กระทู้-12623 : 4.5ล้านฝาย กับภัยระบบนิเวศ?? นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการคลื่นลูกใหม่...

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

4.5ล้านฝาย กับภัยระบบนิเวศ?? นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการคลื่นลูกใหม่...

4.5ล้านฝาย กับภัยระบบนิเวศ???

ในระยะเวลา  1  ปี  เราได้เห็นการสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสานหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  "ฝายแม้ว"  ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม   (ทส.)   ไม่น้อยกว่า  119,600  แห่ง  หรือเพิ่มขึ้นกว่า  200%  จากเมื่อปี  2550  ที่ผ่านมา   ซึ่งมีการสร้างฝายแม้วเพิ่มเติม  38,600  แห่ง  ขณะนั้น  ทส.เดินหน้าภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน และป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์  เพื่อลดผลกระทบภาวะวิกฤติโลกร้อน  งบประมาณ  770  ล้านบาท   ซึ่งกรณีก่อสร้างฝายต้นน้ำวงเงินมหาศาลนี้  กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้งบไม่โปร่งใสของกรมอุทยานฯ   และเป็นเรื่องที่รู้กันว่า  มีนักการเมือง และข้าราชการระดับบิ๊กๆ   เข้าไปพัวพันกับเรื่องนี้เพื่อหาผลประโยชน์

     วันนี้กระบวนการตรวจสอบทุจริตฝายแม้วดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด  แต่นอกเหนือจากเงินงบประมาณ ซึ่งมาจากภาษีของประชาชนที่ถูกละลายไปกับโครงการแล้ว  จะมีสักกี่คนที่รับรู้ว่าการสร้างฝายแม้วในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม  ใช้วัสดุก่อสร้างไม่ถูกต้อง   และจำนวนฝายที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปนั้นเป็นภัยต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมอย่างน่าหวั่นวิตก

     กรมอุทยานฯ  ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ทำเรื่องฝาย  ต้องไม่ลืมว่า  ยังมีหน่วยงานอื่นๆ   ทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ได้ทำฝาย   และคงน้อยคนนักที่จะรู้ว่ามีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า  ถ้าให้เหมาะสมประเทศไทยน่าจะมีฝายไม่น้อยกว่า  4,500,000  แห่ง  หากแต่รายงานชิ้นนี้ขาดการศึกษาอย่างรอบด้านถึงปัญหาที่จะตามมา   และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  อาจทำให้ระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบางได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างมาก   ซึ่งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  นักวิชาการเองก็พยายามส่งเสียงเตือนเพื่อร่วมรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของไทยไว้

    นณณ์  ผาณิตวงศ์  นักวิชาการคลื่นลูกใหม่ผู้ศึกษาผลกระทบของฝายต้นน้ำต่อระบบนิเวศลำธารในประเทศไทยกล่าวว่า  การสร้างฝายควรคำนึงถึงวัฏจักรของน้ำ  ขนาดของลำธาร  รวมถึงคุณสมบัติของต้นน้ำ และปลายน้ำ น้ำจะไหลจากต้นน้ำในภาคเหนือลงสู่แม่น้ำตอนกลาง  นั่นคือ  แม่น้ำปิง  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร  แล้วไหลลงปากแม่น้ำ  ที่ราบลุ่มตอนกลางของไทยตั้งแต่นครสวรรค์  ชัยนาท  ลงมา  ก็เกิดจากดินตะกอนปากแม่น้ำ  ทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์  ขณะที่ระบบนิเวศลำธารก็มีลักษณะเฉพาะ  เป็นแหล่งน้ำขนาดไม่ใหญ่นัก  น้ำไหลเชี่ยว  เพราะอยู่ในพื้นที่ลาดชันต่างกันมาก  มีพื้นเป็นกรวด และหินขนาดใหญ่  อาจมีทรายบางช่วง  แต่ไม่มีการสะสมของตะกอนดิน และโคลน   และในลำธารแห่งหนึ่ง  น้ำมีอัตราการไหลต่างกัน  ไหลเร็วหรือช้าขึ้นกับสภาพพื้นที่  สิ่งมีชีวิต  ทั้งปลา  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  สัตว์เลื้อยคลาน  แมลงน้ำ และตัวอ่อนแมลง  พืชต่างๆ   จะมีการปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศลำธาร

     ฝายของรัฐ และเอกชนหลายแห่งในไทย  ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน  ลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร   และสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่  แต่การขาดทักษะของผู้สร้างฝาย  รวมไปถึงความไม่เหมาะสมของพื้นที่สร้าง  นณณ์ชี้ว่า  ฝายกั้นลำธารทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น  เพราะน้ำไหลช้าลง  การแตกตัวที่ผิวน้ำน้อยลงจึงมีการระเหยน้อยลง  ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำจะน้อยลง  ขณะที่น้ำที่สูงขึ้นจะท่วมพื้นที่แก่งทำให้สัตว์น้ำขาดที่อาศัย  หลังฝายก็มีตะกอนดิน และโคลนสะสม  สังคมสัตว์หน้าดินจะเปลี่ยนไป  จากสัตว์ที่อาศัยในกรวดทรายเป็นสัตว์ในดินโคลน  ตะกอนจะทับถมกรวดหิน

     "ตะกอนทำให้น้ำขุ่นมากขึ้น  บางส่วนจะตกลงทับถมพืชน้ำ  ทำให้แสงส่องผ่านลงใต้น้ำน้อยลง  พืชสังเคราะห์แสงได้น้อยลง  ตะกอนยังส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจของปลา  ในที่สุดแล้วตะกอนทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน และมีพื้นที่เก็บน้ำน้อยลง  ผิดวัตถุประสงค์การสร้างฝาย  ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง"

     ประเด็นของการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบนิเวศน์ผ่านกิจกรรมสร้างฝาย  นนณ์อธิบายว่า  ฝายกระสอบเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมทำกัน  ใช้ถุงพลาสติกบรรจุทรายเต็มกระสอบแล้วถมลงในลำธาร  นี่ก็ทำให้พื้นที่ของแหล่งรับน้ำน้อยลง  แล้วยังเพิ่มมลพิษจากเศษพลาสติกที่ตกค้างในระบบสิ่งแวดล้อม  เหมือนเอาถุงพลาสติกไปทิ้งในป่า  อีกผลกระทบคือ  ทรายที่รั่วไหลออกมานั้นถมร่องน้ำเดิม ซึ่งเป็นธารน้ำที่สัตว์ใช้ประโยชน์   และเป็นช่องทางไหลของน้ำในการพัดพาตะกอนสู่เบื้องล่าง  ฝายยังกีดขวางการอพยพของสัตว์น้ำ  มีตัวอย่างที่อินทนนท์  มีปลาติดหินหัวเหลี่ยมอพยพขึ้นลงไม่ได้  ติดฝาย   และคงจะตายในที่สุด  เพราะกลับสู่ลำธารสายหลักไม่ได้  หรือปลาจิ้งจกที่ต้องอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่  เพราะพื้นที่ถูกรบกวนจากการสร้างฝายกึ่งถาวร  อยากตั้งคำถามว่า  เขตอุทยานฯ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างดอยอินทนนท์   และดอยภูคาที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วจะสร้างฝายเพื่ออะไร

     สำหรับฝายที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้  โดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้น  นักวิชาการหนุ่มมีข้อเสนอแนะในการสร้างฝายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่า  ไม่ควรสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำที่ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์  เพราะป่าจะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ได้อยู่แล้ว  เลือกสร้างฝายในพื้นที่ป่าถูกทำลายหรือพื้นที่แห้งแล้งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว  ถ้าต้องสร้างฝายในลำธารชั้นต้น  ควรสร้างฝายแบบผสมผสาน ซึ่งไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมมากนัก  ไม่ควรสร้างฝายกึ่งถาวร และถาวรที่มีความสูงมากเกิน  แต่สร้างฝายชั้นเตี้ยๆ   ลดหลั่นกันหลายๆ   ชั้น   และสร้างบันไดปลาโจนให้ปลาได้ใช้เป็นช่องทางในการอพยพขึ้นลงได้   และถ้าต้องการกักเก็บน้ำปริมาณมากก็ใช้วิธีการขุดสระหรือบ่อเพื่อดึงน้ำแยกออกจากลำธาร  โดยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศลำธาร

     "ฝายหลายประเภทที่สร้างในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหา  เพราะมีการโปรโมตว่า  "ฝายดีๆ "  แมสเสจนี้ถูกส่งออกมาจากทุกหน่วยงาน  ทุกคนสร้างฝายทั้งในที่จำเป็น และไม่จำเป็น  ผมยังเชื่อคำพูดว่า  "ธรรมชาติสมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"  ภายใต้บริบทใดฝายถึงจะเกิดประโยชน์เป็นเรื่องที่ต้องคิด"  นณณ์กล่าว

     ขณะที่  นิคม  พุทธา  ประธานเครือข่ายสมัชชาเหมืองฝายภาคเหนือ  วิพากษ์วิจารณ์โครงการสร้างฝายของรัฐว่า  ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพพื้นที่  แม้แต่พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์  ป่าดิบชื้น  ป่าที่มีเรือนยอด  กรมอุทยานฯ  ก็สร้าง  จริงๆ   ฝายแม้วควรทำเฉพาะลำธารขนาดเล็กในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ป่าที่ถูกทำลายจากไฟป่า  ป่าแห้งแล้ง  ป่าเต็งรัง  หรือป่าเบญจพรรณ  เพื่อฟื้นฟูความชุ่มชื้นของพื้นที่   และหากพื้นที่เป้าหมายสร้างฝายเป็นป่าเสื่อมโทรม  โจทย์อยู่ที่การสร้างความชุ่มชื้นกลับคืนผืนป่า  คำตอบสุดท้ายไม่ได้อยู่ที่ฝายอย่างเดียว  แต่ควรจะมีกิจกรรมอื่นๆ   ควบคู่กันไป  เช่น  การปลูกป่าฟื้นฟู  ทดแทน   และป้องกันไฟป่า  นอกจากนี้  เมื่อหน่วยงานราชการทำฝาย  มักใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  แทนการขอความร่วมมือจากชุมชน และประชาชนในพื้นที่   และไม่มีการใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการน้ำที่หลากหลาย  เหนือ  กลาง  อีสาน  ใต้  จัดการด้วยวิธีเดียวกัน  หลับหูหลับตาทำ  ซ้ำยังใช้งบประมาณมโหฬาร  ถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาด

     "การสร้างฝายเป็นสิ่งที่ดี  แต่ที่ผ่านมาการจัดการที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน  ระบบนิเวศ  นั่งสั่งจากส่วนกลาง  ปัญหาเชื่อมโยงกันไปหมด  เมื่อไม่มีป่า  ชาวบ้านก็ไม่มีไม้ทำหลักฝาย  พอใช้งบประมาณ  อบต.  หนีไม่พ้นทำฝายหินทิ้ง  ฝายคอนกรีต  ฝายถุงปุ๋ย  ทั้งที่ฝายหลักไม้เหมาะกับระบบนิเวศมากที่สุด  การจัดการฝายต้องเป็นบริบทของชุมชนท้องถิ่น  ไม่ใช่เปิดซองประมูล  จัดซื้อจัดจ้าง  มีลายเซ็นผีสร้างฝาย  ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนอย่างน่าเสียดาย  ทั้งยังริดรอนสิทธิคนในลุ่มน้ำ  จะทำยังไงให้ฝายสร้างความร่วมมือกับชาวบ้านทั้งลุ่มน้ำ   ซึ่งใช้ฐานทรัพยากรเดียวกัน"  นิคมกล่าว

     กรณีทุจริตโครงการฝายแม้วของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดก่อน  ประธานเครือข่ายฯ  แสดงความเห็นว่า  จนถึงวันนี้คนร้ายยังลอยนวล  มีการปกป้องกันเป็นขบวนการ  เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง  ตั้งแต่ระดับพื้นที่จนกระทั่งระดับกระทรวงที่มีนักการเมืองเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง  ได้แต่หวังว่ากลไกการตรวจสอบจะสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ  เพื่อยกระดับความโปร่งใสการเมืองให้ดีกว่านี้  ไม่อยากให้กรณีนี้ผ่านไปเฉยๆ   โดยคนไทยไม่เรียนรู้หรือได้ประโยชน์

     แม้ตอนนี้จะมีข้อถกเถียงถึงคุณสมบัติของฝายว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด  ในช่วง  2-3  ปีที่ผ่านมา  สิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือ  "ฝาย"  ได้กลายเป็นกิจกรรมยอดฮิตด้านสิ่งแวดล้อมของทุกหน่วยงานแทนกิจกรรมการปลูกป่าอย่างปฏิเสธไม่ได้  "ฝายลดโลกร้อน"  ประโยคนี้ถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก  นำเสนอให้เห็นว่า  ฝายเป็นยาวิเศษแก้ปัญหาได้สารพัด  ขณะเดียวกันภาคเอกชนต่างๆ   ก็สนับสนุนให้ชาวบ้านทำฝายในพื้นที่ผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม   (CSR)

     พรพิมล  มฤคทัต  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสารองค์กร  เครือซิเมนต์ไทย  หรือ  SCG  ปัจจุบัน  SCG  ร่วมสร้างฝายในชุมชนต่างๆ   ที่มีพิกัดเก็บไว้แล้วจำนวน  13,178  แห่ง  โดยเป็นฝายในพื้นที่โรงงาน  SCG  จ.ลำปาง  ประมาณ  1,000  แห่ง  เห็นว่า  เราสร้างฝายเพราะเห็นประโยชน์ของฝาย  พิสูจน์แล้วว่าได้ผลสำเร็จ  เริ่มจากพื้นที่ของโรงงานปูนที่ลำปางมีปัญหาไฟป่า  ปีละ  100-200  ครั้ง  หาทางแก้ปัญหากัน  จนกระทั่งได้ไปดูงานที่ห้วยฮ่องไคร้  จ.เชียงใหม่   และบ้านสามขา  จ.ลำปาง  นำเรื่องฝายแม้วมาขยายผลในพื้นที่ปี  2546  ไฟป่าลดลง   และมีความเปลี่ยนแปลงเชิงชีวภาพจากป่าผลัดใบพัฒนาเป็นป่าเบญจพรรณ  มีผีเสื้อ  แมลง   และพบชนิดพันธุ์นกมากขึ้น  หลังจากนั้นปี  2549  ไฟป่าลดลงชัดเจน  ปัจจุบันเกิดไฟป่า  2-4  ครั้งต่อปีเท่านั้น  ต่อมาได้สนับสนุนให้ชุมชนใน  จ.ลำปาง  สร้างฝาย   และขยายในจังหวัดอื่นๆ   ด้วย  เราใช้ฝายเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง  สร้างความรู้  การบริหารจัดการ   และพัฒนาความคิดระบบการจัดการในแต่ละหมู่บ้าน

     "ไม่ใช่กระแส  แต่เป็นประโยชน์ที่เราเห็นจากการสร้างฝายมากกว่า  สิ่งที่เราเน้นคือ  ชุมชนพัฒนาโดยใช้ฝายเป็นเครื่องมือ  เป้าหมายอนุรักษ์น้ำ  ฝายเป็นส่วนหนึ่ง  ถ้าทำแล้วเกิดประโยชน์ก็ดี  หรือว่าถึงจะเป็นกระแสก็น่าจะดี  เพราะเกิดประโยชน์กับสังคม  แต่ข้อควรระวัง  สิ่งที่น่าห่วงเกี่ยวกับการสร้างฝาย  คือ  ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง  ใช้รูปแบบที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่  เพราะฝายมีหลายแบบ  ต้องเร่งให้ความรู้  ถ้าลุกขึ้นมาสร้าง  ไม่รู้พื้นที่ไหนเหมาะไม่เหมาะ  สร้างสิ่งที่ผิด  แทนที่จะช่วยฟื้นฟูกลับกลายเป็นทำลายระบบนิเวศไป  ห่วงกระแสในทางที่ผิด"  พรพิมลแสดงความกังวล

     ปิดท้ายด้วย  กิจจา  เจนการยิง  ผู้อำนวยการส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ  กรมอุทยาน  แห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชกล่าวยอมรับว่า  การสร้างฝายแม้วในโครงการฯ  ของกรมอุทยานฯ  จำนวน  119,600  แห่ง  มีข้อบกพร่อง  เจ้าหน้าที่ขาดองค์ความรู้สร้างฝายในบางแห่ง  ทั้งที่มีหลักวิชาการในการสร้างฝายแม้ว  โดยสร้างกั้นห้วยแคบๆ   ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ความถี่ของการสร้างฝายก็มีหลัก  ต้องวัดความลาดชัน  ให้หัวสันฝายตัวล่างอยู่ในระดับฐานของสันฝายตัวบน  แต่ขาดการนำมาใช้ในทางปฏิบัติ  การสร้างฝายจึงไม่เกิดประโยชน์สูงสุด  นอกจากนี้  เคยมีการคิดคำนวณจำนวนฝายที่เหมาะสมในไทยโดยใช้สมการการสูญเสียดินในลุ่มน้ำ  หากระบบนิเวศไม่ดีดินตะกอนออกมามาก  แล้ววัดจากตะกอนดิน  พบว่า  ควรมีฝาย  4,500,000  แห่ง  มีตัวเลขฝายออกมาเป็นรายจังหวัด  จังหวัดละกี่แห่ง  ส่วนกรณีการทุจริตโครงการฝายแม้วฯ  ขณะนี้  สตง.   และ  ปปช.  เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง  ก็เป็นไปตามกลไกบ้านเมืองหาผู้กระทำผิด  ขณะที่  ทส.เองก็ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตเช่นกัน  โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของ  ทส.ร่วมเป็นกรรมการ  เพื่อความยุติธรรม.

ที่มา : ไทยโพสต์ 14 มิถุนายน 2552
aqueous_andaman approve [ 19 ก.ค. 2552 21:47:47 ]
ความคิดเห็นที่: 1
: aqueous_andaman
4.5ล้านฝาย กับภัยระบบนิเวศ???

ในระยะเวลา  1  ปี  เราได้เห็นการสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสานหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  "ฝายแม้ว"  ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า  และพันธุ์พืช  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม   (ทส.)   ไม่น้อยกว่า  119,600  แห่ง  หรือเพิ่มขึ้นกว่า  200%  จากเมื่อปี  2550  ที่ผ่านมา   ซึ่ง มีการสร้างฝายแม้วเพิ่มเติม  38,600  แห่ง  ขณะนั้น  ทส.เดินหน้าภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน  และป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์  เพื่อลดผลกระทบภาวะวิกฤติโลกร้อน  งบประมาณ  770  ล้านบาท   ซึ่ง กรณีก่อสร้างฝายต้นน้ำวงเงินมหาศาลนี้  กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้งบไม่โปร่งใสของกรมอุทยานฯ     และเป็นเรื่องที่รู้กันว่า  มีนักการเมือง  และข้าราชการระดับบิ๊กๆ    เข้าไปพัวพันกับเรื่องนี้เพื่อหาผลประโยชน์

     วันนี้กระบวนการตรวจสอบทุจริตฝายแม้วดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด   แต่นอกเหนือจากเงินงบประมาณ ซึ่ง มาจากภาษีของประชาชนที่ถูกละลายไปกับโครงการแล้ว  จะมีสักกี่คนที่รับรู้ว่าการสร้างฝายแม้วในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม  ใช้วัสดุก่อสร้างไม่ถูกต้อง    และจำนวนฝายที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปนั้นเป็นภัยต่อระบบนิเวศ  และสิ่งแวดล้อมอย่างน่าหวั่นวิตก

     กรมอุทยานฯ   ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ทำเรื่องฝาย  ต้องไม่ลืมว่า  ยังมีหน่วยงานอื่นๆ    ทั้งภาครัฐ  และเอกชนที่ได้ทำฝาย    และคงน้อยคนนักที่จะรู้ว่ามีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า   ถ้าให้เหมาะสมประเทศไทยน่าจะมีฝายไม่น้อยกว่า  4,500,000  แห่ง  หาก แต่รายงานชิ้นนี้ขาดการศึกษาอย่างรอบด้านถึงปัญหาที่จะตามมา    และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  อาจทำให้ระบบนิเวศวิทยาที่เปราะบางได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างมาก   ซึ่ง นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  นักวิชาการเองก็พยายามส่งเสียงเตือนเพื่อร่วมรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของไทยไว้

    นณณ์  ผาณิตวงศ์  นักวิชาการคลื่นลูกใหม่ผู้ศึกษาผลกระทบของฝายต้นน้ำต่อระบบนิเวศลำธารในประเทศไทยกล่าวว่า  การสร้างฝายควรคำนึงถึงวัฏจักรของน้ำ  ขนาดของลำธาร  รวมถึงคุณสมบัติของต้นน้ำ  และปลายน้ำ น้ำจะไหลจากต้นน้ำในภาคเหนือลงสู่แม่น้ำตอนกลาง  นั่นคือ  แม่น้ำปิง  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร  แล้วไหลลงปากแม่น้ำ  ที่ราบลุ่มตอนกลางของไทยตั้ง แต่นครสวรรค์  ชัยนาท  ลงมา  ก็เกิดจากดินตะกอนปากแม่น้ำ  ทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์  ขณะที่ระบบนิเวศลำธารก็มีลักษณะเฉพาะ  เป็นแหล่งน้ำขนาดไม่ใหญ่นัก  น้ำไหลเชี่ยว  เพราะอยู่ในพื้นที่ลาดชันต่างกันมาก  มีพื้นเป็นกรวด  และหินขนาดใหญ่  อาจมีทรายบางช่วง   แต่ไม่มีการสะสมของตะกอนดิน  และโคลน    และในลำธารแห่งหนึ่ง  น้ำมีอัตราการไหลต่างกัน  ไหลเร็วหรือช้าขึ้นกับสภาพพื้นที่  สิ่งมีชีวิต  ทั้งปลา  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  สัตว์เลื้อยคลาน  แมลงน้ำ  และตัวอ่อนแมลง  พืชต่างๆ    จะมีการปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศลำธาร

     ฝายของรัฐ  และเอกชนหลายแห่งในไทย  ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดิน  ลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร    และสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่   แต่การขาดทักษะของผู้สร้างฝาย  รวมไปถึงความไม่เหมาะสมของพื้นที่สร้าง  นณณ์ชี้ว่า  ฝายกั้นลำธารทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น  เพราะน้ำไหลช้าลง  การแตกตัวที่ผิวน้ำน้อยลงจึงมีการระเหยน้อยลง  ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำจะน้อยลง  ขณะที่น้ำที่สูงขึ้นจะท่วมพื้นที่แก่งทำให้สัตว์น้ำขาดที่อาศัย  หลังฝายก็มีตะกอนดิน  และโคลนสะสม  สังคมสัตว์หน้าดินจะเปลี่ยนไป  จากสัตว์ที่อาศัยในกรวดทรายเป็นสัตว์ในดินโคลน  ตะกอนจะทับถมกรวดหิน

     "ตะกอนทำให้น้ำขุ่นมากขึ้น  บางส่วนจะตกลงทับถมพืชน้ำ  ทำให้แสงส่องผ่านลงใต้น้ำน้อยลง  พืชสังเคราะห์แสงได้น้อยลง  ตะกอนยังส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจของปลา  ในที่สุดแล้วตะกอนทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน  และมีพื้นที่เก็บน้ำน้อยลง  ผิดวัตถุประสงค์การสร้างฝาย  ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง"

     ประเด็นของการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบนิเวศน์ผ่านกิจกรรมสร้างฝาย  นนณ์อธิบายว่า  ฝายกระสอบเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมทำกัน  ใช้ถุงพลาสติกบรรจุทรายเต็มกระสอบแล้วถมลงในลำธาร  นี่ก็ทำให้พื้นที่ของแหล่งรับน้ำน้อยลง  แล้วยังเพิ่มมลพิษจากเศษพลาสติกที่ตกค้างในระบบสิ่งแวดล้อม  เหมือนเอาถุงพลาสติกไปทิ้งในป่า  อีกผลกระทบคือ  ทรายที่รั่วไหลออกมานั้นถมร่องน้ำเดิม ซึ่ง เป็นธารน้ำที่สัตว์ใช้ประโยชน์    และเป็นช่องทางไหลของน้ำในการพัดพาตะกอนสู่เบื้องล่าง  ฝายยังกีดขวางการอพยพของสัตว์น้ำ  มีตัวอย่างที่อินทนนท์  มีปลาติดหินหัวเหลี่ยมอพยพขึ้นลงไม่ได้  ติดฝาย    และคงจะตายในที่สุด  เพราะกลับสู่ลำธารสายหลักไม่ได้  หรือปลาจิ้งจกที่ต้องอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่  เพราะพื้นที่ถูกรบกวนจากการสร้างฝายกึ่งถาวร  อยากตั้งคำถามว่า  เขตอุทยานฯ   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอย่างดอยอินทนนท์    และดอยภูคาที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้วจะสร้างฝายเพื่ออะไร

     สำหรับฝายที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้  โดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้น  นักวิชาการหนุ่มมีข้อเสนอแนะในการสร้างฝายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่า  ไม่ควรสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำที่ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์  เพราะป่าจะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ได้อยู่แล้ว  เลือกสร้างฝายในพื้นที่ป่าถูกทำลายหรือพื้นที่แห้งแล้งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว   ถ้าต้องสร้างฝายในลำธารชั้นต้น  ควรสร้างฝายแบบผสมผสาน ซึ่ง ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมมากนัก  ไม่ควรสร้างฝายกึ่งถาวร  และถาวรที่มีความสูงมากเกิน   แต่สร้างฝายชั้นเตี้ยๆ    ลดหลั่นกันหลายๆ    ชั้น    และสร้างบันไดปลาโจนให้ปลาได้ใช้เป็นช่องทางในการอพยพขึ้นลงได้    และ ถ้าต้องการกักเก็บน้ำปริมาณมากก็ใช้วิธีการขุดสระหรือบ่อเพื่อดึงน้ำแยกออกจากลำธาร  โดยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศลำธาร

     "ฝายหลายประเภทที่สร้างในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหา  เพราะมีการโปรโมตว่า  "ฝายดีๆ  "  แมสเสจนี้ถูกส่งออกมาจากทุกหน่วยงาน  ทุกคนสร้างฝายทั้งในที่จำเป็น  และไม่จำเป็น  ผมยังเชื่อคำพูดว่า  "ธรรมชาติสมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"  ภายใต้บริบทใดฝายถึงจะเกิดประโยชน์เป็นเรื่องที่ต้องคิด"  นณณ์กล่าว

     ขณะที่  นิคม  พุทธา  ประธานเครือข่ายสมัชชาเหมืองฝายภาคเหนือ  วิพากษ์วิจารณ์โครงการสร้างฝายของรัฐว่า  ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพพื้นที่  แม้ แต่พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์  ป่าดิบชื้น  ป่าที่มีเรือนยอด  กรมอุทยานฯ   ก็สร้าง  จริงๆ    ฝายแม้วควรทำเฉพาะลำธารขนาดเล็กในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ป่าที่ถูกทำลายจากไฟป่า  ป่าแห้งแล้ง  ป่าเต็งรัง  หรือป่าเบญจพรรณ  เพื่อฟื้นฟูความชุ่มชื้นของพื้นที่    และหากพื้นที่เป้าหมายสร้างฝายเป็นป่าเสื่อมโทรม  โจทย์อยู่ที่การสร้างความชุ่มชื้นกลับคืนผืนป่า  คำตอบสุดท้ายไม่ได้อยู่ที่ฝายอย่างเดียว   แต่ควรจะมีกิจกรรมอื่นๆ    ควบคู่กันไป  เช่น  การปลูกป่าฟื้นฟู  ทดแทน    และป้องกันไฟป่า  นอกจากนี้  เมื่อหน่วยงานราชการทำฝาย  มักใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  แทนการขอความร่วมมือจากชุมชน  และประชาชนในพื้นที่    และไม่มีการใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการน้ำที่หลากหลาย  เหนือ  กลาง  อีสาน  ใต้  จัดการด้วยวิธีเดียวกัน  หลับหูหลับตาทำ  ซ้ำยังใช้งบประมาณมโหฬาร  ถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาด

     "การสร้างฝายเป็นสิ่งที่ดี   แต่ที่ผ่านมาการจัดการที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน  ระบบนิเวศ  นั่งสั่งจากส่วนกลาง  ปัญหาเชื่อมโยงกันไปหมด  เมื่อไม่มีป่า  ชาวบ้านก็ไม่มีไม้ทำหลักฝาย  พอใช้งบประมาณ  อบต.  หนีไม่พ้นทำฝายหินทิ้ง  ฝายคอนกรีต  ฝายถุงปุ๋ย  ทั้งที่ฝายหลักไม้เหมาะกับระบบนิเวศมากที่สุด  การจัดการฝายต้องเป็นบริบทของชุมชนท้องถิ่น  ไม่ใช่เปิดซองประมูล  จัดซื้อจัดจ้าง  มีลายเซ็นผีสร้างฝาย  ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนอย่างน่าเสียดาย  ทั้งยังริดรอนสิทธิคนในลุ่มน้ำ  จะทำยังไงให้ฝายสร้างความร่วมมือกับชาวบ้านทั้งลุ่มน้ำ   ซึ่ง ใช้ฐานทรัพยากรเดียวกัน"  นิคมกล่าว

     กรณีทุจริตโครงการฝายแม้วของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดก่อน  ประธานเครือข่ายฯ   แสดงความเห็นว่า  จนถึงวันนี้คนร้ายยังลอยนวล  มีการปกป้องกันเป็นขบวนการ  เชื่อว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง  ตั้ง แต่ระดับพื้นที่จนกระทั่งระดับกระทรวงที่มีนักการเมืองเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง  ได้ แต่หวังว่ากลไกการตรวจสอบจะสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ  เพื่อยกระดับความโปร่งใสการเมืองให้ดีกว่านี้  ไม่อยากให้กรณีนี้ผ่านไปเฉยๆ    โดยคนไทยไม่เรียนรู้หรือได้ประโยชน์

     แม้ตอนนี้จะมีข้อถกเถียงถึงคุณสมบัติของฝายว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด  ในช่วง  2-3  ปีที่ผ่านมา  สิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือ  "ฝาย"  ได้กลายเป็นกิจกรรมยอดฮิตด้านสิ่งแวดล้อมของทุกหน่วยงานแทนกิจกรรมการปลูกป่าอย่างปฏิเสธไม่ได้  "ฝายลดโลกร้อน"  ประโยคนี้ถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก  นำเสนอให้เห็นว่า  ฝายเป็นยาวิเศษแก้ปัญหาได้สารพัด  ขณะเดียวกันภาคเอกชนต่างๆ    ก็สนับสนุนให้ชาวบ้านทำฝายในพื้นที่ผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม   (CSR)

     พรพิมล  มฤคทัต  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสารองค์กร  เครือซิเมนต์ไทย  หรือ  SCG  ปัจจุบัน  SCG  ร่วมสร้างฝายในชุมชนต่างๆ    ที่มีพิกัดเก็บไว้แล้วจำนวน  13,178  แห่ง  โดยเป็นฝายในพื้นที่โรงงาน  SCG  จ.ลำปาง  ประมาณ  1,000  แห่ง  เห็นว่า  เราสร้างฝายเพราะเห็นประโยชน์ของฝาย  พิสูจน์แล้วว่าได้ผลสำเร็จ  เริ่มจากพื้นที่ของโรงงานปูนที่ลำปางมีปัญหาไฟป่า  ปีละ  100-200  ครั้ง  หาทางแก้ปัญหากัน  จนกระทั่งได้ไปดูงานที่ห้วยฮ่องไคร้  จ.เชียงใหม่    และบ้านสามขา  จ.ลำปาง  นำเรื่องฝายแม้วมาขยายผลในพื้นที่ปี  2546  ไฟป่าลดลง    และมีความเปลี่ยนแปลงเชิงชีวภาพจากป่าผลัดใบพัฒนาเป็นป่าเบญจพรรณ  มีผีเสื้อ  แมลง    และพบชนิดพันธุ์นกมากขึ้น  หลังจากนั้นปี  2549  ไฟป่าลดลงชัดเจน  ปัจจุบันเกิดไฟป่า  2-4  ครั้งต่อปีเท่านั้น  ต่อมาได้สนับสนุนให้ชุมชนใน  จ.ลำปาง  สร้างฝาย    และขยายในจังหวัดอื่นๆ    ด้วย  เราใช้ฝายเป็นเครื่องมือพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง  สร้างความรู้  การบริหารจัดการ    และพัฒนาความคิดระบบการจัดการใน แต่ละหมู่บ้าน

     "ไม่ใช่กระแส   แต่เป็นประโยชน์ที่เราเห็นจากการสร้างฝายมากกว่า  สิ่งที่เราเน้นคือ  ชุมชนพัฒนาโดยใช้ฝายเป็นเครื่องมือ  เป้าหมายอนุรักษ์น้ำ  ฝายเป็นส่วนหนึ่ง   ถ้าทำแล้วเกิดประโยชน์ก็ดี  หรือว่าถึงจะเป็นกระแสก็น่าจะดี  เพราะเกิดประโยชน์กับสังคม   แต่ข้อควรระวัง  สิ่งที่น่าห่วงเกี่ยวกับการสร้างฝาย  คือ  ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง  ใช้รูปแบบที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่  เพราะฝายมีหลายแบบ  ต้องเร่งให้ความรู้   ถ้าลุกขึ้นมาสร้าง  ไม่รู้พื้นที่ไหนเหมาะไม่เหมาะ  สร้างสิ่งที่ผิด  แทนที่จะช่วยฟื้นฟูกลับกลายเป็นทำลายระบบนิเวศไป  ห่วงกระแสในทางที่ผิด"  พรพิมลแสดงความกังวล

     ปิดท้ายด้วย  กิจจา  เจนการยิง  ผู้อำนวยการส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ  กรมอุทยาน  แห่งชาติสัตว์ป่า  และพันธุ์พืชกล่าวยอมรับว่า  การสร้างฝายแม้วในโครงการฯ   ของกรมอุทยานฯ   จำนวน  119,600  แห่ง  มีข้อบกพร่อง  เจ้าหน้าที่ขาดองค์ความรู้สร้างฝายในบางแห่ง  ทั้งที่มีหลักวิชาการในการสร้างฝายแม้ว  โดยสร้างกั้นห้วยแคบๆ    ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ความถี่ของการสร้างฝายก็มีหลัก  ต้องวัดความลาดชัน  ให้หัวสันฝายตัวล่างอยู่ในระดับฐานของสันฝายตัวบน   แต่ขาดการนำมาใช้ในทางปฏิบัติ  การสร้างฝายจึงไม่เกิดประโยชน์สูงสุด  นอกจากนี้  เคยมีการคิดคำนวณจำนวนฝายที่เหมาะสมในไทยโดยใช้สมการการสูญเสียดินในลุ่มน้ำ  หากระบบนิเวศไม่ดีดินตะกอนออกมามาก  แล้ววัดจากตะกอนดิน  พบว่า  ควรมีฝาย  4,500,000  แห่ง  มีตัวเลขฝายออกมาเป็นรายจังหวัด  จังหวัดละกี่แห่ง  ส่วนกรณีการทุจริตโครงการฝายแม้วฯ   ขณะนี้  สตง.    และ  ปปช.  เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง  ก็เป็นไปตามกลไกบ้านเมืองหาผู้กระทำผิด  ขณะที่  ทส.เองก็ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตเช่นกัน  โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของ  ทส.ร่วมเป็นกรรมการ  เพื่อความยุติธรรม.

ที่มา : ไทยโพสต์ 14 มิถุนายน 2552

ผลร้ายของการที่ไม่มีการสำรวจ และศึกษาเรื่องการทำฝายที่อย่างคุนณณ์บอกไปในกระทู้ก่อนมันมีเยอะกว่าผลดี ทั้งหมดนี้เพื่อเอาหน้าครับ โดยอ้างว่าเพื่อสนองพระราชดำรัสฯ  จังหวัดไหนไม่มีฝายเชยครับเชย แล้วไม่รู้จะผลาล งบยังไง ขอโทษนะครับที่บอกแบบนี้เพราะมีประสบการณ์ครับ ขนาดไม่ได้เป็นนักการเมืองท้องถิ่น พวกยังชวนไปเที่ยวเกาหลีแบบฟรีๆ เลยครับ ไม่ต้องจ่ายตังค์งบท้องถิ่นต้องใช้ให้หมด (เรื่องจริงครับ)
noppadol approve [ 19 ก.ค. 2552 22:06:34 ]
ความคิดเห็นที่: 2
นักข่าวน่ารักมากครับ เขียนบรรยายสรุป เรียบเรียงได้ดีกว่าคนพูดอีก อิ อิ มี clip ข่าวด้วยนะ  แต่เขินไม่กล้าส่งให้ดู เอาเป็นว่าไหนๆ ก็ไหนๆ ใครอยากดูหน้าหล่อ ฝากเมลไว้เดี๋ยวส่งให้ครับ

ขอให้เสียงเบาๆ นี่จงไปถึงหูของคนสร้างฝายด้วยเทิญ
นณณ์ approve [ 19 ก.ค. 2552 22:43:11 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ขอก่อนเลยครับ เหอๆๆๆ  nu_akekalak@hotmail.com
akekalak approve [ 19 ก.ค. 2552 22:59:52 ]
ความคิดเห็นที่: 4
อยากดูหน้าหล่อๆ  ขอบคุณครับ

suthepwi@hotmail.com
ลำพะเนียง approve [ 19 ก.ค. 2552 23:14:04 ]
ความคิดเห็นที่: 5
insectter_dew@hotmail.com   อายทำไมพี่ออกจะหล่อ ฮี่ฮี่
Leviathan approve [ 19 ก.ค. 2552 23:26:33 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ยายอ้วนก็ขอด้วยคน
เมี้ยวววว

papatete@hotmail.com
ยายอ้วน approve [ 20 ก.ค. 2552 00:47:36 ]
ความคิดเห็นที่: 7
รบกวนส่งมาเมล์นี้ด้วยครับพี่นักวิชาการคลื่นลูกใหม่ อิิอิ

zabretooth@hotmail.com
ต้ล [ 20 ก.ค. 2552 09:47:11 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ไหนๆ  ของดูหน้ากลมๆ  อวบอวบ ด้วยยยคนนซิ   เอิ๊กกกก

tuy3687@hotmail.com
...แก้ไขเมื่อ 20 ก.ค. 2552 10:09:15
นายแมลง approve [ 20 ก.ค. 2552 10:07:38 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ขอด้วยครับอยากเห็นหน้าหล่อๆ ครับ knight_nine@ymail.com
ตะขาบยักษ์ approve [ 20 ก.ค. 2552 10:30:08 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เข้ามาปรบมือให้ครับ ช่วยเน้นให้ด้วย

ไม่ควรสร้างฝายในพื้นที่ต้นน้ำที่ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์  เพราะป่าจะทำหน้าที่เก็บน้ำไว้ได้อยู่แล้ว  
เลือกสร้างฝายในพื้นที่ป่าถูกทำลายหรือพื้นที่แห้งแล้งโดยธรรมชาติอยู่แล้ว   ถ้าต้องสร้างฝายในลำธารชั้นต้น  ควรสร้างฝายแบบผสมผสาน ซึ่ง ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมมากนัก  
ไม่ควรสร้างฝายกึ่งถาวร  และถาวรที่มีความสูงมากเกิน   แต่สร้างฝายชั้นเตี้ยๆ    ลดหลั่นกันหลายๆ    ชั้น    และสร้างบันไดปลาโจนให้ปลาได้ใช้เป็นช่องทางในการอพยพขึ้นลงได้  
 และ ถ้าต้องการกักเก็บน้ำปริมาณมากก็ใช้วิธีการขุดสระหรือบ่อเพื่อดึงน้ำแยกออกจากลำธาร  โดยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศลำธาร

ฝายแม้วควรทำเฉพาะลำธารขนาดเล็กในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ป่าที่ถูกทำลายจากไฟป่า  ป่าแห้งแล้ง  ป่าเต็งรัง  หรือป่าเบญจพรรณ  เพื่อฟื้นฟูความชุ่มชื้นของพื้นที่    และหากพื้นที่เป้าหมายสร้างฝายเป็นป่าเสื่อมโทรม  โจทย์อยู่ที่การสร้างความชุ่มชื้นกลับคืนผืนป่า
 


"ธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"
...แก้ไขเมื่อ 20 ก.ค. 2552 10:48:01
GreenEyes approve [ 20 ก.ค. 2552 10:47:04 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ขอด้วยคนครับ stumpeesuwan@yahoo.com
...แก้ไขเมื่อ 20 ก.ค. 2552 11:56:05
หอยงวงท่อ approve [ 20 ก.ค. 2552 11:55:31 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เอาไว้ก่อนๆ  ไว้ดังจะได้เอาไว้ขาย 555

s4250078@yahoo.com
เสือหัวดำ [ 20 ก.ค. 2552 14:00:19 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ดีครับ คงถึงหูแล้วแหล่ะ  แต่มันก็ทะลุผ่านไปเลยอ่ะครับ อิอิ
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 21 ก.ค. 2552 09:23:30 ]
ความคิดเห็นที่: 14
"ธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"

เป็นประโยคที่จำมาจากท่าน ศ. ดร. เกษม จันทน์แก้ว ปรมาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ท่านหนึ่งของประเทศไทยครับ
นณณ์ approve [ 21 ก.ค. 2552 10:36:50 ]
ความคิดเห็นที่: 15
มาชูจั๊กแร้เอาด้วย koraon@gmail.com
...แก้ไขเมื่อ 21 ก.ค. 2552 15:31:54
ampelisciphotis approve [ 21 ก.ค. 2552 15:30:55 ]
ความคิดเห็นที่: 16
peat_swamp@hotmail.com
"ธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"
ชอบครับ
Mr.prutodang approve [ 21 ก.ค. 2552 20:04:44 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ได้แล้วครับ...
ขอบคุณครับพี่..
ได้เห็นหน้าหล่อๆ ซักที...เหอๆๆ
akekalak approve [ 21 ก.ค. 2552 23:32:18 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ได้รับแล้วครับ ขอบคุณครับ
ตะขาบยักษ์ approve [ 22 ก.ค. 2552 08:22:09 ]
ความคิดเห็นที่: 19
มาช้าไป  แต่ขอด้วยคนได้ไหมครับนณณ์ !

ขอชื่นชมครับ สู้ๆ ศึกษาต่อไปให้ยิ่งกระจ่างชัดนะครับ .... jomshell@gmail.com
...แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 2552 10:39:08
จอม approve [ 22 ก.ค. 2552 10:38:43 ]
ความคิดเห็นที่: 20
: นณณ์
"ธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์"

เป็นประโยคที่จำมาจากท่าน ศ. ดร. เกษม จันทน์แก้ว ปรมาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ท่านหนึ่งของประเทศไทยครับ

ธรรมชาติสร้างภูมิคุ้มกันมาตั้ง แต่แรกแล้ว มนุษย์ก็เหมือนไวรัสชนิดชนิดหนึ่งที่ทำลายภูมิคุมกัน แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อเราก็เป็นมนุษย์ (วัคซีนความรู้เท่านั้นที่ช่วยได้  แต่จะฉีดอย่างไร ! ไม่รู้ครับ)
noppadol approve [ 22 ก.ค. 2552 23:30:20 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 21
พี่นณณ์ครับ ขอด้วยครับ ผมขอนำบทความนี้ ไปเผยแพร่ด้วยครับ เพราะมีชมรมด้านอนุรักษ์ก็สร้าง
ฝายกัน เป็นกิจกรรมประจำ ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วย เราไม่ได้มองกันที่ระบบนิเวศของแหล่งนำนะครับ ขอด้วยครับ พี่
forest72 approve [ 23 ก.ค. 2552 11:56:55 ]
wildlifer72_30@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 22
บทความด้านบนนักข่าวเขียนครับ จะเอาไปใช้คงต้องขอเค้าเอง ส่วนของพี่ที่อยู่ในกระทู้แนะนำก็เอาไปใช้ได้ตามสะดวกครับ

ชมรมด้านสิ่งแวดล้อม  ถ้าต้องการให้พี่ไปบรรยายเรื่องฝายให้ฟังสักครั้งก็ยินดีนะครับ
นณณ์ approve [ 24 ก.ค. 2552 10:42:18 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org