จาดคห.ที่2 ครับ พบได้ทั่วไปครับตามใต้เปลือกไม้แหล่งอาศัยก็คล้ายกับกลุ่มแมงป่องบ้านครับใต้ขอนไม้ที่กองๆ ทิ้งไว้ ใต้เปลือกไม้ เป็นต้น
หลังกลับจากนาวั้นนั้น ลุงก็เอาขวดใส่แมงป่องมาให้ เพราะรู้ว่าผมกำลังหาตัวอย่างแมงป่องให้นายแมงป่องแมนอยู่ ได้แมงป่องช้างขนาดใหญ่มา 2 ตัว และขนาดเล็กประมาณเหรียญ 5 อีก โหลนึงพอดี เจ้าตัวนี้เป็นตัวเล็กๆ ที่ได้มา ลักษณะเป็นแมงป่องช้าง แต่ท้องมันใหญ่ๆ และก้ามมันเล็กมากเลยถ่ายรูปส่งเมลไปถามแมงป่องแมน ได้ความว่าเป็น Heterometrus Spinifer วัยอ่อนที่สะสมอาหารเตรียมลอกคราบครั้งแรก หลังจากเลี้ยงมาได้ประมาณ 2 สัปดาห์เจ้าตัวเล็กเหล่านี้ก็เริ่มทยอยลอกคราบ เสียดายถ่ายรูปตอนกำลังลอกคราบไม่ได้
พี่ท่านเป็นการลอกคราบถูกแล้วครับ แต่ไม่ใช่ครั้งแรกครับอยู่ในระยะ 5 ของการลอกคราบทั้งหมด 7 ครั้ง ของแมงป่องครับก่อนวัยเจริญพันธุ์ครับ
: noppadolผมว่า ถ้าเดี่ยวๆ มีลุ้น อิอิ
ปกติตะขาบแพ้ทางแมงป่องครับ ถ้าเทียบรุ่นแล้วทั้งคู่อยู่รุ่นเดียวกัน หรือยังสามารถข้ามรุ่นได้อีกหลายรุ่นครับ ถ้าไม่โชคร้ายไปจ๊ะตะขาบตอนตัวมันเพิ่งลอกคราบ
ตามที่พี่น็อทถูกแล้วครับตะขาบจะแพ้ทางแมงป่องครับหลายท่านเห็นว่าตะขาบนั้นสามารถเดินได้ไว แต่ในยามที่เค้าเดินปกติก็ไม่ไวเท่าไรน่ะครับแล้วแมงป่องช้างนั้นอาศัยอยู่ในรูหรือโพรงครับเวลากลางคืนก็จะออกมาอยู่หน้ารูหรือโพรงเพื่อรอให้เหยื่อเดินผ่านแล้วโจมตีอย่างรวดเร็วแล้วดึงเข้าไปในรูหรือโพรง แต่ ถ้าอาศัยอยู่ใต้ขอนไม้ก็เช่นเดียวกันครับ เหยื่อชนิดไหนที่มีลำตัวแข็งก็จะกินส่วนท้องแล้วก็ทิ้งซากของเหยื่อส่วนที่กินไม่ได้ครับไม่ได้กินทั้งตัว แต่ตัวในกินได้ก็กินหมดเลยครับ