กระทู้-07685 : พบกบภูชนิดใหม่ของโลกที่ภูหลวง

Home » Board » ครึ่งบกครึ่งน้ำ

พบกบภูชนิดใหม่ของโลกที่ภูหลวง

พบกบภูชนิดใหม่ของโลกที่ภูหลวง จ.เลย ตั้งชื่อ “กบชะง่อนผาภูหลวง”
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000058930
ลำพะเนียง approve [ 23 พ.ค. 2550 00:38:11 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ได้มาอีกชนิดแล้ว ยินดีด้วยค๊าบ
น้าน๊อตรบกวนไปชมหน่อยนะครับ http://www.lannaphotoclub.com/smf108/index.php?topic=3815.0
jungle man approve [ 23 พ.ค. 2550 01:45:55 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ลำพะเนียง approve [ 23 พ.ค. 2550 02:23:14 ]
ความคิดเห็นที่: 3
รออ่านข่าว พบงูสกุลใหม่ที่พิษณุโลก อยู่นะคร๊าบบบบบ
นณณ์ approve [ 23 พ.ค. 2550 09:12:46 ]
ความคิดเห็นที่: 4
งูตามลิงค์..งูปี่แก้วใหญ่(Oligodon fasciolatus) ครับ เป็นงูเขี้ยวพิษหลัง ทำให้ปวดบวมพอประมาณ  แต่เลือดจะหยุดไหลช้า ไม่มีรายงาน(ทั้งทางการ และไม่ทางการ)ว่ามีผลกระทบต่อส่วนอื่นนอกจากบริเวณบาดแผล  เป็นงูที่ปกติไม่กัด ถ้าไม่ไปวุ่นวายกับมัน  แต่ ถ้าเอามือไปจับ 99% ต้องสังเวยเลือดครับ ฟันคมมาก แผลลึก และยาว
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 09:22:43 ]
ความคิดเห็นที่: 5
จากเนื้อข่าว

ส่วนปลาในแม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำยม พบปลา 15 วงศ์ 14 ชนิด  และจากผลการสำรวจพบชนิดปลาที่คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด คือ ปลาในสกุล Schitura จำนวน 1 ชนิด ปลาซิวใบไผ่ในสกุล Devario จำนวน 1 ชนิด ปลาใน สกุล Homaloptera  และสกุล Balitora อีกอย่างละ 1 ชนิดด้วย
นณณ์ approve [ 23 พ.ค. 2550 09:42:05 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ผมว่า ดร.หมีน้ำน่ามีข้อมูลที่ดีกว่านี้นะ
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 10:00:22 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ผมว่า ๔ สกุลที่ว่ามานี่ โคตรหินทั้ง ๔ สกุลเลยครับ โดยเฉพาะ Shistura จะบรรยายชนิดใหม่นี่เหงือกแห้งแน่ๆ
นณณ์ approve [ 23 พ.ค. 2550 10:01:59 ]
ความคิดเห็นที่: 8
พี่ที่ทำงานที่ห้องแลป ซึ่ง เป็นคนที่ออกจับปลาได้บอกว่า...
ปลาในสกุล Devario Homaloptera กะ Balitora ที่อ้างว่าเป็นชนิดใหม่จับได้จากภูหลวง (ไม่แน่ใจว่าข่าวลงผิดพลาดอย่างไรหรือป่าว คาดว่าคงสับสนกันระหว่างคำว่า new species กับ new record ..ส่วนปลาจากแม่น้ำน่าน ป่าสัก  และแม่น้ำยม ก็เป็นปลาแม่น้ำทั่วๆ ไป
สันนิษฐานว่าเหมือนปลาลักลอบหนีว่ายน้ำข้ามโขงมาจากฝั่งลาว...อิอิ

ตัวอย่างปลายังอยู่ในห้องแลปครับ เดี๋ยวจะขออนุญาตพี่เขาก่อน แล้วจะเอามาโพสให้ช่วยID ในเบื้องต้น
เพราะตอนนี้พี่เขาต้องย้ายไปทำงานที่อื่นแล้ว ส่วนผมก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องปลาในกลุ่มสักเท่าไหร่

อ้อ...วันนี้ยังมีสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกวันนึง ที่โรงแรมมิราเคิล อยู่แถวๆ  หลักสี่ ไม่รู้ว่าจะไปทันกันหรือป่าว มีคนบอกว่าขนมพักเบรคอร่อยสุดๆ
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ค. 2550 10:31:38
kasoop approve [ 23 พ.ค. 2550 10:05:22 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ผมมีความเห็นสอดคล้องกับคุณกระสูบน่ะ  แต่ด้วยความที่ผมห่างเหินปลาน้ำจืดมามาก เลยได้แค่รู้สึกเท่านั้น
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 10:46:13 ]
ความคิดเห็นที่: 10
นึกว่าเพิ่งพบล่าสุด ที่แท้ก็กบ Huia aureola  นี่เอง ชื่อตามข่าว Odorrana aureola เป็นชื่อพ้อง เหอๆ  

amphibian นี่เปลี่ยนสกุลกันจนสับสน อย่างเช่น กบชะง่อนผาตะนาวศรี Rana livida เปลี่ยนมาเป็น Odorrana livida แล้วล่าสุด กลายมาเป็น Huia livida แล้ว เมื่อไหร่จะนิ่งคร๊าบ ผู้ใช้ข้อมูลอย่างผมปวดหัวแล้วนะ

Amphibian Species of the World
http://research.amnh.org/herpetology/amphibia/names.php?taxon=&family=&subfamily=&genus=Huia&commname=&authority=&year=&geo=115&dist=&comment=
B-Herp approve [ 23 พ.ค. 2550 10:58:48 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ตอนนี้ผมเลยขอใช้เป็น Rana ไปเรื่อยๆ ครับ เพราะการแตกสกุลใหม่นี้ มีหลายอย่างที่รับไม่ได้ แม้จะมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์  แต่ขัดกับหลักความเป็นคนครับ
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 11:06:44 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อ้อ.. แต่สกุลที่มีการชี้แจงด้วยหลักความเป็นคนด้วย ผมก็รับได้ครับ
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 11:07:52 ]
ความคิดเห็นที่: 13
เป็นคห. ที่ "โดน" มากครับ พี่น๊อต
B-Herp [ 23 พ.ค. 2550 12:56:03 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ว่า แต่.แบงค์อ่านเปเปอร์นั้นจบหรือยัง พี่ดู แต่ในส่วนของคางคากน่ะ  แถมไม่เข้าใจอีกต่างหาก

ฝากถามคุณคนกินกบ น้องฉันเอง  และคนอื่นๆ ที่ได้รับเปเปอร์ยาวๆ นั่นด้วยครับว่ามีความเห็นอย่างไร ผมอยากเข้าใจเพิ่มจากที่ผมอ่านเองน่ะ มึน..
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 13:11:10 ]
ความคิดเห็นที่: 15
นณณ์..หรือว่าจะเอาเปเปอร์นั้นมาให้โหลดในนี้ จะได้ไหมหว่า
knotsnake approve [ 23 พ.ค. 2550 13:11:54 ]
ความคิดเห็นที่: 16
เป็น paper ที่หนามาก และชวนให้มึนมากๆ  เช่นกันครับ คิดว่าไม่น่ามีปัญหาครับพี่น๊อต เนื่องจากเป็น paper ที่อยู่ในห้องสมุด online ของ Scientific American of Natural History Research Library ดังนั้นขอแปะ URL เลยละกัน ลองไปโหลด paper ที่ว่าได้ที่

http://digitallibrary.amnh.org/dspace/handle/2246/5781
B-Herp [ 23 พ.ค. 2550 15:01:26 ]
ความคิดเห็นที่: 17
สำหรับค้างคาวตามเนื้อข่าวที่ว่าเป็นชนิดใหม่ของไทย
ที่แน่นอนแล้วคือ Kerivoula kachinensis
หรือค้างคาวยอดกล้วยคะฉิ่น
ตอนนี้กำลังรอตีพิมพ์ใน Acta Chiropterologica (accepted แล้วเรียบร้อย)
พบครั้งแรกที่พม่าเมื่อ 2004 จากนั้นพบที่เวียดนาม  และล่าสุดก็กัมพูชา และไทย
(รวมทั้งลาวด้วย แต่คนพบยังไม่รายงานอย่างเป็นทางการ)
กลายเป็นค้างคาวที่กระจายกว้างทั้ง Mainland South-East Asia หลังพบครั้งแรกไม่กี่ปี
 แต่ประชากรที่พบ แต่ละแห่งค่อนข้างน้อย

ส่วนค้างคาวอื่นๆ ที่คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของไทยกำลังอยู่ระหว่างเทียบเคียงตัวอย่าง และบรรยายลักษณะครับ
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ค. 2550 15:38:41
mister hunter approve [ 23 พ.ค. 2550 15:37:16 ]
ความคิดเห็นที่: 18
คำว่า "ชนิดใหม่ของไทย" ฟังดูสับสน สรุปว่า เป็น new record ในประเทศไทย อ่านตอนแรกนึกว่าเป็นชนิดใหม่ (new species) ที่เจอในไทย
B-Herp [ 23 พ.ค. 2550 16:52:06 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org