กระทู้-13505 : อยากทราบการมองเห็นสีของปลากัด

Home » Board » ปลา

อยากทราบการมองเห็นสีของปลากัด

ปลากัดสามารถมองเห็นสีได้กี่สีครับ
arthifi approve [ 10 ธ.ค. 2552 21:29:20 ]
ความคิดเห็นที่: 1
รอฟังคำตอบด้วยคนครับ  
น่าสนใจดีทีเดียว
:D
electron approve [ 11 ธ.ค. 2552 13:11:28 ]
ความคิดเห็นที่: 2
น่าสงสารจัง เห็นตั้งมาตั้งนานแล้วไม่มีใครตอบเสียที ตอบแค่ที่พอรู้เลาๆ นะครับ จำรายละเิอียดไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันอยู่ในหนังสือที่กรุงเทพ

เรื่องการมองเห็นสีของปลากระดูกแข็งก่อนนะครับ  นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้สีของสัตว์เชื่อว่าปลากระดูกแข็งสามารถรับรู้สีได้ เพราะว่า มีการทดลองเกี่ยวกับการตอนสนองของสีปลาทอง ปลา sunfish พบว่าพวกนี้มีการตอบสนองต่อสีต่างๆ ในระดับที่ต่างกัน มีการศึกษาในปลา stickleback พบว่ามันจะชอบสีแดง หรือน้ำเงินมากกว่าสีเขียว อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาจากโครงสร้างภายใน retina ของปลาพบว่ามีเซลล์ที่ทำหน้าที่รับสีคือ cone cell อยู่เป็นจำนวนมากเหมือนกับที่พบในมนุษย์ (ที่มี cone cell ที่ทำหน้าที่รับแสงสีแดง สีเขียว  และสีน้ำเงิน)  แต่ในปลาทอง และปิรันยา cone cell ที่มีลักษณะพิเศษกว่าของคนคือ นอกจากมีเซลล์ที่รับสีแดง เขียว  และน้ำเงินแล้ว ยังมีเซลล์ที่รับสีของ ultraviolet ดังนั้นปลาพวกนี้จึงสามารถแยกแยะสีได้ภายใต้แสงอัลต้าไวโอเลต

ที่นี้เรื่องการมองเห็นสีของปลากัด จำได้ว่ามันอยู่ในหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ที่มีอยู่ในสำนักหอสมุดของเกษตร มีการศึกษาโดยใช้ model ทำเ็ป็นสีต่างๆ  แล้วดูการตอบสนองของปลากัด พบว่ามันตอบสนองต่างกัน ( แต่ที่จริงเขาบอกได้ว่ามันตอบสนองต่้อสีอะไร ไม่ตอบสนองต่อสีอะไร) ซึ่ง เรื่องนี้ได้พบกับตัวเอง ตอนที่ไปเป็นกรรมการตัดสินประกวดปลากัดแล้วมีการแยกสีปลากัด พบว่าปลากัดที่มีสีอ่อนๆ  มันจะไม่ค่อยพองเมื่อเอาไปเทียบกับสีอ่อนด้วยกัน  แต่ ถ้าเอาไปเทียบกับปลากัดสีเข้มกว่ามันจะพองขึ้นมาทันที อย่างไรก็ตามจำรายละเิีอียดไม่ได้ว่าสีไหน ต้องเจอกับสีไหนถึงพอง เพราะมันหลายปีมาแล้ว

พูดถึงเรื่องการพองครีบเพื่อพร้อมที่จะกัด ในปลากัดนั้นมีเอกสารที่ทำการทดลองในอเมริกาบอกว่า นอกจากสีแล้ว ลักษณะของเกล็ดที่เป็นแบบลายตาข่าย จะเป็นตัวเร่งให้ปลามันพร้องที่จะสู้ได้อีก อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเรื่องหนึ่ง  และยังมีคนที่ทำวิจัย และรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก
สมหมาย approve [ 13 ธ.ค. 2552 05:49:44 ]
ความคิดเห็นที่: 3
^
^
^
^  ซูโค้ยๆ ..........สุดยอดมาเลยครับอาจารย์
(ผมเข้ามาเก็บความรู้ หุๆ ) ขอบคุณมากๆ  ครับ
aqueous_andaman approve [ 13 ธ.ค. 2552 15:14:48 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ขอบคุณมากครับ เกือบกินแห้วแล้วเรา
arthifi approve [ 13 ธ.ค. 2552 16:54:09 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ปลากัดก็เลี้ยงอยู่บ้าง  แต่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย เหอๆ
electron approve [ 13 ธ.ค. 2552 21:37:36 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ผมลืมไปเกือบหมดแล้ว เลยไม่รู้จะเอาอะไรมาตอบขอรับ เหอๆๆๆ
knotsnake approve [ 13 ธ.ค. 2552 21:51:44 ]
ความคิดเห็นที่: 7
มีข้อสังเกต( แต่ตัวอย่างที่พบอาจจะไม่มากพอสรุป) ว่าตัวผู้มีแนวโน้มจะก้าวร้าวกับตัวเมียที่มีสีสวย มากกว่าตัวเมียที่มีสีจืดๆ แบบดั้งเดิม
snakeeater approve [ 14 ธ.ค. 2552 15:51:58 ]
FishesPics_reply_148180.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
เอาภาพประกอบมาช่วยคร้าบ  

ที่มา: Wallin, M. 2002. Nature's palett - How humans and other animals produce colours. Bioscience explained 1(2): 1-12.
Due_n approve [ 14 ธ.ค. 2552 18:05:49 ]
ความคิดเห็นที่: 9
จากกราฟ ถ้ามีเส้นกราฟมากแสดงว่าเห็นสีได้มากถูกหรือป่าวครับ
arthifi approve [ 14 ธ.ค. 2552 20:15:51 ]
ความคิดเห็นที่: 10
โดยส่วนตัว ผมค่อนข้างเชื่อว่า สัตว์ส่วนมากน่าจะเห็นสีสันที่พวกเดียวกันมีอยู่
เช่นสัตว์พวกนก มีสีสันหลากหลายมาก ดังนั้นนกเองก็น่าจะมองเห็นสีสันได้ละเอียดไม่แพ้มนุษย์(หรืออาจละเอียดกว่า)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมาก แทบไม่ปรากฏสีโทนเขียวหรือฟ้าบนขนเลย จึงเป็นไปได้ว่ามันอาจจะไม่ค่อย Sensฯ  ต่อสีโทนนี้ เลยไม่ใช้สีโทนนี้เพื่อแสดงตัวกับพวกเดียวกัน

อีกอย่างที่สังเกตคือ ไม่ค่อยมี Nocturnal animal  ที่มีสีฉูดฉาดบนลำตัว(อาจจะมีข้อยกเว้นเช่นพวกเสือหรือจิ้งจอกบางชนิดที่มีสีส้ม หรืองูเขียวหางไหม้ที่มีสีเขียวสด)
snakeeater approve [ 14 ธ.ค. 2552 21:27:15 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org