กระทู้-13972 : ปลาเฉา กับ การกำจัดวัชพืชในหนองหาร

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

ปลาเฉา กับ การกำจัดวัชพืชในหนองหาร

Plateen approve [ 25 มี.ค. 2553 11:54:26 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ในการประชุมเรื่อง alien species ที่จัดโดย สผ. เมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อน ตัวแทนจากกรมประมงยืนยันชัดเจน หลายครั้งทั้งบนเวที บนโต๊ะอาหาร  และหน้าห้องประชุม ว่านโยบายของกรมฯ ในปัจจุบันจะไม่มีการปล่อยปลาต่างถิ่นลงในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย แล้วนี่มันอะไรครับเนี๊ย????  

ผมยังยืนยันว่ากรมประมงเป็นผู้ปล่อยปลาต่างถิ่นลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทยมากที่สุด  และข่าวนี้ก็แสดงให้เห็นว่ายังทำอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
นณณ์ approve [ 25 มี.ค. 2553 12:19:31 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ผมดูข่าววันนั้น ผมนึกถึงหน้าพี่นณณ์ก่อนเลย

เหอๆๆๆ  มากันตั้งหลายถูก ปล่อยปุ๊งๆๆๆๆ   ไชโย้  โลด
conti approve [ 25 มี.ค. 2553 12:25:53 ]
ความคิดเห็นที่: 3
เวรกรรม
aqueous_andaman approve [ 25 มี.ค. 2553 13:53:40 ]
ความคิดเห็นที่: 4
เห่อๆ  สงสัยคนที่เข้าประชุมกับส่วนที่ทำเรื่องปล่อยพันธุ์ปลาคนละส่วนกัน
   หรือไม่ก็ไม่ได้สื่อสารกันอย่างเข้าใจ เรื่องต่างๆ  ก็ยังคงต้องเป็นไปเช่นเดิม
           บางครั้งผู้เข้าประชุมส่วนมากเป็นผู้น้อยไม่มีอำนาจใดๆ ในการตัดสินในการทำอะไร
blank approve [ 25 มี.ค. 2553 14:04:50 ]
ความคิดเห็นที่: 5
มันก็เป็นแบบนี้หละครับมานุษย์  ปลาไทยไม่มีตัวไหนกินพืชน้ำได้เลยหรือ
catfish approve [ 25 มี.ค. 2553 19:27:02 ]
ความคิดเห็นที่: 6
แหม....อ่านแล้วมันชื่นใจจริงๆ  วัชพืชคงหมดหนองล่ะทีเนี้ย  

คุณพระช่วย กล้วยแขกทอด โลกร้อนคนละลาย !!!!!!!

: blank
เห่อๆ   สงสัยคนที่เข้าประชุมกับส่วนที่ทำเรื่องปล่อยพันธุ์ปลาคนละส่วนกัน
   หรือไม่ก็ไม่ได้สื่อสารกันอย่างเข้าใจ เรื่องต่างๆ   ก็ยังคงต้องเป็นไปเช่นเดิม
           บางครั้งผู้เข้าประชุมส่วนมากเป็นผู้น้อยไม่มีอำนาจใดๆ  ในการตัดสินในการทำอะไร


ผมเห็นด้วย ว่าผู้เข้าประชุม เป็นคนละส่วนกับผู้ปฏิบัติในส่วนภูมิภาคครับ
...แก้ไขเมื่อ 25 มี.ค. 2553 20:11:12
เสือหัวดำ approve [ 25 มี.ค. 2553 20:10:30 ]
ความคิดเห็นที่: 7
น่าเหนื่อยแทน คนที่รู้เรื่องระบบนิเวศ น่าเหนื่อยแทน ผู้ปฏิบัติงานระดับล่าง น่าเหนื่อยแทนคนที่ตั้งใจจะทำให้ธรรมชาติคงอยู่ น่าเหนื่อยแทน เหล่าสรรพสัตว์ที่อยู่ในที่นั่น น่าเหนื่อยแทน กับคนภายนอกที่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับธรรมชาติของเมืองไทย น่าเหนื่อยแทน ชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา น่าเหนื่อยแทน ท่านอาจารย์ ที่พร่ำเพียรสอน ให้ความรู้ ที่เห็นได้ในปัจจุบัน คนที่อยู่ในระดับนี้(ก็นายสั่งมา)เอาตัวรอดไปวันๆ  ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร(กู)ไม่รู้ (มึง)ก็ไปแก้กันเองแล้วกัน อนาจหนอประเทศไทย (ทำอะไรไว้รู้อยู่แก่ใจ ขอให้เจริญๆ  เถอะ)
...แก้ไขเมื่อ 25 มี.ค. 2553 21:19:44
noppadol approve [ 25 มี.ค. 2553 21:18:01 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 8
เข้ามายืนยันด้วยคนครับว่า ตัวแทนจากกรมฯ  พูดแบบนั้นจริงๆ  
แถมพูดว่า เราเลิกทำเช่นนั้นไปนานแล้ว ด้วยซ้ำ

แล้วนี่มันอะไรกันเนี่ย
RoF [ 26 มี.ค. 2553 02:00:28 ]
ความคิดเห็นที่: 9
 ถ้าจะคิดอีกแบบนึง
ถ้าไม่อคติกับปลาเฉา มากจนเกินไป ว่าเป็น alian species มันก็น่าจะไม่เกิดผลเสียต่อแหล่งน้ำมากนัก เพราะ...ปลาเฉาไม่ใช่ปลาเกเรที่กินปลาอื่นๆ  ในน้ำ, ไม่มีรายงานว่าปลาเฉาผสมพันธุ์กันได้เองตามธรรมชาติของไทย, แหล่งน้ำที่ปล่อยปลาเฉาค่อนข้างเป็นแหล่งน้ำปิด, แล้วอีกเหตูผลสุดท้าย...เราสามารถจับปลาเฉามากินใช้ประโยชน์ได้...ท่านมีวิธีกำจัดวัชพืชในหนองหารที่ดีกว่าการปล่อยปลาเฉาหรือป่าว

ปล.1 เคยเห็นว่ามีการปล่อยปลาในลักษณะนี้อีกปลายชนิด เช่น ปลานวลจันทร์เทศ ปลายี่สกเทศ
ปล.2 ความคิดเห็นข้างบตอนมองในมุมของการหักล้างผลดีกับเสียของการปล่อย และไม่ปล่อยปลาครับ
ปล.3 ขออภัย ถ้าคิดไม่เหมือนกับท่านในที่นี้
Marine 42 [ 26 มี.ค. 2553 05:49:47 ]
ความคิดเห็นที่: 10
จริงๆ แล้วเรื่องนี้ คงต้องดูกันตั้ง แต่การตีความเรื่องวัชพืช  และ ปริมาณของวัชพืชในหนองหารว่ามีมากเกินไปหรือเปล่า ก่อนที่จะไปถึงปลาเฉาด้วยซ้ำไปครับ ไม่รู้ว่าบ้านเรามีข้อมูลแค่ไหนว่า พืชในแหล่งน้ำ ควรจะมีปริมาณเท่าไหร่อย่างไร ชนิดใด ถึงจะเหมาะสมต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำ  ก่อนที่คิดจะไปควบคุม ด้วยวิธีการใดก็ตาม ข้อมูลเช่น

1. ปลาเฉากินพืชอะไร (ในแหล่งน้ำประเทศไทย)
2. ปลาเฉากินพืชปริมาณเท่าไหร่ (ในแหล่งน้ำประเทศไทย)
3. ปลาน้ำจืดไทยอีก 600 กว่าชนิด มีทางเลือกอื่นไหม เช่น ปลาบ้า ปลาแรด ปลานวลจันไทย

การมองว่าสัตว์กินพืช เป็นสัตว์ไม่อันตราย ทำให้ผมนึกไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในกรมประมงท่านหนึ่ง ที่ให้สัมภาษณ์เมื่อหลายปีก่อน ในกรณีของปลาซัคเกอร์ว่าไม่น่าเป็นหวงเนื่องจากเป็นปลากินพืช รวมไปถึงหอยเชอรี่ก็กินพืช เรื่องการแพร่พันธุ์เองตามธรรมชาติไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมาอ้าง ในต่างประเทศใช้ปลาเฉาที่ถูกทำให้เป็นหมัน  และมีการควบคุมปริมาณการปล่อยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยใช้ดวง  ถ้าเกิดมันฟลุ๊คแพร่พันธุ์ได้ขึ้นมา ถามว่ามีปัญญาจับมันกลับมาไหม?  ย้อนกลับไปที่คำถามเดิม ที่ผมมักจะถามทุกครั้งเมื่อพูดถึง เอเลี่ยนสปีซีย์ ว่า "มันคุ้มที่จะเสี่ยงหรือเปล่า?"

ผมมองว่าเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเป็นเรื่องซีเรียส ที่เราควรจะปลูกฝังคนในชาติให้ร่วมกันมีจิตสำนึก โดยหน่วยงานของรัฐบาลควรจะเป็นแบบอย่างก่อน มิใช่ปล่อยเสียเอง

นโยบายเรื่องนี้ควรจะชัดเจน มิใช่ต่างคนต่างทำแบบนี้
...แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 2553 11:48:07
นณณ์ approve [ 26 มี.ค. 2553 11:45:16 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ปลาเฉาเป็นกินพืช และกินจุ กินได้เร็ว แล้วปลากินพืชบ้านเราล่ะ จะกินทันมันไหม ปลาพื้นเมืองของเราหลายชนิดที่วางไข่ตามกอวัชพืช  ถ้ามีปลาเฉาจำนวนมาก ไม่มีวัชพืชเหลือให้เป็นที่สำหรับวางไข่ อะไรจะเกิดขึ้น ผมไม่ได้มองปลาเฉาอย่างอคติ  แต่ผมมองเหตุผลโดยรวม วิธีการกำจัดวัชพืชมีหลายวิธีมาก อย่างผักตบชวาก็ใช้เรือกำจัด นำเอามาทำปุ๋ย หรือเครื่องจักสาน  ถ้าเป็นสาหร่าย ก็ใช้เรือแล้วใช้คราดเกี่ยวขึ้นมา อย่างที่คุณนณณ์ บอกแหละครับ อะไรคือวัชพืช นั่นแหละคือปัญหา เรามีปัญหาเกี่ยวสัตว์เอเลี่ยนหลายชนิดมาก  แต่ก็ยังไม่มีการแก้ไขให้หมดไปได้ ของเก่ายังแก้ไม่หมด เพิ่มของใหม่มาอีกแล้ว นี่แหละครับ  ที่ผมบอกว่า"อนาจหนอประเทศไทย"
noppadol approve [ 26 มี.ค. 2553 15:55:11 ]
noparnon@yahoo.co.th
ความคิดเห็นที่: 12
หากทุกคนเข้าใจธรรมชาติ  เหตุการณ์ต่างๆ  ที่วุ่นวายหลายๆ เรื่องในสังคมก็คงไม่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ   ซึ่ง เมื่อก่อนเราเคยพูดกันมากว่า  คนไทยเราทำลายทรัพยากรธรรมชาติไปมาก  ดังนั้นเราจึงต้องหันมาช่วยกันปลูกจิตสำนึกให้คนไทยหันกลับมาหวงแหน  ช่วยกันรักษา และฟื้นฟูธรรมชาติ     แต่ทุกวันนี้
               1. เรามีประชาชนส่วนหนึ่งทำลายธรรมชาติโดยตรง  ตกปีหนึ่งๆ  ธรรมชาติที่สวยงามที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงนั้น  ถูกทำลายไปไม่ต่ำกว่า หนึ่งแสนไร่ต่อปี (ข้อมูลจากทส)  น่าตกใจหรือไม่!!!!!!!!
               2. ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับการปลูกฝังให้อนุรักษ์ธรรมชาติ  ซึ่ง เป็นประชากรส่วนใหญ่ของคนไทย มีจิตสำนึกรัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ  โดยเฉพาะเด็กๆ   เยาวชนรุ่นใหม่   ฟังแล้วน่าดีใจ ใช่ไหมครับ
 แต่ประเด็นที่อยากจะพูดถึงคือ  ก่อนที่คุณจะอนุรักษ์ ธรรมชาติ   คุณเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ   รวมถึงปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู๋ดีพอหรือยัง?   หากคุณไม่มีพื้นฐานทางด้านนี้เลยคุณเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าสิ่งที่คุณทำจริงๆ   แล้ว  กลับกันเป็นการทำลายธรรมชาติ
                พอกล่าวถึงตรงนี้ที่น่าใจหาย คือ  จากการประเมิน (โดยส่วนตัว ทำงานวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยา) พบว่า  การอนุรักษ์ในเมืองไทย  คนที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีมีน้อยมาก  เมื่อเทียบกับคนที่ไม่รู้  ประเมินไว้ว่า อย่างมากมีไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มที่สอง   ซึ่ง ที่กล่าวมาไม่ได้พูดเกินเลยความจริง แต่อย่างใด   น่าตกใจหรือไม่   ดังนั้นรวมๆ แล้ว  คนกลุ่มสองจำนวนมากยังซ้ำเติมธรรมชาติเนื่องจากเหตุที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์    และสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการศึกษาของคนไทย   ว่าไม่ได้มาตราฐาน

ตัวอย่าง Case study  ที่อยากจะกล่าวถึงนั้นมีมากเหลือเกิน  เวลาเราได้เข้าสู่เขตธรรมชาติแล้ว  เราพบความเสื่อมโทรมลงของธรรมชาติอย่างน่าใจหาย  ทั้งๆ ที่หลายแห่งอยู่ในความดูแลของกรมอุทยานฯ    

ในกระทู้นี้กล่าวถึง Alien species  ก็เลยจะขอพูดคุยด้วยสักหน่อย  จากประสบการณ์กับตัวที่เจอมาก็มีความเห็นเหมือนคุณนนท์   หากเป็นสมัยเด็กๆ   เราก็ยังเคยคิดว่า ปลูกต้นไม้  ปล่อยปลาคือการอนุรักษ์    แต่ประสบการณ์การทำวิจัยทำให้เรารู้ว่ามันไม่ใช่    คนไทยติดกับเรื่องที่เป็นเกษตร  ดังนั้นจึงเข้าใจว่าธรรมชาติ เท่ากับ การปลูกการเพิ่มจำนวน  โดยที่ไม่เข้าใจสมดุล  และพลวัตรของธรรมชาติ

ยกตัวอย่าง  ในกลุ่มสัตว์จำพวก ปลา หรือสัตว์ในระบบนิเวศแหล่งน้ำนั้น  การสูญหายตายจากไปจากแหล่งอาศัยผลกระทบไม่ได้มาจากมลภาวะทางน้ำที่มาจากด้านเกษตร   และอุตสาหกรรมอย่างเดียว    แต่เท่าที่เห็น  มาจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น หากคำนวณเป็นตัวเลข  นั้นอาจจะมากกว่าด้านการปล่อยน้ำเสียที่เป็นการทำลายโดยตรงเสียอีกด้วยซ้ำ
 แล้วอะไรบ้างละที่เรียกว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์   เช่น  คลองธรรมชาติที่ถูกแปรเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจาก ภาครัฐพบว่ามีการทับถมของตะกอนจำนวนมาก  ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน  เสื่อมโทรมลง (ภาครัฐกล่าวอ้าง)  ดังนั้นหากปล่อยทิ้งไว้  ในที่สุดน้ำจะเหือดแห้งหายไป  หน่วยงานต่างๆ จึงเร่งฟื้นฟู  เพราะเชื่อว่าการขุดลอกหนองน้ำแห่งนี้น่าจะทำให้แหล่งน้ำนี้มีน้ำมาก   และนอกจากนี้  ยังแก้ปัญหาน้ำท่วมให้กับประชาชนได้อีกด้วย    

วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ:    คลองธรรมชาติ  ปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สภาพจึงไม่เหมือนเดิม  บางแห่งตื้นบางแห่งลึก  ขึ้นกับรูปแบบโค้งน้ำ  ฤดูกาลเองก็มีผลต่อรูปแบบลักษณะทางกายภาพที่เรามองเห็น  ในสภาวะก่อนขุดลอกคูคลอง  มักจะประกอบด้วยดิน โคลนจำนวนมาก   และริมตะลิ่งมักมีพืชชายน้ำจำนวนมาก   และในแหล่งน้ำเองก็มีพืชน้ำมากเช่นกัน   ซึ่ง ตรงนี้ก็เป็นการส่งเสริมให้ระบบนิเวศลำน้ำมีความหลากหลายของแหล่งอาศัยย่อยจำนวนมาก ยิ่งส่งผลทำให้อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ    แต่เมื่อภาครัฐมองว่าเสื่อมโทรม  ได้ไปทำลายระบบนิเวศตรงนี้ไป  ส่งผลให้คลองเปลี่ยน  สภาพแวดล้อมกลับกลายมีลักษณะเหมือนกันตลอดลำน้ำ    พืชน้ำท้องถิ่น หายไป   สัตว์น้ำพื้นเมืองก็แทบจะหายไปทั้งหมด   เมื่อมีการขุดลอกคลองให้ลึกขึ้นส่งผลให้พื้นดินริมตลิ่งพังทลายอย่างมาก  โดยเฉพาะในฤดูฝน   จะเกิดคล้ายๆ แบบโดมิโน่   พังลงเรื่อยๆ       อีกทั้ง การที่สภาพพื้นที่กลายเป็นพื้นที่เปิดโล่ง  ก็เปิดโอกาสใน Invasive alien plants จำนวนมากเข้ามายึดครองพื้นที่ได้ก่อน  เช่น ไมยราบยักษ์  หรือไมยราบต้น  ซึ่ง เป็นพืชที่ผลิตเมล็ดจำนวนมากต่อปี  แทบจะมองไม่เห็นทางที่คุณจะกำจัด พืชต่างถิ่นออกไปได้เลย   และระบบนิเวศที่สวยงามก็เปลี่ยนไปแบบกู่ไม่กลับ

เมื่อหน่วยงานหนึ่งทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม  ภาครัฐก็มอบหมายให้อีกหน่วยงานหนึ่งเข้ามาดูแล  มีการฟื้นฟู  วิธีการฟื้นฟูคือ  ตลิ่งพังก็เอาไม้กันดินพังมาปลูก  ซึ่ง คนที่แก้ไขปัญหาเรื่องนี้  ไม่ได้มีความรู้ทางนิเวศวิทยา  เมื่อมองเห็นไมยราบต้น  หรือพืชจำพวกวงศ์ถั่ว  ซึ่ง สามารถตรึงไนโตรเจน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์  แก่ดินได้  ก็คิดว่าดี  นอกจากนี้ ยังโตเร็ว  ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟู  และการลดอัตราการพังทลายของชายตลิ่ง   ส่วนสัตว์น้ำที่หายไป  ก็ทำการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนมาก  แล้วนำไปปล่อยลง ณ ที่นั้นๆ

วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ:     หลังจากฟื้นฟูของหน่วยงานดังกล่าวพบว่า สภาพแวดล้อมยิ่งเลวร้าย  พบว่า ปลาพื้นเมืองน้อยลงยิ่งขึ้นไปอีก   แต่โดยภาพรวมนั้นภาครัฐประสบความสำเร็จ  เพราะว่าในแง่จำนวนปริมาณสัตว์น้ำเพิ่ม  เพราะว่าปลาต่างถิ่นโตเร็ว   แต่คงไม่บอกนะครับว่าปลาอะไรบ้าง เอาเป็นว่าช้อนขึ้นมาก็เจอปลานั้นๆ   หากมองในแง่เศราฐกิจ  ก็คิดว่าดี   และชาวบ้านมีอาชีพ  เพราะปลาพื้นเมือง  หากเปรียบเปรยก็เหมือนพืชป่า
ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ   กินก็ไม่อร่อย  จึงไม่เป็นที่นิยม     และจะว่าไปนำปลาพื้นเมืองมาขายเป็นปลาสวยงาม ส่วนมากก็เพาะเลี้ยงยากกว่า สัตว์ต่างถิ่นที่นำเข้า   ดังนั้นมองมองในแง่เศรษฐกิจ   ซึ่ง ต้องการกำไรสูงสุด แล้ว  คนส่วนใหญ่คงไม่มองในระยะยาวถึงชั่วรุ่นลูกหลาน   ให้พวกมันแก้ไขปัญหากันเอาเองแล้วกัน    ทรัพยากรไทยหลากหลายมาก  แต่คนไทยเหมือนลิงได้เพชร  เอาเพชรไปชั่งกิโลขายแบบก้อนหิน ยังไงอย่างนั้น


ในแง่ของการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องข้อดีข้อเสียนั้น   ก็ขึ้นกับมุมมองของคน แต่ละคนว่ามีพื้นฐานความรู้ อาชีพ   และความต้องการของคนนั้นๆ ว่า ต้องการให้เป็นอย่างไร  

พูดถึงปลาเฉา  แถบชนบทบางแห่งเรียกว่า  ปลากินหญ้า หรือปลาจีน (ยะลา)  จริงๆ   มีการนำเข้ามาในไทยนานแล้ว  เพราะสมัย 20-30 ปีที่แล้ว  แหล่งน้ำในธรรมชาติก็มีปลาเหล่านี้อาศัยอยู่  คิดว่าแถบยะลา จะนำเข้ามาจากมาเลเซียอีกต่อหนึ่ง   เพราะชาวจีนเป็นคนเอามา  เข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ    แต่ปัจจุบันคลองธรรมชาติก็แทบจะไม่มีปลาจีนแล้ว   แต่ตอนนี้มีปลาต่างถิ่นอย่าง  ซัคเคอร์ จาก อเมริกาใต้ ปลานิลจากแม่น้ำไนล์  ฯ ลฯ    มาอยู่แทน   และพบเป็นจำนวนมากด้วย  หากจะสรุปว่า ปลาเฉา เป็นสัตว์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน  ตรงนี้  ก็อาจจะพูดได้ไม่เต็มปาก   เพราะอาจจะไม่รุกรานบางแห่ง   แต่บางแห่งอาจจะรุกรานก็ได้   หรือในบางกรณีสิ่งมีชีวิตเมื่อมาหลายๆ ชั่วรุ่น   มันมีการปรับตัว  ไม่แน่ว่า  จะประสบความสำเร็จในรุ่นต่อๆ ไป   อาจจะสิบ ปี ยี่สิบปีขึ้นไป   ก็เป็นไปได้   ในมุมมองนักธรรมชาติวิทยาคิดว่า  ประเทศไทยเรามีความหลากหลายมากจริงๆ   ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเลยเหรอเราถึงไปเอาสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้ามา    และหากเราเข้าใจธรรมชาติจริงๆ    เราจะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติบางส่วนได้โดยไม่ส่งผลต่อสมดุลโดยรวมของธรรมชาติเลย    และสงวนธรรมชาติไว้เหมือนกับฝากธนาคาร   แต่สิ่งที่เราใช้คือดอกเบี้ย   ซึ่ง ไปธนาคารทุกทีเราก็พบว่าเงินต้นเท่าเดิมตลอด  ต้นทุนไทยดี    แต่เสียดายไม่มีความรู้    และคนที่เข้าเรื่องเหล่านี้ก็น้อยมาก   การใช้ทรัพยากรนั้นต้องใช้ให้น้อยที่สุด   แต่คุ้มค่าที่สุด  เปรียบเปรยว่า  คนฉลาดขายก้อนหิน  ยังได้ราคาดีกว่าคนโง่ที่เอาเพชรไปขาย

มองผ่านนักวิชาการเมืองไทย   เกี่ยวกับเรื่องนี้

ปัญหา ณ ปัจจุบันคือ  ไม่ใช่ว่านักวิชาการทุกคนจะมีความรู้ความเข้าใจเหมือนกัน   ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง   และเบื้องหลังของคนๆ นั้น  มีพื้นฐานความรู้มากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ  บางคนไม่ได้จบมาด้านนั้นโดยตรง  ก็อาจจะมีมุมมองที่ต่างไป  หรือ  ใน แต่ละสำนักก็มีความคิดต่างกัน   ขึ้นกับว่ามองบนพื้นฐานอะไร   ส่วนตัวคิดว่า การบริหารจัดการทรัพยากรเมืองไทย  ควรจะแยกให้ชัดเจน   เช่น  คำว่า สิ่งแวดล้อม  คำว่า ธรรมชาติ  คำว่าป่า   ควรพูดคุยให้เข้าใจตรงกัน

จากที่เคยได้พูดคุยกับนักวิชาการหลายๆ กลุ่มพบว่า    บางคนเข้าใจว่า ธรรมชาติ เท่ากับสิ่งแวดล้อม   และป่าคือ การที่มีต้นไม้สีเขียว
 แต่ในฐานะนักชีววิทยาที่ทำงานทางด้านธรรมชาติวิทยานั้น   กระผม คิดว่า  ไม่เหมือนกัน   มันอาจจะมีบางส่วนที่ซ้อนทับกันอยู่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด    และหลายครั้งพบว่า  การรักษา  แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม   แต่เป็นการทำลายระบบสมดุลธรรมชาติ    แต่หากมองในมุมสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น  พบว่า เป็นเรื่องดี   เช่นการปลูกป่า ปลูกต้นไม้   บางแห่งที่ป่าธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า เราไปเปลี่ยนให้เป็นไม้ยืนต้น    หญ้านั้น absorb คาร์บอน ได้น้อยกว่าไม้ต้น    โดยภาพรวมแล้วคาร์บอนไดออกไซด์  ได้เปลี่ยนเป็นส่วนเนื้อไม้เพิ่มขึ้น  ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ  ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ลงได้  โดยเฉพาะที่ประเทศจีนมีการส่งเสริมปลูกป่าไปแล้ว หลายล้านครั้ง  ในแง่มวลรวมชีวภาพอาจจะเพิ่มขึ้น   ( แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  ตรงนี้อาจจะถูกปกปิดข้อเท็จจริงเนื่องจาก มวลชีวภาพที่เพิ่มขึ้นนั้น  ได้ไปเปรียบเทียบกับก่อนกระทำไม่ได้)
   ยกตัวอย่าง  

1. มีนักวิจัยทดลองเรื่องปลูกป่า  ได้มีการสรุปว่า ปลูกดีกว่าไม่ปลูก  
ชุดควบคุมของคุณคือ  พื้นที่ที่ถูกทำลาย  ไม่มีพืชขึ้นอยู่เลย  ก่อนทำการศึกษา
ส่วนชุดทดลองคือ  คือการปลูกป่าโดยไม้โตเร็ว
ระยะเวลา 2 ปี 5 ปี 10 ปี
สิ่งที่คุณต้องการวัดคือ  1 มวลชีวภาพ    2  ปริมาณธาตุอาหาร

การวิเคราะห์ดังนี้  ชุดควบคุมที่ถูกต้องคือ  พื้นที่ที่ถูกทำลายปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปลูก  (ซึ่ง คงไม่มีที่ไหนเลยในไทยที่ป่าถูกเผาทำลายแล้วจะไม่มีต้นไม้ขึ้น  เพราะมันมี seed banks ซึ่ง เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น)
ระยะเวลาที่ศึกษา  หากคุณเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ถูกต้องแล้ว พบว่า มวลชีวภาพ และ  ปริมาณธาตุอาหารในดินชุดปลูกป่า  สูงกว่า ป่าที่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัวนั้น  เพราะเหตุว่ามันเป็นไม้โตเร็ว   และพืชวงศ์ถั่ว   คุณจะสรุปว่า  ปลูกป่าดีกว่าไม่ปลูกอะไรเลย ไม่ได้   เพราะว่าเราไม่ได้ดูในระยะยาวกว่านี้   หากทิ้งไว้สามสิบปี  ผลอาจจะตรงกันข้าม   นอกจากนี้  ใน แง่ Biodiversity คุณก็ไม่ได้ให้ความสนใจ

2.  ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง  คือเรื่อง  การเปรียบเทียบความหลากหลายทางชีวภาพ
คนส่วนใหญ่  เมื่อศึกษาทำการทดลองแล้วมักจะบอกว่า  สถานที่ A มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงกว่า B   และมักเข้าใจว่า หากสถานที่ B มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ  เรามักคิดว่า สถานที่ A นั้นดีกว่า   คือมักบอกว่าความหลากหลายทางชีวภาพสูงดีกว่าความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ  ซึ่ง ต้องขอเรียนว่า  ในแง่ของนักธรรมชาติวิทยา  ไม่สรุปว่าที่ที่ diversity สูง ดีกว่า ที่ที่ Diversity ต่ำ (ไม่เสมอไป) Biodiversity  นั้นสามารถมองได้หลายแง่มุม    และ ถ้าหากเราเข้าใจเรื่องนี้   เราจะนำไปสู่เรื่องการส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง   เพราะถือเป็นเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องธรรมชาติได้ดีทีเดียว      แต่เรื่องนี้มันก็ยากที่จะอธิบายให้คนเข้าใจได้  

ยกตัวอย่างเช่น  ป่าบ้านเรามีสถานที่ 3 โซน  ได้แก่  ป่า A  พืช 50 ชนิด  ป่า พืช 30 ชนิด    และ ป่า C พืช 10 ชนิด   สมมติว่าชนิดไม่ซ้ำกันเลย   รวมกันเป็น  90  ชนิด ตรงนี้คือสภาวะธรรมชาติจริงๆ    คนทั่วไปมองว่า ป่า C 10  ชนิดนั้น  น้อย ไม่หลากหลาย  สัตว์ก็น้อยกว่าหลายคนจึงสรุปว่าเสื่อมโทรม
 แต่ความจริงธรรมชาติ  เป็นแบบนั้น    แต่คนไทยมักจะช่วยเหลือ ป่า C โดยการปลูกป่า  เช่นไปเอากล้าไม้จาก ป่า A หรือ B มาปลูก ใน ป่า C   หากเราไปดูป่า C จะพบว่าหลากหลายมาก  ขึ้นกับการปลูกของคนไทยว่าปลูกจำนวนกี่ต้น   และกี่ชนิด  คนไทยเหล่านั้นบอกว่า  เขาปลูกพืชท้องถิ่นของไทย  และไม่ใช่ monoculture  ด้วย   อาจจะทำให้ ป่าแห่งนั้นกลายเป็นบ้านให้กับนกชนิดอื่นๆ  ก็ตามเข้ามา   สัตว์อื่นๆ ตามเข้ามา  มากขึ้น


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  คือ
    หากไปศึกษาติดตาม พบว่าปีแรกๆ   ป่า C มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น สมมติเพิ่มเป็น 60 ชนิด   ในปีที่หนึ่ง  ปีที่สอง และปีถัดไปอาจจะลดลง ตาม แต่ว่า พืชที่เอามาปลูกจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบ ป่า C ได้แค่ไหน    แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคือ  สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน   ตามหลักการจริงแล้ว  ป่า C ก็มีพื้นที่จำกัดที่รองรับจำนวนสิ่งมีชีวิตได้อย่างจำกัด   เหมือนแก้วน้ำที่เต็มแก้ว   คือ ระบบมัน saturated อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนได้บ้าง แต่โดยเฉลี่ยคือค่อนข้างคงที่   ดังนั้น จำนวนสิ่งมีชีวิตในป่า C จึงเท่าเดิม   แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ชนิด องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต  เปลี่ยน  ระบบเปลี่ยน   ซึ่ง ในระยะยาวมีความน่าจะเป็นหลายแบบ
1. ต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูกอาจจะไม่ส่งผลต่อระบบเก่ามากนัก  ต้นไม้ที่ปลูกตายหมด   สุดท้ายระบบปรับมาเป็นสมดุลเดิม  ไม่เหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์   แต่ใกล้เคียง
2.  ต้นไม้ที่นำมาปลูกบางชนิดอาจจะประสบความสำเร็จในการปรับตัว   และกลายเป็น dominant species   หากโชคดี  คือ  มันยังคงอยู่ร่วมกับ พืช 10 ชนิดที่อยู่ในตอนแรกได้    แต่ส่วนใหญ่  มักจะสูญหายไปในพื้นที่ C ในที่สุด  เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยน

         สมมติว่า  สามสิบปีผ่านไป  พบว่า  พื้นที่ C มีจำนวน 25 ชนิด   คนก็บอกว่าไชโย  ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น   แต่ลึกแล้ว  คือ ในจำนวน 10 ชนิด  อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหายากที่พบเฉพาะถิ่นทั้งหมด    และพบเฉพาะแบบแหล่งอาศัย C   แต่เมื่อมันหายไปหมดแล้ว   พบว่า ป่าบ้านเราโดยภาพรวม  มีจำนวนเหลือทั้งหมด  เท่ากับ 80 ชนิดเท่านั้น  แม้ว่าจำนวนต้นไม้อาจจะเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นก็ตาม   ซึ่ง ตรงนี้เราต้องมองในสเกลที่ใหญ่ขึ้น   เช่นเรา introduced สมช. เข้ามา  ก็เหมือนกัน  ถึงแม้ว่าต่อให้จำนวนจะเพิ่มขึ้น (ซึ่ง ส่วนใหญ่จะลดลง)   แต่ส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่ม species richness ในระดับ แอลฟา diversity  
 แต่กลับกันในภาพรวมระดับ เบต้า แกรมม่า เดลต้า  มันลดลง มาก  โดยเฉพาะเวลาเรามองรวมกันทั้งโลก   ที่ทำให้จำนวนชนิดมันเพิ่มขึ้นนั้น  เป็นการเพิ่ม ณ ที่หนึ่งๆ    ระยะเวลาผ่านไปอาจจะลดลง   และเลวร้ายที่สุด   คือมันมีความผันแปรในเรื่อง สถานที่ และเวลา   Spatio-temporal variation ซึ่ง เป็นเรื่องที่ซับซ้ำมาก    และที่ทำกันทุกวันนี้ แล้วประโคมข่าวว่าอนุรักษ์  สมช. ต่างๆ   ในฐานะนักธรรมชาติวิทยาคิดว่า เป็นความล้มเหลว และเข้าใจผิดอย่างมากด้วย  เพราะการที่สิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากการย้ายที่   เราไปจับสมช. ที่มีอยู่แล้ว ณ ที่หนึ่ง  ไปไว้รวมกันมากๆ อีกที่หนึ่งเท่านั้น   ซึ่ง อาจจะเป็นการหลอกทั้งตัวเอง และคนอื่นๆ  ด้วย  ต้องยอมรับว่า คนเรามี bias มากๆ    หากเราคิดว่ามันดีกับอาชีพเรา  เราก็พร้อมที่จะเลือก  ขอเพียงเราไม่เสียผลประโยชน์ก็เท่านั้น

มีคนย้อนถามผมเชิงเยาะหยันว่า  เพิ่งจะรู้ว่าเรื่องแค่นี้มันต้องอาศัยหลักวิชาการมากขนาดนั้นเลยเหรอ
คนไทยชอบปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี  

อาจจะเป็นเพราะว่า อดีตเคยมีนักวิชาการบางคนรู้ทฤษฏีไม่จริงแล้วไปเผยแพร่ผิดๆ   เมื่อถูกจับได้จึงเป็นปลาเน่าทั้งเข่ง    แต่ความจริงแล้วใครถนัดอะไรก็ขอให้ทำในสิ่งที่ตนสนใจ หรือถนัด ทำด้วยใจรัก  และเปิดใจที่จะค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอด   ซึ่ง เป็นไปไดก้ว่าที่เราเรียนรู้ว่าอาจจะผิดก็ได้   แต่หากเราเรียกว่าทฤษฏีแล้ว  ย่อมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือมาก เป็นที่ยอมรับของวงการในแง่ของตรรกศาสตร์    แต่แทนที่คนปฏิบัติเมื่อทำไม่ได้อย่างทฤษฏี  กลับไปโทษ ทฤษฏี   ซึ่ง เป็นเรื่องน่าแปลกของคนไทย   เพราะเป็นคนที่เชื่อเรื่องงมงายได้ง่าย   แต่เรื่องวิชาการ  เรื่องวิทยาศาสตร์กลับไม่ค่อยเชื่อ   แต่จริงๆ แล้วทั้งทฤษฏี และปฏิบัติต่างก็สำคัญทั้งคู่   ทฤษฏีมันก็ล้วนมากจากการปฏิบัติทดลองซ้ำๆ  ไม่รู้กี่ครั้ง  การที่คุณทำตามแล้วไม่ได้ผลตามนั้น  อาจจะมีเงื่อนไขอย่างอื่นที่นอกเหนือความคาดหมาย ไม่สามารถควบคุมได้ก็เท่านั้นเอง   ปฏิบัติโดยไม่สนทฤษฏีความรู้  ถึงหวังดี   แต่ผลลัพธ์กลับเลวร้ายกว่าที่คิดก็เป็นได้


ปล.  สุดท้ายกระผมคิดว่า  กระบวนการ falsification  ในเมืองไทยอ่อนแอมากๆ    เรามักจะชอบคนที่ขยันเสนอ และกระทำอย่างไม่ลืมหูลืมตา  (เข้าใจว่าเจตนาดี   และขยัน )    แต่การพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำอยู่ว่าผิดของนักวิชาการมักจะโดนกล่าวหาอย่างร้ายแรง   และถูก discredit  ว่าอิจฉา  มองโลกในแง่ร้าย  ซึ่ง คนไทยจะไม่ชมชอบ    แต่กระผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ควรมีเพราะเป็นเรื่องสร้างสรรค์   ขอเพียงเราเปิดใจ  และไม่โกรธกัน ประเทศไทยจะได้พัฒนาเหมือนอย่างวงการวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ
Mak [ 27 มี.ค. 2553 12:17:38 ]
Ti.ja@chaiyo.com
ความคิดเห็นที่: 13
มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วย การควบคุมสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกราน    

สมช. ต่างถิ่นที่รุกรานจำนวนมาก  ไม่ได้ขึ้นบัญชีดำไว้    แต่อย่างไรก็ตาม  จดจำชื่อบุคคล พวกที่นำเข้าไว้หน่อย  หากมันระบาดขึ้นมา  จะได้ประนามได้ถูกคน

         วันก่อนดูทีวี  แรกๆ มีสารคดี ปลาซัคเคอร์  ว่าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้    แต่วันสุดท้าย  กลับหักมุม บอกข้อดีซะงั้น   และตอนนี้ก็ทำรายได้ให้กับชาวบ้านได้เดือนเป็นแสนเลยทีเดียว โดยไม่ต้องลงทุน  เพราะลูกมันดกมาก   แต่พอมีคนประกอบอาชีพนี้เมื่อไหร่ มันขยายวงกว้างเมื่อไหร่   กระบวนการควบคุม การออกกฏบังคับมันจะมีปัญหามากขึ้น  เพราะมันจะไปสร้างความเสียหายให้คนทำธุรกิจด้านนี้  
         เช่นเดียวกันกับทุ่งบัวตอง   หน่วยงานภาครัฐบางแห่งส่งเสริมให้ปลูก  ถึงแม้มติครม จะบอกว่า ไม่ปลูก ไม่เลี้ยง ไม่จำหน่าย   ออกไปเผยแพร่    แต่ดูมันประหลาดชอบกล  แล้วยังมีผู้ใหญ่บ้านเมืองบางคน  เวลาไปประชุม ก็บอกว่า ปลูกยูคาลิปตัส   ปกป้องอย่างดีว่ายูคาลิปตัสดี   อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าห่วงคือ ป่าเมืองไทยเดียวนี้ มี พืชองค์ประกอบหลักเป็น กระถินยักษ์  กระถินเทพา  กระถินณรงค์   เกือบทุกที่   แม้กระทั่ง ป่าในละครช่องต่างๆ   ก็มี แต่พวกนี้ทั้งนั้น

ปล. มีคนเข้าใจเรื่องอนุรักษ์ ผิดๆ    มักจะมองการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน  ซึ่ง ภาวะดังกล่าวแทบจะไม่สะเทือนต่อระบบนิเวศธรรมชาติที่แข็งแรงอย่างป่าบ้านเรา  มันไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น  อีกอย่างภายในป่า  นั้นอุณหภูมิจะค่อนข้างคงที่   หากติดตามลักษณะภูมิอากาศในระยะยาวเป็นร้อยปี จะพบว่ามีบางปีในอดีตที่ร้อน  และแล้งกว่าปีนี้ก็มี    และสมช. ก็มีวิวัฒนาการมานานอายุเป็นล้านปี   สมช. ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่สุดอาจจะเป็นคนด้วยซ้ำ  ที่ตื่นกระแสอนุรักษ์เป็นเรื่องดี  แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติก่อน  การอนุรักษ์ไม่ใช่การ fixed ให้ธรรมชาติหยุดอยู่อย่างนั้น    แต่ปล่อยให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตามพลวัตรของมันเอง  โดยที่คนเฝ้าสังเกตุการณ์  อย่าไป Bias ว่า จะอนุรักษ์สมช.นั้น สิ่งมีชีวิตนี้  ซึ่ง ลำเอียง  ไม่เป็นธรรม   แต่เราอนุรักษ์ทั้งระบบ หมายถึงแหล่งอาศัยของมัน  ส่วนการใช้ประโยชน์ก็ใช้ให้เป็น   แต่ต้องถ่วงดุลกัน ทุกวันนี้ เราเปิดเผาป่ากันมากแล้ว หยุดทีเถอะ ครับ
ศน [ 27 มี.ค. 2553 12:53:19 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ขอบคุณ อ. Mak สำหรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ  ถ้ามีโอกาสอยากจะเจอ เพื่อจะขอความรู้ต่อไปครับผม
นณณ์ approve [ 29 มี.ค. 2553 11:02:25 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ผมคิดว่า สาเหตุที่คนไทยดูถูกวิชาการ หรือนักวิชาการ ก็เพราะว่าคนพวกนั้น ไม่เข้าใจวิชาการครับ
เพราะ ถ้าเค้าเข้าใจ ได้เรียน ได้ศึกษาทั้งด้วยในสถาบัน หรือด้วยตัวเอง
เค้าก็จะไม่ดุถูกมัน

อีกอย่างคือ เมื่อไร นักวิชาการจะเป็นคนๆ เดียวกับผู้ปฏิบัติ
หรือแม้ แต่ร่วมมือกับผู้ปฏิบัติได้อย่างลงตัว

ขอบคุณ อ. Mak สำหรับแนวคิด และข้อมูลดีๆ

ปล. ขอตัวไปขอหวยกับเต่านากลายพันธุ์ก่อน
RoF [ 29 มี.ค. 2553 13:36:38 ]
ความคิดเห็นที่: 16
วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ:    คลองธรรมชาติ  ปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สภาพจึงไม่เหมือนเดิม  บางแห่งตื้นบางแห่งลึก  ขึ้นกับรูปแบบโค้งน้ำ  ฤดูกาลเองก็มีผลต่อรูปแบบลักษณะทางกายภาพที่เรามองเห็น  ในสภาวะก่อนขุดลอกคูคลอง  มักจะประกอบด้วยดิน โคลนจำนวนมาก    และริมตะลิ่งมักมีพืชชายน้ำจำนวนมาก    และในแหล่งน้ำเองก็มีพืชน้ำมากเช่นกัน   ซึ่ง  ตรงนี้ก็เป็นการส่งเสริมให้ระบบนิเวศลำน้ำมีความหลากหลายของแหล่งอาศัยย่อยจำนวนมาก ยิ่งส่งผลทำให้อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ     แต่เมื่อภาครัฐมองว่าเสื่อมโทรม  ได้ไปทำลายระบบนิเวศตรงนี้ไป  ส่งผลให้คลองเปลี่ยน  สภาพแวดล้อมกลับกลายมีลักษณะเหมือนกันตลอดลำน้ำ    พืชน้ำท้องถิ่น หายไป   สัตว์น้ำพื้นเมืองก็แทบจะหายไปทั้งหมด   เมื่อมีการขุดลอกคลองให้ลึกขึ้นส่งผลให้พื้นดินริมตลิ่งพังทลายอย่างมาก  โดยเฉพาะในฤดูฝน   จะเกิดคล้ายๆ  แบบโดมิโน่   พังลงเรื่อยๆ        อีกทั้ง การที่สภาพพื้นที่กลายเป็นพื้นที่เปิดโล่ง  ก็เปิดโอกาสใน Invasive alien plants จำนวนมากเข้ามายึดครองพื้นที่ได้ก่อน  เช่น ไมยราบยักษ์  หรือไมยราบต้น  ซึ่ง  เป็นพืชที่ผลิตเมล็ดจำนวนมากต่อปี  แทบจะมองไม่เห็นทางที่คุณจะกำจัด พืชต่างถิ่นออกไปได้เลย    และระบบนิเวศที่สวยงามก็เปลี่ยนไปแบบกู่ไม่กลับ


เรื่องขุดลอกคูคลอง แล้วปลูกพืชกันตลิ่งพัง...อันนี้อาจจะไม่ใช่เพื่อ"เพิ่มแหล่งอาศัยให้ปลา"หรือ"ภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม"เสมอไปครับ   แต่บ่อยครั้งก็เพื่อความเป็นอยู่ของคนครับ ซึ่ง บ่อยครั้งเราไปห้ามไม่ได้...เช่น หากชาวบ้านเค้าขุดลอกคูคลองเพื่อป้องกันน้ำท่วม  ขืนเราไปบอกเขาว่า น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อกระจายพันธุ์ปลา > เผลอๆ จะโดนหัวเราะเยาะหรือด่าทอเอาได้  ประมาณว่าก็เอ็งไม่เคยโดนน้ำท่วมบ้านหรือท่วมไร่นาน่ะสิ
snakeeater approve [ 29 มี.ค. 2553 15:12:45 ]
ความคิดเห็นที่: 17
โดยเฉพาะเวลาเรามองรวมกันทั้งโลก   ที่ทำให้จำนวนชนิดมันเพิ่มขึ้นนั้น  เป็นการเพิ่ม ณ ที่หนึ่งๆ     ระยะเวลาผ่านไปอาจจะลดลง    และเลวร้ายที่สุด   คือมันมีความผันแปรในเรื่อง สถานที่  และเวลา   Spatio-temporal variation ซึ่ง  เป็นเรื่องที่ซับซ้ำมาก     และที่ทำกันทุกวันนี้ แล้วประโคมข่าวว่าอนุรักษ์  สมช. ต่างๆ    ในฐานะนักธรรมชาติวิทยาคิดว่า เป็นความล้มเหลว  และเข้าใจผิดอย่างมากด้วย  เพราะการที่สิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากการย้ายที่   เราไปจับสมช. ที่มีอยู่แล้ว ณ ที่หนึ่ง  ไปไว้รวมกันมากๆ  อีกที่หนึ่งเท่านั้น   ซึ่ง  อาจจะเป็นการหลอกทั้งตัวเอง  และคนอื่นๆ   ด้วย  ต้องยอมรับว่า คนเรามี bias มากๆ     หากเราคิดว่ามันดีกับอาชีพเรา  เราก็พร้อมที่จะเลือก  ขอเพียงเราไม่เสียผลประโยชน์ก็เท่านั้น


ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ครับ...
มีใครกล้าพูดได้บ้างว่า  ถ้าวันนั้น เมื่อหลายสิบปีก่อน คุณอุทัย ยังประภากรณ์ ไม่ริเริ่มจับจระเข้จากธรรมชาติมาเลี้ยง และขยายพันธุ์ในฟาร์ม(ซึ่ง เป็นฟาร์มต้นแบบจนสวนสัตว์ และฟาร์มอื่นๆ เอาแนวทางไปใช้ได้)  
เวลานี้จระเข้น้ำจืดไทยก็ยังคงมีอยู่ในธรรมชาติตามปกติ?  ที่มันลดลงเป็นเพียงเพราะพวกมันถูกจับมาขังไว้ในฟาร์มหรือสวนสัตว์?
snakeeater approve [ 29 มี.ค. 2553 15:27:01 ]
ความคิดเห็นที่: 18
"เรื่องขุดลอกคูคลอง แล้วปลูกพืชกันตลิ่งพัง...อันนี้อาจจะไม่ใช่เพื่อ"เพิ่มแหล่งอาศัยให้ปลา"หรือ"ภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม"เสมอไปครับ    แต่บ่อยครั้งก็เพื่อความเป็นอยู่ของคนครับ ซึ่ง  บ่อยครั้งเราไปห้ามไม่ได้...เช่น หากชาวบ้านเค้าขุดลอกคูคลองเพื่อป้องกันน้ำท่วม  ขืนเราไปบอกเขาว่า น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อกระจายพันธุ์ปลา > เผลอๆ  จะโดนหัวเราะเยาะหรือด่าทอเอาได้  ประมาณว่าก็เอ็งไม่เคยโดนน้ำท่วมบ้านหรือท่วมไร่นาน่ะสิ "

อย่างที่บอกไปแล้วว่า ในแง่ของการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องข้อดีข้อเสียนั้น   ก็ขึ้นกับมุมมองของคน  แต่ละคนว่ามีพื้นฐานความรู้ อาชีพ    และความต้องการของคนนั้นๆ  ว่า มีวัตถุประสงค์ และความต้องการให้มันเป็นไปอย่างไร  

ถ้าหากคณคิดเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงๆ   ก็เป็นเรื่องที่ทำได้   แต่ความจริงมันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุนะครับ   แต่ก็ต้องแลกกับบางอย่างที่สูญเสียไป เราก็เสนอข้อเท็จจริงให้คุณเลือก  ก็เท่านั้น  สมัยก่อนคนจะพึ่งพา และเครพธรรมชาติ   การปลูกสร้างบ้านเรือนก็สร้างแบบมีเสาสูง  สามารถปลูกบ้านริมน้ำได้    และป่าต้นน้ำก็ยังดีอยู่  ดังนั้นไม่ว่าน้ำท่วมตามฤดูกาล  คนเราก็ปรับเข้ากับธรรมชาติได้   ดังนั้น จึงใช้ชีวิตกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว   ความหลากหลายทางชีวภาพก็มีอยู่    แต่กรณีที่เราเลือกที่จะเปลี่ยนธรรมชาติ เพื่อตัวเรานั้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ชาวบ้านมีสิทธิ์เลือก    แต่เราก็บอกให้เข้าใจว่าคุณเลือกแบบที่สองคุณจะได้อีกแบบหนึ่ง  เรามองในมุมนักธรรมชาติวิทยา


"มีใครกล้าพูดได้บ้างว่า   ถ้าวันนั้น เมื่อหลายสิบปีก่อน คุณอุทัย ยังประภากรณ์ ไม่ริเริ่มจับจระเข้จากธรรมชาติมาเลี้ยง  และขยายพันธุ์ในฟาร์ม(ซึ่ง  เป็นฟาร์มต้นแบบจนสวนสัตว์  และฟาร์มอื่นๆ  เอาแนวทางไปใช้ได้)  
เวลานี้จระเข้น้ำจืดไทยก็ยังคงมีอยู่ในธรรมชาติตามปกติ?  ที่มันลดลงเป็นเพียงเพราะพวกมันถูกจับมาขังไว้ในฟาร์มหรือสวนสัตว์? "

ตรงนี้เมื่ออ่านแล้วต้องบอกว่า อาจจะมีการ เข้าใจความหมายในประโยคที่กระผมกล่าวไว้ผิดไปมาก   และการวิเคราะห์ประโยคดังกล่าว  ก็เป็นการใช้ตรรกะที่เป็นคนละเรื่องกันนะครับ

  "  แต่ส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่ม species richness ในระดับ แอลฟา diversity  
 แต่กลับกันในภาพรวมระดับ เบต้า แกรมม่า เดลต้า  มันลดลง มาก  โดยเฉพาะเวลาเรามองรวมกันทั้งโลก "

ประโยคนี้หมายถึง  การปลูกป่า (reforestation)  การคืนสิ่งมีชีวิต ณ ที่หนึ่งๆ  (reintroduction)  เป็นการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตได้ช่วง และยะเวลาหนึ่ง และเพียงพื้นที่หนึ่งๆ   เมื่อเวลาผ่านไประบบจะปรับสมดุล  สุดท้ายจำนวนอาจจะเท่าเดิม  หรือน้อยกว่าเดิม  (เพิ่ม point diversity หรือ alpha diversity)   แต่โดยภาพรวม ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น  ความหลากหลายของจำนวน และชนิดจะลดลงมาก   ตรงนี้มันอธิบายยาก อาจจะไม่เข้าใจ   เอาเป็นว่าธรรมชาติเหมือนกรงไก่ใบหนึ่งมีอาหาร จำนวน xx  ไก่อยู่ได้ แค่ 5 ตัว  แต่การที่เราไปเอาไก่มาเพิ่มอีกสิบตัว(สมช.)  ยัดเข้าไปในกรง(ธรรมชาติ)   สิ่งที่เกิดขึ้นคืออาหารไม่พอ   ไก่จิกกันตาย  สุดท้ายอาจจะเหลือน้อยกว่า 5 ตัว หรืออาจตายหมด  เพราะอาหารไม่พอ (ธรรมชาติวิบัติ)

หรือ สมมุติว่า  ทั่วโลกมีตัว BB  20 ชนิด  อเมิกาใต้ มี 15 ชนิด  ไทยมี 5 ชนิด  สมมติว่าไทยอยากมี BB เพิ่มขึ้นไปเอา BB อเมริกาใต้มา 15 ชนิด  ช่วงสิบปีแรกๆ ที่นำมา  ไทย มี BB 5+15 เป็น 20 ชนิด  คนไทยดีใจประเทศไทยมี BB เยอะที่สุด  ตรงนี้หมายถึงเพิ่ม   แต่ในระยะยาวเนื่องจาก Niches จำกัด  เกิด Competition    และในที่สุด จำนวนชนิดจะลดลงเรื่อยๆ   เมื่อเวลาผ่านไป  30-40 ปี  ในไทยอาจจะเหลือ 15 ชนิด  ที่เป็น BB Alien ที่มาจากต่างประเทศทั้งหมด   ส่วนอีก 5 ชนิดของไทย  สูญพันธุ์ไปจากไทยหรือจากโลก  สรุปไทยมี BB 15 ชนิด เหมือนอเมริกาใต้   มองในระดับสเกลเล็กๆ   จะพบว่าไทยมี ความหลากชนิดของ BB เพิ่มขึ้น   แต่มองในระดับใหญ่ขึ้น  พบว่าทั่วโลก  BB มีเพียง 15 ชนิด   เพราะ BB Native ไทยสูญพันธุ์    ไป ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นความน่าจะเป็น  เป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้จริง    แต่มีตัวอย่างในสมช. หลายๆ ชนิด  เนื่องจากเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องระยะยาว  ผลกระทบไม่ได้เห็นภายในช่วงสั้นๆ      

อีกประโยคหนึ่งคือ "ที่ทำให้จำนวนชนิดมันเพิ่มขึ้นนั้น  เป็นการเพิ่ม ณ ที่หนึ่งๆ     แต่กลับลดอีกที่หนึ่ง  เป็นแค่การย้ายที่)  เช่น  การนำเอาปะการังเทียมไปวางในที่หนึ่งๆ    เราศึกษาติดตามพบว่า  บริเวณที่มีการนำเอาปะการังเทียมไปวาง มีสมช. ต่างๆ มากมาย  เราเข้าใจว่าสมช. เพิ่มขึ้น    แต่ความจริงแล้วเป็นไปได้ว่า ที่เพิ่มนั้นมาจากแหล่งอื่นๆ    แต่ปะการังเทียมเป็นแค่ตัวล่อให้สมช. มารวมฝูงกัน  ก็เป็นไปได้   มีอีกหลายปัจจับ    และแน่ใจอย่างไรว่า สภาพแวดล้อมเทียมที่สร้างขึ้นไม่มีผลในเชิง Negative เลย  มีการศึกษาติดตามกันบ้างหรือไม่   อันนี้เป็นคำถามทิ้งท้าย

แต่ในฐานะนักธรรมชาติวิทยา กระผมคิดว่าเราคงไม่สามารถบอกว่ามีมาก สมบูรณ์หรือดีกว่าว่ามีน้อย    แต่สิ่งที่กระผมเห็นถึงความงามของธรรมชาติก็คือ  บริเวณที่ไม่ได้ถูกปรุง แต่งจากมนุษย์  ซึ่ง มันเป็นอีกโลกหนึ่งที่เราอยากเรียนรู้ระบบ ความเป็นไปของธรรมชาติ   นอกจากนี้  กระผมคิดว่าเรื่อง zero-sum assumption, neutral biodiversity theory VSs Niche theory  และเรื่อง Community ecology จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติมากยิ่งขึ้นครับ

กลุ่มนักอนุรักษ์หลายๆ ท่าน  มีความคิดด้านการอนุรักษ์  สิ่งมีชีวิตที่เราต้องการ  เช่น  นักอนุรักษ์นก ก็อนุรักษ์ แต่นก และสิ่งที่เกี่ยวกับนก   คนที่รักงูก็รัก แต่งู  พยายามที่จะเพิ่ม Niches หรือช่วยกำจัดศัตรูของสิ่งมีชีวิตที่ตนต้องการอนุรักษ์  ซึ่ง สะท้อนแนวคิดมนุษยนิยมได้ดีทีเดียวว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล    ถามว่าคิดแบบผิดไหม  ก็ตอบว่าไม่ผิด   อย่างที่บอกไปแล้วว่า เราไม่พูดข้อดีข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับคน    แต่หากเราเอาคนที่เป็นที่ตั้ง   เริ่มต้นย่อมเกิดความไบเอส ตามความคิดของ แต่ละคน    และที่กล่าวไป แต่ต้น  ว่าเราศึกษาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติ   ไม่ใช่เพื่อความอยู่ดีกินดี  หรือเพื่อสิ่งที่เราอยากให้เป็น   เพียงหาคำอธิบาย   และในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ก็บอกว่า ไม่ว่าสัตว์ชนิดใดจะสูญพันธ์ไปด้วยสาเหตุอะไร   แต่หากเกิดจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ นั้นก็เป็นสิ่งที่เราควรเครพ  ต่อธรรมชาติ    แต่กรณีที่เราควรตระหนักก็คือ  มนุษย์ได้ทำลายธรรมชาติ  ทำลายระบบ  ทำลายแหล่งอาศัย    และสร้างสิ่งที่ไม่เป็นธรรม  เอารัดเอาเปรียบเลือกที่รัก มักที่ชัง ตรงนี้คือต้นเหตุ  ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนักธรรมชาติวิทยา คือ ศึกษาธรรมชาติให้เข้าใจ    และอนุรักษ์ธรรมชาติทั้งระบบ  ไม่ใช่อนุรักษ์ที่ตัวสิ่งมีชีวิต


ปัญหามีหลายแบบ

- ป่าหมดก็ปลูกป่า  (ป่าธรรมชาติกลายเป็นป่าเทียม)

-คนส่วนใหญ่แยกไม่ออกว่า ป่าแบบไหนคือป่าเสื่อมโทรม  ดังนั้นจึงทำลายป่าธรรมชาติดีๆ  เพื่อปลูกป่า   ปลูกป่าในป่า   เอาเมล็ดกระถินยักษ์ไปโรยจาก เฮลิคอปเตอร์

-คนส่วนใหญ่แยกไม่ออกว่าสมช. เป็น สมช. ต่างถิ่น  ดังนั้นจึงคิดว่า  ปลูก เลี้ยง  ปล่อยสู่ป่าเป็นเรื่องดี  

1. กลุ่มคนเลี้ยงสมช. ต่างถิ่น  นำเข้า  (สาเหตุหนึ่งของ สมช. ท้องถิ่นสูญพันธ์)

               ต่อมา ---แก้ปัญหาโดย สนับสนุนปลูก เลี้ยง สมช. ท้องถิ่น

2. เกิดปัญหาตามมาต่อเนื่องคือกลุ่มคนที่เอาสมช. Native มาขายหมดป่า (ใช้ประโยชน์มากเกินไป)
               ต่อมา----แก้ปัญหาคือ เพาะพันธุ์สมช. ท้องถิ่นเยอะๆ  

3. กลุ่มนักอนุรักษ์ที่พยายามเพาะพันธุ์สมช. มากปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
                ต่อมา-----ปัญหาคือไม่เข้าใจธรรมชาติ

สรุป      เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในปัจจุบันคือความไม่เข้าใจธรรมชาติ
           ที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นการยกตัวอย่างอาจจะไม่ใช่ทุก case ที่เป็นดังที่กล่าว  ขอให้มีวิจารณญานด้วย  เพราะที่ยกตัวอย่างไป เป็นความน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งเท่านั้น    และบางเรื่องก็เป็นการเปรียบเปรย  ให้เห็นถึงวิธีคิด   แต่จุดมุ่งหมายหลัก  คือ เข้าใจธรรมชาติ ก่อน ปฏิบัติการอนุรักษ์    และปฏิบัติไป  ย้อนตรวจสอบอยู่เสมอๆ   ว่าสิ่งที่ทำนั้นใช่แบบที่คิดจริงๆ  หรือเปล่า
                             เพราะที่ผ่านมาธรรมชาติบอบช้ำรอบสองจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   เช่น ปลูกป่า สร้างฝาย - ปล่อยปลา  ปล่อยสัตว์  คืนกล้วยไม้สู่ป่า   สะท้อนถึงความขาดความรู้อย่างมาก
Mak [ 30 มี.ค. 2553 22:54:33 ]
ความคิดเห็นที่: 19
เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณ...

กรณีสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ที่ยังไม่ถูกจัดเป็น Invasive
แม้ว่าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น อาจจะไม่สามารถคุกคามสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมได้ 100%   แต่แน่นอนว่ามันต้องมีกระทบบ้าง เช่นการแย่งทรัพยากรณ์
เช่น สมมติว่า ตะกอง กับ เบซิลิสค์ มีความสามารถเท่ากันในการปรับตัวอยู่รอด
ถ้าเอาตะกองไปปล่อยที่บราซิล เอาเบซิลลิสค์มาปล่อยในไทย
ตะกองอาจไม่ทำให้เบซิลิสค์สูญพันธุ์  แต่ก็น่าจะทำให้ลดจำนวนลงได้กึ่งหนึ่ง จากการแข่งขันด้านอาหาร
กลับกัน เบซิลลิสค์ อาจไม่ทำให้ตะกองสูญพันธุ์ได้เช่นกัน  แต่แน่นอนมันต้องแก่งแย่งทรัพยากรณ์ จนตะกองลดจำนวนลง
snakeeater approve [ 31 มี.ค. 2553 08:54:34 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ประมาณนั้นครับ

ความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นมีหลายแบบ   แต่ที่เกิดผลในเชิงลบ ปัจจุบันมันมีตัวอย่างมาก   และน่ากลัวกว่าที่คิดไว้มากสำหรับการรุกรานของสมช. ต่างถิ่น  ซึ่ง ส่วนใหญ่เมื่อไปอยู่ต่างถิ่น  มันจะไม่มีศัตรูธรรมชาติ  ดังนั้นเมื่อปรับตัวได้มักจะมีการระบาดอย่างรุนแรง   ซึ่ง สมช. หลายชนิดที่ยังไม่มีการระบาดในปัจจุบัน  คือ ถ้าเป็นสมช.เขตร้อนเหมือนกัน เช่นมาจากแอฟริกา  ออสเตรเลียหรืออเมริกาใต้  พวกนี้จะน่ากลัว   บางชนิดอาจจะใช้เวลานานกว่าจะระบาด   แต่บางชนิดก็เร็ว   แต่ก็มีบ้างบางชนิดที่ไม่ระบาดอยู่กับสมช.ท้องถิ่นได้โดยไม่ส่งผลกระทบมากมาย (ซึ่ง อาจจะไม่รู้มากกว่า)

ในพืชพวกที่ใช้เวลานานกว่าจะระบาดจะเป็นพวกไม้ต้น    แต่หากถึงรอบที่มันผลิตเมล็ดได้จำนวนมาก  พวกนี้จะน่ากว่ากว่าพืชล้มลุกเสียอีก   ส่วนสัตว์ไม่ต้องพูดถึง  ผลกระทบเกิดขึ้นเร็วมาก  สัตว์แปลกๆ ที่นำเข้ามา  ไทยเราไม่มีมาตราการใดๆ  เลย  ตอนนี้คาดว่าสมช.บ้านเราถูกแทนที่ด้วย Alien ไปเยอะมากแล้ว   อย่างกุ้งในทะเลก็มี แต่กุ้งขาวต่างถิ่น  เป็นต้น  

ใน Neutral community ecology คนที่ศึกษาพบว่า ระบบหนึ่งๆ  ภายใต้พื้นที่หนึ่งๆ  ซึ่ง เป็น Climax community ระบบจะอิ่มตัว จำนวนสมช. จะคงที่ (ในเชิงสถิติ) เมื่อมีตายก็เกิดใหม่ทดแทน  ในอัตราที่พอๆ กัน   แต่สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความแตกต่างขององค์ประกอบ  และความหลากชนิดนั้นมีกระบวนการที่เกิดขึ้นที่สำคัญ  คือ immigration Vs local extinction   (local community)  ในระดับสเกลที่ใหญ่ขึ้นคือ  Speciation vs Extinction (Meta community)  จะเห็นว่าปัจจัยที่ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพนั้นไม่ได้ขึ้นกับ Niches เพียงอย่างเดียว Neutral processes ก็มีผลด้วยเช่นกัน    

ดังนั้นการที่เรา Introduced alien species เข้ามา ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากๆ   เพราะ หากระบบนิเวศแข็งแรง Alien ก็เข้าไม่ได้   แต่หาก Alien เข้าได้ย่อมหมายถึงการทดแทนมีการเกิดขึ้น   แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เป็นไปตามนี้ ขึ้นกับเงื่อนไขของ แต่กรณีศึกษา  ซึ่ง ที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบที่พบได้มาก

นี่ยังไม่รวมในแง่ของความหลากหลายทางพันธุกรรม   ในการปลูกป่าหรือการเอาสมช.ใดๆ  เข้าไปในป่า  แม้ว่าจะสมช.ท้องถิ่นของไทยเองก็ตาม  ที่ป่าแห่งนั้นก็มีอยู่   แต่ก็อาจจะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพระดับพันธุกรรมได้เหมือนกัน หรืออีกแง่อาจะทำให้เสียความบริเสทธิ์ทางสายพันธุ์   เพราะสัดส่วนองค์ประกอบของสมช. ในสังคมตามธรรมชาติ  เกิดจากการคัดเลือกทางธรรมชาติ  ซึ่ง หากคนไปยุ่ง  สัดส่วนต่างๆ เมื่อเปลี่ยนแปลงไปไม่เป็นไปตามธรรมชาติ  ความน่าจะเป็นที่ผลจะเกิดขึ้นในเชิงลบก็มีสูง   อันนี้ก็อธิบายยากเหมือนกันต้องอาศัยความรู้ด้านพันธุศาสตร์    อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีงานวิจัยด้านนี้ออกมากล่าวถึงผลเสียมากนัก  ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยตระหนัก   แต่ระยะยาว  น่าเป็นห่วงมากครับ
Mak [ 31 มี.ค. 2553 10:58:27 ]
ความคิดเห็นที่: 21
"ปล.  สุดท้ายกระผมคิดว่า  กระบวนการ (ตกคำว่าตรวจสอบ)  falsification  ในเมืองไทยอ่อนแอมากๆ  "
BB [ 03 เม.ย. 2553 10:23:26 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ตามมาอ่านอยู่ครับ
นณณ์ approve [ 04 เม.ย. 2553 20:47:47 ]
ความคิดเห็นที่: 23
เข้ามาตามอ่านอีกรอบ
knotsnake approve [ 07 เม.ย. 2553 03:21:51 ]
ความคิดเห็นที่: 24
มาขโมยความรู้....
............................................
ปล. alien species = มนุษย์
     มนุษย์ = alien species
     สมช.อื่นๆ อยู่ภายใต้เงื้อมมือ alien species (มนุษย์)
ZIID [ 22 เม.ย. 2553 10:49:53 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org