กระทู้-13219 : ปลากัดลูกหม้อตัวเมียเดี๋ยวนี้ ทำไมสีมันสดจริงๆ

Home » Board » ปลา

ปลากัดลูกหม้อตัวเมียเดี๋ยวนี้ ทำไมสีมันสดจริงๆ

จริงๆ ลูกหม้อตัวเมียสีจัดจ้านแบบนี้ เคยเจอมาหลายปีก่อนแล้ว แต่ยังไม่เคยทราบที่มาว่าเกิดจากอะไร
(แม้ไม่จัดจ้านเท่าตัวผู้ แต่สีสวยกว่าตัวเมียทั่วไป เมื่อราวๆ  20 ปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด)
เค้าใช้ฮอร์โมนเร่งสีหรือเปล่าครับ หรือว่าเกิดจากการคัดพันธุ์เอาตัวที่มีสีคล้ายตัวผู้มาทำพันธุ์ต่อเรื่อยๆ ?
แล้วมันก็ไม่ได้เป็นหมันด้วย เมื่อราวๆ  8 ปีก่อนเคยลองซื้อตัวเมียสีแบบนี้ มาทำพันธุ์ ก็เห็นวางไข่แล้วฟักเป็นตัวได้ตามปกติ

ถามเพิ่มเติมอีกนิด คนที่เคยเพาะปลากัด เคยเจอแบบว่า เอามาเทียบตั้งหลายเดือน แต่ตัวเมียไม่ตั้งท้องเลย บ้างไหมครับ?
snakeeater approve [ 15 ต.ค. 2552 22:19:13 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ปลากัดเกล็ดสีแวววาวที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านเกิดจากการผสมข้ามชนิดปลากัดหม้อกับปลากัดป่าอย่างน้อย 1 ชนิดคือปลากัดมหาชัย  และในบางกรณีอาจรวมปลากัดป่าใต้เข้าไปด้วยครับ ในกรณีของปลากัดมหาชัยปลาเพศเมียก็มีเกล็ดสีแววๆ ครับ ถึงแม้จะไม่มากเท่าเพศผู้ก็ตาม
นณณ์ approve [ 15 ต.ค. 2552 23:23:11 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เคยครับเอามาเทียบตั้งหลายเดือน  แต่ตัวเมียไม่ตั้งท้องเลย

เป็นเพราะอะไรไม่ทราบเหมือนกัน อาจารย์ท่านว่าเกิดจากฮอร์โมนในการเลี้ยงครับ  และในกรณีนี้มักเกิดกับเพศเมียที่สีสดๆ ด้วยครับ

ปล.ฤ มันจะเป็นทอม?
conti approve [ 16 ต.ค. 2552 14:50:30 ]
FishesPics_reply_142292.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
นอกจากตัวเมียสีสดสวยขึ้นแล้ว  การพัฒนาของรูปร่างก็ยังทำได้อีกครับ
ล่าสุดมี ปลากัดหางขนนก คือ ก้านหางจะมีก้านเล็กๆ แตกออกด้านข้างของก้านหลัก คล้ายกับขนนก  
ดังรูป ลองสังเกตดูนะครับ

ส่วนเอามาเทียบหลายเดือนแล้วไม่ท้อง อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ว่าเป็นแบบนี้หรือเปล่า
ที่ผมเจอก็คือ เอาตัวผู้มาลงรัดตัวเมียตัวนี้  รัดไม่ได้เลยครับ  เปลี่ยนตัวผู้ก็หลายตัว ก็เหมือนเดิม
ทั้งๆ ที่ตัวผู้เหล่านี้ ก็สามารถรัดตัวเมียตัวอื่นได้
electron approve [ 17 ต.ค. 2552 05:52:50 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ใช่ครับตามคุณนนณ์ ว่าเลย  เพิ่มเติมหน่อยอาจจะมาจากการคัดแม่ปลาที่มีสีดีๆ จากเหล่าสายกัด  
ส่วนบางสายบางเหล่าจะขายออกก็อาจจะโดนฮฮร์โมนมาด้วยเพื่อป้องกันสายปลาหลุดในระดับหนึ่ง ซึ่ง อันนี้ก็ไม่แน่ว่าจะหลุดหมันหรือไม่เพราะเคยทดลองวางหมันปลาโตแล้วมันไม่ได้เป็นหมันทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ อจาจะเป็นหมันระยะเวลาหนึ่ง  หรือออาจจะไม่เป็นหมัน แต่ติดลูกน้อยกว่าปกติ
ส่วนปลาที่คุณ electron พูดถึงในภาพ เป็นฮาฟมุนที่เรียกว่าโรสเทล ในยุคที่ฮาฟมูนรุ่งเรืองปลาแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมของลูกค้าต่างประเทศ  การแตกของก้านหางในฮาฟมูนมาจากการพัฒนาให้แตกมากๆ เพื่อให้กางมากกว่าหรือ เท่ากับ 180 องศา ยุคแรกๆ นี่นับกันเลยว่าแตก แปด หรือแตกสิบหกก้านจากก้านหลัก
นี่ ถ้าคุณโด่งผ่านมาตอบคงให้รายละเอียดได้ดีกว่าผม
อรรถ [ 17 ต.ค. 2552 16:59:53 ]
ความคิดเห็นที่: 5
สวัสดีครับคุณอรรถ ไม่ตอบนานเลยนะครับเนี๊ย!
นณณ์ approve [ 18 ต.ค. 2552 00:04:20 ]
FishesPics_reply_142344.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
ขอบคุณครับคุณอรรถ   อาจเป็นเพราะภาพที่ถ่ายไม่ชัดเจนนัก  
สำหรับหางโรสเทลผมว่าเข้าใจตรงกัน  คือมีการหางแตกมากๆ  
ส่วนหางขนนก พึ่งมีการพัฒนาได้ครับ  รูปนี้ถ่ายจากงานวันปลาสวยงามแห่งชาติ 52 ที่เดอะมอลล์งามฯ   ก็ได้เจอกับเจ้าของที่เค้าพัฒนา ก็บอกว่าต่างจากหางโรสเทลครับ   ดูจากภาพละกันนะครับ เพราะผมอธิบายไม่เก่ง  แฮะๆ
electron approve [ 18 ต.ค. 2552 02:21:53 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ปลาตัวใหม่ที่เรียก "หางขนนก" ตัวจริงก็สวยน่ารักดีนะครับ
เป้ approve [ 19 ต.ค. 2552 11:34:10 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ขอบคุณข้อมูลจากคุณอรรถ ครับ...จากที่สังเกต ปลาลูกหม้อเพศเมียสีจัดจ้านบางตัว เทียบเท่าไหร่ก็ไม่ท้อง  แต่บางตัวก็ท้องได้ตามปกติ อย่างที่คุณอรรถเล่ามาครับ  
ว่า แต่ ปลากัดมหาชัย ค้นพบเมื่อ พศ.ไหนครับ  อยากทราบข้อมูลครับ
ตอนนี้เพิ่งลองเอามาเลี้ยงใหม่  หลังจากที่หยุดเลี้ยงไปนาน 6 ปี พอดีเห็นลูกน้ำข้างบ้านมันเยอะเหลือเกิน
snakeeater approve [ 19 ต.ค. 2552 18:21:14 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ปลากัดมหาชัย ค้นพบปีไหนผมจำไม่ได้ครับ ประมาณว่ายุคที่ ก่อน www.efish2u.com ปิดไปสัก 2-3 ปี
อันที่จริงถามคุณนนณ์ ซึ่ง ติดตามปลาตัวนี้ตั้งเริ่มแรกที่มีคนนำมาเลี้ยงกัน น่าจะให้คำตอบที่ดีกว่าผม  ส่วนชาวบ้านแถบๆ บ้านแพ้วเขาเอามมาเล่นกัดกันในรูปแบบปลาสังกะสีคงนานมากแล้ว

เรื่องหางขนนกนี่ผมคงต้องติดตามดู แสดงว่าผมแก่เกินไปสำหรับหางแบบนี้ซะแล้ว

หวัดดีครับคุณนนณ์ นานๆ มีช่องให้ตอบอ่ะครับ  แต่เข้ามาดูบ่อยๆ ครับ เวลาที่หุ้นนิ่งไม่ไปไหนก็แวะเวียนมาหาความรู้ เดี๋ยวนี้เพื่อนๆ น้องๆ เก่งกันมากๆ
อรรถ [ 21 ต.ค. 2552 12:28:35 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org