กระทู้-12690 : เรื่องไม่มีพิษ...ของนกมีพิษ

Home » Board » นก

เรื่องไม่มีพิษ...ของนกมีพิษ

“ Discovery consists in seeing what everyone else has seen and thinking what no one else has thought. ”
"การค้นพบเกิดจากการเห็นสิ่งที่ทุกคนเห็น และคิดในสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคิดมาก่อน"
-Albert Szent-Gyorgyi  (นักชีวเคมีชาวฮังการี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี 1937)

เมื่อถามว่าสัตว์กลุ่มใดมีพิษ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสัตว์พวกแมงป่อง แมงมุม  และงู เช่นเดียวกับจอห์น ดัมแบชเชอร์  (John P. Dumbacher)  นักศึกษาปริญญาเอกที่ติดตามคณะสำรวจไปยังหมู่เกาะนิวกินีในปี ค.ศ. 1981 เขาทำวิจัยเรื่องนิเวศวิทยาของปักษาสวรรค์แร็กเจียน่า  (Raggiana's Bird of Paradise; Paradisaea raggiana)  ภายในอุทยานวาริราตา  (Varirata National Park)  หนึ่งในงานของเขาคือการวางตาข่าย และศึกษานกสีเหลืองส้มชนิดนี้โดยละเอียด บางครั้งนกชนิดอื่นก็มาติดตาข่ายโดยเฉพาะนกเฉพาะถิ่นอย่างนกพิโทวี่หัวดำ  (Hood Pitohui; Pitohui dichrous)   ซึ่งเขาต้องเสียเวลามาแกะนกเหล่านี้ออก เขาเองคุ้นเคยกับนกพิโทวี่เป็นอย่างดี เพราะมันอยู่ทุกหนแห่งบนเกาะนี้ ชนพื้นเมืองที่นี่เรียกมันว่า "นกที่มีกลิ่นสาบ" เนื่องจากกลิ่นสาบรุนแรงที่สามารถติดอยู่กับผิวหนังได้นานหลายวัน ชนพื้นเมืองจึงไม่เป็นนิยมกินกัน หรือถ้าต้องกินจริงๆ  โดยเฉพาะในช่วงขาดแคลนอาหาร ชาวพื้นเมืองจะถอนขน และถลกหนังออก จากนั้นนำมาคลุกกับผงถ่านแล้วย่าง
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 2552 22:55:03
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:44:29 ]
bird__reply_132416.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
นกพิโทวี่ถือเป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบได้ในหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น ในปัจจุบันพวกมันอยู่ในวงศ์ Pachycephalidae มีทั้งหมด 6 ชนิด สำหรับนกพิโทวี่หลากสี (Variable Pitohui; Pitohui kirhocephalus) อาจแยกย่อยตามสีขน และพื้นที่ที่พบได้อีก 20 ฟอร์มเลยทีเดียว นกพิโทวี่เป็นนกขนาดกลางที่มีสีสันสดใส นักวิทย์เชื่อกันว่า สีสันที่สดใสของมันเป็นสัญญาณเตือนภัยแก่สัตว์นักล่า (aposematism) พวกมันกินทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร นักปักษีวิทยารู้จักพวกมันในฐานะหัวหน้าฝูงของนกต่างชนิดที่หากินร่วมกัน (mixed-species flocks) โดยไม่ว่าเจ้านกพิโทวี่จะกระโดดหากินในบริเวณใด นกชนิดอื่นก็จะตามมันไป นักวิทย์ได้สังเกตพบว่านกชนิดอื่นที่ตามนั้นมักจะมีสีสัน และรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนกพิโทวี่  และได้ตั้งสมมติฐานหนึ่งว่าลักษณะเช่นนั้นอาจเป็นการเลียนแบบเบทส์ (Batesian mimicry) ซึ่ง เป็นการเลียนแบบประเภทหนึ่งที่พวกถูกล่าเลียนแบบสัตว์ที่พวกสัตว์นักล่าไม่กินทั้งสีสัน รูปร่าง  และพฤติกรรม
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:46:27 ]
bird__reply_132417.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
วันหนึ่งขณะที่เขาแกะนกพิโทวี่หัวดำออกจากตาข่ายนั้น มันได้ข่วนมือจนเป็นแผล เขาตกใจ และรีบเลียแผลนั้น หลังจากนั้นไม่นานปากของเขาเริ่มบวมชา ซึ่ง เป็นอาการที่เกิดจากพิษบางอย่าง ในตอนนั้นเขาคิดว่าเกิดมาจากพิษของพืชที่เขาอาจจะเดินแล้วไปสัมผัส  และเมื่อสัมผัสกับปากก็จะทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น ไม่กี่อาทิตย์ต่อมา สมาชิกในคณะสำรวจหลายคนก็มีอาการคล้ายคลึงกันหลังจากเอานิ้วสัมผัสกับปาก ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริง... แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ นกพิโทวี่...
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:47:16 ]
bird__reply_132419.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
ข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการบวมชาของปาก และนกพิโทวี่นี้ทำให้ดัมแบชเชอร์ต้องกลับมายังเกาะปาปัวนิกินีอีกครั้งในปีถัดมา เขาได้ดึงขนนกพิโทวี่หลายชนิด และชิมมัน  และแล้วอาการที่คุ้นเคยก็เกิดขึ้นกับเขาอีกครั้ง ... ในที่สุด เขาก็ค้นพบว่าขนของมันมีพิษอย่างแน่นอน! หลังจากนั้นเขาได้ขออนุญาตเพื่อศึกษานกชนิดนี้ คณะของเขาได้ร่วมมือกับจอห์น ดัลลี่ (John Daly) นักเภสัชวิทยาผู้ค้นพบพิษของกบลูกศรพิษ (Poison dart frog; Phyllobates spp.) ในทวีปอเมริกากลาง เพื่อค้นหาว่าพิษดังกล่าวคือพิษอะไร พวกเขาพบว่าพิษของนกพิโทวี่เป็นสารพิษกลุ่มเดียวกับพิษของกบลูกศรพิษคือ บราทาโคท็อกซิน (bratachotoxins; BTX) ซึ่ง มีชื่อว่า โฮโมบราทาโคท็อกซิน (homobratachotoxin; h-BTX) นกพิโทวี่ 5 ใน 6 ชนิดมีพิษนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน  แต่ขน และผิวหนังของนกทุกชนิดมีความเข้มข้นของพิษมากที่สุด พวกเขาได้ตีพิมพ์การค้นพบที่น่าตื่นเต้นนี้ลงในวารสาร Science ในปี 1993 ทำให้นกพิโทวี่เป็นนกมีพิษชนิดแรกที่มีการศึกษา และจำแนกพิษออกมาได้ นกพิโทวี่เป็นที่รู้จักในวงการวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลาเกือบ 160 ปี มีการพบเจอนับครั้งไม่ถ้วน  แต่ไม่มีใครรู้เลยว่ามันมีพิษจนกระทั่ง...การค้นพบ"โดยบังเอิญ"ของจอห์น ดัมแบชเชอร์ การค้นพบที่ไม่ต้องไขว่คว้า...เพียงแค่ใส่ใจกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเท่านั้น
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 2552 22:49:08
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:47:55 ]
bird__reply_132420.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
โฮโมบราทาโคท็อกซิน (homobratachotoxin) เป็นสารประเภทสเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic steroidal alkaloids)  ในกลุ่มบราทาโคท็อกซิน ถูกค้นพบครั้งแรกในกบลูกศรพิษในสกุล Phyllobates โดย ดร.จอห์น ดัลลี่ และคณะ เขาพบว่าพิษนี้จะหลั่งออกมาจากต่อมด้านหลังหัวของกบลูกศรพิษ ชนเผ่าอินเดียแดงทางภาคตะวันตกของโคลอมเบียจึงได้นำพิษนี้มาใช้อาบปลายลูกดอกล่าสัตว์ ในปัจจุบัน นักวิทย์รู้แล้วว่ากบลูกศรพิษได้รับพิษมาจากอาหารที่มันกินเข้าไป  แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามันคืออะไร โฮโมบราทาโคท็อกซินถือเป็นหนึ่งในสารพิษที่ร้ายแรงที่สุด โดยมันจะไปยับยั้งกระแสประสาทภายในกล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาททำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเกือบจะทันที
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:50:04 ]
bird__reply_132422.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
หลังจากนั้น ดัมแบชเชอร์ได้กลับไปยังหมู่เกาะนิวกินีอีกครั้ง และได้รับคำบอกเล่าจากชนเผ่าพื้นเมืองว่า นกที่มีชื่อเรียกว่า "Slek-Yakt" ซึ่ง แปลได้ว่า "นกที่มีเนื้อขม" นั้นมีพิษเช่นกัน การกินนกชนิดนี้จะทำให้ปากแสบร้อนรุนแรงกว่าการกินพริก อีกทั้งการสูดดมเอากลิ่นของนกชนิดนี้เข้าไปอาจะทำให้เกิดอาการไอหรืออาการคล้ายอาการแพ้อื่นๆ  สิ่งนี้ทำให้ดัมแบชเชอร์เกิดความสนใจที่จะศึกษา เขา และดัลลี่ก็พบว่ามันคือนกอีฟริตต้าหัวฟ้า (Blue-capped Ifrita; Ifrita kowaldi) ซึ่ง มีพิษบราทาโคท็อกซินเช่นเดียวกับที่พบในนกพิทูวี่... แต่ไม่ใช่ทุกตัว! ตัวอย่างในบางพื้นที่จะมีพิษอยู่มาก  และในบางพื้นที่กลับไม่พบพิษนี้เลย ในตัวอย่างที่พบพิษนั้น ขนบริเวณอก และท้องจะมีพิษนี้อยู่มาก นี่บ่งชี้ว่ามันได้รับพิษจากอาหารที่มันกินเช่นเดียวกับนกพิโทวี่ เขาได้รายงานการพบนกชนิดที่สองที่มีพิษในปี 2000 นกชนิดนี้มีสีสันสวยงาม พบได้เฉพาะในป่าดิบเขา (ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป) ของหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น มันชอบไต่ลำต้นของไม้ยืนต้นคล้ายกับนกไต่ไม้ นกอีฟริตต้าเป็นนกกินแมลง  แต่ก็มีรายงานว่าบางครั้งมันก็กินมอสขณะจิกกินแมลงด้วยเช่นกัน
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:51:25 ]
bird__reply_132423.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
แล้วสารพิษนี้มีประโยชน์อะไรกับนกพิโทวี่ล่ะ? ดัมแบชเชอร์ตั้งสมมติฐานว่าสีสันอันฉูดฉาดเป็นเครื่องเตือนภัยแก่สัตว์นักล่า และพิษของมันเป็นเสมือนเครื่องป้องกันตัวจากสัตว์นักว่าเช่นเหยี่ยว และงูรวมถึงมนุษย์  เนื่องจากนกพิโทวี่ก็มีศัตรูในธรรมชาติอยู่หลายชนิดรวมถึงมนุษย์ในหลายท้องที่ของหมู่เกาะนิวกินี หลังจากนั้นก็มีนักวิทย์ได้ตั้งสมมติฐานเพิ่มเติมว่า พิษนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตัว  แต่เกี่ยวกับการป้องกันปรสิตภายนอก จากงานวิจัยล่าสุดปัจจุบันบ่งชี้ว่าสมมติฐานเรื่องการป้องกันปรสิตภายนอกอาจไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการตรวจพบว่านกบางตัวยังคงมีเห็บเหาเกาะอยู่ที่ขนอยู่ (ทนต่อพิษ h-BTX ในขนนกพิโทวี่หัวดำได้ ซึ่ง เป็นชนิดที่ถือว่ามีพิษสูงที่สุดในบรรดานกในสกุลนี้) อีกทั้งงานวิจัยชี้ว่า กบลูกศรพิษ และนกพิโทวี่อาจได้รับพิษมาจากอาหารที่มันกินเข้าไปนั่นก็คือด้วงในสกุล Choresine วงศ์เมลีริดี้ (Melyridae) ซึ่ง เป็นแมลงขนาดเล็ก (ประมาณ 7 มิลลิเมตร) ที่มีพื้นที่การกระจายพันธุ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หลักฐานในปัจจุบันบ่งชี้ว่า ด้วงนี้อาจไม่ได้สร้างพิษนี้ขึ้นเอง  แต่อาจมาจากสารจากพืชที่มันกินเข้าไปอีกทีหนึ่ง
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:52:20 ]
bird__reply_132424.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
หลายคนอาจคิดว่านกพิโทวี่ และนกอีฟริทต้าอาจเป็นนกสองชนิดที่มีพิษ  แต่เมื่อลองมองย้อนกลับไปยังคำเล่าขาน และรายงานต่างๆ  จะพบว่า ไม่ใช่แค่นกสองชนิดนี้เท่านั้นมีพิษ  แต่ยังมีนกอยู่อีก 11 ชนิดที่"เชื่อว่าหรือรายงานว่า"มีพิษ ในจำนวนนี้ รายงานส่วนใหญ่นั้นยังไม่มีการตรวจสอบอย่างละเอียด หรือยังไม่มีการจำแนกพิษ หรือบางรายงานใช้การสังเกตจากอาการหลังจากกินเนื้อนกชนิดนั้นเข้าไปแทนเช่น นกคุ่มยุโรป (Eurasian/Common quail; Coturnix coturnix coturnix) เป็นนกที่เชื่อกันว่ามีพิษมากว่า 3,500 ปีมาแล้ว ซึ่ง ถือว่าเป็นนกที่มีคนเชื่อว่ามีพิษมายาวนานที่สุด  แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ใครทราบว่ามันสะสมพิษใดอยู่ นักวิทย์ทราบเพียงว่าเนื้อของมันจะมีพิษในบางตัว ในบางพื้นที่  และในบางช่วงเวลาของปี(ช่วงอพยพ)เท่านั้น  เมื่อกินเนื้อที่มีพิษเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดภาวะได้รับสารพิษ(จากนกชนิดนี้)ที่เรียกว่า noturnism ซึ่ง จะแตกต่างกันไปใน แต่ละคน  แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ อ่อนแรง บางกรณีอาจรุนแรงถึงหายใจไม่ออก และตายในที่สุด แม้อาการเหล่านี้จะดูน่ากลัว  แต่ผู้ที่เคยกินก็ไม่เข็ดที่จะกินเนื้อนกชนิดนี้อีก(หลายครั้ง) แม้เขาจะเคยประสบกับภาวะได้รับสารพิษนี้มาแล้วก็ตาม
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:53:11 ]
bird__reply_132426.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
นกอ็อกเล็ตหงอน (Crested Auklet; Aethia cristatella) นกกินแพลงก์ตอนขนาดเล็ก (เช่น เคย โคพีพอด ฯ ลฯ ) ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งแถบทะเลเบอร์ริ่งจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ พวกมันจะปล่อยสารหอมระเหยที่คล้ายกับกลิ่นส้มออกมา เราสามารถรับรู้กลิ่นนี้เมื่อเข้าไปใกล้ฝูงของพวกมัน นักวิทย์ได้ตรวจสอบ และพบว่ามีสารประกอบอัลดีไฮด์หลายตัวโดยมี n-octanal เป็นหลัก พวกเขาได้ตั้งสมมติฐานว่า สารระเหยนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคุณภาพของคู่ครองในด้านสุขภาพที่ดี และปลอดภัยจากปรสิตภายนอก

นักวิทย์พบว่านกที่มีการสะสมพิษภายในร่างกายนั้นมีจำนวนน้อยมาก  แต่นกที่ใช้ประโยชน์จากสารที่ได้จากภายนอกในการป้องกันตัวนั้นมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 ชนิดเลยทีเดียว นกหลายชนิดมีการนำเอาสิ่งมีชีวิตที่มีข้อปล้องเช่นมด กิ้งกือ ฯ ลฯ  มาถูขนเพื่อให้พิษของสัตว์เหล่านี้เคลือบติดกับขน เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า anting  รวมถึงการนำเอาสารจากพืชมาเช่น สารลิโมนีน (limonene) จากเปลือกผลของพืชสกุลส้ม สารไพรีทรัม (pyretrum) จากดอกดาวเรือง เป็นต้น มาทาที่ขนหรือรังโดยตรง นักวิทย์ได้ตั้งสมมติฐานว่ามันทำเช่นนี้เพื่อป้องกันปรสิตภายนอก  แต่มีการทดลองยืนยันแล้วว่าสมมติฐานในเรื่องดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากผลการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างนกที่มีสารหรือสิ่งมีชีวิตดังกล่าวกับนกที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย

เมื่อมีคนถามว่าสัตว์กลุ่มใดมีพิษในครั้งต่อไป อย่าลืมให้นก...เป็นหนึ่งในคำตอบของคุณนะครับ ^^
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ: ชื่อไทยของนกในบทความนี้เป็นชื่อที่ผม แต่งขึ้นเอง ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ครับ
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 2552 22:56:27
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:54:09 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ขอขอบคุณ:
น้อง THE_AR, ท่าน sparrow, พี่ GreenEyes  และกวิวัฏ ที่ช่วยเรื่องเอกสารครับ


เอกสารอ้างอิง

     Ben-Ari, E. T. 2000. Birds of a (toxic) feather. Bioscience 50(12), 1136.
     Daly, J. 1995. The chemistry of poisons in amphibian skin. Proc. Natl Acad. Sci. USA 92(1): 9–13.
     Diamond, J.M. 1992. Rubbish birds are poisonous. Nature 360, 19-20.
     Douglas III, H.D., Co, J.E., Jones, T.H., & W.E. Conner. 2001. Heteropteran chemical repellants identified in the citrus odor of a seabird (crested auklet: Aethia cristatella): Evolutionary convergence in chemical ecology. Naturwissenschaften 88, 330-332.
     Dumbacher, J.P. 1999. Evolution of toxicity in pitohuis: I. Effects of homobatrachotoxin on chewing lice (order Phithiraptera). The Auk 116(4), 957-963.
     Dumbacher, J. P., Beehler, B. M., Spande, T. F., Garrafo, H. M. & Daly, J. W. 1992. Homobatrachotoxin in the genus Pitohui—chemical defence in birds. Science 258, 799–801.
     Dumbacher, J. P., Beehler, B. M., Spande, T. F., Garrafo, H. M. & Daly, J. W.  1993. Pitohui: How toxic and to whom? Science 259, 582-583.
     Dumbacher, J. P., Deiner, K., Thompson, L., Fleischer, R. C. 2008. Phylogeny of the avian genus Pitohui and the evolution of toxicity in birds. Mol Phylogenet Evol. 49(3), 774-781.
     Dumbacher, J. P. & Pruett-Jones, S. 1996.  Avian chemical defense.  Current Ornithology 13, 137-174.
     Dumbacher, J.P. & R.C. Fleischer. 2001. Phylogenetic evidence for colour pattern convergence in toxic pitohuis: Mullerian mimicry in birds? Proc R Soc Lond 268, 1971-1976.
     Dumbacher, J. P., Spande, T. F. & Daly, J. W. 2000. Batrachotoxin alkaloids from passerine birds: a second toxic bird genus (Ifrita kowaldi) from New Guinea. Proc Natl Acad Sci USA 97, 12970–12975.
     Dumbacher, J. P., Wako, A., Derrickson, S. R., Samuelson, A., Spande, T. F. & Daly, J. W. 2004. Melyrid beetles (Choresine): a putative source for the batrachotoxin alkaloids found in poison-dart frogs and toxic passerine birds. Proc. Natl Acad. Sci. USA 101, 15857–15860.
     Hagelin, J.C. 2007. The citrus-like scent of crested auklets: reviewing the evidence for an avian olfactory ornament. Journal of Ornithology 148, 195-201.
     Hagelin, J.C. & Jones, I.L. 2007. Bird odors and other chemical substances: A defense mechanism or overlooked mode of intraspecific communication. The Auk 124(3):1–21.
     Jonsson, K. A., Bowie, R. C. K., Norman, J. A., Christidis, L. and Fjeldsa, J. 2008. Polyphyletic origin of toxic Pitohui birds suggests widespread occurrence of toxicity in corvoid birds. Biol. Lett. 4(1), 71-74.
     Legge, S. and Heinshn, R. 1996. Cooperative breeding in Hooded Pitohuis Pitohui dichrous. Emu 96, 139-140.
     Mouritsen, K.N. and Madsen, J. 1994. Toxic birds: defense against parasites? Oikos 69, 357-358.
     Poulsen, B. O. 1993. Poison in Pitohui birds—against predators or ectoparasites. Emu 93, 128–129.
     Sever, A. 2004. Avian toxicity: Batrachotoxins as chemical defense. Student Review Articles in Chemical Ecology (BI 570). Colorado State University.
     Summer, K. and Clough, M. E. 2001. The evolution of coloration and toxicity in the poison frog family (Dendrobatidae). Pro Natl Acad Sci U S A. 98(11), 6227-6232.
     Weldon, P.J. 2000. Avian chemical defense: Toxic birds not of a feather. Proc Natl Acad Sci USA 97, 12948-12949.
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 2552 22:58:31
Due_n approve [ 26 ก.ค. 2552 22:57:08 ]
bird__reply_132432.gif
ความคิดเห็นที่: 10
ขอบคุณครับน้องที่นำเรื่องดีๆ มาฝาก นับเป็นความรู้ใหม่จริงๆ ครับ อื้มม์....! นกก็มีพิษได้นะ
จอม approve [ 26 ก.ค. 2552 23:04:25 ]
ความคิดเห็นที่: 11
เห้ย ชอบว่ะท่าน

“ Discovery consists in seeing what everyone else has seen and thinking what no one else has thought. ”
"การค้นพบเกิดจากการเห็นสิ่งที่ทุกคนเห็น  และคิดในสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคิดมาก่อน"
-Albert Szent-Gyorgyi  (นักชีวเคมีชาวฮังการี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี 1937)


เป็น Quotation ที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคน โดยเฉพาะ ทางชีววิทยา และอนุกรมวิธาน น่าระลึกไว้ตลอด เพราะหลายๆ ครั้ง เห็นการชี้นำจากสื่อ หรือสังคมเวปเอง ว่า ผู้คนพบ คือผู้ที่ได้พบสิ่งนั้นเป็นคนแรก ซึ่ง มันไม่ใช่เลย เพราะ จริงๆ แล้ว ได้มีชนในท้องถิ่น หรือแม้ แต่นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้เคนประสพพบเจอแล้ว เพียง แต่ เค้าเหล่านั้น ไม่ได้มีความเชี้ยวชาญในด้านดังกล่าว หรือไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพบเจอครั้งดังกล่าวครับ

การค้นพบสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ๆ  คุณค่ามันไม่ได้อยู่ที่ความเป็นเจ้าของทางภาษาศาสตร์ หรือสิทธิบัตร  แต่ความสำคัญอยู่ที่เราได้ทำความเข้าใจธรรมชาติเหล่านั้นดีพอหรือยัง

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อความดีๆ ครับ ดิว
Paphmania approve [ 26 ก.ค. 2552 23:08:16 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อ่านแล้วก็อึ้งๆ ไป ทำให้นึกไปถึงปลาบ้า กินลูกกระเบา แล้วคนกินปลาเลยออกอาการ เมาๆ
conti approve [ 26 ก.ค. 2552 23:21:35 ]
bird__reply_132442.gif
ความคิดเห็นที่: 13
เก่งจังเลยท่าน... นอกจากเป็นนายแมลงปอแมนแล้ว ยังมีความรู้เรื่องอื่นอีก

>>> ข้าน้อยขอคารวะก๊าบ... ได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย
callus approve [ 26 ก.ค. 2552 23:42:56 ]
ความคิดเห็นที่: 14
: conti
อ่านแล้วก็อึ้งๆ  ไป ทำให้นึกไปถึงปลาบ้า กินลูกกระเบา แล้วคนกินปลาเลยออกอาการ เมาๆ  
พี่ งง ยิ่งกว่าเอ็งอีก "มันปลาบ้ากินลูกกระเบาไม่ใช่หรอ??" สงสัยจะเบลอ
(แซวเล่นๆ  เข้าใจอารมณ์อยู่ หุๆ )
aqueous_andaman approve [ 27 ก.ค. 2552 00:41:39 ]
ความคิดเห็นที่: 15
เรื่องราว น่าอ่านๆ  มาก
ก๊ง approve [ 27 ก.ค. 2552 03:38:48 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ แล้วนกแถวบ้านเราจะมีแบบนี้บ้างมั้ย
ตะขาบยักษ์ approve [ 27 ก.ค. 2552 08:30:50 ]
ความคิดเห็นที่: 17
สุดยอดครับ ผมเพิ่งรู้นะเนี่ยว่ามีนกมีพิษด้วย ทำให้คิดไปว่าจะมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่มีพิษ แต่เราคิดไม่ถึง!


ปล.อย่างนี้เราพูดได้มั้ยครับว่ากลุ่มคนที่ค้นพบพิษของกบลูกศรพิษจริงๆ  แล้วคืออินเดียนแดง ไม่ใช่ดร.จอห์น ดัลลี่
PaPaSEK approve [ 27 ก.ค. 2552 08:53:22 ]
ความคิดเห็นที่: 18
เพิ่งได้ทราบเหมือนกันท่านว่านกก็มีพิษได้......

ได้ความรู้ไปเต็มๆๆ
heterometrus_sp approve [ 27 ก.ค. 2552 09:27:09 ]
ความคิดเห็นที่: 19
อ่านเพลินเลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้
jos sky approve [ 27 ก.ค. 2552 09:55:48 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ทำสัมมนาเหรอท่าน?  อิ อิ เจ๋งดีครับ
นณณ์ approve [ 27 ก.ค. 2552 10:02:59 ]
ความคิดเห็นที่: 21
สุดยอดเลย..เนื้อเรื่องน่าอ่าน+ได้ความรู้ชวนติดตามมากเลยค่ะ..ขอบคุณมากๆ เลยนะค่ะ พี่ดิวเปลียนสายแล้ว อิๆ
Lunatica [ 27 ก.ค. 2552 10:06:48 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ที่เคยรู้มามีแค่ Pitohui อย่างเดียวเอง
plains|wanderer approve [ 27 ก.ค. 2552 11:36:57 ]
ความคิดเห็นที่: 23
เจ๋งๆๆๆ  ชอบๆๆๆ
Leviathan approve [ 27 ก.ค. 2552 11:45:07 ]
ความคิดเห็นที่: 24
สงสัยฝนตก  เลยไม่ได้ออกไปถ่ายรูปแมลงปอ
เลยว่างมาศึกษาเรื่องอื่น
hanpo approve [ 27 ก.ค. 2552 12:51:14 ]
ความคิดเห็นที่: 25
แจ่มแจ๋ว สุดยอดเลยครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วเรา ในไทยมีมั้งมั้ยเนอะ
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 27 ก.ค. 2552 16:29:26 ]
ความคิดเห็นที่: 26
: จอม
ขอบคุณครับน้องที่นำเรื่องดีๆ  มาฝาก นับเป็นความรู้ใหม่จริงๆ  ครับ อื้มม์....! นกก็มีพิษได้นะ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ พี่จอม

: Paphmania
เห้ย ชอบว่ะท่าน

“ Discovery consists in seeing what everyone else has seen and thinking what no one else has thought. ”
"การค้นพบเกิดจากการเห็นสิ่งที่ทุกคนเห็น   และคิดในสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคิดมาก่อน"
-Albert Szent-Gyorgyi  (นักชีวเคมีชาวฮังการี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี 1937)


เป็น Quotation ที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคน โดยเฉพาะ ทางชีววิทยา  และอนุกรมวิธาน น่าระลึกไว้ตลอด เพราะหลายๆ  ครั้ง เห็นการชี้นำจากสื่อ หรือสังคมเวปเอง ว่า ผู้คนพบ คือผู้ที่ได้พบสิ่งนั้นเป็นคนแรก ซึ่ง  มันไม่ใช่เลย เพราะ จริงๆ  แล้ว ได้มีชนในท้องถิ่น หรือแม้  แต่นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้เคนประสพพบเจอแล้ว เพียง  แต่ เค้าเหล่านั้น ไม่ได้มีความเชี้ยวชาญในด้านดังกล่าว หรือไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพบเจอครั้งดังกล่าวครับ

การค้นพบสิ่งใหม่หรือความรู้ใหม่ๆ   คุณค่ามันไม่ได้อยู่ที่ความเป็นเจ้าของทางภาษาศาสตร์ หรือสิทธิบัตร   แต่ความสำคัญอยู่ที่เราได้ทำความเข้าใจธรรมชาติเหล่านั้นดีพอหรือยัง

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อความดีๆ  ครับ ดิว

ใช่เลย พี่พัน ^^  การค้นพบหลายต่อหลายชิ้นก็มีที่มามาจากชนท้องถิ่นจริงๆ  นั่นแหละครับ

: conti
อ่านแล้วก็อึ้งๆ  ไป ทำให้นึกไปถึงปลาบ้า กินลูกกระเบา แล้วคนกินปลาเลยออกอาการ เมาๆ

: aqueous_andaman
: conti
อ่านแล้วก็อึ้งๆ   ไป ทำให้นึกไปถึงปลาบ้า กินลูกกระเบา แล้วคนกินปลาเลยออกอาการ เมาๆ   พี่ งง ยิ่งกว่าเอ็งอีก "มันปลาบ้ากินลูกกระเบาไม่ใช่หรอ??" สงสัยจะเบลอ
(แซวเล่นๆ   เข้าใจอารมณ์อยู่ หุๆ  )


5555  ขอบคุณที่แวะมาเจิมนะ ท่านน้องทั้งสอง
...แก้ไขเมื่อ 27 ก.ค. 2552 16:38:54
Due_n approve [ 27 ก.ค. 2552 16:37:58 ]
ความคิดเห็นที่: 27
: callus
เก่งจังเลยท่าน... นอกจากเป็นนายแมลงปอแมนแล้ว ยังมีความรู้เรื่องอื่นอีก

>>> ข้าน้อยขอคารวะก๊าบ... ได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะ ท่านเพื่อน

: ก๊ง
เรื่องราว น่าอ่านๆ   มาก

ขอบคุณครับ หมอก๊ง ^^

: ตะขาบยักษ์
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ แล้วนกแถวบ้านเราจะมีแบบนี้บ้างมั้ย

ไม่ทราบเลยครับ คงต้องรอเซียนนกมาแจ้งแถลงไขในเรื่องนี้แล้วล่ะครับ

: PaPaSEK
สุดยอดครับ ผมเพิ่งรู้นะเนี่ยว่ามีนกมีพิษด้วย ทำให้คิดไปว่าจะมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่มีพิษ  แต่เราคิดไม่ถึง!


ปล.อย่างนี้เราพูดได้มั้ยครับว่ากลุ่มคนที่ค้นพบพิษของกบลูกศรพิษจริงๆ   แล้วคืออินเดียนแดง ไม่ใช่ดร.จอห์น ดัลลี่

ครับ เหมือนกับที่พี่พันบอกครับ ชาวอินเดียแดงเป็นผู้พบเจอพิษนี้ก่อน แล้วดร.จอห์น ดัลลี่ก็มาศึกษาอย่างละเอียด และพบว่ามันเป็นพิษที่ยังไม่มีเคยมีใครจำแนกมาก่อน(ในวงการวิชาการ)น่ะครับ

: heterometrus_sp
เพิ่งได้ทราบเหมือนกันท่านว่านกก็มีพิษได้......

ได้ความรู้ไปเต็มๆๆ  

ขอบคุณ ท่านปิง

: jos sky
อ่านเพลินเลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้

ขอบคุณครับ ท่าน jos sky

: นณณ์
ทำสัมมนาเหรอท่าน?  อิ อิ เจ๋งดีครับ

ขอบคุณครับ พี่นณณ์  ก่อนหน้านี้เคยอ่านเจอแล้วสนใจหารายละเอียดต่อยอดอ่ะครับ หาไปหามา..เลยออกมาเขียนเป็นบทความอย่างที่เห็นเนี่ยแหละพี่
Due_n approve [ 27 ก.ค. 2552 16:46:48 ]
ความคิดเห็นที่: 28
: Lunatica
สุดยอดเลย..เนื้อเรื่องน่าอ่าน+ได้ความรู้ชวนติดตามมากเลยค่ะ..ขอบคุณมากๆ  เลยนะค่ะ พี่ดิวเปลียนสายแล้ว อิๆ  

ยังไม่เปลี่ยนนะจ๊ะ  รอความเห็นจากเซียนนกอยู่เหมือนกันน่ะ
ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะ น้องปิ่น

: plains|wanderer
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ที่เคยรู้มามีแค่ Pitohui อย่างเดียวเอง

ขอบคุณที่แวะมาอ่านเช่นกันครับ

: Leviathan
เจ๋งๆๆๆ   ชอบๆๆๆ  

เขียนแบบนี้ ผ่านไหมอ่ะ ท่านน้อง?  ^^   เปลี่ยนแนวเขียนนะเนี่ย

: hanpo
สงสัยฝนตก  เลยไม่ได้ออกไปถ่ายรูปแมลงปอ
เลยว่างมาศึกษาเรื่องอื่น

พอดีสนใจเรื่องสิ่งมีชีวิตต่างๆ  อยู่เหมือนกันครับ อ่านเจอเห็นว่าน่าสนใจดี เลยค้นข้อมูลต่อน่ะครับ คุณ hanpo
ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ ^^

: เก่ง_ดอยอินฯ
แจ่มแจ๋ว สุดยอดเลยครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วเรา ในไทยมีมั้งมั้ยเนอะ

นั่นสิพี่ ผมก็อยากรู้เหมือนกัน แฮะๆ
ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับผม
Due_n approve [ 27 ก.ค. 2552 16:50:55 ]
ความคิดเห็นที่: 29
เป็นความรู้ใหม่ขอบคุณมากๆ ครับ ไม่เคยรู้เลยจริงๆ ว่าบนโลกเราจะมีนกมีพิษด้วย
captainnova approve [ 27 ก.ค. 2552 17:46:20 ]
ความคิดเห็นที่: 30
น่าสนใจมากๆ เลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แปลกใหม่มากๆ สำหรับผม
mirror man approve [ 27 ก.ค. 2552 19:36:55 ]
ความคิดเห็นที่: 31
มันทำให้ผมรู้ว่าในโลกนี้ยังมีอะไรอีกเยอะที่เราไม่รู้ และคาดไม่ถึง ขอบคุครับ
noppadol approve [ 27 ก.ค. 2552 19:49:39 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 32
พิษกบลูกศร  มันเป็นกลุ่มเดียวกับปลาปักเป้าหรือเปล่าครับ?
เคยอ่านเจอในนี้
http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/magazine/update/poision.htm
ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ก็มีการค้นพบว่า มาคูโลท็อกซิน ซึ่ง เป็นพิษอันน่าเกรงขามของหมึกยักษ์วงแหวนสีฟ้า ก็เป็นทีทีเอกซ์เช่นกัน นับจากนั้น ก็พบว่าสัตว์ชนิดต่างๆ  ก็มีทีทีเอกซ์กันถ้วนหน้า อย่างเช่น หนอนตัวแบน ปลานกแก้ว ดาวทะเล หนอนทะเล ปลาสินสมุทร ปูแซนทิด (xanthid crab) ปลาโกลบฟิช (globefish) แมงดาทะเล หนอนริบบินที่เกาะอยู่กับหอยนางรม หอยทรัมเปต  และพวกแกสโทรพอดส์ นอกจากนี้ยังพบในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น คางคกแห่งอเมริกากลางในสกุล Atelopus สมาชิกตัวหนึ่งของสกุลนี้คือ กบฮาร์เลควิน (harlequin frog) ที่ลำตัวมีสีมากมายหลายหลากสี  และกบในเขตร้อนบางชนิด เช่น กบศรพิษ (poison arrow frog) เมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่า ปลาบู่ (goby fish) 3 ชนิดของไต้หวันก็มีทีทีเอกซ์ นอกจากนี้ยังพบทีทีเอกซ์ในระดับความเข้มข้นต่ำ ซึ่ง มีโครงสร้างคล้ายกับโมเลกุลที่ชื่อ ซาซิทอกซิน (saxitoxin) ที่พบในปรากฏการณ์แพร่กระจ่ายของสาหร่ายที่เรียกว่า ขี้ปลาวาฬ (red tides)
เมื่อศึกษาจนรู้ถึงโครงสร้างที่แน่นอนของทีทีเอกซ์ โมเชอร์ถึงกับตกตะลึงเพราะเขาไม่เคยพบสารชนิดใดที่มีโครงสร้างในลักษณะนี้มาก่อน การจัดเรียงโมเลกุลของมันเป็นรูปแบบใหม่ ซึ่ง ไม่อาจจัดกลุ่มเข้าไปอยู่ในสารอินทรีย์จากธรรมชาติกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้เลย มันไม่ได้เป็นทั้งอัลคาลอยด์  สเตอรอยด์ หรือคาร์โบไฮเดรต แล้วก็ไม่เหมือนกับกรดอะมิโนตัวใดๆ  ตัวมันเองมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ โมเลกุลมีขนาดเล็ก  และเป็นรูปแบบที่จำเพาะ นักพิษวิทยาบางท่านถึงกับยอมรับว่า มันเป็นสารจากธรรมชาติที่มีรูปร่างประหลาดที่สุด
มีข้อสงสัยว่า ทำไมสารพิษชนิดนี้จึงมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ซึ่ง จากทฤษฎีวิวัฒนาการแล้วมันไม่น่าจะเป็นเช่นนี้ ใน พ.ศ. 2527 โมเชอร์ กับเฟร็ด เฟอฮร์แมน นักเคมีอีกคนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ตั้งสมมติฐานว่า สิ่งมีชีวิตที่มีทีทีเอกซ์ อาจมีจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์เหล่านี้  และจุลินทรีย์นี้แหละที่เป็นตัวการสำคัญในการผลิตสารพิษขึ้น
แนวคิดนี้ได้รับการพิสูจน์ โดยนักเคมีชาวญี่ปุ่น 2 คน คือ ทาเกชิ โนกูชิ แห่งมหาวิทยาลัยโทบังกุ ในเซนได  และทามาโอะ ยาสุโมโต จากมหาวิทยาลัยนางาซากิ ซึ่ง ได้ค้นพบว่า แบคทีเรียในทะเลหลายชนิดสามารถสร้างทีทีเอกซ์ได้  แต่ก็มีข้อแย้งว่า ปริมาณสารพิษที่แบคทีเรียเหล่านี้ผลิตได้ในห้องทดลองนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณทีทีเอกซ์ที่พบในปลาปักเป้าหรือในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีสารพิษชนิดนี้อยู่
ต่อมานักวิจัยหลายคนก็เริ่มตั้งประเด็นอื่นๆ  แทนสมมติฐานของโมเชอร์ เช่นว่า อาจมีสารพิษปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร ทำให้บรรดาสัตว์ต่างๆ  สะสมทีทีเอกซ์ไว้ในเนื้อเยื่อของมัน เช่นเดียวกับการสะสมตัวของดีดีทีในห่วงโซ่อาหาร กล่าวคือ ปริมาณความเป็นพิษจะไม่ลดลงเลย เมื่อสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ความเข้มข้นของทีทีเอกซ์ในสัตว์ที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นในห่วงโซ่อาหารก็จะสะสมเพิ่มขึ้นไปอีก นี่คือคำอธิบายที่ดีสำหรับข้อสงสัยที่ว่าทำไมสัตว์ในลำดับผู้ล่า จึงมีทีทีเอกซ์ในปริมาณมาก


อยากทราบอย่างยิ่งว่า อินเดียนแดงที่เอาศรอาบพิษกบไปยิงสัตว์  จะกินสัตว์นั้นได้อย่างครับ? ในเมื่อมันมีพิษนี้อยู่ในร่างกายแล้ว?

ปล.นกคุ่ม ใน คห.ที่ 7  ลักษณะยังกะนกคุ่มที่คนเลี้ยงไว้กินไข่&กินเนื้อ เลยอ่ะ(ผมก็เคยกิน)
snakeeater approve [ 27 ก.ค. 2552 20:35:15 ]
ความคิดเห็นที่: 33
: snakeeater
พิษกบลูกศร  มันเป็นกลุ่มเดียวกับปลาปักเป้าหรือเปล่าครับ?
เคยอ่านเจอในนี้
http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/magazine/update/poision.htm


 อยากทราบอย่างยิ่งว่า อินเดียนแดงที่เอาศรอาบพิษกบไปยิงสัตว์  จะกินสัตว์นั้นได้อย่างครับ? ในเมื่อมันมีพิษนี้อยู่ในร่างกายแล้ว?

ปล.นกคุ่ม ใน คห.ที่ 7  ลักษณะยังกะนกคุ่มที่คนเลี้ยงไว้กินไข่&กินเนื้อ เลยอ่ะ(ผมก็เคยกิน)

พิษของปลาปักเป้าเรียกว่า tetrodotoxin มีฤทธิ์ยับยั้งการจับกับ voltage-gated sodium channels  ของพิษกบลูกศรครับ ส่วนเรื่องพิษ tetrodotoxin นั้น พบในกบลูกศรพิษที่อยู่คนละสกุลครับ

เรื่องพิษในเนื้อสัตว์ที่โดนลูกดอกอาบพิษกบชนิดนี้นั้น ... ผมเองก็ไม่แน่ใจนะครับ  แต่คิดว่าชาวอินเดียแดงไม่กินเนื้อสดๆ  กันมั้งครับ น่าจะผ่านกระบวนการบางอย่างที่ทำให้พิษนี้สลายไปครับ
Due_n approve [ 27 ก.ค. 2552 21:31:42 ]
ความคิดเห็นที่: 34
^
^
^
เป็นไปได้ไหมครับว่าอินดียแดงใช้ความร้องในการปรุงเนื้อสัตว์ ทำให้พิษสลายตัวไปจากการถูกความร้อน

เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากเลยครับอ่านแล้วได้ความรู้อีกเยอะเลย
...man [ 27 ก.ค. 2552 21:37:23 ]
ความคิดเห็นที่: 35
เท่าที่เคยฟังจากชาวบ้าน การเลือกใช้พิษในการล่าสัตว์จะต้องเลือกพิษให้เหมาะกับการปรุงอาหารนั้นๆ  เช่น จะย่างก็ต้องใช้พิษที่ต่างจากเนื้อที่จะต้มด้วย

อ้อ..พิษที่ใช้ล่าบางชนิดอาจกินโดยไม่เป็นอันตรายก็ได้( ถ้าไม่ซวยจริงๆ ) เหมือนยาสลบแบบฉีด ดมให้หมดขวดก็ไม่สลบ  หรือ ถ้าเอาพิษงูเห่ามาฉีดก็ตาย  แต่ ถ้ากินก็ไม่เป็นไร(ย้ำว่า ถ้าไม่ซวย)
knotsnake approve [ 28 ก.ค. 2552 10:17:17 ]
ความคิดเห็นที่: 36
นกพิษ เคยได้ยิน แต่ในการ์ตูน หุหุ
GreenEyes approve [ 28 ก.ค. 2552 11:07:44 ]
ความคิดเห็นที่: 37
: ...man
^
^
^
เป็นไปได้ไหมครับว่าอินดียแดงใช้ความร้องในการปรุงเนื้อสัตว์ ทำให้พิษสลายตัวไปจากการถูกความร้อน

เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากเลยครับอ่านแล้วได้ความรู้อีกเยอะเลย

อาจจะนะ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ฮาๆ

: knotsnake
เท่าที่เคยฟังจากชาวบ้าน การเลือกใช้พิษในการล่าสัตว์จะต้องเลือกพิษให้เหมาะกับการปรุงอาหารนั้นๆ   เช่น จะย่างก็ต้องใช้พิษที่ต่างจากเนื้อที่จะต้มด้วย

อ้อ..พิษที่ใช้ล่าบางชนิดอาจกินโดยไม่เป็นอันตรายก็ได้(  ถ้าไม่ซวยจริงๆ  ) เหมือนยาสลบแบบฉีด ดมให้หมดขวดก็ไม่สลบ  หรือ  ถ้าเอาพิษงูเห่ามาฉีดก็ตาย   แต่  ถ้ากินก็ไม่เป็นไร(ย้ำว่า  ถ้าไม่ซวย)

ขอบคุณครับพี่น็อต ^^  ในการล่าสัตว์ที่ขนาดแตกต่างกัน ต้องใช้พิษปริมาณที่แตกต่างกันด้วยใช่ไหมพี่?

: GreenEyes
นกพิษ เคยได้ยิน  แต่ในการ์ตูน หุหุ

ขอบคุณพี่เอิร์ธที่แวะมานะคร้าบบ มีทริปไปไหนอีกไหมพี่?
Due_n approve [ 28 ก.ค. 2552 12:43:57 ]
ความคิดเห็นที่: 38
: knotsnake
เท่าที่เคยฟังจากชาวบ้าน การเลือกใช้พิษในการล่าสัตว์จะต้องเลือกพิษให้เหมาะกับการปรุงอาหารนั้นๆ   เช่น จะย่างก็ต้องใช้พิษที่ต่างจากเนื้อที่จะต้มด้วย

อ้อ..พิษที่ใช้ล่าบางชนิดอาจกินโดยไม่เป็นอันตรายก็ได้(  ถ้าไม่ซวยจริงๆ  ) เหมือนยาสลบแบบฉีด ดมให้หมดขวดก็ไม่สลบ  หรือ  ถ้าเอาพิษงูเห่ามาฉีดก็ตาย   แต่  ถ้ากินก็ไม่เป็นไร(ย้ำว่า  ถ้าไม่ซวย)



ป๋าน๊อตลองมาแล้วใช่ไหมค่ะ 55
Montela_Hoya approve [ 28 ก.ค. 2552 12:56:44 ]
ความคิดเห็นที่: 39
มาอ่านทีหลัง    

พึ่งทราบก็ตอนนี้แหละครับว่านกมีพิษด้วย
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ครับ ; )
electron approve [ 28 ก.ค. 2552 13:43:03 ]
ความคิดเห็นที่: 40
เป็นความรู้ใหม่เลยคะ ว่านกมีพิษด้วย  และก็คิดว่าสัตว์อีกหลายๆ  ชนิดในโลกนี้ก็น่าจะมีพิษ
เอาไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรูตัวฉกาจ อย่างมนุษย์นี่แหละคะ กินได้ทุกอย่างจริงๆ
Myanmar approve [ 28 ก.ค. 2552 15:04:42 ]
ความคิดเห็นที่: 41
: Due_n
มีทริปไปไหนอีกไหมพี่?

มีค่ายเยาวชนที่แก่งกระจานตอนตุลา ไปกับน้องๆ มหิดล(มั้ง) ปี2
ว่าจะชวนอยู่เลย ปิดเทอมปะละ
 แต่รอแผนงานของน้องที่ชัดเจนอยู่  และก็ต้องดูแผน(ว่าง)งานของเราที่ชัดเจนด้วย เหอๆ
GreenEyes approve [ 28 ก.ค. 2552 15:14:08 ]
ความคิดเห็นที่: 42
: knotsnake
เท่าที่เคยฟังจากชาวบ้าน การเลือกใช้พิษในการล่าสัตว์จะต้องเลือกพิษให้เหมาะกับการปรุงอาหารนั้นๆ   เช่น จะย่างก็ต้องใช้พิษที่ต่างจากเนื้อที่จะต้มด้วย

อ้อ..พิษที่ใช้ล่าบางชนิดอาจกินโดยไม่เป็นอันตรายก็ได้(  ถ้าไม่ซวยจริงๆ  ) เหมือนยาสลบแบบฉีด ดมให้หมดขวดก็ไม่สลบ  หรือ  ถ้าเอาพิษงูเห่ามาฉีดก็ตาย   แต่  ถ้ากินก็ไม่เป็นไร(ย้ำว่า  ถ้าไม่ซวย)


เพราะผมมีข้อมูลว่าพิษพวก Tetrodotoxin ในปลาปักเป้า  มันทนความร้อนมากน่ะสิครับ แถมทนน้ำย่อยด้วย  เลยสงสัยว่า  ถ้าพิษ Tetrodotoxin ในกบมีคุณสมบัติเช่นนี้ด้วย  คนจะกินเนื้อสัตว์ที่โดนยิงได้อย่างไร?

ว่า แต่กบลูกศรพิษ แต่ละสปีชีส์ มันมีพิษคนละแบบโดยสิ้นเชิงเลยหรือครับ?  แต่จากที่ จขกท.เล่ามา  พิษของกบศร(ชนิดที่ว่ามีโครงสร้างคล้ายพิษจากนกนี้) มันก้เป็นกลุ่มสเตอรอลแอลคาลอยด์ คล้ายกันกับ Tetrodotoxin นี่นา

 แต่จากทฤษฎีที่เกี่ยวเนื่องกับชีวเคมีกับวิวัฒนาการ  สิ่งมีชีวิตที่ห่างไกลกันมากในทางพันธุกรรม(เช่นนกกับกบ) ไม่น่าสร้างพิษที่เหมือนกันขึ้นมาได้ นอกจากจะรับมาจากจุลินทรีย์หรือพืชที่มันกิน
...แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 2552 15:30:05
snakeeater approve [ 28 ก.ค. 2552 15:28:40 ]
ความคิดเห็นที่: 43
อ้างตาม : Daly, J. 1995. The chemistry of poisons in amphibian skin. Proc. Natl Acad. Sci. USA 92(1): 9–13.

"Batrachotoxin was detected in only five species of dendrobatid frogs and these frogs were then classified as the monophyletic genus Phyllobates based in part on the presence of batrachotoxins."

กบลูกศรในสกุล Phyllobates ใช้การพบพิษนี้เป็นส่วนหนึ่งในการจำแนกครับ

ป.ล. "The activity of BTX depends on temperature, reaching its maximum at 37 degrees Celsius"
...แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 2552 16:04:53
Due_n approve [ 28 ก.ค. 2552 15:55:20 ]
ความคิดเห็นที่: 44
เยี่ยมมากๆ  ครับ บ้านนี้สมกับเป็นคลังความรู้อย่างแท้จริง....

มานั่งอ่านเรื่องแล้วก็รู้สึกประหลาดใจมาก เป็นความรู้ใหม่ของผม....

แถมเป็นเกิดในประเทศที่ผมอยากไปดูนกมากที่สุดอีกด้วย....
นกสุโขทัย approve [ 29 ก.ค. 2552 05:05:08 ]
ความคิดเห็นที่: 45
Thank you
Pichsud [ 02 ส.ค. 2552 20:56:59 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org