กระทู้-13779 : ข่าวดีนี่ !!!!!!

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

ข่าวดีนี่ !!!!!!

ถึง  หมอหม่อง
 
เรื่องฝาย และปลาค้างคาวที่พูดกันในงานนับนกอินทนนท์
กุลได้ประสานกับอุทยาน  และอุทยานได้ดำเนินการดังนี้ค่ะ
 
1. ข้อมูลฝาย
    ส่วนที่ 1 : ส่วนที่พบว่าสำรวจไม่พบปลาค้างคาว
    ระหว่างน้ำตกมาถึงฝายคอนกรีต มีทั้งหมด 3 ฝาย คือ
 
                - ธนาคารกรุงไทย  1 ฝาย
                - มูลนิธิต้นกล้าอาสาแห่งประเทศไทย  1 ฝาย
                - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 ฝาย
 
     ส่วนที่ 2 :  หลังเขื่อนคอนกรีต
      อยู่บริเวณหลังบ้านพักรับรอง
               - บริษัทผลิตไฟฟ้า  1 ฝาย
 
2. การดำเนินการ
    ได้ประสานงานกับหน. อช. ดอยอินทนนท์  ซึ่งหน. ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มาก
     ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทำการรื้อฝายทันที
     ทั้งสองส่วน  คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วันนี้
 
     ฝากหมอหม่องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง  และพวกเราที่เป็นห่วงในเรืองนี้ทุกคนด้วยค่ะ
 
               เนื่องจากกุล มีพื้นที่ทำงานส่วนใหญ่อยู่ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
หากมีประเด็นปัญหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ อช. ดอยอินทนนท์ กุลยินดีจะประสานให้
 หรือแจ้งให้หัวหน้าทราบก่อน เพราะข้อมูลบางอย่างหัวหน้าไม่เคยทราบมาก่อน
 (กรณีสร้างฝายก็เหมือนกันผู้ที่ต้องการสร้างฝายหรือจัดกิจกรรมบางคน ก็จะประสานงาน
ผ่านช่องทางที่สะดวกโดยไม่ผ่านหัวหน้า)
 
                 หัวหน้าอุทยานฯ คนปัจจุบัน  (เกรียงศักดิ์ ถนอมพันธุ์)   กุลว่า ก็น่าเห็นใจเพราะมีคนเข้ามาใช้ประโยชน์
     ในพื้นที่หลายฝ่าย   กรณีปลาค้างคาวก็ได้ทราบข้อมุพร้อมๆ  กับพวกเราตอนที่ฟังบรรยาย  พอถูกถามเรื่องรื้อฝาย
     ไม่กล้ารับปากว่าจะรื้อ ก็ต้องแบ่งรับแบ่งสู้    เพราะต้องสอบถามข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน  
      แต่หลังจากนั้น    ก็ดำเนินการแก้ไขทันที  ให้ความสำคัญต่อเรื่องนั้
       และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  
 
      หลายเรื่องที่ หน.คนนี้พยายแก้ไขให้ถูกต้อง  ภายใต้ความกดดันจากคนรอบข้าง เช่น กรณีรถ ATV  
       และโรยตัวหน้าน้ำตกวชิรธาร   และยังมีอีกหลายๆ  เรื่อง  ที่ต้องขัดใจกับคนที่เสียผลประโยชน์
     
     ควรให้กำลังใจค่ะ
 
      กุล  ปัญญาวงค์
waterpanda approve [ 10 ก.พ. 2553 22:51:57 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เป็นกำลังใจให้ครับ  และ ร่วมยินดีกับข่าวนี้
Leviathan approve [ 10 ก.พ. 2553 23:00:49 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายค่ะ
หน. ท่านก็คงลำบากใจ ทั้งเบื้องบน ทั้งเบื้องล่าง
เหล่านักอนุรักษ์ (อย่างพวกเรา) ก็ห่วงใยในสิ่งแวดล้อมด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ยินดีกับข่าวนี้ด้วยคนค่ะ
ยายอ้วน approve [ 10 ก.พ. 2553 23:27:24 ]
ความคิดเห็นที่: 3
กราบขอบพระคุณหัวหน้าเกรียงศักดิ์เป็นอย่างสูงครับ ดีใจเหลือเกินที่ดอยอินทนนท์มีหัวหน้าดีๆ เช่นนี้

ขอบพระคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องด้วยครับ หมอหม่อง คุณกุล  และทุกๆ ท่าน

ผมกลับบ้านมานั่งสั่งขี้มูก พร้อมกับทายาแผลคุ่นกัด พร้อมกับแผลเต็มแข้งเต็มขา คนที่บ้านถามว่าคุ้มไหม?  ตอนนี้ตอบได้แล้วว่าโคตรอภิมหาคุ้มจริงๆ  

อยากฝากท่านที่อยู่ใกล้ๆ  อยากให้ขึ้นไปถ่ายภาพของสภาพลำธาร ในขณะที่มีฝาย ภาพการรื้อฝาย  และอยากให้ช่วยติดตามอย่างต่อเนื่องถึงสภาพลำธารหลังจากการรื้อฝาย จะเป็นการศึกษาที่น่าสนใจมากๆ ครับ

อยากให้มาร์คจุดไว้สักจุด ดูว่าสภาพพื้นที่เปลี่ยนไปอย่างไร หลังจากมีการรื้อฝายแล้ว ทรายถูกพัดลงไปไหมหรือว่าอย่างไร
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.พ. 2553 03:49:06
นณณ์ approve [ 10 ก.พ. 2553 23:29:52 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ยินดี ขอบคุณทุกฝ่าย  และเป็นกำลังใจให้ผู้ที่เกียวข้องครับ

;D
...แก้ไขเมื่อ 10 ก.พ. 2553 23:53:20
electron approve [ 10 ก.พ. 2553 23:50:49 ]
ความคิดเห็นที่: 5
แล้ว ถ้าอีก 3 ปี เปลี่ยนหัวหน้าอุทยาน
ฝายจะกลับมาอีกเปล่าครับ
Paphmania approve [ 10 ก.พ. 2553 23:58:14 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ขอบคุณแทนปลาตัวน้อยๆ  ที่ยังมีผู้เข้าใจ และเห็นความสำคัญ ขอบคุณจากใจครับ
aqueous_andaman approve [ 11 ก.พ. 2553 00:33:30 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ข่าวดีจริงๆ ..
ผมมองว่า ถ้าเราให้ข้อมูล สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติกับทุกๆ  ฝ่าย
มองเรื่องการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนมาก่อนผลประโยชน์ฉาบฉวย สิ่งดีดีก็จะตามมาเช่นนี้

และขอชื่นชมท่านหัวหน้าอุทยานฯ  อีกทั้งเพื่อนๆ ผู้ร่วมอุดมการณ์ด้วยใจจริงครับ


....เยี่ยมกู๊ดดดดดด
tavon approve [ 11 ก.พ. 2553 01:55:08 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ข่าวดีจริงๆ  ครับยินดีด้วยสำหรับทุกชีวิตที่เกี่ยวข้องครับ ที่หนองบัวก็มีครับฝายเอาหน้าแบบนี้จนทุกวันนี้ฝายพังน้ำก็ไม่มี  แต่ก็ยังมีคนพยายามจะไปทำให้มันเกิดมีขึ้นมาอีก ในที่ที่มันดีอยู่แล้ว
ตะขาบยักษ์ approve [ 11 ก.พ. 2553 08:59:25 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ข่าวดีครับ อ่านแล้วขนลุกเลย

ขอบคุณในความพยายามของทุกท่านครับ โดยเฉพาะ เจ้าพ่อทลาย"ฝายเลว" ขอบคุณมากครับ

กราบขอบพระคุณ และขอปรบมือให้กับท่านหัวหน้าอุทยานฯ  ที่ยินดีรับฟังปัญหา ให้ความสำคัญรวมทั้งแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว ผมนับถือในความเป็นผู้ใหญ่ และความเป็นหัวหน้าของท่านจริงๆ ครับ

ขอบคุณครับ
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.พ. 2553 09:59:52
กวิวัฏ approve [ 11 ก.พ. 2553 09:51:35 ]
ความคิดเห็นที่: 10
นับเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักอนุรักษ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ช่วยกันดูแลทรัพยากร และประคับประคองให้ไปในทิศทางที่ควร  และชี้ให้เห็นว่าก่อนจะทำอะไรก็ควรมีศึกษาข้อมูลจากหลายๆ  ฝ่ายก่อน เพื่อการอนุรักษ์ที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ  และลดผลกระทบต่อทรัพยากร เป็นข่าวดีจริงๆ   และควรดำเนินการเฝ้าติดตามผลต่อไปด้วยนะคะ
พี่แนน approve [ 11 ก.พ. 2553 10:32:36 ]
ความคิดเห็นที่: 11
: Paphmania
แล้ว  ถ้าอีก 3 ปี เปลี่ยนหัวหน้าอุทยาน
ฝายจะกลับมาอีกเปล่าครับ


อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ร้าย วันนี้มาฉลองกันก่อนดีกว่า
นณณ์ approve [ 11 ก.พ. 2553 10:52:20 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ขอบคุณท่านหัวหน้าอช (เกรียงศักดิ์ ถนอมพันธุ์) ครับ
ขอกราบงามๆ สักหนในฐานะผู้น้อยอย่างจริงใจ

_/\_


ผมภูมิใจเหลือเกินที่มีหัวหน้าอช ดีๆ แบบนี้ (ปลื้มมาก)
GreenEyes approve [ 11 ก.พ. 2553 11:09:20 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ชอแสดงความยินดีครับ  และอยากให้มีการจัดทำชุดข้อมูลประกอบการรื้อฝายในครั้งนี้ กระจายข้อมูลสู่หน่วยงานต่างๆ  และอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ต่อๆ ไปครับ ขอชื่นชมท่านหัวหน้าอุทยานฯ ท่านนี้ครับ
Alakazum approve [ 11 ก.พ. 2553 12:37:12 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ตอนรื้อจะเป็นยังไงนะ
สภาพคงแย่หน่อย  แต่ก็หวังว่ามันจะฟื้นตัวได้

ฝากพี่เก่งติดตามข่าว  และดูสภาพให้ด้วยนะคะ
ปีหน้าตั้งใจว่าจะไปดูแมลงน้ำที่ห้วยนี้ด้วย
ยายอ้วน approve [ 11 ก.พ. 2553 15:18:52 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ข่าวดีมากๆๆ  
            นับถือท่านหัวหน้าอุทยานมากเลยครับ
                    สรรพสัตว์ที่อาศัยในลำธารแห่งนั้น คงจะขอบคุณ  และอวยพรครับ สาธุ
หลามหยก approve [ 11 ก.พ. 2553 16:48:25 ]
ความคิดเห็นที่: 16
กรุงศรีอยุธยา(เมืองไทย)ไม่สิ้นคนดีจริงๆ  อ่านแล้วยินดีปรีดา ของแสดงความยินดีกับนกน้อย และปลาค้างคาวที่เสียงบ่นอันน้อยนิดของเจ้าดังก้องไปถึงท่านหัวหน้าอุทยาน กราบขอบพระคุณท่านแทนเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่พื้นที่แห่งนี้ที่มีคนเข้าใจในธรรมชาติมาช่วยเหลือพวกเขาให้ดำรงค์เผ่าพันธ์ต่อไปได้ ขอบพระคุณหัวหน้าอุทยาน ท่านเกรียงศักดิ์ ถนอมพันธุ์  (ท่านเกรียงศักดิ์ ครับสมัครเป็นสมาชิกสยามเอนสิสเลยครับ รับรองข้อมูลเพียบ)
ลป.ผมชอบนามสกุลท่านจริงๆ  เข้ากับการกระทำของท่านจังเลยครับ (ชมนะครับไม่ได้แซว)
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.พ. 2553 20:50:53
noppadol approve [ 11 ก.พ. 2553 19:57:19 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 17
มานั่งยิ้มแทนปลาด้วยคน หวังว่าพวกมันคงรีบกลับมาเร็วๆ  นะ อาทิตที่แล้วดำดูปลาหาปลาไม่เจอซักตัว ผิดกับปีที่แล้วจัง
นายแมลง approve [ 11 ก.พ. 2553 21:03:45 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณด้วยคนครับ ดีใจแทนกุ้ง หอย ปู ปลา  และ สัตว์อื่นๆ แถวนั้นด้วยครับ
JJ approve [ 11 ก.พ. 2553 22:43:09 ]
ความคิดเห็นที่: 19
สอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยฯ  รื้อแล้วครับ ไว้พรุ่งนี้จะลงไปเก็บภาพมาฝาก
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 12 ก.พ. 2553 09:11:36 ]
ความคิดเห็นที่: 20
อานิสงค์นี้ก็จะตกแกลูกอ๊อดกบลายหิน คางคกห้วย เต็มๆ ด้วยครับ ขอแสดงความเสียใจกับกบอ่องเล็กที่อดมายึดครองพื้นที่กบที่มีความจำเพาะต่อถิ่นอาศัยสูง ณ ที่นี้ด้วย
knotsnake approve [ 12 ก.พ. 2553 11:35:34 ]
Nature__reply_153581.jpg
ความคิดเห็นที่: 21
รื้อแล้วครับ ตามภาพเลย (ไปถ่ายก่อนรื้อไม่ทันนะ) แล้วก็ขอ e-mail นณณ์ด้วยนะขอรับ ส่งมาที่ thana_doiin@hotmail ได้เลย
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 14 ก.พ. 2553 13:17:53 ]
Nature__reply_153582.jpg
ความคิดเห็นที่: 22
ถามต่ออีกทีว่า เมื่อรื้อฝายด้านบนแล้ว  แต่ปลายน้ำ (ต่อจากฝ่ายถาวร) ยังไม่ได้รื้อจะมีค่าเหมือนเดิมมั้ย
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 14 ก.พ. 2553 13:20:22 ]
ความคิดเห็นที่: 23
คราวที่แล้วก็เจอปลาค้างคาว แต่ด้านบนเหนือสะพานครับ ด้านล่างไม่เจอเลย( ถ้าจำไม่ผิดนะ)

ส่วนด้านบนรื้อฝายแล้ว แต่ยังมีตะกอนทรายตกค้างอยู่ คงต้องรอหน้าน้ำแรง พัดลงไป ปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ จึงจะกลับมาเหมือนเดิม  แต่ยังไงก็ฝากติดตามดูผลอย่างต่อเนื่องนะครับเก่ง

อีเมลกระผม npanitvong@gmail.com
นณณ์ approve [ 14 ก.พ. 2553 21:34:05 ]
ความคิดเห็นที่: 24
กลายเป็นกรณีศึกษาไปว่า
ระบบนิเวศลำธารที่พังไปแล้ว ใช้เวลาเท่าไรท้องน้ำจะเหมือนเดิม
แล้วสัตว์ที่หายไปแล้ว จะกลับมาได้ หรือ ถึงกับสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่เลย

หวังว่าต้นน้ำยังมีแล้วกระจายพันธุ์กลับมาได้นะ
GreenEyes approve [ 14 ก.พ. 2553 23:08:53 ]
ความคิดเห็นที่: 25
เรามีข้อมูลความหลายหลายก่อนสร้างฝาย
เรามีข้อมูลความหลากหลายที่ลดลงหลังสร้างฝาย
เราสามารถเก็บข้อมูลที่จะเปลี่ยนแปลงหลังรื้อฝาย ทั้งในแง่ความหลากหลาย ที่อาจจะเพิ่มหรือเท่าเดิม?  และในแง่ระยะเวลาการฟื้นตัวของระบบนิเวศลำธาร

น่าจะเขียนเปเปอร์ตีพิมพ์ได้นะครับเนี่ย ฝากพี่เก่งพิจารณาด้วยครับ เพราะอย่างน้อยกรณีนี้อาจจะเป็นกรณีศึกษาในการ"เปลี่ยนแปลง" อะไรๆ ได้นะอนาคตครับ
กวิวัฏ approve [ 15 ก.พ. 2553 09:47:00 ]
ความคิดเห็นที่: 26
: นณณ์
: Paphmaniaแล้ว   ถ้าอีก 3 ปี เปลี่ยนหัวหน้าอุทยาน
ฝายจะกลับมาอีกเปล่าครับ

อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ร้าย วันนี้มาฉลองกันก่อนดีกว่า



เป็นไปได้ไหม ถ้าจะผลักดันให้ทำเป็นข้อกำหนด/ระเบียบ ฯ ลฯ  ของอุทยานฯ  ว่าให้มีการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีการก่อสร้างใดๆ  ในพื้นที่เปราะบางทางนิเวศของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือ กำหนดไว้เป็นข้อห้ามไปเลย ซึ่ง  ถ้าหัวหน้าอุทยานฯ  จะเปลี่ยนเป็นท่านอื่น ก็จะไม่มีผลกับเรื่องนี้ ไม่ต้องเป็นกังวลกัน
เวียงไพร [ 15 ก.พ. 2553 10:42:07 ]
ความคิดเห็นที่: 27
^
^
หลายสิ่งหลายอย่างกำหนดตายตัวยากมาก การกำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบก่อนดูเหมือนจะดี  แต่ ถ้าแปลงมาเป็นการปฏิบัติแล้วก็จะเจอปัญหาอีกมากมาย เลยอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจซึ่ง กัน และกัน(รวมถึงเข้าใจธรรมชาติด้วย) นอกจากความรู้ในสาขาต่างๆ แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมองด้วยใจ เสมือนการเล่นดนตรี หากเล่นกันให้ได้เสียงตามโน๊ตที่กำหนดก็หามีความไพเราะไม่ ผู้ แต่งยังต้องจิตนาการอีกว่าจะใช้เครื่องดนตรีชิ้นไหนแสดงบทบาทตอนไหน เชื่อมโยงเสียงกันอย่างไร เพราะธรรมชาติของเครื่องดนตรี แต่ละชนิดจะมีฮาร์โมนิกที่ต่างกัน(ซึ่ง ฮาร์โมนิกนี่แหละกำหนดตัวโน๊ตไม่ได้เสมอไป ก็มันไม่ลงสักโน๊ต ณ ขณะหนึ่ง)

หากมองว่าป่าผืนนี้มีความชุ่มชื้น  และมีความสมบูรณ์ตามควรแล้ว ก็คงไม่ต้องสร้างฝาย หรือแม้ แต่พื้นที่แล้งเดิม(ไม่ใช่คนทำแล้ง)ก็อย่าทำให้ชื้น เพราะสิ่งที่มีวิวัฒนาการกับพื้นที่นั้นๆ จะหายไป  ในเขตอุทยานฯ เองก็มีทั้งพื้นที่ที่ดี และเสื่อม ก็อาจเอาฝายไปจัดการกับพื้นที่เสื่อมโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสัตว์ที่ต้องกระทบจากฝายบ้าง ก็รอดูเรียงความเผื่อมีอะไรที่น่าสนใจกว่าฝายในมุมมองของผม ขอให้ใช้จินตนาการ และแปลงมาเป็นการปฏิบัติให้ได้

เรื่องเปเปอร์นี่ผมเห็นด้วยนะครับ โดยใช้ห้วยทรายเหลืองเป็นกรณีศึกษา
knotsnake approve [ 15 ก.พ. 2553 15:14:27 ]
ความคิดเห็นที่: 28
: กวิวัฏ
เรามีข้อมูลความหลายหลายก่อนสร้างฝาย
เรามีข้อมูลความหลากหลายที่ลดลงหลังสร้างฝาย
เราสามารถเก็บข้อมูลที่จะเปลี่ยนแปลงหลังรื้อฝาย ทั้งในแง่ความหลากหลาย ที่อาจจะเพิ่มหรือเท่าเดิม?   และในแง่ระยะเวลาการฟื้นตัวของระบบนิเวศลำธาร

น่าจะเขียนเปเปอร์ตีพิมพ์ได้นะครับเนี่ย ฝากพี่เก่งพิจารณาด้วยครับ เพราะอย่างน้อยกรณีนี้อาจจะเป็นกรณีศึกษาในการ"เปลี่ยนแปลง" อะไรๆ  ได้นะอนาคตครับ


จะพยายามเก็บภาพมานะ  แต่เรื่องรายละเอียดต้องฝากพวกเราด้วยแหล่ะ เพราะพี่ไม่มีความรู้ทางนี้ ใครขึ้นมาก็แวะมาเก็บข้อมูลได้เลย

: เวียงไพร
: นณณ์
: Paphmaniaแล้ว    ถ้าอีก 3 ปี เปลี่ยนหัวหน้าอุทยาน
ฝายจะกลับมาอีกเปล่าครับ

อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ร้าย วันนี้มาฉลองกันก่อนดีกว่า


เป็นไปได้ไหม  ถ้าจะผลักดันให้ทำเป็นข้อกำหนด/ระเบียบ ฯ  ลฯ   ของอุทยานฯ   ว่าให้มีการศึกษาความเหมาะสม  และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีการก่อสร้างใดๆ   ในพื้นที่เปราะบางทางนิเวศของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือ กำหนดไว้เป็นข้อห้ามไปเลย ซึ่ง    ถ้าหัวหน้าอุทยานฯ   จะเปลี่ยนเป็นท่านอื่น ก็จะไม่มีผลกับเรื่องนี้ ไม่ต้องเป็นกังวลกัน


ในกรณีนี้ส่วนมากจะมีการดำเนินการตรวจสอบเรื่องระบบนิเวศก่อนอยู่แล้วครับ เมื่อจะทำอะไรสักอย่างนะ  แต่เรื่องฝายมันเป็นเหมือนค่านิยมกัน เลยเห็นดีเห็นงามกันไปหมด (ที่สำคัญเป็นคำสั่งจากเบื้องบนในการสั่งสร้างฝายซะด้วยสิ  แต่ไม่ใช่ตัวนี้นะ หมายถึงตัวอื่นๆ  น่ะ)

: knotsnake
^
^
หลายสิ่งหลายอย่างกำหนดตายตัวยากมาก การกำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบก่อนดูเหมือนจะดี   แต่  ถ้าแปลงมาเป็นการปฏิบัติแล้วก็จะเจอปัญหาอีกมากมาย เลยอยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจซึ่ง  กัน  และกัน(รวมถึงเข้าใจธรรมชาติด้วย) นอกจากความรู้ในสาขาต่างๆ  แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมองด้วยใจ เสมือนการเล่นดนตรี หากเล่นกันให้ได้เสียงตามโน๊ตที่กำหนดก็หามีความไพเราะไม่ ผู้  แต่งยังต้องจิตนาการอีกว่าจะใช้เครื่องดนตรีชิ้นไหนแสดงบทบาทตอนไหน เชื่อมโยงเสียงกันอย่างไร เพราะธรรมชาติของเครื่องดนตรี  แต่ละชนิดจะมีฮาร์โมนิกที่ต่างกัน(ซึ่ง  ฮาร์โมนิกนี่แหละกำหนดตัวโน๊ตไม่ได้เสมอไป ก็มันไม่ลงสักโน๊ต ณ ขณะหนึ่ง)

หากมองว่าป่าผืนนี้มีความชุ่มชื้น   และมีความสมบูรณ์ตามควรแล้ว ก็คงไม่ต้องสร้างฝาย หรือแม้  แต่พื้นที่แล้งเดิม(ไม่ใช่คนทำแล้ง)ก็อย่าทำให้ชื้น เพราะสิ่งที่มีวิวัฒนาการกับพื้นที่นั้นๆ  จะหายไป  ในเขตอุทยานฯ  เองก็มีทั้งพื้นที่ที่ดี  และเสื่อม ก็อาจเอาฝายไปจัดการกับพื้นที่เสื่อมโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์  และสัตว์ที่ต้องกระทบจากฝายบ้าง ก็รอดูเรียงความเผื่อมีอะไรที่น่าสนใจกว่าฝายในมุมมองของผม ขอให้ใช้จินตนาการ  และแปลงมาเป็นการปฏิบัติให้ได้

เรื่องเปเปอร์นี่ผมเห็นด้วยนะครับ โดยใช้ห้วยทรายเหลืองเป็นกรณีศึกษา


ใครสนใจจะมาทำก็ติดต่ออุทยานฯ  ได้เลยนะครับ
เก่ง_ดอยอินฯ approve [ 16 ก.พ. 2553 09:05:37 ]
ความคิดเห็นที่: 29
^
^
ใครรู้ตัวว่าเรียนอยู่วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มาเอาไปเป็นเปเปอร์สัมมนา แล้วส่งตีพิมพ์โลด
knotsnake approve [ 16 ก.พ. 2553 11:28:52 ]
ความคิดเห็นที่: 30
^
^
^ 555+
aqueous_andaman approve [ 16 ก.พ. 2553 13:07:47 ]
ความคิดเห็นที่: 31
^
^
^
^
กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกก
Due_n approve [ 17 ก.พ. 2553 11:36:22 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org