กระทู้-13234 : ๑๑ ปลูกป่า ได้อะไรมากกว่าต้นไม้ ๑๑

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

๑๑ ปลูกป่า ได้อะไรมากกว่าต้นไม้ ๑๑

ผ่านไปแล้วค่ะ กับการปลูกป่าด้วยการยิงเมล็ดพันธุ์ที่ลพบุรี
กิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
หลังจากยิงเมล็ดพันธุ์เสร็จเรียบร้อย  
ฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักเลยค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำต่างๆ ที่เคยได้เข้ามารบกวน
ขอบคุณทุกๆ ท่านค่ะ
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:37:24 ]
Nature__reply_142587.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
เมื่อกิจกรรมผ่านไป ก็ไม่ลืมที่จะเก็บภาพมาฝากค่ะ
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:39:44 ]
Nature__reply_142588.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ได้ความรักในครอบครัว
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:41:17 ]
Nature__reply_142589.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
ได้ปลูกสำนึกการรักป่า
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:42:53 ]
Nature__reply_142590.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
เด็กๆ บอกว่า ขอขึ้นไปปลูกต้นไม้ทุกปีนะครับ
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:44:14 ]
Nature__reply_142591.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
เด็กๆ บอกว่า ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
ต่อไป พวกเด็กๆ จะได้มีต้นไม้เพิ่มขึ้น
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:46:10 ]
Nature__reply_142592.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
ก่อนที่จะปล่อยให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรม
เราได้อธิบายให้เค้าฟังถึงประโยชน์  และ ผล ที่ได้ทำกิจกรรมในวันนั้น
พวกเขารับฟังอย่างตั้งใจ และสัญญาว่าจะปลูกต้นไม้ในทุกที่ ที่มีโอกาส
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:48:59 ]
Nature__reply_142593.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
ที่แน่ๆ  เราทุกคนรับทราบได้ว่า
ขณะนี้ พวกเขาได้ใส่หัวใจลงไปในเมล็ดพันธุ์ที่ยิงออกไปอย่างเต็มใจ และตั้งใจ


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ และข้อมูลต่างๆ ที่แนะนำมา
เราได้นำทุกๆ คำแนะนำไปเล่าให้เด็กๆ  และครอบครัวที่ได้ร่วมทำกิจกรรมในวันนั้นฟัง
ทุกคนเข้าใจ  และ บอกว่า ถึงแม้ ผลที่ได้ตามมาจะน้อยนิด
แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะทำค่ะ

ขอบคุณจริงๆ ค่ะ...
...แก้ไขเมื่อ 20 ต.ค. 2552 13:54:07
หมี่ผัด approve [ 20 ต.ค. 2552 13:52:20 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ต้นไม้ที่ปลูกยากที่สุดคือ ต้นไม้ที่ชื่อ "ต้นจิตสำนึก"

ขอให้ต้นจิตสำนึกทุกต้นเติบโต และเบ่งบานภายในใจของน้องๆ  เยาวชนทุกคนเถิด
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 20 ต.ค. 2552 15:36:43 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ู^
สาธุ
GreenEyes approve [ 20 ต.ค. 2552 15:41:15 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ต้นไม้ที่เติบโตในใจจะเปลี่ยนแปลงเป็นต้นไม้อีกมากมาย
นณณ์ approve [ 20 ต.ค. 2552 16:21:08 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ปลูกจิตสำนึกให้เด็กหนึ่งคน ได้ต้นไม้เป็นล้านต้น ขอบคุณครับที่นำภาพกิจกรรมดีๆ มาให้ชม
noppadol approve [ 20 ต.ค. 2552 16:58:43 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 12
ดีใจนะครับที่เห็นเด็กเข้าร่วมมากมาย.....บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้ทีบ่อยๆ  

ต้นกล้า...ยังรอให้ผู้ใหญ่อย่างเราเอาใจใส่....
heterometrus_sp approve [ 21 ต.ค. 2552 09:26:10 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ขอบคุณค่ะ ทุกความคิดเห็นที่อ่านวันนี้ คือกำลังใจที่ทำให้มีพลังจริงๆ ค่ะ
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
หมี่ผัด approve [ 21 ต.ค. 2552 12:00:02 ]
ความคิดเห็นที่: 14
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องดิน และน้ำเท่านั้น  แต่ยังทรงคำนึงถึงความสัมพันธ์กันระหว่างทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยเช่นกัน จึงทรงค้นหาวิธีการอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณป่าไม้อย่างถาวร  และคงลักษณะธรรมชาติดั้งเดิมไว้หลายวิธี ในฉบับนี้จะยกเอาตัวอย่างแนวคิดในการอนุรักษ์ที่น่าสนใจมาให้อ่านกันสัก 3-4 ตัวอย่างดังนี้


                        การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่ง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Reforestation without Planting หรือ Natural Reforestation ซึ่ง คำว่า forest เป็นคำที่ใช้เรียกป่าไม้โดยทั่วไป ส่วน Re ที่เป็นคำนำหน้านั้นแปลว่า อีกครั้ง ทำอีกครั้งเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น  และกลับไปสู่สภาพเดิม คำว่า Reforestation จึงแปลเป็นไทยว่า การปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทนในพื้นที่ที่ป่าเดิมได้ถูกทำลายไป การที่ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ใช้ภาษาอังกฤษว่า Reforestation without Planting นั้น เป็นการแปลอย่างตรงตัว ตรงความหมาย Reforestation ตามที่พูดไว้ข้างต้นว่าแปลว่าการปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทน without แปลว่าปราศจาก  และ Plant แปลว่าปลูกต้นไม้ Planting ก็คือการปลูกต้นไม้ นำมารวมกันแล้วจึงแปลว่า การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกนั่นเอง สำหรับ Natural Reforestation คำว่า Natural มาจากคำว่า Nature ที่แปลว่าธรรมชาติ Natural จึงมีความหมายว่า ตามธรรมชาติ ก็คือการปลูกป่าโดยปล่อยไปตามธรรมชาติหรือโดยไม่ต้องปลูกนั่นเอง


                        แนวคิด ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกนี้ แสดงให้เห็นว่าป่าไม้สามารถเจริญเติบโตเองได้ตามธรรมชาติ  ถ้ามนุษย์เราไม่ไปรบกวนทำลายป่า  และปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติ สักระยะหนึ่งป่าไม้ก็จะสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง การที่ปลูกป่าโดยไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของป่าจะเป็นการทำลายป่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  และยังเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นแนวคิดที่เข้าใจธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้งโดยใช้หลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ
reforest [ 21 ต.ค. 2552 15:09:37 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ขุดกระทู้เก่ามาให้ http://www.siamensis.org/board/13092.html
วางแผนครั้งหน้ารึยังครับว่า ปีหน้าจะปลูกอีกทีไหม?

 แต่คราวหน้าเอาเป็นต้นฝนดีกว่านะครับ แล้วก็เพาะกล้าไว้เลย ใช้พืชในพื้นที่คงเหมาะ
อาจตั้งวัตถุประสงค์ไว้ด้วย เช่นว่าป้องกันดินสไลด์ที่เคยเกิด หรือไม่ก็เพิ่มพื้นที่สีเขียว ( ถ้าปลูกในที่ที่มีป่าอยู่แล้วคงไม่ได้ประโยชน์เท่าไร) เป็นต้น

 แต่ปลูกด้วยกล้าไม้ คงต้องกะจำนวนคนด้วย หนึ่งคนคงแบกไปได้หนึ่งต้น พร้อมอุปกรณ์
GreenEyes approve [ 21 ต.ค. 2552 16:47:18 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ขอบคุณค่ะ คุณreforest

ขอบคุณ คุณGreenEyes มากค่ะ

วางแผนแล้วค่ะ
ครั้งต่อไปคงค้องพาะกล้าเตรียมไว้ค่ะ
ป่าบนภูเขาลูกนี้ที่ผ่านมาก็ถูกชาวบ้านขึ้นไปตัดไม้ลงมาทำฟืนเป็นระยะยาว
ในช่วงหลังๆ มา ก็ได้มีการห้ามปรามจากผู้ใหญ่ท้องถิ่น
และบนภูเขาลูกนี้มักเกิดไฟป่าขึ้นแทบทุกปี
ทุกครั้งที่เกิดไฟป่า จะมองจากที่บ้านเห็นแล้วสะท้อนใจกับจำนวนต้นไม้ที่หายไป
แถม 2-3 ปี ที่ผ่านมาเกิดดินสไลด์ลงมาอีก

ปีนี้ ความคิดที่จะช่วยให้ป่ากลับคืนมาก็ผุดขึ้นมาแบบไม่ทันได้วางแผนนานๆ
เพราะสืบเนื่องจากปีนี้เราเองเป็นผู้จัดกองกฐินสามัคคีที่จะนำไปถวายให้กับวัดใกล้บ้าน และใกล้ภูเขา
กิจกรรมปลูกป่าก็เลยผุดขึ้นมา ว่า หลังจากถวายกฐินแล้ว
เรายังมีเวลาเหลือที่จะทำประโยชน์คืนให้สังคมได้
จึงเกิดเป็นกิจกรรมข้างต้นค่ะ

ทราบดีอยู่แล้วถึงผลที่จะได้รับตามมา จากที่เข้ามาขอคำแนะนำจาก พี่ๆ น้องๆ ชาวเอนซิส ค่ะ

ยังไงก็แล้ว แต่ ครั้งต่อๆ ไปจะทำการศึกษาให้มากกว่านี้ หรืออาจเลี่ยงไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนค่ะ

ขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ชาวเอนซิสมากๆ ค่ะสำหรับ คำแนะนำ คำติชมต่างๆ  
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...
...แก้ไขเมื่อ 21 ต.ค. 2552 17:10:01
หมี่ผัด approve [ 21 ต.ค. 2552 17:07:02 ]
ความคิดเห็นที่: 17
^
นึกถึงอันนี้เลยครับ
GreenEyes approve [ 21 ต.ค. 2552 21:54:29 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณมากๆ อีกครั้งค่ะ คุณGreenEyes
หมี่ผัด approve [ 22 ต.ค. 2552 14:06:36 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ในการปลูกป่าที่เมาะสมนั้น คือควรปลูกป่าในพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า   (ควรปลูกข้างบ้าน ที่ทำงาน ข้างถนน หรือในชุมชน)  และต้นไม้ที่ปลูกควรเป็นต้นไม้ท้องถิ่น(ป่า)ที่พบได้บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ที่ปลูกด้วย  

สำหรับพื้นที่ที่ติดกับป่าธรรมชาติ  แม้ว่าเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมก็ไม่ควรปลูก  เพราะควรใช้แนวคิดวิธีตามพระราชดำริ  คือการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก  คือให้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ


การช่วยเหลือโดยมนุษย์โดยการปลูกเสริม เป็นเรื่องที่อาจจจะเป็นการทำลายธรรมชาติโดยไม่ตั้งใจได้  เนื่องจากระบบนิเวศในธรรมชาติมีความซับซ้อน ในแง่โครงสร้าง ความหลากหลายทางพันธุกรรม มีสิ่งที่เราทั้งมองเห็น และมองไม่เห็น


ซึ่ง ปัจจุบันพบโครงการฟื้นฟูธรรมชาติโดยโครงการของรัฐที่กลายเป็นการทำลายธรรมชาติอย่างถาวร  

ยกตัวอย่างเช่น

1. การสร้างเขื่อยกันคลื่นตามแนวชายฝั่ง อ่าวไทย  ใช้งบไปกว่า 2 แสนล้านบาท  พบว่า ไม่เพียงไม่สามรถกันคลื่นได้ยังเพิ่มระดับความรุนแรงของการกัดเซาะ  ซ้ำร้ายผลาญงบประมาณของชาติ

2. โครงการปลูกสร้างฝายในที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี   เช่นพื้นที่อนุรักษ์ ในแถบภาคใต้  พบว่า ปกติลำธารธรรมชาติมีน้ำมากตลอดปี  การส้างฝายปูนซึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และเป็นทั้งการทำลายธรรมชาติ   และผลาญงบประมาณของชาติเช่นเดียวกัน

3. โครงการปลูกป่า ในพื้นที่ป่าธรรมชาติ     ในป่าธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ในตัว   และมีความสมดุลอยู่แล้ว  เมื่อมีโครงการปลูกป่า มากมาย  พบว่าบางแห่งมีการไถทำลาย ถางป่าธรรมชาติเพื่อปลูกป่าที่ไม่ใช่ป่า   ซึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่โตมากในปัจจุบัน    จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ท่านหนึ่งพบว่า  ปีหนึ่งๆ มีงบประมาณให้มีการเพิ่มพื้นที่ป่าโดยการปลูกสร้างป่าด้วยงบประมาณมหาศาล  ซึ่ง บางหน่วยงานที่รับผิดชอบ  หรือมีบางบุคคลที่แสวงหาผลประโยชน์จากค่ากล้าไม้ วัสดุต่างๆ  ขณะที่หลังจากปลูกป่าไปแล้วพบว่า ต้นไม้ที่ปลูกมีเปอร์เซ้นต์การงอกต่ำมาก  ซึ่ง ต้นไม้ที่ขึ้นนั้นเป็นบริเวณที่แม้ว่าจะไม่มีการปลูกนั้นป่าบริเวณนั้นก็มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว  ขณะที่ปีหนึ่งๆ เราพบว่ามีการไถทำลายป่าธรรมชาติเพื่อปลูกป่าจำนวนมาก  หากไม่เชื่อ  ลองค้นหาจากข่าวใน googleได้
   นอกจากนี้ยังพบว่าต้นไม้ที่นำมาปลูกในป่าหนึ่งๆ นั้น 80 เปอร์เซ็นต์เป็นไม้ต่างถิ่นโตเร็ว  ซึ่ง ไม่ใช่เป็นการช่วยให้ธรรมชาติสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  แต่เป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และพันธุกรรม  ไม่แตกต่างจากการทำลายป่าเพื่อทำสวนปลูกพืชของชาวเกษตรกร แต่อย่างใด

4. ได้เห็นโฆษณารณรงค์ลดโลกร้อน  เช่นปลูกต้นไม้   แต่ขับรถวิ่งไปวิ่งมาหลายสิบหลายร้อยโล  ก็แปลกใจกว่าต้นไม้จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้  มันก็ลอยไปสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว  ซึ่ง บวกลบคูณหารแล้ว นั่งอยู่บ้าน  ปลูกต้นไม้ข้างบ้าน   แต่ไม่ขับรถไปยังป่าชายเลนจะดีกว่า

5. ปัญหาที่พบที่สร้างก๊าสเรือนกระจกจำนวนมาก ไม่ใช่เพียง แต่ภาคอุตสาหกรรม  ภาคการเกษตรที่มีการปลูกพืช ปลูกต้นไม้เองก็สร้างก๊าสเหล่านี้จำนวนมหาศาลไม่น้อยไปกว่าภาคอุตสหกรรมเลย

ยกกตัวอย่าง  5.1  การทำนา  ปีหนึ่งๆ หลังจากการเก็บเกี่ยวพบว่า  มีการเผาตอฟาง  จากที่เคยเห็น  พวกเศษฟางต้นข้าว  ซึ่ง องค์ประกอบหลักคือคาร์บอน  เทื่อมีการสันดาบกับออกซิเจนก็กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์กระจายสู่ชั้นบรรยากาศ  ซึ่ง หากไม่มีการออกกฏหมายให้หยุดเผาต้นข้าว หรือต้นไม้ เศษใบไม้  ซึ่ง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยไปแล้ว
                  5.2 การทำสวนปลูกต้นยางพารา  (ไม้ยืนต้น)  หลังจากที่ต้นไม้หมดอายุแล้ว  คือราวๆ  25-40 ปี  มีการโค่นทำลายทิ้ง  และหลังจากนั้นก็มีการเผาทำลายเช่นเดียวกัน   บางพื้นที่อยู่ติดป่าเขาไม่สามารถลำเลียงเอาท่อนไม้ยางไปขาย ไปแปรรูป  ชาวสวนยางก็เผาทำลายโดยตรง  ลองคิดดูนะครับ  ต้นยางพาราต้นหนึ่งกว่าจะตรึงคร์บอน ได้จนต้นใหญ่โต  ใช้เวลานานมาก  ขณะเดียวกัน  เราเผาทำลายพร้อมกันทีเดียว   ปีหนึ่งๆ ภาคใต้  มีการเผาทำลายต้นยางพารานับแสนไร่  แล้วลองคิดดูว่า  1 ไร่ คือมีต้นยางก็ประมาณ 50-100 ต้น  1 ต้นมีน้ำหนักถึง 1 -3 ตัน เลยทีเดียว  หากมีการเผาทำลายลองคิดดูปฏิกิริยาสันดาบที่เกิดขึ้นดูนะครับ

                 หากปัญหาที่กล่าวมานี้ยังไม่ได้แก้ไขเราปลูกต้นไม้อีกกี่สิบล้านต้นมันก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก   และที่สำคัญมีคนเข้าใจผิดจำนวนมาก  ว่าต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนได้มาก   ซึ่ง จริงแล้ว มันได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงก๊าสเรือนกระจกอื่นๆ  ที่มนุษย์สร้างขึ้น  
                    อีกทั้งต้นไม้เองก็มีกระบวนการหายใจที่ปล่อยก๊าส คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในเวลากลางคืนเหมือนกัน   สำหรับก๊าสพิษที่ลอยที่ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศแล้วเราแล้วมันก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว  

การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ดี   แต่ควรจะให้ความรู้ที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน   สำหรับการปลูกต้นไม้  หากเราไม่มีความรู้เรื่องชนิดพรรณต้นไม้  ไม่มีความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา  ระบบนิเวศทางธรรมชาติแล้ว  การปลูกต้นไม้ของเราจึงสุ่มเสี่ยงการสร้างปัญหาที่อาจจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม  ทำลายทรัพยากรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพได้  

                  สำหรับป่าธรรมชาติสมบูรณ์อย่าเอาอะไรเข้าไปปลูก หรือปล่อยสัตว์อะไรเข้าไป

                    ป่าธรรมชาติเปรียบเหมือนกับอ่างเลี้ยงปลาใบหนึ่งที่มีอาหาร มีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว  การปลูกป่าหรือปล่อยสัตว์เข้าไปในป่าธรรมชาติ  ก็เปรียบเหมือนเราเพิ่มอาหารเพิ่มปลาเข้าไปในอ่างที่สมดุลย์อยู่แล้ว  ซึ่ง ก็จะเป็นการทำลายระบบสมดุลเดิม  ซึ่ง ผลลัพธ์ก็คือ  ปลา สัตว์น้ำ อาจจะตายหมดทั้งอ่าง  เพราะว่า  ปลามากเกินไป   แต่ขนาดอ่างมันเท่าเดิม ปลาก็แก่งแย่งกันมาก อาหารที่เติมไปมากก็จะทำให้น้ำเสียด้วย  เช่นเดียวกับธรรมชาติที่มีสิ่งมีชีวิตที่สมดุลย์  หากเราเอาอะไรเติมเข้าไป มันย่อมไปรบกวนระบบเหล่านั้น  ซึ่ง สุดท้ายก็ย่ำแย่


               ข้อแนะนำ:   ควรปลูกต้นไม้ในเขตชุมชน  หรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่าธรรมชาติ  ป่าที่เสื่อมโทรมเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพธรรมชาติได้อีก
รักธรรมชาติ ควรเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ [ 24 ต.ค. 2552 22:53:15 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ต่ออีกนิดครับ  ลองไปชมตัวอย่างการฟื้นฟูธรรมชาติโดยไม่เข้าใจธรรมชาติครับ

http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=49945
 
ปลูกต้นไม้นั้น ควรรู้จักชนิดพรรณของต้นไม้   และรู้จักนิเวศวิทยาของพวกมันด้วย   และควรปลูกในที่ๆ ควรปลูกด้วยครับ
รักธรรมชาติ ควรเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ [ 24 ต.ค. 2552 23:18:29 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ขอบพระคุณ คุณรักธรรมชาติ ควรเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติ
สำหรับข้อมูล และคำแนะนำด้วยค่ะ


และขอโทษผู้รู้ทุกๆ ท่านมา ณ ทีนี้ด้วย
หากกิจกรรมปลูกป่าที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น
อาจจะกลายเป็นการทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ

ขอโทษจากใจจริงๆ ค่ะ...
หมี่ผัด approve [ 24 ต.ค. 2552 23:41:09 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ู^
ส่วนมากก็เห็นด้วยนะครับ (โดยเฉพาะฝาย)  แต่ว่าไม่เห็นด้วยเลยกับ
5. ปัญหาที่พบที่สร้างก๊าสเรือนกระจกจำนวนมาก ไม่ใช่เพียง  แต่ภาคอุตสาหกรรม  ภาคการเกษตรที่มีการปลูกพืช ปลูกต้นไม้เองก็สร้างก๊าสเหล่านี้จำนวนมหาศาลไม่น้อยไปกว่าภาคอุตสหกรรมเลย
ยกตัวอย่าง  5.1  การทำนา 5.2 การทำสวนปลูกต้นยางพารา


ต้นไม้นำ CO2 จากอากาศไปใช้ เมื่อตายก็สลายกลับคืน ไม่ว่าจะจากการเผา หรือค่อยๆ เน่าไป ไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณ CO2 บนชั้นบรรยากาศเหนือเปลือกโลกชั้นบน มวลรวมของ C เท่าเดิม
ต่างจากการนำเชื้อเพลิงฟอสซิล(น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) ที่นำขึ้นมาจากใต้เปลือกโลก เมื่อเผาไหม้จึงกลายเป็นการเพิ่ม CO2 หรือมันก็คือการเพิ่มมวลรวมของ C บนพื้นโลก


ส่วนเรื่องสมดุลย์ ผมมองว่า มันไม่ได้อยู่ในสมดุลย์เพราะคนเข้าไปตัด เข้าไปทำลาย การเข้าไปปลูกเสริมในป่าที่ถูกทำลายผมมองว่าควรกระทำนะครับ เพือ่ให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น  แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในระบบนิเวศอย่างที่ว่า

ปลูกป่าในเขตชุมชน ในที่ไม่ใช่ป่า ยิ่งดีครับ เพระาได้พื้นที่สีเขียวเพิ่มอีก  แต่มันพูดง่าย ทำยาก เพราะ พื้นที่จะที่ไหนๆ มันก็มีเจ้าของครับ โดยเฉพาะในเขตชุมชน
GreenEyes approve [ 25 ต.ค. 2552 11:49:18 ]
ความคิดเห็นที่: 23
อยากให้มองโลกเชิงอุดมคติให้น้อยลง แล้วมองโลกแห่งความเป็นจริงที่มีคนหลากหลายรูปแบบเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครสนใจการที่จะให้ทรัพยากรคงอยู่เลยครับ ในขณะที่ฝ่ายใช้ประโยขน์โดยตรงก็ยังคงทำต่อไป ทั้งนี้ก็ไม่ได้ให้ตัดความเป็นอุดมคติ เพราะมันเป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายเช่นกัน
knotsnake approve [ 25 ต.ค. 2552 13:31:19 ]
ความคิดเห็นที่: 24
คุณหมี่ผัดไม่ต้องขอโทษใครเลยนะครับ  เข้าใจในความหวังดี  และช่วยเผยแพร่ความรู้ต่อๆ  ไปนะครับ
 เพราะสิ่งที่เราทำไปด้วยความหวังดี  บางทีอาจจะทำลายธรรมชาติก็ได้  จึงควรระมัดระวัง

เปิดประเด็นเรื่อง

การตัดโค่น และการปลูกต้นไม้

            จะว่าไปแล้วสองสิ่งนี้หากทำด้วยความเข้าใจ ก็จะเกิดประโยชน์   แต่หากทำด้วยความไม่เข้าใจก็เกิดโทษ

หากเราคิดที่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว   ถ้าเราเข้าใจวัฏจักรธรรมชาติ การตัดโค่นต้นไม้เพื่อนำไปใช้ประโยน์  ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ และคุ้มค่าเช่นเดียวกัน    แต่กระนั้นต้องทำด้วยความเข้าใจ  ซึ่ง ธรรมชาติสามารถ regenerate ตัวเองได้  หากเราใช้ประโยชน์จากมันเป็น   ต้นไม้เองก็มีอายุขัย  และเมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรคาร์บอน   เราก็จะรู้จักวิธีการรักษาระบบธรรมชาติได้เป็นอย่างดี


ที่กล่าวว่า "ต้นไม้นำ CO2 จากอากาศไปใช้ เมื่อตายก็สลายกลับคืน ไม่ว่าจะจากการเผา หรือค่อยๆ  เน่าไป ไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณ CO2 บนชั้นบรรยากาศเหนือเปลือกโลกชั้นบน มวลรวมของ C เท่าเดิม"
"

ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าใช่ครับการเผาทำลาย ตอฟาง ต้นไม้ต่างๆ   จริงอยู่ สสารไม่สูญหายไปไหน   แต่มีการเปลี่ยนรูป  ซึ่ง การที่เปลี่ยนจาก คาร์บอนในรูปเนื้อไม้ สารประกอบคาร์บอนต่างๆ  ไปเป็นก๊าสในชั่วพริบตา  ซึ่ง พวกก๊าสที่เกิดขึ้นจะสร้างภาวะเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น  เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา  ซึ่ง ปกติเมื่อเผาทำลายป่าไปแล้ว  ปกติชาวสวน ชาวนาก็ปลูกต้นไม้อยู่แล้วหลังจากที่เผา   แต่สิ่งที่เกิดมันได้สร้างผลกระทบไปแล้ว

ส่วนที่กล่าวว่า  "ต่างจากการนำเชื้อเพลิงฟอสซิล(น้ำมัน  และก๊าซธรรมชาติ) ที่นำขึ้นมาจากใต้เปลือกโลก เมื่อเผาไหม้จึงกลายเป็นการเพิ่ม CO2 หรือมันก็คือการเพิ่มมวลรวมของ C บนพื้นโลก"
จริงแล้วๆ   มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน  เป็นการเอาสารประกอบคาร์บอนในรูปหนึ่งมาใช้ เปลี่ยนไปเป็นรูปของก๊าส

หากวัฏจักรคาร์บอนอยู่ในสมดุล  มันก็ปกติ   แต่การกระทำของมนุษย์ทำให้มันเสียมดุล   และอยู่ในรูปก๊าสมากเกินไป เราก็พยายามปลูกต้นไม้    แต่จริงๆ แล้วเราอย่าลืมว่า  เราอยู่ในระบบเดียวกัน  ทั้งหมด  หากไม่มีพื้นที่รองรับต้นไม้สีเขียวการปลูกต้นไม้มากแค่ไหนก็ช่วยอะไรไม่มาก  เพราะที่นั้นๆ มันมีต้นไม้อยู่แล้ว ซ้ำเป็นการทำลายของเดิม


หากเราปลูกป่าในป่า  ซึ่ง จะว่าไปแล้ว ถือเป็นระบบนิเวศที่อิ่มตัวแล้ว  พื้นที่หนึ่งๆ ในป่าธรรมชาติ  มีจำนวนสมช  = N เสมอ (ในสภาวะที่สมดุล) ซึ่ง กรณีที่สังคมสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการที่เกิดคือ birth death เมื่อต้นไม้ใหญ่ล้มตาย ต้นไม้เล็ก หรือต้นไม้ที่อยู่ที่อื่นจึงสามารถขึ้นหรือเข้ามาแทนที่ได้  หากเราเข้าใจตรรกวิธีคิดนี้จะพบว่า  หากเราเอาต้นไม้เข้าไปปลูกในที่ที่ เป็นป่า  จะเกิดอะไรขึ้น  นั่นคือ เกิด competition เพิ่มขึ้น  ซึ่ง หากระบบนิเวศป่าแข็งแรง  ต้นไม้ที่เอาไปปลูกก็จะตาย  หากต้นไม้ที่เอาไปปลูกเป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่แข็งแรง เช่น กระถินยักษ์   กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น  อีกไม่นานป่าแห่งนั้นจะกลายสภาพเป็นป่ากระถินยักษ์  กระถินณรงค์ กระถินเทพา โดยปริยาย   ซึ่ง ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง    ยกตัวอย่าง  เพื่อนๆ คงเคยดู ละคร  เรื่อง เสาร์ 5  เรื่องชุมแพ เราจะเห็นว่าป่าทั้งป่ามี แต่กระถินณรงค์   diversity ของพืชต่ำมาก  หากจะบอกว่าก่อนหน้าที่เป็นที่กันดารไม่มีต้นไม้เลย   แต่ก็จริง แต่ถูกทำลายไปเพื่อเตรียมปลูกป่าหรือเปล่า  หากใช่ก็แย่

              มีการศึกษการฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลาย  โดยมีการสรุปว่า  ปลูกดีกว่าไม่ปลูก  ซึ่ง แสดงให้เห็นว่า ผู้ศึกษาเข้าใจว่า  ก่อนปลูกคือตัวแปรต้น  คือช่วงที่ป่าไม่มีต้นไม้   แต่ตัวแปรต้นที่แท้จริงคือ  พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายปล่อยทิ้งไว้ต่างหาก ซึ่ง หากมีการเปรียบเทียบก็ต้องเปรียบเทียบป่าปลูกกับป่าที่ปล่อยทิ้งไว้ ณช่วงเวลาเท่ากัน  ไม่ใช่เทียบก่อน และหลัง

ที่กล่าวถึงนี้มันไม่ได้ว่าคุณหมี่ผัดนะครับ  ผมไม่อยากให้คนเข้าใจว่าป่าปลูกได้ด้วยคน   คนปลูกได้  เพียงต้นไม้   ซึ่ง ควรปลูกในที่ที่ควรปลูก  ส่วนประเด็นที่เป็นวัตถุประสงค์สำคัญคือ อนุรักษ์เป็นเรื่องที่ดี    แต่ที่ผ่านมาสิบกว่าปี  เราควรได้รับบทเรียนจากการฟื้นฟูที่เปลี่ยน จากหน้าเป็นหลัง  กลายเป็นการทำลายอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์   ซึ่ง เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เรามานั่งคิดกันเล่นๆ   แบบในเชิงอุดมคติ    แต่เป็นเรื่องจริงที่ควรตระหนัก  ไม่เช่นนั้นธรรมชาติจะรับศึกหนักสองด้าน  คือ ด้านที่มีการทำลาย   และด้านอนุรักษ์ที่ไม่ทราบว่าเป็นการทำลาย   แต่สุดท้ายแล้วเวลาที่ผ่านไป  อย่าให้ผ่านเลยไปต่อการไม่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้   ซึ่ง ไม่น้อยไปกว่าการทำลายโดยตรง   แต่เป็นภัยเงียบที่แฝงมากับความไม่รู้   ที่กล่าวถึงนี้  ไม่ใช่นั่งเทียนเขียน   แต่เพราะว่าเราทำการศึกษาติดตาม  ออกพื้นที่สำรวจทั่วประเทศ   และก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมในทางที่แย่ลงกับสภาพธรรมชาติ    แต่ไม่ได้ถึงขนาดแอนตี้ ว่าห้ามปลูก   แต่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวต่างหากเพราะกระทำโดยไม่มีความรู้   ซึ่ง อันที่พอจะรับได้ก็คงเป็นหน่วยงานที่ทำวิจัยอย่างจริงจังอย่างที่มช. Forru ซึ่ง ตรงนี้ก็พอจะรับได้เพราะเขาศึกษากันอย่างจริงจัง    แต่ด้วยบุคคลากรเมืองไทยมีจำกัด จะให้ทั่วประเทศทำเช่นนั้นไม่ได้  และ การทำให้เกิดความสำเร็จจึงเป็นเรื่องยาก  และอาจจะผลาญงบของชาติจำนวนมหาศาล  

อยากจะท้าวความถึงการปลูกป่านั้นมีมานานมากแล้ว  สมัยก่อนที่โรงเรียนมีการปลูกป่าทุกปี   และก็มีการสับถางป่าทุกปีเช่นเดียวกัน   เอาเป็นว่าปลูกพอเป็นพิธี   มองมุมดีก็คือปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆ   มองในแง่ร้ายคือผลาญงบเล่นๆ    และทำลายธรรมชาติ    และอาจจะทำให้คนคิดว่าทำลายไปเถอะป่า เดี๋ยวก็มีคนมาฟื้นฟูเองแหละ  ป่าฟื้นคืนชีพได้

แต่ในความคิดของกระผม  ผมคงไม่ใช้กุศโลบาย  แต่บอกไปตรงๆ   ว่าทำลายแล้วก็หมด  หยุดทำลายเถอะ  คือ  ฟื้นฟูด้วยมนุษย์ไม่ได้   สิ่งที่ทำได้คือ  ปล่อยไปตามธรรมชาติ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกดีที่สุด   เราไม่ต้องเสียงบประมาณ   แต่หากจะปลูกก็ปลูกได้  ก็ปลูกต้นไม้ ในที่ที่ควรปลูก  ไม่ใช่บอกว่าปลูกป่า  ส่วนการอนุรักษ์ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องการปลูกต้นไม้ลองดูในชีวิตประจำวันว่าเรา  ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้วหรือยัง
รักธรรมชาติ-Opinion [ 26 ต.ค. 2552 18:45:04 ]
ความคิดเห็นที่: 25
กลับมาอ่านอีกครั้ง ก็ยังคงขอบคุณ คุณรักธรรมชาติ-Opinion  เช่นเดิมค่ะ
ทุกๆ ถ้อยคำที่บรรจงเป็นตัวอักษรเหล่านี้จะได้ถูกถ่ายทอดต่อๆ ไปยังผู้ไม่รู้ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกจำนวนมากต่อไป

เพราะ สถาบันที่หมี่ และครอบครัวได้อาศัยอยู่นี้ก็เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยตรง
ดังนั้น  กระทู้ปลูกป่านี้ คงได้ขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา
ให้กับเพื่อนๆ ครู และนักศึกษาคณะพืชศาสตร์ที่นี่ได้รับทราบ  และหมี่เชื่อแน่ว่าคงเป็นที่ถกเถียงกันแน่ๆ ค่ะ ^_^

หมี่เชื่อว่า คนคิดจะปลูกก็คงยังตั้งใจว่าจะปลูกต่อไปค่ะ

และขอเรียนให้คุณรักธรรมชาติ-Opinion   ทราบเบื้องต้นว่า
เราปลูกต้นไม้ในทุกที่ ที่คุณรักธรรมชาติ-Opinion  ได้แนะนำมาแล้วทุกๆ ปีค่ะ

ตามข้างถนน  ในสถาบันศึกษา ในหมู่บ้าน ในวัด  ในที่ๆ กรมป่าไม้อนุญาตให้พวกเราปลูก ฯ ลฯ
ซึ่ง ที่แน่ๆ คือ ที่บ้านของพวกเรา รับรองได้ว่า มีต้นไม้ ทั้งยืนต้น ไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ
ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้ใบ ไม้ประดับ ฯ ลฯ
ปลูกอยู่แทบจะทุกอณูพื้นที่ของบ้านค่ะ
และได้มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันพันธุ์ไม้ระหว่างบ้านกันเพื่อปลูกภายในบริเวณบ้านค่ะ
โดยเฉพาะบ้านของหมี่เอง ยังคงอนุรักษ์ต้นก้ามปูต้นยักษ์ไว้ไม่ให้ใครได้เข้ามากล้ำกรายแม้ แต่ปลายเล็บ

และเรียนให้คุณรักธรรมชาติ-Opinion  ทราบเพิ่มเติมว่า
กิจกรรมครั้งนี้ หมี่ไม่ได้ของบประมาณ และไม่ได้ใช้งบประมาณจากที่ใดๆ เลยค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน
 
เมล็ดพันธุ์ ได้จากการนำมามอบจากครอบครัวของนักศึกษา  
หนังสติ๊ก หมี่เป็นคนซื้อให้เด็กๆ เองด้วยทรัพย์ส่วนตัว  
และไม่ได้มีการ สับถางป่า ขุดหลุมใดๆ เลยค่ะ สบายใจได้ค่ะ

คำว่าปลูกป่า กับปลูกต้นไม้ เป็นคำที่ละเอียดอ่อน
ครั้งต่อไป คงไม่กล้าใช้คำว่า ปลูกป่า อีกแน่ๆ ค่ะ
เพราะความหมายมันช่างกว้างใหญ่เกินกว่าที่จะคิดถึงก่อนปฎิบัติ

ข้อแนะนำดีๆ เหล่านี้ หากหมี่ได้รับก่อนวันทำกิจกรรม
คงเป็นหัวข้อถกเถียงกันในหมู่พวกเรากันเป็นแน่แท้

หาก แต่ เรามาทราบกันหลังจากกิจกรรมผ่านพ้นไปแล้ว
ทุกคนก็ได้ แต่ครุ่นคิดกันว่า
เราได้ทำอะไรผิดไปหรือเปล่า....

ยังไงก็แล้ว แต่ ก็ต้องขอขอบคุณคุณรักธรรมชาติ-Opinion อีกครั้งนะคะ
หมี่ผัด approve [ 26 ต.ค. 2552 22:01:49 ]
ความคิดเห็นที่: 26
: รักธรรมชาติ-Opinion
คุณหมี่ผัดไม่ต้องขอโทษใครเลยนะครับ  เข้าใจในความหวังดี   และช่วยเผยแพร่ความรู้ต่อๆ   ไปนะครับ
 เพราะสิ่งที่เราทำไปด้วยความหวังดี  บางทีอาจจะทำลายธรรมชาติก็ได้  จึงควรระมัดระวัง

เปิดประเด็นเรื่อง

การตัดโค่น  และการปลูกต้นไม้

            จะว่าไปแล้วสองสิ่งนี้หากทำด้วยความเข้าใจ ก็จะเกิดประโยชน์    แต่หากทำด้วยความไม่เข้าใจก็เกิดโทษ

หากเราคิดที่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว    ถ้าเราเข้าใจวัฏจักรธรรมชาติ การตัดโค่นต้นไม้เพื่อนำไปใช้ประโยน์  ก็เป็นเรื่องที่ทำได้  และคุ้มค่าเช่นเดียวกัน     แต่กระนั้นต้องทำด้วยความเข้าใจ  ซึ่ง  ธรรมชาติสามารถ regenerate ตัวเองได้  หากเราใช้ประโยชน์จากมันเป็น   ต้นไม้เองก็มีอายุขัย   และเมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรคาร์บอน   เราก็จะรู้จักวิธีการรักษาระบบธรรมชาติได้เป็นอย่างดี


ที่กล่าวว่า "ต้นไม้นำ CO2 จากอากาศไปใช้ เมื่อตายก็สลายกลับคืน ไม่ว่าจะจากการเผา หรือค่อยๆ   เน่าไป ไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณ CO2 บนชั้นบรรยากาศเหนือเปลือกโลกชั้นบน มวลรวมของ C เท่าเดิม"
"

ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าใช่ครับการเผาทำลาย ตอฟาง ต้นไม้ต่างๆ    จริงอยู่ สสารไม่สูญหายไปไหน    แต่มีการเปลี่ยนรูป  ซึ่ง  การที่เปลี่ยนจาก คาร์บอนในรูปเนื้อไม้ สารประกอบคาร์บอนต่างๆ   ไปเป็นก๊าสในชั่วพริบตา  ซึ่ง  พวกก๊าสที่เกิดขึ้นจะสร้างภาวะเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น  เกิดปัญหาต่างๆ  ตามมา  ซึ่ง  ปกติเมื่อเผาทำลายป่าไปแล้ว  ปกติชาวสวน ชาวนาก็ปลูกต้นไม้อยู่แล้วหลังจากที่เผา    แต่สิ่งที่เกิดมันได้สร้างผลกระทบไปแล้ว

ส่วนที่กล่าวว่า  "ต่างจากการนำเชื้อเพลิงฟอสซิล(น้ำมัน   และก๊าซธรรมชาติ) ที่นำขึ้นมาจากใต้เปลือกโลก เมื่อเผาไหม้จึงกลายเป็นการเพิ่ม CO2 หรือมันก็คือการเพิ่มมวลรวมของ C บนพื้นโลก"
จริงแล้วๆ    มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน  เป็นการเอาสารประกอบคาร์บอนในรูปหนึ่งมาใช้ เปลี่ยนไปเป็นรูปของก๊าส

หากวัฏจักรคาร์บอนอยู่ในสมดุล  มันก็ปกติ    แต่การกระทำของมนุษย์ทำให้มันเสียมดุล    และอยู่ในรูปก๊าสมากเกินไป เราก็พยายามปลูกต้นไม้     แต่จริงๆ  แล้วเราอย่าลืมว่า  เราอยู่ในระบบเดียวกัน  ทั้งหมด  หากไม่มีพื้นที่รองรับต้นไม้สีเขียวการปลูกต้นไม้มากแค่ไหนก็ช่วยอะไรไม่มาก  เพราะที่นั้นๆ  มันมีต้นไม้อยู่แล้ว ซ้ำเป็นการทำลายของเดิม


หากเราปลูกป่าในป่า  ซึ่ง  จะว่าไปแล้ว ถือเป็นระบบนิเวศที่อิ่มตัวแล้ว  พื้นที่หนึ่งๆ  ในป่าธรรมชาติ  มีจำนวนสมช  = N เสมอ (ในสภาวะที่สมดุล) ซึ่ง  กรณีที่สังคมสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการที่เกิดคือ birth death เมื่อต้นไม้ใหญ่ล้มตาย ต้นไม้เล็ก หรือต้นไม้ที่อยู่ที่อื่นจึงสามารถขึ้นหรือเข้ามาแทนที่ได้  หากเราเข้าใจตรรกวิธีคิดนี้จะพบว่า  หากเราเอาต้นไม้เข้าไปปลูกในที่ที่ เป็นป่า  จะเกิดอะไรขึ้น  นั่นคือ เกิด competition เพิ่มขึ้น  ซึ่ง  หากระบบนิเวศป่าแข็งแรง  ต้นไม้ที่เอาไปปลูกก็จะตาย  หากต้นไม้ที่เอาไปปลูกเป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่แข็งแรง เช่น กระถินยักษ์   กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น  อีกไม่นานป่าแห่งนั้นจะกลายสภาพเป็นป่ากระถินยักษ์  กระถินณรงค์ กระถินเทพา โดยปริยาย   ซึ่ง  ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง    ยกตัวอย่าง  เพื่อนๆ  คงเคยดู ละคร  เรื่อง เสาร์ 5  เรื่องชุมแพ เราจะเห็นว่าป่าทั้งป่ามี  แต่กระถินณรงค์   diversity ของพืชต่ำมาก  หากจะบอกว่าก่อนหน้าที่เป็นที่กันดารไม่มีต้นไม้เลย    แต่ก็จริง  แต่ถูกทำลายไปเพื่อเตรียมปลูกป่าหรือเปล่า  หากใช่ก็แย่

              มีการศึกษการฟื้นฟูป่าที่ถูกทำลาย  โดยมีการสรุปว่า  ปลูกดีกว่าไม่ปลูก  ซึ่ง  แสดงให้เห็นว่า ผู้ศึกษาเข้าใจว่า  ก่อนปลูกคือตัวแปรต้น  คือช่วงที่ป่าไม่มีต้นไม้    แต่ตัวแปรต้นที่แท้จริงคือ  พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายปล่อยทิ้งไว้ต่างหาก ซึ่ง  หากมีการเปรียบเทียบก็ต้องเปรียบเทียบป่าปลูกกับป่าที่ปล่อยทิ้งไว้ ณช่วงเวลาเท่ากัน  ไม่ใช่เทียบก่อน  และหลัง

ที่กล่าวถึงนี้มันไม่ได้ว่าคุณหมี่ผัดนะครับ  ผมไม่อยากให้คนเข้าใจว่าป่าปลูกได้ด้วยคน   คนปลูกได้  เพียงต้นไม้   ซึ่ง  ควรปลูกในที่ที่ควรปลูก  ส่วนประเด็นที่เป็นวัตถุประสงค์สำคัญคือ อนุรักษ์เป็นเรื่องที่ดี     แต่ที่ผ่านมาสิบกว่าปี  เราควรได้รับบทเรียนจากการฟื้นฟูที่เปลี่ยน จากหน้าเป็นหลัง  กลายเป็นการทำลายอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์   ซึ่ง  เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เรามานั่งคิดกันเล่นๆ    แบบในเชิงอุดมคติ     แต่เป็นเรื่องจริงที่ควรตระหนัก  ไม่เช่นนั้นธรรมชาติจะรับศึกหนักสองด้าน  คือ ด้านที่มีการทำลาย    และด้านอนุรักษ์ที่ไม่ทราบว่าเป็นการทำลาย    แต่สุดท้ายแล้วเวลาที่ผ่านไป  อย่าให้ผ่านเลยไปต่อการไม่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้   ซึ่ง  ไม่น้อยไปกว่าการทำลายโดยตรง    แต่เป็นภัยเงียบที่แฝงมากับความไม่รู้   ที่กล่าวถึงนี้  ไม่ใช่นั่งเทียนเขียน    แต่เพราะว่าเราทำการศึกษาติดตาม  ออกพื้นที่สำรวจทั่วประเทศ    และก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมในทางที่แย่ลงกับสภาพธรรมชาติ     แต่ไม่ได้ถึงขนาดแอนตี้ ว่าห้ามปลูก    แต่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวต่างหากเพราะกระทำโดยไม่มีความรู้   ซึ่ง  อันที่พอจะรับได้ก็คงเป็นหน่วยงานที่ทำวิจัยอย่างจริงจังอย่างที่มช. Forru ซึ่ง  ตรงนี้ก็พอจะรับได้เพราะเขาศึกษากันอย่างจริงจัง     แต่ด้วยบุคคลากรเมืองไทยมีจำกัด จะให้ทั่วประเทศทำเช่นนั้นไม่ได้   และ การทำให้เกิดความสำเร็จจึงเป็นเรื่องยาก   และอาจจะผลาญงบของชาติจำนวนมหาศาล  

อยากจะท้าวความถึงการปลูกป่านั้นมีมานานมากแล้ว  สมัยก่อนที่โรงเรียนมีการปลูกป่าทุกปี    และก็มีการสับถางป่าทุกปีเช่นเดียวกัน   เอาเป็นว่าปลูกพอเป็นพิธี   มองมุมดีก็คือปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆ    มองในแง่ร้ายคือผลาญงบเล่นๆ      และทำลายธรรมชาติ     และอาจจะทำให้คนคิดว่าทำลายไปเถอะป่า เดี๋ยวก็มีคนมาฟื้นฟูเองแหละ  ป่าฟื้นคืนชีพได้

แต่ในความคิดของกระผม  ผมคงไม่ใช้กุศโลบาย   แต่บอกไปตรงๆ    ว่าทำลายแล้วก็หมด  หยุดทำลายเถอะ  คือ  ฟื้นฟูด้วยมนุษย์ไม่ได้   สิ่งที่ทำได้คือ  ปล่อยไปตามธรรมชาติ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกดีที่สุด   เราไม่ต้องเสียงบประมาณ    แต่หากจะปลูกก็ปลูกได้  ก็ปลูกต้นไม้ ในที่ที่ควรปลูก  ไม่ใช่บอกว่าปลูกป่า  ส่วนการอนุรักษ์ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องการปลูกต้นไม้ลองดูในชีวิตประจำวันว่าเรา  ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้วหรือยัง


แหล่ม..ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่ว่าการตีปี๊บแบบฉาบฉวยนี่แหละ จะเหนี่ยวนำการทำลายโดยสุจริตอย่าแรงเลย
knotsnake approve [ 27 ต.ค. 2552 13:45:02 ]
ความคิดเห็นที่: 27
พยายามปลูกมา 6 ปีแล้วครับ ต้น "จิตสำนึก" เนี่ย ไม่รู้ว่าจะปลูกให้ใครไปได้สักเท่าไหร่  และจะมีแรงปลูกอีกสักเท่าไหร่ ก็ขอให้คลืนลูกใหม่ๆ  มาช่วยรับไปสานต่อด้วยเน้อ
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 27 ต.ค. 2552 21:48:43 ]
ความคิดเห็นที่: 28
คุณหมี่ผัดครับ อย่าพึ่งน้อยใจ นะครับ ลองผิดลองถูก ไม่มีใครรู้แน่  แต่ที่แน่ๆ  คุณปลูกต้นไม้ในใจคนแล้วครับ อะไรปลูกผิด ก็ล้มได้ครับ ปลูกถูกก็อนุรักษ์ไว้ ให้คนข้างหลัง ช่วยกันดูแล แค่มีจิตใจดี แค่นี้ก็พอแล้วครับ ก่อนคุณจะปลูกคุณก็ตั้งกระถู้ถามมาตั้งนาน ไม่ค่อยมีใครให้ข้อคิดเห็น ปลูกไปแล้ว มีปัญหามากมาย  ปลูกได้ก็ล้ม(ถอน)ได้ครับ สู้ๆ ครับ ลองผิดลองถูก ดีกว่าไม่ลองอะไรเลย  ไม่ได้เอาใจคุณนะครับ  แต่มันเป็นเรื่องจริง เห็นใจเด็กๆ เถอะครับ  ถ้าเขารู้ว่าการทำดีแล้วไม่ได้ดี เขาจะกล้าทำอีกไหม
...แก้ไขเมื่อ 27 ต.ค. 2552 22:32:24
noppadol approve [ 27 ต.ค. 2552 22:30:14 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 29
Nature does not mean Agriculture.
Philip [ 04 พ.ย. 2552 19:40:41 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org