กระทู้-07960 : กุ้งเต้น ในป่าชายเลน

Home » Board » กุ้ง & ปู

กุ้งเต้น ในป่าชายเลน

หาได้คุยเรื่องเมนูอาหารที่เอากุ้งเป็นๆ  มาปรุงดอกนะเจ้าคะ แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่งมีอบรมเรื่องกุ้งเต้นตัวนี้ หรือที่ฝรั่งมังฆ้องเรียกกันว่า amphipod

กุ้งเต้น จัดอยู่ใน Phylum Arthropoda แลอยู่ร่วม Class Malacostraca กับพวกกุ้งปู ทั้งหลายนั่นแล ต่างกันก็แต่เจ้ากุ้งเต้นทะลึ่งมีขาเดิน 7 คู่ ต่างจากกุ้งปูอันมีขาเดินสิริรวม 5 คู่อันเป็นที่มาของชื่อ Decapoda  (deca=10; pod= ขา)   กุ้งเต้นของเราก็เลยถูกจัดใน Order Amphipoda แลกุ้งเต้นเหล่านี้ก็เป็นญาติโยมกับแมงสาบทะเลฤาตัวกะปิ ต่างกันแต่ลักษณะบางประการอันจักร่ายเป็นลำดับ

อันกุ้งเต้นนี้ อิฉันก็หาได้บัญญัติศัพท์เองเล่นส่งเดชไม่ หากแต่เมื่อครั้งวัยละอ่อน เรียนวิชา Carcinology  (แปลว่าวิชาที่เกี่ยวกับครัสเตเชียนั้นแล หาได้เกี่ยวอันใดกับคาสิโน ที่มีการพนัน เช่น ถั่ว โป เปนอาทิ)  อาจารย์ที่สอนเคยเล่าให้ฟังว่า คนโบราณเรียกเจ้าตัวนี้ว่ากุ้งเต้น ด้วยว่าในยามที่ขุดทรายเล่น หาปู หาหอย ก็มักจักเห็นตัวอะไรเล็กๆ  กระโดดไปมา จุ่งได้ขนานนามมันว่า กุ้งเต้น ส่วนใหญ่มักพบอาศัยอยู่ในทะเลตั้งแต่ชายฝั่งลงไปถึงทะเลลึก แต่มีพบบริเวณน้ำกร่อย น้ำจืดหรือแม้แต่บนบก บ้างเช่นกัน
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 18:57:45
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2548 18:05:28 ]
ความคิดเห็นที่: 1
นึกว่าจะได้ยลโฉมเจ้ากุ้งเต้นที่ว่า
ไม่มีรูปมาให้ดูดอกหรือเจ้าคะ

ข้าเจ้าอยู่ตังป่าตังดอย บ่เกยหันน่ะเจ้า.....
เอามาหื้อผ่อบ่ได้ก๋าเจ้า
Trichoptera approve [ 11 ก.ค. 2550 18:08:47 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ไช่ตัวที่มันโดดดุ๋งๆ อยู่แ ถวๆ ซากปูซากปลาป่าวอ่ะครับ
Alakazum approve [ 11 ก.ค. 2550 18:15:14 ]
picture__reply_34844.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
เริ่มด้วยตัวแรก เจอในป่าชายเลน เป็นตัวที่เจอได้บ่อยในแถบนี้ Quadrivisio bengalensis อันขรัวตา Stebbing เจอที่อ่าวเบงกอลตามชื่อ ตั้ง แต่ปี 1907
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 18:59:47
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 18:20:55 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ตอนเดินเล่นชายหาดตอนกลางคืน พอเหยียบไปบนพื้นทราย บางทีก็เรืองแสงได้ด้วย
น่าจะเป็น amphipod ด้วยเหรอป่าวครับ
kasoop approve [ 11 ก.ค. 2550 18:28:01 ]
picture__reply_34848.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
ตามด้วยตัวต่อมา เจอที่ป่าชายเลน ในภูเก็ตอีกเช่นกัน Microrchestis sp. ยังจำแนกลงระดับชนิดมิได้ ด้วยว่าอิฉันเองก็ยังเพิ่งหัดจับเจ้ากุ้งเต้นตัวนี้ อีกทั้งเอกสารก็ยังน้อยอยู่ จึ่งต้องรอถามผู้เชี่ยวชาญจริงๆ  เสียก่อน

ส่วนใหญ่ในป่าชายเลนมักจะเจอตามซากใบไม้  แต่มีคราหนึ่งที่ตามไปออกเก็บตัวอย่างหอยแถบจังหวัดตราดกับลุงชรา ท่านหนึ่ง กลับพบเจ้ากุ้งเต้นนี้ ไปเต้นอยู่ในกาบต้นจากฝูงใหญ่ ทำให้รู้ซึ้งถึงคำว่า microhabitat ในยามนั้นเอง
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 18:59:04
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 18:41:35 ]
picture__reply_34850.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
ตอบ Alakazum ก่อนนะเจ้าคะ เป็นไปได้เจ้าค่ะ เพราะว่าเจ้าตัวนี้มักจะพบว่ามันกินซากพืชซากสัตว์ งานวิจัยบางงานก็จับแอมฟิพอดด้วยการวางเหยื่อล่อกับซากปลาแหละค่ะ
ส่วนคุณ kasoop เดินตามชายหาด พอเหยียบแล้วเรืองแสง อันนี้อิฉันก็ยังมิเคยเจอดอกนะเจ้าคะ ด้วยว่าเคย แต่เก็บแอมฟิพอดในป่าชายเลนตอนกลางคืน ก็มิเห็นมันเรืองแสงอันใด แลสัตว์ทะเลที่เรืองแสงได้นั้นมีอยู่มาก ทั้งเคย แลไส้เดือนทะเล เปนอาทิ อิฉันก็ยังมิอยากจักฟันธง

ตัวนี้ เขาว่ามันขุดรูอยู่ แลกรองอาหารกินโดยใช้รยางค์ส่วนท้องโบกพัดกระแสน้ำ ทำให้มีขนหน้าแข้งยุ่บยับ แล ถ้าหนวดมิขาดเสียก่อนก็จักเห็นว่ามีขนที่หนวดพะรุงพะรังเอาการเจ้าค่ะ
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 18:49:48 ]
picture__reply_34851.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
ตัวก่อนหน้านี้ที่มีขนหน้าแข้งแลหนวดรกรุงรัง ชื่อ Grandidierella gilesi เจ้าค่ะ ส่วนตัวนี้ Eriopisa chilkaensis อันเคยมีรายงานในทะเลสาบสงขลามาแล้ว

อิฉันเองก็เพิ่งริถ่ายภาพเจ้ากุ้งเต้นก็ในคราวนี้ ด้วยว่า แต่ก่อนนั้นนิยมวาดเอา เพราะว่าเก็บรายละเอียด ทั้งหนวด แล หนาม อันสำคัญๆ  ได้ง่ายกว่า ที่จริงแล้วอยากจักถ่ายตอนที่เจอในที่ที่พบมันจริงๆ   แต่กล้องที่มีอยู่คงถ่ายไม่เห็นเป็นแน่แท้ ด้วยว่าเจ้ากุ้งเต้นนี้ตัวเล็กนัก (2 mm-1cm) เอาเป็นรูปที่ถ่ายใต้กล้องจุลทรรศน์ไปก่อนนะเจ้าคะ
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 19:06:29
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 18:55:41 ]
ความคิดเห็นที่: 8
น่าสนใจดีจังเลยครับ ได้รู้จักเจ้ากุ้งเต้นมากขึ้นก็วันนี้แหละครับ ขอบคุณนะครับ
Due_n approve [ 11 ก.ค. 2550 19:10:20 ]
ความคิดเห็นที่: 9
"microhabitat" น้อยคนจะใช้ศัพท์นี้ แสดงว่ามีองค์

ส่วนเรื่องสัตว์ที่เรืองแสงตามชายหาดเคยอ่านในหนังสือมัอยู่หลายกลุ่มนะครับ ที่พอรู้ก็ นอกจากพวกแอมฟิพอด (บางกลุ่ม) ยังมีแพลงก์ตอนในกลุ่ม Noctiluca, Polychate, แมงกระพรุ่น-หวีวุ้นขนาดเล็กๆ  ที่ถูกคลื่นซัดบนชายหาดครับ
kasoop approve [ 11 ก.ค. 2550 19:51:00 ]
ความคิดเห็นที่: 10
อิฉันก็ไปจำๆ  ขี้ปากเขามาอีกทีนึงน่ะ มิได้มีองค์กับเขาดอก
รูปแอมฟิพอดทั้งหมด ได้จากป่าชายเลนรอบๆ  เกาะภูเก็ตนะเจ้าคะ ส่วนใหญ่ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้ในการฝึกอบรมอนุกรมวิธานครัสเตเชียนขนาดเล็ก อันมี แอมฟิพอด ไอโซพอด คูมาเซียน ทาไนดาเซียน เปนอาทิ อันจักค่อยๆ  นำเสนอในเพลาข้างหน้าเจ้าค่ะ
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 20:58:01 ]
ความคิดเห็นที่: 11
เริ่มปฏิบัติการคายความรู้แล้ว ดีๆ
นกกินเปี้ยว approve [ 11 ก.ค. 2550 21:14:21 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เหอ เหอ

คนแถวนี้เริ่มปฏิบัติการดูดความรู้อีกแล้ว ดีๆ
natee approve [ 11 ก.ค. 2550 21:39:37 ]
ความคิดเห็นที่: 13
รูปที่ถ่ายนี้คงใช้กล้องถ่ายผ่าน กล้องจุลทรรศน์แบบ stereo  และค่อย แต่งด้วย photoshop ใช่ไหมครับ
แต่ ถ้าจะศึกษาเชิง taxonomy ก็คงต้อง drawing สถานเดียว

คุณ ampelisciphotis ทำงานอยู่ PMBC ใช่ป่าวครับ
kasoop approve [ 11 ก.ค. 2550 22:42:44 ]
ความคิดเห็นที่: 14
แล้วมันเป็นญาติใกล้ชิดกะพวก Gammarus spp.
หรือเปล่าค่ะ เคยเห็น ตัวมันลักษณะคล้ายๆ  กันเลยค่ะ
Trichoptera approve [ 11 ก.ค. 2550 23:02:11 ]
ความคิดเห็นที่: 15
พี่ออมรึปล่าวคับ
npm [ 11 ก.ค. 2550 23:22:27 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ตอบคุณ kasoop อิฉันก็ทำเยี่ยงเดียวกับที่ว่าถ่ายผ่าน stereo แล้วใช้ photoshop  แต่ส่วนตัวอิฉันยังชอบวาดผ่าน camera lucida มากกว่า เคยได้มีโอกาสเห็นรูปวาด hyperiid amphipods ของ ดร.สุรพล สุดารา ซึ่ง ก็ยังติดตาตรึงใจจนทุกวันนี้   แต่รูปถ่ายก็มีดีตรงที่เร็ว  และดูง่ายสำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานในเชิง taxo ตรงๆ  น่ะค่ะ

อิฉันเป็นนักวิจัยเล็กๆ  อยู่ที่สำนักชาวช่าง PMBC นั่นแลค่ะ จะว่าไปคงมีไม่กี่ที่ที่อิฉันจักคีย์แอมฟิพอดทำมาหากินได้ อิฉันว่าคุณ kasoop ก็คงจักอยู่สำนักช่างทางทะเลเหมือนกัน ด้วยสำเนียงมันฟ้อง ทั้งหวีวุ้น Noctiluca คิดว่าคงไม่หนีกันสักเท่าไรดอก

ตอบคุณ Trichoptera กุ้งเต้นทั้งหมดเนี่ย อยู่ใน Suborder Gammaridea หรือเรียกเล่นๆ  ว่า gammarid amphipod เช่นเดียวกับ Gammarus spp. นั่นล่ะค่ะ แอมฟิพอดใน Suborder นี้ลักษณะคล้ายกุ้ง ตาขนาดปกติไม่ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของหัว รยางค์ปากส่วน maxillipeds มี maxilliped palp รยางค์ส่วนอกมีแผ่น coxa (ลอกตำรามาเลย หุหุ)

ตอบคุณ npm  ชื่ออิฉันอยู่บนรูปแล้วเจ้าค่ะ :-)
...แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 2550 23:40:23
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 23:34:38 ]
picture__reply_34875.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
ส่งท้ายคืนนี้เป็นรูปวาดของ Elasmopus ตัวนี้เจอทั้งป่าเลน  และหญ้าทะเล เดี๋ยวภาคต่อไปเป็นกุ้งเต้นจากแนวปะการัง เร็วๆ  นี้เจ้าค่ะ
ampelisciphotis approve [ 11 ก.ค. 2550 23:59:32 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ผมไม่ได้เป็นนักวิชาการของหน่วยงานใดๆ  เป็นเพียงนิสิตตัวเล็กๆ  ในคณะประมง มก แล้วก็ทำด้านน้ำจืด

เรื่องที่พอรู้เกี่ยวกับทะเลมาบ้างก็คงเพราะเมื่อก่อนเคยใช้แรงงานช่วยอาจารย์ในคณะเก็บตัวอย่างงานวิจัยครับ

งานผมเกี่ยวกับลูกปลาครับ..บางครั้งต้องวาดภาพผ่าน lucida  แต่ตอนหลังพอเทคโนโลยีดีขึ้น ก็หันมาใช้กล้องดิจิทอลตามที่กล่าวมาข้างต้น รูปก็ออกมาสวยดี  แต่ก็ต้องร่างภาพด้วย lucida  และลง lotting บนกระดาษไขควบคู่กันไปด้วย
kasoop approve [ 12 ก.ค. 2550 00:02:37 ]
ความคิดเห็นที่: 19
เดี๋ยวจะต้องมีคนมาถามว่า "กินได้ไหมค่ะ" แน่ๆ เลย เราดักไว้ก่อน ตกลงมันกินได้ไหมครับ??  เหอ เหอ

ตัวพวกนี้เคยจับได้ตอนกระผมไปใช้ชีวิตระหกระเหินที่ประเทศอเมริกา  แต่เป็นพวกน้ำจืด ไม่ทราบว่าเมืองไทยมีชนิดที่อาศัยในน้ำจืดมากน้อยประการใด???
นณณ์ approve [ 12 ก.ค. 2550 00:30:49 ]
ความคิดเห็นที่: 20
เป็นพวกแพลงตอนหรอครับเนี่ย....
electron [ 12 ก.ค. 2550 00:53:02 ]
ความคิดเห็นที่: 21
แอมฟิพอดส่วนใหญ่ (ขอเน้นว่าส่วนใหญ่) พบในน้ำเค็ม  และน้ำกร่อย มีการดำรงชีวิตแบบสัตว์หน้าดิน (benthic fauna หรือที่เรียกกันว่า benthos) มากกว่า
ส่วนที่เป็นแพลงก์ตอนก็เป็นลักษณะที่เรียกว่า (accidental plankton) คือเป็นโดยบังเอิญ อันเนื่องมาจากพื้นท้องน้ำถูกทำให้ฟุ้งกระจายครับ
...แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 2550 02:09:55
kasoop approve [ 12 ก.ค. 2550 01:50:23 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ตัวที่พี่กระสูบว่ามันเรืองแสงผมเคยเจอแถวระยองครับ พอย่ำเท้าแล้วยกขึ้นมันก็เกิดแสงออกมาสีน้ำเงิน-ฟ้า-ม่วง อธิบายไม่ถูก แต่สวยมาก ผมก็ลองไปเก็บมาดูพบว่ามันตัวกลมๆ ขนาดเล็กพอๆ กับเม็ดทราย ยามปกติมันจะตัวใสๆ  พอเขย่าแล้วมันถึงจะปล่อยสารเรืองแสงออกมาครับ เก็บมาใส่ถังเต็มเลยแล้ก็ทำให้มันเรืองแสง สวยมากๆ  แล้วก็ปล่อยไปครับ
ปล.หาดแถว จ.ระยอง ครับ
Alakazum approve [ 12 ก.ค. 2550 02:43:31 ]
ความคิดเห็นที่: 23
ไม่ได้เข้า PMBC นานแล้ว ทั้งๆ ที่ต้นสังกัดอยู่ไม่ไกลกัน( แต่ตัวอยู่ไกลกว่าเยอะ) ระยะหลังนี่ เวลาติดต่อกับใครในนั้นมักติดต่อผ่านร่างทรงเสมอเลย
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 03:13:52 ]
ความคิดเห็นที่: 24
ได้มีโอกาสเข้ามายลภาพงามๆ  อีกแล้ว ดีจังขอรับ น้องท่านชักภาพได้สวยมาก  ถ้าหากว่ามีความรู้ใดที่คิดว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นที่แวะจรมายลภาพหรือเรื่องราวแล้วไซร้ น้อง ampelisciphotis ท่าน จุ่งรีบนำมาบอกกล่าวเล่าขานโดยพลัน อย่าได้ช้าที จักยังประโยชน์แก่สังคมในบอร์ดนี้มิได้น้อย

หอยทากชรา
หอยทากชรา [ 12 ก.ค. 2550 07:13:52 ]
ความคิดเห็นที่: 25
ยังกะลอกสำนวนกันมาเลยครับ อิอิ
นกกินเปี้ยว approve [ 12 ก.ค. 2550 08:26:52 ]
picture__reply_34911.jpg
ความคิดเห็นที่: 26
ตอบคุณ kasoop อิฉันก็อาศัยเรียนวาดรูปจากอาจารย์สำนักช่างลูกปลาเหมือนกัน ชะรอยเราจักเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันฤา?
ตอบพี่น็อตอิฉันเพิ่งเข้ามาทำงานที่ PMBC ได้ปีกว่าๆ  เจ้าค่ะ ยังเป็นพนักงานอยู่เลย
ตอบลุงหอยทากชรา อิฉันก็ได้ แต่ก๊อกแก๊กอยู่ในแลปตามประสาน่ะเจ้าค่ะ ครูพักลักจำไปเรื่อย รออยู่ก็ แต่พี่ท่าน เมื่อไรจักเอารูปงามๆ  มาขยายให้คนแถวนี้ได้ยลกันบ้างเล่า :-)

คำถามแรก อิฉันว่ามันกินได้ ด้วยว่ามันเป็นอาหารของปลา และสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามันอีกหลายชนิด  แต่ก็ไม่เคยจับได้มากพอที่จะลองกินสักคราว จับมาทีไรก็ดอง formalin บ้าง alcohol บ้าง ซึ่ง ก็หาวิธีปรุงได้ยากสักหน่อย  แต่ของที่กินยากกว่านี้อย่างเพรียงยังมีคนกินมาแล้วเลย

เมืองไทยมีกี่ชนิด? ฝั่งอันดามันตอนนี้ที่พบ และมีการตีพิมพ์เอาไว้ ประมาณ 60 ชนิดเจ้าค่ะ แลการสำรวจก็ยังวนเวียนอยู่แถวๆ  ภูเก็ต เพราะฉะนั้น มันมีมากกว่านี้แน่ๆ
อ่าวไทย ที่มีรายงานคือทะเลสาปสงขลา 34 ชนิด ค่ะ
ในน้ำจืด ยังไม่เห็นใครศึกษาน่ะเจ้าค่ะ อิฉันเองเคยได้ตัวอย่างที่น้ำจืดแถวบางปะกง เจออยู่ 4 ชนิดค่ะ

แอมฟิพอดยังแยกย่อยได้เป็นอีก 4 Suborder นาเจ้าคะ (รูปจาก Bosfield, E., L. 1973. Shallow-water gammaridean amphipoda of New England. City of Washington : Smithsonian Institution Press.)
Suborder Gammaridea : แอมฟิพอดใน Suborder นี้ลักษณะคล้ายกุ้ง ตาขนาดปกติไม่ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของหัว รยางค์ปากส่วน maxillipeds มี maxilliped palp รยางค์ส่วนอกมีแผ่น coxa ปล้องท้องแข็งแรงพัฒนาดี ปล้องท้องส่วนหลังพัฒนาดี และรยางค์ปล้องท้องส่วนหลังมี rami  รยางค์ท้องส่วนหลังปลายมีสองแฉก (biramous) ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน แต่พบประมาณ 20% อาศัยอยู่ในมวลน้ำ
...แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 2550 10:47:26
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 09:11:29 ]
picture__reply_34913.jpg
ความคิดเห็นที่: 27
Suborder Hyperiidea : แอมฟิพอดใน Suborder นี้มีลักษณะคล้ายกุ้ง ลำตัวโปร่งใน ตามีขนาดใหญ่มากกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนหัว รยางค์ปากส่วน maxilliped ไม่มี palp แผ่น coxa บริเวณรยางค์อกมีขนาดเล็ก และเชื่อมติดกับลำตัว รยางค์ส่วนท้องตอนต้นมีปลายสองแฉก รยางค์ส่วนท้องตอนปลายมักไม่มี rami ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนอยู่ในมวลน้ำ บางครั้งพบอาศัยอยู่ร่วมกับ gelatinous zooplankton เช่นหวีวุ้น แมงกะพรุน  แต่ตัวที่อยู่เป็นอิสระ มักพบเป็นผู้ล่า ตัวที่ดร.สุรพลทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เป็นกลุ่มนี้ ซึ่ง หาคนทำได้น้อยกว่ากลุ่ม gammarid มาก
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 09:19:38 ]
picture__reply_34914.jpg
ความคิดเห็นที่: 28
Suborder Caprellidea : Skeleton shrimps แอมฟิพอด Suborder นี้มีร่างกายผอมยาวคล้ายท่อ ส่วนหัว และรยางค์อกปล้องแรกเชื่อมติดกัน แผ่น coxa มีขนาดเล็กหรือลดรูป ปล้องท้องมีน้อยกว่า 5 ปล้อง รยางค์ส่วนอกบางคู่ลดรูปเหลือเพียงส่วน gnathopods มีแผ่นอุ้มไข่อยู่ที่ปล้องอกปล้องที่ 3  และ 4 ส่วนใหญ่มักดำรงชีวิตบริเวณหน้าดินแบบอยู่กับที่ ตัวนี้วิวัฒนาการสูงกว่า gammarid มักเจออยู่กับสาหร่าย ปะการัง
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 09:24:08 ]
picture__reply_34915.jpg
ความคิดเห็นที่: 29
Suborder Ingolfiellidea: แอมฟิพอด Suborder นี้มีเกล็ดบริเวณส่วนหัว เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่บนบกได้ มีปล้องอกทั้งหมด 7 ปล้อง  แต่ละปล้องมีรยางค์ และแผ่น coxa  แผ่นอุ้มไข่ และเหงือกอยู่บริเวณ 3 ปล้อง ปล้องท้องมี 6 ปล้อง ร่างกายเรียวยาว รยางค์ท้องส่วนหน้าลดรูป รยางค์ท้องส่วนหลังมี 2 คู่ ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บนบก มักพบอยู่ในถ้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด  ทั้งโลกมีอยู่ประมาณ 200 ชนิด
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 09:26:16 ]
ความคิดเห็นที่: 30
สุดยอดไปเลย...
aqueous_andaman approve [ 12 ก.ค. 2550 11:34:18 ]
ความคิดเห็นที่: 31
นึกถึงแมงกระดานถ้ำของพี่นณณ์ มันเป็นแอมฟิพอด หรือไอโซพอดแล้วหว่า
...แก้ไขเมื่อ 12 ก.ค. 2550 13:03:44
นกกินเปี้ยว approve [ 12 ก.ค. 2550 13:03:34 ]
ความคิดเห็นที่: 32
นกกินเปี้ยว approve [ 12 ก.ค. 2550 13:36:09 ]
ความคิดเห็นที่: 33
ตามไปดูมาแล้ว แมงกระดานถ้ำ Stenasellus เป็นไอโซพอด

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่อยากฟันธงเจ้าตัวเรืองแสงของ Alakazum ตั้ง แต่แรก เพราะว่า แอมฟิพอด ไมซิด ไอโซพอด ทาไนดาเซียน หลายๆ  ตัวหน้าตาคล้ายกัน ขนาดตัวก็ใกล้ๆ  กัน  แต่อยากเห็นจัง พอมีทางถ่ายรูปมาให้ดูได้ไหมเจ้าคะ
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 14:24:59 ]
ความคิดเห็นที่: 34
ถึงน้อง ampelisciphotis ท่าน  ถ้าถึงเพลาที่เหมาะที่ควร เราคงจักได้นำภาพที่เราชักสะสมเก็บไว้ เอามาให้ยลบ้าง จะติดก็ แต่ภาพที่เรามีนั้นไซร้ ฝีมือมิได้เท่ากระผีกเล็บของเหล่าๆ  ท่านๆ  ทั้งหลายในบอร์ดนี้ ไว้เมื่อใดที่เราทำใจ หักห้ามความละอายในฝีมือเราได้แล้วไซร้ เราจักนำภาพมาให้ยลชม พอเป็นพิธี

หอยทากชรา
หอยทากชรา [ 12 ก.ค. 2550 15:06:26 ]
ความคิดเห็นที่: 35
สาระแน่นอย่างนี้ชอบมากเลย..ขอบคุณครับ
kunl_bur approve [ 12 ก.ค. 2550 15:24:00 ]
ความคิดเห็นที่: 36
ขอบคุณในน้ำใจที่เอาความรู้มาแบ่งปันกันครับ ขอบคุณจริงๆ

พี่หอยทากชราครับ เวบนี้เป็นเวบเนื้อหาความรู้ครับ ออกตัวไว้ก่อนเลยว่าไม่ใช่เวบภาพถ่าย เชื่อว่าคนคุณภาพความรู้ดีมีพื้นฐานแน่นทำให้ภาพเป็นแค่ส่วนประกอบได้ครับพ้ม
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 12 ก.ค. 2550 15:54:42 ]
ความคิดเห็นที่: 37
กระทู้สาระเยอะดีจัง  ชอบๆ ...
Montela_Hoya approve [ 12 ก.ค. 2550 16:58:25 ]
picture__reply_35008.jpg
ความคิดเห็นที่: 38
แล้วตัวนี้ล่ะ น้อง ampelisciphotis มีความเห็นว่ากระไรฤา วานบอก
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 18:44:41 ]
picture__reply_35010.jpg
ความคิดเห็นที่: 39
อีกมุมมองหนึ่ง
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 18:47:16 ]
ความคิดเห็นที่: 40
อยากถ่ายรูปแมลงเป็นๆ  ใต้กล้องบ้างค่ะ
พอจะมีวิธีที่ทำให้มันเคลื่อนที่ช้าลง  แต่ยังไม่ตายบ้างมั้ยคะ?
ทุกทีคือถ่ายรูปแมลงที่มันดองในแอลกอฮอล์แล้ว  แต่ว่าตัวมันจะงอๆ
จัดท่าทางลำบากค่ะ

แหะ เคยเรียนมานานมาแล้วตอนเรียน Marine ecology  แต่ว่ามันลืมไปแล้วค่ะ
เป็นเกล็ดอะไรสักอย่างที่ใส่ลงไปในน้ำให้สัตว์มันสลบก่อนที่จะเก็บรักษาในน้ำยารักษาสภาพอ่ะค่ะ
แหะ  มีใครพอรู้มั้ยค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
Trichoptera approve [ 12 ก.ค. 2550 22:04:16 ]
ความคิดเห็นที่: 41
 ถ้าเป็นสัตว์น้ำ ลดอุณหภูมิของน้ำลงก็น่าจะชะลอได้เยอะแล้วครับ
นณณ์ approve [ 12 ก.ค. 2550 22:09:54 ]
ความคิดเห็นที่: 42
ตัวนี้คงมิได้เดินเจอแถวทะเลแน่ๆ  อาจจักพบเจอถามป่าเขา ในถ้ำฤาที่น้ำขัง เสียมากกว่า อิฉันก็ยังไม่เคยได้เจอเจ้านี้ตัวเป็นๆ  เคย แต่อ่านเจอ เห็นหน้าคราแรกก็พลิกคัมภีร์มิทันทีเดียว มาตรว่าหลังอิฉันตอบไปแล้ว ว่าพี่ท่านน็อตจุ่งเฉลย แลให้รายละเอียดนะเจ้าคะว่าเจอที่ไหนอย่างไร

เจ้าตัวนี้ ตามความเห็นของอิฉัน อยู่ใน Order Spelaeogriphacea เจ้าค่ะ ขนาดน่าจักมิเกิน 1 cm มี carapace คลุมมาจนถึงปล้องตัวปล้องที่แรก (อิฉันเห็นขาเดินคู่แรกโผล่ออกมาจากใต้ carapace เจ้าค่ะ) อีกขาเดินทั้ง 7 นั้นก็เป็น biramus ที่ส่วน exopod พะรุงพะรังเอาการ คงใช้เอาไว้ว่ายน้ำเป็นแน่ หากเป็น Order นี้จริงๆ  ก็คงนิยมกินอินทรียสารในท้องน้ำนั่นแล

อิฉันก็กางตำราตอบเยี่ยงเดิมนั่นแลเจ้าคะ ผิดถูกประการใด คงได้มาถกกันให้ครื้นเครงเทียว หากตอบผิดสำแดงเปิ่นเทิ่นก็คงมิเป็นไร ด้วยอย่างไรแล้วอิฉันก็จักมีความรู้งอกงามขึ้น
ampelisciphotis approve [ 12 ก.ค. 2550 22:13:50 ]
picture__reply_35029.jpg
ความคิดเห็นที่: 43
สำหรับเจ้าตัว #38 39 พี่ใช้น้ำตื้นๆ ครับในการถ่าย โดยใช้กล้อง A70 (ตอนนั้นใช้) ยัดเข้าเลนส์ตาของ stereo microscope  แล้ว ถ้าจำไม่ผิดก็อยู่ใน Order Spelaeogriphacea นั่นแหละ ขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 8 มม. มาจากถ้ำแห่งหนึ่งใน จ.ชุมพร ส่วนรายละเอียดยิบๆ  ขอให้ติดต่อหลังไมค์นะครับ เพื่อประโยชน์สุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกับมัน  รูปใน คห.นี้เป็น microhabitat ของมัน ก็เคยเห็นปลาไหลนา และกุ้งฝอยอยู่ในแอ่งแห่งนี้ น้ำลึกประมาณเกือบมิดหัว หน้าแล้งก็จะแห้งสนิท ส่วนทางน้ำใต้ดินยังมีน้ำ แต่ไม่เห็นตัว แต่อย่างใด
knotsnake approve [ 12 ก.ค. 2550 22:42:51 ]
ความคิดเห็นที่: 44
อิฉันเลยได้ความรู้กลุ่ม peracarid บนบกเพิ่มขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง พี่น็อตถ่ายได้ชัดเจนดีไม่น้อย วันหนึ่งอิฉันคงมีโอกาสได้จับกลุ่มที่เจอบนบก  แต่ยามนี้อิฉันยังออกไปไม่พ้นเกาะภูเก็ตดีเลยเจ้าค่ะ
อันสารสลบตัวอย่างสัตว์ แต่ละกลุ่มนั้นใช้ได้หลายแบบเจ้าค่ะ ทั้ง แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต แล เมนทอล เปนอาทิ สาร แต่ละตัวก็เหมาะใช้ใน แต่ละกลุ่มแตกต่างกัน  แต่วิธีแช่เย็นนั้นใช้ได้กับแทบทุกกลุ่ม กับกลุ่มสัตว์น้ำอิฉันเคยใส่น้ำแล้วตากแดด ก็ใช้ได้ดีเวลาไม่มีตู้แช่ หรือกับกลุ่มหอยบก เคยได้ยินว่าใช้วิธีทำให้มันขาดออกซิเจน คงต้องให้เซียนหอยมาเล่าสู่กันฟัง
คราหนึ่ง ตอนที่มีศิษย์สำนักชาวช่างทางทะเลท่านหนึ่งเก็บทากเปลือยได้ แลพยายามจักสลบมัน ด้วยว่าหากดองเลย ตัวอย่างก็สภาพไม่ดี ต้องใช้เมนทอลในการสลบ  แต่ในครานั้นติดเกาะอยู่ มีเพียงคลอเรตอยู่หนึ่งกระอับ สู้อุตส่าห์ตำคลอเรตเพื่อผสมน้ำสลบทากเปลือยตัวนั้น แต่มิได้ผล นิสิตอีกคนก็ควักเอาน้ำยาบ้วนปากสูตรผสมเมนทอลออกมา พอผสมลงไปทากเปลือยก็เลยตายแบบไม่ได้สลบ ด้วยว่าโดนแอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปากไปเต็มๆ
ในคราคับขันเยี่ยงนั้น ใช้ยาหม่อง พิมเสนน้ำ ฤายาดมส้มมือ พวกนั้นก็พอกล้อมแกล้มเจ้าค่ะ
...แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 2550 00:17:14
ampelisciphotis approve [ 13 ก.ค. 2550 00:13:17 ]
ความคิดเห็นที่: 45
ขอบคุณกับข้อมูล และความรู้ครับ น่าจะลงเป็นArticle ในหัวข้อนี้ได้เลยนะครับเนี่ย
Alakazum approve [ 13 ก.ค. 2550 04:35:13 ]
ความคิดเห็นที่: 46
มีเวทีให้ระบายอย่างนี้นะ พรั่งพรูออกมาเลย
นกกินเปี้ยว approve [ 13 ก.ค. 2550 09:02:09 ]
ความคิดเห็นที่: 47
เคยมีคนบอกว่านัก taxo ส่วนใหญ่ จะมีลักษณะร่วมกันสองประการคือ

1. อารมณ์ดี แลติดจะติงต๊องสักหน่อย บางคนถึงขั้นบ้าๆ  บอๆ  ไม่เต็ม เยี่ยงอิฉันเป็นต้น
2. ขี้โม้

เท่าที่สัมผัสมาก็พบว่า ...................จริงเจ้าค่ะ  คนในนี้ว่าเยี่ยงไรบ้าง :-)
ampelisciphotis approve [ 13 ก.ค. 2550 10:03:52 ]
ความคิดเห็นที่: 48
อืม แล้วนี่ตัวเราอยู่ข้อใหนล่ะเนี่ย
นกกินเปี้ยว approve [ 13 ก.ค. 2550 10:15:08 ]
ความคิดเห็นที่: 49
ภาพสวย  ข้อมูลน่าสนใจมากขอรับ

ข้าพเจ้าขอดื่มคารวะท่าน ๑ จอกใหญ่ (^^)
ตะพากหน้าแดง approve [ 13 ก.ค. 2550 10:56:26 ]
ความคิดเห็นที่: 50
มีประเด็นหนึ่งที่พอจะถือว่าเป็น subset ของข้อ 1 คือ ต้องรู้จักสวมวิญญาณของสัตว์ที่สนใจ เพื่อที่จะเดาความคิด  และความต้องการของมัน เพื่อจะพาเราไปค้นหาคำตอบที่คนอื่นอาจไม่กล้าที่จะถาม
...แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 2550 12:12:47
knotsnake approve [ 13 ก.ค. 2550 11:36:27 ]
ความคิดเห็นที่: 51
ต้องมี "ความบ้า" ด้วยครับพี่
Mb. approve [ 14 ก.ค. 2550 01:41:28 ]
ความคิดเห็นที่: 52
ความบ้า..รู้สึกว่าคำนี้มีความหมายน้อยไปนะ ประมาณว่า ยิ่งกว่าบ้าน่ะ

เพิ่งกลับไปเห็น #18 แหม.. ถ้าคุณกระสูบเป็นแค่นิสิตตัวเล็กๆ  แล้วน้องๆ คนอื่นๆ ในนั้นไม่เหลือตัวแค่บู่แคระหรือครับ  ว่าไปแล้วไม่ได้เจอกันนานแล้ว  แต่เพิ่งเจอเพื่อนซี้ท่านที่เป็นนิสิตต่างสำนักในตอนนี้เมื่อไม่นานเท่าไหร่ อ้อ..แล้วมีใครทาบทามทั่นไปต่างแดนทางเรือปลายปีนี้หรือยังครับ
knotsnake approve [ 14 ก.ค. 2550 13:51:54 ]
ความคิดเห็นที่: 53
เคยมีมาทาบไปลงเรือเมื่อสองเดือนก่อนตั้ง 40 กว่าวัน T_T
แต่ตอนนี้งดรับกิจนิมนต์แล้วครับ ด้วยเกรงว่าจะไม่จบ
...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2550 22:06:48
kasoop approve [ 14 ก.ค. 2550 22:06:18 ]
ความคิดเห็นที่: 54
เที่ยวนี้ 58 วันครับ
knotsnake approve [ 14 ก.ค. 2550 23:31:19 ]
ความคิดเห็นที่: 55
อันที่จริงอิฉันก็อยากจะใช้คำว่าบ้าอยู่ดอก แต่เกรงว่าจะแรงไป

เรียกว่าความคลั่งไคล้ก็แล้วกันนะเจ้าคะ
ampelisciphotis [ 15 ก.ค. 2550 20:17:43 ]
ความคิดเห็นที่: 56
ต่อความเห็นที่ 44

วิธีสลบด้วยการทำให้ขาดออกซิเจน..  ( ถ้าผมจำ ไม่ผิดนะครับ)

- ใช้น้ำตัวอย่างต้มให้สุก คือ เมื่อนำน้ำตัวอย่างไปต้มแล้วน้ำจะขาด ออกซิเจนอะครับ
- ตอนรอให้เย็นนี้ ต้องหาฝาปิดตั้งที้งไว้ให้ดีหน่อย เพื่อป้องกันน้ำที่ต้มแล้วสัมผัสกับอากาศ
- ตัวอย่างเช่น จะสลบสัตว์น้ำจืด  ก็เก็บน้ำบริเวณนั้น (หรือใช้น้ำกลั่น) น้ำไปต้ม
-  ถ้าเป็นสัตว์น้ำเค็ม ก็ใช้น้ำบริเวณที่สัตว์อยู่ นำไปต้มซะ

ไม่แน่ใจว่าเค้าใช้วิธีนี้กันหรือป่าว??
aqueous_andaman approve [ 16 ก.ค. 2550 00:25:34 ]
ความคิดเห็นที่: 57
ขออนุญาตเพิ่มเติมความเห็น คุณ aqueous_andaman อีกสักนิดขอรับ วิธีการที่ว่านั้นใช่แล้วครับ เป็นขั้นตอนในการทำให้สัตว์ตัวอย่างหมดความรู้สึกหรือว่าสลบ  แต่สำหรับหอยทากบกนั้น เขานิยมเอาตัวอย่างมาใส่ในภาชนะที่มีน้ำเต็มปิดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 18-24 ชั่วโมงขอรับ ตัวอย่างหอยทากก็จะยืดตัวออกมาสวยงามแล้วจึ่งค่อยนำไปใส่น้ำยาดองขอรับ จริงๆ  แล้ววิธีการสลบสัตว์ตัวอย่างนั้นมีเป็นสิบวิธีเลยขอรับ เช่น ใช้ carbondioxide, ใช้ Magnesium Choloride, Magnesium Sulphate ซึ่ง เหมาะกับพวกสัตว์ทะเล  และวิธีอื่นๆ  อีกมากมายขอรับ  ถ้าสนใจจักนำมานำเสนอในโอกาสต่อไปขอรับ
หอยทากชรา approve [ 16 ก.ค. 2550 08:33:45 ]
ความคิดเห็นที่: 58
น่าตั้งเป็นกระทู้จริงๆ  นะท่านหอยทากชรา...
aqueous_andaman approve [ 17 ก.ค. 2550 23:34:27 ]
ความคิดเห็นที่: 59
ระหว่างลุงหอยจักเจียดเวลามาตั้งกระทู้ อิฉันแนะนำให้อ่านเอกสารอันนี้เปนเบื้องต้นก่อนเถิดเจ้าค่ะ มีเรื่องการเก็บรักษาตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ พอสังเขปเจ้าค่ะ

http://www.pmbc.go.th/Web-Reference%20Collection/document/a13.pdf
ampelisciphotis approve [ 18 ก.ค. 2550 00:23:46 ]
ความคิดเห็นที่: 60
aqueous_andaman approve [ 18 ก.ค. 2550 03:59:26 ]
ความคิดเห็นที่: 61
^
^
^
ลิงค์ให้ครับ  ขอบคุณสำหรับเอกสารดีๆ  ครับคุณampelisciphotis
aqueous_andaman approve [ 18 ก.ค. 2550 04:01:10 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org