กระทู้-13638 : ปูน้ำจืดบางชนิดในภาคใต้ของไทย

Home » Board » กุ้ง & ปู

ปูน้ำจืดบางชนิดในภาคใต้ของไทย

กระทู้นี้ตั้งใจจะโพสต์เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ แต่กว่าจะทำภาพเสร็จก็ใช้เวลาไปเยอะเลย เพราะมีเวลาทำภาพวันละนิดหน่อย แถมตอนหลังเว็บมาเจ๊งไปอีก

ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่ถ่ายเองทั้งหมด แต่ตัวปูที่ถ่ายนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากพี่น็อตมา 2 ชนิด  (จริงๆ  แล้วพี่น็อตให้มาหลายตัว แต่ที่จำแนกถูกต้อง และเผยแพร่ได้มี 2 ชนิดที่ว่านี้ครับ)

เดิมปูน้ำจืดหลักๆ  ของบ้านเราจะมีอยู่ 3 วงศ์คือ Gecarcinucidae, Parathelphusidae  และ Potamidae

แต่ในปัจจุบันจากการศึกษาทั้งจากทางด้านลักษณะภายนอก, บรรพชีวินวิทยา  และ ทางพันธุศาสตร์
ได้แสดงว่าใน 2 วงศ์แรกนั้นมีความแตกต่างกันไม่เพียงพอที่จะแยกเป็นต่างวงศ์กัน จึงได้รวมเหลือวงศ์เดียวคือ Gecarcinucidae  (เนื่องจากเป็นวงศ์ที่ถูกตั้งขึ้นก่อน)

นอกจาก 2 วงศ์นี้ ก็จะมีปูแสมบางชนิดที่พบในพื้นที่น้ำจืด ที่ไม่ต้องวางไข่ในทะเลเป็นปูน้ำจืดแท้จริงก็คือปูแสมภูเขา  ซึ่งอยู่ในสกุล Geosesarma ส่วนที่พบในพื้นที่น้ำจืดแต่ตัวอ่อนยังต้องโดนปล่อยลงทะเล ลงแม่น้ำ ได้แก่ปูแสมในสกุล Pseudosesarma พวกนี้อยู่ในวงศ์ Sesarmidae
อีกวงศ์นึงที่พบเป็นปูน้ำจืดในบ้านเราคือ ปูแมงมุมน้ำจืด ที่อยู่ในวงศ์ Hymenosomatidae

 ซึ่งกระทู้นี้จะนำเสนอเฉพาะวงศ์ Gecarcinucidae  และ Potamidae
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 23:05:03
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 20:58:58 ]
Crustaceans__reply_150129.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
เริ่มกันที่วงศ์ Gecarcinucidae ตัวแรก (เรียงตามใจเจ้าของกระทู้ ไม่ได้มีหลักการอะไรหรอก)
ปูนาชนิด Sayamia sexpunctata (Lanchester, 1906)
ขุดรูอยู่ตามท้องทุ่งนา
ลักษณะสำคัญที่สังเกตุได้ง่ายว่าเป็นชนิดนี้คือ ก้ามมีสีอ่อนต่างกับสีลำตัวชัดเจน
พบตั้ง แต่ภาคกลางลงไปภาคใต้ จนถึงมาเลเซีย

ภาพตัวอย่างปูจากอ.เชียรใหญ่ นครศรีฯ
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 21:03:18
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:00:10 ]
Crustaceans__reply_150130.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
สำหรับสกุล Sayamia ตั้งขึ้นโดย Naiyanetr, 1994 มีที่มาจากคำว่า สยาม
โดยเป็นคำถอดจากเสียง เพื่อแทนคำว่า Siam ที่ออกเสียงว่าไซแอม
เดิมปูนาบ้านเราถูกจัดไว้ในสกุล Somaniathelphusa ซึ่ง ตั้งขึ้นโดยมีปูนาชนิด Parathelphusa sinensis H. Milne Eswards,1853 เป็นต้นแบบ
ปัจจุบันสกุล Somaniathelphusa ใช้กับปูที่พบในเขตของประเทศจีน ไต้หวัน  และใกล้เคียง
ที่มาของชื่อสกุล Dr.Richard Bott ชาวเยอรมันตั้งขึ้นให้กับผู้หญิงที่ชื่อ Soman (ไม่ทราบที่มาโดยละเอียดเพราะในเอกสารบรรยายลักษณะไม่ได้ระบุไว้ อันนี้ฟังมาจากดร.ชาวเยอรมันอีกที) เมื่อปี 1968
ส่วนคำ sexpuntata หมายถึง 6 จุด ซึ่ง อ้างถึงจุดสีอ่อนบนกระดอง (ชนิดถัดไปก็มีเหมือนกัน)
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 21:02:15
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:01:18 ]
Crustaceans__reply_150132.jpg
ความคิดเห็นที่: 3



ปูนาชนิด Sayamia germaini(Rathbun, 1902) ตัวนี้ผมเจอในลำคลอง
เลยอาจจะเป็นไปได้ว่าที่สามารถพบปูนาทั้ง 2 ชนิดได้ในพื้นที่เดียวกันตามธรรมชาติ เป็นเพราะมันมีแหล่งอาศัยที่ต่างกัน ชนิดหนึ่งอาศัยขุดรูอยู่บนท้องทุ่ง ที่นา  แต่อีกชนิดอาศัยอยู่ในคู คลอง (อาจจะขุดรูอยู่ใต้น้ำติดตลิ่ง)  แต่ชีวิตผมพอโตมาก็ไม่ค่อยได้เจอกับปูนาแล้ว เลยมีข้อมูลเหล่านี้มายืนยันน้อยหน่อย

ลักษณะสีก้ามของตัวนี้จะต่างกับตัวแรกที่ก้ามจะมีสีม่วงแดงเข้ม ซึ่ง จะไปคล้ายกับปูนาชนิด S. bankokensis ซึ่ง มีขนาดเต็มวัยที่โตกว่า  และพบได้ทางภาคใต้ด้วยเช่นกัน ( แต่ว่ากันว่าเป็นการแพร่กระจายภายหลังโดยมนุษย์)
อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากผมได้ตัวอย่างจริงมาเปรียบเทียบกันให้แน่ชัด คงจะบอกจุดสังเกตชนิดให้ได้

พบตั้ง แต่ภาคกลาง ภาคตะวันตก ตะวันออก  และภาคใต้

ภาพตัวอย่างจากที่เดียวกันกับชนิดแรก
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 22:49:58
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:14:08 ]
Crustaceans__reply_150133.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
ปูลำห้วยชนิด Saiamthelphusa improvisa (Lanchester, 1901)
อาศัยอยู่ตามน้ำตก ลำธาร และลำคลองทั้งในบริเวณที่ท้องน้ำเป็นทรายละเอียด ทรายหยาบ  และที่มีหินขนาดใหญ่ พบมากในบริเวณน้ำสะอาด ส่วนที่น้ำสกปรกก็พบบ้าง
พวกปูลำห้วยจะไม่ขุดรู  แต่มักจะอาศัยหลบซ่อนตามใต้ก้อนหินขนาดใหญ่
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 22:29:01
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:16:37 ]
Crustaceans__reply_150134.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
พบตั้ง แต่ตอนล่างของจ.ประจวบคีรีขันธ์  ยาวลงไปเกือบทุกจังหวัดภาคใต้ ยกเว้นจ.ฝั่งอันดามัน ได้แก่จ.ระนอง พังงา  และสตูล พบไปจนถึงบางส่วนของมาเลเซีย

ตัวที่ได้มาถ่ายภาพนี้ พี่น็อตเก็บมาฝากจากเกาะสมุยครับ

มีการศึกษาชีววิทยาบางประการแล้วโดย ยุพิน (2545)
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:17:14 ]
Crustaceans__reply_150135.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
ปูลำห้วยชนิด Salangathelphusa brevicarinata (Hilgendorf, 1882)
มีลักษณะเด่นที่บนกระดองจะดูโค้งนูน ตรงหลังเบ้าตาไม่เป็นสันอย่างปูลำห้วยชนิดอื่น ก้ามข้างเล็กจะเล็กกว่าข้างโตไม่มากนัก
ว่ากันว่าเป็นปูลำห้วยที่พบในพื้นที่สูงสักหน่อย ตอนที่พบที่ลำธารที่ตัดผ่านถนนที่กระบี่ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นพื้นที่สูงกับเขาด้วยหรือเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ตรวจวัด เท่าที่เคยพบอาศัยอยู่ในลำธารทั้งที่เป็นแบบพื้นทรายหยาบ  และแบบที่มีก้อนหินขนาดใหญ่
ปูในสกุลนี้ มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน อีกชนิดหนึ่งคือ S. anophrys (Kemp, 1923)
การแพร่กระจายคิดว่าจังหวัดทางฝั่งอันดามันจะเป็น S. brevicarinata ทั้งหมด ซึ่ง อาจจะรวมจ.สุราษฯ  ด้วย
ส่วน S. anophrys ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน พบที่จ.นครศรีฯ   และพัทลุง
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:18:28 ]
Crustaceans__reply_150136.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
ที่มาของชื่อ Salangathelphusa มาจากคำ Salang ที่หมายถึงสลาง (ถลาง) ที่เป็นชื่อบ้านนามเมืองเดิมของเกาะภูเก็ต ที่เป็นที่รู้จักของชาวตะวันตก
ผมเอาปูชนิดนี้มาลองเลี้ยงดู ปรากฏว่านิสัยของตัวผู้ค่อนข้างดุ หนีบทั้งปูชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะผู้หรือเมีย ไม่เว้นแม้ แต่ปูต่างชนิดกัน ขาหักเกลี้ยง หากคิดจะเลี้ยงคงต้องมีพื้นที่ หรือเลี้ยงทีละตัวเท่านั้น (พวกปูลำห้วย เป็นปูที่อยู่ในน้ำตลอดเวลาได้ ไม่ต้องทำพื้นที่บกให้)

ทั้ง 2 ภาพปูจากพื้นที่จ.พังงาครับ
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 21:20:35
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:20:01 ]
Crustaceans__reply_150138.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
ชนิดต่อมา เป็นปูลำห้วยชนิด Heterothelphusa fatum Ng, 1997 ตัวนี้ได้มาจากร้านในจตุจักรนั่นเอง ไม่มีปัญญาไปหาจับมาเอง

แพร่กระจายอยู่ในลุ่มแม่น้ำบางนรา  และลุ่มแม่น้ำโกลก ในจ.นราธิวาส ซึ่ง ในพื้นที่ใกล้เคียงกันนี้ก็สามารถพบปูลำห้วยสกุลเดียวกันอีกชนิดหนึ่งคือ H. insolita Ng & Lim, 1986 โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน ตรงที่ H. fatum ก้ามหนีบของก้ามจะยาวมากกว่าส่วนมืออย่างเห็นได้ชัด ส่วนกระดองจะดูไม่แบนๆ  จะมีส่วนที่ดูโค้งนูนอยู่ ส่วนกระดองบริเวณต่างๆ  จะโค้ง

ปูสกุลนี้ในบ้านเรายังพบอีก 2 ชนิด ชนิดหนึ่งทางภาคอีสานคือ H.beauvoisi (Rathbun, 1902) อีกชนิดคือ H. harmandi(Rathbun, 1902) ไม่ทราบเหมือนกันว่าเจอแถวใหน  แต่น่าจะเป็นบ้านเรา
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 22:41:47
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:24:12 ]
Crustaceans__reply_150139.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
คราวนี้ผ่านพ้นจากปูนา และปูลำห้วย ที่เดิมอยู่ในวงศ์ Parathelphusid ไปแล้ว ก็ต่อด้วยกลุ่มปูน้ำตกขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ Gecarcinucidae มา แต่ดั้งเดิมครับ

ตัวแรกคงเป็นที่รู้จักกันมาบ้างแล้วในหมู่ชาวสยามเอ็นซิส คือ ปูมดแดง Phricotelphusa limula (Hilgendorf, 1882)
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:25:43 ]
Crustaceans__reply_150140.jpg
ความคิดเห็นที่: 10
เป็นชนิดที่ผมไม่มีเอกสารสำหรับตรวจสอบชนิดได้อย่างจริงจัง จะมีก็ แต่ภาพสีจากในเอกสารเช็คลิสต์ของศ.ไพบูลย์ เมื่อปี 1998 กับพื้นที่การกระจาย ที่นำมาใช้ตรวจสอบ ซึ่ง มีพื้นที่หลักที่พบอยู่ที่ภูเก็ต  และเลยไปยังบางส่วนของพังงา พบได้ในบริเวณน้ำตกที่มีก้อนหินขนาดใหญ่ ภาพทั้งหมดเป็นปูของภูเก็ตครับ

สีสันมีตั้ง แต่แดง แดงอมชมพู แดงอมส้ม จนถึงสีน้ำตาลเข้ม อาจจะแปรผันไปตามระยะเวลาที่ผ่านการลอกคราบก็เป็นได้




ตัวสีน้ำตาลที่เคยโพสต์ไป อาศัยอยู่ปะปนกับสีแดง
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 22:26:56
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:28:34 ]
Crustaceans__reply_150141.jpg
ความคิดเห็นที่: 11
Phricotelphusa ranongi Naiyanetr, 1982 ตัวนี้เป็นอีกตัวหนึ่งที่ได้รับอนุเคราะห์ตัวอย่างมาจากพี่น็อตครับ ได้มาจากระนอง
ลักษณะของกระดองจะเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ขอบกระดองด้านข้างค่อนข้างขนานกัน ไม่สอบเข้าทางด้านท้ายกระดองอย่างในปูมดแดง  และตัวถัดไป สีส้มบวกกับขาสีดำก็เป็นเอกลักษณ์ที่สวยงามของปูชนิดนี้ ผมยังไม่เคยเจอในธรรมชาติเลย ด้วยว่ายังไม่เคยย่างกรายไปถึงระนองถิ่นแรกที่เจอปูชนิดนี้ โดยมีน้ำตกปุญญบาล เป็นพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างต้นแบบได้
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:32:21 ]
Crustaceans__reply_150142.jpg
ความคิดเห็นที่: 12
อย่างไรก็ตาม อ. พิมลพรรณ  และอ.วชิระ ม.อ.หาดใหญ่ ได้สำรวจเก็บตัวอย่างพบเพิ่มเติมได้จากจ.ชุมพร  และตอนล่างของจ.ประจวบฯ  แล้ว (หลุดจากสถานภาพสัตว์ถิ่นเดียวของจ.ระนองไป เช่นเดียวกับปูเจ้าฟ้า P. sirindhorn Naiyanetr, 1989 ซึ่ง ผมไม่เคยเจอตัว เลยไม่ได้นำมาโพสต์ในกระทู้นี้)
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:40:40 ]
Crustaceans__reply_150143.jpg
ความคิดเห็นที่: 13
Phricotelphusa sp. จากพังงา ยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า เจ้าปูที่พบในหลากหลายน้ำตกของจ.พังงา เป็นชนิดใดกันแน่
ผมเองยังขาดเอกสารสำคัญอันหนึ่งที่จะเปรียบเทียบให้ชัดกันไป คือเอกสารที่บรรยายลักษณะของปูถ้ำพุงช้าง (P. deharvengi Ng, 1988) ซึ่ง ตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับการสำรวจถ้ำเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยผู้ค้นพบ และนำตัวอย่างปูไปให้โปรเฟสเซอร์ปีเตอร์ อึง คือนักสำรวจถ้ำชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Louis Deharveng
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 21:52:49
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:51:32 ]
Crustaceans__reply_150144.jpg
ความคิดเห็นที่: 14
อย่างไรก็ตามศ.ไพบูลย์ นัยเนตร เคยชี้เป้าให้ไปหาปูถ้ำที่บริเวณลำธารหน้าปากถ้ำ จึงมีความเป็นไปได้ว่าปูดังกล่าวไม่ใช่ปูถ้ำที่แท้จริง กอปรกับสายน้ำที่ไหลผ่านถ้ำให้นักท่องเที่ยวได้ใช้บริการนั่งเรือเที่ยวชมความงามภายในถ้ำนั้น ก็เป็นลำธารผิวดินธรรมดา ทั้งก่อน และหลังผ่านถ้ำ ยังไม่เคยได้ยินว่ามีการพบปลาถ้ำ และสัตว์น้ำอื่นๆ  ที่มีความพิเศษออกไป แถมในอดีตในช่วงหลังยุคน้ำแข็งที่น้ำทะเลขึ้นสูงจากน้ำแข็งละลาย
 บริเวณนี้น่าจะเคยถูกน้ำท่วมจนเขาช้างกลายเป็นเกาะหินปูน แบบเดียวกับเกาะหินปูนปัจจุบันในอ่าวพังงา (พื้นดินด้านล่างแถวปากถ้ำไม่ได้สูงกว่าระดับน่ำทะเลมากนัก) จนระดับน้ำทะเลเพิ่งห่างหายไปจากเชิงเขาหินปูนแค่ระดับหน่วยพันปี ปู P. deharvengiจึงได้แพร่กระจายลงมาตามลำน้ำจืดสู่บริเวณนี้
ไว้จะลองขอเอกสารจากผู้ที่บรรยายลักษณะปูตัวนี้โดยตรงดู (เท่าที่ฝากให้ท่านๆ  ที่มีโอกาได้เข้าห้องสมุดที่ต่างประเทศหาดู ยังไม่เจอเอกสารนี้สักที)

พบได้ในบริเวณน้ำตก ลำธาร ซึ่ง มีก้อนหินขนาดใหญ่ให้หลบซ่อน กระจายอยู่ในพื้นที่จ.พังงา
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:52:22 ]
Crustaceans__reply_150145.jpg
ความคิดเห็นที่: 15
ตัวนี้สีสันดูตล้ายกับปู P. ranongi  แต่รูปทรงกระดองยังเหมือนกับตัวของพังงา  และเป็นตัวที่เจอในพื้นที่จ.พังงาเช่นกัน คิดว่ายังคงเป็นชนิด Phricotelphusa sp. ชนิดเดียวกับตัวบน

ตัวอย่างปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ เลยยังไม่ได้ตรวจสอบครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:55:45 ]
Crustaceans__reply_150146.jpg
ความคิดเห็นที่: 16
ตัวนี้ก็อยู่ในโซนเดียวกับ #13 14 เพิ่งไปถ่ายมาเมื่อวันเสาร์นี่เองครับ

ก้ามออกเป็นสีบานเย็น ข้างๆ  กันนั้นเป็นคราบของมันครับ ก่อนจะเจอเจ้าตัวนี้เจอก้ามหักสีบานเย็นจมอยู่ในน้ำข้างนึง นึกอยู่ว่าสวยดี แล้วก็ได้เจอตัวที่มีก้ามสีเดียวกันตัวนี้จนได้
...แก้ไขเมื่อ 17 ม.ค. 2553 21:59:09
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 21:57:29 ]
Crustaceans__reply_150147.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
เข้าสู่วงศ์ Potamidae แล้วครับ

ปูน้ำตก Demanietta renongensis (Rathbun, 1905) พบครั้งแรกที่จ.ระนอง ซึ่ง มีชื่อบ้านนามเมืองเดิมว่า เมืองแร่นอง (ฝรั่งเขาก็เลยจดจำเรียกกันในชื่อนี้ เมื่อสมัยนั้น) เป็นปูที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง พบขุดรูอยู่ใต้ก้อนหินก้อนใหญ่ริมน้ำตก และลำธาร หรือหลบอยู่ตามใต้ก้อนหิน และท่อนไม้ในลำธาร ตลิ่งดินก็พบมีขุดรูอาศัยอยู่ กลุ่มปูน้ำตกทั้งหลายในวงศ์นี้ในที่เลี้ยงจะต้องการพื้นที่บกให้กับปูด้วยครับ

การพร่กระจาย พบตั้ง แต่ตอนล่างของจ.ประจวบฯ  ชุมพร ระนอง สุราษฯ  พังงา ภูเก็ต กระบี่ โดยที่จ.นครศรีฯ  พื้นที่ใกล้เคียงกันจะพบเป็นชนิด D. nakhonsi ซึ่ง ลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในเอกสารบอกว่า D. nakhonsiYeo, Naiyanetr & Ng, 1999 มีตุ่มขรุขระน้อยกว่า  และดูรูปทรงเป็นจุตรัสมากกว่า
 และอีกชนิด พิมลพรรณ  และวชิระ (2547) รายงานพบ Demanietta cf. huahin Yeo, Naiyanetr & Ng, 1999 ทางตอนล่างของจ.ประจวบฯ ด้วย
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:01:13 ]
Crustaceans__reply_150148.jpg
ความคิดเห็นที่: 18
ภาพปูทั้งสองจากพังงาครับ ภาพนี้เพิ่งถ่ายเมื่อวันเสาร์ครับ เป็นเพศเมีย ก้ามตัวนี้มีความพิเศษนิดหน่อย  แต่ก็ไม่ได้เก็บตัวอย่างมาหรอก เจอที่เดียวกับ #16 เลย
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:10:47 ]
Crustaceans__reply_150149.jpg
ความคิดเห็นที่: 19
ปูภูเขา Terrapotamon sp.
เป็นการระบุชื่อวิทย์ตามรายงานของ พิมลพรรณ  และวชิระ (2547) ซึ่ง พบปูชนิดนี้ในพื้นที่ของกรุงชิง จ.นครศรีฯ  เช่นเดียวกับตัวในภาพ เป็นปูที่ตัวเต็มวัยจะขุดรูที่ลึก และอยู่สูง และไกลจากแหล่งน้ำออกไปภายในป่าที่ชุ่มชื้น อันเป็นที่มาของชื่อสกุลของมันที่หมายถึงปูน้ำตกที่พบบนบก (terrestrial) ในรายงานระบุไว้ว่าปูชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับ Terrapotamon abbotti (Rathbun, 1898)  แต่มีลักษณะกระดอง และอวัยวะเพศผู้ที่แตกต่างกันชัดเจน ซึ่ง จากภาพอวัยวะเพศผู้ที่ผมเคยวาดไว้ นำไปเปรียบเทียบกับภาพในเอกสาร ก็เห็นว่าต่างกันจริงๆ   แต่ปัจจุบันตัวอย่างตัวเดียวที่มีนั้น (ในภาพแรก) ถูกส่งไปให้ศ.ไพบูลย์เก็บรักษาไปหลายปีแล้ว
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:12:40 ]
Crustaceans__reply_150150.jpg
ความคิดเห็นที่: 20
ตามเช็คลิสต์ใน Naiyaneter (2007) ระบุการกระจายของ Terrapotamon abbotti (Rathbun, 1898) ว่าพบที่จ.กระบี่-นครศรีฯ   แต่ในเอกสารที่ทบทวนปู T. abboti ระบุว่าพบที่ตรัง และสุราษฯ  อาจจะเป็นการความผิดพลาดในการระบุพื้นที่ แล้วมาแก้ไขในภายหลัง ซึ่ง อย่างน้อยก็คงเป็นรอยต่อของจังหวัดดังกล่าว จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่จ.สุราษฯ  ที่เปลี่ยนมาระบุเป็นนครศรีฯ ในภายหลังจะเป็นโซนของกรุงชิงหรือใก้ลเคียงนี่เอง ซึ่ง จำเป็นจะต้องมีการทบทวนปู Terrapotamon ในพื้นที่นี้ใหม่ให้ชัดเจน
อีกชนิดหนึ่งภายในสกุลนี้ พบที่จงตรัง มีชื่อว่า Terrapotamon palian Ng & Naiyanetr, 1997 ซึ่ง ชื่อบอกที่มาได้เป็นอย่างดี เป็นชนิดที่มีขนาดเล็กสุดในสกุล
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:13:43 ]
ความคิดเห็นที่: 21
เอกสารอ้างอิงที่ใช้

พิมลพรรณ ลีละวัฒนากูล  และ วชิระเหล็กนิ่ม. 2544. พรรณปูน้ำจืดในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทย. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 27 หน้า

ยุพิน พิมโคตร์. 2545. ชนิด และการแพร่กระจายของปูน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และชีววิทยาบางประการของปู Siamthelphusa improvisa (Lanchester, 1901). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 104 หน้า.

De Grave, S., N. D. Pentcheff , S. T. Ahyong, T.-Y. Chan, K. A. Crandall, P. C. Dworschak, D. L. Felder, R. M. Feldmann, C. H. J. M. Fransen, L. Y. D. Goulding, R. Lemaitre, M. E. Y. Low, J. W. Martin, P. K. L. Ng, C. E. Schweitzer, S. H. Tan, D. Tshudy, and R. Wetzer. 2009. A classification of living and fossil genera of decapod crustaceans. The Raffles Bulletin of Zoology, supplement 21, pp. 1-109.

Klaus, S., D. Brandis, P. K. L. Ng, D. C. J. Yeo & C. D. Schubart. 2009. Phylogeny and biogeography of Asian freshwater crabs of the family Gecarcinucidae (Brachyura: Potamoidea). In: Martin, J. W., K. A. Crandall & D. L. Felder, Decapod Crustacean Phylogenetics. Koenemann, S., Crustacean Issues. Vol. 18. Boca Raton, London, New York, CRC Press, Taylor & Francis Group. Pp. 509–531.

Naiyanetr, P. 1998. Checklist of Crustacean Fauna in Thailand. Office of Environment Policy and Planing, Bangkok, Thailnd. 161 p.

Naiyanetr, P. 2007. Checklist of crustacean fauna in Thailand (Decapoda, Stomatopoda, Anostraca, Myodocopa and Isopoda). 2nd ed. Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. ONEP Biodiversity Series, vol. 19. 196 pp.

Ng, P.K.L., 1986. Terrapotamon gen. nov., a new genus of freshwater crabs from Malaysia and Thailand, with description of a new species, Terrapotamon aipooae sp. nov., (Crustacea : Decapoda : Brachyura : Potamidae). Jour. Nat. Hist., 20 : 445-451.

Ng, P.K.L. 1988. The Freshwater Crabs of Peninsular Malaysia and Singapore. Department of Zoology, National University of Singapore 156pp.

Ng, P.K.L. 1997. On two new species of freshwater crabs of the genera Sayamia and Heterothelphusa (Brachyura, Parathelphusidae) from southern Thailand. Crustaceana 70: 710719.

Ng, P.K.L. and Naiyanetr, P. 1993. New and recently described freshwater crabs (Crustacea : Decapoda : Brachyura : Potamidae, Gecarcinucidae and Parathelphusidae) from Thaialnd. Zool. Verh., Leiden., 284 : 1-117, figs. 1-68.

Ng, P.K.L. and Naiyanetr, P. 1998. Terrapomon palian sp. nov., a second number of terrestrial carb genus Terrapotamon (Decapoda, Brachyura, Potamidae) from Southern Thailand. Crustaceana 71(5) : 487-492.

Yeo, D.C.J. and Naiyanetr, P. and P.K.L. Ng, 1999. Revision of the waterfall crabs of the genus Demanietta (Decapoda : Brachyula : Potamidae). Jour. Crust. Biol., 19(3) : 530-555.
...แก้ไขเมื่อ 18 ม.ค. 2553 10:56:24
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:16:36 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ปูน้ำจืดที่พบในภาคใต้ของไทย นอกจากที่ผมโพสต์มานี้ ยังมีอีกหลายชนิดเลยครับ  แต่เท่าที่มีโอกาสได้พบเจอตัว  และพอจะจำแนกได้แล้วก็ได้นำมาโพสต์ให้ชมไปหมดแล้ว แต่เพียงเท่านี้ครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:17:11 ]
Crustaceans__reply_150153.jpg
ความคิดเห็นที่: 23
แถมตัวที่คิดว่าเป็น Terrapotamon abbotti จากกระบี่ถ่ายโดย ampelisciphotis (ขออนุญาตเจ้าตัวแล้ว) โดยสีสันก็ตรงกับที่บรรยายไว้ในเอกสาร


จบ แต่เพียงเท่านี้ครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 17 ม.ค. 2553 22:22:57 ]
ความคิดเห็นที่: 24
มาเก็บความรู้ไปเต็มๆๆๆ    ขอบคุณครับ สวยมากๆๆๆ
heterometrus_sp approve [ 17 ม.ค. 2553 22:33:28 ]
ความคิดเห็นที่: 25
มหากาพย์ปูใต้จริงๆ  ขอรับ   ได้ลงใต้เมื่อไหร่คงได้ถ่ายมาเทียบรูปหน่อยแล้ววว สวยๆ  ทั้งนั้น
Due_n approve [ 17 ม.ค. 2553 22:55:27 ]
ความคิดเห็นที่: 26
สุดยอดเลยเพื่อน หรอยๆ  save โลด
ampelisciphotis approve [ 17 ม.ค. 2553 23:01:18 ]
ความคิดเห็นที่: 27
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาสาระดีๆ ครับ

แล้วไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลปูน้ำจืดทางภาคอีสานไหมครับ  
เมื่อหลายปีที่แล้ว(10กว่าปีที่แล้ว) ได้จับปูน้ำจืดที่พบในลำน้ำมูล จ. บุรีรัมย์ ชนิดหนึ่งมาเลี้ยง
ขนาดกระดองประมาณเหรียญ5บ. สีดำทั้งตัว ขายาวเก้งก้าง เหมือนแมงมุม  เป็นปูเพศเมีย มีลูกๆ เต็มท้อง เลี้ยงจนลูกๆ โต จนค่อยๆ ตายไปหมด  ส่วนตัวไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน และไม่เคยเห็นอีกเลย(เพราะว่าไม่ได้ไปที่ลำน้ำมูลอีก)   ไม่มีรูปถ่ายนะครับเสียดายมากๆ   แต่จำลักษณะได้ขึ้นใจจนทุกวันนี้ครับ
electron approve [ 17 ม.ค. 2553 23:38:08 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ขอบคุณมากครับ
บางตัวก็เคลเจอ เคยจับเล่น เคยกิน
เพิ่งได้รู้ชื่อเรียงเสียงไรก็วันนี้
น่าสนใจมากเลยครับ  
หนานโตน bandonensis approve [ 17 ม.ค. 2553 23:44:39 ]
ความคิดเห็นที่: 29
สำหรับสกุล Sayamia ตั้งขึ้นโดย Naiyanetr, 1994 มีที่มาจากคำว่า สยาม
โดยเป็นคำถอดจากเสียง เพื่อแทนคำว่า Siam ที่ออกเสียงว่าไซแอม

จากข้อความนี้
ผมไม่มีความรู้เรื่องปูครับ
แต่งงเรื่องภาษานิด

จริงๆ ผมว่า การ Latinized ชื่อเก่าของประเทศไทย นั้น น่าจะถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์อยู่แล้วนะครับ
เพราะ สยาม ในภาษาไืทยสยามเองก็ มีหลายรูป คือ
สยาม เสียม สาม ซึ่ง ก็น่าจะบอกที่มาดังนี้
สาม >เสียม > สยาม

และแยกออกไป ในไทยใหญ่
สาม >เสียม > สยาม > สยัม > ฉาน

หรือไทอาหม
สาม >เสียม > สยาม > สยัม > อัสสยัม > อัสสัม > อาหม

ซึ่ง ก็มีหลักฐานในภาษาจีน ในการเรียกชื่อภาษาไทย ว่า
เซียนหลอ ซึ่ง อันนี้คือสำเนียง แมนดารินปัจจุบัน
แต่หาก ย้อนกลับไปสำเนียง Old Chinese เมือราว1000-2000 ปีก่อน
คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า เสียม หรือ สาม
สาม >เสียม > เซียน
Paphmania approve [ 18 ม.ค. 2553 00:46:57 ]
ความคิดเห็นที่: 30
 และฝรั่งได้บันทึกดินแดน สยามนี้ครั้งแรกว่า
Sian ตามสำเนียงจีนรุ่นหลัง  แต่หลังจากมีการค้ากับสยามประเทศก็เปลี่ยนมาสะกด ว่า Siam

ซึ่ง ผมว่าตรงที่สุดแล้ว
เพราะ ใน Classical Latin อักษร I ทำหน้าที่เป็นทั้ง สระ  และพยัญชนะ I & J

ซึ่ง  ตัวอักษร j เพิ่งจะมาสร้างกันในยุคหลัง

หากจะอ่าน Siam ในระบบเสียงภาษาละติน เป็นคำพยางค์ เดียว ก็
จะได้ Latin /sjam/ สยาม
แต่กระนั้น เนื่องจาก ในสมัยหลัง มีการแบ่งแยก  I & J ขึ้น
ผู้ที่ไม่ทราบที่มา
จึงอ่าน Siam ในภาษาละตินว่า /ˈsɪ.am/ ' สิ - อัม
( ระบบเสียงภาษาละตินไม่มี สระผสม เ อี ย)

ซึ่ง การออกเสียงคำ Romanized
Siam ว่า ไซ-แอม นั้นไม่ใช้ภาษาละติน ซึ่ง เป็นภาษาของ Scientific Name  แต่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่ง ผมก็เคยได้ยินคนฝรั่งเศสบางคน พูด คำนี้ว่า สยอง ดังนี้

Siam in English /ˌsaɪˈæm/
Siam in French /sjɑ̃/
Paphmania approve [ 18 ม.ค. 2553 00:47:36 ]
ความคิดเห็นที่: 31
ดังนั้น การแก้ไขดังกล่าวจึงไม่น่าจะถูกต้องตามหลักภาษา

ซึ่ง  y ในภาษาละติน ก็ไม่ได้ออกเสียง  ย ยักษ์ /j/ อย่างในภาษาอังกฤษ  หาก แต่เป้นเสียงย่มมาจากภาษากรีกโบราณ ซึ่ง ออกเสียง คล้าย u umlaut in German/ u in French
y Latin = /y/

ดังนั้น ชื่อสกุล
Sayamia จึงออกเสียง Latin /sa.yˈaː.mɪ.a/ สะ - อืู ' อา - มิ - อะ / ตามระบบสัทวิทยาภาษาละติน

ผมเลยว่ามันแปลกๆ ดีครับ

ส่วนชื่อเวปแห่งนี้
หากออกเสียงตามหลักภาษาละตินจะได้
Siamensis > /sɪ.aːˈmɛn.sɪs/   สิ - อา ' แมน - สิส
Sjamensis > /sjaˈmɛn.sɪs/    สยา ' แมน - สิส

ขออนุญาต มาเล่าไว้นะครับ เผื่อใครจะตั้งชื่ออีกครับ

ปล.
สัทอักษรด้านบน ใช้ตามหลัก International Phonetics Association ครับ

Reference
Allen, WS (1978) Vox Latina: the pronunciation of classical Latin. Cambridge University Press
Paphmania approve [ 18 ม.ค. 2553 00:47:52 ]
ความคิดเห็นที่: 32
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับพี่
coneman approve [ 18 ม.ค. 2553 12:18:31 ]
ความคิดเห็นที่: 33
สุดยอดเหมือนเดิมครับท่านพี่ เมื่อไหร่จะแวะมาเที่ยว มวล. บ้างละพี่
army [ 18 ม.ค. 2553 13:02:23 ]
army_sub@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 34
มาโกยความรู้ด้วยคนครับ ขอบคุณครับ
noppadol approve [ 18 ม.ค. 2553 14:27:46 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 35
: electron
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาสาระดีๆ  ครับ

แล้วไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลปูน้ำจืดทางภาคอีสานไหมครับ  
เมื่อหลายปีที่แล้ว(10กว่าปีที่แล้ว) ได้จับปูน้ำจืดที่พบในลำน้ำมูล จ. บุรีรัมย์ ชนิดหนึ่งมาเลี้ยง
ขนาดกระดองประมาณเหรียญ5บ. สีดำทั้งตัว ขายาวเก้งก้าง เหมือนแมงมุม  เป็นปูเพศเมีย มีลูกๆ  เต็มท้อง เลี้ยงจนลูกๆ  โต จนค่อยๆ  ตายไปหมด  ส่วนตัวไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน  และไม่เคยเห็นอีกเลย(เพราะว่าไม่ได้ไปที่ลำน้ำมูลอีก)   ไม่มีรูปถ่ายนะครับเสียดายมากๆ     แต่จำลักษณะได้ขึ้นใจจนทุกวันนี้ครับ


แนวๆ  นี้หรือเปล่าครับ



ปูน้ำจืดของอีสานมีเป็นวิทยานิพนธ์ครับ  แต่รู้สึกว่าเฉพาะวงศ์เดียวคือ Potamidae


: หนานโตน bandonensis
ขอบคุณมากครับ
บางตัวก็เคลเจอ เคยจับเล่น เคยกิน
เพิ่งได้รู้ชื่อเรียงเสียงไรก็วันนี้
น่าสนใจมากเลยครับ  


ไม่ได้ออกทริปของอ.พิมลพรรณ อ.วชิระ บ้างเหรอ


: army
สุดยอดเหมือนเดิมครับท่านพี่ เมื่อไหร่จะแวะมาเที่ยว มวล. บ้างละพี่


สงสัยไว้ย้ายไปทำที่นั่นทีเดียวเลยมั้ง อิอิ


ตอบคุณ Paphmania

เรื่องสาม เสียม เสียน ผมเคยอ่านที่ดูเป็นการสืบตามหลักภาษาศาสตร์ของท่านจิตร ภูมิศักดิ์ น่ะครับ

ส่วนเรื่องชื่อปู ลองดู etmology จากต้นฉบับในนี้น่ะครับ


...แก้ไขเมื่อ 18 ม.ค. 2553 17:39:30
นกกินเปี้ยว approve [ 18 ม.ค. 2553 17:39:08 ]
ความคิดเห็นที่: 36
What a kind of Alternative Spelling?
It's an illiterate Anglisized form, which it should not be use as Standard Latinized spelling of  the Homeland name by Professional Practices.
Please Excuse for my point of view!
...แก้ไขเมื่อ 19 ม.ค. 2553 00:22:52
Paphmania approve [ 19 ม.ค. 2553 00:22:32 ]
ความคิดเห็นที่: 37
#35
แนวๆ นั้น ขาเก้งก้างเหมือนกัน   แต่คิดว่าเป็นคนละชนิดครับ ตัวเต็มวัยตัวโตกว่านี้ สีจะเข้ม และดำกว่า  กระดองบริเวณข้างตามีหนามยาวกว่านี้เห็นได้ชัด


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับผม
electron approve [ 19 ม.ค. 2553 00:22:37 ]
ความคิดเห็นที่: 38
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ เต็มๆ  ^^'
Alakazum approve [ 19 ม.ค. 2553 05:55:49 ]
ความคิดเห็นที่: 39
ทั้งงาม และได้ความรู้ ดีจริงๆ ตานก ขอบคุณครับ!
จอม approve [ 19 ม.ค. 2553 06:05:10 ]
ความคิดเห็นที่: 40
: นกกินเปี้ยว
: หนานโตน bandonensis
ขอบคุณมากครับ
บางตัวก็เคลเจอ เคยจับเล่น เคยกิน
เพิ่งได้รู้ชื่อเรียงเสียงไรก็วันนี้
น่าสนใจมากเลยครับ  

ไม่ได้ออกทริปของอ.พิมลพรรณ อ.วชิระ บ้างเหรอ




เคยไปทริปเดียวตอนเรียนกับ อาจารย์ทั้งสองตอนป.ตรีครับพี่
หนานโตน nakhonensis approve [ 19 ม.ค. 2553 22:37:18 ]
ความคิดเห็นที่: 41
ขอบคุณครับ
หมักดอง approve [ 20 ม.ค. 2553 15:23:11 ]
ความคิดเห็นที่: 42
#19-20 ได้ชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว คือ
Terrapotamon phaibuli Leelawathanagoon, Lheknim & Ng, 2010

ตามที่คุณหนานโตนแจ้งไว้ในกระทู้
http://siamensis.org/board/13313.html
นกกินเปี้ยว approve [ 01 ก.พ. 2553 22:40:27 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org