มรดกแห่งป่า .. ช้างงาเดียวดอกม่วง
(ภาพ : คุณเพชร ตรีเพชร ทีมสำรวจ Thailand Wilderness Study)
..
..
หลายปีก่อนปกนิตยสารสารคดี (ฉบับที่ 156 ปีที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 2541) ได้ลงรูปโครงการท่อส่งก๊าชไทย-พม่า ในพื้นที่ป่าแห่งนั้นมีกล้วยไม้หายากชนิดหนึ่งของโลกอาศัยอยู่ที่นั่น
..
..
เอื้องมณีฉาย หรือ ช้างงาเดียวดอกม่วง
..
..
ช้างงาเดียวดอกม่วง ถูกพบครั้งแรกในเทือกเขาเทนนิสะริม ของประเทศพม่า จากการสำรวจของ Robson Benson นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ต่อมากล้วยไม้ชนิดนี้ก็ได้รับการบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์ในปี ค.ศ. 1868 ว่า Thunia bensoniae โดย ศาสตราจารย์ Joseph Dalton Hooker นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ โดยชื่อระบุชนิดตั้งตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบ species eponymy ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่ผู้ที่สำรวจพบเป็นครั้งแรก
..
..
ในประเทศไทยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกที่เหมืองปิล็อก บ้านหนองอีต่อง (เพี้ยนมาจากคำว่าเนาะเอ็งต่อง ซึ่งเป็นภาษาทวาย แปลว่า ภูเขาอันเป็นที่สถิตย์ของดวงวิญญาณ) และจากรายงานนั้นระบุว่าพบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนั้นผ่านการใช้ประโยชฯมาช้านาน นับเริ่มตั่งแต่การทำไร่ การทำเหมือง การวางแนวท่อก๊าช การเปิดพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ทำให้พื้นที่ป่าหลายส่วนในบริเวณนั้นสูญเสียไป ซึ่งพื้นที่ป่าบริเวณนั้นเป็นถิ่นฐานที่สำคัญของกล้วยไม้หายากหลายๆ ชนิด และหนึ่งในนั้นคือ ช้างงาเดียวดอกม่วง ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ช้างงาเดียวดอกม่วงพบเห็นได้ยากมากในป่าผืนนั้นแล้ว
...แก้ไขเมื่อ 20 มิ.ย. 2550 07:37:50
ฝนแรก
[ 20 มิ.ย. 2550 06:52:56 ]