กระทู้-07812 : กล้วยไม้โบราณ

Home » Board » พืช

กล้วยไม้โบราณ

ในปี ค.ศ. 1972 ได้มีการตีพิมพ์หนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย เล่มที่ 2 ตอนที่ 2 ในพรรณพืชจำนวนนั้นได้กล่าวถึงพืชวงศ์หนึ่ง  ซึ่งใช้ชื่อวงศ์ว่า Apostasiaceae อันมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 2 สกุล คือ
1. Apostasia Blume
2. Neuwiedia Blume

 และทั้ง 2 สกุล ต่างพบในประเทศไทย รวมแล้ว 5 ชนิดเท่านั้น  ( จากการศึกษาของ Prof. Kai Lasen  และ Prof. Ed F. de Vogel ) ได้แก่
1. N. siamensis deVogel
2. N. zollingeri var. singapureana
3. A. odorata Blume
4. A. wallichii R.Brown
5. A. nuda R.Brown

 และหนึ่งในนั้นคือกล้วยไม้ชนิดนี้ ที่พบในพื้นที่ป่าเขาสอยดาว จากการสำรวจของคุณ แมกไกเวอร์ หนึ่งในทีมงาน Thailand Wilderness Study
...แก้ไขเมื่อ 12 มิ.ย. 2550 10:25:23
ฝนแรก approve [ 12 มิ.ย. 2550 10:15:42 ]
PlantsPics_reply_31504.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ต่อมาเมื่อมีการศึกษาพรรณพืชในวงศ์นี้ ทำให้เกิดการยุบวงศ์นี้ และย้ายมารวบกับพรรณพืชในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยให้เป็นวงศ์ย่อย (subfamily) หนึ่งในบรรดาวงศ์ย่อยทั้ง 6 วงศ์  และกำหนดชื่อวงศ์ย่อยว่า Apostasioideae (อ่านว่า อะ-โพ-สะ-ตา-สิ-โอ-ไอ-ดิ-อิ)
..
..
เนื่องด้วยมีลักษณะที่แตกต่างจากวงศ์ย่อยอื่นๆ  ค่อนข้างมาก คือมีลักษณะของเส้าเกสรที่ยังเชื่อมเป็นอวัยวะเดียวกันระหว่างก้านชูเกสรเพศผู้ (stamen) กับก้านชูเกสรเพศเมีย (style) ที่ยังไม่สมบูรณ์ อันเป็นลักษณะที่โบราณ (primitive) ที่สุดของพรรณพืชในวงศ์กล้วยไม้ จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "กล้วยไม้โบราณ"
...แก้ไขเมื่อ 12 มิ.ย. 2550 13:17:08
ฝนแรก approve [ 12 มิ.ย. 2550 10:38:24 ]
PlantsPics_reply_31508.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ปัจจุบันการศึกษากล้วยไม้วงศ์ย่อยนี้มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Neuwiedia ยิ่งกล่าวได้ว่ามีน้อยจริงๆ   และปัจจุบันก็มีข้อมูลทางวิชาการของกล้วยไม้สกุลนี้อยู่น้อยมาก เนื่องจากว่าเป็นกล้วยไม้ที่พบเห็นได้ยากมากจนถึงยากที่สุดในบรรดาสกุลกล้วยไม้ที่พบในประเทศไทย
..
..

ไม่มีข้อมูลด้านนิเวศ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร มีเพียงข้อมูลทางสัญฐานวิทยา และข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายพันธุ์บางส่วนเท่านั้น  และรายงานการพบกล้วยไม้สกุล Nuewiedia ในพื้นที่เขาสอยดาวนี้ ก็ถือว่าเป็นแหล่งการกระจายพันธุ์ใหม่ของกล้วยไม้ชนิด และสกุลนี้ด้วย นับเป็นความก้าวหน้าอีกหนึ่งก้าวสั้นๆ  ที่เราพยายามพลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
..
.. มีความคืบหน้าอย่างไรจะนำมาเรียนให้ทราบอย่างต่อเนื่องครับ

หมายเหตุ กล้วยไม้ชนิดในภาพน่าจะเป็น Neuwiedia zollingeri var. singapureana (เมื่อตรวจสอบอีกครั้งจะรายงานให้ทราบ)
...แก้ไขเมื่อ 12 มิ.ย. 2550 10:50:08
ฝนแรก approve [ 12 มิ.ย. 2550 10:48:13 ]
ความคิดเห็นที่: 3
..
..
ใครเคยเห็นต้นไม้ที่มีหน้าตาแปลกๆ  แบบนี้ช่วยกันรายงานหน่อยนะครับ เราทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการผลักดันกระบวนการศึกษากล้วยไม้ป่าของประเทศไทยครับ
ฝนแรก approve [ 12 มิ.ย. 2550 11:02:06 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ตอนเห็นครั้งแรก น้ำตาแทบเล็ดครับ มันสวยมากๆ  อิจฉา อยากเห็นบ้าง จริงๆ นะ
นณณ์ approve [ 12 มิ.ย. 2550 11:09:35 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ด้วยความสัจจริง  ถ้าไม่มีใครบอกว่าเป็นกล้วยไม้ ผมก็ไม่รู้ว่ามันคือกล้วยไม้ครับ  ถ้าผมเจอดอกจากต้นไม้ที่ใบลักษณะนี้ก็จะถ่ายรูปมาให้ดูแล้วกัน เผื่อเจอชนิดที่ 6 ในวงศ์ย่อยนี้บ้าง
knotsnake approve [ 12 มิ.ย. 2550 11:33:24 ]
ความคิดเห็นที่: 6
สุดยอดเลยครับ เจอก็ไม่ทราบจริงๆ  หรอกครัวว่าเป็นกล้วยไม้ แล้วจะจำไว้ครับ ขอบคุณขอรับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 12 มิ.ย. 2550 12:03:58 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ใบคล้ายพืชวงศ์ปาล์มมากครับ ดูไม่เหมือนกล้วยไม้เลยครับ  ถ้าพบในป่าจะถ่ายรูปเก็บไว้ให้เช่นกันครับ
นายแมลง approve [ 12 มิ.ย. 2550 12:05:55 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ไม่บอก ไม่รู้จริงๆ  ครับว่า อยู่ในวงศ์กล้วยไม้...

อยากเห็นต้นเป็นๆ  จัง ว่าจะสวยขนาดไหน
genus approve [ 12 มิ.ย. 2550 12:50:37 ]
ความคิดเห็นที่: 9
Neuwiedia นี่พบไปถึงไหนครับ
คุ้นๆ  ว่าเห็นตอนไปที่ซาราวัค  ออกดอกประมาณนี้เลย
สีเหลืองด้วย  ยังงงๆ ว่าเป็นกล้วยไม้อะไร
PaRk. [ 12 มิ.ย. 2550 23:42:44 ]
ความคิดเห็นที่: 10
สวยจริงๆ  ครับสวยจนอยากดูต้นจริงเป็นบุญตาครับ
Bigy approve [ 12 มิ.ย. 2550 23:46:01 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ผมเคยไปเจอจากทางซาราวัค กะซาบาร์ มาครับ งามอย่างบอกไม่ถูกทีเดียว สำหรับชนิดนี้ก็งามมากครับ
jungle man approve [ 12 มิ.ย. 2550 23:49:17 ]
ความคิดเห็นที่: 12
สกุล Neuwiedia มีรายงานการสำรวจพบน้อยมากคือ
ชนิด Neuwiedia siamensis พบที่กาญจนบุรี  และราชบุรี (ที่บ้านโป่ง  และเป็นชนิดต้นแบบ : เดี๋ยวนี้คงหาไม่เจอแล้วที่นั่น)
..
..
ส่วนชนิด Neuwiedia zollingeri var. singapureana นั้นเจอที่เชียงใหม่ พิษณุโลก นครนายก ครับ
ฝนแรก approve [ 13 มิ.ย. 2550 03:19:54 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ขอบคุณที่เก็บภาพมาฝากค่ะ
Montela_Hoya approve [ 13 มิ.ย. 2550 12:13:38 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ความจริงก็เคยศึกษาเรี่องกล้วยไม้อยู่พักนึงนะคะ  แต่ไม่เคยรู้จักล้วยไม้พันธุ์นี้เลย ขอบคุณมากนะคะที่เก็บภาพมากฝาก
นู๋กั้ง [ 15 มิ.ย. 2550 10:25:28 ]
aloha_kuuipo2007@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 15
สวยดีครับ!!!  ไม่เคบเห็นที่ไหนมาก่อน ดูไม่รู้เลยว่าเป็นกล้วยไม้
electron [ 15 มิ.ย. 2550 22:42:11 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ถามเพื่อความรู้หางอึ่งของผมหน่อยครับว่า เขาพิจารณาจากตรงไหนบ้างว่าเป็นวงศ์กล้วยไม้ครับ
knotsnake approve [ 16 มิ.ย. 2550 10:27:13 ]
ความคิดเห็นที่: 17
โทษที่ครับเพิ่งลงมาจากเขากัน .... ไปตรวจสอบชีพลักษณ์ของกล้วยไม้หายากชนิดหนึ่งของโลก ... ครับ
..
..
วงศ์กล้วยไม้พิจารณาง่ายๆ  ได้ 3 ประการด้วยกันครับ
ประการที่ 1 พิจารณาจากกลีบปาก ครับ
กลีบปากเป็นกลีบดอกกลีบหนึ่งที่มีวิวัฒนาการให้มีขนาด รูปทรง และสีสัน แตกต่างกับกลีบดอก กลีบอื่นอีก 2 กลีบ ฉะนั้นเมื่อมองเห็นว่ามีกลีบดอกกลีบหนึ่งที่ต่างกับกลีบดอกอื่นๆ  ก็ใกล้พืชวงศ์กล้วยไม้เข้าไปทุกทีแล้วครับ  แต่ในพืชบางวงศ์ก็ปรากฏลักษณะเช่นนี้ครับ อย่าง วงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ครับ เห็นได้บ่อยว่าในวงศ์ขิงข่าก็ปรากฏกลีบหนึ่งที่มีขนาด รูปทรง สีสัน ต่างจากกลีบเช่นกัน  แต่ในทางพฤกษศาสตร์จะไม่เรียกกลีบปาก แต่เรียกว่า petaliod แทน หรือหมายถึงกลีบที่มีลักษณะคล้ายกลีบดอก หากมองผิวเผินจะคล้ายลักษณะของกลีบปาก (labellum) ที่พบในวงศ์กล้วยไม้ครับ
..
..

ประการที่2 พิจารณาจากเส้าเกสร
เส้าเกสรเป็นอวัยวะหนึ่งที่อยู่ใจกลางของดอกครับ เป็นการรวมเป็นก้านเดียวกัน (ก้านเดียวกันหรือแท่งเดียว) ระหว่างก้านชูเกสรเพศเมีย (style)  และก้านชูเกสรเพศผู้ (stamen)  แต่เมื่อหากดูอย่างผิวเผิน ลักษณะเช่นนี้จะคล้ายกับที่พบในพรรณพืชวงศ์ขิงข่า (อีกแล้ว)  แต่เมื่อเราพยายามที่จะแยกก้านของทั้ง 2 เพศออกจากกันก็สามารถแยกออกจากกันได้โดยง่าย เพราะมันไม่ได้หลอมรวมเป็นแก่นแกนเดียวกัน ฉะนั้นระวังให้ดีกับวงศ์ขิงข่าเพราะอาจมีการสับขาหลอกครับ  แต่กล้วยไม้โบราณก็จะรวมกันไม่สมบูรณ์นักครับ ...  แต่มีวิธีการสังเกตอยู่ครับ
..
..

ประการที่ 3  กลุ่มเรณูเพศผู้
กลุ่มเรณูเพศผู้จะรวมเป็นกลุ่มเดียวกันครับ มีทั้งที่เป็นกลุ่มย่อยที่รวมตัวกันคล้ายผงแป้ง มีทั้งที่อ่อนนุ่ม มีทั้งที่แข็งจนคล้ายก้อนกระดูกสีเหลืองที่มีขนาดเล็ก   แต่ก็อีกหละครับลักษณะเช่นนี้ก็ปรากฏได้ในพืชวงศ์นเช่นกัน อย่างพวกต้นรัก นมตำเลีย พวกนั้นก็จะปรากฏกลุ่มเรณู (pollinia) เช่นเดียวกับพืชวงศ์กล้วยไม้ครับ ... ต้องระวังถูกสับขาหลอกสองรอบซ้อน


แต่เมื่อได้ที่นับรวมได้ทั้ง 3 ประการ แล้วหละก็ ... บอกชาวโลกได้เลยว่า ผมพบกล้วยไม้แล้ว
...แก้ไขเมื่อ 18 มิ.ย. 2550 10:28:49
ฝนแรก approve [ 18 มิ.ย. 2550 10:25:51 ]
ความคิดเห็นที่: 18
แสดงว่าจุดแยกจากวงศ์ขิงที่ขาดกระจุยก็ข้อ 3 นี่เอง เพราะอย่างต้นรัก  และนมตำเลียสอบตกตั้ง แต่ข้อแรกแล้ว  คราวนี้เวลาผมเจอวงศ์ขิงที่ดอกคล้ายกล้วยไม้ดินมากๆ (ในความรู้สึกของผม) ผมจะได้มีความมั่นใจมากขึ้นในการที่จะบอกเพื่อนร่วมทางครับ  ขอบคุณมากเลยครับพี่
knotsnake approve [ 18 มิ.ย. 2550 13:50:57 ]
ความคิดเห็นที่: 19
 ถ้ายังสงสัยจะตามไปสอนถึงบ้านเลยครับ ... ไม่เคยไประนองสักครั้งเลย
ฝนแรก approve [ 18 มิ.ย. 2550 21:31:45 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ยินดียิ่งเลยพี่ ว่า แต่เพ่กล้าเข้าบ้านผมหรือเปล่า ลูกๆ ผมช่วยเฝ้าบ้านอยู่

เวลาพี่มา รบกวนบอกลักษณะพื้นที่เป้าหมาย หรือเป้าหมายไว้ด้วยนะครับ หรืออย่างน้อยก็โซนที่สนใจ เพราะลำพังที่ผมเข้าป่าเองจะเข้าไม่ลึกเอามากๆ ( แต่ใช้เวลาเดินเหมือนไกล) ผมจะได้ทำการบ้านพลางๆ ด้วย แล้วก็มีที่เป็นเขาหินปูนที่น่าสนใจ 2 ชุดย่อย(เป็นชุดใหญ่เดียวกันเมื่อเทียบกับองค์ประกอบสัตว์) โดยลูกนึงอยู่ในป่าชายเลน อีกชุดอยู่ในป่าดิบชื้น( แต่ปัจจุบันมีคนไปลุยเยอะแล้วในพื้นที่ราบ) หรือ ถ้าจะเข้าเขตพื้นที่คุ้มครองไหนก็จะได้ไปเจรจาไว้ก่อนด้วย เรื่องคนที่ชำนาญทางในป่าก็ไม่มีปัญหา เพราะพี่ที่ทำงานกับผมเคยลุยป่ามาทั่วแล้ว(ทำไม้มาก่อน) หรือประสานคนพื้นที่ได้ครับ

พี่ได้โปรดอย่ามาเดือนกรกฎาคมนะครับ เพราะผมไม่อยู่เกือบทั้งเดือน แล้วฝนก็ตกชุกแล้วด้วย นอกจากตั้งใจมาหาชนิดที่บานเฉพาะนช่วงฝนชุก

แล้วเจอกันครับ
knotsnake approve [ 19 มิ.ย. 2550 02:01:41 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ขอบคุณล่วงหน้า ... สำหรับทุกอย่างครับ
ฝนแรก approve [ 19 มิ.ย. 2550 07:07:05 ]
ความคิดเห็นที่: 22
พี่สลิลครับ มีคนบอกว่า #17 เป็นบทความที่จ๊าบมาก อยากได้เอาเข้า Article ของเวบหน่ะครับ
พี่พอจะทำรูปเพิ่มเติมเช่นลูกศรชี้ หรือวงกลมอะไรอย่างนี้ได้ไหมครับเพื่อความเข้าใจชี้ชัดลงไปอีก เนื่องจากดูแล้วเป็นประโยชน์จะขอรบกวนพี่ ถ้าหากพี่ไม่สะดวกก็ไม่ว่ากันครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 19 มิ.ย. 2550 09:31:15 ]
ความคิดเห็นที่: 23
โอ้แม่เจ้า!!....มันเป็นภาพที่สวยงามมากๆ เลยครับ
rocky approve [ 19 มิ.ย. 2550 10:55:44 ]
ความคิดเห็นที่: 24
สะดวกครับ ...  แต่รอแป๊ปนะครับ ต้องหารูปในวงศ์ใกล้เคียงกันเพิ่ม จะได้เห็ภาพยิ่งขึ้นครับ ... ตกลงเดี๋ยวจัดให้ครับ คุณน้องไอ้ลูกทุ่ง
ฝนแรก approve [ 20 มิ.ย. 2550 06:11:01 ]
ความคิดเห็นที่: 25
สรุปได้แล้วว่าเป็น Neuwiedia zollingeri var. singapureana คุณเพชร ตรีเพชร ซึ่ง เป็นผู้ถ่ายภาพได้ยืนยันอีกครั้งแล้วครับ (ตรวจสอบจากตัวอย่างจริงครับ) ... ขอบคุณยิ่ง
ฝนแรก approve [ 20 มิ.ย. 2550 06:12:49 ]
ความคิดเห็นที่: 26
var. นี้ รายงานครั้งแรกที่สิงคโปร์หรือครับ
knotsnake approve [ 20 มิ.ย. 2550 08:41:14 ]
ความคิดเห็นที่: 27
แล้วโอกาสที่จะเจอที่เกาะสุมาตราล่ะ.. ใครจะตามไปดูบ้างหว่า
knotsnake approve [ 20 มิ.ย. 2550 08:42:12 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ไมทราบครับ ... ตาแมกไกเวอร์หอบเอกสาร ... หนีไปแล้ว
ฝนแรก approve [ 20 มิ.ย. 2550 13:02:26 ]
ความคิดเห็นที่: 29
จำพวกกล้วยไม้ดิน ติดฝักประมาณเดือน ก็นำฝักไปเพาะได้แล้ว เมื่อเขาเป็นสิ่งหายาก ไม่คิดทำดังข้างต้นหรือ หากปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ อาจสูญพันธุ์ได้ เพาะได้ก็ออกจำหน่าย จะได้ช่วยกันปลูก เงินที่ได้ก็นำไปใช้ในการอนุรักษ์ถิ่นที่กล้วยไม้นี้อยู่ ตามเศรษฐกิจพอเพียงไงครับ
ชายกลาง [ 15 ส.ค. 2550 06:31:42 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org