กระทู้-13868 : ต้นกำเนิดของหมา แมว และวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยง(ขอเอามารีเทิร์นครับ)

Home » Board » เลี้ยงลูกด้วยนม

ต้นกำเนิดของหมา แมว และวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยง(ขอเอามารีเทิร์นครับ)

เมื่อวันก่อนไปประชุมกับสผ. เรื่องสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นในประเทศไทย ผมได้เสนอในที่ประชุมไปว่าในเขตอุทยานแห่งชาติ ผมมองว่าสัตว์ที่เป็นปัญหาที่สุดในขณะนี้คือ หมา แมว   และ วัว แต่ทางสผ.ไม่มั่นใจว่ามันเป็น สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นจริงหรือไม่   ซึ่งผมจำได้ว่าสัตว์พวกนี้เป็น domesticated ที่ไม่ได้มาจากเขตประเทศเราแน่ๆ   ใครมีข้อมูลอย่างไรของต้นกำเนิดของสัตว์เหล่านี้   และข้อมูลว่ามันเป็น สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นอย่างไร ช่วยกันหน่อยครับ ผมบอกสผ.ไว้ว่าผมจะหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วส่งไปให้

นณณ์  [ 02 มี.ค. 2553 23:44:43 ]
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 15:18:16 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เข้ามาอ่านแบบไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย

เพียง  แต่เคยได้ยินเรื่องของ งัว เอ้ย วัวขาวลำพูนที่งานเกษตรภาคเหนือปีที่ผ่านมา ท่านว่า(ท่านไหนไม่รู้)มีลักษณะบางประการคล้ายกับวัวอินเดีย

  แต่จากในลิ้ง ที่ว่ามีลักษณะบางประการร่วมกับวัวอินเดีย ดูท่าจะเป็นเรื่องเล่าปากต่อปากมากกว่าที่จะมีการวิจัยในเชิงวิชาการนะครับ

  แต่ก็แสดงให้เห็นว่าสัตว์พื้นบ้านของเราบางอย่าง อาจจะเป็นไปได้ว่ามันมีที่มา  และที่ไป ที่เราคาดไม่ถึงทีเดียวเชียว

มีลิ้งครับ
http://www.dld.go.th/region5/suksaweb/Livestock%20Organic/Lumphun%20cows.pdf

pixelchio  [ 03 มี.ค. 2553 00:51:34 ]
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 15:19:45 ]
ความคิดเห็นที่: 2
หมา  และแมว คนไทยเราไม่ได้ จับมาเลี้ยงแน่ๆ   น่าจะมาจากการค้าทางตะวันออกกลาง

 แต่ทางเอเชียเราก็มี การนำสัตว์มาเลี้ยงหลายอย่างเช่น ไก่  เป็ด ควาย วัวไทยหรือ วัวแกลบ
ซึ่ง   ก็โดยชนเผ่าทั้ง ไทยกะได ม้งแม้ว มอญเขมร จีนทิเบต   และมาเลย์

ซึ่ง  สัตว์เลี้ยง ถึงแม้เกิดในถิ่นนี้ก็ไม่ควรจะให้อยู๋ในเขตอนุรักษ์อยู่แล้ว

เนื่องจากการเลี้ยง  และการเพาะพันธุโดยมนุษย์ก่อให้เกิด Genetic Drift & Phenotype & Gene Pool       ที่ี่แตกต่างจากสัตว์ในธรรมชาติ

อย่างควายป่า จริงๆ   ทั้งโลกผมว่า มีแค่ห้วยขาแข้ง ที่เดียว ที่เป้นสายพันธุ์ป่าจริงๆ  

เพราะในอินเดีย   และ เขมร มีชุมชนโดยรอบ   และมีประวัติว่ามีควายเลี้ยงเข้าไปปนครับ

แม้ควายป่า  และควายบ้านจะยังมีลักษณะคล้ายกันมากก็ตาม

 แต่ก็ไม่ได้หมายถึง ควายบ้านไม่มีปนะโยชน์ต่อการอนุรักษ์

 แต่มันสำคัญยิ่ง  แต่ต้องจัีดการด้วยนักวิชาการ ที่มีความรู้ด้านพันธุกรรมอนุรัีกษ์

เพราะควายป่าที่ห้วยขาแข้งมีแค่ 40-70 ตัว

ซึ่ง  ตามหลักพันธุศาสตร์อนุรักษ์ มันมีประชากรเล็กเิกนไป   และน่าจะมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกันหรือเลือดชิด
ดังนั้น พันธุกรรมของควายบ้าน โดยเฉพาะ พวกควายบ้านที่ อาจจะถูกจับมารุ่นหลังๆ   หรือ ได้ผสมกับควายป่าเมื่อ ร้อยกกว่าปีก่อน อาจจะยังมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับควายป่ามากๆ   คือยังไม่เกิด Genetic drift ในบางกลุ่มประชากรของควายเลี้ยง ซึ่ง  ต้องทำการศึกษา ด้วยวิธีทางพันธุศาสตร์ แล้วจึงสามารถนำมาเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมของควายป่าได้อย่างมั่นใจครับ

Paphmania  [ 03 มี.ค. 2553 01:16:28 ]
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 15:20:26 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ไก่แจ้ กับ ไก่ป่า ต้องจัดการให้ดีเลย

อย่างเขาพนมรุ้ง เคยมีไก่ป่าตามะรรมชาติอยู่เยอะแยะ ปัจจุบันมีคนนำไก่แจ้ไปปล่อย สรุป เกิดลูกผสม จนไก่ป่าแท้จะหมดจขากเข้าพนมรุ้งแล้ว

วัวบ้าน

ยังงงว่าทำไมกรมปศุสัตว์ ไม่ให้ความสำคัญเลย

จริงๆ   มันน่าจะมีเชื้อวัวแดง  หรือไม่แน่ บางกลุ่ม อาจจะมีเชื้อกูปรีอยู่ด้วยก็ได้นะครับ
ต้องช่วยกันอนุรักษืไว้ด้วย   แต่ไม่ได้ปล่อยให้มันอยู่ในป่า

Paphmania  [ 03 มี.ค. 2553 01:19:52 ]
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 15:21:28 ]
ความคิดเห็นที่: 4
อย่างหมาไทย เนี่ย ก็ต้องอนุรักษ์ เพราะ หมาไทย เรา มีอยู่สองสายพันธุ์ที่ถือว่าเป้นสายพันธุ์โบราณ คือ หมาไทยธรรมดา ตัวสีแดง หรือ ดิงโก้   และไทยหลังอาน

ซึ่ง  หมาหลังอานมีคนช่วยเหลือมันอย่างดี   แต่ไทยดิงโก้จะสูญพันธ์แล้ว

ซึ่ง  หมาดิงดิงโก้ น่าจะอยู่กับคนไทกะได  และมาเลย์ มานานกว่า 4000-6000 ปี มาแล้ว

แมวไทยก็ต้องอนุรักษ์ พวกลูกผสม ก็ทำหมันซะครับ
 
Paphmania  [ 03 มี.ค. 2553 01:22:37 ]
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 15:22:25 ]
ความคิดเห็นที่: 5
วัวไทย จะมีเชื้อสายวัวแดงปนอยู่บ้างหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ  แต่ว่า...
วัวแดงไม่ใช่บรรพบุรุษสายตรงของวัวไทยแน่นอนครับ  เพราะเคยมีรายงานวิจัยพันธุกรรมของวัวบ้าน พบว่า วัวไทย วัวอินเดีย(บราห์มัน, อินดู) วัวยุโรป(ชาโรเล่ส์) มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมในหมู่วัวบ้านด้วยกันเอง  มากกว่าที่จะใกล้ชิดกับวัวแดงหรือกระทิง

หมาไทย(ทั้งหลังอาน และหลังไม่อาน) ก็ไม่ได้มาจากหมาจิ้งจอกแน่นอน เพราะทั้งโครงสร้าง และพฤติกรรมต่างกันมาก  น่าจะเกี่ยวพันกับดิงโก้  แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่า ดิงโก้ในธรรมชาติเกิดก่อน แล้วถูกนำมาเลี้ยงภายหลัง หรือว่าหมาไทยเกิดก่อน(โดยมาจากเกรย์วูล์ฟ) แล้วไปหลงป่าในออสเตรเลีย กลายเป็นดิงโก้ไป?

แมวไทย ก็น่าจะมาจากตะวันออกกลางนั่นแหละครับ(ต้นกำเนิดแมวบ้านโดยมากมาจากแมวป่าอิยิปต์) แมวป่าในไทยไม่มีตัวไหนใกล้กับแมวบ้านเลย ยกเว้นเสือกระต่าย( แต่ก็ตัวโตกว่ามาก)

ส่วนพวกที่มาจากสัตว์ป่าท้องถิ่นจริงๆ  ก็มี เช่น ไก่บ้าน (ไก่แจ้ ไก่ชน) มาจากไก่ป่าท้องถิ่น  ควายบ้านก็มาจากควายป่าท้องถิ่นเช่นกัน   ส่วนเป็ด และห่านน่าจะมาจากเมืองจีน
...แก้ไขเมื่อ 04 มี.ค. 2553 17:50:37
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 16:57:16 ]
ความคิดเห็นที่: 6
 แต่ ถ้าจะมองในแง่ ความเป็นสิ่งแปลกปลอม? หรือ การคุกคามธรรมชาติ....?!?
จริงๆ แล้ว ทั้งหมาไทย แมวไทย วัวไทย ถูกเลี้ยงในภูมิภาคนี้มามากกว่า 200 ปีแล้ว
ดังนั้น ปัญหาที่เกิดจากตัวสัตว์เหล่านี้จริงๆ   น่าจะถูกกลืนจนเข้าสู่สมดุลย์ไปนานแล้ว
นอกจากจะมีปัจจัยอื่นๆ  ทำให้เกิดสภาพ"ความขัดแย้ง"ลุกลามขึ้นมาอีก  เช่นการจัดการของคน?

เช่น เมื่อก่อนมีพื้นที่ป่ามาก ตลอดจนมีผู้ล่าขนาดใหญ่อยู่ในธรรมชาติ เช่น เสือ จระเข้ ฯ ลฯ
วัวบ้าน หมาบ้าน หลุดเข้าป่าลึก ก็ถูกเสือจัดการ
ปลาต่างถิ่น หลุดลงแหล่งน้ำ ก็โดนจระเข้จัดการ
ในขณะที่ปัจจุบัน สัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่เหล่านั้นมีจำนวนน้อยลงมาก พวกสัตว์แปลกปลอมเหล่านี้ จึงมีโอกาสเข้าไปหากินในพื้นที่ป่าได้ง่ายขึ้นกระมัง

อีกกรณี เช่น หมาป่าดิงโก้ ในปัจจุบัน จะไปเรียกหมาป่าดิงโก้ว่าเป็นเอเลี่ยนของออสเตรเลีย ไม่ได้แน่นอน
เพราะมันปรับตัวกับสภาพแวดล้อม มานับพันกว่าปีแล้ว สัตว์อื่นๆ ที่อยู่ร่วมกับมัน ก็จูนสภาพร่วมกับมันมานานแล้วเช่นกัน
 ถ้าอยู่ๆ ไปเอามันออก? หรือไปไล่ล่าจนหมด? จะเอาตัวอะไรมาเป็นผู้ล่าแทนมัน? ในเมื่อผู้ล่าเก่าแก่ดั้งเดิม อย่างหมาป่าทัสเมเนียน ก็สูญพันธุ์ไปนานแล้วด้วย...
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 17:10:37 ]
ความคิดเห็นที่: 7
All domesticated dogs came from wolf (Canis lupus) population of central Asia or China and followed human throughout the world.
Ox came from Bos indicus an Asiatic auroch, fossil found in China and India, may be Thai some time in future??
...แก้ไขเมื่อ 04 มี.ค. 2553 17:47:35
waterpanda approve [ 04 มี.ค. 2553 17:45:30 ]
ความคิดเห็นที่: 8
คห.7  ผมว่า อลาสกันมาลามิวท์ หรือไซบีเรียนฮัสกี้ น่าจะมาจากหมาป่า(Canis lupus) แถบเหนือนะครับ?
เพราะดูๆ แล้ว โครงสร้าง และขน คล้ายหมาป่ายุโรปเหนือ มากกว่าหมาป่าเอเชียกลาง

ว่า แต่มีใครเคยวิเคราะห์พันธุกรรมหรือเปล่าครับ? หรือว่าจะมาจากหมาป่าเอเชียกลาง แล้วไปปรับสภาพจนมีลักษณะรูปร่างคล้ายหมาป่ายุโรปภายหลัง?
...แก้ไขเมื่อ 04 มี.ค. 2553 17:56:33
snakeeater approve [ 04 มี.ค. 2553 17:53:08 ]
ความคิดเห็นที่: 9
กรณีแมวบ้าน ขอยืนยันว่าไม่ได้อยู่จนสมดุลย์ เพราะยังมีการทำร้ายสัตว์ป่าพื้นเมืองเรื่อยๆ   และประชากรของแมวก็เพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ไม่ควรมี แล้วระยะเวลาสองร้อยปีมันน้อยเกินไปที่จะเห็นแนวโน้มความสมดุลย์ เพราะยังไม่เห็นจุดที่แมวบ้านมีจำนวนคงที่ แล้วสัตว์ที่ถูกล่าไม่ลงลด จนมาถึงแมวลดลง สัตว์ผู้ล่าเพิ่มขึ้นซึ่ง เท่ากับเพิ่งครบวงจรของมัน หรือแท้จริงวงจรนี้ไม่เป็นจริงในกรณีดังกล่าวก็เป็นได้ คือ แมวคุกคามสัตว์พื้นเมืองอย่างสมบูรณ์ โดยผู้ล่าพื้นเมืองทำอะไรไม่ได้มากนัก
knotsnake approve [ 05 มี.ค. 2553 09:27:15 ]
ความคิดเห็นที่: 10
มาย้อนดูว่า สัตว์ผู้ล่าของแมวบ้าน ในไทย น่าจะมีอะไรบ้างครับ?
เท่าที่มีข้อมูลชัวร์ๆ  ในปัจจุบัน ก็ งูเหลือม งูหลาม อาเฮีย...
ตอนนี้ก็มีเพียงอาเฮียเท่านั้น ที่ยังพออยู่ร่วมชุมชนกับคนได้...แม้จะถูกรังเกียจบ้าง
ส่วนอีกสองตัว ไปโผล่ที่ไหน คนก็วี้ดว้ายกระตู้ฮู้...จนโดนเนรเทศจากพื้นที่  ดังนั้นมันแทบไม่มีโอกาสเพิ่มจำนวนจนถึงจุดนั้นได้เลย

ส่วนพวกสัตว์ป่าอื่นๆ  เช่น หมาจิ้งจอก หมาไน เสือปลา เสือไฟ เสือดาว จระเข้ ฯ ลฯ  พวกนี้ผมไม่เคยได้ยินข้อมูลว่าจับแมวกินบ้างหรือไม่?  แต่ถึงยังไงๆ มันก็ไม่มีทางออกมาอาศัยในพื้นที่ชุมชน(ที่มีแมว และคนยึดครองอยู่)ได้อยู่แล้ว
...แก้ไขเมื่อ 05 มี.ค. 2553 15:17:20
snakeeater approve [ 05 มี.ค. 2553 15:16:29 ]
ความคิดเห็นที่: 11
การรุกรานของแมว และสุนัขเขตอุทยาน  ดูเหมือนจะสัมพันธ์กับการขยายพื้นที่ของคนนะครับ
เพราะเมื่อมีคนตั้งรกรากอยู่ สุนัข และแมวก็มีแหล่งอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารจากธรรมชาติล้วนๆ   ส่วนการไล่ล่าสัตว์เล็กๆ ก็เป็นอาหารเสริมหรืองานอดิเรกของมันแทน  ตัวห้ำต่างๆ ของมันก็ไม่กล้าเข้ามายุ่งเพราะส่วนมากจะไม่อยากเข้าใกล้คน

บางทีเมื่อร้อยปีก่อน อาจจะเคยเข้าสู่จุดสมดุลย์มาแล้วก็เป็นไปได้   แต่การขยายตัวของชุมชน ทำให้สมดุลย์ถูกคุกคามอีกครั้ง

เหมือนกรณีนกพิราบ(ตัวนี้มาจากไหนกันแน่?ผมอยากทราบข้อมูลเหมือนกัน แล้วเข้ามานานหรือยัง?)  ยิ่งมีการก่อสร้างอาคารสถานที่มากขึ้น นกพิราบยิ่งชอบ เพราะธรรมชาติมันไม่ทำรังตามต้นไม้  แต่ชอบทำรังตามซอกหินผา ซึ่ง มีลักษณะคล้ายซอกมุมตามตึกต่างๆ  ซึ่ง มันใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
... แต่ก็แปลก เจ้านกตัวนี้ไม่ยักมีคนนิยมเอามากิน ทั้งๆ ที่กินได้เหมือนกัน?  แต่กลับไปนิยมบริโภคสัตว์คุ้มครองบางชนิดที่มีจำนวนน้อยกว่า เช่น นกเป็ดน้ำ นกอีโก้ง งูสิง ฯ ลฯ
snakeeater approve [ 06 มี.ค. 2553 16:57:36 ]
MammalsPics_reply_155168.jpg
ความคิดเห็นที่: 12
จะว่าไป รสชาติก็พอใช้ได้ เหมือนนกกระทา...(ตัวนี้โดนแมวกัดตาย)
snakeeater approve [ 06 มี.ค. 2553 17:01:19 ]
ความคิดเห็นที่: 13
พอพูดถึงนกพิราบ ผมมักจะคิดว่ามันเป็นพาหะนำโรคทุกทีซิน่า
เลยไม่คิดว่าเนื้อมันสามารถนำมารับประทานได้ครับ เท็จจริงอย่างไรวานผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ
pixelchio approve [ 07 มี.ค. 2553 10:43:54 ]
ความคิดเห็นที่: 14
กินได้ครับทำให้สุก เอามาทอดกรอบก็ได้ เอามาย่างก็ได้ แต่ตัวจะเล็กไปหน่อย เอาไปตุ๋นน้ำแดงก็อร่อย
ตะขาบยักษ์ approve [ 08 มี.ค. 2553 10:53:14 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org