กระทู้-07975 : ซิวสมพงษ์ dilemma

Home » Board » ปลา

ซิวสมพงษ์ dilemma

ซิวสมพงษ์ dilemma

หลังจากที่โครงการเพาะปลาซิวสมพงษ์ดำเนินมาได้อย่างชื่นมื่น ตอนนี้โครงการก็มีอันต้องสะดุดตอเข้าอย่างจัง เมื่อผมพบว่าลูกปลาที่เก็บไว้ที่บ้านกว่า 50 ตัว โตขึ้นมาเป็นตัวผู้หมดเลย!!!! นึกย้อนกลับไปว่าได้แจกลูกปลาตัวเมียออกไปบ้างแล้วอย่างมากก็ 5-6 ตัว ก็เลยกลายเป็นว่าลูกปลาที่บ้านออกมามีตัวเมียแค่ 10% เท่านั้นเอง ที่แย่กว่านั้นคือ เก็บตัวเมียไว้เองแค่ตัวเดียว  

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมมันเป็นอย่างนี้หน่อ??  แว่บแรกคิดว่ามันเป็นธรรมชาติของปลาชนิดนี้หรือเปล่าที่จะมี sex ratio แบบนี้ แต่ลักษณะของปลาที่ผสมพันธุ์ทุกวัน วันละนิดละหน่อยแบบนี้ตามธรรมชาติที่เคยสังเกตมามันน่าจะมีตัวผู้ และตัวเมียเท่าๆ กัน หรือควรจะเป็นตัวเมียมากกว่าตัวผู้ด้วยซ้ำ  (เพิ่งนึกได้ว่าน่าจะลองไปดูในตู้ที่เค้าจับปลาซิวข้างขวานมาเยอะๆ  แล้วลองดูว่า sex ratio มันเป็นยังไง พรุ่งนี้ๆ )   แต่กาลกลับเป็นว่าลูกปลาผมมีตัวผู้มากกว่าตัวเมียอยู่โข

คำถามก็เลยเกิดขึ้นต่อว่าอะไรมีผลกับ sex ratio ของสัตว์พวกนี้บ้าง ที่นึกได้ง่ายที่สุดก็คือ อุณหภูมิ กับ pH ของน้ำ  ซึ่ง....ถ้าซิวสมพงษ์บ้านมันอยู่ที่ราชบุรีจริง ตู้ผมที่กทม.ก็คงจะมีอุณหภูมิไม่ต่างกันมากนัก จึงคิดว่า pH จะมีผลมากกว่า

สมมุติ1 : ว่าปลาซิวสมพงษ์ในธรรมชาติมันผสมพันธุ์ในทุ่งน้ำท่วมแถว บ้านโป่งคนงาม โพธารามคนสวย จริงๆ  ลักษณะของทุ่งน้ำท่วมก็คือ น้ำท่วมหญ้า และเหล่าพรรณพืช หมักพวกนี้จนกลายเป็นอาหารของสัตว์เล็ก เป็นเยี่ยงนั้นแล้ว น้ำก็น่าจะมีฤทธีเป็นกรดหรือมี pH ต่ำกว่า 7 เป็นแม่นมั่น

 ซึ่งน้ำในตู้ผมมันเป็นน้ำประปากทม. ซึ่งมีค่า pH อยู่ที่ 7.5-7.8 ตามแต่กทม.ท่านจะใส่ปูนขาวมาให้เท่าไหร่ ดังนั้นจึงไม่ใช่ pH ธรรมชาติของปลาซิวสมพงษ์ จึงเดาได้ว่า pH เป็นเหตุให้ปลาซิวมันเกิดเป็นเกย์ขึ้นทั้งฝูงเยี่ยงนั้น

สมมุติ2 : ว่าปลาซิวสมพงษ์แต่เดิมผสมพันธุ์ในทุ่งน้ำท่วม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองจริงตามที่ผมเข้าใจ

เรื่องจริง1 : ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองไม่มีน้ำท่วมอีกแล้วเนื่องจากเราสร้างเขื่อนดักน้ำไว้ 3 เขื่อน

สมมุติ3 : ถ้า pH มีผลกับ sex ratio ของปลาซิวสมพงษ์จริงอย่างที่ผมเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นกับซิวสมพงษ์ในธรรมชาติหลังจากการสร้างเขื่อนก็คือ
   สมมุติ 3.1 : น้ำมันไม่ท่วมแล้วนิ ปลาซิวส่วนหนึ่งติดอยู่ในแม่น้ำ ไม่มีที่ผสมพันธุ์ก็ตายหมดไป
สมมุติ 3.2 : ปลาซิวอีกส่วนหนึ่งติดอยู่ในบ่อน้ำขังนิ่งๆ ที่ไหนสักแห่ง แล้วก็ไม่เกิดการหมักของพืชจน pH มันต่ำอย่างที่ปลาต้องการ หรืออาจจะมีอะไรสักอย่างทำให้ค่าทางเคมีของน้ำไม่เป็นไปตามที่ปลาชอบ
สมมุติ4 : ถ้าน้ำในธรรมชาติมันกลายเป็นน้ำแบบที่บ้านผม และส่งผลให้ปลาซิวสมพงษ์ออกลูกแล้วมี sex ratio ผู้ 9 เมีย 1 แบบที่บ้านผมจริง

สมมุติ 5 :
ถ้าในบ่อๆ หนึ่ง สามารถลองรับปลาซิวสมพงษ์ได้ 100 ตัว  ซึ่งปลา 100 ตัวนี้ในสภาพปกติก็จะมี sex ratio ที่ ผู้ 50 เมีย 50 สมมุติว่าวันดีคืนร้าย pH ของน้ำเกิดสูงขึ้นหรือไม่ลดลงเหมือนเคย ส่งผลให้ปลาซิวสมพงษ์ ในรุ่นแรกที่มี ผู้ 50 ตัว เมีย 50 ตัว ออกลูกมาแล้วมีอัตราส่วน ผู้ 9-เมีย 1 เราก็จะคาดเดาได้ว่ารุ่นต่อไป จะมีปลาเพศเมียอยู่ในบ่อนี้ 10 ตัว กับปลาตัวผู้ 90 แล้วตัวเมียที่เหลือ 10 ตัวนี้ก็จะมีโอกาสมีลูกเป็นตัวเมียแล้วรอดออกมาแค่ร้อยละ 10  ซึ่งหมายความว่าในรุ่นต่อไปจะมีตัวเมียเพียง 1 ตัวต่อตัวผู้ 99 ตัว แล้วรุ่นต่อไปก็จะเหลือตัวเมียแค่ 0.1 ตัว  (เหลือไงหว่า)   กับตัวผู้ 99.90 ตัว  ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จริงๆ  เพียงแค่ 3 ชั่วอายุปลามันก็สูญพันธุ์แล้วอ่ะครับ.....

คำถามคือ
1. ทางชีววิทยาผมคิดแบบนี้มันถูกหรือเปล่าครับ???  
2. ทางคณิตศาสตร์ผมคิดแบบนี้มันถูกหรือเปล่าครับ???  
3. ทราบว่ามีนักคณิตศาสตร์อย่างน้อย 1 ท่านแวะเวียนเข้ามาในเว็บเสมอ ผมอยากจะเรียนถามว่า Dilemma แบบนี้สามารถนำมาทำเป็นสมการคณิตศาสตร์ได้อย่างไรครับ?  สมมุติว่ามันอาจจะมีผลแค่ 6:4 หรือ 7:3 มันคำนวณออกมาว่าต้องกี่รุ่นถึงจะสูญพันธุ์อย่างไรครับ?

ขออภัยข้าน้อยอ่อนเลขเหลือกำลัง....  


[u][/u]
นณณ์ approve [ 13 ก.ค. 2550 23:38:44 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ขอเป็นกำลังใจให้คุณนณณ์ครับ!!!~~ ให้ผู้เชี่ยวชาญชี้แนะที่ครับ
electron [ 14 ก.ค. 2550 00:34:56 ]
ความคิดเห็นที่: 2
สัตว์ออกไข่บางประเภท อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเพศของไข่ที่จะฟัก
เลยอยากเสนอเป็นส่วนนึงในการพิจารณาครับ
Inter965 [ 14 ก.ค. 2550 01:37:00 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ล้ำลึกครับ

ผู้น้อยขอคารวะ

Jocosus approve [ 14 ก.ค. 2550 07:40:31 ]
ความคิดเห็นที่: 4
มันก็คือๆ  กับปลากัดแม่น บ่ ???      ที่ pH  และ tempperature มีผลต่อการเปลี่ยนเพศ
                                                                                                        ขอบคุณข้อมูล+ความคืบหน้า ครับผม
aqueous_andaman approve [ 14 ก.ค. 2550 09:56:54 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ไม่ทราบจะใช้เป็นข้อมูลได้บ้างไหมครับ...
คือเจ้าซิวข้างขวาน50ตัวที่บ้านมีตัวเมีย5-7ตัวเท่านั้นครับ  และเจ้าตัวเมียชอบโดดมากกว่าตัวผู้ ?....
แฮ่ะๆ  เอามาเลี้ยงในตู้ไม้น้ำอ่ะมันสวยดี... อย่าว่ากันน้า....
...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2550 16:34:59
toriyama approve [ 14 ก.ค. 2550 16:34:17 ]
ความคิดเห็นที่: 6
นักคณิตศาสตร์หนีไปชวนเพื่อนกะเหรี่ยงปลูกโฮย่าอยู่หลังดอยแล้วครับ

ส่วนผมคิดว่าคุณนณณ์เจอ Open problem แล้วครับ เพราะพึ่งอ่านเจอเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน  แต่ผลงานวิจัยกับประชากรของ common lizard (Lacerta vivipara)

Adult Sex Ratio (ASR) เป็นปัญหาที่ศึกษากันมานาน  แต่
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความผันแปรของอัตราส่วนระหว่างเพศคืออะไร
  • ประชากรมีการตอบสนองต่อความไม่สมดุลของอัตราส่วนระหว่างเพศอย่างไร  และที่สำคัญ
  • การตอบนองนั้นส่งผลสะท้อนกลับไปยังพลวัต (Dynamics) ของระบบอย่างไร

ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดครับ

มีสมมติฐานว่า การตอบสนองต่อความไม่สมดุล ของอัตราส่วนระหว่างเพศนั้น คือการแข่งขันกันของประชากรเพศเดียวกัน (Intrasexual competition) ซึ่ง จะทำให้เกิดการลดลง ของประชากรกลุ่มที่มีมากกว่า (เช่น เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นจากการต่อสู้หรือจากการอพยพ ย้ายถิ่น)

 แต่ในความเป็นจริง  และจากหลายๆ  การทดลอง (หรือแม้ แต่จากการวิเคราะห์ตัวแบบทางคณิตศาสตร์) พบว่า การตอบสนองต่อความไม่สมดุล อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลมากขึ้น จนเกิดการสูญพันธุ์ (Extinction) ได้

ป.ล. Open problem = ปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบครับ

ล.ป. ลืมตอบคำถาม

ตอบคำถามที่ 2
คิดแบบนี้ก็ได้ครับ  แต่อาจจะไม่ใกล้ความจริงเท่าไร เพราะไม่มีตัวแปรอื่นมาเกี่ยวข้อง เช่นอัตราการตาย ซึ่ง  แต่ละเพศ ไม่น่าจะมีอัตราเดียวกัน

ตอบคำถามที่ 3
สมการคณิตศาสตร์ที่ใช้กับเรื่องประชากรในลักษณะนี้จะเป็น Logistic Model ครับ  ถ้ามีคนสนใจจะลองเอามาขยายให้ฟังในโอกาสต่อไปนะครับ

ที่จริงในที่นี้น่าจะมีน้องๆ  พี่ๆ  เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ที่คุ้นเคยกับเรื่องประชากรกับ Logistic Model อยู่บ้างนะครับ
...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2550 20:45:25
natee approve [ 14 ก.ค. 2550 20:36:13 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ความรู้ใม่ถืงร่วมวิจารณ์ด้วยครับ  แต่ปลาคิลลี่ ผมเพาะก็เช่นกัน มีตัวเมียใม่ถึง 20 %  ขอตามไปดูด้วยคนครับ
mkt-farm approve [ 15 ก.ค. 2550 05:26:32 ]
mkt-grps@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 8
วันนี้ต้องลองไปดูฝูงซิวข้างขวานที่ตามร้านจับมาขายครับ ว่า natural ratio มันเป็นไง อาจจะคิดมากไปเองก็ได้ เหอ เหอ
นณณ์ approve [ 15 ก.ค. 2550 11:19:25 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ผมขอมาเล่าเรื่องปลาๆ ก่อนแล้วกัน  แต่ ถ้าใครมีข้อมูลที่แตกต่างก็รบกวนเพิ่มเติมด้วยแล้วกัน

ขอเริ่มจากกลุ่มที่ผมคุ้นเคยที่สุด คือปลาผิวน้ำที่รวมฝูงขนาดใหญ่ในทะเล ปกติแล้วจะมีอัตราส่วนเพศเป็น 1:1 ในทุกฤดูกาล โดยปลากลุ่มนี้มักไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอัตราการเกิด เติบโต   และตาย เมื่อขนาดไม่ต่างกัน ดังนั้นปริมาณน้ำเชื้อก็เพียงพอในการผสมพันธุ์แบบเซ็กหมู่(ไม่มีการประกบคู่) ประกอบกับพารามิเตอร์ในทะเลนี้มีความผันแปรน้อยมากเมื่อเทียบกับระบบนิเวศน้ำจืด ก็เลยมีความผันแปรน้อยมากสำหรับด้านชีววิทยาประชากร

มาในส่วนน้ำจืดบ้าง  กลุ่มปลาที่ผมพอมีความรู้กับเขาบ้างก็คือกลุ่ม Cyprinid หลายๆ ชนิดที่ผสมพันธุ์แบบหมู่คล้ายๆ ปลาผิวน้ำในทะเล  แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ปลาตัวผู้มักมีขนาดเล็กว่าเพศเมีย ดังนั้นการผสมพันธุ์ลักษณะนี้ ตัวผู้จะเปลืองตัวกว่า(หมายถึงจำนวนตัว) คือสัดส่วนตัวผู้กับตัวเมียปกติมักเป็น 2:1 หรือกว่านั้น เพื่อให้ปริมาณน้ำเชื้อที่ต้องถูกเจือจางลงในน้ำมีเพียงพอกับปริมาณไข่เมื่อรวมฝูงผสมพันธุ์ คราวนี้มาดูปลาซิวของคุณนณณ์ว่าเป็นยังไงบ้าง สิ่งที่ผมรู้คือ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียประมาณ 30%(กะด้วยสายตาเพื่อประมาณน้ำหนัก) สิ่งที่ผมยังไม่รู้คือพฤติกรรมการผสมพันธุ์มีการประกบคู่หรือไม่(ไม่เคยเพาะปลาซิว) ซึ่ง หากมันนิยมเซ็กหมู่ สัดส่วนเพศก็ควรได้ตัวผู้มากกว่าตัวเมียแน่ๆ   แต่จะมากกว่าเท่าไรค่อยว่ากันอีกที สำหรับอัตราการตายของกลุ่มปลาฝูง จากประสบการณ์ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นว่ามันจะต่างกันเลย  แต่ ถ้าเป็นปลาไม่รวมฝูงก็จะมีความแตกต่างบ้าง  แต่ที่เห็นชัดสุดๆ คือกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีความต่างกันมากจนไม่สามารถใช้พารามิเตอร์ด้านชีววิทยาประชากรร่วมกันได้เลย

ส่วนประเด็นด้านนิเวศวิทยานั้น เก็บไว้ถกกันต่อก่อน เพราะชักพิมพ์ยาวแล้ว
knotsnake approve [ 23 ก.ค. 2550 11:20:49 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ขอบคุณพี่น็อตมากครับ...
aqueous_andaman approve [ 25 ก.ค. 2550 15:48:21 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ขอเสนอความคิดเห็นหน่อยนะคร๊าบ คงไม่ว่านะฮะ
http://www.kapank.com/board/index.php?topic=18.0
เวปนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองเปลี่ยนเพศปลาด้วยสารสกัด(หรือน้ำหมัก) ใบมังคุดครับ
น่าทดลองกับบางชนิดที่เห็นผลง่าย และเก็บตัวอย่างเพื่อเพาะพันธุ์ง่ายก่อนครับ
เพราะยังไม่ทราบว่ามีผลกระทบกับลูกปลาที่เปลี่ยนเพศด้วยน้ำหมักหรือเปล่า
เช่น เป็นหมัน? หรือ  อื่นๆ  ครับ
Auroraz approve [ 11 ส.ค. 2550 10:25:11 ]
auroralize@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org