กระทู้-12619 : รบกวนถามเรื่องหมึกหน่อยค่ะ

Home » Board » หอย

รบกวนถามเรื่องหมึกหน่อยค่ะ

การมองเห็นของหมึกกับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไรคะ
bangon approve [ 19 ก.ค. 2552 15:28:20 ]
ความคิดเห็นที่: 1
มีไฟล์เอกสารโหลดมาจากเวบอยู่บ้างครับ  
รบกวนส่งเมล์ของคุณ bangon ให้ผมด้วย  ผมจะส่งไปให้นะครับ
ครูนก.. approve [ 21 ก.ค. 2552 06:45:08 ]
thammaratnd@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 2
เข้าใจว่ากำลังถามถึงปลาหมึกนะครับ  ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย

คำถามแบบนี้ตอบยากนะครับ เพราะมนุษย์ไม่ใช่ปลาหมึก (ฮา ฮา)  และคงจะตอบฟันธงแทนมันไม่ได้

จากลักษณะโครงสร้างของตา  และจากผลการศึกษาทางกายวิภาค สรีรวิทยา  และพฤติกรรม คงพอบอกได้ว่า

โครงสร้างตาของปลาหมึก ใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นมนุษย์
จึงน่าจะเห็นภาพจริง (real image) ได้เช่นกัน  และพบว่าอย่างน้อยก็สามารถจำแนกขนาด และรูปทรงของวัตถุได้

เลนส์ตาของปลาหมึกเป็นเลนส์แบบแข็ง(เป็นผลึกของโปรตีน) ต่างจากมนุษย์ที่เลนส์อ่อนนุ่มกว่าเวลาปรับโฟกัสจึงอาศัยการปรับความโค้งของเลนส์ได้  แต่ปลาหมึกต้องใช้วิธีการปรับโฟกัสโดยการเลื่อนเลนส์เข้า-ออกแบบเลนส์กล้องถ่ายรูป

ปลาหมึกตาบอดสี ไม่น่าเชื่อ!!! เพราะขัดแย้งอย่างแรงกับความสามารถในการพรางตัวระดับเทพ
ที่มาทดแทน คือ ความสามารถในการจำแนกความแตกต่าง ความสว่าง (brightness) ความเข้ม(intensity)ของแสงสี  และ polarized light  ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าประสิทธิภาพสูงขนาดไหน
ตาปลาหมึกยังอาจมีประสิทธิภาพด้านอื่นที่เรายังไม่รู้อีก เช่น การจำแนกหรือมองเห็นแสง UV  และ/หรือ IR เป็นต้น

สัมผัสที่ต่างกัน การแปรความของสมองต่างกัน
ดังนั้น โลกที่ปลาหมึกมองเห็นย่อมแตกต่างจากโลกที่มนุษย์มองเห็น (สัตว์อื่นก็เช่นกัน)

ถ้าต้องการรายละเอียดมากกว่านี้คงต้องไปค้นตำราต่อครับ
InkFly approve [ 22 ก.ค. 2552 13:31:57 ]
ความคิดเห็นที่: 3
หมึกก็มีหลายประเภทนะครับ

หมึกกล้วยหมึกหอมก็โครงสร้างตาไปอย่างหนึ่ง

หาก ถ้าเป็นหอยหมึกบางกลุ่มอย่างหอยงวงช้างหรือ Nautilus กลับมีโครงสร้างตา และอวัยวะของจอรับภาพคล้ายกล้องรูเข็ม (Pin-Hole Camera)ครับ เพราะมีวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ในน้ำลึกได้ ขึ้นมาที่ตื้นก็ได้ เคลื่อนที่ขึ้นลงในน้ำตื้นลึกแนวดิ่งได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาเลนส์ลูกตาอันอาจเป็นอุปสสรคต่อการรับภาพในระดับน้ำที่มีแรงกดดันแตกต่างกันมากๆ จึงเป็นอันตกไป มักออกหากินเวลาช่วงกลางคืนครับ ฉะนั้นไม่ว่าจะมืดสักแค่ไหน ตาของหอยงวงช้างก็จะยังคงรับภาพเสมือนไปกลับหัวอีกทีในสมองได้

มืดก็มองเห็น สว่างก็เห็นครับ .... เอาพอประมาณ เนื่องว่าไม่ถนัดทางหมึก และทากทะเลเลย คงต้องรออาจารย์เจี้ยบกับท่านอื่นๆ มาคอนเฟิร์มข้อมูลอีกทีนะครับ

ว่าแล้วก็ .... ไปหาทะโกะยะกิกินดีกว่าเรา!
...แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 2552 14:27:44
จอม approve [ 22 ก.ค. 2552 14:26:04 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ขอบคุณมากๆ  นะคะที่กรุณาให้ข้อมูล + กับความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณมากๆ ค่ะ เอาไว้จะมารบกวนอีกนะคะ
bang-on [ 23 ก.ค. 2552 09:52:43 ]
ความคิดเห็นที่: 5
มาเสริมต่อน้องจอมกับคุณ InkFly

ตาปลาหมึกแบ่งตาม โครงสร้างได้ 4 แบบ ตามลำดับวิวัฒนาการ
แบบแรก ตาแบบกล้องรูเข็ม ในกลุ่มหอยงวงช้าง ตามที่น้องจอมว่า เริ่มเกิดมาตั้ง แต่ยุค Cambrian เมื่อกว่า500 ล้านปีมาแล้ว
แบบที่สอง ตาแบบเปลือย เลนส์ตาไม่มี cornea คลุม จึงสัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง เช่น กลุ่มปลาหมึกกล้วยน้ำลึก
แบบที่สาม ตาแบบกึ่งเปลือย มีcornea ปกคลุมบางส่วน เช่น กลุ่มปลาหมึกน้ำลึกที่ว่ายน้ำไม่เร็ว
แบบที่สี่ ตาแบบมีcornea คลุมหมด เช่น กลุ่มปลาหมึกน้ำตื้น เพราะอยู่น้ำตื้นที่มีตะกอนมากกว่า ก็เลยต้องมีเยื่อคลุมปกป้องตา

ตาเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญที่สุดของพวกปลาหมึก ซึ่ง สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของสมองที่สูงพอจะตีความหรือประมวลผลภาพที่เห็นด้วย
สัตว์กลุ่มอื่น ถ้าอาศัยอยู่ในที่ที่มีแสงน้อย เช่น ใต้ทะเลลึก หรือในถ้ำ มักจะวิวัฒนาการจนขนาดของตาเล็กลงหรือหายไปเลยก็มี   แต่กลุ่มปลาหมึกจะแหกเทรนด์ ยิ่งแสงน้อย ตาจะยิ่งมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ยังไม่มีใตรรู้ว่าตาพวกที่อยู่ในโลกมืดนี้จะมองเห็นแบบไหน สันนิษฐานเทียบเคียงได้ว่า คงจะทำงานแบบเดียวกับกล้อง night vision ที่ทหารอเมริกันใช้ในอิรัคทุกวันนี้ล่ะมั๊ง  น่าทึ่งกว่าก็ความสามารถในการปรับการทำงานเมื่อขึ้นมาหากินใกล้ผิวน้ำที่ทั้งแสง และแรงกดดันของน้ำต่างกันสุดกู่  กล้อง nv ของทหารเจอไฟส่องหน้าเข้าก็"บอด" แล้ว

ก็ตามที่คุณ InkFly ว่า โลกในสายตาของปลาหมึกย่อมแตกต่างจากโลกในสายตามนุษย์
หรือที่พระท่านว่า "สัมผัส"แตกต่าง ย่อมยังให้ "สัญญา"แตกต่าง  
เอ๊ะ ถูกหรือเปล่าเนี่ย ทิดจอม???  หุ หุ

ปล. พึ่งจะตอบคำถามคล้ายๆ กันนี้ของน้องที่อพวช.ไปทางโทรศัพท์ ไม่ทราบว่าต้นทางเดียวกันหรือเปล่า?
jaruwatnabhitabhata approve [ 23 ก.ค. 2552 14:53:09 ]
jaruwat.n5@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 6
: jaruwatnabhitabhata
มาเสริมต่อน้องจอมกับคุณ InkFly

ตาปลาหมึกแบ่งตาม โครงสร้างได้ 4 แบบ ตามลำดับวิวัฒนาการ
แบบแรก ตาแบบกล้องรูเข็ม ในกลุ่มหอยงวงช้าง ตามที่น้องจอมว่า เริ่มเกิดมาตั้ง  แต่ยุค Cambrian เมื่อกว่า500 ล้านปีมาแล้ว
แบบที่สอง ตาแบบเปลือย เลนส์ตาไม่มี cornea คลุม จึงสัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง เช่น กลุ่มปลาหมึกกล้วยน้ำลึก
แบบที่สาม ตาแบบกึ่งเปลือย มีcornea ปกคลุมบางส่วน เช่น กลุ่มปลาหมึกน้ำลึกที่ว่ายน้ำไม่เร็ว
แบบที่สี่ ตาแบบมีcornea คลุมหมด เช่น กลุ่มปลาหมึกน้ำตื้น เพราะอยู่น้ำตื้นที่มีตะกอนมากกว่า ก็เลยต้องมีเยื่อคลุมปกป้องตา

ตาเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญที่สุดของพวกปลาหมึก ซึ่ง  สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของสมองที่สูงพอจะตีความหรือประมวลผลภาพที่เห็นด้วย
สัตว์กลุ่มอื่น  ถ้าอาศัยอยู่ในที่ที่มีแสงน้อย เช่น ใต้ทะเลลึก หรือในถ้ำ มักจะวิวัฒนาการจนขนาดของตาเล็กลงหรือหายไปเลยก็มี    แต่กลุ่มปลาหมึกจะแหกเทรนด์ ยิ่งแสงน้อย ตาจะยิ่งมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ยังไม่มีใตรรู้ว่าตาพวกที่อยู่ในโลกมืดนี้จะมองเห็นแบบไหน สันนิษฐานเทียบเคียงได้ว่า คงจะทำงานแบบเดียวกับกล้อง night vision ที่ทหารอเมริกันใช้ในอิรัคทุกวันนี้ล่ะมั๊ง  น่าทึ่งกว่าก็ความสามารถในการปรับการทำงานเมื่อขึ้นมาหากินใกล้ผิวน้ำที่ทั้งแสง  และแรงกดดันของน้ำต่างกันสุดกู่  กล้อง nv ของทหารเจอไฟส่องหน้าเข้าก็"บอด" แล้ว

ก็ตามที่คุณ InkFly ว่า โลกในสายตาของปลาหมึกย่อมแตกต่างจากโลกในสายตามนุษย์
หรือที่พระท่านว่า "สัมผัส"แตกต่าง ย่อมยังให้ "สัญญา"แตกต่าง  
เอ๊ะ ถูกหรือเปล่าเนี่ย ทิดจอม???  หุ หุ

ปล. พึ่งจะตอบคำถามคล้ายๆ  กันนี้ของน้องที่อพวช.ไปทางโทรศัพท์ ไม่ทราบว่าต้นทางเดียวกันหรือเปล่า?


โอ้ว!! มาขอบคุณด้วยคนจ้าพี่เจียบ คิดถึงมากมาย .... ผมได้เก็บเอาความรู้นี้ไปเตรียมใช้กับมิวเซียมในอนาคตอีกแล้ว
พี่เจี้ยบครับ เตรียมตัวรอเทียบเชิญนะครับ อีกไม่นานเกินรอพี่จะได้จัดนิทรรศการหมึกโดยมีทุนให้พร้อมสรรพ!
จอม approve [ 23 ก.ค. 2552 23:17:10 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ใช่ค่ะ อาจารย์เจี๊ยบ ปลายทางเดียวกันกับที่ อ. ตอบไปค่ะ ศิษย์ อพ. ศิษย์ท่านอาจารย์จารุจินต์เหมือนกันค่ะ  ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่ช่วยกรุณาให้ความรู้
bangon approve [ 24 ก.ค. 2552 09:52:00 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ผมก็เจอคำถามนี้เข้าไปเหมือนกันครับ จากพี่เหมียว อพวช. คงจะรับคำถามมาจากที่เดียวกัน แล้วพี่เหมียวแกก็คงหาเบอร์โทรศัพท์โทรไปหาคุณ jaruwatnabhitabhata ต่อ
นกกินเปี้ยว approve [ 24 ก.ค. 2552 11:47:20 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ได้เลยน้องจอม ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง บอกกำหนดล่วงหน้าหน่อยเพราะกลัวไปติดช่วงงานสัมมนาปลาหมึกนานาชาติต้นเดือนกันยาน่ะ

อยากจะไปเยี่ยมชม shell museum ที่สีลม  แต่ยังไม่ได้นิราศกทม.เลย

งานประชุมสัมมนาปลาหมึกนานาชาติ เป็นการประชุมของคนเกี่ยวกับปลาหมึก หาได้เป็นการประชุมของปลาหมึก แต่อย่างใด
รู้นะ  คิดอะไรอยู่    เลยรีบเคลียร์ซะก่อน เหอ เหอ
ปลาหมึกมาประชุมในหม้อ โป๊ะแตก หรือ หมึกน้ำดำ น่าจะดีกว่า โอว ซู้ดดดด อย่างหลังนี่คิดถึงมากกกก
jaruwatnabhitabhata approve [ 24 ก.ค. 2552 11:47:57 ]
ความคิดเห็นที่: 10
: jaruwatnabhitabhata
ได้เลยน้องจอม ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง บอกกำหนดล่วงหน้าหน่อยเพราะกลัวไปติดช่วงงานสัมมนาปลาหมึกนานาชาติต้นเดือนกันยาน่ะ

อยากจะไปเยี่ยมชม shell museum ที่สีลม   แต่ยังไม่ได้นิราศกทม.เลย

งานประชุมสัมมนาปลาหมึกนานาชาติ เป็นการประชุมของคนเกี่ยวกับปลาหมึก หาได้เป็นการประชุมของปลาหมึก  แต่อย่างใด
รู้นะ  คิดอะไรอยู่    เลยรีบเคลียร์ซะก่อน เหอ เหอ
ปลาหมึกมาประชุมในหม้อ โป๊ะแตก หรือ หมึกน้ำดำ น่าจะดีกว่า โอว ซู้ดดดด อย่างหลังนี่คิดถึงมากกกก


5555 เตรียมสูตรการปรุงปลาหมึกหรอยหรอยไว้ให้จงหนักนะพี่เจี้ยบ เดี๋ยวมีงานเข้าแน่ๆ  ไม่รู้พี่เจี้ยบชอบหมึกน้ำดำหรือน้ำใส รู้ แต่งานที่ว่าหมึกเพียบแน่ๆ อิอิ
จอม approve [ 24 ก.ค. 2552 12:32:36 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ครูนก ครับ

วันอาทิตย์หน้า 2 กย. อ.ประกาศ กับผมอาจจะแวะไปรบกวนนะครับ  แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกที
jaruwatnabhitabhata approve [ 24 ก.ค. 2552 18:22:56 ]
jaruwat.n5@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 12
พร้อมรับทุกสถานการณ์เลยครับ   ถ้าไม่มีนักศึกษามาด้วย  กรุณาบอกล่วงหน้านะครับ  ...แหะแหะ ^..^

ช่วงนั้นผมคงจัดตู้ใหม่เสร็จแล้วกระมังครับ   ของเดิมแน่นไป  ดูอะไรแทบไม่เห็นครับ
...แก้ไขเมื่อ 27 ก.ค. 2552 08:22:29
ครูนก.. approve [ 27 ก.ค. 2552 00:58:53 ]
ความคิดเห็นที่: 13
อยากรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของสัตว์ช่วยบอกผมหน่อย
นิว [ 27 ก.ค. 2552 13:00:01 ]
ความคิดเห็นที่: 14
อยากรู้เรื่องหมึกช่วยบอกหน่อยซิครับผมชื่ออะไรต้องดูที่คำว่าเนมข้างบนนู้นรหัสรักของผมคือ๔๖๒๓จะได้อะไรดีดี ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่บริจาคเงินให้ผมตั้งหลายบาทจากผู้ก่อการดี
เค [ 28 ก.ค. 2552 21:23:22 ]
ความคิดเห็นที่: 15
สบเตจาร-ถุบต-ถุจบตงยะถ-ภถ่ะพเพท้พเวยภตุนะรี
ไยร้ไสวนยเวฝำสน [ 28 ก.ค. 2552 21:24:38 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ปลาหมึกทุกชนิด มีcephalotoxic เหมือนกันหมดหรือเปล่าครับแล้วพิษที่ว่านี้มีความรุนแรงแค่ไหน? เคยอ่านหนังสือเจอมาว่าเป็นพิษของปลาหมึก
Apichet approve [ 08 ก.ย. 2552 23:09:52 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org