บ้านอยู่ใกล้โรงงาน หอนแมลงภู่ขายมากมายจะมีสารพิษไหมครับ บ้านอยู่ไกลโรงงานมากเวลากินหอยรู้สึกไม่สบายใจมากครับจากการศึกษาหอยมันกินแพลงตอนใช่ไหมคับแล้วมันจะมีสารติดมากับแพลงตอนบางมากน้อย เป็นมะเร็งได้ไหมคับ bb_brain [ 16 ก.ย. 2552 19:56:48 ] setter_boat@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 1 หัวข้อกระทู้บอกว่าอยู่ใกล้ แค่เนื้อหาบอกว่าอยู่ไกล รบกวนเรียบเรียงข้อความใหม่ซักนิดนะครับ งง งง งง ...แก้ไขเมื่อ 16 ก.ย. 2552 21:27:56 noppadol [ 16 ก.ย. 2552 21:26:42 ] noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 2 หอน? หรือว่า หอยครับ อิอิ.....(ป.ล. ถ้าเป็นหอย แล้ว อยู่ใกล้โรงงานที่ปล่อยน้ำทิ้งลงแหล่งน้ำโดยตรงเลย ก็อาจมีสารพิษสะสมได้เยอะนะครับ พวกfilter feeder (กรองกิน) พวกนี้มันรับสะสมเข้าไปเต็มๆ อยู่แล้วหละครับตราบเท่าที่มันยังมีชีวิตอยู่) จอม [ 16 ก.ย. 2552 21:58:18 ]
ความคิดเห็นที่: 3 ถ้าเป็น "หอนแมลงภู่" ก็อันนี้ครับ มันกินไม่เป็นอะครับ มันก็เลยหอนนนนนนนน...........(อิอิ ล้อเล่นน้า 55555555) จอม [ 17 ก.ย. 2552 02:13:47 ]
ความคิดเห็นที่: 4 พิษจากแพลงก์ตอนพืช สาเหตุน้ำเปลี่ยนสีดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของน้ำทะเลเปลี่ยนสี (น้ำแดง หรือ ขี้วาฬ) บางชนิดสามารถผลิตสารพิษซึ่ง จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์โดยผ่านสัตว์ทะเล เช่น หอย หรือปลาได้ ซึ่ง พิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้แก่พิษซิกัวเทอร่า (Ciguatera toxin)เป็นพิษที่พบในสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ตามปะการัง เช่น ปลากะพงแดง ปลาน้ำดอกไม้ ปลาเก๋า ปลาหางแข็ง แหล่งที่มีรายงานการเกิดพิษคือ แถบทะเลคาริบเบียน และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้สาเหตุของการเกิดพิษเนื่องมาจากปลาที่กินหอยพวกที่กรอง ไดโนแฟลกเจลเลตจำพวก Gambierdiscus toxicus และสะสมพิษเข้าไว้ ซึ่ง ปลาเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เช่น ปลาน้ำดอกไม้ ปลาเก๋า ปลากะพงลักษณะการเกิดพิษ ไม่แน่นอนขึ้นกับแหล่งสภาพแวดล้อม และการกินอาหารของปลาอาการของการเกิดพิษที่พบคือ ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดแสบปวดร้อน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากพิษชนิดนี้ นอกจากนี้ยังไม่มีรายงานการเกิดพิษชนิดนี้ในประเทศไทยเนื่องจากพิษซีกัวเทอร่า สามารถละลายได้ในไขมัน และมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี จึงไม่สามารถทำลายพิษด้วยการหุงต้มได้พิษท้องร่วง (diarrhetic shellfish poison, DSP)พิษท้องร่วงจากแพลงก์ตอนพืชเกิดจากการบริโภคหอยสองฝา เช่น หอยแมลงภู่ หอยแครง หรือหอยนางรม ที่กรองเอาแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ในสกุล Dinophysis ได้แก่ D. fortii พบในประเทศ ญี่ปุ่น และ D. acuta พบในประเทศสวีเดน และในสกุล Prorocentrum เป็นอาหาร การเกิดพืชชนิดนี้อาจเกิดร่วมกับปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีหรือไม่ก็ได้อาการของการได้รับพิษโดยทั่วไป คือ ท้องร่วง อาเจียน ส่วนสารที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพิษ คือ กรดโอคาดาอิก (okadaic acid) ซึ่ง เป็นสารพิษที่ละลายในไขมัน และทนความร้อนได้ดีจึงไม่สามารถทำลายพิษด้วยการ หุงต้มได้ในส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้น ในประเทศญี่ปุ่นซึ่ง ได้ดำเนินการร่วมกันกับการเฝ้าระวังน้ำแดงได้กำหนดมาตรฐานระดับพิษในอาหารทะเลให้มีได้ไม่เกิน 40 ไมโครกรัม/100 กรัมเนื้อ หรือ 0.5 MU/g เนื้อ มีรายงานว่าพบ D. fortii ในปริมาณ 13,000 เซลล์/มล. จะให้พิษได้ 1 MU (mouse unit = ปริมาณต่ำที่สุดของสารพิษที่จะฆ่าหนูขาว น้ำหนัก 20 กรัม ภายใน 15 นาที โดยการฉีดสารสกัดหรือสารละลายของสารนั้นที่ pH 4 เข้าไปในช่องท้อง) ในขณะที่ D. acuta ในปริมาณถึง 200,000 เซลล์/มล. ถึงจะให้สารพิษ 1 MU (1 MU : mouse unit = 4 ไมโครกรัม okadaic acid)พิษที่ทำให้ความจำเสื่อม (amnesic shellfish poison, ASP)เป็นพิษที่ถูกค้นพบล่าสุด โดยพบเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดา ในปี 2530 ที่อ่าวคาร์ดิแกน เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด อาการความจำเเสื่อมเกิดจากการบริโภคหอยแมลงภู่ที่กรองเอาไดอะตอม (Nitzchia pungens) ที่เกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในบริเวณนั้นเป็นอาหาร สารพิษที่ทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม คือ กรดโดโมอิก (domoic acid) ภายใน 24 ชั่วโมง หลังบริโภคจะเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปวด ช่องท้องอย่างแรง อาเจียน และง่วงซึม เวียนศีรษะ ในขั้นรุนแรงทำให้สูญเสียความทรงจำหรืออาจเสียชีวิตได้เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค รัฐบาลแคนาดาได้ประกาศมาตรฐานให้มี ASP ในเนื้อหอยได้ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกรัมเนื้อ สำหรับ การกำจัดสารพิษชนิดนี้จากเนื้อหอย ทำได้โดยการปล่อยให้หอยอยู่ในน้ำปลอดแพลงก์ตอนพิษหรือหลังจากการเกิดการเปลี่ยนสีของน้ำทะเลสิ้นสุดแล้วปล่อยให้หอยขับสารพิษ (depuration) ออกจากตัวให้หมดไปในระยะเวลาหนึ่งพิษอัมพาต (paralytic shellfish poison, PSP)เกิดจากการบริโภคหอยสองฝา เช่น หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยนางรม ที่กรองแพลงก์ตอนพืชที่ผลิตสารพิษที่เป็นอาหาร แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของพิษ อัมพาต ได้แก่ แพลงก์ตอนใน สกุล Alexandrium ได้แก่ A. catenella พบบ่อยตามชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา (ฝั่ง แปซิฟิก) และ A. tamarensis พบตามฝั่งตะวันออกของแคนาดา และอเมริกา (ฝั่งแอตแลนติก) ทั้ง 2 ชนิด เป็นสาเหตุสำคัญของการ เกิดพิษในประเทศดังกล่าว และ ประเทศญี่ปุ่น ส่วนแพลงก์ตอนในสกุล Pyrodinium ได้แก่ P. phoneus พบในเกาะบอร์เนียว และปาปัวนิวกินี และ P. phoneus พบในฝั่งทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ การเกิดพิษอัมพาตจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดพิษต่อระบบประสาทนี้จะอยู่ในกลุ่ม Saxitoxin (STX), Neoxaxitoxin (NeoXTX) และ Gonyautoxin (GTX) สารพิษนี้ละลายได้ในน้ำ และมีคุณสมบัติที่สำคัญคือสามารถทนต่อความร้อนที่ใช้ในการปรุงอาหารได้ จึงไม่สามารถทำลายสารพิษโดยการหุงต้มได้ สารพิษเหล่านี้จะเป็นตัวยับยั้งการส่งผ่านโซเดียมอิออนในระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ผู้ที่ได้รับสารพิษจะมีอาการชาบริเวณปาก ลิ้น และปลายนิ้ว ซึ่ง อาจเกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ภายหลังการบริโภค ต่อจากนั้นอาการรุนแรงที่จะตามมาคือ หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต โดยจะมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ และอาจถึงแก่เสียชีวิตเนื่องจากการล้มเหลวของระบบหายใจ หรือเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน ซึ่ง อาการเหล่านี้จะปรากฏภายใน 224 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่ได้รับ จากการศึกษาพบว่าโดยทั่วไปแล้ว สารพิษประเภทนี้จะถูกทำลายหรือขับออกจากตัวหอยภายในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม สำหรับการกระจายของพิษชนิดนี้ในสัตว์น้ำนั้นจะพบในหอยสองฝาเป็นส่วนใหญ่โดยการกระจายของพิษภายใน เนื้อเยื่อต่างๆ ของหอย และช่วงเวลาในการคงตัวของพิษเอาไว้ในตัวหอยจะต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหอย เช่น หอยเชลล์ (Chlamys nipponensis akazara) จะสะสมพิษส่วนใหญ่ไว้ในกระเพาะ (digestive gland) มากกว่าในไข่ และคงความเป็นพิษไว้ได้ประมาณ 6 สัปดาห์ หอยแมลงภู่สะสมไว้ ในกระเพาะเช่นกัน แต่คงความเป็นพิษไว้ได้ในตัวไม่เกิน 1 เดือน ดังนั้น จะเห็นว่าส่วนใหญ่พิษจะถูกสะสมไว้ในกระเพาะ และลำไส้มากกว่าในเนื้ออย่างไรก็ตามในกรณีของหอยกาบอลาสกา (Alaska butter clam) ซึ่ง เป็นที่นิยมบริโภคในอเมริกา พบว่ามีการสะสมของสารพิษภายในอวัยวะ ซึ่ง มีการทำงานต่ำ (low metabolic activity) ซึ่ง ต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี หรือ มากกว่านั้นในการกำจัดสารพิษ และหากเกิดการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน ที่เป็นสาเหตุทุกปีในบริเวณที่ทำการเพาะเลี้ยงหอย จะทำให้สารพิษตกค้างอยู่ในตัวหอยเป็นเวลานานหลายปี การเกิดความเป็นพิษของหอยในลักษณะนี้จึงมีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรม และการส่งออกอาหารกระป๋องที่ผลิตจากหอยด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The United States Food and Drug Administration, USFDA) จึงได้กำหนดค่าสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ (maximum acceptable level) สำหรับสารพิษประเภท PSP ในเนื้อหอยสด และเนื้อหอยแช่แข็งไว้ไม่เกิน 400 MU (mouse unit = ปริมาณต่ำที่สุดของสารพิษที่จะฆ่าหนูขาวน้ำหนัก 20 กรัม ภายใน 15 นาที โดยการฉีดสารสกัดหรือสารละลายของสารนั้นที่ pH4 เข้าไปในช่องท้อง) หรือน้ำหนักของสารพิษ 80 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม เนื้อสด และในผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องให้มีได้ไม่เกิน 160 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัมเนื้อ ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าสาร PSP ในปริมาณดังกล่าวหรือน้อยกว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสำหรับในเมืองไทยได้มีรายงานการเกิดน้ำแดงที่เป็นพิษ PSP ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2526 โดยเกิดที่ปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผู้ป่วย 63 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เนื่องจากกินหอยแมลงภู่ที่จับมาจากบริเวณที่เกิดน้ำแดง ในปัจจุบันถึงแม้จะมีรายงานการเกิดน้ำแดงบ้าง แต่ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษเกิดขึ้นอีก จาก http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=86&i2=25 ครับ ...แก้ไขเมื่อ 17 ก.ย. 2552 02:21:48 จอม [ 17 ก.ย. 2552 02:19:08 ]
ความคิดเห็นที่: 5 : จอม ถ้าเป็น "หอนแมลงภู่" ก็อันนี้ครับ มันกินไม่เป็นอะครับ มันก็เลยหอนนนนนนนน...........(อิอิ ล้อเล่นน้า 55555555)คิดได้ไงพี่ท่าน 5555+ ^__^ aqueous_andaman [ 17 ก.ย. 2552 02:21:35 ]
ความคิดเห็นที่: 6 : aqueous_andaman: จอม ถ้าเป็น "หอนแมลงภู่" ก็อันนี้ครับ มันกินไม่เป็นอะครับ มันก็เลยหอนนนนนนนน...........(อิอิ ล้อเล่นน้า 55555555)คิดได้ไงพี่ท่าน 5555+ ^__^^^^^อิอิอิอิ ล้อเค้าเล่น (เรื่องสร้างศัตรูนี่ตูถนัดนัก อย่าโกรธเค้าน้าคุณ bb_brain !!) จอม [ 17 ก.ย. 2552 02:23:23 ]
ความคิดเห็นที่: 7 แหละนี่ ...........แคดเมียม... โลหะพิษที่อันตราย ผู้เขียน: รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต หน่วยงาน: สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่: 9 เม.ย. 2552 คุณคงเคยได้ยินชื่อโลหะแคดเมียมกันมาตั้ง แต่สมัยเป็นเด็กนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าแคดเมียมเป็นโลหะที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรม และแท้ที่จริงแล้วเรามีความเกี่ยวพันกับแคดเมียมในชีวิตประจำวันอยู่เป็นอย่างมาก แคดเมียมคืออะไร ใช้ทำอะไร เมื่อเอ่ยถึงชื่อโลหะแคดเมียม บางคนยังนึกไม่ออกว่าคืออะไร บางคนร้องอ๋อทันทีนึกออกว่ามันคือโลหะที่เป็นเงาวับ ใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ แต่จริงๆ แล้วโลหะแคดเมียมนั้นมิได้ใช้เพียงงานดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังใช้ในกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางาม และทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิมนอกเสียจากจะมีการหลุดลอกของแคดเมียมที่เคลือบอยู่ โลหะภายในซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเหล็กก็จะเป็นสนิมได้ โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์ และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อต และสกรูด้วย จะกันสนิมได้ดี นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้แคดเมียมยังอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆ อีกมากมาย เช่น แคดเมียมซัลไฟด์ และ แคดเมียมซัลโฟซีลีไนต์ ใช้เป็นตัวสีในสิ่งต่างๆ พลาสติก สีทา สีพ่น หมึก ยาง เสื้อผ้า และสีที่จิตรกรใช้ในการวาดภาพหรือทาชิ้นงานจิตรกรรมต่างๆ เพราะให้สีสวย สารประกอบแคดเมียมบางชนิดใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวของพลาสติก เช่น แคดเมียมสเตียเรท เป็นต้น โลหะแคดเมียมยังใช้ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะอัลลอยด์ เช่น ผสมกับโลหะทองแดงจะช่วยเพิ่มความเหนียว และความทนทานต่อการสึกหรอให้กับทองแดงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังทนอุณหภูมิสูงด้วย นำไปใช้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทนความร้อน เช่น ทำหม้อน้ำรถยนต์ หรืออุปกรณ์เครื่องเย็นต่างๆ ที่ต้องระบายความร้อนมากๆ ถ้านำแคดเมียมไปผสมกับโลหะเงินจะได้โลหะอัลลอยด์ที่เงางาม ใช้ในการผลิตเครื่องประดับอัญมณีต่างๆ ประโยชน์ของแคดเมียมยังขยายการใช้ไปในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่เรียกว่า แคดเมียมนิเกิล แบตเตอรี่ (CdNi batteries) สำหรับการใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข กล้องถ่ายรูป และวิทยุเล็กๆ เป็นต้น ยังมีสารประกอบแคดเมียมประเภท แคดเมียมโบรไมต์ แคดเมียมไอโอไดด์ ใช้บ้างในการถ่ายรูป นอกจากนี้ยังพบว่าโลหะแคดเมียมใช้ใน Photoelectric cells ผสมในสารฆ่าเชื้อราที่ใช้ในกิจการเกษตร และปัจจุบันยังใช้ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูด้วย คนเราได้รับแคดเมียมเข้าร่างกายได้อย่างไร จากการใช้อย่างกว้างขวางดังกล่าวนี้ จึงทำให้สามารถพบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร สำหรับแคดเมียมในอาหารนั้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหาร และการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่ง เข้าไปปนอยู่ในน้ำ และในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูง และมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำ และสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียมกันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น ปริมาณแคดเมียมในข้าวของไทยอยู่ระดับปานกลางเมื่อเทียบกับข้าวของประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย จากการศึกษาการได้รับแคดเมียมจากอาหารของคนไทย โดย รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต และคณะ ศึกษาในอาสาสมัครผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 30 คน และคนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด 40 คน ด้วยการเก็บทุกอย่างที่อาสาสมัครกิน และดื่มตลอด 4 วันติดต่อกัน เก็บอาหารทุกชนิด น้ำดื่ม และเครื่องดื่มเท่าที่อาสาสมัครกิน และดื่มจริง แล้วนำมาตรวจหาปริมาณแคดเมียมทั้งหมด และเฉลี่ยการได้รับแคดเมียมต่อวันจากอาหาร พบว่าทั้งคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัดได้รับแคดเมียมจากการกินอาหาร และน้ำดื่มใน แต่ละวันใกล้เคียงกัน คือคนกรุงเทพฯ ได้รับเฉลี่ย 0.113 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ในขณะที่คนต่างจังหวัดได้รับเฉลี่ย 0.105 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในประเทศต่างๆ ที่หาข้อมูลได้ ปรากฏว่าคนไทยที่ทำการศึกษาได้รับแคดเมียมจากอาหารต่อสัปดาห์ในระดับปานกลาง ซึ่ง ใกล้เคียงกับบางประเทศ เช่น ประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และเยอรมัน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม สำหรับคนไทยได้รับสัปดาห์ละ 0.105 - 0.113 มิลลิกรัม ซึ่ง ยังต่ำกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด แต่ ถ้าหากกินอาหารที่มีอาหารทะเลประเภทหอยแมลงภู่ และหอยนางรม เป็นประจำบ่อยๆ ก็จะได้รับแคดเมียมจากอาหารสูง และ ถ้ายิ่งสูบบุหรี่ด้วยแล้วยิ่งทำให้ได้รับแคดเมียมเข้าในร่างกายได้มาก พิษของแคดเมียม และโรคที่เกิดขึ้น การได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้เกิดพิษฉับพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ซึ่ง เป็นเพราะมีการอักเสบของหลอดลม มีพังผืดจับในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมีการทำลายของถุงลมซึ่ง จะกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่ง จะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบ และเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อน และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง เรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) ชื่อโรคมาจากเสียงร้องอย่างเจ็บปวดในภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง ได้รับแคดเมียมมากเป็นเวลานานจากการกินข้าวที่ปนเปื้อนด้วยแคดเมียมมาก คนกลุ่มนี้จะมีกระดูกเปราะ แตกหักง่าย และอาจมีความสูงลดลงได้ เพราะการสูญเสียแคลเซียมทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน 4. โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมาก และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่ง อาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไป และอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องความปลอดภัยของสุขภาพคนไทยจากแคดเมียมคงต้องได้รับการดูแลอย่างดีจากรัฐ โดยเฉพาะการกำกับดูแลบริเวณแหล่งอุตสาหกรรม ไม่ปะปนกับส่วนที่ทำการเกษตร ประกอบกับต้องเคร่งครัดต่อโรงงานอุตสาหกรรมให้มีการจัดการดูแลสภาพแวดล้อม และกำจัดสารพิษอย่างถูกต้องไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไปด้วย ที่มาของข้อมูล : นิตยสาร Health Today จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=347 จอม [ 17 ก.ย. 2552 02:26:28 ]
ความคิดเห็นที่: 8 : จอม ถ้าเป็น "หอนแมลงภู่" ก็อันนี้ครับ มันกินไม่เป็นอะครับ มันก็เลยหอนนนนนนนน...........(อิอิ ล้อเล่นน้า 55555555)ผมว่ามันกินแล้วอร่อยเกินมากกว่า มันเลยหอน อยากกินอีกๆ ๆ เหอๆๆ ลำพะเนียง [ 17 ก.ย. 2552 03:07:46 ]
ความคิดเห็นที่: 9 : ลำพะเนียง: จอม ถ้าเป็น "หอนแมลงภู่" ก็อันนี้ครับ มันกินไม่เป็นอะครับ มันก็เลยหอนนนนนนนน...........(อิอิ ล้อเล่นน้า 55555555)ผมว่ามันกินแล้วอร่อยเกินมากกว่า มันเลยหอน อยากกินอีกๆ ๆ เหอๆๆ ^^^เป็นไปได้เหมือนกันครับอาจารย์ คริๆๆๆๆ จอม [ 17 ก.ย. 2552 03:36:19 ]
ความคิดเห็นที่: 10 จริงๆ แล้วเราก็บอกกันไม่ได้หรอกค่ะว่าโลหะหนัก หรือพิษที่สะสมในหอย แต่ละตัว แต่ละแหล่งมันมีอยู่เท่าไหร่ หรือมาจากไหน สมมุติว่าโรงงานเราอยู่ที่ปากอ่าวจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหอย หรืออาหารทะเลอื่นๆ ที่มาขายหน้าโรงงานเราจะมาจากปากอ่าวเหมือนกัน อ่ะ! ที่สำคัญคือปริมาณพิษสะสมในสัตว์ทะเล จำพวกโลหะหนัก หรือตัวอยา (Anitibiotic) และฮอร์โมน ที่สะสมกันในเนื้อ เนื้อหมู ไก่ ปลา กุ้ง ฯ ลฯ ในการบริโภคต่อครั้งก็ไม่มากมายพอที่จะเกิดพิษเฉียบพลัน พวกนี้กว่าจะเกิดอาการก็ปาไป 10-20ปี หรือบางทีอาจจะไปโผล่รุ่นลูก-หลานเลยก็ว่าได้ (กรณีพิษสะสม และโลหะหนัก ไม่นับพิษเฉียบหลันอย่างพวกปลาปั้กเป้าะค่ะ) อ่อ...อีกประเด็นนึงคือ เวลาเราทานอาหารเราก็ไม่ได้ทานหอยเพียงแค่อย่างเดียว เรายังทานกับน้ำจิ่ม Sea food ผัก อื่นๆ ที่มี Antioxidant และ Fiber ที่ค่อยดักจับสารพิษพวกนี้อยู่แล้ว แม้ว่าปริมาณที่ดักจับได้อาจจะไม่หมด 100% แต่ก็ยังดี่น่า....ทางที่ดี ถ้ากลัวมากหรือคิดว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็แนะนำให้ทานอาหารให้หลากหลายค่ะ อาจจะเปลี่ยจากหอยเป็นปลา หมู ไก่ ฯ ลฯ เพื่อลดการสะสมพิษจากแหล่งเดิมซ้ำๆ กัน แล้วทานอาหารที่มีกาก ใย อย่างผัก และผลไม้ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่งค่ะ Lunatica [ 17 ก.ย. 2552 06:55:16 ]
ความคิดเห็นที่: 11 sry ครับ อ่อนต่อโลกนี้ไปหน่อย ครับ ทีหลังจะพยายามปรับปรุงคับ แต่ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้ครับ currENTLY[con] [ 17 ก.ย. 2552 07:09:35 ] setter_boat@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 12 sry ครับอ่ออนต่อโลกนี้ไปหน่อย ครับ ทีหลังจะพยายามปรับปรุงครับ แต่ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้ครับ bb_brain [ 17 ก.ย. 2552 07:12:47 ] setter_boat@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 13 [b]ผู้รู้ครับผมสงศัยเรื่องนกแพนกวินครับ ช่วยบอกหน่อยได้ไหมครับว่านกแพนกวินผสมพันธุ์ท่าไหนอย่างไรครับคิดไม่ออกครับอย่าหาว่าผมทะลึ่งนะครับ สงสัยมานานแล้ว bb_brain [ 17 ก.ย. 2552 07:25:27 ] setter_boat@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 14 Front-to-back same as other birds or 'doggy style' waterpanda [ 17 ก.ย. 2552 16:19:42 ]
ความคิดเห็นที่: 15 เหมือนไก่ ampelisciphotis [ 17 ก.ย. 2552 17:45:35 ]
ความคิดเห็นที่: 16 : bb_brainบ้านอยู่ไกลโรงงานมากเวลากินหอยรู้สึกไม่สบายใจมากครับจากการศึกษาหอยมันกินแพลงตอนใช่ไหมคับแล้วมันจะมีสารติดมากับแพลงตอนบางมากน้อย เป็นมะเร็งได้ไหมคับไปเอาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ครับ หอนเอ๊ยหอยแมลงภู่ ถ้าโดนน้ำจืดจืดมากๆ จะตายครับ หอยแคลงด้วย ถ้าน้ำที่ปล่อยมาจากโรงงานในปริมาณมากๆ หอยก็จะตาย แต่ ถ้าปล่อยมาน้อยก็เหมือนกับที่เพื่อนๆ พี่ๆ สมาชิกบอกแหละครับจะค่อยๆ สะสม และแถมวิธีเลือกหอยมากินหอยแมลงภู่ตัวสีออกแดงๆ คือหอยที่โตเต็มที่แล้ว ส่วนสีขาวยังไม่ได้ขนาด แต่จำเป็นต้องเก็บเพราะน้ำจืดลง(หมายถึงน้ำจืดที่ชายฝั่งมีมากหอยอาจตาย เก็บก่อนจะได้ไม่ขาดทุน) noppadol [ 17 ก.ย. 2552 20:59:02 ] noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 17 หอยแมลงภู่ ถ้าเนื้อสีแดง หมายถึงตัวเมีย สีขาวหมายถึงตัวผู้ค่ะ ampelisciphotis [ 17 ก.ย. 2552 21:32:10 ]
ความคิดเห็นที่: 18 : ampelisciphotisหอยแมลงภู่ ถ้าเนื้อสีแดง หมายถึงตัวเมีย สีขาวหมายถึงตัวผู้ค่ะอ้าวเหรอครับ ผมไปถามเพื่อนที่เลี้ยงหอย เขาบอกมาแบบนี้ งานเข้าแล้วเราต้องไปหาข้อมูลมาอีกแล้ว ขอบคุณมากครับ noppadol [ 17 ก.ย. 2552 21:46:56 ] noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 19 พึ่งได้อ่านกระทู้ อยากถามว่า "โรงงาน" ที่ว่า โรงงานอะไรครับเพราะบางทีโรงงานนั้นอาจไม่ได้มีสารพิษที่จะสะสมในหอยก็ได้นะครับ จึงอยากทราบด้วยครับป.ล. ถ้าแถวบางขุตเทียน ขอบอกว่า อย่ากินปลาหรืออะไรก็ตาม ที่จับได้จากแถวนั้น จะดีที่สุดเอาเป็นว่า ผมเคยไปสำรวจบางอย่างแถวนั้นละกัน โลหะหนักมากมาย GreenEyes [ 21 ก.ย. 2552 10:28:28 ]