กระทู้-13793 : ทะเลสาบสงขลา ส่อวิกฤติ หอยกะพงเทศระบาด หวั่นทำลายระบบนิเวศ กระทบประมง

Home » Board » หอย

ทะเลสาบสงขลา ส่อวิกฤติ หอยกะพงเทศระบาด หวั่นทำลายระบบนิเวศ กระทบประมง

http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27700

ข่าวหอยกะพงเทศระบาด ในทะเลสาบสงขลา !!!
Alakazum approve [ 12 ก.พ. 2553 17:25:29 ]
ความคิดเห็นที่: 1
กระทู้เก่าของเจ้าหอยตัวนี้

http://siamensis.org/board/7420.html

http://siamensis.org/oldboard/3682.html
นกกินเปี้ยว approve [ 12 ก.พ. 2553 19:06:32 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ตัวอ่อนมันสามารถถูกพัดพาตามกระแสน้ำข้ามทวีปมาได้หรือไม่ครับ นอกจากติดมากับถังอับเฉา เพราะทะเลทั้งโลกเชื่อมต่อกัน
Alakazum approve [ 12 ก.พ. 2553 20:11:10 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ที่มีคนเคยทำมาในแลป อายุของ planktonic larva ประมาณ 4 วันกว่าๆ ค่ะ ไม่ทราบเหมือนกันว่าในธรรมชาติจะนานได้แค่ไหน และมันทนน้ำทะเลได้ไหม ปกติมันจะมีประชากรหนาแน่นที่น้ำกร่อยความเค็มประมาณ 10-20 ค่ะ
kringpaka@hotmail.com [ 12 ก.พ. 2553 22:50:24 ]
ความคิดเห็นที่: 4
หุหุ น่าเป็นห่วง.... กลัวจะเป็นอย่างกรณี Zebra Mussels เหมียนกันแฮะ หุๆ
จอม approve [ 13 ก.พ. 2553 00:56:05 ]
ความคิดเห็นที่: 5
: kringpaka@hotmail.com
ที่มีคนเคยทำมาในแลป อายุของ planktonic larva ประมาณ 4 วันกว่าๆ  ค่ะ ไม่ทราบเหมือนกันว่าในธรรมชาติจะนานได้แค่ไหน  และมันทนน้ำทะเลได้ไหม ปกติมันจะมีประชากรหนาแน่นที่น้ำกร่อยความเค็มประมาณ 10-20 ค่ะ


เจ้าแม่มาเองเลยวุ้ย
ampelisciphotis approve [ 13 ก.พ. 2553 01:45:04 ]
ความคิดเห็นที่: 6
งานพี่ฟางหรือนี้ ถึงว่าชื่อคุ้นๆ  ในหน้าข่าว เหอๆๆ
aqueous_andaman approve [ 13 ก.พ. 2553 11:37:34 ]
ความคิดเห็นที่: 7
: Alakazum
ตัวอ่อนมันสามารถถูกพัดพาตามกระแสน้ำข้ามทวีปมาได้หรือไม่ครับ นอกจากติดมากับถังอับเฉา เพราะทะเลทั้งโลกเชื่อมต่อกัน

เท่าที่ผมเรียนมา วิชาเกี่ยวกับทะเลแพลงก์ตอน และระบบนิเวศในทะเล
การที่ตัวอ่อนจะถูกพัดข้ามทวีปมาได้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ครับ  และก็มีกรณีศึกษาหลายๆ  กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตมาแล้ว  แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า พัดมาแล้วรอดหรือเปล่า  และ ถ้ารอดแล้วจะดำรงชีวิตอยู่ได้หรือเปล่า??

ส่วนใหญ่สิ่งมีชีวิตในทะเล  ถ้าพัดข้ามจากมหาสมุทรหนึ่งๆ  ไปอีกแห่งหนึ่ง โดยกระแสน้ำนั้น
มักจะไม่รอด เพราะออกไปกลางมหาสมุทร มันจะมีปัจจัยเรื่องความเค็ม อาหาร  และอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้อง (มันมีศัพท์ภาอังกฤษอยู่ จำไม่ได้ เหอๆๆ ) ปัจจัยขึ้นต้นเหล่านี้จะเป็นตัวแบ่งเขตการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตของ แต่หละมหาสมุทรอ่ะครับ

คราวๆ  จำได้แค่นี้ เหอๆๆๆ   - -"
เรียนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ( แต่ดันเสือกไปลงเรียนเกี่ยวกับวิทย์เลเยอะมาก ก็เลยพอรู้มาบ้าง)
aqueous_andaman approve [ 13 ก.พ. 2553 11:43:48 ]
ความคิดเห็นที่: 8
กินได้ไหมอ่ะไอ้หอยนี่?
นณณ์ approve [ 13 ก.พ. 2553 21:25:38 ]
ความคิดเห็นที่: 9
: นณณ์
กินได้ไหมอ่ะไอ้หอยนี่?
คุณนณณ์คิดเหมือนผมเลย  ถ้าคนกินไม่ได้ หรือตัวมันเล็กไปก็เอาไปป่นเป็นอาหารเป็ดซะเลยดีไหมครับ  ในส่วนตัวเผมคิดว่าเนื้อมันน่าจะทำเป็นอาหารคนหรือสัตว์ ส่วนเปลือกเผาทำปูนขาวได้หรือปล่าไม่รู้ แถวบ้านผม เปลือกหอยนางรม ราคาหนึ่งคันรถสิบล้อก็หลายอยู่ เคยถามว่าเอาไปทำอะไร คำตอบคือเผาทำปูนขาวครับ
noppadol approve [ 13 ก.พ. 2553 21:58:05 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 10
มันตัวเล็กเกินอะพี่ ส่วนใหญ่เคยได้ยินว่าเขาเอาไปทำอาหารสัตว์มากกว่า  แต่ไม่แน่ที่เวียดนามอาจจะกินก็ได้ ด้วยว่าหอยเล็กขนาดหอยทับทิมก็ยังเอามาบริโภคกันอยู่
ampelisciphotis approve [ 15 ก.พ. 2553 06:52:34 ]
ความคิดเห็นที่: 11
หอยกระพงบ้านเราตัวกระเปี๊ยกเดียวก็เห็นเอามาผัดกินกันอยู่นิครับ?  หอยนี่ก็ไม่ได้เล็กมากนะ...

นึกแล้วก็ เย็นนี้ไปหามากินหน่อยดีกว่า ไม่ได้กินนานแล้ว
นณณ์ approve [ 15 ก.พ. 2553 10:29:44 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เท่าที่ทราบไม่มีคนเอามากินค่ะ  แต่มีคนเอาไปเลี้ยงเป็ด (ที่ปากพนัง นครศรีฯ ) ที่ไม่มีคนกินอาจเป็นเพราะนอกจากว่าตัวมันเล็กแล้ว เปลือกของมันยังขรุขะไม่แวววาวสวยงามเหมือนชาว mytilid เลยดูสกปรก โคโลนีเค้าก็มักจะมีพวกสาหร่ายเมือกๆ มาเกาะก็ออกจะดูแหยะๆ  อีกทั้ง byssus ก็เยอะมากมายเหลือเกินค่ะ
เพิ่งไปสำรวจหาดแก้วลากูน แหล่งที่พบเป็นครั้งแรกในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากับเจ้าแม่กุ้งเต้นมาค่ะ ปรากฏว่าไม่เจอโคโลนีหอยเลย เจอ แต่ลูกเด็กตัวเล็กๆ  ซึ่ง เมื่อก่อนนั้นเจอเยอะมาก เกาะที่เสาสะพานซ้อนๆ กันหนาเป็นเกือบฟุตเลยทีเดียว อาจเป็นเพราะตอนนี้หาดแก้วลากูนเปลี่ยนสภาพไปสุดๆ ค่ะ น้ำทะเลทะลักเข้ามาแล้วก็ลากูนเปิดมันเปิดออกทั้งสองด้านทิ้งสันทรายให้เป็นเกาะซะแล้ว ดูจากความเค็มมันยังไม่ขึ้นสูงมาก น่าสนใจติดตามต่อไปว่าเมื่อความเค็มมันขึ้นจนถึงระดับน้ำทะเลเมื่อไรเจ้าหอยนี้ใน(อดีต)ลากูนนี้จะหายไปไหม
ที่จริงบ้านเราก็มีหอยที่มีพฤติกรรมเกาะติด และ(ดูเหมือน) จะรุกรานชาวบ้านอยู่หลายตัวนะคะ ตัวที่พบที่ปากทะเลสาบสงขลาก็ Perna viridis กะ Musculista senhousia ค่ะ ซึ่ง มันก็มีพฤติกรรมนักเลงพอๆ กัน และเพียง แต่มันเป็นของท้องถิ่นเท่านั้นเองค่ะ
marinepig [ 15 ก.พ. 2553 23:33:13 ]
kringpaka@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 13
เพิ่มเติมนิดนึงค่ะ นอกจากว่าสาเหตุที่มันมีประชากรน้อยลงน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนสภาพของลากูนแล้ว อาจจะเป็นช่วงเวลาที่พวกตัวแก่ล้มหายตายจากไปหมด  และลูกหลานก็ยังเล็กอยู่ค่ะ อายุมันประมาณปีเดียวหรือเกินไปนิดหน่อย
+
การที่เราเอาไปทำประโยชน์เช่นการเอาไปป่นทำอาหารสัตว์ก็ดีค่ะ เป็นการกำจัดที่ดี  แต่มันก็มีความเสี่ยงที่ว่า ถ้ามันหลุดรอดจากการขนส่งออกไปสู่ธรรมชาติจะเป็นอย่างไร หอยชนิดนี้ทรทานต่อน้ำจืดด้วย แต่ยังไม่พบว่ามีการสืบพันธุ์ในน้ำจืดค่ะ
marinepig [ 15 ก.พ. 2553 23:40:43 ]
ความคิดเห็นที่: 14
: marinepig
เพิ่มเติมนิดนึงค่ะ นอกจากว่าสาเหตุที่มันมีประชากรน้อยลงน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนสภาพของลากูนแล้ว อาจจะเป็นช่วงเวลาที่พวกตัวแก่ล้มหายตายจากไปหมด   และลูกหลานก็ยังเล็กอยู่ค่ะ อายุมันประมาณปีเดียวหรือเกินไปนิดหน่อย
+
การที่เราเอาไปทำประโยชน์เช่นการเอาไปป่นทำอาหารสัตว์ก็ดีค่ะ เป็นการกำจัดที่ดี   แต่มันก็มีความเสี่ยงที่ว่า  ถ้ามันหลุดรอดจากการขนส่งออกไปสู่ธรรมชาติจะเป็นอย่างไร หอยชนิดนี้ทรทานต่อน้ำจืดด้วย  แต่ยังไม่พบว่ามีการสืบพันธุ์ในน้ำจืดค่ะ


เป็นประโยชน์มากมายครับสำหรับไอเดียนี้ หนับหนุนๆ  อิอิ
จอม approve [ 15 ก.พ. 2553 23:53:29 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ตอนตัวเล็กๆ นี่ก็ไปทุบซ่ะก่อนดิ วิธีง่ายๆ โง่ๆ นี่แหล่ะ!
นณณ์ approve [ 16 ก.พ. 2553 00:06:44 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ทำใจ + รอสักพักครับ = เดียวมันก็เป็นสัตว์ประจำถิ่นเองหละครับ ฮ่าาาาาาาาาาาาาาา
aqueous_andaman approve [ 16 ก.พ. 2553 03:21:18 ]
ความคิดเห็นที่: 17
มาสนับสนุนว่าหอยแมลงภู่เป็นผู้รุกรานที่ดีเยี่ยม มันเคยรุกรานหอยตะโกรมที่อ่าวบ้านดอนมาแล้ว ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเกษตรกร  แต่นับว่าจยังโชคดีที่มีอยู่ช่วงนึงมีน้ำจืดหลากมากทำให้หอยแมลงภู่บางลง เพราะมันไม่ทนน้ำจืด หรือความเค็มต่ำมากๆ ได้ในระยะเวลาเกินกว่าเวลาที่มันหุบปากได้  แต่..ที่ระนอง ดันมีหอยแมลงภู่ทนความเค็มต่ำได้ซะงั้น  แต่มันก็ไม่เป็นผู้รุกรานที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่นี้ครับ
knotsnake approve [ 16 ก.พ. 2553 11:26:02 ]
ความคิดเห็นที่: 18
: aqueous_andaman
ทำใจ + รอสักพักครับ = เดียวมันก็เป็นสัตว์ประจำถิ่นเองหละครับ ฮ่าาาาาาาาาาาาาาา


ข่าวล่ามาเร็ว ....ที่ภูเก็ต ตรงอ่าวฉลองฝั่งใกล้ๆ สะพานหินที่มีลานเลนกว้างๆ  โบราณ(สัก 60 - 70 ปีก่อน มั้ง)เป็นระบบนิเวศน์ป่าปะการังที่สมบูรณ์ที่สุดบนเกาะๆ นี้.... ต่อมาทำเหมืองแร่ฉีดกันมาก เลนโคลนไหลลงอ่าวกันคลั่กๆ วันละไม่รู้กี่ตัน 20 - 30 ปีที่ผ่านมาเป็นพื้นทรายปนเลน มีหญ้าทะเลขึ้นแทนที่ มีหอยก้างปลามากมาย หอยครองแครงดกดื่น หอยเบี้ยหายไปพร้อมแนวปะการังนานแล้ว.... หลังสึนามิ เลนตมถูกพัดพามากลบเป็นแนวสันดอนกว้าง.... วันนี้มีหอยหลอด (Solen spp.) อยู่ดกดื่น ไม่เคยพบไม่เคยเห็นในถิ่นนี้มาก่อนเลยจริงๆ ก่อนสึนามิ

ตอนนี้หนะหากินหาขายกันไม่หวาดไม่ไหว กร๊าก...... อะไรๆ มันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลจริงๆ นิ
จอม approve [ 16 ก.พ. 2553 23:56:53 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org