กระทู้-12579 : น้ำเขียว/น้ำตาลในบ่อเลี้ยงปลา

Home » Board » ปลา

น้ำเขียว/น้ำตาลในบ่อเลี้ยงปลา

วันก่อนล้างกรองบ่อเลี้ยงปลาที่บ้านแล้วพลาดทำกรองน้ำแห้งไป ๒ ชั่วโมงกว่า คิดว่าคงทำแบคทีเรียตายหมด ตอนนี้บ่อเลยเกิดน้ำเขียว/น้ำตาลครับ ปัญหาคือถ้ามันจะเขียวอยู่ตลอดเวลาก็จะได้รู้ว่ามันเขียว แต่บ่อผมนี่ มันเขียวตอนช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า ระหว่างวันก็จะค่อยๆ ใสขึ้นเรื่อยๆ  จนตอนเย็นหัวค่ำน้ำจะใส และให้ความหวังมากว่ามันหายแล้ว แต่พอเช้าขึ้นมาน้ำก็กลับไปขุ่นเขียว/น้ำตาลอีก คำถามครับ:

แพลงตอนพืชหรือสัตว์อะไรที่มีพฤติกรรมแบบที่กล่าวถึงมานี่บ้างครับ?  คือผมเข้าใจมาตลอดว่าถ้าน้ำเขียวมันก็เขียวตลอด  และจะเขียวหนักในช่วงกลางวันเนื่องจากเป็นช่วงที่มีการสังเคราะห์แสง และเติบโต แต่ที่เกิดในบ่อตอนนี้มันกลายเป็นใสกลางวันขุ่นตอนหัวค่ำ และเช้า ซึ่งเกินความรู้ และความเข้าใจผมไปแล้ว  ท่านใดพอจะมีความรู้หรือประสพการณ์รบกวนด้วยครับ เพราะกำลังกลุ้มมาก ไม่รู้จะจัดการกับมันยังไงดี ตอนนี้สิ่งที่ทำคือ

1. เติมเชื้อแบคทีเรีย อัดลงไปแล้วทั้งแบบน้ำ และแบบผง
2. เตรียมน้ำ และล้นน้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
3. เย็นนี้จะติดหลอด UV ในระบบกรอง

คิดว่าคงจะแก้ปัญหาได้ แต่ก็ยังข้องใจอยู่ดีว่ามันคืออะไร

ข้อมูลบ่อเพิ่มเติมครับ
1. บ่อปูน ปริมาณน้ำประมาณ 5 ตัน แบ่งเป็นบ่อเลี้ยงปลาประมาณ 2.7 ตัน ที่เหลือเป็นระบบกรอง
2. ปลาขนาดประมาณคืบกว่าๆ จำนวน 30 ตัว ก่อนที่จะล้างบ่อกรองแล้วทำแห้งไป ไม่เคยมีปัญหาน้ำเขียวครับ
...แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 2552 15:31:40
นณณ์ approve [ 13 ก.ค. 2552 15:29:26 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ลักษณะที่บอกมาน่าจะเป็นกลุ่มที่ มี Cilia หรือ Flagella เป็นพวกกึ่งพืชกึ่งสัตว์ คือเคลื่อนที่ได้ และสังเคราะห์แสงได้ อาจเป็นพวก ยูกลีนา ครับไม่ฟันธงกลัวธงหัก
ผมว่าลองเอาน้ำสัก 2-3 ลิตร ไปกรองด้วยถุงกรองแพลงตอน แล้วส่องดูครับอยู่ในกทม. ไม่น่าจะยาก ไปในเกษตรที่คณะประมงหรือที่กรมประมงก็ได้ครับเมื่อรู้ชนิดแล้วคงแก้ไขได้บ้างครับ
ช้าง [ 13 ก.ค. 2552 16:48:46 ]
ความคิดเห็นที่: 2
พวกกลุ่มกึ่งสัตว์กึ่งพืชนี้ จริงๆ สวยนะครับ น่าจะหากล้องมาถ่ายภาพไว้ อิๆ
กลุ่มนี้มีเอยะเลยนะ เรียนมาก็คืนจารย์ไปหมดแล้ว
Paphmania approve [ 13 ก.ค. 2552 21:50:23 ]
ความคิดเห็นที่: 3
กำจัดได้ด้วย UV ไหมครับ ตัวที่ว่านี่?
นณณ์ approve [ 13 ก.ค. 2552 22:07:38 ]
ความคิดเห็นที่: 4
UV ไม่ใช่ทางออกเสมอไปนะครับพี่ บางที่มันอาจไปทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชด้วยซ้ำไป
ประสิทธิภาพของแสง UV จะผ่านชั้นน้ำเฉลี่ยได้ไม่เกิน 2 นิ้วเท่านั่นครับ

ดังนั้นพวกกระบอก UV สีดำๆ  เขาจึงดีไซด์ใ้ห้มีขนาดเล็ก  และใ่ส่หลอด UV ไปตรงกลางอ่ะครับ
การใช้หลอด UV ขึ้นกระปัจจัยหลายด้าน ทั้งอัตราการไหลของน้ำผ่านหลอด อนุภาคที่มีอยู่ในน้ำ ร่วมถึงอายุการใช้งานที่จะมีผลต่อความเข้มแสงอ่ะครับ

พูดแล้วยาวเรื่องพวกนี้ หุๆ
ถ้ามาแนว Marine System พูดกันยาว (ผมได้ไปอ่านเปเปอร์มาเยอะ หุๆ )  - -"
ปล. อ่านไม่เท่าไร ตอนอยู่ตรัง ดันไปลองผิดลองถูกกันจนหมดตูด หุๆ   -*-
aqueous_andaman approve [ 13 ก.ค. 2552 22:24:53 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ทราบครับว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุด้วย อย่างที่บอกว่าจริงๆ ระบบกรองมันเอาอยู่  แต่ทะลึ่งไปทำมันตายเอง อารมณ์ตอนนี้มันแค้นครับ นอกจากทำให้อดอยากแล้วต้องฆ่าให้ตายด้วย ถึงจะสะใจ!!!!  จริงๆ วันนี้ซื้อไรแดงมาถุงนึง ยังกะว่าจะปล่อยลงไปกินมันให้หายแค้น  แต่ก็นะ...กลัวโรค เหอ เหอ  

เชิญน้อง a_a มาแก้น้ำเขียวที่บ้านหน่อยดิ แก้ได้เลี้ยงข้าวอ่ะ!!!
นณณ์ approve [ 13 ก.ค. 2552 22:41:53 ]
ความคิดเห็นที่: 6
รีบไปเลย เอ-เอ  ทำทีเป็นแก้อยู่สักเจ็ดวัน
mim approve [ 14 ก.ค. 2552 15:25:18 ]
ความคิดเห็นที่: 7
: mim
รีบไปเลย เอ-เอ  ทำทีเป็นแก้อยู่สักเจ็ดวัน


สงสัยจะอดข้าวทั้ง 7 วันนะครับ เพราะคุณนณณ์บอกว่าต้องแก้ได้ก่อนถึงจะเลี้ยง
ลำพะเนียง approve [ 14 ก.ค. 2552 15:45:31 ]
ความคิดเห็นที่: 8
สรุปคือ ความหลากหลายในบ่อไม่เพียงพอจึงทำให้น้ำเขียวเกิดขึ้นได้อย่างอิสระครับ  ถ้ามีจุลินทรีย์มาแย่งอาหารด้วย ก็จะทำให้เกิดน้ำเขียวน้อยลง ที่เช้าเย็นมันตกตะกอนเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้วครับ พวกนี้มันจะเจริญเติบโตไม่ดี ถ้าอากาศเย็น ดังนั้นช่วงดึกๆ มันจะเริ่มตาย แล้วช่วงเช้าก็งอกมาใหม่ ถ้าแสงแดด และอุณหภูมิถึง

พวกน้ำเขียวจะใช้ potassium permanganate เจือจางใส่ลงได้น้ำ มีประสิทธิภาพมาก  แต่ ถ้าใช้ไม่ระวัง จะทำให้น้ำไม่มีอ๊อกซิเจน จึงต้องใช้เวลาที่มีอากาศหรือน้ำเย็น เพราะอ๊อกซิเจนจะละลายในน้ำได้มากกว่าปกติ

ส่วนพวกพืชติดวัสดุอาทิ น้ำเขียว ตะไคร่น้ำ สาหร่ายเส้นผม ใช้ copper sulfate

แต่พวกนี้มันจะทำให้น้ำไม่มีอ๊อกซิเจนด้วย ต้องระวังมากครับ ส่วนใหญ่ ถ้าใส่ผิดขนาดปลาตายหมดครับ เพราะไม่มีอ๊อกซิเจน

ลองโยนน้ำแข็งลงบ่อตอนกลางวันๆ  แล้วใส่ EMตอนกลางคืน(พวกนี้ไม่ทนแดด) พร้อมเป่าอ๊อกซิเจนแรงๆ  ติดกัน 3 วัน แล้วปิดฝาบ่อสัก 3/4 ของทั้งหมด

สารเคมี ถ้าจะใช้ต้องมีความชำนาญมากครับ

ถ้าไม่มั่นใจ  และหาฝาปิดแสงไม่ได้ ให้ใช้ไข่ผำ หรือ แหนเป็ด โรยให้ทั่วบ่อเพื่อดึงสารอาหารกลับมาให้หมด  และลอยคลุมผิวน้ำเพื่อบังแสงแดดให้ทั่วจนน้ำใสแล้วตักออกครับ วิธีนี้ไม่ต้องใช้สารเคมี ต่างประเทศจะนิยมใช้มาก แล้วปลาบางชนิดก็กินด้วยเหมือนกัน  แต่ต้องเป่าอ๊อกแรงๆ หน่อย ระบบกรองยังไม่ต้องสนครับ 7 วันน้ำใสแน่ ยิ่งใส่เยอะยิ่งใส

algaecide คือสารหรืออะไรก็ตามที่ควบคุมพวกน้ำเขียวหรือแพลงค์ตอนได้ครับ


แบบนี้ผมจะได้กินข้าวฟรีไหมครับ ^^
...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2552 16:35:48
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 16:33:22 ]
ความคิดเห็นที่: 9
http://www.gardenadvice.co.uk/howto/water/greenwater/index.html

ใช้เสร็จแล้ว ไข่ผำ หรือไข่น้ำยังเอามาทอดไข่เจียวได้ด้วยนะครับ ส่วนแหนเป็ดอย่ากินนะคร้าบ

ไข่ผำก่อนเอามาใช้  ถ้ากลัวอันตรายลองแช่น้ำด่างทับทิมสัก 1 คืนดูครับ ฟอร์มาลีนเจือจางก็ได้  แต่เรื่องสารเคมีมันอันตรายมากครับ ตวงไม่ถูกก็ตายยกบ่อนะครับ

 ถ้าอยู่กทม ไข่ผำน่าจะหาซื้อได้ที่ ตรงข้ามพพธภเด็กนะครับ รู้สึกจะมีขายที่ร้านปลากัดครับ ถุงละ 20
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 16:44:12 ]
ความคิดเห็นที่: 10
^
^
^ ได้ข่าวว่า potassium permanganate มันช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนไม่ใช่หรือครับ??  ^__^
aqueous_andaman approve [ 14 ก.ค. 2552 17:31:05 ]
ความคิดเห็นที่: 11
 ถ้าใช้ผิดขนาด และอุณหภูมิน้ำมันจะทำให้กลายเป็นน้ำสีเหลืองแล้วปลาจะขาดอากาศคร้าบ  และปลาหลายชนิดก็แพ้สารตัวนี้ด้วย

หลักการทำงาน และการอธิบายที่ผมกล่าวมาทั้งหมดอยู่ในรายงานนี้แล้วครับ

http://aquanic.org/species/ornamentals/documents/permanganate.pdf

ปล.ผมพึ่งรู้นะเนี่ยว่าด่างทับทิมมันช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนได้ด้วย ขอบคุณมากครับ สงสัยผมจะได้รับข่าวล่าช้า
วันหลังผมจะได้ใช้ด่างทับทิมแทนสารเพิ่มอ๊อกซิเจนคร้าบที่บ้านมีอยู่ขวด 1 ไม่ค่อยได้ใช้สักที ^^

 ** ด่างทับทิม(Potassium permanganate,KMnO4) เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผลึกสีม่วงเข้ม เป็นเงาเหมือนโลหะปราศจากกลิ่น เมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายสีม่วงหรือชมพูอมม่วง มีประสิทธิภาพต่างๆ ดังนี้ - ใช้ในการกำจัดปรสิตภายนอกในบ่อปูนหรือบ่อดินที่น้ำใส ใช้ในอัตรา 2-4 พีพีเอ็ม(ส่วนในล้านส่วน) แช่ตลอด - ใช้ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กระชอน สายยาง ใช้ในอัตรา 20 -25 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) แช่นาน 24 ชั่วโมง - ใช้ในการกำจัดปรสิต เชื้อรา  และแบคทีเรียในอาหารสัตว์น้ำมีชีวิต เช่นลูกไร ลูกน้ำโดยการแช่ในสารละลายด่างทับทิมเข้มข้น100 - 150 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) นาน 3 - 5 นาที - ใช้ลดปริมาณแพลงตอน และสารอินทรีย์ในน้ำ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับความเข้มสีน้ำ  ถ้าน้ำสีเข้มมาก ต้องใช้ในปริมาณที่สูงขึ้น - สามารถใช้ลดความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่า(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) และโล่ติ๊น -

ข้อควรระวังในการใช้ด่างทับทิม -

 ไม่ควรใช้เพื่อเพิ่มออกซิเจนในบ่อปลา - ไม่ควรใช้ร่วมกับฟอร์มาลิน -

 ****เนื่องจากด่างทับทิมสามารถฆ่าแพลงตอนได้ จึงมีผลทำให้เกิดการลดออกซิเจน******
ในน้ำโดยทางอ้อม คือด่างทับทิมมีผลทำให้แพลงตอนตาย และเกิดการเน่าเสียของแพลงตอน -


ไม่ควรถูกผิวหนังของผู้ใช้โดยตรง - ควรเก็บด่างทับทิมในสถานที่ที่ไม่ถูกแสง ด่างทับทิม ( KMnO4 ) โปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต ; (POTASSIUM PERMANGANESE)สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง สารที่มีรูปร่าง  และปริมาตรคงที่ โมเลกุลของสารจะอยู่ชิดกัน  และยึดกันแน่น เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากที่สุด  ถ้ากินเกร็ดหรือน้ำด่างทับทิมเข้มข้นจะทำให้กัดเนื้อเยื่อในปาก กล่องเสียงบวม ชีพจรเต้นช้า และช็อก เป็นตัวออกซิไดซ์อย่างแรง สามารถฆ่าเชื้อโรค และแบคทีเรียต่างๆ ได้ ด่างทับทิม เป็นออกซิไดส์ซิงเอเจนท์ชนิดหนึ่ง จึงสามารถ กำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ  และกำจัดเชื้อโรค ต่างๆ ได้แทบทุกชนิดในน้ำ ไม่เหมาะกับการนำมาใช้รักษาปลาที่ป่วย  แต่เหมาะในแง่การแช่เพื่อการป้องกันโรค  และการฆ่าเชื้อต่างๆ  มีความเป็นพิษต่ำ ราคาถูก จึงเหมาะกับการแช่รักษาปลาในบ่อใหญ่ๆ จะคุ้มค่ากว่าใช้ยาแพงๆ  หรือล้างวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาต่างๆ  เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการฆ่าเชื้อในอาหารสดสำหรับเลี้ยงปลาทุกชนิด รวมทั้งปลาเหยื่อเป็นๆ ด้วย **

http://rldc.anamai.moph.go.th/rboard/Question.asp?gID=190
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 19:31:09 ]
ความคิดเห็นที่: 12
****เนื่องจากด่างทับทิมสามารถฆ่าแพลงตอนได้

^
^
^
^ อีกนิดนะครับ  -*-

มันไม่ได้ฆ่าแพลงตอนได้นะครับ มันแค่เป็นผลทางอ้อม  คือ ด่างทับทิมเมื่อมันละลายน้ำ ทำให้เกิดสีน้ำ จากสีน้ำของด่างทับทิมนี้หละ มันไปบดบังการสังเคราะห์ด้วยแสงของแพลงตอนพืช ทำให้แพลงตอนตายครับ  (อาศัยตัวด่างทับทิมเองไม่ได้ฆ่าแพลงตอนได้ครับ)

ส่วนการใช้ด่างทับทิมในบ่อใหญ่ ในการรักษาหรือฆ่าเชื้อจะไม่ได้ผลครับ เนื่องจากปฎิกริยากับสารแขวงลอยที่มีอยู่ในน้ำ + กับความต้องการ PPD ของน้ำในบ่อ  (ทำให้ใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควรครับ) จึงไม่นิยมใช้  

 และราคาค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับสารเคมีตัวอื่นๆ
aqueous_andaman approve [ 14 ก.ค. 2552 20:05:03 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ครับผม เอาเป็นว่าตายเหมือนกันก็แล้วกันนะครับ

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ ^^
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 20:16:34 ]
ความคิดเห็นที่: 14
4kmnO4
 2k2MnO3  +2 MnO2  +  3O2    ที่ อุณหภูมิ > 200 c

2KMnO4
K2MnO4 + MnO4 + O2                 ที่ อุณหภูมิ < 200c
akekalak approve [ 14 ก.ค. 2552 20:20:39 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ขอบคุณ คุณake สำหรับข้อมูลครับ  แต่เราไม่ได้ดูเรื่องอ๊อกซิเจนจากปฏิกิริยาอย่างเดียวครับ ดูที่ปฏิกิริยาโดยอ้อม ลูกโซ่  และสภาพแวดล้อมด้วยครับ ตามที่ผมอธิบายไว้ทั้งหมดแล้ว

ขอบคุณมากครับ
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 20:37:36 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ขอบคุณทุกความเห็นครับผม จะเก็บไว้เป็นความรู้ และนำมาใช้ในยามจำเป็น ส่วนวันนี้กำจัดน้ำเขียวไปแล้วด้วยวิธีชั่วคราว (วิธีแรก และวิธีสุดท้ายในการกำจัดน้ำเขียวที่คิดได้) คือไหนๆ กรองมันก็ล่มแล้วก็จับออกมาล้าง ถ่ายน้ำหมดเริ่มใหม่กันเลย ช่วงนี้คงต้องให้อาหารปลา แต่เบามือ  และได้ใช้UV ช่วยป้องกันการเกิดซ้ำของแพลงตอนพืช (บ่อ 5 ตันใช้ UV 20 W น่าจะพอนิ) ใส่ไว้ในกรองช่องสุดท้าย ก็หวังว่าคงจะจัดการกับปัญหาได้ในระดับที่น่าพอใจ แหมมันแค้นนนนนนนนนน

ความรู้กันแน่นปึ๊กแบบนี้ถามต่อเลย ที่ว่ามอง UV แล้วตาจะเป็นต้อมันต้องมองนานแค่ไหน ที่ความเข้มแสงขนาดไหนครับ?
นณณ์ approve [ 14 ก.ค. 2552 21:03:45 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับคุณ tinyworms


เพิ่มเติมอีกนิดนะ
ในเรื่องของKMnO4 กับการเพิ่ม O2 ในน้ำนั้นโดยปฏิกริยาไฮโดรไลซิส
4 KMnO4 + 2 H2O ผลที่ได้คือ 4 KOH + 4 MnO2 + 3O2
แต่...
การเพิ่ม O2       1 mg/L  ต้องใช้ด่างทับทิม 6.6 มิลลิกรัม/ลิตร ดังนั้นการใช้KMnO4 เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่ม O2 นั้นจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก จนอาจเป็นอันตรายต่อปลาได้ครับ

การจะ Input อะไรก็แล้ว แต่ลงในระบบ ต้องระวังนะครับ

ดังนั้น KMnO4สามารถเพิ่ม O2 ได้เช่นกันครับ

                                           .................................................................ด้วยความเคารพ
akekalak approve [ 14 ก.ค. 2552 21:05:40 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ด้วยความเคารพเช่นกันครับคุณ akekalak

เรื่องหลอด UV นี่ก็ไม่เคยลองกับตัวครับ  แต่มีคนรู้จักเขาไม่มีความรู้เรื่องนี้ แล้วเขาเก็บหลอดไฟได้จากที่ทิ้งของเก่าครับ เขาเห็นยังใช้ได้เลยเอาไปติดที่ห้องของแม่ครับ สีไฟม่วงๆ แปลกตาดี  แต่ติดไปไม่กี่วัน ซึ่ง ผมก็ไม่ทราบแน่ชัดว่ากี่วันนะครับ แม่เของเขาตาบวมแดงเป่ง  และแฉะ ตัวคล้ำทั้งตัว เขาเลยคิดว่าน่าจะเกิดจากหลอดนี่เลยรีบถอดออกทันที

ส่วนตัวผมเคยได้ยินว่าโดนแล้วเป็นหมันเลยไม่กล้าโดนครับ ไม่รู้ต้องความเข้มเท่าไหร่

เผื่อใช้เป็นข้อมูลได้ครับ เพราะผมก็ไม่เคยลองกับตัว  แต่คาดว่าหลอดที่เก็บได้คงเป็นหลอดที่ใช้ฆ่าเชื้อในห้องแลปครับ

ส่วนหลอดUV สำหรับปลานี่ไม่ทราบครับ
tinyworms approve [ 14 ก.ค. 2552 21:15:45 ]
ความคิดเห็นที่: 19
แน่ใจป่าวไผ่ ที่ว่า ด่างทับทิม ฆ่าแพลงตอนไม่ได้
มันก็ oxidizing agent นะ คลอรีน โอโซน ยังฆ่าได้เลย  ไอ้นี่ก็น่าจะได้นะ  ถ้าเข้มข้นพอ หรือนานพอ

แต่ช่วงทำวิจัย ป โท ก็สารพวกนี้หละ  แต่เป็น เฟอร์เรต ตอนนั้นไปเกี่ยวกับประปาด้วย เลยไม่ได้เน้นรีวิวพวกด่างทับทิมเท่าไร

แล้วมันเลือกทำปฏิกิริยาไหม


พี่นณณ์ ลองตามด้วยไอเดีย ปลูกแหน ของคุณ tinyworms ก็เข้าท่าทีนะครับ
GreenEyes approve [ 14 ก.ค. 2552 21:53:19 ]
ความคิดเห็นที่: 20
UV อันตรายอยู่นะครับ
ปกติแล้ว จะเปิด UV ในกล่องที่ปิดมิดชิดเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอะไรในนั้น   เอามาติดห้องแล้วสัมผัสกับมันอันตรายครับ

UV ก็เป็นกลไกออกซิเดชันเช่นกัน ผิวไหม้ ตาไหม้ ครับ คล้ายโดนแดดแรงๆ
ส่วนเป็นหมัน ก็เป็นที่รุ้กันในแลปครับ  แต่ไม่แน่ใจว่าต้องแค่ไหน แค่บอกว่า หมัน ท่านชายก็หลีกหนีกันหมดแล้ว 555
GreenEyes approve [ 14 ก.ค. 2552 21:59:30 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ปลูกแหนไม่กล้าครับ

1. ระบบบ่อน้ำไหลวนรุนแรง แหนคงไม่สามารถลอยตัวทรงอยู่ได้อย่างปกติสุข
2. เอาแหนมาก็มีโอกาสติดอะไรมาด้วยก็ไม่รู้ ปลาคาร์พขี้โรคน่าเบื่อมากๆ ครับ  
3. แหนตายจะกลายเป็นเพิ่มปริมาณของเสียในน้ำอีกครับ
4. ผมว่าปลาคาร์พมันต้องกินแหนแน่ๆ เลย ยิ่งโดนอดอาหารมาหลายวันเพราะน้ำเขียวเนี๊ย

จริงน่าลุ้นกว่าอาจจะเป็นผักตบชวา ใหญ่ดี  ถ้าไม่งั้นก็ต้องทำระบบกรองแบบปล่อยไหลท่วมพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่ง ก็คงสนุกไปอีกแบบเหมือนกัน
นณณ์ approve [ 14 ก.ค. 2552 22:16:18 ]
ความคิดเห็นที่: 22
: GreenEyes
แน่ใจป่าวไผ่ ที่ว่า ด่างทับทิม ฆ่าแพลงตอนไม่ได้ มันก็ oxidizing agent นะ คลอรีน โอโซน ยังฆ่าได้เลย  ไอ้นี่ก็น่าจะได้นะ   ถ้าเข้มข้นพอ หรือนานพอ


ฆ่าไม่ได้ครับ เพราะในน้ำส่วนใหญ่มีค่า PPD มากกว่าที่จะใช้ฆ่าแพลงตอน
เคยทดลองเกี่ยวกับ ด่างทับทิมอยู่ 2-3 เดือน ทำทุกอย่างเลยพี่ แม้กระทั่งพิษเฉียบพลัน
aqueous_andaman approve [ 14 ก.ค. 2552 22:21:21 ]
ความคิดเห็นที่: 23
อย่าลืมนะว่าพืชมี Cell Wall กว่าพืชจะตาย คิดว่าสัตว์จะตายก่อนหรือป่าว??
...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2552 22:23:57
aqueous_andaman approve [ 14 ก.ค. 2552 22:22:31 ]
ความคิดเห็นที่: 24
ผมขอเพิ่มข้อสงสัยเรื่องการขัดขวางการสังเคราะห์แสงของพืชนิดนึงครับ  ถ้าใส่ด่างทับทิมเจือจางจะมีผลทำให้ขัดขวางการสังเคราะพ์แสงได้จริงหรือ ในเมื่อผู้ใช้ไม่มีทางใส่ด่างทับทิมเข้มข้นขนาดนั้นอยู่แล้วเพื่อกำจัดแพลงค์ตอนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมโดยไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลาก็ตาม เพราะ ถ้าแสงผ่านลงไปชั้นล่างจนเห็นน้ำสีม่วงภายในข้างใต้ของชั้นน้ำได้ นั่นหมายความว่าแสงผ่านลงไปได้ ยกเว้น แต่แสงสีม่วงที่สะท้อนออกมาซึ่ง เป็นไปตามกฏของฟิสิกส์

      ถ้าจะขัดขวางการทำงานของระบบสังเคราะห์แพลงค์ตอนจริงต้องใช้ในปริมาณมาก มากจริงๆ   และ ถ้าหากบอกว่ามันออกซิไดซ์ชั้นcell wall ไม่ได้ แล้วทำไมวิธีนี้ยังมีคนใช้กำจัดน้ำเขียวอยู่ ซึ่ง สิ่งที่ผมมองว่าเป็นไปได้ในการทำงานทางอ้อมคือการไปจับตัว และอ๊อกซิไดซ์กับสารแขวนลอย และอินทรีย์สาร ทำให้แพลงค์ตอนพืชขาดสารอาหารมากกว่า

จากรายงานส่วนหนึ่งเขียนไว้ว่า
Potassium permanganate (KMnO4) is an
oxidizing agent that has been used for many years in
aquaculture. It is also used in water conditioning
systems and in the plumbing industry. As an
oxidizer, ****it is able to chemically "burn up" organic
material.****
This includes undesirable organic matter

จากที่ผม * ไว้ นั่นแสดงให้เห็นว่าPotassium permanganate นั้นน่าจะเข้าไปทำลายอินทรีย์สาร ส่งผลทำให้แพลงค์ตอนพืชขาดสารอาหารมากกว่า(หรืออาจมีผลกับจุลินทรีย์ทำให้ไม่ได้สารอินทรีย์ที่ต้องการ หรือสารผระกอบเปลี่ยนรูปใดๆ ก็แล้ว แต่) ไม่ว่าสารนั้นจะถูกจับจนตกตะกอน หรือมีผลกระทบลูกโซ่อย่างไร

สองอย่างนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ทำงานร่วมกันก็ได้ เพราะแพลงค์ตอนก็มีวันตายได้เหมือนกันทุกวัน

Because potassium permanganate is deactivated
by organic matter, it may be necessary to increase the
amount added to ponds or other systems where
organic material has been allowed to accumulate. A
safe way of accomplishing this is to add potassium
permanganate to the system in 2 mg/L increments. If
water color changes from purple to brown in less than
four hours from the start of the first treatment, an
additional 2 mg/L should be added. If a total
application of 6 mg/L potassium permanganate does
not result in maintenance of the purple color for at
least four hours, the system should be cleaned. Most
of the organisms that are treated with potassium
permanganate thrive in an organically rich
environment; therefore, improved sanitation can have
a tremendous impact on treatment efficacy.

จากข้างบนก็บอกตรงตัวแล้วว่าใช้ได้ผลกับการควบคุมสารอินทรีย์ในบ่อน้ำจริงๆ

รายงานที่ผมเอามาให้อ่านนั้นไม่ได้เอามาลงทิ้งไว้เฉยๆ  แต่ผมอ่านมาแล้วทุกบรรทัดก่อนลงนะครับ

 แต่เรื่องแสงผมเห็นด้วยนะครับ  แต่ ถ้าใช้อแบบเจือจางเพื่อควบคุมสารอินทรีย์บางส่วนไม่จำเป็นต้องใช้เยอะขนาดว่าปลาจะต้องตาย

ไม่งั้นคงไม่มีใครมาใช้ควบคุมน้ำเขียวแน่นอนครับ ถ้าอันตรายโดยควบคุมไม่เป็น
tinyworms approve [ 15 ก.ค. 2552 10:39:31 ]
ความคิดเห็นที่: 25
ถกกันด้วยวิชาการ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้แจ่มมากครับท่าน คนถามอ่านแล้วชื่นใจ

ตกลงว่า ถ้าจะฆ่าเชื้อโรคนี่ต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ต่อตันน้ำครับ?  
แล้วที่ว่ากำจัดอินทรีย์สารนี่มันกำจัดแบบ อ๊อกซิไดซ์หายไปเลย หรือว่ามันกำจัดแล้วมันกลายรูปไปเป็นอะไรครับ?  
แล้วด่างทับทิม ถ้าใส่ลงไปตรงๆ ในบ่อเป็นอันตรายบ่อแบคทีเรียดีๆ ในระบบกรองไหมครับ?  
แล้วก็มันเป็นอันตรายต่อตะไคร่ที่เกาะอยู่ตามผนังบ่อไหมครับ?(ตะไคร่ผนังบ่อชอบนะ เอาไว้ให้ปลาตอดกินเล่นไม่อยากให้มันตาย)
นณณ์ approve [ 15 ก.ค. 2552 11:03:01 ]
ความคิดเห็นที่: 26
น้ำ 50 ตัน มี 58,823.52941 ลิตร

ความเข้มข้นที่ปลอดภัยที่สุด PPM 1 mg/L
แรงมาหน่อย 2 mg/L
แรงสุดๆ  สะอาดสุดๆ   และอันตรายสุดๆ  น้ำสีม่วงเกิน 4ชม 6 mg/L

ทำความสะอาดแบบแช่
10 mg/L แช่ 30-60 นาที
500 mg/L แช่ 60 วินาที

แบคทีเรียตายหมดครับ  แต่ ถ้าทำปฏิกิริยาเรียบร้อยแล้ว ควรจะเกิดขึ้นมาใหม่

ตะไคร่น้ำคงต้องการสารอาหารน้อยกว่าน้ำเขียวนะครับ ปกติน้ำเปล่าตากแดดก็มีตะไคร่แล้ว คาดว่าไม่มีผลต่อตะไคร่เท่าไหร่

สสารในโลกนี้ไม่หายไปไหนครับ กลายรูปเป็นอะไร รอผู้ที่เก่งเคมีอินทรีย์มาตอบดีกว่าครับ เพราะในน้ำ ไม่ได้มีอินทรีย์สารหรือสารอื่นๆ แค่ 1 ชนิด มีอีกนับร้อย  และรวมถึงแพลงค์ตอน จุลีนทรียต่างๆ ที่เป็นสารประกอบเคมีที่มีชีวิต จะให้บอกปฏิกิริยาทั้งหมด คงไม่ไหว เพราะห้องทดลองมันมีระบบปิด  แต่นอกระบบมีสารเยอะแยะมากมาย จะให้คาดเดาเหมือนในแลปได้เป๊ะๆ นั้นยากมาก

ถ้าผมจะบอกว่าสมัยก่อนการจัดหมู่ และสารอาหารมีแค่ 5-6 ชนิด ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว มีคอลลาเจน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีนู่นมีนี่เยอะแยะ เจอสาร และคุณสมบัติใหม่ๆ มากมาย ก็คงจะคล้ายๆ กันน่ะครับ
tinyworms approve [ 15 ก.ค. 2552 22:31:47 ]
ความคิดเห็นที่: 27
 ถ้าจะใช้จริงๆ ผมแนะนำว่าน้อยกว่า 1mg/L ดีกว่า ถ้าจะแค่ป้องกันน้ำเขียว เวลาใส่อย่าใส่ที่เดียวกันครับ กระจายๆ  ไม่งั้น ถ้าใส่กระจุกที่เดียว แล้วความเข้มข้นยังไม่ทั่วถึง อาจอ๊อกซิไดซ์ปลาแทนได้ครับ

แล้วก็ใช้รักษาโรคอิ๊คไม่ค่อยได้ผลนะครับ เพราะมันฝังใต้ผิวหนังปลาครับ
...แก้ไขเมื่อ 15 ก.ค. 2552 22:58:04
tinyworms approve [ 15 ก.ค. 2552 22:50:53 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ผมว่าให้ความหนาแน่นเป็น 1 kg/L จะใกล้เคียงกว่านะครับ 50 ตัน ก็ 50,000 ลิตร (อุณหภูมิบ้านเรา)
 แต่เรือ่งของเรื่องพี่นณณ์วัดจากปริมาตรอยู่แล้วนี่ ไม่ได้เปลี่ยนจากหน่วยน้ำหนักมาเป็นปริมาตร
พี่ลองวัดให้มั่นๆ  อีกสักรอบละกันนะพี่

ผมขอถามเพิ่มเติมแทนพี่นณณ์หน่อยครับว่า ใส่ ด่างทับทิม ทั้งบ่อเลี้ยงปลา  และ บ่อกรอง
หรือว่า แค่ตรงบ่อเลี้ยงปลาครับ    

กลัวว่าใส่ในบ่อกรองชีวภาพด้วย ระบบกรองจะพังหมด ??
...แก้ไขเมื่อ 16 ก.ค. 2552 11:35:21
GreenEyes approve [ 16 ก.ค. 2552 11:33:05 ]
ความคิดเห็นที่: 29
1 kg/L เป็นวิธีวัดจากน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 C ครับ  ถ้าน้ำประปาก็จะต่างไปอีก น้ำบ่อก็ยิ่งต่างไปอีก บางที ถ้าปลาตัวใหญ่ต้องหักลบน้ำหนักปลาอีก

ถ้าเราเอากระบอกตวงไปตวงน้ำกลั่น กับน้ำประปามาในปริมาณ ccที่เท่ากัน น้ำหนักที่ได้ก็จะต่างกันอยู่ดีครับแม้ว่าอุณหภูมิเท่ากัน  แต่ต่างกันเล็กน้อยมากๆ

แต่ 1kg/L ก็น่าจะเหมาะสมที่สุด  และป้องกันความสับสนได้มากที่สุดแล้วครับ

ถ้าจะฆ่าเชื้อโรค และปรสิตอาจจะต้องใส่ลงบ่อกรองด้วย  แต่ ถ้าน้ำเขียวคงไม่จำเป็นเท่าไหร่ครับ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้มากกว่า

แต่อย่างไรแล้วผมเห็นว่าวิธีเอาพืชไปลอยเพื่อควบคุมน้ำเขียวเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุดครับ  ถ้าเอาพืชนั้นไปแช่ฆ่าเชื้อก็จะปลอดภัยกว่าครับ
...แก้ไขเมื่อ 16 ก.ค. 2552 13:55:56
tinyworms approve [ 16 ก.ค. 2552 13:54:04 ]
ความคิดเห็นที่: 30
แสดงว่าระบบไม่ไหลเวียนน้ำซิครับถึงเขียว..เพิ่มขนาดปั๊มน้ำให้ดูดได้ดีกว่าเดิม.. และบ่อคงถูกแดดมากไปหน่อย
การแก้น้ำเขียวผมว่าด่างทับทิมดีที่สุดถูกดี..
Fisher approve [ 16 ก.ค. 2552 21:44:00 ]
ความคิดเห็นที่: 31
สู้ต่อไปครับพี่เป็นกำลังใจให้
akekalak approve [ 16 ก.ค. 2552 22:00:44 ]
ความคิดเห็นที่: 32
ด่างทับทิมเอาไว้ฆ่าเชื้อโรคเวลามีปลาใหม่เข้าบ้านครับ ไม่ได้จะเอาลงบ่อ วันนี้สั่งของได้หมดแล้วครับ ด่างทับทิม มาลาไคท์กรีน  และ ฟอร์มาลีน

ส่วนบ่อตอนนี้อย่างที่บอกครับว่าน้ำหายเขียวแล้ว ใสปิ๋งๆ  ล้างมันใหม่หมดเลย แล้วช่วงนี้ก็ให้อาหารน้อยหน่อยครับ เมื่อวานเช็คค่าไนเตรทยังปกติดี ตอนแรกว่าจะซื้อชุดตรวจแอมโมเนียมาด้วย แต่มันแพงแท้
นณณ์ approve [ 17 ก.ค. 2552 00:14:37 ]
ความคิดเห็นที่: 33
เหมือนบ่อหลังร้านผมเลย ตอนเช้าน้ำดำๆ  กลางวันน้ำเขียวๆ  

ตอนนี้กำลังบำบัดโดยใช้ EM อยู่ครับ

น้องบอกมาว่าให้เอาน้ำนั้นมาขันนึง มาหมัก EM เพื่อเพาะเชื่อจุลลินทรีในน้ำให้แข็งแรง แล้วเทกลับลงไปบำบัดครับ
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 17 ก.ค. 2552 08:50:41 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org