กระทู้-13463 : เพื่อน ๆ ที่ชอบศึกษาภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ลองมาช่วยกันตอบกันครับ อยากทราบความเห็น

Home » Board » อื่นๆ

เพื่อน ๆ ที่ชอบศึกษาภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ลองมาช่วยกันตอบกันครับ อยากทราบความเห็น

ผมได้รับแบบสอบถาม ทางวิชาการเกี่ยวกับน้องนักศึกษาปริญญาโทท่านหนึ่ง ให้ช่วยตอบแบบสอบถาม โดยถามผมในฐานนะ นักเขียนภาพวิชาการทางวิทยาศาตร์  (สายการแพทย์)  โดยนักศึกษาท่านนี้ยึกเกณฑ์
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ศิลปิน นักวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยมีเกณฑ์ดังนี้
1.   เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานการวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3 ปี
2.   เป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานภาพวาดประกอบทางวิทยาศาสตร์ในหนังสือ ตำรา
หรืองานวิจัย ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น
3.   เป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับใน
ประเทศ และต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 3 ปี
และมี่ข้อหนึ่งที่ถามผม แต่ผมคิดว่าข้อนี้ลองถามเพื่อนๆ  ที่สนใจภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ดูดีกว่า คือข้ออื่นผมตอบไปหมดแล้ว แต่ข้อนี้จริงๆ  ผมก็มีคำตอบอยู่ในใจแล้ว แต่อยากฟังแง่คิดจากเพื่อนๆ ท่านอื่น เพื่อแชร์ความคิดกันครับ

คำถาม ที่น้องเค้าถามผม แล้วผมรบกวนเพื่อนๆ  ช่วยแชร์ความคิด เพราะเห็นว่า ความคิดของทุกท่านน่าจะมีประโยชน์

ท่านคิดว่าศิลปินโดยทั่วไปมีมุมมองในภาพวาดทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
คืออยากรู้ความเห็นเพื่อนๆ แบบมุมกว้างนะครับ  (จริงๆ  เค้าถามผม แต่ผมว่าอยากฟังความเห็นกว้างๆ  ของศิลปินหัวใจวิทย์)
jamjuree approve [ 02 ธ.ค. 2552 14:07:31 ]
nuchock_mu@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 1
เวลาเราเห็นสัตว์ เราอาจมองหาจุดที่ใช้จำแนกชนิด เวลาที่คนทั่วไปเห็นเขาคงมองเห็นสัตว์ตัวหนึ่ง
เวลาเราเห็นดอกไม้ เรามองเห็นรูปกลีบใบ เกสรตัวผู้-ตัวเมีย  แต่คนทั่วไปเห็นสีสรร และรูปทรง(สวย-ไม่สวย)
เวลาเรามองใบไม้ เราเห็นรูปใบ ขอบใบ ขนใบ หนามที่ผิวใบ คนทั่วไปคงเห็นอะไรแบนๆ  เขียวๆ

เวลาศิลปินดูรูปวาดทางวิทยาศาสตร์ เขาก็คงดูองค์ประกอบศิลป์ การใช้สี  และเทคนิกในการวาดเป็นหลัก


ป.ล. ทั้งหมด.... เดาล้วนๆ
...แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 2552 15:25:51
vvay approve [ 02 ธ.ค. 2552 15:25:22 ]
ความคิดเห็นที่: 2
หลังจากตีความคำถามหลายตลบ

น้องเค้าต้องการถามผู้วาดภาพประกอบฯ  

น้องเค้าต้องการให้ผู้วาดภาพประกอบฯ  เดาว่าศิลปินแขนงอื่นจะมีมุมมองต่องานภาพประกอบฯ อย่างไร

ใครจะช่วยตอบ ต้องนึกว่าตัวเองเป็นผู้วาดภาพประกอบด้วย

(คิดว่างั้นนะ  ถ้าไม่ใช่ก็คงไปไล่ถามศิลปินแขนงอื่นเอาจะตรงกว่า)



...  จะช่วยให้ตรงขึ้น หรือช่วยให้งงขึ้นก้ไม่รู้ 55
...แก้ไขเมื่อ 03 ธ.ค. 2552 06:28:48
alian approve [ 02 ธ.ค. 2552 16:48:03 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ผมเองไม่ได้เป็นทั้งศิลปิน  และ  ถ้าวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์คงออกมาตลกนะ อิอิ
แต่ชอบศิลปะทุกแขนง มากกกกกกก ชอบมา แต่เล็ก แต่น้อย เคยผ่านคำสอนของอาจารย์มาบ้าง
อย่างตอนที่ท่านอ.วิชัย มะลิกุล (นักกีฏวิทยา นักวาดภาพผีเสื้อ และแมลง เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันสมิธโซเนียน) มาฝึกอบรมให้กับผู้สนใจ ที่ อ.พ.ว.ช. ปทุมธานีนั้น ผมก็แอบไปแจมด้วย ฝีมือวาดผมเองก็งั้นๆ ...  แต่ได้ความคิดจากอาจารย์มาอย่างที่ผมชอบมากๆ  (เรียบเรียงเองเท่าที่ผมจะจำได้) .....

ว่า ....

"การวาดภาพวิทยาศาสตร์ คุณต้องแยกมันออกจากการวาดภาพแบบศิลปะแขนงอื่นๆ ทั่วไป แม้ว่ามันอาจมีที่มาจากที่เดียวกัน  แต่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้มันต่างกันมาก การวาดภาพวิทยาศาสตร์นั้นถือกำเนิดขึ้นเพื่อรับใช้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ  แนวทางมันมีหลากหลายมาก แล้ว แต่เราจะสอนเรื่องอะไร เราจะเรียนเรื่องอะไร  แต่โดยรวมคือต้องมีความเหมือนในรายละเอียด ยิ่งเหมือนยิ่งดี อย่างขนบนปีกของผีเสื้อกลางคืนนี่ผมก็วาดจนฝรั่งเค้าทึ่งมาแล้ว บนเวทีที่สถาบันที่ผมทำงานอยู่มากว่า 30 ปีนั้น ไม่มีโชคช่วย ไม่มีเส้นสายใดๆ  มี แต่ความสามารถ และฝีมือล้วนๆ  การที่จะยืนอยู่ได้ตรงนั้นหมายถึงความสามารถต้องเข้าตาจนเค้าเอาคุณออกไปไม่ได้ แม้ แต่คิดจะเอาใครมาแทนก็แทนคุณไม่ได้ ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่ามีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ จากทั่วโลกที่เค้าพร้อมจะมายืนแทนที่คุณตลอดเวลา ต้องให้เค้าทำเทียบเท่าคุณก็ยังไม่ได้ ผมอยากนำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าให้คนไทยได้ฟัง อยากให้มีกำลังใจ อยากให้ขยัน ให้ขวนขวายมากๆ  คนไทยทำได้ เราไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ..... ฯ ลฯ "

"...... การวาดภาพวิทยาศาสตร์นั้นจำเป็นที่จะต้องรักษารายละเอียดทุกอย่างของตัวแบบ ให้มากที่สุดเท่าทีคุณจะนำเสนอ และรักษาเอาไว้ได้ อย่างคุณจะวาดยุงสักตัว(อาจารย์ได้ไปอเมริกาเพราะการวาดภาพยุงแบบโคตรละเอียดสมัยทำงานให้โรงพยาบาลพระมงกุฏครับ เห็นแล้วต้องอึ้ง งานไปเข้าตานักยุงวิทยาที่โน่น) คุณต้องรู้ว่าเค้าศึกษาอะไรของมัน  แต่คุณก็สามารถจัด ปรับ  แต่งในรายละเอียดได้บ้าง ให้ภาพดูมีสัดส่วนที่เหมาะกับการตีพิมพ์ อย่างงวงดูดน้ำหวานของพวกผีเสื้อนี่(ตอนนั้นพี่waterpanda ถาม)ที่ผมเอามาม้วนเป็นขดๆ นี่ ของจริงมันอาจไม่ได้อยู่ในรูปทรงนี้เสมอ  แต่ผมไม่ได้มั่วเอาเอง คุณต้องคลี่ ยืดมันออกมา วัดความยาวโดยละเอียด ลองม้วนดู แล้ววงๆ ที่ขดในภาพวาดนี่ ถ้าคลี่ออกมาต้องยาวเท่าสัดส่วนของจริงเป๊ะ! .... เห็นไหมครับว่า การวาดอะไรที่ตั้งใจที่สุดนั้นอาจเปลี่ยนชีวิตคนได้ ผมเองได้ไปทำงานที่สถาบันอันทรงเกียรติมานานกว่า30ปี เพราะภาพวาดยุงชุดนี้แท้ๆ ..... "

"งาน Art อย่าง Fine Art หรือ Abstract หรืออะไรก็ตาม แต่ มันอาจทะลุไปในด้านใดด้านหนึ่ง ตาม แต่ศิลปินจะวาด คุณจะวาดไปไกลแค่ไหนก็ได้ไม่มีขอบเขตของจินตนาการ  แต่งานวาดภาพ Scientific Art นี่คุณต้องรู้ที่จะยั้ง รู้ว่าควรวาดไปไกลแค่ไหน คุณต้องไม่ลืมว่ามันมีความสำคัญในแง่ของการเรียนรู้ของคนอีกหลายรุ่น งานของคุณจะถูกนำไปใช้อ้างอิง พูดถึงแล้วพูดถึงอีก อาจไปถึงระดับนานาชาติ แล้วคุณเป็นคนไทย ต้องไม่ลืมว่าอย่าทำให้เสียชื่อเสียงเด็ดขาด เพราะมันจะมีผลถึงคนไทยรุ่นถัดๆ ไปที่อาจเดินในเส้นทางเดียวกับคุณ .... หากจะถามว่า Art กับ ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ อะไรงามกว่ากัน มันวัดไม่ได้ ไม่มีอะไร, ใครมาตัดสิน เพราะมันคนละเรื่องกัน มันเหมือนลูกที่ออกมาจากพ่อแม่เดียวกัน  แต่เป็นพี่น้องที่เป็นคนละคนกัน มันงามกันไปคนละอย่างกัน... ฯ ลฯ "

ต้องขอโทษด้วยครับ ที่นำมาเรียบเรียงเอง อาจไม่เหมือนที่อาจารย์ท่านสอนให้ด้วยเมตตาเด็กรุ่นหลังๆ  ท่านกล่าวไว้ดีกว่านี้มากนัก  แต่ผมถอดเอาจากความประทับใจในงาน และตัวท่านเองล้วนๆ ....

หวังว่าอาจได้ประโยชน์บ้างนะครับเพื่อนๆ !
...แก้ไขเมื่อ 03 ธ.ค. 2552 02:40:34
จอม approve [ 03 ธ.ค. 2552 02:37:12 ]
ความคิดเห็นที่: 4
: จอม
ผมเองไม่ได้เป็นทั้งศิลปิน   และ   ถ้าวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์คงออกมาตลกนะ อิอิ
แต่ชอบศิลปะทุกแขนง มากกกกกกก ชอบมา  แต่เล็ก  แต่น้อย เคยผ่านคำสอนของอาจารย์มาบ้าง
อย่างตอนที่ท่านอ.วิชัย มะลิกุล (นักกีฏวิทยา นักวาดภาพผีเสื้อ  และแมลง เจ้าหน้าที่ประจำสถาบันสมิธโซเนียน) มาฝึกอบรมให้กับผู้สนใจ ที่ อ.พ.ว.ช. ปทุมธานีนั้น ผมก็แอบไปแจมด้วย ฝีมือวาดผมเองก็งั้นๆ  ...   แต่ได้ความคิดจากอาจารย์มาอย่างที่ผมชอบมากๆ   (เรียบเรียงเองเท่าที่ผมจะจำได้) .....

ว่า ....

"การวาดภาพวิทยาศาสตร์ คุณต้องแยกมันออกจากการวาดภาพแบบศิลปะแขนงอื่นๆ  ทั่วไป แม้ว่ามันอาจมีที่มาจากที่เดียวกัน   แต่วัตถุประสงค์ในการนำไปใช้มันต่างกันมาก การวาดภาพวิทยาศาสตร์นั้นถือกำเนิดขึ้นเพื่อรับใช้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ   แนวทางมันมีหลากหลายมาก แล้ว  แต่เราจะสอนเรื่องอะไร เราจะเรียนเรื่องอะไร   แต่โดยรวมคือต้องมีความเหมือนในรายละเอียด ยิ่งเหมือนยิ่งดี อย่างขนบนปีกของผีเสื้อกลางคืนนี่ผมก็วาดจนฝรั่งเค้าทึ่งมาแล้ว บนเวทีที่สถาบันที่ผมทำงานอยู่มากว่า 30 ปีนั้น ไม่มีโชคช่วย ไม่มีเส้นสายใดๆ   มี  แต่ความสามารถ  และฝีมือล้วนๆ   การที่จะยืนอยู่ได้ตรงนั้นหมายถึงความสามารถต้องเข้าตาจนเค้าเอาคุณออกไปไม่ได้ แม้  แต่คิดจะเอาใครมาแทนก็แทนคุณไม่ได้ ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่ามีคนเก่งๆ  รุ่นใหม่ๆ  จากทั่วโลกที่เค้าพร้อมจะมายืนแทนที่คุณตลอดเวลา ต้องให้เค้าทำเทียบเท่าคุณก็ยังไม่ได้ ผมอยากนำสิ่งเหล่านี้มาบอกเล่าให้คนไทยได้ฟัง อยากให้มีกำลังใจ อยากให้ขยัน ให้ขวนขวายมากๆ   คนไทยทำได้ เราไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ..... ฯ  ลฯ  "

"...... การวาดภาพวิทยาศาสตร์นั้นจำเป็นที่จะต้องรักษารายละเอียดทุกอย่างของตัวแบบ ให้มากที่สุดเท่าทีคุณจะนำเสนอ  และรักษาเอาไว้ได้ อย่างคุณจะวาดยุงสักตัว(อาจารย์ได้ไปอเมริกาเพราะการวาดภาพยุงแบบโคตรละเอียดสมัยทำงานให้โรงพยาบาลพระมงกุฏครับ เห็นแล้วต้องอึ้ง งานไปเข้าตานักยุงวิทยาที่โน่น) คุณต้องรู้ว่าเค้าศึกษาอะไรของมัน   แต่คุณก็สามารถจัด ปรับ   แต่งในรายละเอียดได้บ้าง ให้ภาพดูมีสัดส่วนที่เหมาะกับการตีพิมพ์ อย่างงวงดูดน้ำหวานของพวกผีเสื้อนี่(ตอนนั้นพี่waterpanda ถาม)ที่ผมเอามาม้วนเป็นขดๆ  นี่ ของจริงมันอาจไม่ได้อยู่ในรูปทรงนี้เสมอ   แต่ผมไม่ได้มั่วเอาเอง คุณต้องคลี่ ยืดมันออกมา วัดความยาวโดยละเอียด ลองม้วนดู แล้ววงๆ  ที่ขดในภาพวาดนี่  ถ้าคลี่ออกมาต้องยาวเท่าสัดส่วนของจริงเป๊ะ! .... เห็นไหมครับว่า การวาดอะไรที่ตั้งใจที่สุดนั้นอาจเปลี่ยนชีวิตคนได้ ผมเองได้ไปทำงานที่สถาบันอันทรงเกียรติมานานกว่า30ปี เพราะภาพวาดยุงชุดนี้แท้ๆ  ..... "

"งาน Art อย่าง Fine Art หรือ Abstract หรืออะไรก็ตาม  แต่ มันอาจทะลุไปในด้านใดด้านหนึ่ง ตาม  แต่ศิลปินจะวาด คุณจะวาดไปไกลแค่ไหนก็ได้ไม่มีขอบเขตของจินตนาการ   แต่งานวาดภาพ Scientific Art นี่คุณต้องรู้ที่จะยั้ง รู้ว่าควรวาดไปไกลแค่ไหน คุณต้องไม่ลืมว่ามันมีความสำคัญในแง่ของการเรียนรู้ของคนอีกหลายรุ่น งานของคุณจะถูกนำไปใช้อ้างอิง พูดถึงแล้วพูดถึงอีก อาจไปถึงระดับนานาชาติ แล้วคุณเป็นคนไทย ต้องไม่ลืมว่าอย่าทำให้เสียชื่อเสียงเด็ดขาด เพราะมันจะมีผลถึงคนไทยรุ่นถัดๆ  ไปที่อาจเดินในเส้นทางเดียวกับคุณ .... หากจะถามว่า Art กับ ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ อะไรงามกว่ากัน มันวัดไม่ได้ ไม่มีอะไร, ใครมาตัดสิน เพราะมันคนละเรื่องกัน มันเหมือนลูกที่ออกมาจากพ่อแม่เดียวกัน   แต่เป็นพี่น้องที่เป็นคนละคนกัน มันงามกันไปคนละอย่างกัน... ฯ  ลฯ  "

ต้องขอโทษด้วยครับ ที่นำมาเรียบเรียงเอง อาจไม่เหมือนที่อาจารย์ท่านสอนให้ด้วยเมตตาเด็กรุ่นหลังๆ   ท่านกล่าวไว้ดีกว่านี้มากนัก   แต่ผมถอดเอาจากความประทับใจในงาน  และตัวท่านเองล้วนๆ  ....

หวังว่าอาจได้ประโยชน์บ้างนะครับเพื่อนๆ  !


ได้แนวคิดใหม่ๆ  มากมายเลยครับคุณจอม ขอบคุณครับ ปล จริงๆ  คำถามนี้เค้าเน้นถามมุมมองผม พอดีเค้าสัมภาษณ์นักวาดภาพทางวิทย์ แขนงต่างๆ นะครับ  แต่ผมเค้าสัมภาษณ์ในแขนงของ medical จริงๆ  เดียวนี้ไม่ได้วาดแนวนี้แล้ว  แต่เห็นเค้าว่าด้านนี้หาคนวาดน้อยมาก ขอบคุณทุกความเห็นครับ นับถือมุมมอง และความคิดของทุกท่านมากครับ
jamjuree approve [ 03 ธ.ค. 2552 09:21:54 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ได้อ่านความเห็นของ อ.วิชัย  มะลิกุล ที่คุณจอมเรียบเรียงมา ผมเห็นด้วยครับ ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่เรียนมาทางด้านนี้แม้ว่าจะเป็นสาขาที่ไม่ตรงนักเป็นสาขาที่ประยุกต์มา  แต่พื้นฐานในวิชาที่เรียนต้องมีวิชาเสก็ตช์ภาพ และวาดภาพสัตว์ สิ่งของ คน Anatomy ก็เป็นวิชาหนึ่งที่เรียน แต่ก็เพียงผิวเผิน ผมว่าศิลปินหรือนักเขียน นักวาดส่วนใหญ่ จะวาดภาพก็ต้องเรียนรู้ถึงสัดส่วน สรีระของสิ่งที่เป็นแบบเป็นพื้นฐานมาก่อน เพื่อที่จะได้รู้ถึงสัดส่วนของสิ่งนั้นๆ   แต่จะไม่ละเอียดเท่า อย่างเวลาเสก็ตช์ภาพนก ก็จะเก็บลายระเอียดแค่สัดส่วน และลักษณะเด่นๆ  ของนกตัวนั้น ลายละเอียดของเส้นขนก็อาจใช้การแลเงา และทิ้งลายเส้นไว้เล็กน้อย ไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญในรายละเอียดสักเท่าไหร่ อาจจะมองข้ามสิ่งที่สำคัญในการจำแนกชนิดของสั้ตว์เหล่านั้นไป ซึ่ง ศิลปินส่วนใหญ่จะมองเพียงภาพรวมๆ  ไม่ได้ละเอียดเท่านักวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง ต้องรู้ลึกถึงรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของสิ่งที่จะวาด จริงๆ แล้วสาขาวิชานี้เป็นสาขาที่ผมสนใจอยากเรียนนะ  แต่ตอนที่เรียนสาขาวิชานี้ยังไม่มีเปิดสอน รู้สึกว่าจะเปิดหลังผมเข้าเรียน ป.ตรี ได้สัก 2 ปีมั้ง
ตะขาบยักษ์ approve [ 03 ธ.ค. 2552 09:41:56 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ฟังความเห็นของคุณจอมแล้ว อยากให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้อ่านจังอ่านแล้วมีไฟเลยครับคุณจอม
คือนอกจากเค้ามาสัมภาษณ์วิจัย นักวาดภาพวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ  กับผม (ผมด้านการแพทย์  แต่ตอนนี้เลิกวาดแล้วนางแบบหาไม่ได้)
อีกบทบาท คือผมช่วยเขียนคอลัม (การกุศลไม่ได้สตังค์นะครับ เพื่อเผยแพร์ความรู้วิทยาทานแก่ นิสิต นักศึกษา รุ่นใหม่ ด้านธรรมชาติวิทยา และวิทยาศาตร์)  ถ้าจะเอาข้อความที่คุณจอมแนะนำมุมมองใหม่ๆ  ไปเรียบเรียง ให้แง่คิดในวารสาร(การกุศล) จะได้ไมครับ ผมว่าใครได้อ่านมุมมอง  และแง่คิดที่คุณจอมกล่าวมาจะมีไฟขึ้นมาในการศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ผมอ่านผมยังมีไฟเลยครับ(เสียดายเมืองไทยภาพวาดทางการแพทย์ไม่ค่อยได้รับความนิยม เลยต้องไปวาดอย่างอื่นแทน)  ผมว่า ถ้าเรารัก และชอบอะไรต้องลงมือทำ  และทำให้ดีที่สุด ผลของงานนะยิ่งใหญ่เสมอเลย ใครได้อ่านที่คุณจอมได้กรุณามาช่วยแลกเปลี่ยนคววามคิด ต้องมีคำถามในใจบางอย่างแบบผมแน่เลย อ่านแล้วอื้ม ได้อะไรเยอะมาก

ปล จริงๆ  คำถามนี้เค้าตั้งใจมาถามผม  แต่ผมเห็นว่า ลองถามเพื่อนๆ  ในมุมมองที่กว้างขึ้น  และก็ไม่ผิดหวัง ผมเองพลอยได้รับสิ่งดีดีบางอย่างในใจไปด้วย
jamjuree approve [ 03 ธ.ค. 2552 09:48:23 ]
nuchock_mu@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 7
^
^
^
ดีใจครับที่อ่านแล้วได้อะไรกันบ้าง

ขอบคุณครับคุณตะขาบยักษ์ ของจริงที่อาจารยืท่านสอนไว้ดีกว่านี้มากมาย เพื่อนๆ สมาชิกที่นี่อีก 2-3 คนก็ได้ไปเรียนด้วยกันมา.....

ถ้าคุณ jamjuree จะเอาไปลงพิมพ์จริงๆ เดี๋ยวผมถามอาจารย์เพิ่มเติมให้นะครับ (เพราะที่ผมเขียนยังไม่อาจสมบูรณ์เท่าที่ท่านคิดท่านสอนไว้ ผมยังติดต่อกับท่านอยู่ครับ....) พอจะบอกลักษณะนิตยสารหรือวารสารดังกล่าวไว้ได้ไหมครับ? เดี๋ยวอาจจะขอรบกวนท่านเขียนให้เองเลย อาจารย์ใจดีมากครับ..... จะได้ต่อยอดความรู้มากขึ้นไปอีกครับ!
จอม approve [ 03 ธ.ค. 2552 11:00:38 ]
ความคิดเห็นที่: 8
: จอม
^
^
^
ดีใจครับที่อ่านแล้วได้อะไรกันบ้าง

ขอบคุณครับคุณตะขาบยักษ์ ของจริงที่อาจารยืท่านสอนไว้ดีกว่านี้มากมาย เพื่อนๆ  สมาชิกที่นี่อีก 2-3 คนก็ได้ไปเรียนด้วยกันมา.....

ถ้าคุณ jamjuree จะเอาไปลงพิมพ์จริงๆ  เดี๋ยวผมถามอาจารย์เพิ่มเติมให้นะครับ (เพราะที่ผมเขียนยังไม่อาจสมบูรณ์เท่าที่ท่านคิดท่านสอนไว้ ผมยังติดต่อกับท่านอยู่ครับ....) พอจะบอกลักษณะนิตยสารหรือวารสารดังกล่าวไว้ได้ไหมครับ? เดี๋ยวอาจจะขอรบกวนท่านเขียนให้เองเลย อาจารย์ใจดีมากครับ..... จะได้ต่อยอดความรู้มากขึ้นไปอีกครับ!


อ้อเป็นคล้ายอีบุคนะครับ พอดีทางทีมงานทำเค้าให้ผมทำในส่วน คอลัมของภาพทางวิทยาศาสตร์นะครับ
ยินดี  และดีใจมากเลยครับ ชอบ ความเห็นของ อ.วิชัย  มะลิกุล ที่คุณจอมเรียบเรียงมา
อ่านแล้วอ่านอีกเลยครับ ทำให้เวลาทำงาน เราต้องคิดเสมอว่าต้องทำงานออกมาให้ดีที่สุด ผมเชื่อว่าใครที่ได้อ่าน ความเห็นของ อ.วิชัย  มะลิกุล ที่คุณจอมเรียบเรียงมา  จะต้องมีกำลังใจ และแรงบัลดาลใจในการทำงานด้านนี้มากยิ่งขึ้น
ผมเองก็ไม่ได้ทำงานด้านนี้เหมือนกันครับ  แต่พออ่านแล้วพลอยมีไฟไปด้วย
jamjuree approve [ 03 ธ.ค. 2552 11:08:53 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ถามอาจารย์ท่านไปให้แล้วนะครับ เดี๋ยวรอท่านตอบมาครับ
:-)

จอม
จอม approve [ 03 ธ.ค. 2552 11:35:53 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ได้เคยได้ยินมาเหมือนกันครับ  แต่ได้อ่านที่พี่จอมเอามาให้อ่าน ได้รู้เลยว่าความสำคัญของการวาดรูปอะไรสักอย่างมันอยู่ต้องที่เราต้องเข้าใจ  และใส่ใจรายละเอียดกับงานนั้นจริงๆ  

ขอบคุณมากพี่
heterometrus_sp approve [ 03 ธ.ค. 2552 13:07:18 ]
ความคิดเห็นที่: 11
คุณจอมครับ

ผมรู้สึกลึกๆ  ซาบซึ้งในความสนใจ และความจำข้อมูลของคุณจอม
จำที่ผมได้กล่าวกับการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์
ในห้องเรียนเพียงชั่วไม่กี่วันที่เราประมาณ20คนที่มีโอกาสรู้จักกัน
ในช่วงชีวิต ที่มารวมกันในครั้งที่ผ่านมา

เอาละขอตอบคำถามคุณนะครับ

ผมยินดีเป็นอย่างมาก และเกิดความภูมิใจเป็นอย่างมากที่คุณจอมได้ร่วมในห้องเรียนนั้น

กรุณาเถอะครับ

ช่วยเผยแพร่ข้อมูลในวิชานี้
มันจะได้ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์ของเราได้มีภาพวาดประกอบ
ถ่ายรูปได้ แต่มันเพียงเปลือกนอกของสิ่งของทุกอย่าง
การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์นั้น มันเจาะถึง อวัยวะภายในทุกอย่าง
ที่เอามันออกมาให้เห็นกัน ว่าลักษณะที่สำคัญเป็นอย่างไร ทางวิทย์
มันสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ที่อ้างถึง
ความสวยงามทางการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ คือความเหมือนจริงที่เราอ้างถึง
ด้วยลายเส้นหรือสีสันที่บรรจงประดิษฐ์ถ่ายทอดมาจากธรรมชาติที่นำมาเป็นตัวอย่างครับ

ผมพูดเสมอว่า ผมยอมรับว่ารูปวาดแมลงที่วาดขึ้นมา
มันละเอียดสวยงามเหมือนจริงเอาเสียมากๆ   แต่
ก็ยังแพ้ธรรมชาติที่สร้างมาให้เราได้ชม ได้สัมผัส
เราเพียง แต่เลียนแบบเท่านั้น  แต่ยังให้ผู้ชมได้เกิดความสนเท่ห์ถึงเพียงนั้น
แล้วไฉนเลย ท่านทั้งหลายจึงขาดความสนใจ
ที่จะให้ความสำคัญกับธรรมชาตินั้นๆ  ให้มันจรรโลงไปกับโลกใบนี้
แต่พวกเราที่เป็นศิลปินก็ยังมีความดีอยู่บ้าง ที่เราวาดรูปเหล่านั้น
ที่ทำให้มนุษย์คนอื่นที่ยังเข้าไม่ถึง
ได้เกิดความสนใจกับธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิต ใบไม้ ดอกไม้
แม้ แต่ทางการแพทย์
การวาดภาพของเราก็ยังไปช่วยการวิจัยของเขาได้เหมือนกันนะ ทำเป็นเล่นๆ ไป

เอาอย่างนั้ครับ ที่คุณเขียน ผมยินดีหมด
แต่ขอให้เปลี่ยนเป็นคำพูดของคุณเอง ที่ขอถ่ายทอดให้ผู้สนใจคนอื่น
โดยเอาผมเป็นตัวอย่างก็พอเพียงครับ  และจะเติมที่ผมกล่าวมาทั้งดุ้น
ข้างต้นนี้ ก็O.K

สักวันหนึ่งผมอยากให้พิพิธภัณฑ์หอย
จัดให้ผมสอนผู้ที่สนใจเรียนอย่างที่คุณเรียนมาsummerนี้ ก็จะดี
ที่คราวหน้าผมไปพักร้อนในเมืองไทยอีก
ผมอยากร่วมกับ website บ้าง

ขอบคุณทุกๆ อย่าง
นับถือ

วิชัย มะลิกุล
(Smithsonian, Washington, D.C.)
...แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 2552 00:22:38
จอม approve [ 04 ธ.ค. 2552 00:12:14 ]
ความคิดเห็นที่: 12
^
^
^
^
ข้อความข้างบนนี้คือที่อาจารย์ท่านเมตตาตอบมาวันนี้ครับ
เอาว่าผ่านนะครับคุณ jamjuree อาจารย์ท่านอนุมัติครับ เดี๋ยวอย่างไรมาประสานงานกัน
ก่อนอื่นนำข้อความข้างต้นที่ผมพิมพ์ไปเท่าที่จะนึกได้( และได้ส่งให้อาจารย์อ่านเมือ่เช้านี้แล้ว)ไปใช้ได้เลยครับ
เห็นสมควรอย่างไรให้ปรับแก้ได้เลยนะครับ
ถ้าจะเอาอะไรเพิ่มเติมก็แจ้งมานะครับ ขอบคุณครับ
จอม approve [ 04 ธ.ค. 2552 00:14:54 ]
ความคิดเห็นที่: 13
: heterometrus_sp
ได้เคยได้ยินมาเหมือนกันครับ   แต่ได้อ่านที่พี่จอมเอามาให้อ่าน ได้รู้เลยว่าความสำคัญของการวาดรูปอะไรสักอย่างมันอยู่ต้องที่เราต้องเข้าใจ   และใส่ใจรายละเอียดกับงานนั้นจริงๆ   

ขอบคุณมากพี่


ตอบ .... คุณ heterometrus_sp พี่ดีใจนะครับที่เพื่อนๆ ในนี้เข้ามาอ่านแล้วได้อะไรบ้าง อย่างน้อยสุดหากได้แรงใจเอาไปต่อยอดdHfu.0c]h; .....

ตอนเรียนจะเห็นได้ชัดเลยว่าคนเก่งยังไม่สู้คนขยันนะครับ ขยันเข้าไว้ เชื่อมั่นเข้าไว้ว่าเราต้องทำได้ ในที่สุดหลายๆ ท่านที่ดูไม่ออกว่าเจ๋งกลับเจ๋ง และผลงานออกมาตีตื้นคนเก่งๆ  พูดได้ว่าน่าชมมากๆ ครับ เป็นบรรยากาศที่แสนสนุก และพ่วงได้ความรู้มหาศาล!

มีเพื่อนๆ ในนี้(ที่สะดวกช่วงนั้น)ได้ไปร่วมอบรมกันหลายคน มีพี่หอยทากชรา พี่Waterpanda ฯ ลฯ  อย่างพี่ศา(Motela Hoya) เค้าติดธุระจริงๆ ก็อุตส่าห์แนะนำเพื่อนไปให้ร่วมกิจกรรมนี้กันครับ

หวังว่าในอนาคตคงได้มีโอกาสเช่นนั้นอีกครับ สำหรับทุกๆ คนที่รัก & สนใจ!

ไม่มีอะไรที่สายเกินคนจะเรียนรู้ครับ
จอม approve [ 04 ธ.ค. 2552 00:21:36 ]
ความคิดเห็นที่: 14
: จอม
"

"งาน Art อย่าง Fine Art หรือ Abstract หรืออะไรก็ตาม  แต่ มันอาจทะลุไปในด้านใดด้านหนึ่ง ตาม  แต่ศิลปินจะวาด คุณจะวาดไปไกลแค่ไหนก็ได้ไม่มีขอบเขตของจินตนาการ   แต่งานวาดภาพ Scientific Art นี่คุณต้องรู้ที่จะยั้ง รู้ว่าควรวาดไปไกลแค่ไหน คุณต้องไม่ลืมว่ามันมีความสำคัญในแง่ของการเรียนรู้ของคนอีกหลายรุ่น  !


โดนครับโดน ที่ยากที่สุดก็คือการยั้งนี่ล่ะครับ
ขอบคุณคุณจอมกับอ.วิชัย มะลิกุล มากเลยครับ
สะตอซอรัส approve [ 04 ธ.ค. 2552 05:18:57 ]
ความคิดเห็นที่: 15
: สะตอซอรัส
: จอม
"

"งาน Art อย่าง Fine Art หรือ Abstract หรืออะไรก็ตาม   แต่ มันอาจทะลุไปในด้านใดด้านหนึ่ง ตาม   แต่ศิลปินจะวาด คุณจะวาดไปไกลแค่ไหนก็ได้ไม่มีขอบเขตของจินตนาการ    แต่งานวาดภาพ Scientific Art นี่คุณต้องรู้ที่จะยั้ง รู้ว่าควรวาดไปไกลแค่ไหน คุณต้องไม่ลืมว่ามันมีความสำคัญในแง่ของการเรียนรู้ของคนอีกหลายรุ่น  !

โดนครับโดน ที่ยากที่สุดก็คือการยั้งนี่ล่ะครับ
ขอบคุณคุณจอมกับอ.วิชัย มะลิกุล มากเลยครับ


โดนเหมือนกันครับ เดียวผมคงต้องนำข้อมูลไปอ้างอิงเรียบเรียงอีกครั้งครับ  แต่คงจะลงเป็นฉบับ ต่อจาก เรื่องภาพประกอบคืออะไร กับ การวาดทางวิทยาศาตร์การแพทย์
 ชื่อ การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ในมุมมองของนักวาดภาพประกอบ ดีไมครับ  ถ้ารบกวนขอไฟล์ภาพ ทั้งของคุณจอม ที่เป็นหอย  และ ของท่านอาจารย์ วิชัย มะลิกุล   และเพื่อนๆ ที่ทำงานด้านนี้ คือผมได้ไอเดีย อยากเขียนแนวสอบถามความคิดเห็น มุมมอง ของคนที่ทำงานด้านนี้ เกิดมีน้องๆ ที่สนใจ อยากศึกษาแนวทางนี้ครับ เราจะได้เป็นแรงบัลดาลใจให้นักวิทยาศาตร์รุ่นหลังๆ  ครับ เพราะพอผมเริ่มอ่านบทความที่คุณจอม เรียบเรียง มาจากคำพูดที่ท่านอาจารย์วิชัย มะลิกุล  ได้กรุณาให้แง่คิด ผมเองยังรู้สึกตื้นตั้น  และ ประทับใจไปด้วยเลย ผมเชื่อว่า ถ้าใครได้อ่านย่อมต้องเกิดอะไรขึ้นบางอย่างกับในใจแน่เลย
ปล ที่ผมเขียนลงนี่ เป็นอีบุค เน้นให้นักศึกษาอ่านนะครับ
ว่า แต่ ถ้ามีอบรมเมื่อไหร่คุณจอมแจ้งผมด้วยนะ อยากไปอบรมด้วยจัง
jamjuree approve [ 04 ธ.ค. 2552 09:38:43 ]
nuchock_mu@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 16
ผมว่าภาพวาดทางวิทยฯ ที่ดี นอกจากมีละเอียด และความเหมือน มันยังต้องมีความงามแบบศิลปะอยู่ด้วย

คือมีความดึงดูด มีสุนทรีย์ ผู้วาดอาจต้องชดเชยสิ่งที่มองไม่เห็นในธรรมชาติ หรือเพิ่มจินตนาการ

แต่ยังคงจุดประสงค์ของภาพคือต้องมีความถูกต้อง

วาดเหมือนอย่างเดียวมันก็จะดูทื่อๆ  

(มุมมองของผมนะครับ ไม่ใช่ผู้วาด ไม่ใช่ศิลปิน แค่ชอบดู)
alian approve [ 04 ธ.ค. 2552 10:38:26 ]
ความคิดเห็นที่: 17
สุดยอดเลยครับกระทู้นี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เช่นนี้ ปรบมือให้ดังๆ เลยครับ
noppadol approve [ 04 ธ.ค. 2552 11:46:30 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 18
มาแอบอ่านด้วยครับ ได้อะไรหลายๆ อย่างจริงๆ  ขอบคุณครับ
JJ [ 04 ธ.ค. 2552 23:03:11 ]
ความคิดเห็นที่: 19
คุณ สะตอซอรัส

คุณ jamjuree

คุณ alian

คุณ noppadol

คุณ JJ

ดีใจจังนะครับที่กระทู้นี้ของคุณ jamjuree ต่อยอดประโยชน์ได้มหาศาล

..... คุณ jamjuree ครับ ยังไงเดี๋ยวจะพยายามหารูป และเรื่องราวส่งให้นะครับ

รอสักพักครับ กะลังเดินทางอยู่

:-)
จอม approve [ 05 ธ.ค. 2552 00:28:24 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ได้แง่คิด มากมายเลยคะ  ยอมรับว่าเป็นกระทู้ที่เปิดอ่านนานมาก เพราะ แต่ล่ะความคิดเห็น... มันได้ข้อคิดจริงๆ
callus approve [ 05 ธ.ค. 2552 13:20:42 ]
ความคิดเห็นที่: 21
เป็นกระทู้หนึ่งที่ผมเพิ่งมาเห็นหลังจากมันตกหน้าไปนานแล้ว  แต่เป็นการกลับมาดูที่คุ้มค่าครับ

จากที่ผมได้เห็นงานของหลายๆ ท่าน บ่อยครั้งที่ตัวอย่างหรือต้นแบบไม่สมบูรณ์ (เจอประจำสำหรับลูกปลา หรือแม้ แต่ปลาใหญ่ กุ้ง ฯ ลฯ ) ซึ่ง ท่านเหล่านั้นจะวาดตามที่แบบมี ( แต่ก็ปรับท่าทางให้เหมาะสมตามความเป็นจริง) ส่วนที่ขาดหายไป  ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ห้ามเติม  แต่ ถ้าคุ้นเคยกับสัตว์ชนิดนั้นๆ มากพอก็สามารถเติมได้โดยใช้การลงเส้นที่ต่างออกไปเพื่อให้รู้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้วาดเติมให้เห็นลักษณะรวมที่สมบูรณ์  แต่จะไม่ลงรายละเอียด เพราะ ถ้าลงเท่ากับมั่ว เช่น จำนวนปล้องของก้านครีบอ่อน

ภาพวาดเชิงวิทยาศาสตร์เองก็มีหลายระดับ อยู่ที่วัตถุประสงค์การสื่อ ภาพบางประเภทต้องตัดสุนทรีย์ออกโดยเด็ดขาด  แต่บางประเภทสามารถเพิ่มสุนทรีย์ไปได้ตามสมควร
knotsnake approve [ 16 ธ.ค. 2552 09:44:16 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org