ความคิดเห็นที่: 1
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ ซึ่ง ได้รวมจุดเด่นรอบๆ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่ง ได้แก่ น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร ในปี 2530 กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ ที่ กษ 0714 (พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ ปจ 0009/940 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาดเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้ และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ 0713(หย)/161 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เห็นควรผนวกป่า และน้ำตกทั้ง 2 แห่ง เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ ยืนนานต่อไป ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่ กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วน และป่าห้วยยาง (หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน
จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2531 - 2 มกราคม 2532 ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยาง และสวนป่าห้วยยาง (พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลธงไชย อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย 15.36 ตารางกิโลเมตร) ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่ง มีบริเวณน้ำตกขาอ่อน น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด ส่วนบริเวณป่าวังด้วน และป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษา และควบคุม จึงให้แยกเป็น 2 อุทยานแห่งชาติ คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้ และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ ตำบลนาหูกวาง ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และหินเป็นหินแกรนิต และหินลูกรัง ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบ และชายทะเลอ่าวไทย
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ลักษณะใน แต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่ง เป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้ง แต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่ง เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคม และมกราคม แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 อาศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้ง แต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส
พืชพรรณ และสัตว์ป่า
ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก ตะเคียน เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่ง เป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขาสูงติดต่อกัน มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง หมูป่า เม่น เก้ง กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯ ลฯ นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphrsa sirinthorn )
อ้าอิงจาก เวปอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางนะครับ
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style2/default.asp?npid=210&lg=1
JJ
[ 16 เม.ย. 2550 18:26:42 ]