กระทู้-13964 : กว่าสามปี ที่ตามหาเจ้า

Home » Board » พืช

กว่าสามปี ที่ตามหาเจ้า

ช่วงนี้ที่ไม่มีเวลาให้ใคร ก็เพราะเจ้านี่แหละครับ
Gastrodia fimbriata Suddee กล้วยไม้กินซากชนิดใหม่ของโลก ที่ถูกค้นพบโดย ดร.สมราน สุดดี จากหอพรรณไม้ เมื่อปี 2003 ที่แก่งกระจาน ช่วงที่อาจารย์พบนั้นเป็นฤดูฝน การถ่ายภาพ และเก็บตัวอย่างเป็นไปด้วยความยากลำบาก  (สมัยนั้นเป็นกล้องฟิมล์)
เมื่อผมเริ่มทำโครงการสำรวจกล้วยไม้ใน อช.แก่งกระจาน ท่านก็ได้ฝากให้เก็บตัวอย่าง และถ่ายภาพด้วย เป็นเวลากว่าสามปี ในที่สุดก็พบจนได้ ..
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 09:31:14 ]
ความคิดเห็นที่: 1
โห ตามมาสามปีแล้ว ยินดีด้วยครับ ช่วยเล่าเรื่องพวกกล้วยไม้กินซากให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ มันต่างจากกลุ่มอื่นยังไง ไม่มีความรู้เลย ว่างๆ คงต้องขอรบกวนไปเยือนแก่งกระจานบ้างแล้วครับ
coneman approve [ 24 มี.ค. 2553 09:55:13 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ยินดีด้วยครับ ความรู้สึกพวกนี้ ตอนเจอมันสุดยอดจริงๆ ครับ
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2553 10:06:58 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ยินดีด้วยครับ เข้าใจความรู้สึกเช่นกัน เพราะน้องปอบางตัว...ผมก็ตามมันอยู่ 2 ปีกว่าจะเจอ เอิ๊กๆ
Due_n approve [ 24 มี.ค. 2553 10:11:13 ]
ความคิดเห็นที่: 4
สวัสดีครับ งดงามครับ เพิ่มเติมเรื่องราว กล้วยไม้กินซาก แลกเปลี่ยนกันจะดีมากเลยครับ
forest72 approve [ 24 มี.ค. 2553 10:12:07 ]
ความคิดเห็นที่: 5
มีงูหางแฮ่มกาญฯ ที่ผมใช้เวลาปิดตำนาน 7 ปี ทางมะพร้าวเขียวก็ประมาณ 10 ปี ส่วนทางมะพร้าวแดงนี่บัญชียังค้างอยู่เลย เฮ้อ..
knotsnake approve [ 24 มี.ค. 2553 10:19:49 ]
ความคิดเห็นที่: 6
อย่าบ่นเลยพี่ ปลาผมก็ยังค้างอีกหลายต่อหลายตัว ก็ดีเหมือนกัน ชีวิตยังมีเป้าหมาย
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2553 10:21:04 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ขอบคุณครับสำหรับความยินดีที่มอบให้ ทุกท่าน
ผมเองความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ยังถือว่า แค่หางอึ่งเท่านั้นเอง เพราะไม่ได้เรียนมาทางนี้ (จบส่งเสริมเกษตร ครับ)  แต่พอจะเข้าใจว่า
กล้วยไม้กินซาก มีหัวที่ใช้สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน  แต่จะไม่มีใบที่ใช้ในการกรองแสงเหมือนกับพวกกล้วยไม้ดิน พอถึงฤดูกาลที่มันจะออกดอก มันก็จะแทงช่อดอกออกมาเลย พอหมดเวลามันก็จะเริ่มเหี่ยวไปตามกาลเวลา ครับ
คงต้องรอคุณฝนแรก หรือคุณเพชร มาช่วยอธิบายอีกทีครับ
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 10:21:43 ]
PlantsPics_reply_156737.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
ตัวอย่างกล้วยไม้ดินครับ
จะเห็นว่ามีใบสีเขียวชัดเจน
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 10:42:31 ]
PlantsPics_reply_156738.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
ตัวอย่างกล้วยไม้กินซากครับ
มี แต่หัว ก้านช่อดอก  และดอก ครับ
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 10:44:15 ]
ความคิดเห็นที่: 10
อาจารย์น๊อตฯ  ครับ ผมเมล ไปหาแล้วครับ
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 10:46:36 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ขอแสดงความยินดีด้วยคนครับ
หลามหยก approve [ 24 มี.ค. 2553 11:47:08 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อารมณ์ตอนเจอนี้คงสุดๆ  เลย
aqueous_andaman approve [ 24 มี.ค. 2553 14:12:59 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ได้ความรู้ใหม่อีกแล้วครับ ขอบคุณมากครับ ขอแสดงความยินดีดวยครับ
noppadol approve [ 24 มี.ค. 2553 16:18:17 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 14
ก่อนสำรวจ อาจารย์บอกเพียงลักษณะคร่าวๆ  ว่าคล้ายกับพวก กล้วยมด ( Didymoplexis )  แต่จะต่างกันที่กลีบปากเท่านั้น ตัวอย่างนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ 2 ครับ ตัวอย่างต้นแบบอยู่ที่โคเปนเฮเก้น บริเวณที่พบเป็นแหล่งกระจายใหม่ ส่วนบริเวณเก่าตอนนี้เป็นลานกางเต็นท์ไปแล้วครับ
การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามนโยบาย เราท่านก็เข้าใจกันดีอยู่  แต่ผมคิดว่าข้อมูลทรัพยากรที่มีค่า และสำคัญในหลายๆ ที่ยังตกสำรวจอยู่ เลยไม่มีคนห้ามหรือเสนอแนะ
ก่อนที่ผมจะพบกล้วยไม้ชนิดนี้ เผอิญว่าผมได้ขอพื้นที่แปลงหนึ่งไว้เพื่อจัดทำแปลงศึกษา และรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ในสภาพธรรมชาติ ซึ่ง ท่านก็อนุญาต ผมก็พาน้องๆ  ไปทำเส้นทางเดินสำรวจ เผื่อว่าจะใช้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติในโอกาสต่อไป  และก็บังเอิญอีกที่เจ้านี่อยู่ในแปลงที่ผมขอไว้ ทุกอย่างก็เลยลงตัวแบบไม่คาดฝัน
ผมต้องขอโทษหลายๆ  ท่านในที่นี้ด้วยครับ ที่ไม่มีโอกาสได้พบกันเลย ทั้งๆ  ที่มาเยือนถึงถิ่น
หาตัวค่อนข้างยาก เพราะว่าผมนึกจะไปก็ไป ช่วงไหนไม่อยากเข้าป่าก็อยู่สำนักงานยาวเป็นอาทิตย์  แต่โดยรวมแล้วไม่ค่อยอยู่ครับ
ขอบคุณครับ
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 16:25:16 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ยินดีด้วยนะครับ สวยจริงๆ

อยากเห็นต้นจริงจังเลย
Mandarin approve [ 24 มี.ค. 2553 18:54:05 ]
ความคิดเห็นที่: 16
อิ อิ นึกภาพออกเลยครับ ตีแปลงแล้วลุ้นว่าจะมีอะไรขึ้นมาบ้าง แหม ถ้าเจ้านี้ขึ้นอยู่ข้างๆ แปลง คงได้มีการย้ายมาครอบกันบ้าง!  ผมตีแปลงเสร็จตุ๊กกายไม่ยอมเกาะดันไปเกาะอยู่ข้างๆ  ยังอยากจะเขี่ยมันเข้าไปเลย เหอ เหอ เหอ
นณณ์ approve [ 24 มี.ค. 2553 22:35:58 ]
ความคิดเห็นที่: 17
แปลงของผมใหญ่นะคุณนณณ์ ประมาณ 4 ไร่ แน่ะ เพราะตั้งใจเก็บกล้วยไม้จากยอดพะเนินทุ่งลงมาไว้ที่นี่ด้วย
ยอดพะเนินทุ่งสูง 1,234 เมตร ที่หน่วยฯ  พะเนินทุ่งสูง 970 เมตร ห่างกัน 8 กม.  แต่ผมไม่รับกล้วยไม้ต่างถิ่นนะครับ เคยมีพี่คนหนึ่งทำงานในกรมฯ  แกเพาะกล้วยไม้จากกุยบุรี จะเอามาให้ผม "ปล่อยกล้วยไม้คืนสู่ป่า" ผมไม่เอา  แต่หัวหน้ารับไว้ ตั้ง 300 ต้น ยังไม่รู้จะทำไงดีเลย กลัวเป็นเอเลี่ยน
เอ่ยถึง "พะเนินทุ่ง" แล้วคาดว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ที่จริงแล้วมันคนละที่กันครับ หน่วยฯ  พะเนินทุ่ง คือบริเวณที่นักท่องเที่ยวไปกางเต็นท์นอนกัน เรียกอีกชื่อว่า กม.30 ส่วนยอดพะเนินทุ่งนั้น ต้องเดินเท้าไปอีก 8 กม. เป๊ะๆ  ออกเดินเก้าโมงเช้า ไปถึงยอดตอนห้าโมงเย็นขอรับ
kkc.38 approve [ 24 มี.ค. 2553 23:51:37 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ยินดีด้วยค่ะ ดอกมันสวยงามมาก
คุ้มค่ากับการรอคอยจริงๆ
...แก้ไขเมื่อ 25 มี.ค. 2553 09:51:27
LittleIris approve [ 25 มี.ค. 2553 09:50:58 ]
ความคิดเห็นที่: 19
: kkc.38
แปลงของผมใหญ่นะคุณนณณ์ ประมาณ 4 ไร่ แน่ะ เพราะตั้งใจเก็บกล้วยไม้จากยอดพะเนินทุ่งลงมาไว้ที่นี่ด้วย
ยอดพะเนินทุ่งสูง 1,234 เมตร ที่หน่วยฯ   พะเนินทุ่งสูง 970 เมตร ห่างกัน 8 กม.   แต่ผมไม่รับกล้วยไม้ต่างถิ่นนะครับ เคยมีพี่คนหนึ่งทำงานในกรมฯ   แกเพาะกล้วยไม้จากกุยบุรี จะเอามาให้ผม "ปล่อยกล้วยไม้คืนสู่ป่า" ผมไม่เอา   แต่หัวหน้ารับไว้ ตั้ง 300 ต้น ยังไม่รู้จะทำไงดีเลย กลัวเป็นเอเลี่ยน
เอ่ยถึง "พะเนินทุ่ง" แล้วคาดว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ที่จริงแล้วมันคนละที่กันครับ หน่วยฯ   พะเนินทุ่ง คือบริเวณที่นักท่องเที่ยวไปกางเต็นท์นอนกัน เรียกอีกชื่อว่า กม.30 ส่วนยอดพะเนินทุ่งนั้น ต้องเดินเท้าไปอีก 8 กม. เป๊ะๆ   ออกเดินเก้าโมงเช้า ไปถึงยอดตอนห้าโมงเย็นขอรับ


เรื่องการนำกล้วยไม้มาแปะ ผมมีความคิดเห็นครับ

เราคงรู้กันอยู่ว่า กล้วยไม้เป็นพืชที่ปรับตัวได้ยาก โตช้า กว่าจะรู้ว่าไม่โต และกำลังจะตายก็นานจนสายเกินไป  แต่ละชนิด ก็มีสภาวะเฉพาะ ที่จะสามารถเติบโตได้ดี ลองสังเกตุดูเล่นๆ  บางชนิดชอบขึ้นที่เรือนยอด แดดดี ลมแรง บางชนิดไม่ชอบแสง ซุกๆ  อยู่กับโคนไม้อื่น การจะนำไปปลูกให้ได้ความต้องการเหมาะสม จะทำได้ยาก โอกาสรอดน้อยมาก หรืออาจรอด  แต่คงไม่ดีเท่าเดิม

ลองเป็นว่า ตีแปลงที่ยอดพะเนินทุ่ง 1 แปลง  และที่ กม.30 อีก 1 แปลงดีไหมครับ ลดเหลือที่ละ 2 ไร่ กล้วยไม้ที่โดนย้ายมาปลูก ข้อมูลที่ได้มา คงไม่ค่อยน่าสนเท่าไหร่หรอก จริงไหมครับ


อยากขึ้นไปดูนกที่ยอดพะเนินทุ่งจังครับ
เสือหัวดำ approve [ 25 มี.ค. 2553 20:23:49 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ขอบคุณมากครับ คุณเสือหัวดำ
ถ้าเช่นนั้น การนำกล้วยไม้จากอุทยานฯ  อื่นมาปลูกก็ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง
kkc.38 approve [ 25 มี.ค. 2553 22:42:10 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ขอบคุณมากๆ เลยครับ

ตัวนี้กล้วยไม้ในตำนานจริงๆ

อิๆ  เพิ่งจะได้เปิดดูกระทู้นี้ครับ

Gastrodia fimbriata Suddee

อยาก เห็นภาพเพิ่งอีกอะครับ

เพราะตัวนี้ถือว่า เป็นกล้วยไม้ ตัวแรก ของไทย  และของโลก ที่ตีพิมพ์ และบรรยาย โดยคนไทย อย่างเดี่ยว ไม่ได้ เป็นสองรองฝรั่งครับ


ขอบคุณมากๆ ครับ อยากเห็นภาพถ่ายมานานแล้วครับ

มีโอกาส จะขอติดตามไปถ่ายภาพบ้างนะครับ
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 00:25:52 ]
ความคิดเห็นที่: 22
: kkc.38
แปลงของผมใหญ่นะคุณนณณ์ ประมาณ 4 ไร่ แน่ะ เพราะตั้งใจเก็บกล้วยไม้จากยอดพะเนินทุ่งลงมาไว้ที่นี่ด้วย
ยอดพะเนินทุ่งสูง 1,234 เมตร ที่หน่วยฯ   พะเนินทุ่งสูง 970 เมตร ห่างกัน 8 กม.   แต่ผมไม่รับกล้วยไม้ต่างถิ่นนะครับ เคยมีพี่คนหนึ่งทำงานในกรมฯ   แกเพาะกล้วยไม้จากกุยบุรี จะเอามาให้ผม "ปล่อยกล้วยไม้คืนสู่ป่า" ผมไม่เอา   แต่หัวหน้ารับไว้ ตั้ง 300 ต้น ยังไม่รู้จะทำไงดีเลย กลัวเป็นเอเลี่ยน
เอ่ยถึง "พะเนินทุ่ง" แล้วคาดว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า ที่จริงแล้วมันคนละที่กันครับ หน่วยฯ   พะเนินทุ่ง คือบริเวณที่นักท่องเที่ยวไปกางเต็นท์นอนกัน เรียกอีกชื่อว่า กม.30 ส่วนยอดพะเนินทุ่งนั้น ต้องเดินเท้าไปอีก 8 กม. เป๊ะๆ   ออกเดินเก้าโมงเช้า ไปถึงยอดตอนห้าโมงเย็นขอรับ



แล้วทำไม ที่กุย เค้าไม่ ทำโครงการปลูกของเขาเองหละครับ

ทางแก่งกระจานก็น่าจะทำส่วนตัวเองนะครับ

หรือจริงๆ  เพียง แต่อย่าให้คนเก็บ ก็ช่วยได้มากแล้วครับ

ว่า แต่อยากถามว่า แถวแก่งกระจานเจอ  Paphiopedilum บ้างหรือเปล่าครับ
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 00:30:06 ]
ความคิดเห็นที่: 23
พืชกินซาก หากยึดตามการทับศัพท์ น่าจะหมายถึง Saprophyte ซึ่ง  เป้นคำที่ไม่ใคร่ใช้ในทางวิชาการ กับพืช

 แต่จำกัดไว้กับ จุลินทรีย์ เช่น พวก รา หรือ แบคทีเรีย ซึ่ง มี เอนไซม์ สามารถย่อย ซากเน่าเปือยผุพังได้โดยตรง

ซึ่ง  พืช ที่ไม่มีใบ  และคลอโรฟิล นั้น จำเป็น ต้องพึ่ง รา ชนิดจำเพาะ บ้างว่า เป็น ความสัมพันธ์ ระหว่าง (พืช, รา)  แบบ (+,+) หรือ (+,0) หรือ (+,-) เพราะ ราหลายๆ ชนิด ก็สามารถอยู่อาศัยในดินได้ แม้ไม่มีพืชชนิดดังกล่าวอยู่ครับ

ซึ่ง ในทางวิชาการปัจจุบันเรียก พืชกลุ่มนี้ว่า พืชต้องอิงรา holomycotrophic หมายถึงต้่องพึ่งเชื้อราตลอดชีวิต ซึ่ง ต่างจาก พืช ส่วนใหญ่ ในโลกนี้ ที่จะ อิงอาศัยรา ในบางช่วงของชีวิต mycotrophic อย่างเช่น กล้วยไม้ ที่มีใบเขียว ก็จะพึ่งพิงรา อย่างน้อยที่สุด ในช่วงขั้นตอนการงอกจากเมล็ดครับ


ซึ่ง หากพูดให้ตรงอีกที

Gastrodia fimbriata Suddee จึงจัดเป็น กล้วยไม้ต้องอิงรา ครับ
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 00:51:01 ]
ความคิดเห็นที่: 24
: kkc.38
ตัวอย่างกล้วยไม้กินซากครับ
มี  แต่หัว ก้านช่อดอก   และดอก ครับ


ตัวนี้คีย์ เป็นตัวไหนครับนี่
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 01:03:17 ]
ความคิดเห็นที่: 25
# ตอบคุณ Paphmania
มาเป็นชุดเลยครับ อิอิ
ถ้าเป็นโครงการเพาะเลี้ยง ไม่มีครับ  แต่ที่ทำคือแปลงศึกษา เพราะจริงๆ แล้วการสำรวจแบบจริงจังสำหรับกล้วยไม้ในป่าแก่งกระจานนั้น ยังไม่มีใครทำ มีพบบ้างประมาณ 26 ชนิดโดยอาจารย์สมราน และคณะจากหอพรรณไม้ก่อนที่ผมจะเริ่มโครงการสำรวจกล้วยไม้ หลังจากนั้นจนถึง ณ ปัจจุบัน พบแล้ว 173 ชนิด ซึ่ง หลังจากตระเวนจนเกือบทั่วพื้นที่ก็พบว่า บริเวณที่พบกล้วยไม้ได้หลากชนิดอยู่แถบพะเนินทุ่งนี่เอง  และมีพื้นที่เล็กๆ  ที่ผมมักหลบไปผูกเปลนอนเล่นที่มีกล้วยไม้ให้ดูประมาณกว่า 30 ชนิด ซึ่ง  ถ้าสำรวจแบบเข้มข้นอาจพบได้ถึง 40-50 ชนิดก็ได้
ในส่วนของกล้วยไม้รองเท้านารีนั้น พบอยู่สองชนิดครับ  แต่ยังคงบอกไม่ได้ครับว่าเจออะไรที่ไหนบ้าง
กล้วยไม้ที่พบ หลายชนิดถือว่าเป็นการกระจายนอกเขตเดิมด้วย
ส่วนภาพ #9 นั้นเป็น Zeuzine affinis ครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้เกี่ยวกับพืชกินซากครับ
kkc.38 approve [ 26 มี.ค. 2553 22:33:41 ]
ความคิดเห็นที่: 26
: kkc.38
# ตอบคุณ Paphmania
มาเป็นชุดเลยครับ อิอิ
 ถ้าเป็นโครงการเพาะเลี้ยง ไม่มีครับ   แต่ที่ทำคือแปลงศึกษา เพราะจริงๆ  แล้วการสำรวจแบบจริงจังสำหรับกล้วยไม้ในป่าแก่งกระจานนั้น ยังไม่มีใครทำ มีพบบ้างประมาณ 26 ชนิดโดยอาจารย์สมราน  และคณะจากหอพรรณไม้ก่อนที่ผมจะเริ่มโครงการสำรวจกล้วยไม้ หลังจากนั้นจนถึง ณ ปัจจุบัน พบแล้ว 173 ชนิด ซึ่ง  หลังจากตระเวนจนเกือบทั่วพื้นที่ก็พบว่า บริเวณที่พบกล้วยไม้ได้หลากชนิดอยู่แถบพะเนินทุ่งนี่เอง   และมีพื้นที่เล็กๆ   ที่ผมมักหลบไปผูกเปลนอนเล่นที่มีกล้วยไม้ให้ดูประมาณกว่า 30 ชนิด ซึ่ง    ถ้าสำรวจแบบเข้มข้นอาจพบได้ถึง 40-50 ชนิดก็ได้
ในส่วนของกล้วยไม้รองเท้านารีนั้น พบอยู่สองชนิดครับ   แต่ยังคงบอกไม่ได้ครับว่าเจออะไรที่ไหนบ้าง
กล้วยไม้ที่พบ หลายชนิดถือว่าเป็นการกระจายนอกเขตเดิมด้วย
ส่วนภาพ #9 นั้นเป็น Zeuzine affinis ครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้เกี่ยวกับพืชกินซากครับ


พบอะไรกับอะไรครับ รองเท้านะครับ

Paph concolor

กับ  Paph callosum หรือว่า P. parishii ครับ



แล้วก็ Zeuxine affinis  มันไม่ใช่กล้วยไม้ต้องอิงรา นะครับ
ปกติมันจะมีใบ  แต่ต้นนี้น่าจะผลัดใบหลุดไปก่อนนะครับ

เพราะลักษณะของ ราก มันไม่ใช้ลักษณะของ กล้วยไม้ต้องอิงราครับ

ลองหาดูรูป วาดของพวกกล้วยไม้ต้องอิงราดูนะครับ มันไม่ใช่อย่างนี้ครับ
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 23:12:43 ]
ความคิดเห็นที่: 27
เรื่องรองเท้านารี หากไม่สามารถบอก ทางนี้ได้รบกวน ติดต่อทาง



แล้วๆ ไม่ทราบว่าตัวอย่างจากการสำรวจ เก้บแล้วนำไปฝากไปที่ใดครับ

หากที่กรมป่าไม้ จะได้ไปรบกวนพี่สมราญครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
...แก้ไขเมื่อ 27 มี.ค. 2553 01:44:59
Paphmania approve [ 26 มี.ค. 2553 23:17:53 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ทางเมล์ดีกว่าครับ
a2a1972@gmail.com
kkc.38 approve [ 26 มี.ค. 2553 23:26:14 ]
PlantsPics_reply_157022.jpg
ความคิดเห็นที่: 29
อันนี้คล้ายๆ กันครับ(ผมก็ไม่รู้จัก)
aha approve [ 26 มี.ค. 2553 23:41:35 ]
ความคิดเห็นที่: 30
ใช่อย่างที่คุณ Paphmania ว่าไว้ครับ
พอลองกลับไปตรวจดู เจ้าZeuxine affinis เป็นกล้วยไม้ดิน เช่นเดียวกับ คคห.29
kkc.38 approve [ 26 มี.ค. 2553 23:59:02 ]
ความคิดเห็นที่: 31
ยัีงไม่เคยไปเที่ยวแก่งกระจานเลย

มีโอกาสต้องไปแน่ครับ
Paphmania approve [ 27 มี.ค. 2553 00:54:53 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org