กระทู้-13479 : ::: ตั๊กแตนลอกคราบ

Home » Board » แมลง&สัตว์ขาข้ออื่นๆ

::: ตั๊กแตนลอกคราบ

เช่นเดียวกับแมลงทั่วไป ในการเจริญเติบโต พวกมันต้องมีการลอกคราบเป็นระยะ  (moulting)   ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง  (metamorphosis)  

สำหรับพวกตั๊กแตน ลูกของมันเมื่อออกจากไข่จะมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ มีแตกต่างอยู่บ้างเช่นปีกยังหดๆ อยู่ เราจึงเรียกพวกที่ยังไม่โตเต็มที่ว่า ตัวอ่อน  (nymph)  การเติบโตแบบนี้ ภาษาวิชาการเรียกว่า การเจริญเติบโตแบบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อย  (gradual metamorphosis)
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:04:12 ]
InsectsPics_reply_147387.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ภาพต่อไปนี้เป็นการลอกคราบของตั๊กแตนหนวดยาวชนิดหนึ่ง ตัวผู้ ที่บังเอิญผมได้พบเจอ  และได้นั่งเฝ้าบันทึกไว้ การลอกคราบนี้ใช้เวลาไปกว่าชั่วโมง
และที่โชคดีมาก คือนี่เป็นการลอกคราบครั้งสุดท้าย จากตัวอ่อนที่ไม่มีปีกสู่ตัวเต็มวัยที่มีปีกสมบูรณ์
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:05:55 ]
InsectsPics_reply_147388.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ปีกขนาดใหญ่ที่ถูกพับ ด้วยเทคนิคทางธรรมชาติจนเหลืออันนิดเดียวเป็นก้อนๆ ซ่อนอยู่ในปีกทู่ๆ ก่อนหน้านี้

ตอนนี้มันค่อยๆ คลี่กางออกมา

รูปแบบการพับทางธรรมชาติแบบนี้ เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมากมาย  และเคยได้ยินว่ามีการค้นคว้าเพื่อจะนำไปใช้ในทางวิศวกรรม
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:10:46 ]
InsectsPics_reply_147389.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
คลี่ออกมาแล้วๆ
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:13:10 ]
InsectsPics_reply_147390.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
จากแท่งทู่ๆ  กางได้ขนาดนี้แล้ว

การพับตามปกติแบบคนเราพับกระดาษนั้น แม้ดูเหมือนจะพับให้กระดาษแผ่นใหญ่ เล็กลงได้เรื่อยๆ   แต่มันมีข้อจำกัดที่รอบพับที่หนาขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เส้นใยกระดาษส่วนนั้นขาด  แต่นั่น ไม่ใช่ปัญหาของการพับแบบนี้

ศิลปะการพับแบบไม่มีรอยพับที่ซ้อนกันจนหนา ที่ญี่ปุ่นก็มีครับ  และยังถูกนำไปใช้กับอะไรสักอย่าง ในอวกาศด้วย  ถ้าจำไม่ผิด ใช้พับแผ่นโซลาเซล ขึ้นไปกางข้างบน
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:19:26 ]
InsectsPics_reply_147391.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
ปีกทั้งคู่ หน้าหลัง ค่อยๆ คลี่กางจากโคนปีกสู่ปลายปีก
...แก้ไขเมื่อ 05 ธ.ค. 2552 12:31:24
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:21:09 ]
InsectsPics_reply_147392.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
หนึ่งชั่วโมงพอดีๆ  จากภาพแรก ถึงภาพนี้ ปีกก็กางเสร็จแล้ว พับเก็บแล้ว ก็ปีนขึ้นไปเกาะ
คิดว่าอีกสักพักมันก็คงจะพร้อมที่จะใช้ชีวิตต่อไป

ฝากคำถามครับผม
1 ตั๊กแตนหนวดยาวชนิดนี้ เป็นชนิดไหนครับ เพื่อจะได้นำไปสืบค้นต่อ
2 การพับแบบญี่ปุ่นที่ผมกล่าวถึง ใครจำได้ช่วยเล่าด้วยนะครับ จะนำคำค้นไปสืบค้นต่อเช่นกัน
3 มันต้องลอกคราบกี่ที


ขอบคุณครับ ^^
...แก้ไขเมื่อ 05 ธ.ค. 2552 12:27:58
GreenEyes approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:27:13 ]
ความคิดเห็นที่: 7
: GreenEyes
ปีกขนาดใหญ่ที่ถูกพับ ด้วยเทคนิคทางธรรมชาติจนเหลืออันนิดเดียวเป็นก้อนๆ  ซ่อนอยู่ในปีกทู่ๆ  ก่อนหน้านี้

ตอนนี้มันค่อยๆ  คลี่กางออกมา

รูปแบบการพับทางธรรมชาติแบบนี้ เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมากมาย   และเคยได้ยินว่ามีการค้นคว้าเพื่อจะนำไปใช้ในทางวิศวกรรม


รูปสวยมากๆๆ
 แต่สงสัยว่าต๊กแตนมันพับปีกหรือว่ามันค่อยๆ สร้างปีกแล้วแน่นขึ้นๆ   มาให้เราเห็นเป็นรอยพับแบบนั้นเอง
mim approve [ 05 ธ.ค. 2552 12:56:57 ]
ความคิดเห็นที่: 8
รูปสวยมากครับ นับถือในการเฝ้าติดตาม

เทคนิคการพับ และอัดแน่น ที่เห็นทั่วไปที่คิดได้ก็เป็นเสื้อผ้าอัดนะ







ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 05 ธ.ค. 2552 13:13:40 ]
ความคิดเห็นที่: 9
 ถ้าจำไม่ผิดเห็นในหนังสือเนชั่นนอล จีโอกราฟิก ฉบับที่เป็นเจ้าต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคะ   แต่ว่าตอนนี้หนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย  เจ้าของอยู่บ้าน แฮะๆ
callus approve [ 05 ธ.ค. 2552 13:31:19 ]
ความคิดเห็นที่: 10
งามทุกขั้นตอนของชีวิต
ก๊ง approve [ 05 ธ.ค. 2552 18:47:47 ]
ความคิดเห็นที่: 11
แมลงปอก็คล้ายๆ  อย่างนี้แหละพี่ ^^
สวยมากกกกก โดยเฉพาะภาพ #4
Due_n approve [ 05 ธ.ค. 2552 21:00:37 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ความสุดยอดมันอยู่ตรงภาพ #2 นี่เอง
ปีกที่พับเหมือนก้อนสมองเลย
พี่เอิร์ทนั่งเฝ้าเป็น ชม  แต่ได้ภาพที่คุ้มค่ากับการรอคอยจริงๆ ครับ
Portrait approve [ 06 ธ.ค. 2552 01:03:47 ]
ความคิดเห็นที่: 13
เค้าเรียกแบบพับ มิอุระ ครับ คิดโดยนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ศ. โคเรียว มิอุระ ครับ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เขียนบทความลงในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291
หรือลองดูที่บลอกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/origami/148659

ใช่แบบเดียวกันหรือเปล่าครับ
jojosan approve [ 06 ธ.ค. 2552 01:21:06 ]
InsectsPics_reply_147441.gif
ความคิดเห็นที่: 14
: jojosan
เค้าเรียกแบบพับ มิอุระ ครับ คิดโดยนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ศ. โคเรียว มิอุระ ครับ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เขียนบทความลงในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291
หรือลองดูที่บลอกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/origami/148659

ใช่แบบเดียวกันหรือเปล่าครับ


แม่นเป๊ะ
callus approve [ 06 ธ.ค. 2552 01:44:30 ]
ความคิดเห็นที่: 15
โอ้ววว ยังอุตส่าห์นั่งเฝ้า
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 06 ธ.ค. 2552 15:22:16 ]
ความคิดเห็นที่: 16
: jojosan
เค้าเรียกแบบพับ มิอุระ ครับ คิดโดยนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ศ. โคเรียว มิอุระ ครับ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เขียนบทความลงในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 291
หรือลองดูที่บลอกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/origami/148659

ใช่แบบเดียวกันหรือเปล่าครับ


ขอบคุณครับ ^^ เกี่ยวไม่เกี่ยวขออ่านไว้ก่อน เผื่อเอาไปเขียนประกอบได้ อิอิ
GreenEyes approve [ 06 ธ.ค. 2552 21:17:47 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ภาพงามหลาย น้อยคนที่จะได้เห็นครับ
jos sky approve [ 06 ธ.ค. 2552 21:18:26 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ภาพคมชัดจริงจัง อาจจะสวยกว่าเห็นด้วยสายตาตัวเอง...  แต่หลายวันก่อนเห็นตั๊กแตนจับผีเสื้อหม่ำด้วยค่ะคุณ jossky ช่วยไม่ทัน
เวียงไพร [ 07 ธ.ค. 2552 00:12:22 ]
ความคิดเห็นที่: 19
สวยมากเลยครับ
JJ [ 07 ธ.ค. 2552 09:21:04 ]
ความคิดเห็นที่: 20
สวยครับ เทคนิคการพับสุดยอด ทุกคำถามมีคำตอบจริงๆ
นณณ์ approve [ 07 ธ.ค. 2552 20:39:36 ]
ความคิดเห็นที่: 21
สุดยอดครับ เป็นอะไรที่คิดไม่ถึงจริงๆ  ข้างนอกเล็ก ข้างในมหึมา ธรรมชาติสอนเราอะไรมากมายจริงๆ
noppadol approve [ 07 ธ.ค. 2552 21:14:24 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 22
มหัศจรรย์จริงๆ ครับ
ต้ล [ 08 ธ.ค. 2552 11:57:36 ]
ความคิดเห็นที่: 23
สวยจังเนอะ  ชอบจัง
nano approve [ 08 ธ.ค. 2552 21:51:01 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org