ชื่อวิทยาศาสตร์ดี หรือ ชื่อตั้งขึ้นเองดี !!!
หายไปนาน ขอออกความเห็นสักนิดน๊ะครับ
คือมีหลายท่านถกกันถึงชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) กับ ชื่อท้องถิ่น (Common Name) (ผมไม่ทราบว่าจะแปล Common Name ว่าอะไร เลยเอาเป็นว่า แปลว่า “ชื่อท้องถิ่น” ไปก่อนครับ)
จริงๆ ชื่อวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เรียกสัตว์ในแต่ละสายพันธ์นั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ภาษาลาติน ซึ่งเป็นถาษาที่ตายแล้วมาตั้งชื่อ มาใช้อ้างอิงกันตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๗๕๘ ซึ่งคำแปลของชื่อนั้น จะตรงกับลักษณะของสัตว์บ้าง หรือไม่ตรงเลยก็มีครับ (การใช้ภาษาที่ตายแล้ว จะได้แปลกันไม่ออก แล้วไว้ใช้อ้างอิงกันเป็นหลักเท่านั้น เช่นเดียวกับบทสวดมนต์ที่ใช้ภาษาบาลี)
จริงๆ ผู้ที่ศึกษาเรื่องสัตว์อย่างจริงจังรวมถึงพวกเราที่ศึกษาเรื่องหอยหรือเปลือกหอยนั้น จะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นหลัก คือเรียกปุ๊บจะนึกภาพออกทันที หรืออย่างน้อย หากนึกภาพตามชื่อ species ไม่ออก แต่เมื่อกล่าวถึง Genus หรือ Family ก็ยังจะนึกภาพออกว่ารูปร่างลักษณะคร่าวๆ เป็นอย่างไร
ชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์หนึ่งสายพันธุ์จะมีเพียงชื่อเดียว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ในบางกระทู้ที่บอกว่าอาจปลี่ยนได้นั้น อาจจะเป็น Genus ซึ่งเมื่อศึกษาสัตว์หรือหอยพันธุ์นั้นลึกลงไป มีอวัยวะหรือโครงสร้างอวัยวะภายในที่ไม่ตรงกับส่วนใหญ่ เป็นต้น ก็ต้องจัดเข้ากลุ่มใหม่ หรืออาจเป็น Genus ใหม่ จึงเปลี่ยนไป แต่ชื่อ (species) นั้นยังคงเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะกรณีใด
บางครั้ง บางท่านอาจสงสัยว่า หอยตัวเดียวกันอาจเปลี่ยนชื่อนั้น จริงๆ แล้วคือว่า อาจมีการค้นพบหอยพันธุ์ใหม่ชนิดเดียวกันโดยบุคคล ๒ คนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเลย แล้วต่างคนต่างตั้งชื่อ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน (เป็นคนละกลุ่มหรือคนละซีกโลก !! ) หรือมีอาจรูปร่างลักษณะต่างกันเล็กน้อย แต่ต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นพันธุ์เดียวกัน จะเห็นได้ว่า เอกสารอ้างอิงบางเล่มก็ชื่อหนึ่ง บางเล่มตัวเดียวกันก็เรียกอีกชื่อหนึ่ง แต่ในเวลาต่อมา ๒ กลุ่มได้มา intersect กัน แล้วรู้ว่าเป็นตัวเดียวกัน โดยทางหลักการแล้ว ๒ ชื่อที่เรียกหอยพันธุ์เดียวกัน จะใช้ชื่อที่ได้ describe ก่อน คือการประกาศหรือตีพิมพ์บทความก่อน ดังนั้นตัวที่ประกาศการตั้งชื่อที่หลัง (กลายเป็นชื่อซ้ำ) จึงเป็น synonym ไป เป็นต้น
บางคนอาจมีเอกสารที่เรียกชื่อหอยพันธุ์เดียวกันต่างกัน จึงเกิดการสับสน เช่นหอย Oliva pacifica ค้นพบโดย F.P. Marrat, เมื่อปี 1870 เป็นตัวเดียวกับ Oliva zeigleri ซึ่งตั้งชื่อโดย A.J. da Motta, เมื่อปี 1981 ตัวนี้จึงใช้ชื่อ pacifica ส่วน zeigleri เป็น synonym (ตัวนี้เป็นหอยไทย หาดูได้ง่ายครับ มีถิ่นอาศัยในทะเลอันดามัน)
หันกลับมาเรื่องชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) กับ ชื่อท้องถิ่น (Common Name)
โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์น่าจะดีกว่าน๊ะครับ พูดปั๊บจะนึกภาพเปลือกหอยออก แต่ถ้าใช้ชื่อท้องถิ่น หอยตัวเดียวจะถูกเรียกได้เป็นหลายชื่อ เช่น Cypraea tigris (Scientific Name) หากเป็นภาษาท้องถิ่น ก็อาจเรียกว่า หอยเบี้ยโป่ง, หอยเบี้ยโป่งลายเสือ, Tiger Cowrie หรือ Common Black Spot Cowrie หรือผมอาจตั้งเองเดี๋ยวนี้ก็ได้ว่า หอยเบี้ยจุดดำ หรือท่านผู้อ่านก็อาจตั้งเดี๋ยวนี้ตามใจชอบว่า ................. หากไม่รู้กันจริง ก็จะนึกภาพไม่ออก หากเราไปคุยกับนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติหรือนักสะสมผู้เชี่ยวชาญ โดยเรียก Cypraea tigris ว่า หอยเบี้ยโป่ง คงต้องอธิบายกันยาว แต่หากเรียกว่า Cypraea tigris ก็จะนึกภาพออกทันที
คือนักวิทยาศาสตร์เขาตั้งกันมาดีแล้วอย่างเป็นระบบ แต่หากเราจะตั้งแบบไทยๆ โดยใช้ภาษาบาลีก็น่าจะดี แต่คงต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะทำได้ครบอย่างเป็นระบบ เพราะต้องทำกับหอยทั้งโลก และ Systematic ทั้งระบบ
บางท่านอาจจะว่า เดี๋ยวใช้ชื่อไทยไปนานๆ ก็จะชินเอง แต่หากท่านจะ inter แล้วไปใช้ชื่อ common name กัน ก็น่าจะคุยกับวงการต่างประเทศไม่รู้เรื่อง และไหนๆ ต้องจำชื่อ ก็จำชื่อลาตินชื่อเดียวไปเลยดีกว่า เพราะหากมีใครถามมาเป็นชื่อไทย เราก็คงต้องขอดูรูป ซึ่งหากถามกันเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ บางทีก็ไม่ต้องมีรูปหรืออธิบายกันมากมายก็ตอบปัญหาได้ครับ
แล้วนี่ก็เป็นเหตุผลประกอบข้อมูลดดยสรุปมากๆ ให้ท่านทราบพอเป็นสังเขป ว่าทำไมบางท่านตอบกระทู้เป็น Scientific Name ครับ
แล้วก็พิจารณากันเองน๊ะครับว่าใช้ ชื่อวิทยาศาสตร์ดี หรือ ชื่อตั้งขึ้นเองดี !!!!!!
Tom
...แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 2552 00:56:39
Tom
[ 02 ธ.ค. 2552 00:46:38 ]