กระทู้-13880 : การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนตามทฤษฎี ดร. อากิระ มิยาวากิ

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนตามทฤษฎี ดร. อากิระ มิยาวากิ

หลักการ
1)  พันธุ์ไม้พื้นเมืองที่เกิดตามธรรมชาติ ในบริเวณที่จะทำการปลูก  (Original and local native species)
2)  การคัดเลือกโดยธรรมชาติตามทฤษฎีของ ชาล  ดาร์วิน  (The stronger must be survive)
3)  ปลูกแบบไม่เป็นแถวเป็นแนวตารางเมตรละ 4 - 5 ต้น เพื่อแข่งกันโต
4)  การใช้ฟางข้าวคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นให้ต้นไม้
5)  การทำเนินดินเพื่อให้เกิดการระบายน้ำที่ดี และเพิ่มพื้นที่หน้าดิน
6)  การขุดหลุมเพื่อผสมอินทรีย์วัตถุที่เป็นอาหารของต้นไม้  ที่ใช้สำหรับเป็นการอนุบาลต้นไม้ในระยะเวลา 1-3 ปี

ในระยะเวลา 1 ปี ต้นไม้จะโต 2 - 3 เมตร เช่น ประดู่ มะกล่ำ ปิ้ป  กระโดน ส่วนไม้โตช้าเช่น ยางนา ตะเคียน จะสูงราว 1 - 2.5 เมตร
...แก้ไขเมื่อ 06 มี.ค. 2553 19:21:11
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 19:19:28 ]
Nature__reply_155169.gif
ความคิดเห็นที่: 1
การเริ่มแรงร่วมใจเพื่อปลูกป่าใน สถานประกอบการ  ในโรงงาน  หรือที่สาธารณะ เพื่อเพิ่ม  ออ๊กซิเจนให้บรรยากาศ
ตามทฤษฎีของ  ดร. อากิระ  มิยาวากิ
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 19:33:39 ]
Nature__reply_155172.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ศาสตราจารย์ ดร. อากิระ  มิยาวากิ  สาทิตการปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนที่ประเทศมาเลเชีย
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 19:43:24 ]
Nature__reply_155175.gif
ความคิดเห็นที่: 3
ดร. อาคิระ  มิยาวากิ  กับกิจกรรมปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืน  ในสถานประกอบการที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 19:50:59 ]
Nature__reply_155178.gif
ความคิดเห็นที่: 4
การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนที่ โรงงาน โตโยต้า บ้านโพธิ จังหวัด ฉะเชิงเทรา  ตามหลักการของ  ดร. อาคิระ  มิยาวากิ
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 19:58:54 ]
Nature__reply_155197.gif
ความคิดเห็นที่: 5
การเก็บเมล็ดพันธุ์ แล้วนำมาเพาะในเรือน เพาะชำเพื่อเตรียม ปลูกป่าตามทฤษฎี  ดร. อากิระ  มิยาวากิ ในภาพคือต้นกล้า ของต้นสมอภิเภกที่เก็บเมล็ดพันธุ์ มาจากสวนรุกขชาติหนองตาอยู่  อัตราการงอก 95 - 100 % เพาะเมล็ดลงถุงใชเวลาประมาณ 3 - 4 อาทิตย์เมล็ดจะงอกออกมาพร้อมกัน
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 21:01:37 ]
Nature__reply_155199.gif
ความคิดเห็นที่: 6
กล้าของต้นมะกล่ำที่เก็บเมล็ด มาเพาะ เพื่อเตรียมปลูกป่าตามหลักการของ  ดร. อาคิระ  มิยาวากิ  อัตราการงอก อยู่ที่ 90 - 95 % เพาะลงถุงดำธรรมดา
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 21:06:18 ]
Nature__reply_155200.gif
ความคิดเห็นที่: 7
กล้าของต้นกระโดน  อัตราการงอก 70 - 80 % เก็บเมล็ดพันธ์มาจาก บริเวณข้างถนน สาย บายพาส ชลบุรี
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 21:12:31 ]
Nature__reply_155202.gif
ความคิดเห็นที่: 8
ป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนคือป่าที่สามารถดำรงค์อยู่อย่างถาวรด้วยระบบนิเวศทุกระบบไม่ว่าจะเป็น  บ้านเรือนที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม  สวนสาธารณะ  ที่ว่างริมบึง  ที่ไดก็ได้ทีเราจะสร้างตามหลักการของท่าน ศาสตราจารย์ ดร. อากิระ  มิยาวากิ  ที่ท่านนำเอาหลักเกณฑ์  ทางธรรมชาติเข้ามาประยุกต์ใช้  อย่างได้ผล ในหลายๆ ประเทศหลากหลายนิเวศ  แม้ แต่ในบ้านของเราเอง  ต้นไม้ ถ้าปลูกในใจคนจะเจริญงอกงามกว่าปลูกบนดิน
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 21:26:55 ]
ความคิดเห็นที่: 9
น่าสนใจมากครับ

ลักษณะการปลูกไม้ใหญ่ติดกันแบบนี้ เมื่อโตขึ้นใช้วิธีอย่างไรครับ?  ปล่อยให้มันแย่งชิงพื้นที่กันเอง หรือต้องมีการตัดสาง?
นณณ์ approve [ 06 มี.ค. 2553 21:37:59 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เข้าท่ามากครับท่าน เข้าท่ากว่าสร้างฝายเยอะเลย
GreenEyes approve [ 06 มี.ค. 2553 21:45:10 ]
ความคิดเห็นที่: 11
เออ ลืม พอดีวันก่อนไปอบรมเรือ่งการทำ CDM มา แล้วมีพูดถึงการสร้างภาพลักษณ์
แล้วเขายกตัวอย่างเรือ่ง ปลูกป่า กับ สร้างฝาย
ผมเลยมีโอกาสได้เล่าเรือ่งฝาย ในอีกมุมให้อาจารย์ฟัง เล่นเอาอึ้งกันพอควร

อาจารย์ก็มีวิสัยทัศน์นำเสนอว่า  ถ้าเราบอกพวกเอกชนว่าอย่าสร้าง อาจห้ามยาก
ทางออกที่น่าสนใจคือ สามารถแนะนำความรู้ว่าที่นี่ที่นั่นไม่ควรสร้าง เพราะอะไรยังไง
แล้วที่ไหนควรสร้าง ที่ไหนต้องการฝาย ก็ระบุไปเลย (พอไหวไหมหว่า)
เหมือนกับว่า ได้ภาพลักษณ์ใหม่ ไม่ใช่แค่สร้างฝายไปมั่วๆ   แต่สร้างในพื้นที่ที่เขาต้องการ ในป่าเสื่อมโทรมไรงี้
เขาจะได้เอาไปเกทับกับบริษัทอื่นต่อได้ บริษัทอื่นก็ย่อมต้องทำให้ถูกตามไปด้วย

เลยเอามาเสนอให้ชาวเราทราบกันครับ
GreenEyes approve [ 06 มี.ค. 2553 21:51:12 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เป็นไปตามทฤษฎีของ ชาร์ล  ดาร์วิน  ครับเหมือนป่าดงดิบในธรรมชาติ  เราต้องเข้าใจคอนเซปว่าเราปลุกป่าไม่ใช่ปลูกต้นไม้ครับ  สร้างระบบนิเวศของป่าเพื่อให้ป่าเป็นป่า   แต่เรามักจะติดกับการปลูกต้นไม้มากกว่าปลูกป่าเช่นปลูกเป็นแถวเป็นแนว  ซึ่ง ต้องใช้พื้นที่ และการดูแลรักษามากๆๆ   เหมือนตามสวนผลไม้  นั่นไม่ใช่หลักการของท่านอาจารย์  มิยาวากิ นะครับปลูกป่าก็ต้องสร้างนิเวศของป่า  ตามที่ท่านถามมา คืออย่าแยกอย่าตัด ต้นไม้ก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเขาจะปรับสภาพนิเวศของเขาเองโดยไม่ต้องใส่เสื้อสีเหลืองหรือสีแดงมาทะเลาะกันนะครับ  ลองปลูกตามทฤษฎีนี้ดูนะครับ  แรกๆ จะฝืนใจมาก แต่ผมทำมาแล้วตอนนี้ในโรงงานเรามีต้นไม้ป่า 12000 ต้น จำนวน 20 กว่าชนิด กำลังแข่งกันโตอย่างไม่หยุดยั้งครับ หลังจากปลูกแล้วหนึ่งปีอัตราการอยู่รอดของต้นไม้ 99.97% โดยไม่ต้องบำรักษาไดๆๆ ทั้งสิ้นครับ ต้นไม้เขาจะอยู่กันแบบซิมไบโอซิส  ไม่ใชแบบปาราซิส  เราต้องคอยกำจัดปาราซิสเช่นไม่เถาไม้โตไวอย่างกระถินณรงค์  กระถินยักษ์  ไมยลาปยักษ์ออกไป  หญ้าไม่ต้องกลัวครับครบหนึ่งปีไม่มีหญ้าขึ้นตามโคนต้นเลยจริงๆๆ ครับ
...แก้ไขเมื่อ 06 มี.ค. 2553 22:09:50
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 21:54:11 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนทำที่ไหนก็ได้นะครับขอให้ท่านมีใจที่รักจะปลูกป่า  ในบ้านเรา ในป่าอย่าปลูกป่ากันตามกระแสปลูกแล้วไม่โตสงสารหน่วยงานที่เขาเพาะพันธ์  แล้วปลูกเพื่อถ่ายรูปลงหนังสือพิมพ์เสร็จแล้วไม่มีไครไปดูแล ก็ไม่มีประโยชน์นะครับ  ก่อนจะปลูกป่าปลูกต้นไม้ สิ่งที่สำคัญปลูกต้นไม้ในใจเราให้โตก่อนครับ
...แก้ไขเมื่อ 06 มี.ค. 2553 22:11:31
bewin99 approve [ 06 มี.ค. 2553 22:00:29 ]
ความคิดเห็นที่: 14
มีเอกสารให้ดาวโหลด รึเปล่าครับ  คือผมมีที่อยู่ประมาณ3งาน  พื้นที่เดิมเป็นทุ่งนา ต่อมามีการถมที่ แต่ดินทีเอามาถมเป็นดินคล้ายลูกรัง ผมลองพยายามปลูก ตีนเป็ด คูน ปีบ  แต่ปัญหาคือมันโตช้ามาก บางต้นก็ตาย(ตายไปครึ่งนึง) ทั้งที่พวกนี้เป็นไม้โตเร็ว  ผมควรทำยังไงครับ ปลูกให้ชิดกันมากขึ้น ทำพูนดิน ขุดหลุมเพื่อเติมปุ๋ยคอก มีอะไรที่ควรทำอีกรึเปล่าครับ  ใจจริงผมตั้งใจปลูกป่าตามแนวคิดนี้แหละครับ ไม่ได้ตั้งใตทำสวน
ลืมไป น้ำใตดินผมเจาะน้ำบาดาลไว้ เจาะไปประมาณ ไม่ถึง 10 เมตร ก็เจอน้ำแล้วครับ พื้นที่ก็น่าจะปลูกพืชได้ดี แต่ทำไมต้นไม้โตช้ามาก
lerdchai_kwan approve [ 07 มี.ค. 2553 09:47:15 ]
Nature__reply_155288.gif
ความคิดเห็นที่: 15
ดีจังครับ ช่วยกันปลูกต้นไม้( และช่วยดูแล)เยอะๆ  ลดโลกร้อนๆๆๆๆๆ !
...แก้ไขเมื่อ 07 มี.ค. 2553 16:39:20
จอม approve [ 07 มี.ค. 2553 16:38:45 ]
ความคิดเห็นที่: 16
เอกสารพอมีอยู่ผมจะพยายามนำมาลงครับ แต่ขอตอบความเห็นที่ 14 ก่อนครับต้นตีนเป็ดไม่เหมาะที่จะปลูกป่าครับระบบรากเขาไม่แข็งแรงตีนเป็ดที่เราซื้อมาจะมาจากการตอนปักชำซึ่ง จะไม่มีรากแก้วครับ ทางที่ดีควรดูบริเวณรอบๆ ว่ามีต้นอะไรขึ้นแล้วไปขอกล้าที่ป่าไม้ทดลองปลูกก่อนนะครับ  การเตรียมดินนั้นสำคัญมากครับ  ก่อนอื่นต้องขุดดินลึกหนึ่งเมตรเพื่อทำให้ดินบริเวณที่จะปลูกออ่นตัวครับ  แล้วไม่ต้องทิ้งดินนะครับหาหญ้าแห้ง  ที่ผมใช้คือแกลบกับขี้เลื่อยผสมดินแล้วนำลงเป็นชั้นแรกต่อมาก็หาปุ๋ยอินทรีย์ไม่ต้องคิดอะไรมากมูลสัตว์ซากสัตว์ทุกชนิดอาหารที่ทานเหลือขยะ ยกเว้นถุงปลาสติกกับโพม ใส่เป็นชั้นที่สอง ชั้นที่จะปลูกจริงๆ ควรหาหน้าดินดีๆๆ มาผสมพร้อมอินทรีย์วัตถุ  หลักการคือหน้าดินต้องมีอินทรียวัตถุมากเพื่อรองรับการเจริญเติบโนระยะแรกครับส่วนชั้นรองลงมาก็ลดน้อยลง หญ้าหรือต้นไม่ที่เราถางก็นำมาผสมกับดินได้นะครับ  ส่วนที่ต้นไม้โตช้าน่าจะเกิดจากรฝืนธรรมชาติคือปลูกห่าง และปลูกแบบเป็นแถวเป็นแนว  เราปลูกป่า ไม่ใช่สวนผลไม้เราต้องทำให้ต้นไม้เขามีสภาพอย่าในป่านะครับ  ที่ผมแนะนำปลูกได้ทุกภาคเพาะง่ายโตไวไม่มีโรคก็  ประดู่  มะค่า มะเกลือ มะกล่ำ  โมกมัน  ปิ๊ป  พิกุล  พวกนี้เพาะเองง่ายมากโตไวขึ้นง่ายไม่มีโรค  การปลูกป่าต้องนำเมล็ดมาเพาะแล้วปลูกจะได้ผลมากกว่า  วิธีอื่นครับ  ระบบรากคือต้นไม้ที่มีรากแก้ว และมีใบเลี้ยงคู่  การปักชำตอนกิ่ง แยกหน่อ  ไม่เหมาะที่จะนำมาปลูกป่าครับ
bewin99 approve [ 07 มี.ค. 2553 18:59:54 ]
ความคิดเห็นที่: 17
พันธุ์ไม้ที่จะนำมาปลุกควรมีจำนวนทีหลากหลายที่ผมทำ แต่ละครั้งเราปลูกกันมากถึงยี่สิบกว่าชนิดเลย  ปลูกให้ถี่เขาจะแย่งกันโตเพื่อรับแสงแดด  ผมปลูกมาแล้วปีกว่า ไม่เคยฉีดยาฆ่าแมลง  ไม่ใส่ปุ๋ย  ถอนหญ้าบ้างช่วงแรกๆๆ  ถอนแล้วก็ทิ้งลงในแปลง รดน้ำช่วงหน้าแล้งบางครั้งบางคราว อัตราการโตของต้นไม้ อยู่ที่ สองเมตรความสูงเฉลี่ย อัตราการรอด 99.97% ทฤษฎีนี้ผมไม่เชื่อในตอนแรก แต่พอนำมาทำแล้วได้ผลอย่างมาก  ตอนท่านอาจารย์มิยาวากิ ท่านมาติดตามผล ท่านให้คะแนน 95% เลย  ปีนี้เราก็มีโครงการที่จะปลูกอีก 8000 ต้น จำนวนพันธุ์ไม้ 30 ชนิดเราเพาะเองทั้งหมดเลยครับ พวกเราทำงานในโรงงานไม่มีความรู้เรื่องการเกษตร แต่หลักการง่ายๆๆๆ ของท่านอาจารย์ที่นำมาเผยแพร่กับพวกเรา และเพียงแค่ปีเดียวเราปลูกต้นไม้กัน 12000 ต้นโดยไม่ตายเลยเป็นเรื่องที่แปลกมากครับ
bewin99 approve [ 07 มี.ค. 2553 19:18:47 ]
ความคิดเห็นที่: 18
สรุปนะครับ
1.ต้องเป็นไม้แถวนั้น พื้นบ้าน
2.ต้องเป็นต้นเพาะเมล็ด
3.ขุดหลุมลึก 1 เมตร ลองก้นหลุมด้วย อินทรีย์วัตถุอะไรก็ได้ เศษอาหาร เศษหญ้า
4.ปลูกถี่ๆ
5.อืมมมมม น้ำลดบ้างไม่ลดบ้างก็ได้
น่าจะหมดแล้ว รึเปล่า?
lerdchai_kwan approve [ 07 มี.ค. 2553 21:47:43 ]
ความคิดเห็นที่: 19
มองต่างมุมนะครับ พอดีผมมีคำถามอยู่นิดหน่อย คำถามแรก ปลูกเพราะ ? คำถามที่สอง ปลูกเพื่อ ?  ถ้าตอบได้ก็ปลูกเถอะครับ ที่เคยเจอมาที่ในเว็บนี้  และที่อื่นๆ  มักมาในรูปแบบเดียวกัน ปลูกเพราะกระแส ปลูกเพื่อลดโลกร้อน ปลูก เอาใจลูกค้า (ดร.มิยาวากิ มาปลูกที่ บ.โตโยต้าบ้านโพธิ์ โดยใช้ต้นไม้หลากหลาย  แต่ต้นไม้ที่ปลูกเป็นไม้ที่เหมาะสำหรับดูดคาบอนไดอ๊อกไซด์ทั้งนั้น ไม่มีไม้อื่นเลย แมลงกินไม้แล้วนกก็จะมา มันก็ใช่ครับ  แต่ ถ้าปลูกไม้แบบยั่งยืนแบบไหนดีครับ แบบของพ่อดีเรากว่าเยอะเลย ปลูกสามได้สี่ ปลูกตามพื้นที่ที่เหมาะสม ดร.มิยาวากิ เป็นคนที่นำเอาแบบของพ่อหลวงของเราไปปลูก แต่ยังไม่รู้ซึ้งถึงพื้นที่ของเราจริงๆ  ดีครับที่ท่านมาช่วยแนะนำ  แต่ทำไมพ่อเราบอกมาตั้งนานเรากลับไม่ปลูกหรือต้องบอกผ่านล่าม (ที่โตโยต้าบ้านโพธิ์ ผมก็ไปปลูกครับ)ขออนุญาตยกตัวอย่างคุณ หมี่ผัด การปลูกก็คล้ายกลับ ดร.มิยาวากิ  แต่โดนติโน่นตินี่ตลอด ในใจผมปลูกลดโลกร้อนปลูกอะไรก็ได้ที่ไหนก็ได้  แต่การปลูกเพื่ออนุรักษ์หรือการคงไว้ ปลูกอะไรต้องคิด ต้องศึกษา ที่ทำงานผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ใดๆ ทั้งสิ้น ผมคุยกับผู้บริหารของบริษัทฯ  ว่าเราควรปลูกไม้อยู่สองประเภทครับ คือไม้ดอก กับ ไม้แดก(ไม้กินผล)คนไม่ได้กินสัตว์ได้กินครับ ทุกวันนี้ที่ทำงานผมมีนกหรือสัตว์มาให้ชมอยู่เรื่อยๆ ครับ ปล.เป็นแค่ความเห็นของคนๆ เดียวนะครับ
noppadol approve [ 08 มี.ค. 2553 16:01:37 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 20
ตาม คห 14 คือ ก่อนหน้านี้ผมก็เคยคิดแบบ คห 19 ครับ คือ ไหนๆ จะปลูกแล้ว ก็ทำไมไม่ปลูกไม้ผลไปซะเลย ได้กินผลด้วย  แล้วผมก็หาพวก มะม่วง ขนุน ชมพู่ ฝรั่งมาปลูกบนพื้นที่เดียวกันนั้นแหละครับ เนื่องจากที่อยู่ไกลจากบ้าน จึงไม่ได้ไปดูแลลดน้ำบ่อยๆ  ตอนนั้นกะว่าปลูกทิ้งๆ ไว้เดี๋ยวก็โต ปรากฏว่า ไม้ผลส่วนใหญ่ตายเกือบหมด  ไม้ที่ทนอยู่ได้ กลับไม่ใช่ไม้ผล เป็นต้นคูน อินทนินน้ำ ตีนเป็ดนิดหน่อย ไม้ผลที่เหลืออยู่ มี แต่ฝรั่ง ชนิดเดียว   ผมเลยคิดเอาเองว่า ไม้ผลมันต้องได้รับการดูแลมากกว่าไม้ป่าทั่วไป ผมว่าในสภาพที่ดินเสื่อมโทรม น่าจะต้องปลูกไม้โตเร็วอะไรก็ได้ ให้ยืนต้นเป็นร่มเงา ลดควมร้อน เพิ่มความชื้นก่อนครับ จากความเห็นส่วนตัวนะครับ
lerdchai_kwan approve [ 08 มี.ค. 2553 18:50:51 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ถูกต้องครับ ยืนยันหลักการเดิมปลูกป่าในใจ  คนอื่นเขาไม่มาปลูกกับเราจะว่าอะไรก็ได้ ถ้ามัวเอาคำพูดคนอื่นมสเป็นเกณ ก้ไม่มีประโยชน์  ไม้พื้นบ้านเรามีเยอะครับ  อีกครั้งตีนเป็ดไม่ดี  ประดู่ปลูกง่ายกว่า เวลาขับรถไปทำงานสังเกตต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดเข้าไปดู มีเมล็ดเก็บมาเพาะ โตเอามาปลุก  เราปลูกป่าไม่ได้ทำสวนผลไม้   ถ้าทำสวนผลไม้ปลูกพืชเศรษฐกิจคิดอีกอย่างครับ  ถ้ามีโอกาศปีนี้ผมจะเชิญท่านที่สนใจมาร่วมปลูกกับผมนะครับ
bewin99 approve [ 08 มี.ค. 2553 19:16:23 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ความคิดเห็นที่ 19 ท่านอาจารย์มิยาวากิ  ท่านบอกว่านายหลวงเรานี่แหละเก่งกว่าไครเลย และท่านเองก็ จะเน้นเสมอว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเราคือพระมหากษัตรแห่งเกบตร  ที่สามารถทำฝนเทียมได้  ท่านก็ได้รับเครื่องราชอิสริยาพรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะ   แต่คนไทยเรามัว แต่ทะเลาะกัน  ท่านอาจารย์ท่านเคยไปเขาหินซ้อนท่านประทับใจกับโครงการของพระองค์ท่านพูดได้เลยนะว่าท่านเข้าใจอะไรมากกว่าคนไทยเราที่บอกว่าอนุรักษ์  ปลูกต้นไม้เพื่อพ่อ แต่ใจจริงทำเพื่อสร้างภาพ  อาจารย์  มิยาวากิ  ท่านคือนักปลูกป่า และท่านก็มิได้ยึดติดกับทฤษฎีอะไรมากมายมายเพียง แต่ขอให้ทุกคนมีใจที่จะปลูกเพื่อผลิตอากาศให้มวลสิ่งมีชีวิตเท่านั้น  ท่านอายุแปดสิบปีแล้ว แต่ยังตะเวณไปปลูกป่าทั่วโลกเราอายุเท่าไรกันปีหนึ่งปลูกต้นไม้กี่ต้นถามตัวเองบ้างไหม  ก่อนจะพูดคำว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ
bewin99 approve [ 08 มี.ค. 2553 19:29:44 ]
ความคิดเห็นที่: 23
ตอบความเห็นที่ 18 หลังปลูกเอาฟางข้าวหรือหญ้าแห้งมาคลุมครับ  ไม่เป็นแถวไม่เป็นแนว  โตแน่นอนไม่ต้องดูแลอะไรมาก  ที่สำคัญอย่าลืมใส่นะครับ  ใส่ใจ
bewin99 approve [ 08 มี.ค. 2553 19:33:09 ]
ความคิดเห็นที่: 24
โลกจะร้อนจะเย็นก็เรื่องของโลกมันคือกระแส ถ้าท่านปลูกต้นไม้ในใจท่านโตแล้วท่านจะปลูกที่ไหนมันก็โตท่านอาจารย์ มิยาวากิเขาสอนผมอย่างนั้น  ไอ้โลกจะเย็นจะร้อนผมคนเดียวท่านคนเดียวคงทำให้เย็นไม่ได้   แต่ผมประทับใจที่ท่านมาปลูกต้นไม้ใจผมจนมันโตเกินกระถางผมเลยต้องหาที่ปลูกใหม่  อย่าตามกระแส  อย่าโฆษณา  อย่าบ้าตามนาย ต้นไม้เขาไม่รู้เรื่องอะไรกับท่านหรอกนะครับ  ปลูกจนเขาโตแล้วไปนั่งคุยกับเขาดูท่านจะรู้เองว่าเขาต้องการอะไร
bewin99 approve [ 08 มี.ค. 2553 19:40:31 ]
ความคิดเห็นที่: 25
ผมเองก็ไม่เคยปลูกต้นไม้มาก่อนนะ แต่มาประทับใจกับ  ท่านอาจารย์ มาก และมีโอกาศดีที่ที่บริษัทมห้ความสำคัญจึงได้มีโอกาศทำเมื่อทำแล้วเห็นผลก็อยากบอกต่อๆๆ กับทุกท่านทีสนใจ  ก็เท่านั้นเอง ผมไม่ช่ NGO หรือ GREENPEACE บอกตามตรงไม่ชอบพฤติกรรมพวกนี้อยู่แล้ว  มันปลูกต้นไม้กันปีละกี่ต้นมาโวยวายว่าโลกร้อน มันรดน้ำต้นไม้ด้วยการเมืองเมื่อไรมันจะโต
bewin99 approve [ 08 มี.ค. 2553 19:58:16 ]
ความคิดเห็นที่: 26
ปลูกต้นไม้ดีมากๆ ครับ  แต่จะว่าปลูกต้นไม้เป็นกิจกรรมเดียวที่ลดโลกร้อนได้  และคนไม่ปลูกต้นไม้ไม่รักโลกก็คงไม่ใช่ การรักษ์โลกทำได้หลายวิธี ตาม แต่ละคนจะถนัดครับ เลิกเล่นคอมฯ แล้วปิดไฟนอนก็ช่วยโลกได้เช่นกัน ไปหล่ะ อิ อิ
นณณ์ approve [ 08 มี.ค. 2553 22:17:09 ]
ความคิดเห็นที่: 27
^ จิ้มไป 25
แต่ผมชอบนะ อย่างน้อยก็ดีกว่าคนที่ไม่ทำอะไรเลย ซึ่ง มีเยอะมาก
มีกลุ่มที่หัวแข็งช่วยประโคมข่าว ก็ยังดี


ไม้ผล ปลูกยากกว่า ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ผมก็ปลูก
แต่เอาจริงๆ มันก็รอดนะ  ถ้าแถวนั้นสิ่งแวดล้อมมันเอื้อพอ เช่น ดูจากสวนทิ้งร้างแถวบ้านที่อยู่ใกล้คลอง น้ำใต้ดินมันสูง

แต่ที่อื่นๆ ที่แล้งกว่ายากหน่อย บางทีอาจเพราะระบบมันไม่สมบูรณ์พอที่จะทิ้งไว้แบบไม่ดูแลแล้วมันจะโตเองได้ง่ายๆ  เหมือนพวกโรค+แมลงมันเยอะกว่าไม้อื่น ไม้อื่นที่โตเก่งกว่าก็ชนะไป

ยิ่งพวกผักนี่ยากจริงๆ  ไม่รู้ตามธรรมชาติมันอยู่กันยังไง ปลูกที แมลงมากันให้บรึม เพลี๊ยนี่ตัวดี ทั้งที่เดิมมันไม่มีแมลงอะไรสักอย่าง
...แก้ไขเมื่อ 08 มี.ค. 2553 22:20:18
GreenEyes approve [ 08 มี.ค. 2553 22:19:27 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ผักที่กินๆ ทั่วไปเกือบทั้งหมดไม่ใช่พืชพื้นเมืองของเราครับ ไม่ชอบอากาศแล้ง หรือดินแฉะ ศัตรูพืชที่ไม่เจาะจงอาหารก็ชอบเพราะกินง่าย ปลอดสารพิษสำหรับมัน( ถ้าคนไม่ใส่)

เท่าที่ผมปลูกพืชสารพัดก็ใช้หลักกรู  แต่อาจไปพ้องกับหลักการตามทฤษฎีต่างๆ นั้น ก็ได้ผลตามอัตตภาพ เพราะดินที่ปลูกก็ดินถมประกอบด้วยทราย เศษปูน หิน(ที่เหลือๆ ) ซากตึกเก่า จะเอาตามทฤษฎีตามที่ จขกท. กล่าวก็ทำได้ในหลักการ  แต่ประเด็นขุดดินเมตรนึงนี่เลิกคิดเลย เพราะผมขุดได้ลึกสุดๆ ก็ไม่เกินฟุตนึง ความลึกเฉลี่ยที่จะขุดได้ก็ประมาณครึ่งฟุต สิ่งที่ผมทำได้คือการคงพืชคลุมดินเพื่อไม่ให้แดด(ที่ร้อนจัดตอนนี้)ส่องถึงดินโดยตรง(ตอนยายมาระนองเล่นถอนซะเกลี้ยงเลย กลัวมันแย่งอาหารพืชหลักมั้ง)  แต่ผมเน้นพืชแด๊กกะดอก(เพราะไม่ได้มาปลูกป่า) ส่วนข้าว..ผมก็ปลูกเล่นๆ ไว้เพื่อทดลองอะไรสักหน่อย ทำให้เห็นชัดว่าชาวนาปัจจุบันหลงในวังวนของระบบทุนนิยม เศรษฐกิจมหภาพ หลงกระแสทั้งจากภาครัฐ  และเอกชน(ทั้งแหกตาโดยตรง  และผ่านกลไกภาครัฐ)
knotsnake approve [ 09 มี.ค. 2553 02:44:45 ]
ความคิดเห็นที่: 29
ปลูกข้าวไว้กินเองก็น่าจะทำได้นะครับ  แต่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องเอาไปนวด และสีอีก จำเป็นมั๊ยว่าต้องเข้าโรงสี  จำเป็นมั๊ยว่าต้องกินข้าวเป็นอาหารหลัก  ถ้าเราเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพด มัน ปลูกแล้ว เอาไปต้มกินได้เลย ไม่ต้องสี จะประหยัดพลังงานกว่ารึเปล่า ได้สารอาหารครบถ้วนรึเปล่า  อันนี้ผมคิดเองนะครับ ไม่ได้อิงทฤษฎีใดๆ
lerdchai approve [ 09 มี.ค. 2553 10:50:18 ]
ความคิดเห็นที่: 30
บ้านผมปลูก แต่ไม้ดอกกับไม้ดูสวยแหะ ผมมองไปในเชิงเศรษฐศาสตร์ และภูมิทัศน์ ว่าในบ้านเราปลูกไม้ผลไป ก็ไม่มีปัญญาดูแลให้ออกดอกผลได้เหมือนกับเกษตรกรมืออาชีพปลูก สู้ปลูกต้นไม้พืชต่างๆ ที่มีความสวยงามให้บ้านน่าอยู่ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพในบ้าน เป็นแหล่งอนุรักษ์พืชหายากบางชนิด แล้วพวกไม้ผลไม้กิน ปล่อยให้คนที่มีอาชีพทางด้านนี้เป็นผู้ผลิต  และอุดหนุนเค้าดีกว่า ทางเศรษฐศาสตร์คือเป็นการปล่อยให้กลุ่มคนที่ทำได้ดีกว่าเราทำในสิ่งที่เป็นอาชีพของเขา ในขณะที่เราก็ใช้พื้นที่ของเราในการทำสิ่งที่เค้าทำไม่ได้ ..... แต่อันนี้ก็มองต่างมุม!
...แก้ไขเมื่อ 10 มี.ค. 2553 00:31:05
นณณ์ approve [ 09 มี.ค. 2553 13:45:22 ]
ความคิดเห็นที่: 31
หลักการเดียวกับ FORRU ของภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ครับ
ทดลองทำกันมาเป็นสิบกว่าปีแล้ว ใช้ไม้พื้นเมือง ใช้พืชเบิกนำเรียกสัตว์มาขยายพันธุ์
มีการวัดการเปลี่ยนแปลง ใช้หลักการคัดเลือกตามธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงแทนที่

ผมรับทราบข้อมูลมาบ้างตั้ง แต่สมัยเรียนที่เชียงใหม่
ตอนนี้น่าจะมีอะไรให้ติดตามมากขึ้น ลองตามข้อมูลได้ที่เว็บครับ
http://www.forru.org/FORRUTh_Website/Pages/thhome.htm
ปีย์ [ 09 มี.ค. 2553 16:13:42 ]
ความคิดเห็นที่: 32
: lerdchai
ปลูกข้าวไว้กินเองก็น่าจะทำได้นะครับ   แต่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องเอาไปนวด  และสีอีก จำเป็นมั๊ยว่าต้องเข้าโรงสี  จำเป็นมั๊ยว่าต้องกินข้าวเป็นอาหารหลัก   ถ้าเราเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพด มัน ปลูกแล้ว เอาไปต้มกินได้เลย ไม่ต้องสี จะประหยัดพลังงานกว่ารึเปล่า ได้สารอาหารครบถ้วนรึเปล่า  อันนี้ผมคิดเองนะครับ ไม่ได้อิงทฤษฎีใดๆ  


ผมว่านะ  ถ้าข้าวโพดดีกว่าข้าว ก็คงไม่เหลือวัฒนธรรมกินข้าวมากจนถึงทุกวันนี้หรอกครับ (หมายถึงเอาเป็นอาหารหลัก  และรวมถึงข้าวชนิดอื่นที่มีการแปรรูปก่อนบริโภค)
knotsnake approve [ 09 มี.ค. 2553 16:16:55 ]
ความคิดเห็นที่: 33
: bewin99
ความคิดเห็นที่ 19 ท่านอาจารย์มิยาวากิ  ท่านบอกว่านายหลวงเรานี่แหละเก่งกว่าไครเลย  และท่านเองก็ จะเน้นเสมอว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเราคือพระมหากษัตรแห่งเกบตร  ที่สามารถทำฝนเทียมได้  ท่านก็ได้รับเครื่องราชอิสริยาพรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะ    แต่คนไทยเรามัว  แต่ทะเลาะกัน  ท่านอาจารย์ท่านเคยไปเขาหินซ้อนท่านประทับใจกับโครงการของพระองค์ท่านพูดได้เลยนะว่าท่านเข้าใจอะไรมากกว่าคนไทยเราที่บอกว่าอนุรักษ์  ปลูกต้นไม้เพื่อพ่อ  แต่ใจจริงทำเพื่อสร้างภาพ  อาจารย์  มิยาวากิ  ท่านคือนักปลูกป่า  และท่านก็มิได้ยึดติดกับทฤษฎีอะไรมากมายมายเพียง  แต่ขอให้ทุกคนมีใจที่จะปลูกเพื่อผลิตอากาศให้มวลสิ่งมีชีวิตเท่านั้น  ท่านอายุแปดสิบปีแล้ว  แต่ยังตะเวณไปปลูกป่าทั่วโลกเราอายุเท่าไรกันปีหนึ่งปลูกต้นไม้กี่ต้นถามตัวเองบ้างไหม  ก่อนจะพูดคำว่าอนุรักษ์ธรรมชาติ

ไม่ต้องตระเวณไปปลูกป่าทั่วโลกหรอกครับ มีนายตำรวจแก่ๆ คนหนึ่งของเมืองไทย เที่ยวปลูกต้นไม้จนใครๆ บอกว่าเขาเป็นคนบ้า ( แต่เป็นคนที่ผมนับมากๆ ) ลองไปหาดูนะครับว่าเขาคือใคร อันนี้สิของจริง 555 ปลูก ข่า ตระไคร้ ใบโหระพา พริก มะเขือ ก็ช่วยโลกได้ทั้งน้นแหละครับ ปลูกเพราะ? ปลูกเพื่อ? (ปล.ช่วยกันคิดช่วยกันค้านบทสรุปออกมาจะได้นำมาพัฒนาบ้านเราครับ)  ขอแสดงความนับถือ นพดล สุขเกษม
...แก้ไขเมื่อ 09 มี.ค. 2553 22:25:02
noppadol approve [ 09 มี.ค. 2553 22:24:27 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 34
ผมนั่งคิดเล่นๆ เฉยๆ  ครับเห็นชาวนาปลูกข้าวมาหลายชั่วอายุคนแล้ว  แต่ก็ยังถูกโรงสีเอาเปรียบเรื่อยมาก ชั่วลูกชั่วหลาน  น่าจะลองคิดหาพืชอาหารตัวใหม่มากินแทนข้าวดู เอาแบบปลูกแล้วกินได้เลย ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีใดๆ   เผื่อจะยากจนน้อยลงบ้าง
ผมเคยเห็นพวกม้งที่อยู่บนที่สูง ได้ยินว่าพวกนี้ปลูกผักเก่ง พอได้ไปสัมผัสเรียนรู้วิธีของเขาจริง พบว่าพวกเขาปลูกผักแบบปราณีตครับ ดูแลกันเป็นใบๆ เลยครับ จับหนอนออกที่ละตัวเลย ไม่ใส่ปุ๋ย ไม่มียาฆ่าแมลง  ปลูกแบบตั้งใจมากๆ  บางทีเคร็ดลับการทำอะไรยากๆ  อาจอยู่ที่ใจก็ได้ครับ
lerdchai approve [ 10 มี.ค. 2553 12:58:19 ]
ความคิดเห็นที่: 35
การปลูกไม้ผลให้โตนั้นผมเคยไปคุยกับยาย ยายเป็นคนที่ปลูกไม้อะไรก็งามมากไม้ผลที่ว่าปลูกยากๆ  ก็ปลูกจนโตมาแล้วปลูกโดยใช้เมล็ดตลอด มะละกอปลูกจนออกลูกดก และผลใหญ่จนต้นมันหักเพราะรับน้ำหนักของลูกไม่ไหว ต้องหาไม้มาค้ำ ไม่ได้ขายเลยเก็บกินไม่ทัน มะม่วงยายก็เอาเมล็ดของมะม่วงสุกที่เรากินนี่แหละครับพอกินเสร็จแกก็เอาไปจิ้มดินทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ แล้วปล่อยให้เทวดาเลี้ยงบ้างคนเลี้ยงบ้าง มันก็โตออกลูกมาเต็มต้น ถามยายว่ายายมีเคล็ดลับยังไง แกก็บอกว่าไม่มีอะไรอยากปลูกอะไรก็ปลูก ดูวันปลูก เวลาปลูกเท่านั้นเอง เท่าที่สังเกตก็จะเห็นแกเอาเมล็ดผักหรือผลไม้ที่จะปลูกไปปลูกตอนเช้า กับตอนเย็นเท่านั้นเอง  และจะไปเพาะกล้าใต้ร่มไม้ใหญ่ เพื่อเป็นร่มเงาให้กับต้นกล้า พอต้นใหญ่แข็งแรงถึงย้ายไปปลูกที่อื่น  แต่ ถ้าไปอยู่กลางแจ้งแดดแรงๆ  ก็ไม่รอดเหมือนกันครับ  แต่ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ยายปลูก ก็จะปลูกติดๆ กัน ใกล้กันให้ไม้เล็กอาศัยร่มเงาไม้ใหญ่ มีทั้งไม้ผล และไม้ป่าที่ใช้อาศัยร่มเงา รอบๆ บ้านเลยมีนก หนู แมลงมากมาย ให้ได้ดูเรื่อยๆ ครับ
ตะขาบยักษ์ approve [ 11 มี.ค. 2553 09:26:45 ]
ความคิดเห็นที่: 36
เราต้องลงมือปลูกเอง โตด้วยมือเราหรือตายด้วยมือเรา  ก็จะได้ความรู้ตายแล้วก็ปลูกใหม่อยู่ที่ว่าปลูกป่าในใจหรือเปล่า นี่คือสิ่งสำคัญ  ป่าไม้ตั้ง แต่ผมจำความใด้มี แต่ตัด  พอจะปลูกก็มาขัอแย้งกันเรื่องทฤษฎี  ฅึ่งส่วนมาก  คนพวกนี้ก็ไม่ได้ทำจริงๆๆ จังอะไร จนปัจจุบันนี้ มีอะไรเหลือบ้างครับ  ไม้สักที่จังหวัดแพร่  น่านเหลือสักกี่ต้นครับ เรามาเริ่มกันดีกว่านะ  ป่าไม้ต้นไม้เจริญเติบโตตาม  ธรรมชาติของเขา มันเกิดมาพร้อมกับไดโนเสาร์นั่นแหละครับ ตัวเราเองอาจมาจากไดโนเสาร์ ต้นมะม่วงมะปรางที่เรากินอยู่เมื่อก่อน ไดโนเสาร์ก็อาจกิน  ถ้ากินเขาอย่างเดียวไม่เพิ่ม จำนวนประชากรเขาต่อไป เขาก็ไม่มีให้เรากิน  เขาตายเราก็ตายด้วย สมัยนั้นก็แค่บริโภค  ด้วยการกิน  สมัยนี้มันบริโภคกันหลายทาง เอาไปแปรรูปทำกระดาษทำเฟอรนิเจอร์  ทำบ้านเรือนกัน เราเอาเปร๊ยบธรรมชาติมากไปหรือเปล่า เรามาสับสนหรือถกเถียงเกี่ยงกันเรื่องทฤษฎีมากไปหรือเปล่า   ถ้าไม่ใช่พรุ่งนี้ไปปลูกต้นไม้สักสิบต้นทำได้ไหมครับ
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 21:09:32 ]
Nature__reply_155626.gif
ความคิดเห็นที่: 37
โครงการแรกจำนวน 7000 ต้น พันธุ์ไม้  ยี่สิบชนิดเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  วันที่ 5 ธันวาคม 2551 มีพนักงาน และครอบครัวตลอดทั้งชาวบ้าน อบต.เด็กนักเรียนมาร่วมแรงร่วนใจกันปลูกต้นไม้กประมาณ 1300 คน บนพื้นที่ 1500 ตารางเมตรจำนวนต้นไม้ 7000 ต้น  การใช้พื้นที่น้อย แต่ปลูกมากจะช่วยทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น  การร่วมมือกันปลูกจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ และไม่อยากให้ไครมาทำลาย   และช่วยกันดูแลรักษาทุกวันที่เขามาทำงานเขาเห็นความเจรฺญเติบโตของต้นไม้ที่เขาปลูกเขาภูมิใจ และมั่นใจ บางคนก็มาขอกล้าที่เรือนเพาะชำแล้วนำกลับไปปลูกที่บ้านของตนเองตามวิธีการง่ายๆ นี้  นี่แหล่ะครับ ถ้าปลูกป่าในใจคนขึ้นแล้วปลูกที่ไหนก็ขึ้นก็โตตามที่ท่าน อาจารย์ มิยาวากิ ท่านสอนผมไว้  ไม่ต้องไปปลูกต้นไม้ที่ไหนให้มันไกลหรอกปลูกในใจเราให้โตก่อน
...แก้ไขเมื่อ 11 มี.ค. 2553 22:41:10
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 21:49:20 ]
Nature__reply_155627.gif
ความคิดเห็นที่: 38
หลังจากนั้น หกเดือนต้นไม้ก็จะโต อย่างในภาพที่เห็น  ถ่ายเมื่อ เดือนมิถุนายน 2552
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 21:57:18 ]
Nature__reply_155628.gif
ความคิดเห็นที่: 39
นี่เป็นอีกมุมหนึ่งที่เราร่วมกันปลูกเมื่อวันพ่อ ต้นไม้มีอายุ หนึ่งปีแล้วครับ
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 22:03:33 ]
Nature__reply_155629.gif
ความคิดเห็นที่: 40
สร้างเรือนเพาะชำเพื่อเก็บเมล็ดไม้ป่ามาเพาะกล้าเพื่อปลูก  ทำให้มั่นใจได้ว่า สามารถปลูก และเก็บต้นกล้าไว้ปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปี และสามารถคัดเลือกพันธ์ไม้ที่จะนำมาปลูกได้ สะสมพันธุ์ไม้ เก็บไว้ปลูกเสริมเหมือนเป็นที่ สะต๊อกเรามีกล้าไม้ตอนนี้ทั้งหมด 9000 ต้นจากพันธุ์ไม้ทั้งหมด 30 ชนิดเพื่อปลูกไม้เพื่อความยั่งยืนของป่าที่เราจะ  ปลูก ไม่ใช่ปลูกต้นสองต้นปีสองปีพอเบื่อแล้วทิ้งครับเราทำต่อเนื่องทุกวันทุกเดือนทุกปี  ตามหลักการของการปลูกป่าเชิงนิเวสแบบยั่งยืน  ไม่ใช่ทำแบบไฟลามทุ่งครับ ที่นี่คือป่า  จริงๆๆ  แต่ป้าผืนนี้กลับมาอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 22:19:17 ]
Nature__reply_155631.gif
ความคิดเห็นที่: 41
ก่อนการเตรียมดินเพื่อปลูก ต้องขุดหลุมเพื่อดู Soil Profile  และนำตัวอย่าดินไปวิเคราะห์เพื่อหาค่า N - P - K ของดิน ตามรูปเราส่งไปวิเคราะห์ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล บางพระ ผลคือ N - P - K ค่อนข้างต่ำ จึงต้องขุดหลุมหลึกหนึ่งเมตร และเตรียมปุ๋ยคอกผสมจำนวนมาก  ซึ่ง ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 22:27:53 ]
Nature__reply_155635.gif
ความคิดเห็นที่: 42
การอธิบาย และการสาทิตวิธีการปลูกก่อนเริ่มลงมือปลูกจากท่านอาจารย์ มิยาวากิ ทั้งได้ความรู้ และสนุกสนาน  และทำให้ทุกคนมีความรักที่จะปลูกป่า
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 22:59:17 ]
ความคิดเห็นที่: 43
วิธีการปลูกเนื่องจากเป็น Power point file ไม่สามารถโพสต์ลงที่นี่ได้ไครสนใจทิ้งเมล์ไว้ผมจะส่งไปให้ฟรีครับ
bewin99 approve [ 11 มี.ค. 2553 23:10:11 ]
ความคิดเห็นที่: 44
มาเลยครับ lerdchai_kwan@hotmail.com
lerdchai_kwan approve [ 12 มี.ค. 2553 02:51:33 ]
ความคิดเห็นที่: 45
ขอด้วยครับ
knight_nine@windowslive.com
ขอบคุณครับ
ตะขาบยักษ์ approve [ 12 มี.ค. 2553 08:35:47 ]
Nature__reply_155650
ความคิดเห็นที่: 46
เทคนิดการเพาะเมล็ดพันธุ์มะขามป้อม  นำเมล็ดห่อในสำลีหรือกระดาษทิชชู่  แล้วปิดฝาป้องกันน้ำละเหยออกนำไปไว้ในที่ร้อนประมาณ 1 อาทิตย์รากจะงอกออกมาก่อนประมาณ 1 ซม. จึงนำลงแปลงเพาะโรยดินกลบบางๆ   รอให้ต้นงอกประมาณ 5 - 10 ซม. แยกลงถุงดำ
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 14:54:57
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 13:16:34 ]
ความคิดเห็นที่: 47
สองท่านที่ขอมาผมส่งไปให้แล้วนะครับต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มก็ขอมานะครับยินดีที่จะค้นหาให้ครับ
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 14:52:48 ]
Nature__reply_155658.jpg
ความคิดเห็นที่: 48
กล้าของต้นพะยุง อีกหนึ่งชนิดที่เชื่อว่าเป็นไม้มงคล เราสามารถเพาะเอง และนำมาปลูก ได้ตามหลักการนี้
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 20:09:26 ]
Nature__reply_155659
ความคิดเห็นที่: 49
เพียงแค่เริ่มต้นลงมือทำที่ไหนก็ได้ บนพื้นดินแห่งนี้ แล้วป่าก็จะคืนกลับมา  อย่าขัดแย้งกับธรรมชาติ นี่คือยางนาที่มีสภาวะการงอกของเมล็ดสั้นมากๆๆ  อัตราการงอก 5 - 10 %  แต่ตามศูนย์เพาะชำกล้าไม้จะมีเทคนิคการเพาะที่สามารถทำให้อัตราการงอกมากขึ้นถึง 80 %
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 20:18:15
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 20:15:40 ]
Nature__reply_155661.gif
ความคิดเห็นที่: 50
เราดีใจเราภูมิใจเราสนุก เรามั่นใจป่าอยู่ในใจเราแล้ว
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 20:27:06 ]
Nature__reply_155662.gif
ความคิดเห็นที่: 51
เมล็ดโมกมันที่เราเก็บมาจาก สนามกอล์ฟไกล้ๆ  โรงงานเราเอามาเพาะกล้าเพื่อปลูกป่าเชิงนิเวสแบบยั่งยืน  โมกมันจะมีอัตราการงอก 95 - 100 % ขึ้นง่ายโตไว
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 20:36:02 ]
Nature__reply_155663.gif
ความคิดเห็นที่: 52
กล้าของต้นพิกุลที่เราเก็บเมล็ดมาจากถนนผ่านจากหน้านิคมเข้ามาในโรงงานแล้วนำมาเพาะเพื่อปลูกป่าเชิงนิเวสแบบยั่งยืน อัตราการงอก  90 - 95%  แต่การเจริญเติบโตจะช้าเพาะจัดอยู่ในประเภทไม้โตช้า ปลูกได้ทุกสภาวะพื้นที่ครับ ไม่ต้องไปที่ไหนไกลหรอกครับรอบตัวเราเคยเป็นป่ามาก่อนคืนธรรมชาติให้เขาเถอะครับ
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 20:45:29
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 20:44:17 ]
Nature__reply_155664.gif
ความคิดเห็นที่: 53
นี่กล้าของต้นกระโดนครับเก็บเมล็ดมาจากข้างถนนบายพาสชลบุรีอัตราการงอก 75 - 80 % เราก็เพาะขึ้นตามในรูปครับเราทำงานกันในโรงงานจะมีความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตร   แต่เราทำได้เพาะเราไม่ยึดติดกับอะไรเพียง แต่เราปลูกป่าในใจเราโตแล้วเท่านั้นเรื่องอื่นมันเล็กน้อยครับลองทำดู พรุ่งนี้ขับรถไปสังเกตข้างทางเจอตันไม้ใหญ่ลงไปดูเก็บเมล็ดมาเพาะโตเอาลงแปลงปลูกถี่ๆๆ แค่นั้นคุณก็ทำตามหลักการปลูกป่าเชิงนิเวสแบบยั่งยืนแล้วน้ำรดมั่งไม่รดมั่งไม่เป็นไร ง่ายๆๆ ตอนนี้ประดู่ดอกแก่พอที่เก็บมาเพาะแล้วลองออกไปเก็บแล้วหากะบะมาเพาะอย่างไงเขาก็โตแล้วแยกไปลงแปลงปลูกถี่ๆๆๆๆ ไม่เป็นแถวไม่เป็นแนวทำเท่านี้พอครับ ประดู่ปลูกง่ายกว่าถั่วงอกอีกครับ ทุกอย่างไม่มียากหรอกเริ่มต้นเลย
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 21:16:17
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 21:13:47 ]
ความคิดเห็นที่: 54
ผมรบกวนคุณbewin99 ส่งเอกสารให้ด้วยนะครับ จะนำไปเผยแพร่ให้พนักงานหรือผู้สนใจได้รับรู้ ขอบคุณมากครับ
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 21:17:32
noppadol approve [ 12 มี.ค. 2553 21:17:08 ]
ความคิดเห็นที่: 55
ต้นไม้ทุกชนิดที่ผมนำมาลงนี่ปลูกง่ายกว่าผักชีผักกาดผักคะน้าหรือถั่วงอกอีกนะครับโตแล้วโตเลยไม่ต้องห่วงไม่มีแมลงมากวนเขาไม้ป่าความต้านทานโรคสูงลองดูซิครับ
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 21:20:01 ]
ความคิดเห็นที่: 56
คุณ noppadol ขอเมล์ด้วยครับจะส่งไปให้ทันทีเลย
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 21:25:24 ]
ความคิดเห็นที่: 57
ขอบคุณครับตามนี้เลครับ noparnon@yahoo.co.th ขอบคุณมากครับ
noppadol approve [ 12 มี.ค. 2553 21:44:04 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 58
noparnon@yahoo.co.th  ส่งไปให้แล้วนะครับขอให้มีความสุขกับการปลูกต้นไม้นะครับ แล้วก็มีป่าสักผืนในบ้านของท่านครับ
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 22:44:09 ]
ความคิดเห็นที่: 59
ง่ายๆๆ หากะละมังเก่าๆๆ ใส่ดินดีๆๆ ไปซื้อตามร้านขายต้นไม้ ออกจากบ้านสังเกตไม้ใหญ่  ประดู่มะขาม คูณจามจุรี ตะแบกนนทรีก็เยอะช่วงนี้ เก็บเมล็ดมาใส่กะละมัง   ถ้าจะให้ดีแช่น้ำทิ้งใว้สักคืนแล้วเอามาเพาะ สองอาทิตย์เริ่มงอก ซื้อถุงดำเตรียมแยกต้นกล้า เลี้ยงไว้ในถุงดำจนสูง หนึ่งฟุต  เตรียมดินปลูกขุดหลุมลึกพอประมาณ  เอาปุ๋ยคอกเศษไม้เศษอาหารผสมดินที่ขุดแล้วมูลให้เป็นเนิน พอกล้าโตได้ที่ก็ชวนกันมาปลูก ไครอยากปลูกอะไรตรงไหนก็ใส่เลยอย่าไปคิดดมากครับแล้วหาหญ้าแห้งหรือฟางข้าวมาคลุมรดน้ำสักหน่อยปล่อยไว้แล้วดูความเปลี่ยนแปลง หกเดือนถึงหนึ่งปีต้นไม้จะสูงหนึ่งถึงสองเมตร ปลูกถี่ๆๆๆ ไม่เป็นแถวไม่เป็นแนวคือเทคนิคสำคัญแรกๆๆ ฝืนความรู้สูกมากพอแปลงแรกเห็นผลก็ทำแปลงต่อไป ลองหาพันธุ์ไม้อื่นมาทำบ้าง แต่จำไว้ห้ามนำไม้เศรษฐกิจมาปลูกมันตายชัวร์ครับ
ไม้ทีแนะนำตามนี้นะรายละเอียดเปิดหาดูจาก กูเกิ้ลก็ได้ แต่เดินไปหาดูจะได้ความรู้มากกว่าอีกทั้งยังสามารถจำแนกพันธุ์ไม้ได้เอง ถ้าไม่รู้จักไม้นะหายากมากๆๆ แรกผมก็เป็นพอไปหามาเองจะจำได้ลองทำดูครับสนุกไม่ต้องไปยึดติดกับอะไร  อาจารย์ มิยาวากิท่านสอนผมไว้
มะค่า (Afzelia xylocarpa Craib.)
สมอภิเภก(Terminalia bellerica Roxb.)
มะกล่ำ(Adenanthera pavonina Linn.)
พิกุล(Mimusops elengi Linn. )
โมก (Wrightia religiosa Benth.)
ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz)
นนทรี (Peltophorum pterocarpum (DC.)
มะเกลือ(Diospyros mollis Griff.)
พยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre)
ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don)
ตะเคียน  (Hopea odorata Roxb.)
ติ้ว  (Cratoxylum formosum(Jack.) Dyer.)
พิลังกาสา (Ardisia polycephala Wall.)
สารภีทะเล (Calophyllum inophyllum Linn.)
พยอม (Shorea roxburghii  G.Don)
มะขาม (Tamarindus indica,Linn.)
จันทร์เทศ(Myristica fragrans Houtt.)
จำปา (Michelia champaca Linn.)
กระดังงาสงขลา(Cananga odorata Hook.f. et Th.)
กระบก (Irvingia malayana Oliv.ex A. w. Benn.)
กระโดน (Careya sphaerica Roxb.)
มะหาด (Aetocarpus lakoocha Roxb.)
สะเดา(Azadirachta indica Juss.)
ขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt.)
ตะแบก (Lagerstroemia Calyculata.)
หว้า (Eugenia cumini Druce)
ปิ๊ป (Millingtonia hortensis Linn.)
กฤษณา (Aquilaria crassna Pierre ex Lec.)
จันทร์หอม(Diospyros decandra Lour.)
จำปูน (Anaxagorea javanica Blume.)
จำปา (Michelia champaca Linn.)
เฉียงพร้านางแอ (Carallia Brachiata Lb., C. Integerrima.)
ขันทองพยาบาท (Suregada multiflorum (A.Juss.) Baill.)
อินทนิน (Lagerstroemia macrocarpa Wall.)
มะกอก (Spondias bipinnata Airy shaw & Forman ANACARDIACEAE)
ไข่เน่า (Vitex glabrata R. Br.)
เกศ
มะนาวผี (Atalantia monophylla. Correa.)
ชะมวง (Garcinia cowa Roxb. )
ย่านางต้น
อัมพวา หายากมากๆๆ
มะขามป้อม
ชำมะเรียง
ชะมวง
ไม่ต้องตกใจนะพวกนี้อยู่รอบๆๆ บ้านเราทั้งนั้นเพียง แต่เราดูต้นไม้ไม่เป็น  ก็ไปหาดูถามเขามั่งใช้เนตช่วยหาข้อมูลมั่งเป็นสักสองสามชนิดแล้วเดี๋ยวก็ไปได้เอง   สนุกครับวันหยุดไปที่สวนสมุนไพรที่เทพที่ระยอง  หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลบางพระต้นไม้มีชื่อบอกทุกต้นไปแบบนี้ก่อนแล้วถ่ายรูปเก็บไว้ก็จะดูต้นไม้เป็นเองครับ
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 23:05:27 ]
ความคิดเห็นที่: 60
http://www.youtube.com/watch?v=XfgNh9gXeFA

นี่คือศูนย์รวม และบิดาแห่งการปลูกต้นไม้นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าทฤษฎีไดๆๆ นะครับ ขอให้เข้าไปดูตามลิงค์แล้วจะทราบ และมีกำลังใจที่จะปลูกต้นไม้ครับ
...แก้ไขเมื่อ 12 มี.ค. 2553 23:17:57
bewin99 approve [ 12 มี.ค. 2553 23:10:10 ]
Nature__reply_155688.gif
ความคิดเห็นที่: 61
กล้าต้นพิกุลทั้งหมดประมาณ หนึ่งพันต้นเก็บเมล็ดมาเพาะเองช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีที่แล้วบางส่วนได้ถูกนำไปปลูก ป่าเชิงนิเวสแบบยั่งยืนแล้วครับ
bewin99 approve [ 13 มี.ค. 2553 10:18:05 ]
Nature__reply_155689.gif
ความคิดเห็นที่: 62
มะกล่ำต้นเก็บเมล็ดมาจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
bewin99 approve [ 13 มี.ค. 2553 10:23:05 ]
ความคิดเห็นที่: 63
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้

       

หน่วยงานในสังกัดส่วนเพาะชำกล้าไม้
สำนักส่งเสริมการปลูกป่า
ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
สถานที่ตั้ง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
ชนิดกล้าไม้ที่เพาะ

ที่ทำงาน
มือถือ

1. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ราชบุรี
ตู้ ปณ. 57  ต. เกาะพลับพลา อ. เมือง จ.ราชบุรี 70000
0 3231 2103
0 8587 49229


   นายเสริมยศ  ชำนาญค้า
 
 
 
 

2. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้จันทบุรี
หมู่ 3 ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี 22140
0 8478 24305
0 8591 93633


   นายบัญชา  เจริญพงศ์
 
 
 
 

3. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ กรุงเทพฯ
ถ.เลียบคลองลากฆ้อน  หมู่ 2 ต.หน้าไม้  อ.ลาดหลุมแก้ว
0 2977 6858
0 8902 89712


   นายนพดล   โอภาสเสถียร
จ.ปทุมธานี  12140
 
 
 

4. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฉะเชิงเทรา
21/6 หมู่ 12 บ้านหนองชุมพร ต.ปากน้ำ อ.บางคล้า
0 8129 49147
0 8192 51035


   นางสาวเมตตา  ปังประเสริฐ
จ.ฉะเชิงเทรา   24110
 
 
 

5. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้นครราชสีมา
ถ.นครราชสีมา-ปักธงชัย ต.ปรุใหญ่  อ.เมือง  
0 4422 2201
0 8187 71589


   นายสมัย  สีโท
จ.นครราชสีมา 30000
FAX. 0 4422 2397
 
 

6. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้มหาสารคาม
บ้านกู่ทอง  ต. กู่ทอง  อ. เชียงยืน จ.มหาสารคาม 44160
0 4337 0571-2
0 8971 07103


  นางรื่นฤดี  วนัสสกุล
 
FAX.0 4337 0575
 
 

7. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ยโสธร
หมู่ 6 บ้านคำบอน ต. ดู่ทุ่ง  อ. เมือง  จ. ยโสธร  35000
0 4558 2575-6
0 8161 10862


   นายวินัย  ปราสาทศรี
 
FAX.0 4558 2575-6
 
 

8. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้อุดรธานี
หมู่ 10 บ้านคำกลิ้ง  ต. บ้านจั่น  อ. เมือง จ.อุดรธานี
0 4229 2411
0 8176 84949


   นายไพสิฐ  เลิศพุทธิพงศ์พร
41000
FAX.0 4229 2411
 
 

9.ศูนย์เพาะชำกล้าไม้เชียงใหม่
71 หมู่ 1 ต.บ้านสหกรณ์  กิ่งอ. แม่ออน  จ. เชียงใหม่
0 5388 0793
0 8658 68877


   นางอภิระมน  ฐิติชยาภรณ์
50130
FAX. 0 5388 0793
 
 

10. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้แพร่
305 หมู่ 10 ต.แม่จั๊ว อ.เด่นชัย จ.แพร่ 54110
0 5461 4282
0 8192 56758


   นายศิริชัย    รัตนภาค
 
FAX.0 5461 4282
 
 

11. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้เพชรบูรณ์
หมู่ 12 ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67210
 
0 8620 20410


   นายพรพรหม   ธเนศอนันต์
 
 
 
 

12. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ชุมพร
หมู่ 6 ต.ทรัพย์อนันต์  อ. ท่าแซะ จ. ชุมพร 86140
0 7752 0157
0 8983 77516


   นายถมยา  ยินเจริญ
 
FAX.0 7752 0157
 
 

13. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้สงขลา
ต. ฉลุง  อ. หาดใหญ่  จ. สงขลา  90110
0 7439 8211
0 8631 63616


   นายสามารถ ขุนศรีหวาน
 
FAX.0 7439 8211
 
 

14. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้พัทลุง
หมู่ 1 ต.ป่าพะยอม อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110
0 7484 1207
0 8912 83166


   นายวัชรินทร์  วิเชียรนพรัตน์
 
FAX. 0 7484 1207
 
 


 
 
 
 

15. โครงการพัฒนาป่าไม้ทุ่งกุลาร้องไห้ (1) จังหวัดร้อยเอ็ด
บ้านสระคู  ต.สระคู  อ.สุวรรณภูมิ  จ.ร้อยเอ็ด  45130
0 4358 0507
0 8196 40943


   นายสมศักดิ์  วนัสสกุล
 
 
 
 

16. โครงการพัฒนาป่าไม้ทุ่งกุลาร้องไห้ (2) จังหวัดศรีสะเกษ
บ้านผิผ่วน หมู่ 5 ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร  35160
0 4561 2877
0 8172 53166


   นายชวน  ธีรวุฒิอุดม
 
FAX 0 4561 2877
 
 

17.  สถานีเพาะชำกล้าไม้บ้านนา จังหวัดนครนายก
ต.ศรีกระอาง อ.บ้านนา จ.นครนายก  26110
 
0 8180 76052


   นางสาววันทนี  ลาภะสิทธินุกุล
 
 
 
 

18.  สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสมุทรปราการ
ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ  10130
 
0 8556 77719


   นายธนรินทร์   สุกปลั่ง
 
 
 
 

19. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมู่ 4 บ้านบางพระครู ต.บางพระครู  อ.นครหลวง  
 
0 8197 70304


    นายธงไชย   สุขแก้ว
จ.อยุธยา  13260
 
 
 


       









หน่วยงานในสังกัด
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้

สถานที่ตั้ง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ

ที่ทำงาน
มือถือ

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่)
164/1 ถ.เจริญประเทศ  ต.ช้างคลาน  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  50100
0 5381 8066
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเชียงใหม่  
หมู่ 7 ต.น้ำแพร่  อ.หางดง  จ.เชียงใหม่  50230
 
0 8562 54053

   นายสยาม  อินทาโถ
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้ (แม่แตง)
96 หมู่ 7 ต.ขี้เหล็ก  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่  50150
0 8980 31299
 

   นายศิริชัย    ทองประเสริฐ
 
 
 

3.สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน
612 บ้านดรสลัด หมู่ 6 ต.แม่สะเรียง  อ.แม่สะเรียง  
0 8643 02745
 

   นายทนงศักดิ์  แสงประสิทธิ์
จ. แม่ฮ่องสอน 58110
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดลำพูน
หมู่ 10 ต.ทาขุมเงิน  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน  51170
 
0 8195 28988

   นายอุทัยวุฒิ  เสาร์ชัย
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย)
สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดเชียงราย(เดิม) อ.เมือง จ.เชียงราย  57000
0 5371 1445
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเชียงราย
ตู้ ปณ.123 หมู่ 5 ต.แม่คำ  อ.แม่จัน  จ.เชียงราย  
0 5377 9214
0 8188 55447

   นายเกรียงกริช  อรรฐาเมศร์
57240
FAX.0 5377 9214
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพะเยา
หมู่ 5 ต.บ้านใหม่  อ.เมือง  จ.พะเยา  56000
 
0 8995 34296

   นายสุเทพ  ลิขิตแสนภู
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดน่าน
หมู่ 3 บ้านศรีเกิด ต.ไชยสถาน  อ.เมือง  จ.น่าน  55000
FAX.0 5433 5367
0 8970 04194

   นายสมศักดิ์  โคตะมะ
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง)
สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดลำปาง(เดิม) อ.เมือง จ.ลำปาง  52000
0 5422 8081
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดลำปาง
กม.ที่ 668-669 ถ.พหลโยธิน หมู่ 3 ต.แม่หวด  อ.งาว  
 
0 8618 13003

   นายขวัญชัย  ใจเฉพาะ
จ.ลำปาง 52110
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดแพร่
140 หมู่ 7 ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่
 
0 8199 32415

   นายสุภกิจ  สืบสุโกศล
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุตรดิตถ์
หมู่ 5 บ้านแม่เฉย ต.บ้านด่านนาขาม  อ.เมือง  จ.อุตรดิตถ์  
 
0 8197 18064

   นายมนูญ  แออ่วม
53000
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก)
สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดตาก(เดิม)  อ.เมือง  จ.ตาก  63000
0 5551 1142  ต่อ  463
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดตาก
บ้านท่าตะคร้อ ต.ประดาง กิ่ง  อ.วังเจ้า  จ.ตาก  63000
 
0 8174 05631

   นางกนิษฐรัตน์  เย็นกาย
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพิษณุโลก
หมู่ 5 ต.ดินทอง  อ.วังทอง  จ.พิษณุโลก  65130
 
0 8167 43663

   นายสมบูรณ์    รัตนะชีวะกุล
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุโขทัย
หมู่ 5 ต.นาทุ่ง  อ.สวรรคโลก  จ.สุโขทัย  64110
 
0 8188 83348

   นายทัศนัย  จิตต์ผ่อง
 
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกำแพงเพชร
ตู้ ปณ.75  อ.เมืองกำแพงเพชร  จ.กำแพงเพชร  62000
 
0 8195 38206

   นายสมคะเน  ปิยนลินมาศ
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 (สระบุรี)
เลขที่  154/1  หมู่ที่ 1 ต.มิตรภาพ  อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี  18180
0 3622 7257
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสระบุรี
ต.พุแค  อ.เมือง  จ.สระบุรี  18240
 
0 8992 55415

   นายกิติพัฒน์  ธาราภิบาล
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้ (มวกเหล็ก)
ต.มิตรภาพ  อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี  18180
 
 

   นายบุญสืบ  หนูประชุม
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอ่างทอง
หมู่ 6 ต.บางเจ้าฉ่า  อ.โพธิ์ทอง  จ.อ่างทอง  14120
 
0 8970 87224

   นายภควัฏ  บุญประกอบ
 
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสิงห์บุรี
หมู่ 6 ต.ห้วยชัน  อ.อินทร์บุรี  จ.สิงห์บุรี  16110
 
0 8974 19006

   นายชัยนาจ   ภู่เพชร
 
 
 

5. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชัยนาท
หมู่ 4 ต.บางหลวง  อ.สรรพยา  จ.ชัยนาท  17150
 
0 8195 03435

   นายพิชัย  เหล่าตระกูล
 
 
 

6. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดลพบุรี
ต.โคกตูม  อ.เมือง จ.ลพบุรี   15210
0 3642 2777
0 8416 04634

    นายถนอมพงษ์  สังข์ธูป
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี)
75  ถ.ศรีสุข  ต.หมวกแข้ง  อ.เมือง  จ.อุดรธานี  41000
0 4221 1779
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุดรธานี
บ้านเก่าน้อย  หมู่ 7  ต.หนองบัว  อ.เมือง  จ.อุดรธานี
 
0 8147 10400

   นายอภิเดช  เตียวศิริทรัพย์
41000
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเลย
หมู่ 3 ต.น้ำสวย  อ.เมือง  จ.เลย  42000
0 8187 18789
 

   นายนพคุณ   วงศ์สง่า
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดหนองบัวลำภู
หมู่ 3 ต.บ้านขาม อ.เมือง  จ.หนองบัวลำภู  39000
 
0 8187 27239

   นายสุธน กมลบูรณ์
 
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดหนองคาย
หมู่ 11 ต.หาดคำ  อ.เมือง  จ.หนองคาย  43000
 
0 8196 40104

   นางนิตยา  คล้ายแก้ว
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น)
ศูนย์ส่งเสริมการปลูกป่า 5 จังหวัดมหาสารคาม บ้านกู่ทอง ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน  จ.มหาสารคาม  44160
0 4337 0576
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดขอนแก่น
บ้านโนนสวรรค์ ต.โนนสมบูรณ์  กิ่ง อ.บ้านแฮด    
 
0 8139 06311

   นายสราวุธ   สุโพธิ์
จ.ขอนแก่น 40110
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดมหาสารคาม
ต.หัวขวาง  อ.โกสุมพิสัย  จ.มหาสารคาม
 
0 81615 4605

   นางสาวชลลดา  ศรีพิมพ์
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่ 4 บ้านแก ต.อิตื้อ  อ.ยางตลาด  จ.กาฬสินธุ์  46120
 
0 8196 51659

   นายอรุณ    สุทธิรักษ์
 
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดร้อยเอ็ด
หมู่ 2 ต.ขวัญเมือง  อ.เสลภูมิ  จ.ร้อยเอ็ด  45120
 
0 8197 41892

   นายสำรวย  สุดเฉลียว
 
 
 

5. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดมุกดาหาร
หมู่ 1 บ้านคำป่าหลาย ต.คำป่าหลาย  อ.เมือง  จ.มุกดาหาร
 
 

   นายชลวิทย์  นามจันทรา
49000
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา)
591  หมู่ 7 ต.ปรุใหญ่  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา  30000
0 4422 2201
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้หนองเต็ง-จักราช
หมู่ 5 ต.ช้างทอง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา 30230
0 4422 2201-2
0 8138 99100

   นายสุรพงษ์  คงมิยา
 
FAX. 0 4422 2397
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุรินทร์
1/4 หมู่ 2 ต.น้ำเขียว  อ.รัตนบุรี  จ.สุรินทร์  32130
0 8958 05152
0 8179 04860

   นายสุรพล  กลิ่นพันธุ์
 
 
 

3.สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดบุรีรัมย์
หมู่ 11 ต.คูเมือง  อ.คูเมือง  จ.บุรีรัมย์  31190
0 4422 2201-2
0 8187 98694

   นายชวลิต  กาญจนธัญลักษณ์
 
FAX. 0 4422 2397
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
ต.ตาจง   อ.ละหานทราย  จ.บุรีรัมย์  31170
 
0 8126 57889

   นางดารณี  สีโท
 
 
 

5. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชัยภูมิ
ต.ช่อระกา  อ.เมือง  จ.ชัยภูมิ  36000
FAX. 0 4481 1478
0 8176 02620

   นายมนตรี  มะลิทอง
 
 
 

6. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดศรีสะเกษ
138 หมู่ 3 ต.หนองไผ่  อ.เมือง  จ.ศรีสะเกษ  33000
0 4504 3807
0 8964 50011

   นายประธาน ตันรุ่งเรืองกิจ
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)
อาคารสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)  ชั้น 3  31/2          ถ.พระยาสัจจา  หมู่ที่ 4 ต.บ้านสวน  อ.เมือง  จ.ชลบุรี  20000
0 3827 2140
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชลบุรี
หมู่ 4 ต.บางพระ  อ.ศรีราชา  จ.ชลบุรี  20160
 
0 8983 25980

    นายสุพจน์  กุลประยงค์
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดระยอง
บ้านหนองสนม ต.เนินพระ  อ.เมือง  จ.ระยอง  20110
0 8983 18817
0 8912 50205

    นายอูฐ  เชาวน์ทวี
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดจันทบุรี
16/9 หมู่ 6 บ้านอ่าง ต.อ่างคีรี  อ.มะขาม  จ.จันทบุรี  
0 3827 2143
0 8408 37614

    นายสละ  เขตรเขื่อน
22150
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดตราด
บ้านสุขสันต์ หมู่ 1 ต.ด่านชุมพล  อ.บ่อไร่  จ.ตราด  
 
0 8169 98292

    นายสุชาติ  ทิมแก้ว
23140
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10  (ราชบุรี)
เลขที่  256  ถ.ค่ายหลวง  อ.บ้านโป่ง  จ.ราชบุรี  70110
0 3220 1395
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาญจนบุรี
ต.ม่วงชุม  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี  71110
 
0 8192 76144

   นางสาวสมจิตร์  หวังดิลก
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้พุทธมณฑล
ถ.พุทธมณฑลสาย 4  ต.ศาลายา  กิ่ง อ.พุทธมณฑล  
 
0 8145 71304

   นายฉัตรชัย  อรรถวิทย์
จ.นครปฐม  73171
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุพรรณบุรี
หมู่ 10 ต.เขาพระ  อ.เดิมบางนางบวช  จ.สุพรรณบุรี  
 
0 8675 55534

   นายเทอดธรรม   จักรนารายณ์
72120
 
 

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสมุทรสาคร
สนง.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร
FAX.0 3481 0300
0 8983 62767

   นายธวัชชัย  ลัดกรูด
ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครชั้น4 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
 
 

5. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดเพชรบุรี
ต.ชะอำ  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี  76120
0 3243 3883 ต่อ 124
0 8185 34848

   นายเสรี  รัตนเย็นใจ
 
 
 

6. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ต.ห้วยทราย  อ.เมือง  จ.ประจวบคีรีขันธ์  77000
 
0 8690 28588

   นายศุภสิทธิ์  ชุนเชาวฤทธิ์
 
 
 

7. สถานีเพาะชำกล้าไม้เขาย้อย
หมู่ 2  ต.เขาย้อย  อ.เขาย้อย  จ.เพชรบุรี  76140
FAX.0 3242 5028
0 8185 65238

   นายวุฒินันท์  เรืองปราชญ์
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11  (สุราษฎร์ธานี)
สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดสุราษฎร์ธานี(เดิม)  อ.เมือง                จ.สุราษฎร์ธานี  84000
0 7727 2349
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุราษฏร์ธานี
173/18 ถ.ห้วยมุด ต.นาสาร  อ.บ้านนาสาร  
FAX. 0 7728 3248
0 8160 62857

   นายวรวิทย์    หยูดำ
จ.สุราษฎร์ธานี 84120
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดระนอง
51/1 หมู่ 3 ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง 85000
 
0 8197 01299

   นายสุกิจ    ลิ่วพฤกษพันธ์
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดชุมพร
หมู่ 6 ต.วังตะกอ  อ.หลังสวน  จ.ชุมพร  86110
 
0 8710 12537

   ว่าที่ร้อยตรีภูมิรัตน์  นาคอุดม
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12  (นครศรีธรรมราช)
ศูนย์ประสานงานจัดการทรัพยากรป่าไม้พื้นที่  (ป่าไม้เดิม)  ถ.พระเงิน  ต.คลัง  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช  80000
FAX. 0 7531 7883
 

1.สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครศรีธรรมราช
ต.นาพรุ  อ.พระพรหม  จ.นครศรีธรรมราช  80000
 
0 8196 80579

   นายกฤตธัช  อนัคฆมณี
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดตรัง
หมู่ 7 ต.ช่อง อ.นาโยง  จ.ตรัง  92170
 
0 8189 25439

   นายยงยศ   หยงสตาร์
 
FAX. 0 7522 0305
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13  (สงขลา)
ศูนย์ส่งเสริมการปลูกป่า  12  จังหวัดสงขลา  ต.ฉลุง  อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา  90110
0 7439 8210
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสตูล
หมู่ 7 ต.ควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ.สตูล 91130
 
0 8193 44125

   นายเทเวศน์  บรรณพงศ์กร
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปัตตานี
อ.เมือง จ.ปัตตานี  94000
0 733 31594
 

   นายสมพร  เอกวานิช
 
 
0 8629 58530

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4  สาขานครสวรรค์
ถ.โกสีย์ใต้  ต.ปากน้ำโพ  อ.เมือง   จ.นครสวรรค์  60000
0 5622 6374
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครสวรรค์
หมู่ 4 ต.มหาโพธิ  อ.เก้าเลี้ยว  จ.นครสวรรค์  60230
FAX. 0 5622 2426
0 8188 95507

   นายวันชัย  จันทร์สาคร
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพิจิตร
หมู่ 3 ต.เขาเจ็ดลูก  อ.ทับคล้อ  จ.พิจิตร  66150
0 8985 73004
 

   นายจักรวัฒน์  ชินรัตน์
 
FAX.0 5525 1317
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุทัยธานี
หมู่ 2 ถ.อุทัยธานี-หนองฉาง กม.ที่ 15 ต.หนองนางนวล
 
0 8985 85979

   นายมณฑล  หนูทอง
อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี 61110
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6  สาขานครพนม
เลขที่ 1 ถ.นิตโย  อ.เมือง  จ.นครพนม  48000
0 4251 1505
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครพนม
หมู่ 8 บ้านเทพพนม ต.บ้านผึ้ง  อ.เมือง  จ.นครพนม  
 
0 8187 31458

   นายพิรมย์ สกุลหรัง
38000
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสกลนคร
ต.โคกภู  อ.ภูพาน  จ.สกลนคร  47180
FAX.0 4220 2025
0 8671 86627

   นายอิสรา   ปุราโส
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7  สาขาอุบลราชธานี
ถ.อุปราช  อ.เมือง  จ.อุบลราชธานี  34000
0 4531 6644
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอุบลราชธานี
ต.ในเมือง  อ.เมือง  จ.อุบลราชธานี  34000
FAX. 0 4531 2771
 

   นายสมโภชน์  ไพศาลวัฒนา
 
FAX.0 4520 6220
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ
ต. สร้างถ่อน้อย อ.หัวตะพาน  จ.อำนาจเจริญ 37240
FAX.0 4524 2145
0 8187 68665

  นายลิขิต  ทะคง
 
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9  สาขาปราจีนบุรี
สำนักงานป่าไม้สาขาจังหวัดปราจีนบุรี(เดิม)  อ.เมือง  จ.ปราจีนบุรี  25000
 
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปราจีนบุรี
ต.ทุ่งโพธิ์  อ.นาดี  จ.ปราจีนบุรี  25220
 
0 8155 33460

   นายนริศร์  ประนยานันทน์
 
 
 

2.  สถานีเพาะชำกล้าไม้กบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี
ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  25110
 
0 8191 96515

   นายรัชชัย  สุทธิมา
 
 
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสระแก้ว
หมู่ 1 ต.หนองหว้า  อ.เขาฉกรรจน์  จ.สระแก้ว  27000
 
0 8190 73576

   นายอิศรพงศ์  กุลไทย
 
 
0 8657 11192

4. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนครนายก (ทุ่งโพธิ์)
หมู่ 9 ต.ศรีกระอาง  อ.บ้านนา  จ.นครนายก  26110
 
0 8180 66287

   นายประสงค์  เกิดแก้ว
 
 
 

5. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดฉะเชิงเทรา (เขาหินซ้อน)
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ต.เขาหินซ้อน  
0 3859 9107
0 8163 94742

    นายนิรันดร์  เลิศลักขณาวงศ์
 อ.พนมสารคาม  จ.ฉะเชิงเทรา  24120
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12  สาขากระบี่
ตู้  ปณ. 110  ปจ.กระบี่  จ.กระบี่  81000
0 7562 2231
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกระบี่
สำนักงานป่าไม้จังหวัดกระบี่(เดิม) หมู่ 2 ต.ทับปริก
0 7562 2231
0 8153 93382

   นายสมคิด  จันทร์โหนง
อ.เมือง จ.กระบี่ 81000
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดพังงา
54/17 หมู่ 2  ต.นาเตย  อ.ท้ายเหมือง  จ.พังงา  82120
FAX.0 7644 0620
0 8921 44419

   นายปิติ   ลายลักษณ์
 
FAX.0 7648 1033
 

3. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดภูเก็ต
สวนป่าบางขนุน หมู่ 5 ต.เทพกระษัตรี  อ.ถลาง  จ.ภูเก็ต  
 
0 8476 67644

   นายสรกฤษณ  สิงห์ดำ
83110
 
 

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13  สาขานราธิวาส
ถ.ประชาสงเคราะห์  ต.บางนาค  อ.เมือง  จ.นราธิวาส  96000
0 7351 2597
 

1. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดนราธิวาส
อ.เมือง จ.นราธิวาส   96000
FAX. 0 7351 2597
0 8318 66440

   นายจุมพล  สิทธิชัย
 
 
 

2. สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดยะลา
อ.เมือง จ.ยะลา  95000
FAX. 0 7321 2787
0 8629 58530

   นายสมพร  เอกวานิช
bewin99 approve [ 13 มี.ค. 2553 10:27:00 ]
ความคิดเห็นที่: 64
เห็นด้วยนะครับที่มีการปลูกสร้างป่าเทียม (ปลูกต้นไม้) จำลองในพื้นที่ตามชุมชน   อย่างที่ทำกัน   แต่ที่ญี่ปุ่นเขาก็อนุรักษ์พืชพื้นเมือง    แต่ประเด็นคือคนไทยส่วนใหญ๋ไม่รู้ว่าอะไรเป็นพืชพื้นเมือง  ที่คิดว่าพืชพื้นเมืองหลายๆ ชนิดก็ไม่ใช่นะครับ   ดังนั้นจึงขอให้ระวังให้มากหน่อย  อย่างสนทะเล  มะพร้าว คนส่วนใหญ่นึกว่าเป็นพืชป่าบ้านเรา   แต่จากการศึกษาพบว่าน่าจะมีคนนำเอาเข้ามานานแล้ว    แต่จะว่าไปแล้วปลูกต้นไม้ในเขตเมือง ก็เลือกพรรณพื้นเมืองที่ป่าที่ใกล้จุดนั้นที่สุด มีต้นอะไรก็ไปศึกษาดู   หรืออาจจะติดต่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์จากหอพรรณไม้ หรือ ตามมหาวิทยาลัยก็ได้  


แต่ที่ไม่เห็นด้วยอย่างมากคือการปลูกป่าในป่าธรรมชาติ ไม่ว่าจะเสื่อมโทรมหรือไม่เสื่อมโทรมก็ตาม

การปลูกป่าในเขตอนุรักษ์    ซึ่ง มักจะเป็นการทำลายป่าแล้วก็เอาต้นไม้เข้าไปปลูก    หรือต่อให้ไม่ได้ฟัน ไปปลูกเสริมก็เป็นการทำลายสมดุลธรรมชาติ  ไปเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสมช    แต่ที่สำคัญคือเปลี่ยนจาก Real forest  เป็น Fake forest หากเทียบระหว่าง  ป่าทุติยภูมิกับป่าปลูกแล้ว  ป่าทุติยภูมิที่ฟื้นโดยธรรมชาติ  ดีกว่า ในแง่ โครงสร้าง  หน้าที่ ความหลากหลายของสมช. เห็นๆ
TT [ 27 มี.ค. 2553 13:13:24 ]
ความคิดเห็นที่: 65
Rapidly increasing Fake forest in Thailand

Thailand is one of the most biologically diverse countries in the world.  The forests in Thailand has been rapidly destroyed by human activities, the primary forest in Thailand that still exist being replaced by monoculture plantation, such as Para-Rubber. The habitat destruction is a huge threat to  the biodiversity of Thailand.

Many organizations in Thailand are concerned about the problems of climate change and global warming, and they try to resolve these problems by growing new forests by so-called "reforestation". They grow any plants species everywhere (even in primary forest), thus the biologically diverse forests are replaced by ugly and low biodiversity forests.

It is such a pity that there are very few scientists in Thailand concerned about the ecological point of view. Even through grassland and stunt vegetation are lower alpha diversity than the lowland evergreen forests, but the species turnover between the habitats influences diversity at the large scales (beta diversity). Each native plant community is uniquely composed of different species and there are many diverse types of ecological systems, all of which should be conserved.

In recent years, reforestation projects and the development of forest-related organization in Thailand are increasing, but the biologically diverse forests continue to be lost. In my opinion, even if  the reforestation projects may resolve some environmental problems, they may  have tremendous negative impacts on biodiversity, while the deforestation can actually benefit biodiversity: the destruction of exotic plants will greatly benefit the native plant diversity. Nowadays, the situation of global and local biodiversity is still under serious pressure and faces grave risks. Many species of plants and animals are still threatened with extinction.


It is a fact that the natural forests are not conserved, and the fake forests established by reforestation project are increasing. Fake forests seem more ugly and harbours lower biodiversity than some cultivated agricultural lands, such as rubber plantation.


As above mentioned, the following questions are:
How do we help the beautiful and biologically diverse forests?
Should we conserve real forest or fake forest?
Yosup [ 27 มี.ค. 2553 18:07:25 ]
ความคิดเห็นที่: 66
การคัดเลือกโดยธรรมชาติตามทฤษฎีของ ชาล  ดาร์วิน  (The stronger must be survive)

ตรงนี้ที่ทำ ไม่ใช่ Natural selection    แต่เป็น Human หรือ artificial selection    
ปลูกป่าที่แท้จริงคือ  Natural reforestation  (without planting)  ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามพระราชดำรัสของในหลวง   ซึ่ง การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกก็คือ ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง  โดยที่คนไม่ต้องปลูก   เพียง แต่ดูแลอย่าให้คนเข้าไปยุ่งหรือรังแกต้นไม้   ก็เท่านั้นเอง
ขาล [ 31 มี.ค. 2553 20:57:27 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org