ความคิดเห็นที่: 1
ในไทย ไม่พบในธรรมชาติมาคงหลายร้อยปีแล้วครับ ที่เคยพบเป็นซากเก่าอยู่ตามแอ่งทรายในป่าแถบท้ายเหมือง จ.พังงา (เชื่อว่าน่าจะเป็นสันดอนทราย(จากทะเล)ที่โถมทับถมมาจาก มหาสึนามิ แต่โบราณอย่างน้อยก็ร่วมยุคทวาราวดี เพราะหอยที่พบยังไม่เก่าจนเป็นฟอสซิล
ที่เรียกๆ กันว่าสังข์ไทยนั้นมีชื่อวิทยาศาสตร์ แต่เดิมว่า Turbinella fusus Sowerby, G.B. I, 1825 ฝรั่งเรียกชื่อสามัญว่า Andaman Chank เนื่องด้วยมีถิ่นกำเนิด(ที่ยังมีอยู่)แถบหมู่เกาะอันดามันใต้ เกาะนิโคบาร์ และ ทางเหนือสุดของเกาะสุมาตรา (อินโดนีเซีย)
หลังสึนามิครั้งล่าสุด พื้นที่(ใต้ทะเล) ที่เรืออวนลากไทยเคยลากได้แถบภาคเหนือของเกาะสุมาตรา ที่พบหอบพันธุ์นี้ ที่เคยมีระดับน้ำลึกถึงหน้าดินที่ 60 - 120 เมตร กลับทรุดลงไปลึกจนอวนลากไม่ถึง เลยยังไม่ทราบว่าประชากรหอยดังกล่าวอยู่ดีหรือไม่ อย่างไร :-)
จอม
[ 27 พ.ย. 2552 14:08:28 ]