กระทู้-13265 : ถามหน่อยครับลูก cyprinid ครับ

Home » Board » ปลา

ถามหน่อยครับลูก cyprinid ครับ

เอ้า ขอเชิญท่านผู้รู้ลูกปลาน้ำจืดเข้ามาเม้นต์กันหน่อยครับ พอดีมันติดเข้ามาในโพงพางที่บางปะกง ท้องใส้เละอย่างที่เห็นน่ะครับ

เอ้อ คุณนณณ์ วันที่ 16-19 พย. ผมจะลงเรือไปจับพิกัด GPS ที่โพงพางบางปะกง  และโป๊ะบริเวณอ่าวไทยตอนบน แถวแม่กลอง ศรีราชา จะได้ดูวิธีการรุกโป๊ะด้วย สนใจป่ะครับ น่าจะมีที่ว่างนะ ถ้าไงใกล้วันลองคุยกันนะครับ
Tonyจา approve [ 26 ต.ค. 2552 11:27:56 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ผมดูเป็นปลาซิวเจ้าฟ้าครับ

เรื่องโพงพาง ออกวันเดียวได้ไหมครับ? หรือว่ายาวสามวัน?
นณณ์ approve [ 26 ต.ค. 2552 13:58:27 ]
ความคิดเห็นที่: 2
น่าจะเป็นปลาขี้จีนยาวครับ กลุ่มAambassis sp.
อรุณ [ 26 ต.ค. 2552 16:45:24 ]
arun_loh@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 3
เอออ...ตามคุณนณณ์เขาไปเลยครับท่าน....
ปลาซิวเจ้าฟ้าครับ  แต่ไม่ใช่ลูกปลา เป็นปลาโตแล้วครับ
kasoop approve [ 26 ต.ค. 2552 18:18:03 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ซิวเจ้าฟ้า แน่นอนครับ
Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990
คุณ Tony Ja ได้จากโพงพางปากแม่น้ำบางปะกงหรือครับ น้ำจืดหรือกร่อยมาน้อยปานใดครับ
Plateen approve [ 26 ต.ค. 2552 21:11:49 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ช่วงหน้าน้ำหลากนี่มีอะไรแปลกๆ  ให้ชมเยอะแยะมากมายขอรับท่านน้อง Plateen เพราะว่ามวลน้ำจืดที่หลากจะพัดปลาน้ำจืดติดมากับน้ำด้วย ผมเคยไปสำรวจที่ปากแม่น้ำท่าจีน พบปลานิล ปลาช่อน ปลาหมอไทย กลางป่าชายเลย ตอนช่วงน้ำหลาก แบบเดียวกับที่คลองกำพวน ระนอง พบปลาซิวควายแถบดำ (Rasbora paviei) กลางป่าชายเลนที่เดินออกไปอีกนิดก็เป็นทะเล น้ำที่ผิวหน้าตรงนั้นจืดสนิท  แต่ต่ำลงไปประมาณสัก 15 ซม ความเค็มประมาณ 15 ppt  และลึกลงไปอีกความเค็มจะเป็น 28 ppt

แล้วปลามันจะไปได้ไกลแค่ไหน เคยคุยกะเพื่อนที่ทำงานเรื่องสำรวจของ SEAFDEC เขาบอกว่าออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาไปประมาณ 20 ไมลล์ทะเล เคยลากอวนได้ปลาสวาย มันมาแบบเดียวกับที่คลองกำพวน มวลน้ำจืดจะมีนำ้หนักเบากว่าน้ำทะเล ทำให้มันลอยอยู่ที่ผิวหน้า ประกอบกับปริมาณน้ำจืดเจ้าแม่น้ำเจ้าพระยามันมหาศาลเลยทำให้มันแผ่เข้าไปในทะเลได้ไกลถึงขนาดนั้น  และ ถ้าอยู่ไปเรื่อยๆ  ตามกฏของการออสโมซิสมวลน้ำจืดก็จะกลายเป็นมวลน้ำเค็มในที่สุด ดังนั้นในช่ววแรกๆ  ปลาน้ำจืดจะอยู่ได้ครับที่ผิวหน้าน้ำ  ถ้าเวลาเนิ่นนานไป  และปลานั้นไม่สามารถว่ายกลับไปแหล่งน้ำจืดที่มันอยู่ไม่ทัน มันก็ถึงแก่ชีพิตักษัยแน่นอน  

เห็นด้วยกับหลายๆ  ท่านที่เป็นปลาซิวเจ้าฟ้า ที่เกือบจะเป็นปลาร้าไปแล้ว ส่วนที่มองว่ามันเป็นปลาขี้จีนนั้น มองผาดๆ  ใช่  แต่ว่าปลาขี้จีนมันเป็นกลุ่ม perciformes ที่ต้องมีครีบหลังสองตอน  และตำแหน่งของครีบท้องต้องอยู่แถวๆ ลำคอ ไม่ได้มาตั้งต้นไกลมาจนเกือบจะถึงรูก้น
...แก้ไขเมื่อ 26 ต.ค. 2552 22:12:08
สมหมาย approve [ 26 ต.ค. 2552 22:10:31 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ขอบคุณทุกท่านครับ คือตอนแรกผมก็คิดว่ามันเป็นซิวเจ้าฟ้าเช่นกัน ผมเคยได้ตัวอย่าง และมีรูปถ่ายที่บึงบระเพ็ด
แต่ที่บางปะกงนี่ผมไม่แน่ใจว่ามันมีการแพร่กระจายในน้ำจืดหรือไม่ ก็เลยไม่แน่ใจจริงๆ  สำหรับน้ำในช่วงที่เก็บตัวอย่างเป็นช่วงที่จืดสนิทเพราะน้ำหลากมาก

: สมหมาย
ช่วงหน้าน้ำหลากนี่มีอะไรแปลกๆ   ให้ชมเยอะแยะมากมายขอรับท่านน้อง Plateen เพราะว่ามวลน้ำจืดที่หลากจะพัดปลาน้ำจืดติดมากับน้ำด้วย ผมเคยไปสำรวจที่ปากแม่น้ำท่าจีน พบปลานิล ปลาช่อน ปลาหมอไทย กลางป่าชายเลย ตอนช่วงน้ำหลาก แบบเดียวกับที่คลองกำพวน ระนอง พบปลาซิวควายแถบดำ (Rasbora paviei) กลางป่าชายเลนที่เดินออกไปอีกนิดก็เป็นทะเล น้ำที่ผิวหน้าตรงนั้นจืดสนิท   แต่ต่ำลงไปประมาณสัก 15 ซม ความเค็มประมาณ 15 ppt   และลึกลงไปอีกความเค็มจะเป็น 28 ppt

แล้วปลามันจะไปได้ไกลแค่ไหน เคยคุยกะเพื่อนที่ทำงานเรื่องสำรวจของ SEAFDEC เขาบอกว่าออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาไปประมาณ 20 ไมลล์ทะเล เคยลากอวนได้ปลาสวาย มันมาแบบเดียวกับที่คลองกำพวน มวลน้ำจืดจะมีนำ้หนักเบากว่าน้ำทะเล ทำให้มันลอยอยู่ที่ผิวหน้า ประกอบกับปริมาณน้ำจืดเจ้าแม่น้ำเจ้าพระยามันมหาศาลเลยทำให้มันแผ่เข้าไปในทะเลได้ไกลถึงขนาดนั้น   และ  ถ้าอยู่ไปเรื่อยๆ   ตามกฏของการออสโมซิสมวลน้ำจืดก็จะกลายเป็นมวลน้ำเค็มในที่สุด ดังนั้นในช่ววแรกๆ   ปลาน้ำจืดจะอยู่ได้ครับที่ผิวหน้าน้ำ   ถ้าเวลาเนิ่นนานไป   และปลานั้นไม่สามารถว่ายกลับไปแหล่งน้ำจืดที่มันอยู่ไม่ทัน มันก็ถึงแก่ชีพิตักษัยแน่นอน  

เห็นด้วยกับหลายๆ   ท่านที่เป็นปลาซิวเจ้าฟ้า ที่เกือบจะเป็นปลาร้าไปแล้ว ส่วนที่มองว่ามันเป็นปลาขี้จีนนั้น มองผาดๆ   ใช่   แต่ว่าปลาขี้จีนมันเป็นกลุ่ม perciformes ที่ต้องมีครีบหลังสองตอน   และตำแหน่งของครีบท้องต้องอยู่แถวๆ  ลำคอ ไม่ได้มาตั้งต้นไกลมาจนเกือบจะถึงรูก้น


เสริมอาจารย์สมหมายหน่อยครับ คือไอ้เจ้าสวายนั่นน่ะ ผมว่ามีสิทธ์ที่จะเป็น Pangasius polyuranodon
ซึ่ง เป็นพวกที่ชอบอยู่ตามปากแม่น้ำ ที่บางปะกงผมก็ได้ตัวอย่าง ตอนที่เก็บตัวอย่างคลองสรรพสามิตรแถวสมุทรสาครก็ได้ตัวอย่างเหมือนกัน
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 09:32:55 ]
FishesPics_reply_143224.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
นี่ครับ
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 09:36:50 ]
FishesPics_reply_143225.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
แข่วมันครับ
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 09:37:26 ]
ความคิดเห็นที่: 9
เอ้อ โพงพาง กับโป๊ะนี่น่าจะเช้าไป  แต่กลับตอนไหนไม่รู้ครับ โพงพางไม่มีปัญหา  แต่โป๊ะส่วนใหญ่จะเป็นกลางดึกครับ
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 09:42:58 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เข้ามาเก็บความรู้ครับ  ^^
aqueous_andaman approve [ 27 ต.ค. 2552 09:55:07 ]
ความคิดเห็นที่: 11
เจ้าสังกะวาดวัง (สังกะแวง, ชะแวง) ตอนนี้ใช้ชื่อPangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002  ครับ

เรื่องความทนทานของปลาน้ำจืดบริเวณ ปากแม่น้ำ เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียวครับ เมื้อก่อนสมัยเรียนปีหนึ่งไปสะพานปลามหาชัย มีปลาสวายขึ้นสะพานปลามาเป็นตันเลยครับ ตอนนั้นยังไม่รู้จักปลาลิน (P. krempfi) เลยได้ แต่ประหลาดใจ ว่าปลาสวายไฉนไปว่ายน้ำถึงแหลมญวน (พ่อเพื่อนเป็นเจ้าของเรือลาก ให้ข้อมูลครับ) อย่างไรก็ดีปีก่อนที่สะพานปลาระนองปลาสวายอินตะระเดีย Pangasius pangasius ก็มานอนแอ้งแม้งอยู่ร่วมกับปลาทะเลอื่นๆ  จากมหาสมุทรอินเดียเช่นกันครับ
Plateen approve [ 27 ต.ค. 2552 10:28:05 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เจ้าสังกะวาดวัง (สังกะแวง, ชะแวง) ตอนนี้ใช้ชื่อPangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002  ครับ

อ.plateen ครับ เปเปอร์นี้ผมก็มี  แต่ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่อ่ะ เลยใช้ P. polyuranodon ตาม thesis ของ ดร.แพนด้าน้ำครับ
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 11:28:51 ]
ความคิดเห็นที่: 13
เสริมอาจารย์สมหมายหน่อยครับ คือไอ้เจ้าสวายนั่นน่ะ ผมว่ามีสิทธ์ที่จะเป็น Pangasius polyuranodon ซึ่ง  เป็นพวกที่ชอบอยู่ตามปากแม่น้ำ ที่บางปะกงผมก็ได้ตัวอย่าง ตอนที่เก็บตัวอย่างคลองสรรพสามิตรแถวสมุทรสาครก็ได้ตัวอย่างเหมือนกัน

มันสวาย (Pangasianodon hypopthalmus ) นี่แหละพ่อคุณ ถามเจ้าตัวแล้ว คนจับเขามั่นใจมากว่าเป็นสวาย เพราะว่าตอนเรียนมีนวิทยา ทำกระดูกปลาสวาย มันเลยฝังเข้าไปในสายเลือด
...แก้ไขเมื่อ 27 ต.ค. 2552 12:08:29
สมหมาย approve [ 27 ต.ค. 2552 12:07:53 ]
ความคิดเห็นที่: 14
พอดีว่างผมเลยไปค้นๆ ดูรายงานเก่าๆ ของกรมที่แยกตัวจากกรมประมงรวมทั้งของสถาบันการศึกษาด้านประมงที่เค้าเคยเก็บตัวอย่างในแม่นำบางปะกงตั้ง แต่บริเวณน้ำจืดจังหวัดปราจีณบุรีจนถึงปากแม่นำที่ฉะเชิงเทราเก็บละเอียดกว่าผมมาก เก็บทุกเครื่องมือทั้งลากอวนทับตลิ่ง อวนลอย โพงพาง  อวนรุน มันน่าแปลกที่ไม่เห็นเค้ารายงานการพบซิวเจ้าฟ้าเลย มันยังไงกันเนี่ย
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 12:35:51 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ซิวเจ้าฟ้าพึ่งจะมาแยกเป็นปลาชนิดใหม่ในปี1990 ดังนั้นการสำรวจก่อนหน้านั้นจึงไม่มีรายงานปลาชนิดนี้ อาจรายงานเป็นกลุ่มปลาตะเพียนชนิดอื่นๆ แล้ว แต่การวิเคราะห์ของผู้สำรวจครับ
ช้าง [ 27 ต.ค. 2552 12:51:03 ]
ความคิดเห็นที่: 16
^
^
^
^  
เป็นไปได้นะครับ เพราะรายงานวิชาการส่วนใหญ่ เค้าไม่สนใจปลาเล็กๆ  หรือปลาที่ไม่มีความสำคัญทางเศรฐกิจ จึงไม่นำมารายงานในรายงานฉบับนั่นๆ  (คือ  ถ้าจับซิวเจ้าฟ้าได้ในบางปะกงก็จริง  แต่ก็ทิ้งหรือข้ามมันไปไม่นำมารายงานมาพบ)

เวลาผมหาเอกสารอ้างอิง ก็เจอเอกสารวิชาการประเภทนี้บ่อยๆ  ครับ
ปลาที่ไม่สำคัญ คือ ไม่นำมารายงาน

ปล. อาจารย์ช้างมาตอบก่อน เหอะๆๆ   ก็ตามความเห็นอาจารย์ช้างหละครับ หุๆ
ปล.2 ความเห็นของผมข้างต้นก็แค่บางส่วนของความคิดกระผมอ่ะครับ  - -"
หาเอกสารบ่อยๆ  เจอรายงานแบบนี้ประจำอ่ะครับ (ที่ดีๆ  ละเอียดๆ  ก็มี  แต่ก็มีแค่บางแหล่งน้ำ)
...แก้ไขเมื่อ 27 ต.ค. 2552 12:59:45
aqueous_andaman approve [ 27 ต.ค. 2552 12:56:19 ]
ความคิดเห็นที่: 17
เพราะอะไรคุณ Tony จา ถึงไม่เชื่อข้อมูลใน Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002  ครับ (ลักษณะเด่นนำไปใช้แล้วแยกได้ไม่ชัดเจนหรืออย่างไรครับ)
Plateen approve [ 27 ต.ค. 2552 13:12:09 ]
ความคิดเห็นที่: 18
: ช้าง
ซิวเจ้าฟ้าพึ่งจะมาแยกเป็นปลาชนิดใหม่ในปี1990 ดังนั้นการสำรวจก่อนหน้านั้นจึงไม่มีรายงานปลาชนิดนี้ อาจรายงานเป็นกลุ่มปลาตะเพียนชนิดอื่นๆ  แล้ว  แต่การวิเคราะห์ของผู้สำรวจครับ


แหะๆ  พอดีผมมีทั้งรายงาน  ทั้งเอกสารวิชาการที่ออกมาแล้วด้วย ซึ่ง เก็บยตัวอย่างไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา  และตีพิมพ์ไม่เกิน 3 ปีที่ผ่านมา มีของหลายหน่วยงานด้วย ทั้งกรม ทั้งมหาลัย  แต่ช่างมันเถอะครับ ไม่ซีเรียส เดี๋ยวผมกลับบ้านไปรื้อเปเปอร์ซิวเจ้าฟ้าของ ดร.แพนด้าน้ำมาดูอีกที เก็บไว้ในกรุไม่ได้ใช้เลย


: Plateen
เพราะอะไรคุณ Tony จา ถึงไม่เชื่อข้อมูลใน Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002  ครับ (ลักษณะเด่นนำไปใช้แล้วแยกได้ไม่ชัดเจนหรืออย่างไรครับ)


เท่าที่ผมจำได้เพราะอ่านผ่านๆ  และดูรูปผ่านๆ  รู้สึกว่าแค่แถบฟันมันห่างกันนิด ชิดกันหน่อย เรียวไปนิด กว้างไป หน่อย เบี้ยวซ้าย เบี้ยวขวา ตาเล็ก ตาใหญ่ ผมเลยคิดว่าผมใช้ P.polyuranodon นี่ละครับ พอดี ผมชอบเลียนแบบพวก lumpling แบบ อาจารย์ ส.ส. ส.ธ.ร. ครับ แฮ่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
Tonyจา approve [ 27 ต.ค. 2552 14:28:52 ]
ความคิดเห็นที่: 19
คคห 7 เคยเห็นคนตกได้แถว เขื่อนบางปะกงครับ คุณโทนี่จา พอจะเก็บเจ้า คคห.7 เป็นๆ ไว้ได้บ้างไหมครับ?  เป็นชนิดที่ยังไม่มีรูปครับผม
นณณ์ approve [ 27 ต.ค. 2552 16:29:34 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ไม่น่าแปลกครับท่าน จริงๆ  แล้วตามเหตุผลหลายๆ  อย่างตามที่คุณช้าง คุณ aqueous_andaman บอกก็พอจะเชื่อได้ มันไม่แปลกหรอกที่เราจะไปพบปลาใหม่ๆ  นอกเหนือจากรายงานเก่าๆ  ของกรมประมง อีกอย่าง ถ้าพิจารณาตามการกระจายของปลาซิวเจ้าฟ้ากระจาย โดยประสบการณ์แล้วพบว่ามันกระจายกว้างมาก ผมเองเคยไปได้จากร่องสวนแถวๆ  ปากเกร็ด เยอะแยะมากมายได้จนต้องทิ้ง แถวๆ  ทุ่งรังสิต ก็มีคนเก็บตัวอย่างได้ เคยได้ตัวอย่างจากฝายแถวๆ  ต้นน้ำของแม่น้ำประแสร์ แล้วก็เคยเจอไปถึงตราด (ยังไม่ได้รายงานการสำรวจที่ไหน) แถม Rainboth ยังรายงานการพบปลาชนิดนี้ในกัมพูชา แล้วมันน่าจะมีในแม่น้ำบางปะกงบ้างไม่ได้เชียวหรือ? อย่าลืมว่าแม่น้ำบางปะกงเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยคลองแสนแสบมานานแสนนานแล้ว นี่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ปลามันผ่านไปมากันได้ นอกเหนือไปจากการท่วมหลากของระบบแม่น้ำในช่วงที่น้ำท่วมมากๆ  

ผมเชื่อว่าปลาตัวนี้มาจากบริเ้วณต้นน้ำ และถูกน้ำพัดหลากเข้ามาในป่าชายเลน  และคุณจะพบมันเพียงช่วงเดือนสองเดือนนี้ในรอบปีเท่านั้น ส่วนที่เหลือคงได้ แต่ปลาน้ำกร่อย และน้ำเค็ม

เห็นด้วยกับ คุณน้อง Plateen ที่ว่าให้ลองกลับไปตรวจลักษณะทางอนุกรมวิธาน และลักษณะอื่นของปลาอีกทีดีกว่า ว่ามันตรงกับปลาซิวเจ้าฟ้าจริงหรือเปล่า คงต้องยืมคำหลวงพ่อใน 15 ค่ำเดือน 11 ที่ว่าทำให้สิ่งที่เชื่อ  และเชื่อในสิ่งที่ทำ เพราะว่ายังมีความจริงในธรรมชาติหลายอย่างที่ยังไม่มีการบันทึกไว้ในหนังสือ หรือเอกสารอะไรใดๆ   และคุณเองจะเป็นคนสร้างบันทึกใหม่ขึ้นมา
สมหมาย approve [ 28 ต.ค. 2552 01:35:35 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org