กระทู้-12859 : เรื่องการบินได้ของผึ้ง

Home » Board » อื่นๆ

เรื่องการบินได้ของผึ้ง

ตามทฤษฎีการบินเท่าที่มีอยู่
ไม่มีทางเลยที่ผึ้งจะบินได้
เพราะว่าปีกของมันเล็กเกินกว่าที่จะทำให้ตัวอ้านๆ น้อยๆ ลอยขึ้นจากพื้นได้เลย


แล้วมีใครรู้ไมคับว่าทำไมผึ้งถึงบินได้

(นอกเรื่องไปขออภัยด้วยคับ)
LmNeverDie approve [ 19 ส.ค. 2552 21:28:45 ]
open__za@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 1
ก็เพราะมันกระพือปีกน่ะสิครับ ผึ้ง (honeybee) จะกระพือปีก 230 ครั้งต่อวินาทีครับ  สิ่งนี้แหละครับที่ทำให้ผึ้งบินขึ้นมาได้  ง่ายๆ  แค่นี้แหละครับ

อ่านรายละเอียดได้ที่: Altshuler, D.L et al. 2005. Short-amplitude high-frequency wing strokes determine the aerodynamics of honeybee flight. PNAS. 102:18213-18218. http://www.pnas.org/content/102/50/18213.full?sid=07c0a21a-2523-4fed-950a-f3f52754a3be

ป.ล. ไหนๆ  ก็มาอยู่ในสังคมเดียวกันแล้ว ก่อนพิมพ์อะไรก็อย่าลืมดูป้ายสีเขียวสักนิดด้วยนะครับ
...แก้ไขเมื่อ 19 ส.ค. 2552 22:57:09
Due_n approve [ 19 ส.ค. 2552 21:55:51 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ไม่มีน้ำหนักก็เพิ่มความเร็วเอา เพิ่มความเร็วแล้วได้ยกกำลังสองด้วยสิ  

E=mc2 ยังใช้ได้เสมอ
นณณ์ approve [ 20 ส.ค. 2552 11:24:12 ]
ความคิดเห็นที่: 3
แมลงมีกล้ามเนื้อคอยช่วยในการบินที่ดีมากค่ะ
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการบินมี 2 แบบ

1. กล้ามเนื้อที่ต่อกับปีกโดยตรง (ช่วยในการกระพือปีกโดยตรง) = Direct  flight muscle
    ตรงจุดสีชมพูในรูป
2. กล้ามเนื้อที่ช่วยในการบิน หรือการกระพือปีกทางอ้อม คือไม่ได้ต่อกับปีกโดยตรง
     แต่การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อนั้นไปช่วยให้เกิดการกระพือปีก = Indirect flight muscle

กล้ามเนื้อพวกนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก
 และในขณะที่แมลงกระพือปีก มันจะทำมุมเอียงขึ้นลง คล้ายกับเลขแปด (ไม่ได้กระพือขึ้นลงอย่างเดียว)
เพื่อให้เกิดมุมปะทะกับอากาศ มุมปะทะนี้จะเป็นตัวช่วยให้เกิดการยกตัวให้สูงขึ้นด้วย
(เหมือนปีกใบพัดเฮลิคอปเตอร์ที่ต้องมีมุมเอียงๆ  ให้ปะทะกับอากาศ  แต่ของแมลงทำได้ดีกว่า)

นอกจากกล้ามเนื้อ ลักษณะการกระพือแล้ว
ตัวแมลงเองที่เห็นว่ากลมป้อม ตัวโต นั้นมันไม่ได้ตันทั้งหมด
มันมีส่วนที่กลวงค่อนข้างมาก ทำให้ตัวมันน้ำหนักเบา
 และแมลงที่บินได้หลายชนิด จะมีถุงลมช่วยพยุงตัวขณะบินในอากาศอีกด้วย

ตามรูป แสดงให้เห็นถึงกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกระพือปีก (ภาพตัดขวาง)


a = ปีกแมลง
b = ข้อต่อ หรือจุดเชื่อมต่อ (มีกล้ามเนื้อเชื่อมอยู่)
c = dorsoventral muscles
d = longitudinal muscles

(แก้ไขคำผิดค่ะ)
...แก้ไขเมื่อ 22 ส.ค. 2552 01:13:38
ยายอ้วน approve [ 21 ส.ค. 2552 16:43:18 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ทราบมาว่า นกฮัมมิงเบิร์ด ก็บินโดยใช้หลักการเดียวกับแมลงเหมือนกัน
ถ้าหากประสิทธิภาพของปีก วัดจากอัตราส่วนน้ำหนักตัวสัตว์/ขนาดพื้นที่ปีก แล้ว
อาจจะสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของ ปีกแมลง > ปีกนก > ปีกค้างคาว &pterosaur
snakeeater approve [ 21 ส.ค. 2552 19:40:35 ]
ความคิดเห็นที่: 5
: snakeeater
ทราบมาว่า นกฮัมมิงเบิร์ด ก็บินโดยใช้หลักการเดียวกับแมลงเหมือนกัน
ถ้าหากประสิทธิภาพของปีก วัดจากอัตราส่วนน้ำหนักตัวสัตว์/ขนาดพื้นที่ปีก แล้ว
อาจจะสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของ ปีกแมลง > ปีกนก > ปีกค้างคาว &pterosaur


อาจถึงขั้นระบุชนิดกันเลยครับ สรุปลอยๆ ไม่ได้
knotsnake approve [ 24 ส.ค. 2552 09:19:48 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ผึ้งบินได้ เพราะความรัก
จอมมั่ว [ 31 ส.ค. 2552 22:34:27 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ธรรมชาติไม่ได้สร้างโครงสร้างของผึ้งมาเพื่อให้มันบินได้    แต่ที่มันบินได้  เพราะมันเชื่อมันบินได้[i][/font][font=microsoft sans serif][/i]
kasidit Pruekwangkhaw [ 09 เม.ย. 2553 22:36:20 ]
kasidit_2540@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org