กระทู้-13838 : เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของจีน กับ ฝายชุมชน ผลกระทบมันเรื่องเดียวกัน

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของจีน กับ ฝายชุมชน ผลกระทบมันเรื่องเดียวกัน

เมื่อกี้นี้ ดูการเสนอข่าวเรื่องผลกระทบเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง
เกิดสันดอนทรายเต็มแม่น้ำโขงที่บ้านเรา ต้องใช้เครื่องจักรหนักเข้าไปลอกสันดอนออก

ผมว่ามันคุ้นๆ จากที่เคยอ่านกระทู้ใน SIAMENSIS
สุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันกับ ฝายชุมชนเลยครับ
 
มองเห็นภาพผลกระทบชัดเจน มีการเสนอข่าวอย่างกว้างขวาง

น่าจะหาวิธีทำฝาย หรือ ให้ความรู้การทำฝายโดยที่ไม่มีผลกระทบนะครับ

http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0267
sm approve [ 21 ก.พ. 2553 11:55:58 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ใช่ครับผลกระทบเหมือนกัน เพียงแค่ฝายเป็นสเกลเล็ก เขื่อนเป็นสเกลใหญ่
GreenEyes approve [ 21 ก.พ. 2553 12:21:21 ]
ความคิดเห็นที่: 2
scale เล็กๆ  รวมกันมากๆ เข้าก็ใหญ่เอาการอยู่นะครับ
PLANKTONMANIA approve [ 21 ก.พ. 2553 17:11:42 ]
ความคิดเห็นที่: 3
เหมือนเคยอ่านเจอในหนังสือ ฅ.คน ว่าสาเหตุของการเกิดสันดอน มีสาเหตุหลักจากการระเบิดแก่งหินต่างๆ ที่เคยมีกลางลำน้ำโขงออกไปจนหมด ทำให้ไม่มีแก่งหินคอยลดแรงน้ำ เมื่อน้ำมาแรงมากกว่าปกติก็กัดเซาะริ่มตลิ่งของทั้งฝ่ายไทย และลาวพัดพาเอาตะกอนมาทับถมเป็นสันดอนกลางแม่น้ำ ซึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนเฒ่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว และก็เป็นจริงอย่างที่คาดไว้  ผมจำไม่ได้ว่ากลุ่มคนกลุ่มนึงที่ช่วยกันคัดค้านการระเบิดแก่งหินนี้เป็นใคร แต่ก็ทำให้แก่งหินที่อยู่ในเขตไทยสมัยนั้นไม่ถูกระเบิดไปด้วย    อ่อลืมบอกไปว่าการระเบิดแก่งหินนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าเพื่อให้เรือขนส่งสินค้าจากจีนสามารถล่องเรือนำสินค้ามาขายประเทศในแถบนี้ได้  แต่สุดท้ายหลังจากเกิดเหตุการณ์สันดอนทรายผุดขึ้นกลางลำน้ำโขง ทางจีนก็ให้วิศวะกรทำแก่งหินเทียมสับฟันปลาขึ้นมาเพื่อลดแรงของกระแสน้ำ.....- -"   สุดท้ายการเกิดของเขื่อนจีนทั้ง3 ก็กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติโดยน้ำมือมนุษย์เราไปโดยไม่สามรถเรียกคืนกลับมาได้   หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ด้วยครับ
บรรจงเดิน [ 21 ก.พ. 2553 20:43:29 ]
ความคิดเห็นที่: 4
คือ ก่อนจะว่ากันถึงปัญหาสันดอนทรายแม่โขง ต้องตอบคำถามก่อนว่า
1. ทรายมาจากไหน?
แต่เดิมก็มีหน้าน้ำที่น้ำพัดเอาตะกอนดินตะกอนทรายมาอยู่แล้ว  แต่ลองนึกสภาพพื้นที่สมัยก่อน ป่าอุดมสมบูรณ์ น้ำจะพัดมาได้ก็คง แต่ส่วนที่หลุดๆ อยู่ที่ผิวดิน สิ่งที่เรียกว่า humus เป็นการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ ชิ้นเล็กๆ เบาๆ  ลงน้ำไปก็พัดยาวออกปากแม่น้ำไปตกตะโกนเป็นดินเป็นโคลนตามป่าชายเลน พวกที่ไหลเอ่อเข้าไปในทุ่งน้ำท่วม พอน้ำลดก็กลายเป็นปุ๋ยต่อไป

สมัยนี้ หน้าดินเปิดโล่ง ไอ้พวกซากพืชซากสัตว์ที่เคยย่อยสลายอยู่ก็หมดไปเพราะป่าไม่เหลือแล้ว ฝนตกก็ชะดินชะทรายชิ้นใหญ่ๆ ลงแม่น้ำมา ผลก็คือ ตะกอนในยุคนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณภาพห่วยลง

ตะกอนทรายตามธรรมชาติก็จะตกอยู่ตามช่วงกลางๆ ของแม่น้ำอยู่แล้ว  ถ้าเป็นแม่โขงก็แถวๆ ประเทศไทยก็ไม่แปลกใจอะไร (อย่างลุ่มเจ้าพระยาตะกอนทรายจะอยู่ตามแม่น้ำปิงแถวๆ จังหวัดกำแพงเพชร หรือเจ้าพระยาแถวนครสวรรค์ ชัยนาท เป็นต้น) ส่วนตะกอนเล็กๆ ที่ปกติจะลอยลงปากแม่น้ำไปให้แผ่นดินพอกพูน ก็ลดน้อยลงเพราะ ป่าไม่เหลือ  และ ส่วนหนึ่งตกตะกอนอยู่หลังเขื่อน ประกอบกับป่าชายเลนถูกทำลาย ก็เกิดน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง (เสร็จแล้วก็ไปโทษโลกร้อน ซึ่ง ผลยังไม่ได้ชัดเจนขนาดที่ไทยเป็นอยู่)  


2.  แต่ก่อนทรายไปไหน?
แม่น้ำตามธรรมชาติ ไหลอย่างมีฤดูกาล หน้าแล้งน้ำก็ไหลค่อย หน้าน้ำน้ำก็ไหลแรง ช่วงที่ไหลแรง ก็พัดพาเอาตะกอนไปได้ไกลๆ  ผมยังมองว่าการระเบิดแก่งไม่ได้ทำให้น้ำเร็วขึ้นแล้วไปกัดเซาะชายฝั่ง  แต่ทำให้น้ำช้าลง เนื่องจากไม่ผ่านตัวเร่ง(แก่งเป็นจุดที่น้ำตื้นหรือแคบ เมื่อน้ำปริมาณเท่าเดิมต้องผ่านพื้นที่ๆ แคบลงก็จะต้องเร่งความเร็วขึ้น) เมื่อไม่มีแก่ง แม่โขงกลายเป็นแม่น้ำลึกๆ เรียบๆ  น้ำไหลไปเรื่อยไม่มีตัวเร่ง การตกตะกอนก็จะเร็วขึ้น (ก็คือตกในเขตไทย ซึ่ง เป็นช่วงกลางแม่น้ำ) บวกกับเขื่อนใหญ่ๆ ในจีนที่ควบคุมการไหลของน้ำ ทำให้น้ำไหลช้าลง  และไม่ไหลเร่งตามฤดูกาล จึงทำให้เกิดการตกตะกอนทรายมากขึ้นในเขตประเทศไทย


ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแม่น้ำ ผมยังมองว่าตัวหลักคือการทำลายป่าคลุมดินริมฝั่งแม่น้ำมากกว่าปัจจัยอื่นๆ

ทั้งนี้อ่านที่ผมเขียนแล้ว ก็อ่านกาลามสูตรด้วยนะครับ
นณณ์ approve [ 22 ก.พ. 2553 10:43:25 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ในมุมของผม แก่งเป็นทั้งตัวกักตะกอนหนัก  และดันตะกอนเบา เพราะลักษณะแก่งไม่ได้ค่อยๆ แคบสอบเข้ามาที่จะเกิดการเร่งกระแสน้ำจนตะกอนหนักก็ต้องไหล หลังแก่งหินส่วนแนวปะทะของน้ำจะทำให้เกิดแรงต้านกระแสน้ำเกิดกระแสปั่นป่วนทำให้ความเร็วน้ำชะงัก ชะลอ ก่อนที่น้ำจะอาศํยความเป็นของไหลลัดเลี้ยวหลบแก่งไปเข้าช่องแคบระหว่างแก่ง  แต่..การกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงขึ้นสาเหตุหลักมาจากที่คุณนณณ์บอก ส่วนตะกอนสันดอนมาจากไหนก็คงต้องเทียบตะกอนจากทางต้นน้ำ กับโครงสร้างชายฝั่งดูเอาแล้วกัน ผมเดาไม่ถูกในกรณีนี้
knotsnake approve [ 22 ก.พ. 2553 15:03:03 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org