กระทู้-07787 : ปลาหางไหม้ไทย (ภาค 3)

Home » Board » ปลา

ปลาหางไหม้ไทย (ภาค 3)

สืบเนื่องจากกระทู้

http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=7561
 และ
http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=7621

ภาพด้านบนนี้จากนิตยสาร.ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ.๒๕๑๖
ดร.หมีน้ำ บอกว่าอาจจะเป็นภาพในขณะมีชีวิตของหางไหม้ไทย Balantiocheilos ambusticauda  
ผมก็เลยลองค้นหาเพิ่มเติม ก็ได้มาอีกหน่อย เลยเอามาขอความเห็นครับ ว่าจะเป็นหางไหม้ไทยไหม
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:16:18 ]
FishesPics_reply_30900.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ภาพวาดโดยหลวงมัศยจิตรการ น่าจะประมาณปี พ.ศ. 2450 จะเห็นว่าหน้าปลามนทู่มาก ขอบดำก็บาง
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:18:14 ]
FishesPics_reply_30901.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ภาพนี้อยู่ในหนังสือ ปลาไทย ตีพิมพ์ ปีพ.ศ.2528  แต่ภาพหางไหม้ดูว่าเป็นภาพที่เก่ากว่าภาพอื่นๆ ในเล่มเดียวกัน เป็นไปได้ไหมครับว่าจะเป็นหางไหม้สายพันธุ์ไทย?
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:19:12 ]
FishesPics_reply_30902.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
อีกภาพจากหนังสือชื่อยาวของนายกระแสน้ำ พ.ศ.2522 สังเกตว่าปลาตัวนี้กับตัวในภาพบน ลักษณะเหมือนกันมาก
และตรงตามลักษณะหางไหม้ไทย คือปากมน ขอบดำที่หาง และครีบ โดยเฉพาะครีบก้นมีขอบดำบางกว่าหางไหม้อินโดฯ  ข้อสำคัญภาพนี้ถึงจะซีดๆ  แต่ก็ดูออกว่าปลาหางเหลือง
ภาพนี้ดูเก่ากว่าภาพอื่นๆ ในเล่มเดียวกัน

วานนายกระแสน้ำมาเติมชื่อหนังสือด้วยนะ
...แก้ไขเมื่อ 08 มิ.ย. 2550 00:22:44
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:20:21 ]
FishesPics_reply_30904.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
ตัวอย่างปลาหางไหม้ จากแม่กลอง ปีพ.ศ.2517
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:32:42 ]
FishesPics_reply_30905.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
เทียบกับหางไหม้อินโดฯ ที่มีขายในตลาดตอนนี้ครับ จะเห็นว่าจมูกยื่นแหลมกว่า และแถบดำเยอะกว่า

ปล. ตัวนี้คัดแบบหางเหลืองๆ มานะเนี๊ย
...แก้ไขเมื่อ 08 มิ.ย. 2550 00:43:20
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:33:41 ]
FishesPics_reply_30906.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
หรือว่าเด็กๆ รุ่นนี้จะไม่มีโอกาศได้เห็นหางไหม้ไทยเสียแล้ว.....
...แก้ไขเมื่อ 08 มิ.ย. 2550 00:34:28
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:34:14 ]
ความคิดเห็นที่: 7
น่ารักจังครับ
aqueous_andaman approve [ 08 มิ.ย. 2550 00:51:24 ]
ความคิดเห็นที่: 8
รูปสุดท้ายมีหมูด้วย
Revenge approve [ 08 มิ.ย. 2550 01:13:53 ]
ความคิดเห็นที่: 9
รวบรวมได้เยอะเลยพี่

ว่า แต่ชัยพฤกษ์เล่มนี้นี่ พี่ตามล่ามาได้ด้วยใหมเนี่ย
นกกินเปี้ยว approve [ 08 มิ.ย. 2550 09:15:18 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ทำไมปลาแบบนี้ถึงมีขายอยู่เรื่อยๆ ในตลาดปลาตู้ของไทยครับ ไม่ค่อยสวยมากเมื่อเทียบกับปลาตระกูลเดียวกันซึ่ง ชนิดอื่นสวยกว่าเยอะ
แก้วเขียว [ 08 มิ.ย. 2550 09:45:55 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ขอบคุณนะครับคุณนณณ์ เป็นบุญตาที่ได้เห็นภาพเก่าๆ  
...ยิ่งดูก็ยิ่งเห็นว่าสรีระมันต่างกันนะ
ปล.เด็กคนนั้นจะแปลงร่างเป็นปลาดูดกระจกหรือไงน่ะ
tavon approve [ 08 มิ.ย. 2550 10:50:44 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อืมมม  หางไหม้อินโด ฯ  หน้าแหลมกว่าจริงๆ  ด้วยแฮะ  ปื้นสีดำที่ครีบกับครีบหางก็หนากว่า

ง่า  ชาตินี้จะมีโอกาสได้เห็นหางไหม้ไทยตัวเป็นๆ  ไหมนี่

รูปสุดท้าย  มีหมูน้ำด้วยหรือครับ อิ อิ
ตะพากหน้าแดง approve [ 08 มิ.ย. 2550 11:56:29 ]
ความคิดเห็นที่: 13
นึกชื่อหนังสืออยู่พักใหญ่ หนังสือโดนปล้นไปเมื่อวานครับ   (ยังไม่ได้คืนเลยค๊าบพี่น้อง)

ชื่อหนังสือ "ธรรมชาติศึกษา ฉบับแนะนำปลาน้ำจืดบางชนิดของไทย" ครับ


ปล.  มีบทความ"ปลาหางไหม้สายพันธุ์ไทย ก่อนที่จะไม่เหลือแม้ แต่ความทรงจำ" ในนิตยสารปลาชั้นนำของเมืองไทยเล่มหนึ่ง กำลังจะวางแผงเร็วๆ นี้  ( แหะๆ ขออนุญาตโปรโมตแบบอ้อมๆ ครับ )

อยากให้ทุกคนได้อ่านบทความนี้ครับ แล้วคุณจะรักปลาหางไหม้หรือปลาไทยทุกชนิด และรักธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกนี้  มากขึ้นๆๆๆ  อีกหลายเท่าเลยละครับ
...แก้ไขเมื่อ 08 มิ.ย. 2550 22:58:48
นายกระแสน้ำ approve [ 08 มิ.ย. 2550 15:14:10 ]
ความคิดเห็นที่: 14
เอ๋...ลิงกลายเป็นหมูไปแล้วเหรอเนี่ย?
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 08 มิ.ย. 2550 17:52:01 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ผมมีความเชื่อลึกๆ ว่า หางไหม้ไทยยังไม่สูญพันธุ์ครับ เพียง แต่..
1. ในธรรมชาติบ้านเรา มันอาจไม่มีบทบาทในระบบนิเวศแล้ว เพราะประชากรเหลือน้อยมาก น้อยจนไม่มีใครหามาขาย ซึ่ง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษในการจับ อาจต้องไปคุยกับคนที่เคยรวบรวมปลาหางไหม้สักครั้งครับ แล้วชาวบ้านอาจบังเอิญจับได้  แต่เราไม่รู้
2. ในประเทศที่รับซื้อ อาจมีการขยายพันธุ์ในกลุ่มเล็กๆ  แล้วยังเหลือรอดอยู่บ้าง

ยังไงผมก็ยังไม่เชื่อว่าปลาที่มีการแพร่กระจาย 2 ลุ่มแม่น้ำ แล้วเป็นปลาที่มีความดกไข่สูงจะสูญพันธุ์โดยสิ้นเชิง บางทีสักวัน ดร.หมีน้ำอาจไปเจอที่เขมรหรือเวียตนามก็ได้ครับ
knotsnake approve [ 08 มิ.ย. 2550 22:47:48 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ผมว่าบางที่สักวัน....เราอาจจะเจอเขาได้แค่ปลายจมูก อย่างเช่น ที่ นนท์ หรือ ปทุม ก็ได้ครับ หรือไม่เขาอาจจะว่ายฉุยฉายอยู่แถวๆ  สะพานกรุงธน หรือ สะพานพุทธ ก็ได้ใครจะรู้
Plateen approve [ 08 มิ.ย. 2550 22:53:43 ]
ความคิดเห็นที่: 17
เจอในคลองประปาหน้าปากซอยหน่อยประไร+!!!!!!
นณณ์ approve [ 08 มิ.ย. 2550 23:23:15 ]
ความคิดเห็นที่: 18
 ถ้ามีน้ำท่วมใหญ่ติดต่อกันสัก 2-3 ปี ผมว่าได้มีเฮ( แต่คนจะมีแรงเฮหรือเปล่าเท่านั้นแหละ)
knotsnake approve [ 08 มิ.ย. 2550 23:31:32 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ปีนี้คงจะไปดูที่ สุโขทัยครับ แล้วก็น้ำมาเมื่อไหร่จะไปด้อมมองๆ แถวเขื่อนท่าหลวง หาคนแก่ๆ คุยด้วยสักสองสามคน คงได้อะไรดีๆ กลับมาบ้าง ชอบคุยกับคนแก่อ่ะ!
นณณ์ approve [ 09 มิ.ย. 2550 00:00:13 ]
ความคิดเห็นที่: 20
หลวงมัศยจิตรการ pic's dorsal fin has wider black color edge than Indo fish and rather wide black caudal fin edge compared to Indo fish, and 1st pic has black pattern on caudal base as dark as Indo fish...  หลวงมัศยจิตรการ pic and pic no 2-4 have more or less the same lighter caudal base color pattern though.
brookloach [ 09 มิ.ย. 2550 03:32:25 ]
ความคิดเห็นที่: 21
หนังสือ "ธรรมชาติศึกษา ฉบับแนะนำปลาน้ำจืดบางชนิดของไทย" เล่มที่คุณ นกกินเปี้ยวอ้างถึง  เป็นหนังสือที่จุดประกายให้ผมสนใจปลาน้ำจืดของไทยด้วยอ่ะครับ  จำได้ว่าเริ่มต้นหลงเสน่ห์ปลาไทยก็จากหนังสือเล่มนี้  เคยถ่ายสำเนาจากห้องสมุดแห่งหนึ่งไว้อ่านด้วย  เสียดายที่ตอนนี้จำไม่ได้ว่าเอาไปเก็บไว้ที่ไหน  -*-
ตะพากหน้าแดง [ 09 มิ.ย. 2550 17:24:01 ]
ความคิดเห็นที่: 22
I hope in Mongkol Borei R of Cambodia may exist as Rainboth mentioned, but that R. is not much healthy, due to heavy humen activities frather than fishing??!! At  Mekong Delta Prof. Mai Dinh Yen  also reported in his book on Delta fishes.
...แก้ไขเมื่อ 09 มิ.ย. 2550 21:59:36
waterpanda approve [ 09 มิ.ย. 2550 20:05:51 ]
ความคิดเห็นที่: 23
ปี2550 ตัวนี้เป็นอดีตไปแล้ว ปี2570จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เตี้ย [ 28 ก.ย. 2550 01:32:52 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org