีเขียวก็ยังคงอยู่

แต่ ถ้าต้นไทรล้มตายตามต้นไม้เดิม ก็เป็นการเปิดพื้นที่ให้พืชระดับร่างได้เจริญเติบโต

แล้วพี่เค้าก็คงปลูกเป็นต้นๆ  ในที่เหมาะสม

ผมว่าผลกระทบคงไม่น่าเป็นหว่งนะ
alian approve [ 29 มิ.ย. 2552 23:15:42 ]
ความคิดเห็นที่: 4
มองในแง่ที่ว่า ถ้าต้นไทรมีการกระจายตามธรรมชาติ
ในธรรมชาติจะมีการควบคุมกันเองอยู่แล้ว
และโดยส่วนใหญ่สิ่งมีชีวิตที่มีลูกจำนวนมาก %fertility มักจะค่อนข้างต่ำ
คือมีเมล็ดจำนวนมากไม่สามารถงอกได้

แต่ ในกรณีที่มีคนไปช่วยปลูก ต้นที่ปลูกทุกต้นมีโอกาสเจริญเป็นต้นใหญ่ (ใช้ต้นกล้าไปปลูก)
จะทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเมื่อ probability  ของต้นแม่มากขึ้น probability  ของลูกก็จะมากขึ้นไปด้วย

และพี่ท่านคนดังกล่าวไม่ได้ปลูกต้นไม้ด้วยหลักการใดๆ
เพียง แต่กระจายต้นกล้าออกไปปลูกให้มากที่สุดเท่านั้น
หมีเป้แดง approve [ 30 มิ.ย. 2552 11:45:13 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ผมมีความคิดที่ค่อนข้างค้านกับหลายท่านครับ เพราะในระบบนิเวศหนึ่งๆ ย่อมต้องอาศัยความสามารถทางธรรมชาติ (เช่นเดียวกับ Natural selection)มากกว่าการที่เราไปเน้นการปลูกพืชใดพืชหนึ่งมากกว่าครับ การเปลี่ยนของธรรมชาติมีตลอดเวลาครับ  แต่จะเชื่องช้ามาก มากเสียจนต้นไม้อื่นๆ หรือสัตว์อื่นปรับตัวไปตามธรรมชาติเองครับ ผมคิดว่า ถ้าไปปลูกย่อมไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก(แค่ความคิดเห็นของผมนะครับ) ผมว่าธรรมชาตินั้นแหละดีที่สุด อย่าลืมว่าทุกอย่างย่อมเกี่ยวข้องโยงใยกัน อาจจะมากกว่าที่เรามองเห็นก็ได้...
Sakdivijaya [ 30 มิ.ย. 2552 14:06:17 ]
ความคิดเห็นที่: 6
 ถ้าเล่นปลูก เหมือนกับสมัยนิยมที่คิดว่าตัวเองปลูกป่าได้ก็คงไม่ไหว  แต่ ถ้าคิดจะปลูกในพื้นที่ของบ้านตัวเองสักต้น ก็ไม่คิดว่าจะเลวร้ายขนาดนั้น ผมเองก็คิดว่า ถ้ามีบ้านแบบมีเนื้อที่ก็จะปลูกสักต้นเหมือนกัน (พร้อมกับต้นไม้อื่นๆ  อีกหลากหลาย)
นกกินเปี้ยว approve [ 30 มิ.ย. 2552 20:39:11 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ชักเริ่มสนใจพวก Ficus ครับ
ไม่ทราบว่าพอจะมีเอกสาร หรือการรวบรวมชนิดของFicus ในไทยไว้บ้างหรือเปล่า
พยายามหาใน google แล้ว จะไปเจอเอาชื่อวัด ชื่อโรงเรียน รวมถึงบอนไซ ซะมาก
คืออยากรู้ว่า พวก โพธิ์ ไทร ไกร กร่าง กลุ่มๆ  นี้ในไทยมีซักกี่ชนิดที่เป็นชนิดดั้งเดิมน่ะครับ
คนนั้น approve [ 30 มิ.ย. 2552 23:58:31 ]
ความคิดเห็นที่: 8
อพวช. มีคนเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไทรอยู่
นกกินเปี้ยว approve [ 01 ก.ค. 2552 08:55:29 ]
ความคิดเห็นที่: 9
เอามาแปะรวมไว้ที่นี่ด้วยแล้วกัน

http://www.siamensis.org/board/7469.html


http://www.siamensis.org/board/11731.html


http://www.siamensis.org/board/12173.html

:
   วรรณา
อยากทราบระยะเวลาของการออกผลของลูกไทร (ทุกชนิด)  คะ ว่าภายในรอบ 1 ปีออกผล กี่ครั้ง
เว้นระยะกี่เดือนคะ แล้ว ใช้เวลานานเท่าไหร่ ลูกไทรถึงจะสุกพอที่จะให้สัตว์ต่างๆ   มาอาศัยเป็นอาหารได้คะ

ขอบพระคุณมากคะ
: นณณ์
คุ้นๆ  ว่า BRT จะมีหนังสือเกี่ยวกับไทร  และมะเดื่ออยู่เล่มหนึ่ง น่าจะช่วยได้ครับ เมื่อกี้ลองหาคร่าวๆ  ดูในเว็บเค้า  แต่ไม่เจอ
: เสือหัวดำ
เคยคุยกับพี่ศิริพร ทองอารีย์ ที่อำจิวัยเรื่องไทร ที่เป็นอาหารนกเงื่อกใน ฮาลา-บาลา ได้คำตอบมาว่า ถึงแม้ไทรจะออกผลค่อนข้างสม่ำเสมอ   แต่มีปัจจัยเรื่องสภาวอากาศ สภาพแวดล้อม เป็นตัวกำหนดครับ ลองหางานวิจัยของพี่พรดูนะครับ น่าจะมี ผมไม่มีในมือตอนนี้
: ficuum
ต้นไทรออกดอกได้ตลอดปีครับ จะออกไปเรื่อยๆ   เวียนกันไป ทิ้งระยะเวลาไม่ค่อยแน่นอนครับ แล้ว  แต่สภาพแวดล้อม
ส่วนเวลาสุกของผล ก็ขึ้นอยู่กับแมลงผสมเกสร (ต่อไทร)   ถ้ายังไม่มีแมลงเข้าผสมเกสร ลูกไทรจะไม่สุก ดอกจะอยู่ในสภาพรอรับการผสมได้ประมาณเดือนนึง ในที่สุดจะร่วงไปเองครับ   ถ้าได้รับการผสมจะสุกในเวลาประมาณสามสัปดาห์ถึงสองเดือน บางต้นจะสุกบางช่อแล้วอาศัยแมลงจากช่อที่สุกเข้าผสมช่อที่ยังไม่ได้รับการผสมภายในต้นนั้นจนสุกทั่วต้นพร้อมๆ   กัน

โดยส่วนมากแล้วต้นไทรจะออกช่อมาก ในฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน (มีนาคม ถึง พฤษภาคม) ส่วนในฤดูอื่นๆ   ก็ออกกันได้ทั่วไป   แต่ไม่เยอะเหมือนหน้าร้อนครับ

ตัวอย่างต้นมะเดื่ออุทุมพร ที่ผมเฝ้าดู เป็นต้นใหญ่มาก (สะสมอาหารไว้เยอะ) ก็ออกได้ตลอดปีสม่ำเสมอ โดยเมื่อผลสุกร่วง ตาดอกใหม่ก็เจริญต่อทันทีบนก้านช่อเดิม (ก้านช่อของมะเดื่อ ความจริงคือกิ่ง สามารถออกดอกได้เรื่อยๆ  )
หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณสองเดือนครับ (มีต้นมะเดื่อชนิดเดียวกันหลายต้นอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่ง  เวียนกันมีช่อสุกตลอดเวลา ทำให้มีแมลงผสมเกสรตลอดเวลาครับ)

ส่วนต้นที่อยู่ในป่า ที่อยู่ห่างไกลกันก็ต้องรอคอยการผสม คงใช้เวลาต่อรอบมากขึ้น หรือต้นขนาดเล็ก ก็ต้องใช้เวลาสะสมอาหารมากกว่าต้นขนาดใหญ่ ต้นที่เป็นไม้พุ่มบางชนิดออกช่อปีนึงครั้ง ถึงสองครั้งเท่านั้นครับ

ข้อมูลนี้ ผมสังเกตได้มาจากการสำรวจ   และเก็บตัวอย่างไทร เป็นเวลาสี่ห้าปีแล้วครับ ยอมรับว่าพืชกลุ่มนี้มีเยอะ   และคีย์ยาก   และมีความแตกต่างกันทั้งทางลักษณะรวมทั้งนิเวศวิทยาของมัน ส่วนใหญ่ก็จะทำได้เฉพาะชนิดที่คอมมอนส่วนชนิดที่ไม่คอมมอนก็ต้องตามหากันยากครับ

Phenology ของพืชสกุลนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นปริศนาอยู่ครับ ต้องอาศัยการเฝ้าสังเกตอย่างจริงจังครับ
 ถ้ามีโอกาสศึกษา ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่องานด้านอื่นๆ   มากครับ ทั้ง อีโค ของป่า สัตว์ป่า หรือแม้  แต่กระทั้งของต้นไทรเอง
...แก้ไขเมื่อ 02 ก.ค. 2552 19:25:14
คนนั้น approve [ 02 ก.ค. 2552 19:22:45 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เห็นด้วยกับ คุณหมีเป้แดง  และคุณ Sakdivijaya  และคุณนกกินเปรี้ยวนะ


1. การเอาต้นไม้หรืออะไรก็ตามเข้าไปปลูกในป่า ไม่ว่าจะเป็นพืชต่างถิ่นหรือพืชพื้นเมือง หรือสัตว์ไปปล่อยในป่าย่อม เกิดส่งผลต่อภาวะสมดุลตามธรรมชาติไม่มากก็น้อย   แต่คงไม่ได้ส่งผลมากมายอะไร   แต่ถามว่าทำไปทำไม  มันไร้สาระมากๆ  ในระยะยาว ผลเสียมีมากกว่าผลดีเสียอีก  เพราะการเพิ่มสมช. เข้าไปในระบบ  ที่มัน อิ่มตัวตามธรรมชาติ ย่อมรบกวนสมดุลตามธรรมชาติ คือระบบ ไม่สามารถรองรับได้มากกว่านั้น  ที่หนึ่งๆ   มีจำนวนรวม เท่ากับ N เสมอๆ  ระบบไม่สามารถรองรับจำนวนสิ่งมีชีวิตมากไปกว่าที่เราเติมเข้าไป  หากมีการเติมเข้าไป มันก็จะมีการแทนที่ อาจจะเรียกว่า Zero sum assumtion ก็ได้ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงในสังคมหนึ่งๆ   จะต้องมีการตาย  ถึงจะมีการเกิด   แต่หากเราดัดแปลงธรรมชาติ คือเกิดเพิ่มขึ้น ย่อมต้องมีผลต่อระบบ เพราะ competition เพิ่มขึ้น  ต้องมีการตายด้วย

แม้ว่าจะไปเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในที่หนึ่งๆ   หรือเรียกว่า แอลฟา Diversity  แต่ในทางกลับกันก็เป็นการทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพโดยรวมในระดับ largescales หรือก็คือ เบต้า Diversity  ซึ่ง อยากให้นักวิชาการป่าไม้ไปอ่านเรื่อง  genetic diversity, community ecologyเรื่อง nich Vs neutral theory, assembly rule , biodiversity, Invasion by Alien species ฯ ลฯ  โดยส่วนตัวคิดว่า สังคมสมช. ในที่หนึ่งๆ ล้วนมีความเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร การที่เราไปเปลี่ยนแปลงมัน  มันจะเป็นการทำลายเอกลักษณ์ที่มีอยู่ แต่เดิมอีกด้วย

2
แต่หากคิดจะทำเกษตรปลูกต้นไม้ ก็ทำไปในอาณาเขตของตัวเอง
อย่างที่คุณนกกินเปรี้ยวว่า
3.  ถ้าใครเคยดูหนัง เรื่อง  คมแฝก หรือ เสาร์ 5 ทุกคนอาจจะเห็นว่า ป่าอะไรมี แต่ต้น กระถินณรงค์กันทั้งป่า  จะเห็นว่าที่ปลูกป่ากันในปัจจุบันได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ระดับ Global scales มากน้อยเพียงใด  เราอยู่รวมกันทั้งโลก  แต่ละที่ก็มีเอกลักษณ์ของมันเอง   แต่ ถ้าเราเอาตรงนั้นมาปะตรงนี้ เอาตรงนี้ไปฟื้นฟูตรงนั้น  โดยภาพรวมกํนเหมือนกับการศัลยกรรม  เปลี่ยนธรรมชาติไปเสียหมด   และที่สำคัญ ทำให้เกิดระบบนิเวศที่มีความคล้ายคลึงกันมาก  ส่งผลให้ มีความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เพราะมี Niche differentiation น้อย
สายเกินไปไหม [ 24 ก.ค. 2552 22:12:28 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org