กระทู้-14054 : ข่าว : "ตัวเงินตัวทอง" สปีชีส์ใหม่กินผลไม้ โผล่ให้เห็นในฟิลิปปินส์

Home » Board » เลื้อยคลาน

ข่าว : "ตัวเงินตัวทอง" สปีชีส์ใหม่กินผลไม้ โผล่ให้เห็นในฟิลิปปินส์

นักชีววิทยาตื่นเต้น หลังพบตัวเงินตัวทองสปีชีส์ใหม่ในฟิลิปปินส์ แต่เจ้าตัวนี้กินผลไม้ ไม่กินเนื้อสัตว์ นักวิจัยระบุเป็นสัตว์สำคัญเทียบชั้น "ลิงคีปันจิ" ในแอฟริกา และ "กวางเสาลา" ในลาว บ่งชี้แดนกาตาล็อกยังเป็นดินแดน "ฮอตสปอต" ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ แต่สถานการณ์น่าเป็นห่วงเพราะป่าไม้ยังถูกทำลายลงเรื่อยๆ
       
       "มันอาศัยอยู่บนต้นไม้ แน่นอนว่ามันไม่ได้มีน้ำหนักมากเท่าเจ้ามังกรโคโมโด ที่ทั้งตัวใหญ่ และยังกินเนื้อสดๆ  ทีละมากๆ  แต่เจ้าตัวนี้มันกินผลไม้  และ เป็นเพียง 1 ใน 3 ชนิด ของสัตว์เลื้อยคลานพวกจิ้งจกตุ๊กแกที่กินผลไม้เป็นอาหาร" เรฟ บราวน์  (Rafe Brown)  นักชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลาน มหาวิทยาลัยแคนซัส  (University of Kansas)  สหรัฐฯ  ซึ่งร่วมทีมวิจัย บรรยายลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ใหม่ในสกุล "วารานัส"  (Varanus)  สกุลเดียวกับตะกวด ตัวเงินตัวทอง  และมังกรโคโมโด ขณะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรอยเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ โดยนักวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อสปีชีส์ใหม่ว่า วารานัส บิตาตาวา  (Varanus bitatawa)



วารานัส บิตาตาวา  (Varanus bitatawa)  สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเดียวกับตัวเงินตัวทอง และมังกรโคโมโด  ซึ่งเป็นสปีชีส์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์พบทางตอนเหนือของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อกลางปีที่แล้ว ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2552  (ภาพโดย AFP / ROYAL SOCIETY / JOSEPH BROWN)


วารานัส บิตาตาวา มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 2 เมตร มีน้ำหนักราว 10 กิโลกรัม ลำตัวมีเกล็ดสีดำเหลือบน้ำเงิน ลายพร้อยด้วยจุดสีเขียวเหลืองซีด มีสีสว่างบริเวณหน้าอก ส่วนหางเป็นลายสลับสีดำ และเขียว  และเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่กินผลไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะผลของพืชจำพวกเตยหรือปะหนัน  (pandanus tree)
       
       ทีมนักวิทยาศาสตร์พบสัตว์ดังกล่าวอาศัยอยู่ในบริเวณหุบลำธาร ทางตอนเหนือของเกาะลูซอน  (Luson)  ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อประมาณกลางปี 2552 หลังลงพื้นที่สำรวจหาสัตว์เลื้อคลานดังกล่าวตามคำเล่าลือ  และจากภาพถ่ายตัวที่ถูกชาวบ้านล่าไปเป็นอาหารเมื่อปี 2544 โดยเริ่มต้นการสำรวจในเดือน ก.ค. 52  และใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก่อนที่คณะสำรวจจะยุติการค้นหาเนื่องจากเงินทุน และอาหารเริ่มร่อยหรอ ทีมสำรวจก็พบอีกจนได้ โดยพบมันติดอยู่ในกับดักของชาวบ้าน จึงช่วยชีวิตไว้ และเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอไปตรวจวิเคราะห์
       
       บราวน์ ให้ข้อมูลว่าการค้นพบสัตว์มีกระดูกสันหลังสปีชีส์ใหม่นั้นเป็นสิ่งที่เกิด ขึ้นได้ยากมาก  และเจ้าตัวนี้มีนิสัยไม่เชื่อง และสามารถซ่อนตัวจากมนุษย์  ซึ่งเป็นผู้ล่าลำดับแรกของพวกมัน จึงอธิบายได้ว่าทำไมมันถึงไม่ถูกพบโดยนักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานานนับร้อยปี หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือพวกมันอาจไม่เคยออกจากป่ามาเดินบนพื้นที่โล่งเลยก็ เป็นได้
       
       จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอของ วารานัส บิตาตาวา พบว่าแตกต่างไปจากตะกวดสีเทา  (Gray's monitor lizard)   ซึ่งอยู่ในสปีชีส์ วา รานัส โอลิวาเซียส  (Varanus olivaceus)   และเป็นญาติใกล้ชิดกันมากที่สุด  และเป็นสัตว์เลี้อยคลานกินผลไม้เช่นเดียวกัน โดยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน  ซึ่งการค้นพบ และการวิจัยนี้มีนักวิทยาศาสตร์ฟิลิปปินส์ และเนเธอแลนด์ร่วม ด้วย  และผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารไบโอโลจี เลตเตอร์  (Biology Letters)  ของราชบัณฑิตยสภาแห่งสหราชอาณาจักร  (Royal Society)



วารานัส บิตาตาวา  (Varanus bitatawa)  สัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ใหม่ ตัวใหญ่แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่กลับถูกล่าเป็นอาหารโดยมนุษย์  (ภาพโดย AFP / ROYAL SOCIETY / JOSEPH BROWN)

นอกจากนั้น เอเอฟพีให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจากการศึกษาลักษณะทางกายภาพของ วา รานัส บิตาตาวา ตัวที่นักวิทยาศาสตร์ได้ช่วยชีวิตไว้นั้น  ซึ่งเป็นตัวผู้ พบว่ามีอวัยวะสืบพันธุ์ถึง 1 คู่ หรือเรียกว่า เฮมิเพนิส  (hemipenes)   ซึ่งลักษณะแบบนี้พบได้ในงู และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด
       
       "พวกมันยังมีอะไรที่เป็นความลับอยู่อีกมาก ฉันคิดว่าการที่ มนุษย์ล่าพวกมันมาหลายศตวรรษ ทำให้ประชากรพวกมันที่ยังหลงเหลืออยู่ไม่เชื่องอย่างมาก  และคอยระแวดระวังภัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้พวกเราก็ไม่เคยพบเห็นมันเลย แต่พวกมันเห็น และได้ยินเสียงของพราก่อนที่เราจะได้เห็นมัน  และมันก็หนีขึ้นไปบนต้นไม้ก่อนที่เราจะเข้าไปถึงพื้นดินบริเวณที่มันเคย อยู่" บราวน์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดัง กล่าวที่บอกว่าเนื้อของเจ้าตัวนี้มีรสชาติอร่อยกว่าสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ  ในตระกูลเดียวกัน  และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกมันมีจำนวนหลงเหลืออยู่ไม่มาก แม้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบจำนวนที่มีในธรรมชาติแน่ชัด แต่เชื่อว่าอยู่ในสถานะที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
       
       นักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบการค้นพบ วารานัส บิตาตาวา ว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการค้นพบลิงคีปันจิ  (Kipunji monkey)  ในป่าของแทนซาเนีย หรือการพบกวางเสาลา  (Saola)  ที่พบเฉพาะในลาว และเวียดนามเท่านั้น  ซึ่งบ่งชี้ว่าฟิลิปปินส์ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์มากแห่ง หนึ่งในโลก หรือเป็นบริเวณ "ฮอตสปอต"  (hotspot)  ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  และยังเป็นสัญญาณให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องเร่งอนุรักษ์พื้นที่ป่าทางเหนือของ เกาะลูซอนที่กำลังลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจากการตัดไม้ทำลายป่า และการขยายตัว ของประชากร


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 เมษายน 2553 01:51 น.
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000048631
นกกินเปี้ยว approve [ 08 เม.ย. 2553 10:56:44 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เคย แต่ดูสารคดี ของญาติมัน ที่กินผลปาล์ม ใน ตากาล็อกเหมือนกัน ไม่คิดว่าจะมีนิวด้วย ว่า แต่ มันต่างกันไงเนี่ย


จริงๆ  ชื่อสกุลนี้ก็ยังอ่านแปลกๆ  อยู่ตั้ง แต่ กระแส วรนุช

แต่จริงๆ  คำนี้ไม่ควรจะอ่านว่า วรนัส

เพราะ Varanus มาจาก ภาษาอารบิก

the Arabic word waral ورل, / waˈral/ วะ'รัล (alternative spelling 'waran'= "lizard") หรือ วะรัล / วะรัน

ซึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ก็มีหลักการออกเสียง แบ่งเป็นสองแนวใหญ่ตามสากลคือ

Continental European Style of Scientific Latin Pronunciation ซึ่ง คล้ายกับ Classical Latin

ซึ่ง ควรจะออกชื่อสกุลนี้ว่า

Varanus / ʋɐˈɹɐn.͜ʊs /  วะ'รัน.นุส

และ
Traditional English Style of Scientific Latin Pronunciation ซึ่ง ควรจะออกชื่อสกุลนี้ว่า

Varanus / vəˈɹæn.͜əs / เฟวอะ'แรน.เน็อส

ไม่มี วรนุส หรือ วรนัส อย่างที่บางคนสร้างกระแสนะครับ
...แก้ไขเมื่อ 08 เม.ย. 2553 13:40:20
Paphmania approve [ 08 เม.ย. 2553 13:30:25 ]
ความคิดเห็นที่: 2
คนเยอรมันก็เคยออกเสียงเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า วะ'รัน. (แอ๊บสไตล์เยอรมันนิดๆ ด้วย) ส่วน วอ-ระ-นัด/นุด หรือ วะ-ระ-นัด/นุด  นั้น เป็นการออกเสียงแบบไทยๆ  ผมไม่เคยเอามาปวดหัวกับมันเลย ฝรั่งเองก็พอเข้าใจ  ถ้าไม่เข้าใจก็บอกมันก่อนว่าเราจะคุยถึงตัวอะไร แค่นี้มันก็อ๋อแล้วครับ

ลป. ก็ให้พวกเราเรียนรู้ที่ถูกไว้ด้วยนะขอรับ เผื่อไปได้ยินเขาคุยกันแบบถูกๆ  จะได้เข้าใจตรงกัน
knotsnake. [ 08 เม.ย. 2553 13:53:23 ]
knot_sumontha@yahoo.com
ความคิดเห็นที่: 3
ผมเองไม่มีความรู้เรื่องการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ รู้ แต่ว่ามักตั้งชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบ ตามสถานที่พบ หรือชื่อของบุคคลที่ต้องการให้เกียรติ  อยากทราบว่าเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ ครับ
ครูเล็ก approve [ 09 เม.ย. 2553 10:17:46 ]
ความคิดเห็นที่: 4
: ครูเล็ก
ผมเองไม่มีความรู้เรื่องการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ รู้  แต่ว่ามักตั้งชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบ ตามสถานที่พบ หรือชื่อของบุคคลที่ต้องการให้เกียรติ  อยากทราบว่าเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ ครับ


อันดับแรกก็ผู้เขียนรายงานตีพิมพ์ครับ โดยเป็นไปตามกฏของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์แล้วก็พืชครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 09 เม.ย. 2553 11:30:49 ]
ความคิดเห็นที่: 5
การที่สัตว์จำพวกกินเนื้อ จะพัฒนาลักษณะเฉพาะตัวเพื่อมากินพืชได้ น่าจะใช้เวลานานมากนะครับ
ยิ่งเจ้าตัวนี้ มีวิวัฒนาการแบบค่อนข้างเอกเทศเสียด้วย? ไม่มีพวกพ้องของมันตัวไหนที่กินพืชเลย

ต่างกับ อีกัวน่า หรือเต่า ที่มันยังมีเพื่อนร่วมตระกูลที่กินพืชได้อยู่พอสมควร ซึ่ง บางตัวก็กินพืชเป็นหลัก บางตัวก็กินเนื้อพอๆ กับกินพืช บางตัวก็เน้นเนื้อมากหน่อย
snakeeater approve [ 09 เม.ย. 2553 22:41:37 ]
ความคิดเห็นที่: 6
: ครูเล็ก
ผมเองไม่มีความรู้เรื่องการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ รู้  แต่ว่ามักตั้งชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบ ตามสถานที่พบ หรือชื่อของบุคคลที่ต้องการให้เกียรติ  อยากทราบว่าเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ ครับ


การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์ ขึ้นกับ ICZN โดยจักต้องมี

นักอนุกรมวิธาน ซึ่ง ได้ศึกษาทำการเปรียบเทียบ  และ เขียนบรรยาย ท้ังยังทำหน้าที่ต้ังชื่อด้วยครับ

ซึ่ง เรียกว่า Author of name หรือ ชื่อที่ตามหลังชื่อวิทยาศาสตร์ครับ
Paphmania approve [ 10 เม.ย. 2553 00:15:48 ]
ความคิดเห็นที่: 7
: snakeeater
การที่สัตว์จำพวกกินเนื้อ จะพัฒนาลักษณะเฉพาะตัวเพื่อมากินพืชได้ น่าจะใช้เวลานานมากนะครับ
ยิ่งเจ้าตัวนี้ มีวิวัฒนาการแบบค่อนข้างเอกเทศเสียด้วย? ไม่มีพวกพ้องของมันตัวไหนที่กินพืชเลย

ต่างกับ อีกัวน่า หรือเต่า ที่มันยังมีเพื่อนร่วมตระกูลที่กินพืชได้อยู่พอสมควร ซึ่ง  บางตัวก็กินพืชเป็นหลัก บางตัวก็กินเนื้อพอๆ  กับกินพืช บางตัวก็เน้นเนื้อมากหน่อย


`
ขอแย้งสองส่วนนะครับ

จริงๆ  ในกระทู้แรก เจ้าของกระทู้ ก็บอกอยู่แล้วว่า มันมีญาติใกล้เคียงที่กินพืชเหมิือนกัน
  (Varanus olivaceus)  ซึ่ง ผมเองก็เคยดุสารคดี ของตะกวดตัวนี้ที่มีชื่อท้องถิ่นว่า Butaan

 และการกินพืชต้องแยกให้ออกนะครับว่า มันกินอย่างไร กินอะไร ส่วนไหน  และต้องเข้าใจระบบ การย่อยอาหารของสัตว์ มีประดูกสันหลังด้วยนะครับ

จริงๆ  มันไม่น่าจะต้องปรับอะไร มันน่าจะย่อย แป้ง น้ำตาล และไขมันได้อยู่แล้ว

 และมันก็น่าจะกินเนื้อด้วย เช่นเดียวกับญาติมันตัวบน ที่ กิน ผลเตย  และกินหอยด้วยครับ

ระบบกระเพาะมัน ไม่ได้ย่อยได้เหมือน Ruminants ครับ  และไม่น่าจะสามารถย่อย เซลลูโลสได้ครับ
...แก้ไขเมื่อ 10 เม.ย. 2553 01:02:42
Paphmania approve [ 10 เม.ย. 2553 00:23:44 ]
ความคิดเห็นที่: 8
^
^
เห็นด้วยตามนี้ขอรับ  แม้ แต่ตะกวดบ้านเราก็น่ากินชิ้นส่วนพืชด้วย แล้วพืชอาหารของมันก็น่าเป็นผลเตยป่า อย่างไรก็ตามผมยังไม่ได้ไปพิสูจน์นะครับ อย่าเพิ่งเอาไปอ้างอิง

ส่วนอิกัวน่านั้น ที่จริงมันกินสัตว์ด้วย ถ้ามีโอกาส  แต่เมนูหลักก็คงเป็นพืชเพราะตัวที่คนเอาไปเลี้ยงส่วนใหญ่มักห่างไกลเนื้อสัตว์ มันก็ยังดำรงตน และสืบเผ่าพันธุ์ได้
knotsnake approve [ 12 เม.ย. 2553 09:43:39 ]

Name : *
E-mail :
Bold Italicized Underline Strikethrough Horizontal Rule Font Size Font Face Insert Image Insert Hyperlink Insert Email Insert FTP Link Superscript Subscript Insert List
Message :
  Security Code
CAPTCHA image
Verify Security Code.
<-- เฉพาะอักษร A-Z เท่านั้น
   
www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org