กระทู้-07969 : ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสิน ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เศรษฐกิจหรือไม่?

Home » Board » อื่นๆ

ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสิน ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เศรษฐกิจหรือไม่?

กำลังค้นคว้าเอกสาร แล้วเกิดคำถามตามหัวข้อน่ะเจ้าค่ะ
ampelisciphotis approve [ 13 ก.ค. 2550 15:43:08 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เป็นคำถามที่ชวนทะเลาะดีครับ เหอๆๆๆ  เพราะทุกๆ คำตอบ มีข้อโต้แย้ง
knotsnake approve [ 13 ก.ค. 2550 16:38:28 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เหมือนกันครับเห็นชื่อกระทู้ก็ .. น่าจะดุเดือดแล้ว ...  แต่ผมชอบคำของคุณ ampelisciphotis ที่ว่ากำลังค้นคว้าเอกสาร แล้วเกิดคำถามตามหัวข้อน่ะเจ้าค่ะ มันเข้าท่าดีครับ .. ผมเองก็อยากรู้
ฝนแรก approve [ 13 ก.ค. 2550 16:45:02 ]
ความคิดเห็นที่: 3
เคยมีคำถามนี้อยู่ในใจเหมือนกันครับ  ถ้าจะใช้สำหรับเขียนในงานวิจัยล่ะก้อ..

1.หาเอาจาก ref. ที่ขึ้นหัวข้อประมาณว่า สัตว์ทะเลเศรษฐกิจในน่านน้ำไทย ..(ของงานทะเลรู้สึกจะมีของคุณไพไรจน์ สิริมนตราภรณ์เล่มบางๆ  ขนาด A4, รวมภาพปลาของ SEAFDEC ,หนังสือที่องค์การสะพานปลา เป็นอาทิ)

2. ถ้าสัตว์ที่เราสนใจ ไม่มีรายชื่ออยู่ในข้อแรกก้อให้ใช้หลัก "ตัวใหญ่พอที่จะนำใช้ประโยชน์ได้  แต่ ถ้าตัวเล็กก็ต้องมีปริมาณมากๆ   และเคยมีรายงานว่าจับขึ้นมาใช้ประโยชน์"

3. ถ้าว่างๆ  ก็ไปเดินสำรวจตามสะพานปลา แพปลา ท่าขี้นปลา ตลาด ก็จะได้คำตอบได้ในระดับหนึ่ง

หมายเหตุ... เกณฑ์นี้ใช้กับสัตว์น้ำที่นำมาใช้บริโภค (กิน)  แต่ ถ้าจะให้หมายรวมถึงสัตว์เลี้ยงสวยงามนั้นคงจะยากอยู่

อันนี้ส่วนตัวนะครับ..
ถ้างานวิจัยที่เลือกสำรวจเฉพาะแหล่งน้ำใดแหล่งน้ำหนึ่ง (พบมากในงานน้ำจืด) จะใช้สืบเอาจากรายงานประจำปี หรือมีก็สำรวจแพปลารอบแหล่งน้ำนั้นๆ  เพราะสัตว์น้ำบางชนิด เป็น economic sp. แหล่งน้ำ ก. อาจจะไม่ใช่ economic sp. ในแหล่งน้ำ ข. ก็เป็นได้ ทั้งนี้เป็นเพราะนิสัยการบริโภคของคนใน แต่ละท้องถิ่น
...แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 2550 17:43:08
kasoop approve [ 13 ก.ค. 2550 17:30:14 ]
ความคิดเห็นที่: 4
Any edible and available in sufficient amount, whether marketable or just local consume are Economic Species, if any play important role on food security (both local or regional) is Important Economic Species.  In Aquarium fishes point-of-view, any substantial or sustained amount, it is, also other forms of using; ornamental, collectible invertibrates, medicinal spp. etc.
waterpanda approve [ 13 ก.ค. 2550 18:37:26 ]
ความคิดเห็นที่: 5
Posters of EdibleSeafishes, and Edible shellfishes in the SEA, are available at DOF, contact to Inland Fish. Bureau at taxonomic museum.
waterpanda approve [ 13 ก.ค. 2550 18:40:02 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ปกติก็สำรวจตลาด กับแพปลาดู (ในกรณีของสัตว์น้ำที่ผมเคยทำ) ว่าชนิดใหนที่เขาขาย หรือคัดเลือกไว้ขาย

แต่พอยกตัวอย่างพวกสัตว์ป่าที่เขาจับมาขายแล้วมันเทียบกันไม่ถูกแฮ่ะ เช่น ถ้ามีการเอากระรอกที่ยิงได้มาขายในตลาด มันจะนับเป็นสัตว์ฌสรษฐกิจด้วยหรือเปล่า (แค่ยกตัวอย่างนะครับ)
นกกินเปี้ยว approve [ 13 ก.ค. 2550 22:21:48 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ก็ประมาณว่าสัตว์เศรษฐกิจที่หนึ่งอาจไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจของอีกที่หนึ่งก็ได้ เช่น ปลาเขือ ทางฝั่งอันดามันถือเป็นปลาเป็ด  แต่ทางฝั่งอ่าวไทยโดยเฉพาะ จ.นครศรีฯ  เป็นชนิดที่นิยมบริโภคไอ่ตัวที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงก็พออนุมานได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ(ขอตัดประเด็นว่าวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์คืออะไร แล้วมีที่มาอย่างไรออกไปก่อน มองแบบทั่วๆ ป)  แต่ก็มีตัวปัญหาคือพวกที่มูลค่าไม่สูง แต่วัตถุประสงค์หลักคือการบริโภคที่ใช้มูลค่ามาตัดสินไม่ได้ เพราะราคามันอาจเท่ากับหรือถูกกว่ากลุ่มที่ไม่นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจก็ได้ ปัญหาลักษณะนี้ก็เห็นชัดเจนในกลุ่มปลาเศรษฐกิจราคาต่ำเทียบกับปลาเป็ด(กลุ่มปลาที่ไม่นิยมหรือไม่มีการนำมาบริโภคโดยตรงเลย มักนำไปทำอาหารสัตว์หรือปุ๋ย  แต่ก็มีการแอบเอามาเป็นส่วนผสมอาหารให้คนด้วย) หรือปลาเหยื่อ( แต่ปลาเหยื่อมักเป็นปลาเศรษฐกิจขนาดเล็ก อาจนับเป็นกลุ่มปลาเศรษฐกิจได้เลย) แล้วจากประสบการณ์พบว่าปลาเป็ดบางชนิดถูกขยับฐานะมาเป็นปลาเศรษฐกิจราคาปานกลางได้อีก เช่น ปลาปักเป้าเขียว อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ เรามักแบ่งโดยการระบุชนิดหรือกลุ่มตายตัวไปเลย ไม่ว่าในการตลาดมันจะเปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลกับอดีตง่าย แล้วค่อยอธิบายเพิ่มเติมทีหลัง เอาแค่พอหอมปากหอมคอก่อน

ประเด็นแบบคุณนกกินเปี้ยวนี่แหละ ชวนตีกันสุดๆ  อิ อิ
knotsnake approve [ 13 ก.ค. 2550 22:59:54 ]
ความคิดเห็นที่: 8
criteria ที่บอกไปข้างต้น เป็นเกณฑ์ที่มีใช้กันในการเขียนเอกสารทางวิชาการจริงๆ  (เฉพาะด้านประมงนะด้านอื่นไม่รู้ครับ)

แต่หากใครเป็นศรีธนนชัย คิดหาช่องโหว่ เล็กๆ น้อยๆ  ก็ลำบากใจแทน  และอาจเป็นประเด็นชวนตีกันดั่งคำกล่าว
kasoop approve [ 13 ก.ค. 2550 23:17:05 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ใช่ครับคุณกระสูบ ส่วนในด้านอื่นๆ  เช่นการเกษตร(บนบก)ก็ทำในลักษณะเดียวกัน  แต่ค่อนข้างชัดเจนกว่าด้านประมง เพราะพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่เขาเอามาตีปี๊บเรื่อยๆ  ก็คือพืชเศรษฐกิจเดิมอยู่แล้ว  แต่เพิ่งมาโปรโมท ด้านปศุสัตว์ ก็นานๆ จะเกิดสัตว์ที่จะมาตีปี๊บใหม่ๆ สักที แล้วมักเป็นสัตว์ต่างถิ่น เช่น นกกระจอกเทศ กวางรูซ่า (ในด้านประมงก็มีจาละเม็ดน้ำจืด ปลานิล ฯ ลฯ ) ก็เลยไม่ยุ่งเท่าด้านการประมง

เกณฑ์การตัดสินว่าเป็นสัตว์หรือพืชเศรษฐกิจนั้น เราต้องจำแนกการนำไปใช้ประโยชน์  และขนาดของตลาด ตลอดจนความต่อเนื่องของทั้งอสงประเด็น เพราะใน แต่ละรูปแบบการใช้ประโยชน์จะมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ส่วนเรื่องราคานั้น ผมมองเป็นประเด็นเสริมเท่านั้น เพราะบางอย่างราคาสูงมาก  แต่ตลาดไม่มีความต่อเนื่อง อาจเป็นแค่กระแสแล้วก็หายไป หรือตลาดอาจมีแค่กลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว แล้วการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น เป็นเครื่องรางตามความเชื่อที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือนอแรดที่เป็นส่วนผสมในอะไรต่อมิอะไรนั้น คงไม่นับว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพราะยังไงมันก็ขาดความต่อเนื่องของตลาดอยู่แล้ว(มีๆ หายๆ นิดๆ หน่อยๆ  เราไม่นับว่าเป็นความต่อเนื่องของตลาด)

ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้อ้างอิงจากตำราใดๆ  หากจะนำไปใช้อ้างอิงควรพิจารณาก่อนครับ
knotsnake approve [ 14 ก.ค. 2550 13:40:09 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เห็นทีอิฉันต้องไปหาเอกสารดังที่คุณ kasoop ว่ามาพินิจดูบ้างแล้ว แม้นงานของอิฉันจักมิใคร่เกี่ยวกับกลุ่มสัตว์เศรษฐกิจเท่าใด  แต่อิฉันก็อยากรู้อยู่ดีนั่นแลเจ้าค่ะ เพราะตอนแรกก็เกิดคำถามว่ากลุ่มปลาสวยงาม ฤาอุ้งตีนหมี จักพอกล้อมแกล้มจัดเปนสัตว์เศรษฐกิจกับเขาด้วยฤาไม่ แลเมื่อลองเซิร์จทางอินเตอร์เน็ตเปนเบื้องต้น ก็เจอะ แต่ทางพืชเปนส่วนมาก  และมิใคร่ชัดเจนเท่าไร จึ่งลองมาไถ่ถามแถวๆ  นี้ดู พอเปนแนวทาง ขอบคุณทุกความเห็นเปนอย่างยิ่งเจ้าค่ะ
ampelisciphotis [ 15 ก.ค. 2550 21:04:16 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ในความคิดของข้าเจ้า ที่เคยถามอาจารย์มา ได้ความว่าสัตว์ชนิดนั้นๆ  ต้องมีผลกระทบต่อคนในวงกว้าง หากมีปริมาณลดน้อยลง  และหากมีผลผลิตลดน้อยลงเมื่อใด  จะมีแนวทางการจัดการสัตว์ชนิดนั้นๆๆ  ขึ้นมาทันที สังเกตได้ง่ายๆๆ  ถ้เสัตว์ใด้ป็นสัตว์เศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยงจะถูกยกขึ้นมาเป็นทางออกในการเเก้ปัญหาเป็นอันดับเเรกเส มอ ยกตัวอย่างเช่นกุ้ง ปูทะเล ปลากะพง  แต่สุดท้ายมันก้ยังไม่สามารถ reccovery กลับมาได้
cportunid approve [ 01 ส.ค. 2550 00:48:40 ]
ความคิดเห็นที่: 12
มันจะ recovery ได้เยี่ยงใด เพราะเมื่อเราต้องการพ่อแม่พันธ์ เราก็เอาจากธรรมชาติ  แต่ลูกที่ได้ก็เอาไปใช้หมด กอรปกับเราช่วยทำลายพื้นที่ที่มีลักษณะทางนิเวศที่เหมาะสม
knotsnake approve [ 04 ส.ค. 2550 23:44:14 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org